Pernambuco ไม้ทำคันชักไวโอลิน
    Pernambuco ไม้ทำคันชักไวโอลิน

คันชักส่วนใหญ่ทำจากไม้ Pernambuco ซึ่งเป็นไม้ที่เติบโตในประเทศบราซิล นอกจากทองคำแล้ว Amerigo Vespucci (1451-1512) นักเดินทางและนักสำรวจชาวอิตาเลียนได้นำไม้สีแดงกลับมาจากบราซิลด้วย ซึ่งชาวโปรตุเกสเรียกไม้ชนิดนี้ว่า pao brazil ในยุคนั้นจะใช้ไม้ชนิดนี้ในการทำสีย้อมสีแดง ที่อัมสเตอร์ดัมยังมีคุกชื่อ "Rasphuis" ซึ่งนักโทษสตรีจะต้องทำหน้าที่ขูดไม้ Pernambuco ให้เป็นผง เพื่อเป็นวัตุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตสี มีเรื่องเล่าในสมัยก่อนที่กล่าวว่าน้ำตาของผู้หญิงที่น่าสงสารเหล่านี้ไหลอาบแก้มปนฝุ่นสีแดงที่อยู่บนหน้าของพวกเธอ

แต่เดิมนั้นเมื่อไม้มาจากบราซิลก็เป็นที่รู้จักกันในชื่อไม้ Pernambuco แม้ว่าในบราซิลนั้นจะไม่มีไม้บราซิลแม้แต่ต้นเดียวก็ตาม ปัจจุบันไม้ Pernambuco มาจากแหล่งอื่นๆ ในบราซิลที่มีความชื้นสูงกว่า ซึ่งไม้จะเติบโตได้เร็วกว่า แต่คุณภาพไม้ยากที่จะทัดเทียมกับไม้ในยุคศตวรรษที่ 19 ได้ ที่ไม้ Pernambuco คุณภาพดีๆ มีอยู่ทั่วไป แต่ถ้าเลือกดีๆ ก็ยังหาไม้ Pernambuco คุณภาพดีๆ ได้เช่นกัน

นอกจากนั้นยังมีการใช้ไม้ชนิดอื่นๆ ด้วย เช่น ไม้ Snakewood ที่มีความใกล้ชิดกับคันชักวิโอลา แต่เดิมนั้นจะใช้ทำคันชักแบบ Baroque bows ในยุคช่วงต่อระหว่างยุคบาโร้คกับโมเดิร์นนั้น มีการทดลองใช้ไม้ Ironwood (ไม้ในวงศ์ตะเคียน) จริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องความหลากหลายของไม้เนื้อแข็งที่มาจากเขตร้อนชื้น ซึ่งยังเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันแต่มีความสับสนในเรื่องชื่อเรียกที่มีหลากหลาย คันชักราคาถูกๆ มักทำจากไม้ Brazilwood ซึ่งเป็นไม้ตระกูลเดียวกับไม้ Pernambuco แต่ใช้ทำคันชักคุณภาพต่ำกว่า พูดให้ชัดๆ ก็คือ ไม้ Pernambuco มี ความแตกต่างอย่างชัดเจนในด้านคุณภาพ และเป็นเรื่องยากที่จะตัดสินคุณภาพไม้ทั้งท่อน

โดย: - [19 พ.ค. 55 23:20] ( IP A:202.12.73.193 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   ถ้าซื้อไม้มาทั้งท่อน สิ่งสำคัญประการแรกในการพิจารณาเลือกไม้คือ น้ำหนัก ถ้าไม้เหล่านั้นตัดมาขนาดเท่าๆ กัน ความแตกต่างเรื่องน้ำหนักคือสิ่งที่สังเกตได้ ไม้ที่หนักที่สุดคือ ไม้ที่มีความหนาแน่นมากที่สุด ถ้าลายไม้ค่อนข้างตรงก็คุ้มค่าที่จะเหลาออกมาเป็นด้ามคันชัก ทิศทางของลายไม้จะบอกให้ทราบว่าไม้ต้นนั้นเติบโตได้เป็นแนวตรงแค่ไหน โดยปกติแล้วในเนื้อไม้มักจะมีสีสันของแถบสีที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจทำให้ไขว้เขวได้ เพราะมันอาจจะไม่ไปในทิศทางเดียวกันกับลายไม้ แต่กลับมีสีสันสะดุดตามากยิ่งขึ้น แม้ว่าจะไม่มีผลกับคุณภาพของไม้เลยก็ตาม เกณฑ์สำคัญ 2 ประการแรกคือ ความหนาแน่น และ ลายไม้ที่เส้นตรง ถ้าต้องการทราบความหนาแน่น ให้ลองตัดไม้ออกมาชิ้นเล็กๆ และหย่อนลงไปไปในแก้วน้ำ ถ้าไม้ชิ้นนั้นจม แสดงว่าความถ่วงมีมากกว่าน้ำ แต่ถ้าไม้ลอย แสดงว่าไม้มีรูพรุนค่อนข้างมาก แต่ยังสามารถนำไปทำคันชักที่ดีได้ถ้าออกแบบโครงสร้างของคันชักดีพอ แต่ คันชักที่หนักไม่สามารถทำจากไม้ที่มีน้ำหนักเบาได้ ที่กล่าวมาอาจจะฟังดูเป็นเรื่องง่าย แต่ก็ต้องอาศัยเวลาหลายปีในการเรียนรู้เช่นกัน

ข้อดีของไม้ที่มีรูพรุนคือมักจะมี ความยืดหยุ่นที่ดี นี่เป็นแนวคิดที่มีหลักการที่อาจดูยุ่งยากเล็กน้อย แต่มีวิธีทดสอบได้ดังนี้ ให้ถือคันชักที่ปลายด้วยมือ จับให้มั่นคง วางโคนคันชักอีกข้างหนึ่งลงบนพื้นผิวที่มีความแข็งแรงเพียงพอ เช่น โต๊ะ ใช้มืออีกข้างหนึ่งกดลงตรงกึ่งกลางด้าม สิ่งสำคัญคือไม่จำเป็นต้องพยายามออกแรงดันมากไปเพื่อดันด้ามคันชักให้โค้ง ซึ่งเป็นเรื่องต้องไปว่ากันในเรื่องความหนาของด้ามคันชักอีกที แต่ในขั้นตอนนี้คือดูเรื่องการกลับคืนสู่สภาพเดิมของคันชัก และนั่นคือความยืดหยุ่นของมัน ความยืดหยุ่นที่ได้จากคันชักแต่ละอันจะขึ้นอยู่กับ ความยาว ของเส้นใยไม้ ซึ่งยากที่จะตัดสินด้วยตาเปล่า

เครื่องมือที่ประดิษฐ์โดย Giovanni Lucchi ครูสอนและช่างทำไวโอลินที่เครโมนา ถือเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากในกรณีนี้ มันจะถ่ายทอดคลื่นเสียงอุลตร้าซาวด์ที่คลื่นความถี่หนึ่งผ่านไม้ ยิ่งคลื่นอุลตร้าซาวด์ผ่านเนื้อไม้ได้เร็วเท่าไหร่ แสดงว่าไม้ยิ่งมีความยืดหยุ่นมากขึ้นเท่านั้น แต่ก็อาจจะเกิดความคลาดเคลื่อนได้เพราะค่าที่ได้มักจะทำให้ไขว้เขวได้ แต่ก็เป็นคำเตือนที่ดีในการประเมินผลข้อมูลที่ได้ เครื่องมือดังกล่าวเป็นสิ่งดี แม้ว่าช่างทำคนชักในยุคก่อนๆ จะทำคันชักโดยไม่มีเครื่องมือนี้ก็ตาม

ถ้าไม้มี ความยืดหยุ่นมาก ช่างทำคันชักต้องไม่กังวลกับคันชักคันนั้นจนเกินไป ถ้าคันชักมีความยืดหยุ่นน้อย ต้องทำคันชักให้แข็งแรงขึ้นและมีความโค้งของด้ามอย่างเต็มที่ แนวคิดก็คือการชดเชยเพื่อสร้างความยืดหยุ่นและแรงกดที่ดีขึ้น แน่นอนว่าความยืดหยุ่นที่ดีกว่าย่อมเป็นข้อได้เปรียบ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือ แนวคิดในการทำคันชักให้สอดล้องกับคุณภาพของไม้

โดย: - [20 พ.ค. 55 11:41] ( IP A:202.12.73.193 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
    Lucchi Meter

ออกแบบโดย Giovanni Lucchi ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 อุปกรณ์ดังกล่าวได้ปฏิวัติวงการทำไวโอลินขึ้นใหม่ ใช้สำหรับวัดค่าคุณสมบัติในการสะท้อนเสียงและบ่งบอกถึงระดับความยืดหยุ่นของไม้ที่ใช้ทำคันชัก Lucchi Meter เป็นเครื่องมือมีประโยชน์ในการคัดเลือกไม้สำหรับทำเครื่องดนตรีและคันชักของช่างทำวโอลินสมัยใหม่

โดย: - [20 พ.ค. 55 14:25] ( IP A:202.12.73.193 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   วิธีการเหลาด้ามคันชักก็มีความสำคัญมากเช่นเดียวกัน ข้อแรก เลื่อยต้องตัดไปตาม ทิศทางของลายไม้ ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ พร้อมๆ กับระวังไม่ให้ไม้บิ่นหรือแตก ข้อที่ 2 ต้องให้ความสำคัญเรื่องการวางทิศทาง วงปีของไม้ บนด้ามคันชัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้องที่ควรพิจารณามี 2 ประการคือ ประการแรก โอกาสเสี่ยงที่จะหัก ไม้ทุกชิ้นจะแตกหรือหักที่ รอยต่อของวงปี ซึ่งจะเห็นได้ในกองไม้ที่ใช้ทำฟืน โดยรอยต่อจะเป็นรูปดาววิ่งยาวไปถึงกึ่งกลางของท่อนไม้ เมื่อไม้แยกตัวนั้น มักจะเกิดที่ตามรอยต่อของวงปี ความสูงของหัวคันชักทุกๆ อันจะมากกว่าความกว้างของตัวมันเอง ถ้าวงปีอยู่ใน แนวขนาน กับหัวคันชัก คันชักจะเกิดรอยแตกในแนวตั้ง แต่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนัก แม้ว่าจะทำให้บริเวณดังกล่าวมีความหนาถึง 2 ซม. ในทิศทางดังกล่าวก็ตาม

แต่ถ้าวงปีอยู่ในแนวตั้งฉากกับหัวคันชัก คันชักจะแตกในแนวขวาง หัวคันชักมีความกว้างเพียง 5 มม. เท่านั้น ดังนั้นคันชักจึงแตกหรือหักในทิศทางดังกล่าวได้ง่าย

Andreas Gutter ช่างทำคันชักร่วมสมัยคนหนึ่งทำคันชักไวโอลินเลียนแบบงานของ Pfretzschner แต่ลืมคิดเรื่องของวงปี ซึ่งคันชักต้นฉบับนั้นวางลายวงปีขวางกับหัวคันชัก แต่คันชักของช่างคนดังกล่าวกลับวางลายไม้ในแนวตั้งกับหัวคันชัก และหลังจากที่เล่นไป 10 นาทีหัวคันชักก็หัก หลังจากนั้นเขาจึงรู้ว่าถ้าวงปีอยู่ในแนวดิ่ง หัวคันชักจะต้องมีมวลให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

โดย: - [20 พ.ค. 55 14:26] ( IP A:202.12.73.193 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   ถ้าปัญหาเรื่อง อันตรายจากการที่คันชักหัก เป็นปัญหาเดียวทุกอย่างก็ง่าย แต่โชคไม่ดีตรงที่ว่ายังมีปัญหาอื่นๆ อีก เนื้อไม้จะมีความแข็งแรงมากที่สุดตามทิศทางวงปีของไม้ ถ้าดูตามนี้แล้ว วงปีควรอยู่ในแนวตั้งกับหัวคันชัก หรือถ้าจะให้ดีกว่านั้น วงปีของหัวคันชักควรจะไปทางเดียวองศาที่เล่น ซึ่งไม่ถึงกับเป็นแนวดิ่งซะทีเดียว นักไวโอลินและวิโอลาจะเอียงคันชักไปทางขวาเล็กน้อย ส่วนนักเชลโลและนักดับเบิ้ลเบสจะเอียงคันชักไปทางซ้าย ตำแหน่งที่เหมาะสมของวงปีจึงควรเป็นองศาที่เป็นระนาบเดียวกับคันชัก ซึ่งค่อนข้างเอียงไปทางแนวนอน ด้วยทิศทางดังกล่าวอันตรายที่เกิดจากการแตกหักจะลดลง ในขณะเดียวกันความแข็งแรงที่เต็มที่ของไม้จะสามารถรับแรงที่เกิดจากการลากคันชักในขณะเล่นได้

โดย: - [20 พ.ค. 55 20:37] ( IP A:202.12.73.193 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   น่าเสียดายว่าไม้ที่มีลายตรง มีความยืดหยุ่นสูง มีความหนาแน่นและวงปีที่ตรงตามสเปคนั้นเป็นสิ่งที่ หายาก ด้ามคันชักเกือบทุกอันทีช่างทำคันชักเจอมักจะมาแบบไม่สมบูรณ์แบบ ศิลปะการทำคันชักคือการผสมผสานการออกแบบเข้ากับไม้ เพื่อลดข้อบกพร่องของวัสดุออกไป เคล็ดลับบางประการคือ ถ้าวงปีอยู่ในแนวเดียวกับสายไวโอลินแต่ผิดทิศทาง สามารถตัดด้ามคันชักให้เป็นรูปวงรี (ตามรูปตัดขวาง) แทนที่จะเป็นวงกลมตามทิศทางของการลากคันชัก ซึ่งจะไม่แข็งแรงตามทิศทางของวงปี แต่จะเพิ่มความแข็งแรงตามทิศทางของการเล่นโดยตัวนักดนตรีเอง

ความแข็งแรงของคันชักจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของด้ามคันชักถึง 50% ส่วนอีกครึ่งที่เหลือคือการเลือกใช้ไม้ให้ถูกชิ้น ถ้าซื้อไม้มาใหม่ๆ วิธีเก็บไม้เพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีที่สุดคือ ตัดไม้ออกเป็นท่อนๆ ทิ้งไว้ประมาณ 7 ปี ซึ่งไม้จะแห้งสนิทดีหลังจากที่ทิ้งไว้ประมาณครึ่งปี แต่กว่าที่ไม้ทุกชิ้นจะอยู่ตัวและคงสภาพนั้น ต้องทิ้งไว้นานกว่านั้นกว่าจะได้คุณภาพตามที่ต้องการ และเมื่อเหลาไม้ออกเป็นด้ามคันชักแล้ว จะต้องพักไม้ไว้อีกครั้งเช่นกัน เพื่อให้ไม้ได้ปรับสมดุลใหม่

ถ้าต้องการให้แน่ใจว่าคันชักที่ทำเสร็จแล้วไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพไปอีก ในการทำงานแต่ละขั้นตอนจะต้องทิ้งไว้ให้ นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ไม้ที่ยิ่งกว้างหรือยิ่งยาว ยิ่งต้องใช้เวลาในการพักไม้นานเท่านั้น ถ้าพิจารณาขั้นตอนต่างๆ ตามนี้อาจกล่าวได้ว่า คันชักต้องการเวลาอย่างน้อย 10 ปีกว่าจะเป็นคันชักที่พร้อมใช้งานได้

โดย: - [20 พ.ค. 55 21:12] ( IP A:202.12.73.193 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน