30violin.pantown.com
ช่างทำคันชัก <<
กลับไปหน้าแรก
วิธีการดูแลรักษาคันชัก
วิธีการดูแลรักษาคันชัก
ช่างทำคันชักร่วมสมัยที่มีชื่อเสียง 4 คน ได้อธิบายถึงการดูแลรักษาคันชักเอาไว้ดังนี้
Eric Lane หัวหน้าฝ่ายช่างทำคันชักของร้าน Reuning & Son Violins ใน Boston สหรัฐอเมริกา
หมั่นนำคันชักไปขึ้นหางม้าอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งช่างจะช่วยตรวจและให้คำแนะนำถึงงานที่ต้องอาจทำเพิ่มเพื่อให้ไวโอลินอยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุด โดยที่คุณมีส่วนช่วยดูแลหางม้าได้โดยการผ่อนหางม้าทุกครั้งหลังเลิกใช้ และเช็ดด้ามคันชักทุกครั้งด้วยผ้าแห้งที่สะอาดเผื่อขจัดคราบผงยางสน (อย่าให้มือสัมผัสหางม้า) และแม้ว่าจะพึ่งเปลี่ยนหางม้ามาใหม่ก็ตาม แต่ถ้าหางม้าฝั่งใดฝั่งหนึ่งขาดไปจนเห็นได้ชัดเจน ก็จำเป็นต้องขึ้นหางม้าใหม่อีกครั้ง การใช้คันชักในสภาพที่หางม้าไม่สมบูรณ์ตามที่กล่าวมานั้น จะช่วยทำให้คันชักเกิดการโก่งงอได้ง่ายขึ้น
David Hawthorne ช่างทำคันชักไวโอลินสมัยใหม่และ Baroque bow จากเมือง Cambridge รัฐ Massachusetts สหรัฐอเมริกา
คันชักใหม่ๆ ก็เช่นเดียวกับไวโอลินใหม่ ซึ่งบางครั้งการปรับแต่งเล็กน้อยก็อาจทำให้คันชักมีศักยภาพที่ดีขึ้นหลังจากมันปรับตัวเข้าที่แล้ว บางครั้ง Frog จะแน่นขึ้นแตกต่างจากในฤดูกาลที่มันถูกสร้างขึ้น หรือบางครั้งความโค้งของด้ามจะผิดรูปไปจากเดิม ถ้าคุณไม่ได้ติดต่อกับช่างทำคันชักโดยตรง และร้านที่คุณซื้อคันชักมานั้นมีช่างที่มีฝีมืออยู่แล้ว ก็สามารถให้ช่วยจัดการปรับแต่งให้ได้ แม้ว่าการปรับแต่งความโค้งใหม่จะไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขของการซื้อตั้งแต่แรกก็ตาม เมื่อคุณนำคันชักไปขึ้นหางม้าใหม่ ช่างที่ดีๆ จะช่วยตรวจดูให้ทุกอย่าง และจะบอกว่าควรจะทำอะไรเพิ่มบ้าง แต่ถ้าคุณมีความกังวล ก็สามารถขอให้ช่างช่วยตรวจอย่างละเอียดอีกครั้งได้ โดยเฉพาะถ้าคุณรู้สึกว่าอาจจะมีอะไรผิดพลาดเกิดขึ้น
Derek Wilson ช่างซ่อมและช่างทำคันชัก ปัจจุบันทำงานให้กับร้าน J.&A. Beare ใน London
มีวิธีการง่ายๆ หลายวิธีที่จะดูแลรักษาคันชักของคุณ เช่น การเช็ดด้ามคันชักด้วยผ้าแห้งๆ เท่านั้น และไม่ใช้น้ำยาทำความสะอาดหรือน้ำยาขัดเงากับด้ามคันชัก และแน่นอนว่าต้องหมั่นนำคันชักไปตรวจสภาพเป็นประจำ โดยเฉพาะเมื่อคุณสังเกตหรือรู้สึกว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น เช่น หางม้าขาดด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งเมื่อขึ้นหางม้าให้ตึงคันชักจะเอนไปอีกฝั่งหนึ่ง ถ้ามีนักไวโอลินเอาคันชักมาให้ผมดูและขอให้ตรวจสภาพให้ ผมจะตรวจความสมมาตรของคันชักอันนั้น โดยเริ่มจากส่วนหัว ตรวจดูว่าส่วนที่เป็นงาช้างหรือโลหะไม่มีรอยแตกหรือหลวม และบางครั้งหนังหุ้มหรือวัสดุที่พันด้ามเริ่มจะหลุดออก เปลือกหอยมุกสึกกร่อน (เนื่องมาจากสัมผัสความเค็มของเหงื่อ) และต่ำกว่าผิวหน้าของเนื้อไม้ ทำให้ขอบเริ่มสึก และบางครั้งส่วนที่เป็นเงินหรือทองจะเกิดอาการหลวม เนื่องมาจากการสั่นสะเทือนของเนื้อไม้เป็นเวลานานๆ และข้อสุดท้าย ผมจะตรวจดูว่ารอยซ่อมและรอยแตกของเดิมยังอยู่ในสภาพดีหรือไม่
Michael Vann ช่างซ่อมและช่างทำคันชัก ที่เมือง British Columbia ประเทศ Canada
นำคันชักไปให้ช่างขึ้นหางม้าทันทีเมื่อถึงเวลา คำถามก็คือเมื่อไหร่? คำตอบก็คือ เมื่อคุณเห็นหางม้าตรงปลอกโลหะ (Ferrule) ส่วนที่ติดกับ Frog บางลง การดูแลรักษาคันชักที่มีค่าของคุณนั้น คุณควรจะเช็ดทำความสะอาดด้ามคันชักทุกครั้งหลังเล่น ผมแนะนำให้ใช้ผ้าไมโครไฟเบอร์ (Microfiber cloth) ที่ควรซักทำความสะอาดบ่อยๆ เช่นกัน หมั่นคลายหางม้าหลังเลิกเล่นทุกครั้งก่อนที่จะเก็บเข้ากล่อง เมื่อหางม้าเส้นใดเส้นหนึ่งขาด ให้ดึงไปในทิศทางตรงกันข้าม และดึงให้ขาดเมื่อหางม้าขนานกับด้ามคันชัก ถ้าคุณดึงหางม้าให้ขาดที่มุมฉาก 90 องศากับด้ามคันชัก ก็อาจทำให้หางม้าหลุดจากปมที่ฝังอยู่ในร่องบนส่วนหัวของคันชัก ซึ่งอาจทำให้ปมหลวมได้ และถ้าเกิดขึ้นบนเวทีคงไม่น่าดูเท่าไหร่
ฝนยางสนแต่พอดีๆ Eugene Fodor (นักไวโอลินที่มีชื่อเสียงชาวอเมริกัน) จะขอให้ผมทำก้อนยางสนหนาประมาณ 4 มม. ทำให้เขาสามารถฝนยางสนจากทางด้านหลังหางม้าได้ (ระหว่างด้ามคันชักและแถบหางม้า) ซึ่งจะให้ผลลัพธ์ที่น่าประหลาดใจมาก เขายังมีแถบผ้ารัดข้อมือสีดำที่ติดกับแขนเสื้อทักซิโด้มือขวา ซึ่งเขาจะใช้บ่อยมากเพื่อเช็ดยางสนออกจากสาย เพื่อให้ยางสนจากหางม้าเท่านั้นที่เป็นตัวทำให้สายเกิดการสั่นสะเทือน
โดย: - [27 ก.พ. 57 6:39] ( IP A:31.205.18.226 X: )
ความคิดเห็นที่ 1
โดย: - [27 ก.พ. 57 6:42] ( IP A:31.205.18.226 X: )
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน