solo violin
   

ลองไปดูนะครับ เดี่ยวไวโอลิน ไม่ว่ากับเปียโน

หรือกับเครื่องดนตรีอีกสองสามชิ้น

เมโลดี้สำหรับเดี่ยวไวโอลิน และคนที่เล่นไวโอลินต้องไปด้วยกัน

บางครั้งผมมองว่า นักประพันธ์บางทีก็มั่ว

ไม่รู้จะใส่อะไรลงไปในเพลงของเขาเหมือนกัน

ก็เลยไล่โน้ตเร็วๆลงไปในเพลง สลับไปมาแบบนึกไม่ออก(จะแต่งอะไรดี)

หรือบางทีก็ให้กระแทกโบว์ รัวโบว์ ซะอย่างงั้น 

จับเอาโน้ตโน่นนี้นั้นมาใส่ลงไป เรื่อย ไม่อยากให้เพลงไม่จบ

เลยใส่ลงไปให้จบ บางท่อนฟังเถอะไม่ไพเราะเลย แต่ทำไงได้

ที่เล่นเพราะท่อนอื่นมันไพเราะ จริงป่ะ

ผมก็เลยอยากจะบอกว่า คนที่เดี่ยวไวโอลินไม่ต้องไปกังวลอะไรให้มาก

เล่นไปเลย จะกระแทกกระชากโบว์

จะรูดนิ้วมือซ้ายไงก็ทำไปเลย คนแต่งเพลงยังมั่วได้

แล้วทำไมคนเล่นจะมั่วมั่งไม่ได้จริงไหม ก็มั่วตามๆ กันไป

ให้มันจบเพลง สอดแทรกอารมณ์กันไป 

ไม่ต้องไปแคร์ คนประพันธ์เพลงมันก็ตันสมองเป็นเหมือนกัน

ไม่รู้จะใส่อะไรลงไปในเพลงอยู่แล้ว ก็เลยไม่ต้องกังวลให้มาก

เชื่อผมเถอะ จริงๆแล้วไอ้คนประพันธ์เพลงเนี่ย

มันมั่วตัวพ่อเลยละ เพราะถ้าไม่มีลูกมั่ว ก็ไม่มีวันจะเป็นเพลงได้หรอก 

ดังนั้น เวลาเดี่ยวไวโอลินเรา ก็ให้เอาใจของเราเป็นที่ตั้ง

คนประพันธ์เพลงมันก็ใส่โน้ต แค่พาให้เราเดินไปกับมันก็เดินตามมันไป

ไม่รู้นะผมคิดอย่างนี้ ผิดถูกอย่างไร ขอให้ดนตรีเป็นผู้ตัดสินแล้วกัน

โดย: pann [25 ก.ค. 58 9:07] ( IP A:114.109.31.24 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   

ผมเป็นแฟนบทความของคุณ pann มานานครับ ตอนแรกว่าจะไม่แสดงความเห็นแล้วเชียวแต่บรรทัดสุดท้ายของคุณ pann ทำให้ผมอยากแชร์อะไรนิดหน่อยครับ

ผมว่าถ้าให้ดนตรีเป็นผู้ตัดสินดนตรีต้องโอเคแน่เลยเพราะในความเห็นผมดนตรีใจกว้างมาก ไม่ว่าเราจะคิดเห็นยังไงหรือมีความเข้าใจแค่ไหนดนตรีก็เปิดโอกาสให้เราได้ประโยชน์ต่างๆไปเต็มที่ เหมือนบุฟเฟต์ all you can eat เราสามารถรับได้เท่าไหร่ดนตรีก็ให้ได้เท่านั้นครับ

ปัญหาเลยไม่ได้อยู่ที่ดนตรีพอใจหรือไม่ แต่อยู่ที่ตัวเราเองพอใจหรือไม่กับความเข้าใจของตัวเราเอง เราต้องถามตัวเองว่ามันยังมีจุดที่ดูแปร่งๆฟังดูไม่ค่อยเข้าที่เข้าทางรึเปล่า ต้องคิดถึงความเป็นไปได้ว่ามีเรื่องที่เรายังไม่รู้อีกไหม นักแต่งเพลงแต่ละคนแต่งเพลงต่างกันไหม ผลงานต่างไหม วิธีที่ใช้แต่งต่างไหม วิธีคิดต่างรึเปล่า ถ้าต่างต่างยังไง ถ้าไม่ต่างทำไมถึงไม่ต่าง มีคำถามให้ถามมากมายเลยครับและมีคำตอบให้ค้นหานับไม่ถ้วน ออกจะน่าเบื่อไปหน่อยแต่ผมอยากจะสรุปว่าในบางด้านดนตรีเป็น Project ที่แต่ละคนพยายามทำเพื่อที่จะเข้าถึงศิลปะแขนงนี้

ที่ผมเชื่อว่าการเรียนดนตรีควรมีครูสอนก็เพราะแบบนี้แหละครับ อาจารย์คือคนที่เข้ามาเป็นที่ปรึกษาและช่วยเราทำ project นี้ อาจารย์แต่ละคนอาจช่วยคนละด้านและวางตัวต่างกันแต่อย่างน้อยที่สุดเวลาที่เรามีคำถามเราก็รู้ว่าจะถามใคร อาจารย์ที่ดีที่สุดจะสอนเราตั้งคำถามอีกด้วยครับ

ในส่วนเรื่องนักแต่งเพลงในความเห็นของคุณ pann ผมไม่ค่อยเห็นด้วยนะครับ จริงอยู่ว่านักแต่งเพลงก็เป็นคนประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวเป็นเรื่องธรรมดา ในเพลงใหญ่ๆอย่างคอนแชร์โต้ หรือซิมโฟนี่บางทีก็มีท่อนที่คนส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า "ไม่เพราะ" แต่โดยส่วนใหญ่แล้วไม่ค่อยมีความผิดพลาดอย่างที่คุณ pann ว่านะครับ โดยเฉพาะถ้าเพลงเป็นไวโอลินโซโล่กับแอคคอมเปียโนหรือวงสองสามเครื่อง เครื่องอื่นเอาไปทำคอร์ดก็ไม่พอแล้วครับไม่น่าจะเอามาเล่นทับกับทำนองหลัก ถ้าเล่นทับกับทำนองหลักส่วนใหญ่จะมีวัตถุประสงค์พิเศษอย่าง Elgar's Cello Concerto ที่ BSO เพิ่งเล่นไป มีจุดนึงที่เชลโล่โซโล่ลงไปเล่นทับกับเซ็กชั่นเชลโล่และดับเบิ้ลเบสก็เพื่อเปลี่ยนโทนโซโล่ เป็นโทนประสานเสียงที่ได้ความหนามาแลกกับความคล่องแคล่ว คือถ้ามีการเล่นซ้อนไลน์กันแม้แต่ในวงใหญ่อย่างออเครสตร้าส่วนใหญ่คนแต่งเค้าจะออกแบบมาแล้วครับ การเปลี่ยนเทคนิคไม่ว่ามือซ้ายหรือมือขวาคนแต่งเพลงทั่วไปไม่ต้องเก่งมากเท่าไหร่ก็นึกเสียงก่อนที่จะใส่ลงไปอยู่แล้วครับ

อีกมุมนึงคือดนตรีเป็นสารที่คนแต่งส่งผ่านตัวกลางไปสู่ผู้รับฟัง คนเล่นในมุมนี้มีฐานะเป็นคนกลาง แหม ขนาดคนแต่งร่วมมือกับคนเล่นพยายามให้คนฟังเข้าใจแต่ในดนตรีที่ไม่มีภาษาช่วยแบบนี้ผมว่าก็ยากแล้วนะครับ ถ้าคนเล่นมองว่าคนแต่งมั่วมาเราจะมั่วต่อไปยังไงก็ได้อย่างงี้ผมว่าโอกาสยิ่งเลือนราง โดยเฉพาะถ้าคนโซโล่มองว่าเราทำงานอยู่คนเดียวจะเล่นยังไงก็ได้ผมว่านักเปียโนหรือนักดนตรีแอคคอมสองสามคนนั่นต้องตามไม่ทันแน่ๆ แบบนี้บรรยากาศในการทำงานยิ่งไม่น่าชื่นชมแน่ๆครับ

อยากจะสรุปว่าการเล่นแบบไม่แคร์คนแต่งหรือเพื่อนร่วมงานแบบนี้น่าจะเหมาะกับเล่นเองฟังเองมากกว่าครับ การใช้อารมณ์เล่นแบบเต็มที่ก็คงดีครับถ้าเราเชื่อมั่นว่าคนฟังเค้าอยากฟังเรามากไม่ได้อยากฟังเพลงที่เหมือนกับตอนที่คนแต่งแต่งขึ้นมา เอ๊ะ! แต่เพราะอะไรเราถึงเชื่อมั่นอย่างงั้นล่ะครับ

โดย: Abraxas [26 ก.ค. 58 13:36] ( IP A:183.88.85.116 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   

ดนตรีก็เป็นศิลปะแขนงหนึ่ง ที่มี spectrum กว้างมาก ดูอย่างการเขียนรูป (จิตรกรเขาห้ามใช้คำว่าวาดรูป) มีตั้งแต่รูปเหมือน รูป abstract รูปทรงประหลาด ๆ แม้แต่ช้างเอาแปรงระบายสีบนกระดาษ ก็บอกว่าเป็นงานศิลปะ เราก็ไม่รู้ว่าช้างเข้าใจศิลปะอย่างคนหรือเปล่า หรือเป็นศิลปะแบบช้าง ๆ

ผมพอเข้าใจที่คุณ pann กล่าว เพราะว่ามีร้านอาหารร้านหนึ่งในกทม.นี่แหละ เปิดเพลงไวโอลิน คงกลัวจ่ายค่าลิขสิทธิ์มั้ง เป็นเพลงมั่ว ๆ แบบที่ผมสีมั่ว ๆ ทั้งวันได้สบาย บางวันร้านก็เปิดเพลงเปียโนแบบมั่ว ๆ บางทีก็มีฟลูตมั่ว ๆ

สำหรับเพลง classic ระดับโลก คงไม่มั่วแน่ เพราะมีกฎเกณฑ์การประพันธ์มากมาย ส่วนเพลง classic ที่ไม่ติดอันดับอะไร เช่น ผมกับคุณ pann แต่ง หรือช่วยกันแต่ง คงมั่วแบบสุด ๆ ไปเลย

โดย: ฟลิ้นท์ [28 ก.ค. 58 11:29] ( IP A:118.174.219.113 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   

ผมว่าที่มั่วจริง คือคนสมัยใหม่ ที่มักจะรู้อะไรแบบงูๆ ปลาๆ

ส่วนคนยุคก่อนนั้น รู้อะไรรู้จริง ศึกษากันทั้งชีวิต ทุ่มเท ทำสิ่งเดียวจนตาย

 

โดย: ขอบอก [30 ก.ค. 58 12:06] ( IP A:1.47.167.196 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   คนแต่ง. คนเล่นมั่วเอาอย่างคุณ pann. ว่า
ผมนึกถึง ผมเดินผ่านชาวเมาลีสองคนกำลังพูดจากัน กุลีกุลุ ผมฟังไม่รู้เรื่องผมเลยคิดว่าชาวเมาลีแค่พูดมั่วๆ. เลยมั่วพูดไปด้วย. กุลีก่าก้าเกลากุ่ก้. เดี๋ยวมันคงฟังกันรู้เรื่องเองแหละ. 555
โดย: Kreisler [3 ส.ค. 58 4:03] ( IP A:171.6.245.212 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   

ผมนั้นแหละครับที่มั่ว

คือรู้ไม่จริง ทุกอย่างมันมีที่มาที่ไป

รู้แค่เพียงเศษเสี่ยวของทั้งหมดก็ไปเที่ยวสรุปไปแล้วว่าเป็นอย่างโน่นอย่างนี้อย่างนั้น

ซึ่งมันไม่ใช่ ขอบคุณแทนเพื่อนๆนักดนตรี ที่ห้องนี้มีผู้รู้มาสนทนาความรู้ด้านดนตรี

อย่าถือสาหาความสำหรับผมสำหรับบ้างกระทู้ที่ไร้สาระ

แต่เชื่อเถอะครับว่าความรักในดนตรีของผมมีเปียมล้นเลนทีเดียว

โดย: pann [17 ส.ค. 58 1:16] ( IP A:58.11.134.184 X: )
* ขณะนี้พี้นที่เต็ม ไม่สามารถโพสต์กระทู้เพิ่มได้ *

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน