จับมากระเดียด 1 : Wood Density , Little Ice Age กับ Stradivari
   

[อารัมภบท : ตรงนี้เป็นส่วนของอารัมภบทนะครับ แต่ด้วยความที่ผมเขียนแล้วติดลมเลยยาวมาก ชอตัดยกไปต่อท้ายบทความแทน จะได้อ่านบทความกันเลย .... ]

ผมเคยอ่านบทความทางเว็บเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ พูดถึงช่วงที่เรียกว่า Little Ice Age อยู่ครั้งหนึ่งเมื่อนานมาแล้ว โดยบทความนั้นพูดถึงเรื่องงานวิจัยที่ว่าระหว่างปี 1645 ถึง 1750 มีปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Little Ice Age ซึ่งมีผลทำให้ไม้ที่ Strad นำมาใช้ทำไวโอลินมีความพิเศษ คือมีความหนาแน่นสูงกว่าปรกติ จึงให้เสียงที่ผู้ทำไวโอลินในปัจจุบันไม่สามารถทำมาเทียบได้

ในหนังสือ The Strad เล่มล่าสุด เขาลงบทความนัยเป็นเชิงตอบโต้ทฤษฎีข้างต้น ว่าไม่เป็นเรื่องจริง โดยจั่วหัวไว้บนหน้าปกว่า "Wood Density : Myths Exploded" … อื่มม์ นี่แหละ น่าสนใจ ดูซิว่าเขาจะเถียงกันอย่างไร ไทยมุงอย่างผมชอบอยู่แล้วเวลาฝรั่งตีกันเนี่ย .. 555 laugh

ในบทความสั้นๆนี้เขาอธิบายการคำนวนหา Density ของไม้ หน้า/หลัง ของไวโอลินโดยใช้ CT Scan เพราะแน่ละ คงไม่มีใครยอมให้เฉือนเอาไม้ของ Strad Violin ไปวัดความหนาแน่นเอาตรงๆแน่ๆ และหลังจากคำนวนความหนาแน่นของไม้จาก Violin จำนวน 44 คัน เป็นที่ครึ้มอกครึ้มใจ ก็นำมาพล็อตเป็น Time Line ด้านล่าง

จากนั้นสรุปโป้งเลย … "เห็นมั๊ยๆ … Density ของไม้ที่ Strad ใช้ ไม่ได้ประหลาดอะไรสักหน่อย ก็กระจัดกระจายเหมือนคนที่ Maker คนอื่นๆใช้นั่นแหละ … ที่สรุปและเชื่อกันผิดๆว่า Maker ยุคปัจจุบัน ไม่มีทางทำไวโอลินได้ดีเท่า Strad เพราะไม่มีวันมีไม้จากยุค Little Ice Age ให้ใช้อีกแล้วนั้น ไม่จริ๊ง !! ไม่จริง !!"

โดยส่วนตัวผมยังไม่ถือหางข้างไหน ต้องให้ชัดก่อนว่าใครจะชนะค่อยตัดสินใจ แต่วิเคราะห์ว่า งานนี้ ยังงัย ยังงัย มีโอกาสเกิดดราม่าสูงแน่นอน คือถ้าผมเป็นนาย Henri Grissino-Mayer  หรือนาย Lloyd Burckle สองนักวิจัยที่เสนอเรื่อง Little Ice Age มีผลกับไวโอลิน Strad ละก็ ผมจะไม่ยอมให้ใครมาชี้หน้าว่าผมสรุปมั่วๆด้วยข้อมูลสั้นๆแค่นี้แน่ ยกเว้นว่าตอนนั้นผมแค่อยากจะทำเล่มวิทยานิพนธิ์ให้จบๆไป เพื่อจะได้เอาปริญญาไปสมัครงานทำมาหากินเสียที แต่อาจารย์ที่ปรึกษายังงอแงไม่ยอมเลิกนั่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

อย่างไรก็ตามระหว่างรอชมดราม่าระหว่างนักวิทยาศาสตร์สองขั้ว ผมพบว่ามีข้อมูลหนึ่งในบทความนี้น่าสนใจ คือระหว่างที่เขาวัด Density ของไม้แล้วพบว่ามันก็มีขึ้นๆลงๆตามสภาพ แล้วแต่ว่าเถ้าแก่โรงไม้จะให้คนงานแบกซุงต้นใหนมาส่งหน้าบ้านของ Strad ก็ตาม แต่หากลองเทียงสัดส่วนของ Density ระหว่างไม้แผ่นหน้าและแผ่นหลังดู จะพบตัวเลขที่น่าสนใจว่า 

 

อัตราส่วนความหนาแน่นของไม้ หน้า:หลัง จะอยู่ที่ประมาณ 1:1.5 เกือบทุกครั้ง (ตัวเลขจริงคือ 1:1.48 +/-0.15) 

 

เขาเลยมีสมมุติฐานว่า ปรมาจารย์รุ่น Strad นั้น แม้จะไม่ได้เลือก Density ของไม้โดยตรงเสียทีเดียว แต่น่าจะเลือกสัดส่วนความหนาแน่นระหว่างไม้แผ่นหน้าและไม้แผ่นหลังเป็นแน่แท้ คือไม้แผ่นหลังจะต้องหนักว่าไม้แผ่นหน้า ประมาณ 50% เสมอ

ตัวเลขนี้ผมว่าน่าสนใจส่วนเรื่องอื่นให้เขาทะเลาะกันไป แล้วคอยตามๆดูเพื่อความบันเทิง 555 laugh

โดย: olDlaD [8 เม.ย. 57 17:25] ( IP A:110.164.236.106 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   

[อารัมภบท]

หลังจากผมได้รับความกรุณาจากผู้รู้หลายๆท่านในบอร์ดนี้มาพักใหญ่ พยายามคิดอยู่ตลอดว่า ไฉนจะตอบแทนท่านทั้งหลายนี้ได้เหมาะสม วันนี้จึงมีไอเดียว่าอย่ากระนั้นเลย การตอบแทนความรู้ด้วยความรู้สู่สังคม ดูจะเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลที่สุดแล้ว แต่ทำอย่างไรดีละ ตัวเราก็มีความรู้แค่หางอึ่ง จะเอาที่ไหนมาตอบแทนท่านทั้งหลาย ??? หันไปหันมา เห็นหนังสือ The Strad วางกองอยู่เป็นตั้ง

เปล่าครับ มิได้ ท่านผู้อ่านอย่าได้เข้าใจผิดเชียวว่า การที่ข้าพเจ้ามี The Strad วางกองอยู่เป็นตั้งนี้ สื่อแสดงว่าข้าพเจ้าเป็นผู้รู้ ทางด้านไวโอลินอย่างเอกอุ ที่จะอาศัย พึ่งพิงได้ อย่าได้เข้าใจผิดไปในทิศทางนั้นเป็นอันขาด ในทางกลับกัน หนังสือ The Strad ที่เกิดจากการรับสมาชิกมาสองปี แล้วกองเป็นตั้งอยู่นี้ ก็เช่นเดียวกับหลายๆกิจกรรมของผมที่ทำไปโดยไม่ยั้งคิดเท่านั้นเอง 

เรื่องคือผมเห็นบรรดาผู้รู้ในวงการไวโอลินต่างให้การยอมรับวารสารเล่มนี้ว่าเป็นสุดยอดของแหล่งข้อมูลกันทั้งสิ้น จึงคิดว่าอย่างกระนั้นเลยลองสมัครสมาชิกเอามาอ่านดูบ้างน่าจะดีเป็นแน่แท้ จากนั้นก็กัดฟันจ่ายค่าสมัครสมาชิกไปโดยไม่ได้ประเมินตัวเองให้ดีเสียก่อน สุดท้ายหนังสือกองดังกล่าวนั้นถูกหยิบออกมาอ่านน้อยมากเรียกว่านับครั้งได้นั้นทีเดียว ยกเว้นเล่มแรกๆที่ได้มาใหม่ ก็เห่ออ่านบ้างนิดๆหน่อยๆสุดท้ายก็วาง เพราะส่วนใหญ่ก็จะอ่านไม่รู้เรื่อง บางบทความทนอ่านจนจบแล้วก็งง ว่าเออ ตกลงบทความนี้มันพยายามบอกอะไรหว่า ?? สุดท้ายผมเลยมีวารสารกองให้ฝุ่นจับอยู่หนึ่งตั้ง ที่ทำหน้าที่หลักในการสร้างความอุ่นใจว่า สักวันเถอะ ฉันจะอ่านแกให้รู้เรื่องให้ได้ แล้ววันนั้นฉันจะได้เป็นผู้รู้กะเขาสักที 555

[กลับมาเขียนต่อจากย่อหน้าที่ 1 หลังจากคุยนอกเรื่องไปสองย่อหน้า]

เมื่อเห็นว่ามีขุมความรู้ที่ไม่เคยถูกเปิดอ่านกองอยู่ดังนี้ จึงตั้งปณิธานว่า ต่อไปนี้หากมีเวลา ผมจะพยายาม สรุปบทความจากในวารสารเล่มนี้มาเล่าสู่เพื่อนๆฟัง ตามที่โอกาสจะอำนวย แต่เพื่อให้เป็นการเตือนใจผู้อ่านให้ตระหนักถึงขีดจำกัดของผู้ถ่ายทอด จึงขอตั้งชื่อบทความว่า "จับมากระเดียด" อันเป็นวลีท้ายของคำพังเพยโบร่ำโบราณ "ฟังไม่ได้ศัพท์ จับมากระเดียด" เพื่อผู้อ่านจะได้ระลึกไว้เสมอว่า แม้ผู้ถ่ายทอด(คือข้าพเจ้าเอง) จะตั้งอกตั้งใจเพียงไร แต่ข้อมูลที่ได้รับไป ควรจะทำการ Cross Check แล้ว re-Check แล้วตามด้วย Double Check ซ้ำอีกหลายๆรอบ อย่าได้ถือเป็นสรณใดๆเป็นอันขาด โดยข้อจำกัดจากขีดจำกัดของผู้ถ่ายทอดนั่นเอง

ทั้งนี้ทั้งนั้น ในการถ่ายทอด ผมจะพยายามยึดในแนวทาง Fair Use Exceptions อย่างระมัดระวัง ด้วยความเคารพสิทธิ์และการลงทุนลงแรงของผู้สร้างสรรงานต้นฉบับ ซึ่งผู้เจริญเช่นเราไม่ควรไปละเมิดโดยไม่แฟร์(Fair)

หมายเหตุ : Fair Use Exception คือแนวทางที่เป็นข้อยกเว้นเพื่อให้สาธารณชนสามารถ พูดถึง, อ้างถึง หรือนำมาใช้ ซึ่ง งานที่มีลิขสิทธิ์ได้(บ้าง) โดยคำนึงถึงสมดุลย์ระหว่าง การที่จะไม่ทำให้เจ้าของงานสร้างสรรเสียหาย ขณะเดียวกัน ก็ต้องไม่ทำให้สาธารณชนถูกกีดกันจากการใช้ประโยชน์โดยสิ้นเชิงอันจะนำมาซึ่งอุปสรรค์ในการพัฒนาเพื่อมนุษยชาติโดยรวม

ดูแนวทางแบบที่เข้าใจง่ายๆได้ที่

https://www.lib.purdue.edu/uco/CopyrightBasics/fair_use.html

 

โดย: olDlaD [8 เม.ย. 57 17:29] ( IP A:110.171.86.229 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   

น่าน ... ลืมรูปประกอบ

โดย: olDlaD [8 เม.ย. 57 17:33] ( IP A:101.108.145.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   โอวคุณ olDlaD ได้รับหนังสือเร็วดีจังครับ ผมยังรออยู่เลยเล่มนี้ เพราะบทความนี้แหละที่รออ่าน
โดย: หมี [8 เม.ย. 57 18:51] ( IP A:115.87.52.220 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   

กระโจนเข้ามาเก็บเกี่ยวความรู้และขออนุญาต

 Fair Use Exception

สำหรับบอกเล่าเรื่องราวต่างๆของไวโอลินให้ผู้ที่สนใจได้รับรู้และรับฟัง

ในโอกาสอันควรครับ ขอบคุณ

โดย: pann [8 เม.ย. 57 22:25] ( IP A:171.4.31.191 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   

แหะๆ ... แบบนี้คงต้องกล่าวขออภัยคุณหมีละครับ ที่ผมดันมา spoil บทความเสียก่อนที่คุณหมีจะได้รับหนังสือ คือผมก็มัวแต่กังวลเรื่อง fair use มากไป เลยลืมนึกถึงประเด็น spoil ไปสนิท ไว้บทความต่อจากนี้ ผมจะไปขุดเอาเล่มเก่าๆหน่อยมาเล่นแทนละครับ จะได้ไม่ spoil ใครอีก 

[ศัพท์คำว่า spoil ใช้ตามน้องๆวัยรุ่นเขาน่ะครับ เห็นใช้กันเวลาที่ใครไปดูหนังมาก่อนแล้วมาชิงเล่าเรื่องว่ามันจบแบบไหน เช่น พระเอกตายตอนจบ หรือ นางเองหนีไปกะคนอื่น ฯลฯ ซึ่งคนฟังก็จะเคืองๆเล็กๆเพราะทำให้เวลาไปดูหนังจริงๆรู้ตอนจบไปแล้วจากที่คนอื่นมา spoil ไว้ เลยไม่ได้ลุ้น ... พอดีผมไม่แน่ใจว่าคุณหมีเป็นวัยรุ่นประมาณไหน เลยขออธิบายศัพท์กำกับไว้หน่อย laugh]

------------------

คุณ pann : "ขออนุญาต Fair Use Exception สำหรับบอกเล่าเรื่องราวต่างๆของไวโอลินให้ผู้ที่สนใจได้รับรู้และรับฟังในโอกาสอันควร" 

olDlaD : "ด้วยความยินดีครับ มีเพื่อนเป็นจำเลยร่วมยังงัยก็อุ่นใจกว่าโดนฟ้องคนเดียวอยู่แล้วครับ แหะๆ laugh (ล้อเล่นนะครับ อย่าซีเรียส)" 

 

โดย: olDlaD [9 เม.ย. 57 12:28] ( IP A:110.171.86.229 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   

คุณolDlaDคะขอ บคุณมากคะ

โดย: ซันนี่ [11 เม.ย. 57 16:45] ( IP A:14.207.50.39 X: )
* ขณะนี้พี้นที่เต็ม ไม่สามารถโพสต์กระทู้เพิ่มได้ *

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน