คันชักของ Tourte, Peccatte และ Sartory
|
ความคิดเห็นที่ 1 ทั้งคู่ได้กำหนดความยาวหางม้าสำหรับการเล่นไว้ที่ประมาณ 65 ซม. และกำหนดจุดสมดุล (Balance point) วัดขึ้นมาจาก Frog 19 ซม. เพิ่มความสละสวยของคันชักโดยการลบมุม (Flute) ครึ่งหนึ่งของความยาวคันชัก หรือบางครั้งก็ตลอดความยาวทั้งหมด ความโค้งของไม้เกิดจากการให้ความร้อนตลอดความยาวของด้าม และค่อยๆ ดัดจนได้รูปร่างตามที่ต้องการ ในยุคก่อนหน้า Tourte นั้น คันชักจะถูกตัดตามความโค้งตามที่ต้องการ การเปลี่ยนแปลงสุดท้ายที่สำคัญซึ่งเขาเป็นผู้คิดค้นคือ การทำสกรู (Screw) ขันที่โคนคันชัก เพื่อปรับความตึงของหางม้า สกรูที่สามารถปรับและดึงออกได้จะพบในคันชักไวโอลินสมัยใหม่ทุกคัน
คันชักที่พัฒนาเสร็จแล้วได้รับการยอมรับโดย Louis Spohr ซึ่งอธิบายถึงคันชักของ Tourte ไว้ว่า มีน้ำหนักไม่มากนักแต่ด้ามคันชักมีความยืดหยุ่น ความสวยงาม และรูปทรงการดัดที่ดี จุดที่ด้ามคันชักอยู่ใกล้หางม้าที่สุดอยู่กึ่งกลางระหว่างปลายคันชักและ Frog พอดี" นอกจากนั้น Spohr ยังกล่าวยกย่อง Tourte ไว้ว่า มีความพิถีพิถันและฝีมือที่ประณีตมาก
ในช่วงรุ่งเรืองของอาชีพนั้น คันชักของ Tourte มีราคาสูงถึง 15 เหรียญทอง (Louis d'Or) เลยทีเดียว เขาจะทำลายคันชักคันทุกอันที่ไม่สมบูรณ์แบบทิ้งโดยไม่ยอมให้ออกจากจากเวิร์คช้อปของเขา
Tourte จะไม่ลงวานิชคันชักของเขา แต่จะขัดโดยใช้ผงหินภูเขาไฟและน้ำมันเท่านั้น ช่างทำคันชักที่ยึดถือแบบของเขาได้แก่ Dominique Peccatte, Nicolas Eury, Nicolas Maire, Francois Lupot, Nicolas Maline, Joseph Hen ry และ Jean Pierre-Marie Persois 
| โดย: - [23 มี.ค. 51 13:57] ( IP A:202.12.73.6 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 Dominique Peccatte (1810-1874) ช่างทำคันชักชาวฝรั่งเศสที่มีอิทธิลอย่างสูงคนหนึ่ง เขาเริ่มฝึกการทำคันชักที่เมือง Mirecourt และต่อมาได้มีโอกาสทำงานในร้านของ Baptiste Vuillaume
ผลงานที่โดดเด่นของเขาคือ การปรับปรุงหัวคันชักแบบหัวขวาน Hatchet-shaped" ซึ่งริเริ่มพัฒนาขึ้นโดย Francois Xavier Tourte ผู้ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นช่างทำคันชักที่มีอิทธิพลอย่างสูงคนหนึ่ง น้องชายของเขา Francois Peccatte (10 มีนาคม 1821, Mirecourt - 30 ตุลาคม 1855, Paris) และหลานชาย Charles Peccatte (14 ตุลาคม 1850, Mirecourt - 22 Oct 1918, Paris) ล้วนเป็นช่างทำคันชักที่มีชื่อเสียงเช่นกัน
Peccatte เริ่มเรียนรู้การทำคันชักที่เมือง Mirecourt หลังจากนั้นไม่นานนักเขาได้ทำงานในเวิร์คช้อปของ Vuillaume ที่กรุงปารีส ในช่วงปี 1826-1837 ที่นี่เขาได้เรียนรู้ศิลปะการทำคันชักจาก Jean Pierre-Marie Persois และยังได้พบกับ Francois Tourte อีกด้วย บางครั้งคันชักในยุคแรกๆ ของเขาจะประทับตรา "VUILLAUME A PARIS เช่นเดียวกับงานของ Francois Nicolas Voirin ซึ่งทำงานอยู่ที่เดียวกัน ต่อมาในปี 1837 เขาได้รับช่วงกิจการต่อจาก Nicolas Lupot หลังจากนั้นในปี 1847 เขาได้เดินทางกลับไปยังเมือง Mirecourt แม้ว่าคันชักส่วนใหญ่ของเขาจะไม่ประทับตรา แต่ Peccatte จะใช้ตรายี่ห้อเดียวคือ "PECCATTE" ตลอดช่วงการทำงานในยุครุ่งเรืองของเขา มีผู้กล่าวว่า คันชักของเขาจะเป็นรองก็แต่ Tourte เท่านั้น น้องชายของเขา Francois เป็นช่างทำคันชักที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในเมือง Mirecourt เช่นกัน
| โดย: - [23 มี.ค. 51 13:59] ( IP A:203.170.144.1 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 Dominique Peccatte เชื่อกันว่าเขาเรียนศิลปะการทำคันชักกับ Persois และที่มีหลักฐานชัดเจนคือเขาเคยทำงานในสตูดิโอของ Lupot เช่นกัน ก่อนที่จะมาปักหลักที่เวิร์คช้อปของ Vuillaume เขาทำงานโดยยังคงยึดเอารูปแบบคันชักของ Tourte ที่แข็งแรง หนักแน่น แนวความคิดเรื่องการทำคันชักของเขาคือ จะต้องสร้างคันชักให้มีน้ำหนักกว่าช่างทำคันชักคนอื่นๆ ที่เคยมีมาในฝรั่งเศส เขาผลิตผลงานออกมาอย่างสม่ำเสมอและจำนวนมาก คันชักของเขาแม้จะไม่มีความยืดหยุ่นเท่ากับงานในยุคแรกๆ แต่ก็ยังมีความยืดหยุ่นพอสมควร
น้ำหนักคันชักที่เพิ่มขึ้นจากแนวคิดที่กล่าวมานั้น ทำให้คันชักของเขาเหมาะกับการสร้างปริมาตรของเสียงที่ดัง และการสร้างเสียงในระดับที่เหมาะกับคอนเสิร์ทฮอลล์สมัยใหม่ที่มีขนาดใหญ่
คันชักของ Peccatte เป็นหนึ่งในคันชักที่ดี แต่ไม่ได้เป็นคันชักในอุดมคติที่ผสมผสานในเรื่องการสร้างเสียงและการเล่น แม้ว่าคันชักของเขาจะไม่สามารถสร้างเสียงที่ไพเราะอย่างคันชักของ Francois Tourte และไม่คล่องแคล่วอย่างคันชักของ Nicolaus Kittel แต่คันชักที่ดีของ Peccatte สามารถทำทุกๆ อย่างที่ควรทำได้อย่างดีเยี่ยม พร้อมกับให้เสียงที่หนาและดังกังวานมาก ลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาคือ Joseph Henry และ Pierre Simon | โดย: - [23 มี.ค. 51 14:00] ( IP A:203.170.144.1 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 คันชักแบบหัวขวาน Hatchet-shaped ของ Dominique Peccatte 
| โดย: - [23 มี.ค. 51 14:01] ( IP A:202.12.73.7 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 12 Eugene Nicolas Sartory (1871-1946) ช่างทำคันชักชาวฝรั่งเศส เขาเริ่มเรียนการทำคันชักกับบิดาที่เมือง Mirecourt ต่อมาได้ย้ายไปทำงานที่ปารีสกับ Charles Peccatte และ Joseph Alfred Lamy ก่อนที่จะเปิดร้านของตนเองในปี 1893
เขาได้พัฒนาแบบคันชักของ Voirin ให้แข็งแรงขึ้น ผลิตคันชักที่มีความมั่นคงและด้ามที่มีความแข็งแรง หลังจากนั้นเขาได้คิดค้นคันชักตามแบบของตนเองขึ้น โดยขยายส่วนหัวให้กว้างขึ้น ปรับเปลี่ยนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของด้ามคันชักในจุดต่างๆ รวมถึงเสริมความหนาให้กับด้ามคันชักตรงส่วนมือจับ ความเปลี่ยนแปลงที่ได้ทำให้คันชักมีความมั่นคงและจับได้กระชับขึ้น
คันชักของเขาจะประทับตรา "E. SARTORY A PARIS" กระแสความนิยมคันชักที่มีน้ำหนักและความแข็งแรงได้ก้าวขึ้นถึงจุดสูงสุด ซึ่งเป็นผลมาจากการคิดค้นของเขา ที่พัฒนารูปแบบคันชักในห้องทำงานของตนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายทศวรรษ
Joseph Arthur Vigneron (1851-1905) และ Victor Francois Fetique (1872-1933) ในยุคนั้นสามารถสร้างคันชักที่ทัดเทียมกับ Sartory ได้ในเรื่องความแข็งแรงและการจับ แต่คันชักของ Sartory มีบางอย่างที่ทำให้งานของเขาเป็นเป็นที่นิยมในกลุ่มนักดนตรี แม้ว่าอาจจะขาดรายละเอียดบางอย่างที่มีเฉพาะในคันชักรุ่นเก่า แต่คันชักของ Sartory สามารถวางใจได้มากที่สุดในฐานะเครื่องมือคู่ใจ และสร้างความพึงพอใจให้กับนักเล่นในวงกว้างกว่า
ชื่อของ Sartory เป็นที่รู้จักกันดีในระดับสากล จากผลงานที่เขาผลิตขึ้นอย่างสม่ำเสมอและจำนวนมากในเวิร์คช้อปของเขา ด้วยคุณภาพของคันชักที่ดีเยี่ยมทำให้ผลงานของเขากลายเป็นสินค้าที่ขายไม่ยาก ทำให้ส่วนต่างระหว่างราคาขายส่งและขายปลีกคันชักของเขาแทบจะไม่แตกต่างกันเมื่อเทียบกับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายและคันชักชั้นเยี่ยมอื่นๆ คันชักของ Sartory มีความหมายเดียวกับความเชื่อมั่นและความแน่นอน และกลายเป็นคันชักตัวเลือกสำหรับนักดนตรีอาชีพหลายๆ คน
| โดย: - [23 มี.ค. 51 15:11] ( IP A:202.12.73.4 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 13 คันชักวิโอลาฝีมือของ Eugene Sartory 
| โดย: - [23 มี.ค. 51 15:12] ( IP A:203.170.144.1 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 17 ประวัติการทำคันชัก Francois-Xavier Tourte ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 เขาได้สร้างนิยามของคันชักที่กลายมาเป็นศิลปะสกุลช่างฝรั่งเศส เช่นเดียวกับไวโอลินที่มีชื่อเสียงของอิตาลี ช่างทำคันชักชั้นยอดเช่น Peccate หรือ Sartory ได้พัฒนาศิลปะการทำคันชักขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19 -20 ช่างเหล่านี้ได้ฝากผลงานคันชักที่มีความสวยงามและความประณีต
โดยทั่วไปแล้วปลายคันชักคุณภาพดีจะค่อนข้างเปราะบาง การซื้อขายคันชักในวงการไวโอลินนั้น ราคาของคันชักขึ้นอยู่กับมูลค่าของชิ้นส่วนบางชิ้น เมื่อผนวกกับความเปราะบางของคันชัก ชิ้นส่วนเดิมๆ จึงถูกเปลี่ยนหรือหาสิ่งอื่นมาทดแทน คันชักจึงเป็นการ จับเข้าคู่กัน เพื่อให้กลายเป็นของที่มีราคา นักดนตรีควรจะรู้จักรักษาคันชักชั้นยอดที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบันเหล่านี้เอาไว้ และเล่นอย่างระมัดระวังให้นานที่สุด เพราะคันชักเหล่านี้บอกให้ทราบถึงความสามารถของมนุษย์ในเรื่องความงามและดนตรี
นักดนตรีควรเรียนรู้ทั้งเรื่องฝีมือของช่างทำคันชักชั้นยอดในอดีตและการทำให้คันชักเหล่านี้เล่นได้และรักษาไว้ให้อยู่ในสภาพดีที่สุด | โดย: - [29 ส.ค. 52 20:45] ( IP A:202.29.144.1 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 18 Francois-Xavier Tourte 
| โดย: - [29 ส.ค. 52 20:46] ( IP A:202.29.144.1 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 19 Dominique Peccatte 
| โดย: - [29 ส.ค. 52 20:46] ( IP A:202.29.144.1 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 20 Etienne Pajeot 
| โดย: - [29 ส.ค. 52 20:47] ( IP A:202.29.144.1 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 21 Francois-Nicolas Voirin 
| โดย: - [29 ส.ค. 52 20:48] ( IP A:202.29.144.1 X: ) |  |
|