"งานเกลาหัวในช่วงหน้าร้อน"
   การทำหัวไวโอลินอย่างคร่าวๆเป็นการขึ้นรูปเบื้องต้นในช่วงหน้าร้อนนี้ครับ ทำคลิปสั้นๆ มาให้ดูเล่นๆครับ
โดย: หมี [6 เม.ย. 57 9:04] ( IP A:110.169.161.250 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   

โดย: หมี [6 เม.ย. 57 9:05] ( IP A:110.169.161.250 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   เสียงในคลิป ขอบคุณน้องเมย์ เล่นไว้ในวันที่มาที่บ้านครับ

โดย: หมี [6 เม.ย. 57 9:29] ( IP A:110.169.161.250 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   

กำลังจะถามเลยครับ ว่าคลิปประกอบนี้จากไหน ... น้องเมย์เล่นได้สุดยอดจริงๆครับ yes แค่ได้ยินเสียงบรรเลงเฉพาะไวโอลิน แต่ความรู้สึกมันไปดึงเสียงเปียโนที่เคยได้ยินมาประกอบโดยไม่ต้องมีเสียงเปียโนจริงเลย ... แปลกดี อธิบายไม่ถูกเหมือนกัน laugh

รบกวนถามคุณหมีแบบคนดูไวโอลินไม่เป็น เพื่อเป็นความรู้หน่อยนะครับ

 1. ผมเห็นวงในสุดของลายก้นหอย ของ scroll หัวไวโอลิน แต่ละอันในสามอันที่คุณหมีเอามาวางไว้มันสูงไม่เท่ากัน ไม่แน่ใจว่าเป็นที่มุมกล้อง หรือเป็นที่ต้นแบบของ maker แต่ละท่าน หรือเป็นแบบของคุณหมีลองทำออกมาเอง 3 แบบครับ คือผมเห็นเวลาในเว็บเขารูปถ่ายไวโอลิน(แพงๆที่มี pedigree) เขาชอบเอารูปตรง scroll นี้มาขยายกันใหญ่ๆ ผมเองก็สงสัยอยู่นานแล้วเหมือนกัน ว่าเขาขยายมาดูอะไรกัน แต่ก็ไม่ค่อยกล้าถามใคร กลัวเสียฟอร์ม แหะๆ 

2. เห็นไวโอลินมาหลายสิบปี พักนี้ซ้อมบ่อยจับเกือบทุกวัน แต่ผมเพิ่งสังเกตุจากรูปที่คุณหมีลงให้ดูวันนี้เองครับ ว่ารู peg แต่ละรูมันห่างไม่เท่ากัน และอยู่กันเป็นคู่ๆ G ใกล้ E ส่วน D ใกล้ A ตรงนี้เค้ามีที่มาของการออกแบบหรือเปล่าครับ ? แปลกดี ? 

 

โดย: olDlaD [6 เม.ย. 57 22:40] ( IP A:171.6.159.14 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   หลังจากที่น้องเมย์ไปเล่นไวโอลินที่บ้านคุณหมี ผมได้ฟังแล้วก็ถึงกับตั้งความหวังว่าวันหนึ่งในชาติหน้า ผมจะเล่นไวโอลินได้ไพเราะใกล้เคียงกับน้องเมย์แน่ ๆ วันนี้มาฟังซ้ำอีกครั้งหนึ่งก็ยังยืนยันในเจตนารมณ์ข้อนี้

ว่าที่จริงในระยะที่ผ่านมา ผม "ซ่าน" (เร่ร่อน)ไปที่โน่นที่นี่มิได้ว่างเว้น รวมทั้งไปพบปะกับเพื่อนพ้องน้องพี่ในก๊วนบ้านต้นซุงในอดีตด้วย แต่เดี๋ยวนี้พอร้านบ้านต้นซุงเขาปรับปรุงกิจ
การใหม่เป็นอย่างอื่นที่ก้าวหน้าและทันสมัยยิ่งกว่าเดิม พวกเราก็เร่ร่อนกันอยู่พักหนึ่ง ในครั้งหลังสุดนี้คือเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา เราก็ไปนั่งนินทาเพื่อนพ้องน้องพี่กัน ณ ร้านอาหารแห่งหนึ่ง ไม่ไกลนักจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ร้านที่คุณหมีและเจ้าบ้าน รวมทั้งน้องปาล์ม เคยไปในครั้งเดียวกันนั่นแหละครับ ผมก็ชักชวนพรรคพวกแล้วว่าวันหนึ่งเร็ว ๆ นี้ พวกเราจะขออนุญาตมาเยี่ยมคารวะคุณหมีถึงที่บ้าน

จุดประสงค์หลักคืออยากให้เพื่อน ๆ ในก๊วนได้ชมและได้ลองไวโอลินฝีมือการผลิตของคุณหมีน่ะครับ ส่วนจุดประสงค์รองก็คืออยากพาเพื่อนมากินก๋วยเตี๋ยวเรือแถว ๆ นี้ หรืออาจจะกำเริบถึงกับพากันไปนั่งร้านอาหารที่ปากทางเข้าบ้านคุณหมีก็ได้ วันก่อนไปนั่งมาแล้ว แม๊...บรรยากาศดีเหลือเกิน

พรุ่งนี้ผมจะกลับปักษ์ใต้บ้านเรา โอ่ โอ๊ ปักษ์ใต้บ้านเรา น่ะครับ คุณหมีอยากได้อะไรบ้างไหม อีก 2-3 วันจะเข้ามาอ่านคำตอบ ขอฝากชมน้องเมย์อีกครั้งหนึ่งครับว่าเล่นได้ไพเราะมาก ส่วนไวโอลินที่กำลังขึ้นรูป ผมไม่กล้าชมหรอกครับ โบราณท่านห้ามไว้

อย่าติเรือทั้งโกลน (ภาษิตเก่า)
อย่าชมไวโอลินทั้งโกลน (ภาษิตใหม่ เพิ่งนึกได้เดี๋ยวนี้เอง)
โดย: ลุงสุบ [6 เม.ย. 57 22:48] ( IP A:171.101.177.41 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   

ถือโอกาสสวัสดีคุณ olDlaD ด้วยครับ

โดย: ลุงสุบ [6 เม.ย. 57 22:50] ( IP A:171.101.177.41 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   

   ขอขอบคุณแทนน้องเมย์ครับ สำหรับคำติชมของคุณ olDlaD และของลุงสุบ   มะวานนั่งดูแข่ง F1 เพลินจนดึกจึงไม่ได้มาดูกระทู้  

  เอจะทันลุงสุบไม่เนี่ย  ลงใต้ไปเมืองใหนบ้างครับ   อ่าถ้าแวะหาดใหญ่ฝากซื้อขนมตุบตับเจ้าอร่อยแถวโรงแรมดังๆสักหน่อยสิครับลุง  ลุงจะมาวันใหนแจ้งมาได้เลยครับ

 สำหรับคำถามคุณ olDlaD เดี๋ยวผมมาขยายความให้นะครับ  ทำงานแป้ปนึง

 

   

โดย: หมี [7 เม.ย. 57 8:51] ( IP A:61.91.175.66 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   

  สำหรับเรื่อง Scroll ทั้งสามตัวที่ทำอยู่ตอนนี้ เป็นรูปแบบของ del Gesu ครับ รูปแบบงานของท่านมีลักษณะเด่นที่มองกันว่ามีความไม่ค่อยใส่ใจในการเก็บความเรียบร้อยของงานมากนัก   อีกทั้งความเท่ากันทางฝั่งซ้ายและขวาก็มีความเหลื่อมกันอยู่ ซึ่งก็จะแตกต่างจากลักษณะงานของ Stradivari อย่างเห็นได้ชัด  คือจะสังเกตุความสูงต่ำของดวงตา(Eye)ที่ไม่ตรงกันได้ โดยเฉพาะงานในยุคปีท้ายๆครับ  โดยมีข้อมูลกล่าวกันว่า Scroll ของ del Gesu นั้น ในยุคต้นๆก่อนปี 1740 นั้นเป็นฝีมือของพ่อทำให้ หรืออาจทำร่วมกัน  ส่วนในยุคหลังถัดมาเป็นฝีมือเขาเอง และในช่วงท้ายๆ ภรรยาจะมีส่วนร่วมในงานนี้ด้วย  โดยข้อสังเกตุจาก หัวไวโอลินในปี `Il Cannone' ปี 1743 ที่ดูเป็นปริศนาว่าเหมือนกับทำขึ้นมาจากช่างที่ยังไม่ชำนาญงาน

     แต่เมื่อมองโดยรวมลักษณะ scroll ในไวโอลินทุกตัวของ del Gesu ผมยังมองว่าโครงหลักก็ยังเป็นแบบแผนของงานในตระกูล Guarneri อยู่ครับ  เพียงแต่การแกะชั้นเชิงการหมุนวงก้นหอย ได้สร้างความแตกต่างให้กับไวโอลินแต่ละตัวได้อย่างชวนมอง

 

  

    ขอหยิบยกข้อเขียนของเจ้าบ้านมาขยายความบางส่วนดังนี้ครับ

  "พัฒนาการแบบหัวไวโอลินที่เชื่อว่าเป็นฝีมือของ 'del Gesu' แบ่งออกเป็นยุคได้ดังนี้ 1. ราวๆ ปี 1727 2. ราวๆ ปี 1742 และ 3. ราวๆ ปี 1744 รวมถึงหัวไวโอลิน 'Leduc' (1745) หัวไวโอลินเหล่านี้มีฝีมือการทำที่ละเอียดอ่อน จึงเชื่อว่าเป็นฝีมือของ 'del Gesu' เอง ถ้ามองจากด้านหน้า วงก้นหอยวงที่สองค่อนข้างจะแคบกว่า โดยเฉพาะหัวไวโอลินที่ทำขึ้นในยุคต่อๆ มา ทำให้ส่วนตา (Eye) ยื่นออกมาได้มากขึ้นมากกว่างานของ Carlo Bergonzi และถ้ามองจากด้านข้าง วงก้นหอยจะเปิดมากขึ้น ส่วนคอมักจะเปิดและคล้อยตกจากด้านหน้าหัวไวโอลินลงไป แทนที่จะวิ่งไปหาเส้นของวงก้นหอยวงที่สอง จริงๆ แล้ว มีเพียงหัวไวโอลินของช่าง Cremona เท่านั้น ที่มีลักษณะแบบนี้ การสลักรอบๆ วงก้นหอยมักจะลึก แต่ส่วนตา (Eye) จะเล็ก และเมื่อมองจากด้านหลัง วงก้อนหอยวงสุดท้ายจะม้วนตกลงมาไกล การแกะสลักหัวไวโอลินฝีมือของเขาแตกต่างกับบิดากันโดยสิ้นเชิง  รูปลักษณ์โดยรวมที่สึกกร่อนไปตามกาลเวลาได้ปิดบังตัวงานดั้งเดิมไปมาก การปาดขอบที่ไม่ค่อยละเอียดนัก ซึ่งอาจเป็นจุดที่สำคัญที่สุดของหัวไวโอลินเหล่านี้ที่แตกต่างจากงานของผู้เป็นบิดา และเห็นได้ชัดเจนว่าการปาดขอบให้ได้รูปทรงที่เพรียวเหล่านี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการแกะสลัก การขุดร่องและการเซาะขอบที่เซาะไปจนสุดขอบหัวไวโอลิน การปาดขอบในขั้นตอนต่อมาทำให้ขอบของหัวไวโอลินอยู่ต่ำกว่าระดับของขดก้นหอยตรงกลางที่วิ่งไปรอบๆ ร่องขุด แม้ว่าหัวไวโอลินในกลุ่มนี้จะแตกต่างจากงานของ Giuseppe 'filius Andrea' โดยสิ้นเชิง แต่ก็มีรูปลักษณ์ที่สวยงาม และแม้ว่าจะมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจน แต่หัวไวโอลินเหล่านี้ก็มีสิ่งที่เหมือนกับงานของผู้เป็นบิดา นั่นคือ การแกะสลักอย่างชำนาญ มีความมั่นใจ และแสดงถึงความเป็นมืออาชีพอย่างแท้จริง "

 

โดย: หมี [7 เม.ย. 57 12:18] ( IP A:61.91.175.66 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   

  ทีนี้มาว่ากันถึงงานสามตัวนี้ครับทีคุณ olDlaD ถามว่าตรงดวงตามมีความสูงต่ำไม่เท่ากันจากรูปที่ถ่าย ถ้ามองที่รูปนั้นอาจเป็นที่มุมการวางรูปด้วยครับเพราะตัวซ้ายและขวามันเอียงอยู่ และงานในรูปก็ยังอยู่ในช่วงเริ่มวางสัดส่วนยังต้องเก็บรายละเอียดอีกมาก


   แต่จะขออธิบานเสริมเพิ่มให้ว่า ทั้งสามตัวนี้ก็มีความแตกต่างกันอยู่ไม่เหมือนกันซะทีเดียวครับ  โดยใช้ปีที่ทำดังนี้ 1730,1742 และ 1743  ซึ่งก็มีความต่างกันเมื่อมองในแนวหน้าตรงจะเห็นได้ชัดครับ

  ภาพประกอบจากงานต้นแบบ 1730,1742,1743

โดย: หมี [7 เม.ย. 57 12:20] ( IP A:61.91.175.66 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   

   สำหรับการทำงาน เหตุที่ต้องขยายภาพใหญ่ๆเพื่อใช้เป็นตัวสังเกตุเวลาทำงานแกะ scroll ครับ  เพราะถ้าภาพเท่าจริงจะเล็กและะมองยาก  ด้วยมีมิติเดียว  จึงต้องขยายเพื่อให้เด่นชัดขึ้น และพยายามหารูปในหลายๆมุมประกอบด้วย   ทั้งนี้หากมีของแท้วางอยู่ตรงหน้าก็จะดีมากทีเดียว (เป็นข้อได้เปรียบส่วนหนึ่งของช่างเมืองนอกครับ  แต่เฉพาะบางคนเท่านั้น  ยกตัวอย่างเช่นงานของSamuel Zigmuntowicz)  

   แต่กระนั้น ในโรงเรียนที่สอนเกี่ยวกับการทำไวโอลินที่เครโมนา ก็จะมีการหล่อปูนชิ้นส่วนต่างๆของไวโอลิน โดยเฉพาะงาน Stradivari และ del Gesu ไว้เพื่อให้ช่างและนักเรียนได้ใช้ศึกษาและวัดขนาดเพื่อทำให้ได้ไม่ผิดเพี้ยนด้วยครับ

 

โดย: หมี [7 เม.ย. 57 12:32] ( IP A:61.91.175.66 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   

  ส่วนรูปขนาดจริงก็ต้องมีไว้เทียบและข้อมูลตัวเลขเอาไว้เช็คขนาดมิติโดยรวม ซึ่งต้องขึ้นงานให้ได้ตามมิตินั้นก่อน  ถึงค่อยขยับเข้าไปทำงานเกี่ยวกับการโค้งเว้าเข้าออกที่ไม่เท่ากัน  หรือเก็บร่องรอยสิ่วที่ทิ้งไว้ของเครื่องมือ แบบงานต้นฉบับ

  ภาพตัวงานด้านหน้า scroll ปี 1730 ที่กำลังทำมิติโดยรวมเทียบกับภาพตัวแบบ

โดย: หมี [7 เม.ย. 57 12:36] ( IP A:61.91.175.66 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   

  ส่วนเรื่องรูลูกบิดที่มีความห่างเป็นคู่  เนื่องจากความโค้งของรูปทรง scroll ในมุมมองดด้านข้าง จะเว้นช่วงกลางให้ห่างกันสักหน่อย  เพราะจะช่วยเรื่องความลาดชันของสายเวลาขึงสายให้ D ให้ห่างจากลูกบิดสาย E   มากกว่าถ้าเจาะรูลูกบิด ระหว่าง E ไป D ให้เท่ากับ E ไป G   ทั้งนี้เนื่องจากตัวลูกบิดจะเหลาเป็นทรงกรวยด้วย ก็จะเป็นการช่วยขยับแนวสายให้ห่างจากแนวลูกบิดตัวอื่นๆด้วยครับ

   อะิบายจากภาพแล้วกันนะครับ

โดย: หมี [7 เม.ย. 57 12:46] ( IP A:61.91.175.66 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
   

  อีกภาพเพื่อให้เห็นว่าเวลาหมุนลูกบิดเพื่อตั้งสาย มักจะจัดให้แนวสายไปอยู่เกือบชิดผนังห้องลูกบิด ซึ่งจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางที่โตกว่าช่วงปลาย  และจากการวางสลับทิศทางกัน ก็จะช่วยให้สายไม่ไปทับแนวลูกบิดตัวอื่นๆด้วย  รวมทั้งยังเกิดแรงขืนไม่ให้ลูกบิดคลายตัวด้วยเหมือนกันครับ  

   สำหรับที่คุณ olDlaD ถามมาขอผมอธิบายไว้เท่านี้ก่อนครับ

 

โดย: หมี [7 เม.ย. 57 12:51] ( IP A:61.91.175.66 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
   

กราบสวัสดีลุงสุบครับ เห็นลุงสุบว่าจะเดินทางลงใต้ ตามข่าวที่ยะลาช่วงนี้ค่อนข้างแรงๆอยู่ หวังว่าลุงสุบคงไม่ได้เข้าพื้นที่เสี่ยงนะครับ น้องๆ หลานๆ ในบอร์ดนี้คงเป็นห่วงกันอยู่หลายคน 

โดย: olDlaD [8 เม.ย. 57 10:14] ( IP A:110.171.86.229 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
   

ขอบคุณ คุณหมีครับ สำหรับวิทยาทานในครั้งนี้

ฟังคุณหมีอธิบายแล้ว จินตนาการออกเลยว่าการทำ Scroll นี้เป็นส่วนที่ยากเอาเรื่องจริงๆ

เดิมทีผมเข้าใจเอาเอง(แบบผิดๆ)ว่า การที่บอกว่าไวโอลินตัวนั้นตัวนี้ เป็นแบบ Strad , Del Gesu , Amati ฯลฯ เขาจะลอกแบบเฉพาะทรงของตัว และความหนาของไม้แผ่นหน้า แผ่นหลัง ฯลฯ เพราะอยากได้ลักษณะของเสียงที่ใกล้เคียงกับต้นแบบเหล่านั้น ไม่เคยคิดว่าจะเลยไปถึงรูปทรงของ Scroll ด้วย ฟังดูคงจะเป็นงานที่ละเอียดมากจริงๆ แบบนี้ผมเดาว่าการทำ scroll เลียนแบบ Strad ที่ทำงานออกมาแบบเนี๊ยบๆตามแบบแผน คงจะง่ายกว่าการทำ scroll เลียนแบบ DG ที่แกะไปตามอารมณ์และไม่ค่อยสมมาตรเป็นแน่แท้ เพราะอะไรที่เป็นแบบแผนมีความสมมาตรน่าจะลอกแบบตามได้ง่ายกว่างานที่ทำตาม inner ไปเรื่อยๆ (เดาเอาจากสายตาของคนที่ไม่เคยทำชิ้นงานอะไรเลยนะครับ laugh

และต้องขอบพระคุณเป็นอย่างสูงอีกครั้ง ที่คุณหมีกรุณาสละเวลาทำ Computer Graphics เพื่อช่วยไขข้อข้องใจไม่เป็นเรื่องของผม ที่ว่าทำไมรู Peg จึงต้องมีระยะห่างไม่เท่ากัน มันมีเหตุผลด้านการใช้งานจริงๆด้วย ดีใจครับที่ได้รู้ที่มาที่ไปของการออกแบบนี้ ทำให้รู้สึกทึ่งในความช่างคิดของบรรดาช่างทำไวโอลินจริงๆ

 

โดย: olDlaD [8 เม.ย. 57 10:48] ( IP A:110.171.86.229 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
   

เนื่องจากไม่มีความรู้ทางด้านการทำไวโอลินเลย

ก็ได้แต่ติดตามอ่านข้อเขียนของท่านผู้รู้ในบอร์ดนี้ด้วยความสนใจ

สำหรับscrollโดยส่วนตัวชื่นชมว่าเป็นชิ้นงานอีกชิ้นหนึ่งของไวโอลิน

ที่ช่างทำไวโอลินสรรสร้างได้อย่างสวยสดงดงามมาก

สำหรับscrollคำถามที่ค้างคาใจของคนช่างสงสัยอย่างผมก็คือ

ทำไมช่างไวโอลินในอดีตระดับปรมาจารย์จะต้องทำscrollให้เป็นรูปลักษณ์เช่นนี้

ทำไมไม่คิดทำรูปแบบอื่นเช่น แทนที่จะม้วนมาทางด้านหน้าไวโอลินก็ม้วนไปทางด้านหลัง

หรือ ทำไมไม่ทำเป็นแท่งสีเหลี่ยม ทำไมไม่ทำเป็นแท่งทรงกลมเหมือนลูกแก้ว ฯลฯ

ยิ่งคิดยิ่งไปได้เรื่อยๆไม่จบไม่สิ้น  สรุปว่าจากเสียงไวโอลินที่สะเทือนไปทั่วทั้งตัวไวโอลิน

เป็นเพราะรูปแบบของscrollที่Stradiveri และ del Gesuทำสามารถช่วยทำให้เสียงของ

ไวโอลินออกมาได้ไพเราะที่สุดแล้ว อย่างนั้นหรือไม่ครับ

โดย: pann [8 เม.ย. 57 10:52] ( IP A:223.206.48.164 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
   

พอดียังป้วนเปี้ยนอยู่ในกระทู้ ขออนุญาตตอบคุณ pann พลางๆไปก่อนนะครับ

ตามความเข้าใจของผมคิดว่า ทรงของ Scroll ไม่น่าจะมีผลใดๆกับเสียงเลยครับ น่าจะเป็นแค่การทำตามประเพณีนิยมกันเท่านั้นเอง เคยเห็นที่ทำหัวเป็นแนวอื่นๆก็มีนะครับ เช่น เป็นหัวสิงห์ หัวคน ฯลฯ

แต่ทำไม 99.998% (ตัวเลขมั่วเอานะครับ 555) ถึงเป็นทรงแบบก้นหอยอันนี้ผมว่าน่าสนใจ แต่ไม่ใช่ในมุมของเสียง ของศาสตร์ทางด้าน acoustic นะครับ แต่คิดว่าเป็นมุมที่น่าสนใจสำหรับเรื่องสังคม ประเพณี วัฒนธรรม ของชาวยุโรปในยุคโบราณ

โดยส่วนตัวผมไม่เชื่อว่า คนระดับ Stradivari , Bergonzi โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่มีประวัติ แบบเด็กแนว ออกเซอร์ๆเป็นอาร์ติสต์ อย่าง Guarnari Del Gesu จะไม่อยากสร้างสรร รูปทรงที่ตัวเองเห็นว่าสวยงาม ลงไปแทนรูปก้นหอย แต่ไม่รู้ว่าจารีตประเพณี อะไรสักอย่าง ที่สะกดให้ศิลปินเหล่านี้ ต้องยึดกับทรงก้นหอยเป็นหลักเป็นเรื่องที่น่าสนใจจริงๆ  

 

 

โดย: olDlaD [8 เม.ย. 57 11:45] ( IP A:110.171.86.229 X: )
ความคิดเห็นที่ 17
   ใช่ครับตามที่ ความเห็นของคุณolDlaDว่าไว้ มีการลองทำมาแล้วหลายรูปแบบจริงๆ แต่ก็ยังนิยมทำทรงตามที่เห็นกันในปัจจุบันอยู่นั่นเอง

จะว่าไปแล้วผมคงจะตอบให้ชัดเจนลงไปไม่ได้ว่าเหตุใดจึงเลือกออกแบบ Scroll ให้มีรูปทรงดังที่เห็น แต่จะอธิบายไปในแนวที่ว่าเขาเอารูปแบบมาจากอะไร และก็แนวของการใช้งาน หรือหลัก"ergonomic design"พอคร่าวๆละกันครับ

ด้วยรูปทรงวงก้นหอยนั้น เป็นการคำนวนทางหลักการเรขาคณิตซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยกรีกและโรมัน ซึ่งก็จะปรากฎอยู่ในงานสถาปัตยกรรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็มีมาก่อนยุค Amati ,Stradivari,del Gesu ครับ

โดย: หมี [8 เม.ย. 57 18:49] ( IP A:115.87.52.220 X: )
ความคิดเห็นที่ 18
   สำหรับสิ่งที่เขาเอามาใช้คือลักษณะวงก้นหอยที่ประดับอยู่เหนือหัวเสา เรียกว่า "Ionic order" ครับ ส่วนการวางวงชั้นเชิงก็แล้วแต่การวางของแต่ละช่างซึ่งจะปรับห่างชิดต่างกันไปตามความคิดของแต่ละคนครับ

โดย: หมี [8 เม.ย. 57 18:55] ( IP A:115.87.52.220 X: )
ความคิดเห็นที่ 19
   ทีนี้รูปทรงการขดเป็นวงก้นหอย ก็จะถูกผนวกกับรูปทรงของห้องลูกบิด ที่ทำทรงเหมือนก้านของต้นเฟิรน์ เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน นั่นคือการปรับจูนหมุนลูกบิดด้วยมือข้างซ้าย สำหรับการปรับสาย D และ G ทั้งนี้ก็จะเข้ากับหลัก ergonomic ที่ว่าคือ ขนาดความโค้งงอนจะรับเข้ารูปกับอุ้งมือของเราครับ ขออธิบายคร่าวๆประมาณนี้ก่อนครับ

ภาพประกอบนี้ใช้มือผมเป็นแบบละกันครับ

โดย: หมี [8 เม.ย. 57 19:02] ( IP A:115.87.52.220 X: )
ความคิดเห็นที่ 20
   

สิ่งที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งได้ผ่านกาลเวลามานับร้อยปีล้วนแต่เป็นตำนาน

ขอบคุณเจ้าของกระทู้คุณหมี และคุณolDlaD ครับ

โดย: pann [8 เม.ย. 57 22:15] ( IP A:171.4.31.191 X: )
ความคิดเห็นที่ 21
   

ยินดีครับคุณ pann

ฝากคลิปที่เพื่อนช่างชาวบัลเกอเรียเขาทำไว้ให้ครับ Rumen Spirov

http://www.youtube.com/embed/LDmox8jAHuc

โดย: หมี [9 เม.ย. 57 8:44] ( IP A:61.91.175.66 X: )
ความคิดเห็นที่ 22
   
โดย: หมี [9 เม.ย. 57 9:06] ( IP A:49.230.68.142 X: )
ความคิดเห็นที่ 23
   

โอ้ว !! สุดยอดเลยครับ คุณหมี yes

ประเด็นแรกคือ Studio สวยมาก

ประเด็นที่สองคือ มีการทดสอบ Chladni Pattern ด้วย ... สุดยอดจริงๆ !! yes yes yes

 

โดย: olDlaD [9 เม.ย. 57 12:10] ( IP A:110.171.86.229 X: )
ความคิดเห็นที่ 24
   

เสียงไวโอลินในคลิบนั้นเพราะมากครับ  ถ้าคุณหมีทำไวโอลินได้เสียงดีอย่างนี้สุดยอดมากครับ  แล้วตัวหนึ่งราคาเท่าไรครับ 

โดย: jdart@hotmail.co.th [9 เม.ย. 57 23:24] ( IP A:110.49.227.20 X: )
* ขณะนี้พี้นที่เต็ม ไม่สามารถโพสต์กระทู้เพิ่มได้ *

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน