"ขอให้เหมือน...." ไวโอลิน1713
   งานอีกชิ้นในรูปแบบสตรัด ทรงไวโอลินที่คุ้นตากันมากที่สุดก็ว่าได้ แต่ในความที่คุ้นตานี้ต้องบอกว่าเป็นแบบที่ทำตามได้ยากมากที่สุดเลยทีเดียว

และก็อีกเช่นเคยงานชิ้นนี้เกิดแรงบันดาลใจจาก ไวโอลินสตรัดที่ถือเป็นงานครูปี1713 ไม้หลังสองแผ่นลายพระอาทิตย์ทอแสงอันสวยงามจับตา งามทั้งรูปและเสียง ประทับใจจนต้องสร้างงานชิ้นนี้ออกมา ซึ่งใช้แม่แบบจากปี 1713เช่นกัน แต่เป็นตัวHubermanลายหลังสองแผ่นมาเป็นแบบทำงานนี้เสร็จในช่วงเวลาเดียวกับตัว เดลที่ลงในกระทู้ก่อน จึงลองเสียงมาให้ฟังกันอีกครับ

โดย: หมี [14 ม.ค. 57 1:34] ( IP A:110.168.5.22 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   รูปด้านหน้า

โดย: หมี [14 ม.ค. 57 1:35] ( IP A:110.168.5.22 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   รูปด้านหลัง

โดย: หมี [14 ม.ค. 57 1:36] ( IP A:110.168.5.22 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   สวยงามมาก ๆ ครับ ขอชื่นชมในผลงานครับ
โดย: swu [14 ม.ค. 57 11:42] ( IP A:124.122.128.212 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   งามมากครับ^^
โดย: oak [14 ม.ค. 57 11:58] ( IP A:180.183.82.144 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   ขอบคุณมากครับ อาจาร์ย SWU และน้องโอค^^

ทีนี้ขอเล่ารายละเอียดที่มาที่ไปของงานชิ้นนี้เล็กน้อย จากมุมมองคนทำครับ

ไวโอลินสตรัดหรือชื่อเต็มก็คือ ไวโอลินที่ทำโดยช่างชื่อ Antonio Stradivari (1644-1737) ได้รับการยอมรับจากนักเล่นและนักสะสมมาอย่างยาวนาน ด้วยรูปลักษณ์ที่สมบูรณ์แบบน้ำเสียงสดใสเต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง การตอบสนองต่อการเล่นซึ่งนักไวโอลินระดับแนวหน้าล้วนเลือกใช้

หรือแม้กระทั่งไวโอลินที่ผลิตออกมาอย่างมากมายก็ใช้แบบจาก Antonio Stradivari เป็นพื้นฐานโดยส่วนใหญ่ แต่จะถูกต้องตรงหรือไม่ก็ต้องมานั่งพิจารณากันในรายละเอียดเป็นตัวๆให้มึนเล่นไป

โดย: หมี [14 ม.ค. 57 14:17] ( IP A:61.91.175.66 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   งานไวโอลินคันนี้ก็เช่นกัน ได้ทำตามแบบของ Antonio Stradivari ซึ่งหากจะเลือกแบบมาทำแล้วก็ต้องมองไปถึงช่วงปีที่ผลงานของท่านอยู่ในช่วงพัฒนาแบบสมบูรณ์เต็มที่แล้ว นั่นคือแบบในช่วง ยุคทอง ซึ่งอยู่ในช่วงปี 1700 ขึ้นไป แต่ไม่ใช่ว่ายุคอื่นๆไม่ดีแต่ถือว่าการพัฒนาในยุคนี้ถือเป็นขีดสุดของท่านเลยทีเดียว หากจะทำการเรียนรู้ผลที่ได้จากงานสร้างตามแบบสตรัดก็ควรจะเริ่มจากแบบในยุคนี้ก่อนเลย รวมทั้งงานชิ้นสวยๆเสียงดีมากๆของท่าน ก็มักจะพบได้ในยุคนี้เกือบทั้งสิ้นไม่เชื่อถามท่านเจ้าของปี 1713 ดูก็ได้นะครับ
โดย: หมี [14 ม.ค. 57 14:29] ( IP A:61.91.175.66 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   รายชื่องานยุคทองที่มีชื่อเสียงที่พอนึกออกครับ

1704 Betts
1709 La Pucelle
1710 Lord Dunn
1710 Milstein
1713 Kux
1713 Gibson Huberman (ตัวแบบทำงานชิ้นนี้)
1714 Soil
1715 Cremonese
1715 Marsick
1720 Red Mendelssohn
1721 Lady Blunt

และอื่นๆอีกมากมาย หาดูรูปภาพและข้อมูลเพิ่มได้ในห้องช่างทำไวโอลินครับ^^
โดย: หมี [14 ม.ค. 57 14:40] ( IP A:61.91.175.66 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   เอาละโม้มาเยอะและก็โม้ต่อไปละกัน ไวโอลินปี 1713 ที่นำมาเป็นต้นแบบตัวนี้ มีชื่อว่า Huberman หรืออีกชื่อคือ Gibson ซึ่งโด่งดังมากเพราะถูกขโมยไปจากอ้อมอกของเจ้าของคือท่าน Huberman และหายหน้าหายตาไปนานทีเดียว แต่ปัจจุบันได้ปรากฎตัวหรือตามคืนมาได้แล้วนั่นแหละครับ ซึ่งเจ้าของคนปัจจุบันคือ Joshua Bell

ซึ่งถือเป็นตัวอย่างไวโอลินที่งดงามจากยุคทอง (Golden period) ของ Stradivari คนนี้ละเจ้าของที่จะให้ไปถามๆกัน^^ แต่ถ้าใครอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถตามไปอ่านูได้ในหมวดช่างทำไวโอลินซึ่งเจ้าบ้านได้เขียนบทความวิเคราะห์ไว้อย่างละเอียดละออแล้ว
เป็นบทความที่เขียนขึ้นโดยช่างทำไวโอลินมือหนึ่งของโลกทีเดียวครับ นั่นคือนาย Samuel Zygmuntowics ซึ่งเขียนไว้น่าสนใจมากครับ ตามไปอ่านเพิ่มเติมได้ครับ

โดย: หมี [14 ม.ค. 57 14:54] ( IP A:61.91.175.66 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   งานปี 1713 ชิ้นนี้น่าสนใจอย่างไรสำหรับผม นั่นคือ

- ตัวแบบอยู่ในยุคทอง

-ไม้ลายหลังสองแผ่นจัดวางได้อย่างสวยงามในแนวเฉียงจากขอบข้างลงไปเข้าหารอยต่อไม้ตรงกลาง หรือเรียกว่าเรียงลายแบบ"พระอาทิตย์ทอแสง" ซึ่งผมเองมีความประทับใจมากๆกับไวโอลินปี 1713 ที่เคยสัมผัสจัดเรียงลายในรูปแบบนี้เช่นกัน มีเสียงที่กังวาลแจ่มใสเล่นแล้วไม่อยากวางเลยทีเดียวถึงแม้ผมจะเล่นไม่เก่งก็ตาม

-ประกอบกับมีรูปและรายละเอียดที่พอจะนำมาทำได้ ซึ่งก็ได้รับความช่วยเหลือจากท่าน Dr.Violin ในการให้ข้อมูลประกอบการทำอย่างดีมาตลอด

- สีสันของงานวานิชสีแดงเข้มข้น แม้จะเคยถูกทาทับด้วยยาขัดรองเท้าที่ได้ทำการลอกออกจนหมดแล้ว ร่องรอยการสึกที่เป็นเอกลักษณ์ที่แผ่นหลัง

โดยรวมๆแล้วเป็นงานที่สวยสะดุดตา แต่ทำยากมากๆ มากตั้งแต่หาวัตถุดิบกันเลยทีเดียว

โดย: หมี [14 ม.ค. 57 15:10] ( IP A:61.91.175.66 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   แต่ในที่สุดก็ได้ไม้ที่มีแนวไปทางแบบที่เล็งไว้ จึงได้เริ่มงานชิ้นนี้เมื่อปีที่แล้ว โดยไม้ที่ได้นี่สั่งมาจากอิตาลีทั้งแผ่นหน้าและหลัง รวมทั้งไม้ทำคอ ความแห้งถือเป็นส่วนสำคัญมากสำหรับไม้ที่ใช้ทำไวโอลินถึงแม้ว่าตอนดูรูป ลักษณะลายไม้ต่างๆจะดูใช้ได้แล้ว แต่เมื่อของมาถึงอาจจะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ครั้งนี้ก็เช่นกัน ไมแผ่นหลังที่เห็นดูดีทีเดียวจากรูปก่อนสั่งแต่เขาไม่ได้ระบุปีที่ตัด ลุ้นว่ามาถึงจะเป็นอย่างไร ของมาถึงก็อุ่นใจได้ ความแห้งและเกรนไม้มีความเหมาะสมพร้อมใช้งานได้ สงสัยว่าคนขายจะร้อนเงินเปิดกรุเก่ามาขายนะครับ^^ แต่สำหรับการสั่งไม้ถ้าเราทราบปีที่ตัดจะดีกว่ามาก เพราะสามารถทำให้ตัดสินใจได้ง่ายกว่าในการสั่งไม้ครับ

ส่วนไม้แผ่นหน้า เป็นไม้ Spruce ที่มีการจัดเรียงตัวแบบถี่ตรงแนวกึ่งกลางแล้วค่อยห่างตัวออกไปด้านข้าง ซึ่งเป็นแนวการจัดเรียงไม้ที่พบได้บ่อยๆเช่นกันในงานของ Antonio Stradivari แต่ที่สำคัญก็คือการแห้งตัวอีกนั่นเอง ไม้แผ่นหน้าชิ้นนี้ ตัดเมื่อราวๆ 7-8ปี ซึ่งไม้ที่มาถึงมือถือว่าใช้ทำงานได้ แล้วก็ขึ้นอยู่กับการจูนไม้ระหว่างทำด้วย เพื่อให้เกิดความสมดุลของไม้ทั้งคู่ และที่เล่ามานี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นคร่าวๆในการเดินหน้างานจนกระทั่งเสร็จสิ้นกระบวนการตามที่เห็นนี้ครับ

โดย: หมี [14 ม.ค. 57 15:24] ( IP A:61.91.175.66 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   เป็นกำลังใจให้นะครับ.. ขอบคุณมากสำหรับความรู้ ผมกำลังนั่งดูแล้วก็ติดตามพี่ไปเลยๆ สู้ๆครับ
โดย: เอก รักในหลวง [14 ม.ค. 57 16:11] ( IP A:171.7.155.238 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
   เฉียบขาดทั้งสองคันครับ สำหรับผมชอบคันนี้มากกว่า
โดย: ส. [14 ม.ค. 57 17:42] ( IP A:183.88.249.146 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
   ขอบคุณและยินดีครับคุณเอก มีอะไรเพิ่มเติมก็จะมาเขียนมาเล่าให้ได้อ่านกันเล่นๆในบอร์ดนี้ครับ

สำหรับลุงส. ขอบคุณอีกครั้งครับ. ทราบว่าลุงส.คงสะสมไวโอลินทรงสตรัดไว้มากในระดับต้นๆของบอร์ดเราเลยสิครับ. อันนี้ลุงสุบท่านกล่าวเอาไว้นะครับ. ว่าแต่ลุงสุบเราอยู่ใหนหนอ
โดย: หมี [14 ม.ค. 57 18:53] ( IP A:110.168.5.22 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
   ชอบทั้งสองตัวครับ
โดย: OVM [14 ม.ค. 57 19:12] ( IP A:110.164.187.83 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
   เสียงดีทีเดียว สวยมาก วานิชงดงาม สัดส่วนถูกต้อง สมแล้วว่าเป็นกระบี่มือหนึ่งในเมืองไทย
โดย: Dr.Violin [14 ม.ค. 57 19:28] ( IP A:180.183.28.189 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
   ขอบคุณ คุณ OVM และท่าน Dr.Violin มากครับ
โดย: หมี [14 ม.ค. 57 21:28] ( IP A:110.168.5.22 X: )
ความคิดเห็นที่ 17
   สวยงามครับ ขอชื่นชมครับ ส่วนตัวชอบคันนู้นมากกว่าครับ
โดย: ขอบอก [15 ม.ค. 57 10:23] ( IP A:125.24.174.171 X: )
ความคิดเห็นที่ 18
   ขอบคุณครับ คุณขอบอก

งานในรูปแบบของทั้งคู่ก็มีเอกลักษณ์แตกต่างกันไปในทางด้านรูปทรงและเสียง ให้ความรู้สึกและมุมมองที่ต่างกันไปได้เสมอครับ

โดย: หมี [15 ม.ค. 57 17:11] ( IP A:61.91.175.66 X: )
* ขณะนี้พี้นที่เต็ม ไม่สามารถโพสต์กระทู้เพิ่มได้ *

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน