ความคิดเห็นที่ 1 เอ่อ ผมว่าคนตั้งกระทู้ในลิ้งค์เค้าออกจะเข้าใจอะไรพลาดไปนิดหน่อยนะครับพี่ ผมขอเสนอภาษาไทยตามความเข้าใจของผมนิดนึงนะครับ ถ้ามีอะไรผิดพลาดหรือขาดหล่นก็ขอความกรุณาด้วยนะครับจะขอบคุณทุกท่านมากเลยครับ การจูนในระบบสากลมีสามระบบครับ 1. ไพธาโกเรี่ยน อันนี้มาจากไพธาโกรัสน่ะแหละครับ แบบว่าคนกรีกโบราณเวลาเป็นปราชญ์ขึ้นมาคณิตหรือดนตรียันวิทยาศาสตร์ธรรมชาติก็เอาหมดน่ะครับ ระบบนี้เป็นยังไงเดี๋ยวพูดทีหลังจะครับ 2. จัสอินโทเนชั่น อันนี้เป็นการจูนเพื่อ "แนวตั้ง" คือฮาโมนี่ หรือพูดอีกทีก็ "คอร์ด" น่ะแหละครับซึ่งจะแตกต่างกับอันอื่นยังไงผมขออธิบายคู่กันไปน่าจะเข้าใจง่ายกว่าครับ 3. ทเวลฟ์โทนอีควลเทมเพอราเมนท์ หรือพูดภาษาคนคือจูนแบบสิบสองเสียงเท่า เรียกอีกแบบว่าเวลเทมเพอร์ทก็ได้ครับ อันนี้มีที่มาและประโยชน์ของมันน่าสนใจอยู่ครับ แต่อย่างว่าขออธิบายรวมๆ กันทีเดียวน่าจะง่ายกว่าครับท่าน อยากบอกท่านทั้งหลายว่าทั้งสามแบบนี้ไม่เกี่ยวกับการจูนสายไวโอลินเลยครับ สายไวโอลินเป็นคู่ 5 ซึ่งไม่ว่าจูนแบบไหนคู่ 5 จะเท่ากันเสมอนะครับไม่จำเป็นต้องกังวลครับขอแค่ฟังให้ออกเท่านั้นเองครับ การ "จูนนิ่ง" ที่พูดถึงมาทั้งหมดนี่ใช้อย่างงี้ครับ ระบบไพธากอเรี่ยนนี่เค้าใช้ในการเล่นเมโลดี้หรือสเกลครับ คือในโลกที่เพลงเป็นโทนัลนี่โน๊ตแต่ละตัวจะมีความสำคัญไม่เท่ากัน บาเรนบอห์มเคยพูดว่าเหมือนกับคนมีศักดิ์ศรีไม่เท่ากัน บางคนเป็นกษัตริย์ เป็นขุนนาง เป็นเจ้าหญิง ในขณะที่เพลงไม่โทนัลนี่ทุกคนเท่ากัน...เป็นคอมมิวนิสต์(เค้าพูดงี้จริงๆ ครับ...ฮา) ดังนั้นโน๊ตบางตัวจะมี "แรงโน้มถ่วง" เข้าหาบางตัว อย่างในสเกล C นี่โน๊ต B จะพยายาม "ไปหา" C ครับ และโน๊ต F จะพยายามไปหา E ดังนั้นไพธากอเรี่ยนจะจูนให้ B เพี้ยนสูงเพื่อไปหา C และ F เพี้ยนต่ำเพื่อลงมาหา E น่ะครับ ระบบจัสอินโทเนชั่นนี่เกิดขึ้นเพราะตัว 3 ของคอร์ดไม่กลืนกับตัวโทนัลครับ เวลาที่เล่นคอร์ดมันเลยฟังแปร่ง ๆ ปัญหาเกิดขึ้นเพราะชุดของฮาโมนิคซีรี่หรือโอเวอร์โทนซีรี่มันไม่ตรงกันน่ะครับ แหมะเรื่องนี้จะอธิบายผมก็เหนื่อยเพราะไม่มีความสามารถมากมายขนาดนั้น เอาเป็นว่าตัว 3 ของคอร์ดต้องเล่นเพี้ยนต่ำลงหน่อยน่ะแหละครับแล้วคอร์ดจะกลืนกันแนบเนียนขึ้น ระบบทเวลฟ์โทนอีควลเทมเพอราเมนท์ หรือเวลเทมเพอร์ท เป็นการจูนที่แบ่ง 1 ออคเตปเป็น 12 ครึ่งเสียงเท่ากัน อย่างสเกล C ก็แบ่ง C ไป D เป็น 2 ครึ่งเสียงแต่ E ไป F เป็น 1 ครึ่งเสียงน่ะครับ ถ้าอยากรู้ว่ามันมีประโยชน์ยังไงผมเคยเห็นมีคนมาลงเอาไว้น่ะครับ http://www.youtube.com/embed/HlXDJhLeShg เวลเทมเปอร์ทคลาเวียร์ของบาค คือเป็นวิธีการจูนสำหรับคีย์บอร์ดครับ เพราะคีย์บอร์ดปรับเสียงให้เพี้ยนต่ำหรือสูงโดยทันทีไม่ได้ เวลาย้ายคีย์ไปทีนึงถ้าจูนแบบอื่นจะเพี้ยนมาก ๆ ครับ อย่างถ้าจูนแบบจัสอินโทเนชั่นที่ตัว 3 ต่ำแล้วล่ะก็ ตอนแรกเล่น C Major ตัว E ก็เพี้ยนต่ำอยู่ใช่ไม๊ครับ ถ้าคีย์ต่อไปเล่น E Major อย่างงี้ก็กลายเป็นว่าทั้งสเกลนี่เพี้ยนสูงหมด เพราะตัว E ตัวแรกมันต่ำอยู่น่ะครับ การจูนนิ่งเป็นเอกสิทธิ์พิเศษสำหรับเครื่องที่ไม่ฟิกซ์พิชท์เท่านั้นนะครับ เรามีโอกาสเลือกว่าจะเล่นในระบบการจูนแบบไหนให้เข้ากับบริบทที่เรากำลังสวมอยู่ อย่างถ้าเราเล่นเมโลดี้เราก็น่าจะเล่นแบบไพธาโกเรียนเพราะมันให้ความสำคัญกับ "แรงดึงดูด" ถ้าเล่นเป็นคอร์ดก็น่าจะจูนแบบจัสท์จะได้กลืน ๆ หน่อยเนาะครับ ถ้าเล่นคู่กะเปียโนนี่หมดทางเลือกครับเพราะเปียโนเค้าเลือกไม่ได้ต้องอีควลตามเขาอย่างเดียว เพื่อประโยชน์ในการค้นคว้าขอเอาคำภาษาอังกฤษที่ทับศัพท์ไว้ใส่ตรงนี้นะครับ Pythagorian, Well-Tempered, Just Intonation, Tonal Music, Atonal, Daniel Barenboim, J.S. Bach : The well tempered clavier, Overtone Series ขอคำแนะนำด้วยครับ |