ตามความคิด "เดล เจซู "
   ผมจั่วหัวไว้อย่างนี้ ไม่ได้ตั้งตัวเป็นนักวิเคราะห์ที่เชี่ยวชาญ แต่เพราะเหตุว่า ไวโอลินที่ผมทำขึ้นมาในช่วงนี้หรือที่ผ่านๆมา ถ้าไม่เลือกแบบ สตรัด ก็ต้องเป็น เดล เจซู หรือไม่ก็ทำทั้งสองแบบในเวลาเดียวกัน

โดย: หมี [17 ม.ค. 57 16:44] ( IP A:61.91.175.66 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   เหตุที่เลือกทั้งสองแบบมาทำนั้น ไม่ใช่ว่าผมเก่งถึงขนาดสร้างไวโอลินได้ไม่แพ้ช่างที่กล่าวกันว่า สร้างไวโอลินที่ดีที่สุดที่เคยปรากฎมาบนโลกนี้ หากแต่ว่าเป็นการทำความเข้าใจตัวไวโอลินแบบมีหลักยึดก่อน และไวโอลินที่เป็นผลงานของทั้งสองท่านก็ถูกเลือกใช้โดยนักไวโอลินระดับโลก ไม่ว่าจะด้วยการเป็นเจ้าของเอง หรือจากการให้ยืมใช้จากผู้ที่เป็นเจ้าของอีกที

ผลงานทั้งสองท่านอายุก็อยู่ในหลักร้อย ไวโอลินเก่าขนาดนี้ยังถูกนำมาใช้งาน ถูกบันทึกเสียง นำมาแสดงต่อหน้าสาธารณะ ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือที่นักเดี่ยว นักโซโลไวโอลิน ใช้แสดงใช้บรรเลง พร้อมยังสร้างความประทับใจให้กับผู้ฟังได้เสมอมา

โดย: หมี [17 ม.ค. 57 16:47] ( IP A:61.91.175.66 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   บทเพลงแรกๆที่ทำให้เกิดสนใจในเครื่องดนตรีตะวันตกชิ้นนี้ ถ้าไม่นับเพลงไทย ก็จะนึกถึงเพลง Souvenir จากการฟังผลงานของ Nadien

และยังพยายามฝึกเล่นอยู่แม้จะได้นิดๆหน่อยๆก็ตาม

โดย: หมี [17 ม.ค. 57 16:50] ( IP A:61.91.175.66 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ไวโอลินที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ที่มีออกมามากมายทั้งแบบงานโรงงาน งานระดับเวิรค์ชอบ ถึงงานระดับมาสเตอร์ทำทุกกระบวนการด้วยมือช่างคนเดียว ก็ยังยึดแนวแบบตามงานช่างในยุคที่ทั้งสองทำมา อาจมีเปลี่ยนบ้างก็ในจุดต่างๆเล็กๆน้อย ให้เกิดเอกลักษณ์ของแต่ละช่าง หรือแบรนด์นั้นๆ แต่หากมองโดยรวม มันก็มีพื้นฐานจากของเดิมทั้งสิ้น

โดย: หมี [17 ม.ค. 57 16:52] ( IP A:61.91.175.66 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   ดังนั้นผมเองจึงอยากทำความเข้าใจกับงานทั้งสองท่าน ให้่เกิดเป็นพื้นฐาน ก่อนที่จะนำไปพัฒนาจนเป็นงานในรูปแบบของตัวเองได้และคงจะบอกไม่ได้ว่างานที่เราจะสร้างต่อไป หรือแบบไวโอลินของเรานั้นเป็นแบบไวโอลินที่สามารถทำได้ดีกว่า หรือเยี่ยมยอดกว่างานช่างในอดีตแล้วโดยสิ้นเชิง

หากว่าต้องทำความเข้าใจให้กระจ่างในตัวไวโอลินทั้งสองรูปแบบ ซึ่งก็ไม่ได้ทำแค่เพียงนั่งอ่านข้อมูล ประวัติ ดูรูป หรือแม้นว่าหากมีโอกาสได้สัมผัสจับต้องของจริง จะสรุปได้แล้วว่า เข้าถึง เข้าใจ อย่างถ่องแท้แล้วก็หาได้ไม่

โดย: หมี [17 ม.ค. 57 16:55] ( IP A:61.91.175.66 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   หากแต่ว่าผมเลือกที่จะทำความเข้าใจนำตนเข้าสู่กระบวนการสร้าง ด้วยการลงมือทำ แต่การเริ่มต้นก็ไม่ได้ง่ายดายนัก หากแต่เวลาที่ผ่านมานานนับปี ถึงค่อยๆทำความรู้ความเข้าใจ หาทักษะทางงานช่างที่ต้องทำควบคู่กันไป ทดลองทำกระบวนการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานไวโอลินให้เข้าใจเป็นพื้นฐานเสียก่อน

หากไม่ประสบความสำเร็จในขั้นตอนนั้นก็ต้องลองวิธีใหม่จนกว่าจะเจอจุดที่ตัวเองคิดว่า มันตรงได้ผลสำหรับทำด้วยตัวเรา และผลลัพธ์งานของแต่ละขั้น ช่างแต่ละคนอาจทำกันคนละวิธีได้แต่เป้าหมายที่ได้ก็อาจจะดีเหมือนๆกัน เฉกเช่นงานของ อันโตนิโอ สตาดิวารี กับงานของ เดล เจซู ล้วนก็ได้ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมทั้งคู่ แต่จุดเริ่ม วิธีคิด รูปร่างรูปทรงที่ได้ก็แตกต่างกันไป

และด้วยมุมมองของคนที่มองงานของทั้งคู่ก็ยังมีการพูด การถกเถียงกันอย่างหลากหลายได้ทุกยุคทุกสมัย แล้วก็ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคนด้วย
โดย: หมี [17 ม.ค. 57 16:57] ( IP A:61.91.175.66 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   หากได้คำแนะนำจากช่างที่มีประสบการณ์ก็จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาไปได้มาก

โดย: หมี [17 ม.ค. 57 16:58] ( IP A:61.91.175.66 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   เกริ่นมาซะเยอะไม่ได้ตามซะที แล้วทำไมต้องตามความคิดเขาด้วย ในเมื่อคนทำก็ไม่อยู่ให้ตามซะแล้ว นี่ถ้ายังอยู่เราคงได้เห็นหนังสือที่เขียนโดยคนทำอธิบายวิธีสร้าง คงเอามาทำตามได้เลยจะดีไม่น้อย แต่มันก็ไม่อาจที่จะเป็นอย่างนั้นได้แน่นอน

ข้อมูลที่มีที่เราได้อ่านๆกันนั้น ก็เกิดจาการวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญในยุคปัจจุบัน หรือก็ไม่เกินร้อยปี ที่เขียนถึงผลงานของท่าน และหาอ่านได้ในบอร์ดนี้เจ้าบ้านก็ทำไว้ในหมวดช่างทำไวโอลินแล้วให้หาข้อมูลกันครับ ดีมากๆ
โดย: หมี [17 ม.ค. 57 17:00] ( IP A:61.91.175.66 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   ว่ากันในการออกแบบหรือสร้างสรรค์งาน หรือการผลิต ผลิตภัณฑ์สักชิ้น คงจะอยู่ดีๆทำออกมาลอยๆไม่ได้แน่ แต่มันเป็นกระบวนการคิดการเลือกสรรหยิบจับ ผสมผสานสิ่งที่คิด นำมาปะติดปะต่อ ถ่ายทอด ออกมาเป็นรูปธรรม เป็นชิ้นงาน ทดลองทดสอบแล้วว่าลงตัว จึงถูกนำเสนอสู่สาธารณะให้ได้รับรู้ ดุจเดียวกับผลิตภัณฑ์สินค้าสักชิ้นกว่าจะออกสู่ตลาดก็ต้องเทสแล้วเทสอีก จนสมบูรณ์แล้วจึงนำออกขาย แม้กระนั้นก็ยังต้องปรับปรุงให้ดีขึ้นอีกได้ระหว่างผลิตภัณฑ์นั้นๆยังอยู่ในตลาด

ที่เปรียบเทียบมานี้เพราะมองว่า เมืองเครโมนาที่กล่าวกันว่าเป็นเมืองแห่งไวโอลินร้านหรือเวิคร์ชอบคนทำไวโอลินก็อยู่ติดๆกัน ความรู้การแลกเปลี่ยนข้อมูลก็คงจะวนเวียนกันอยู่ในถิ่นนั้นๆ การแข่งขันย่อมจะมีขึ้นได้เพราะผลิตสินค้าชนิดเดียวกัน ย่อมต้อมมีสิ่งที่สร้างความประทับใจให้กับลูกค้าที่จะมาสั่งทำด้่วย หากร้านใหนได้รับความนิยมก็มักจะมีรายได้ที่ดีไปด้วย จึงต้องเกิดการสร้างสรรค์เพื่อให้ได้สิ่งที่ถูกใจคนซื้อ เหมือนกระบวนการผลิตสินค้าในปัจจุบันที่กล่าวไปเบื้องต้น แม้ว่าจะล่วงเลยมาหลายร้อยปีแล้วก็ตาม

โดย: หมี [17 ม.ค. 57 17:02] ( IP A:61.91.175.66 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   ทีนี้มาว่ากันที่ตัว เดล เจซู ผู้สร้างงานไวโอลินที่มีชื่อเสียง มีชื่อเต็มๆว่า Giuseppe Guarneri (1698-1744)บันทึกของ Hill ส่วนคำว่า "del Gesu" เป็นฉายาที่เรียกกันจากฉลากที่ติดอยู่ภายในไวโอลินของท่าน
ซึ่งในสภาวะที่เขาเกิดและเติบโตที่เมืองเครโมนา คงหลีกหนีอาชีพนี้ไปไม่พ้น ยกเว้นว่าจะไม่ชอบหรือไม่อยากทำ (ผมคิดตามที่ผมเริ่มศึกษางานของท่านครับ ถ้าจะไม่ถูกก็ว่ามาที่ผมเลย อิอิ)

สภาพความเป็นอยู่หรือร้านทำไวโอลินในยุคนั้นจะเป็นอย่างไรผมก็ไม่อาจทราบได้จริงๆ เห็นเพียงแต่ภาพในหนังสือเท่านั้นแต่ก็เป็นยุคหลังไม่ใช่ดั้งเดิมในยุคที่ เดล เจซู ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งยุคนั้นยังไม่มีกล้องถ่ายรูป แต่มองจากภาพก็คล้ายกับว่าเป็นตัวอาคารที่ติดๆกันแบบตึกแถว แบ่งเป็นห้องมีประมาณสามถึงสี่ชั้น และก็มีดาดฟ้าด้วย ชั้นบนนี้เองอาจจะทำเป็นพื้นที่ทำงานต่างๆก็เป็นได้

ดังนั้นลองนึกเล่นๆดูถ้าทุกบ้านทำไวโอลินพร้อมๆกัน เสียงเลื่อยไม้ ตอกไม้คงดังระงมไปทั้งเมืองเป็นแน่แท้
โดย: หมี [17 ม.ค. 57 17:03] ( IP A:61.91.175.66 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   ภาพเมืองเครโมนาไม่ทราบปีที่ถ่าย สังเกตุเห็นหอคอยจัตุรัสกลางเมืองชัดเจน และก็ยังมีมาจนปัจจุบัน เขายังคงรักษาไว้ หากว่าเทียบกับบ้านเราก็น่าจะมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายๆนู้นเลยครับ

โดย: หมี [17 ม.ค. 57 17:04] ( IP A:61.91.175.66 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   ผังเมืองเครโมนาในยุคนั้น ดูเผินๆก็ชวนให้นึกถึงอยุทธยาเช่นกัน

โดย: หมี [17 ม.ค. 57 17:05] ( IP A:61.91.175.66 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
   ลักษณะตัวอาคารที่หนึ่งในนั้นเป็นบ้านและที่สร้างงานไวโอลินของ เดล เจซู

โดย: หมี [17 ม.ค. 57 17:05] ( IP A:61.91.175.66 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
   บรรยากาศการทำไวโอลินเมื่อเสร็จงานเคลือบ ก็นำไปผึ่งแสดงแดดให้แห้งบนชั้นดาดฟ้า

โดย: หมี [17 ม.ค. 57 17:06] ( IP A:61.91.175.66 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
   เดล เจซู เองไม่ได้เป็นคนแรกๆในตระกูล Guarneri ที่ทำไวโอลิน แต่เริ่มมาตั้งแต่รุ่นปู่ถ่ายทอดลงมาสู่ลูกและหลาน ดังนั้นจึงมีคนในตระกูลที่ทำไวโอลินกันหลายคน เหตุนี้อีกบางคนจึงต้องแยกตัวออกไปทำมาหากินที่อื่นบ้าง ไม่งั้นคงจะลำบากหากต้องแข่งกันเองในครอบครัว แถมยังมีร้านข้างๆที่ต้องแข่งขันกันเป็นหลักอีก

การที่จะสร้างงานที่เป็นอิสระในความคิดให้แตกต่างจากของช่างในตระกูล คงต้องออกไปเริ่มต้นที่เมืองอื่นอาจจะดีกว่า

ตราประจำตระกูล Guarneri

โดย: หมี [17 ม.ค. 57 20:34] ( IP A:124.121.217.178 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
   แต่ถึงแม้คนในตระกูลบางส่วนจะออกจากบ้านกัวนารีไป แต่เป็นที่ทราบกันดีว่า เดล เจซู นั้นสร้างผลงานทั้งหมดที่เป็นไวโอลิน และตกทอดมาสู่ยุคปัจจุบัน ล้วนทำจากที่เมืองนี้เท่านั้น แสดงให้เห็นว่า เดล เจซู นั้นยังยืนหยัดเชื่อมั่นสร้างผลงาน อยู่ท่ามกลางการแข่งขันที่สูงในเมืองนี้ต่อไป
แม้นว่า ไวโอลินของสตราดิวารีจะมีอิทธิพลสูงมากกับการตัดสินใจเลือกซื้อไวโอลินที่เมืองเครโมนาของคนในยุคนั้น
โดย: หมี [17 ม.ค. 57 20:46] ( IP A:124.121.217.178 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
   เดล เจซู เองในช่วงแรกๆที่เริ่มสร้างงาน คงมีอิทธิพลของงานสตราดิวารีเข้ามาปรากฎอยู่ในงานสร้างของเขา นอกเหนือจากรูปแบบของงานในตระกูลแล้ว ซึ่งผมคาดเดาว่า อาจจะเป็นการเรียนรู้ข้อดีข้อด้อย และการทดลองสร้างสรรงานใหม่ๆดูบ้าง

ซึ่งถ้าเทียบแล้วช่วงนั้นที่ เดล เจซู เริ่มต้นกับงานในอาชีพช่างทำไวโอลิน สตราดิวารีเองอายุก็คงจะอยู่ในช่วงปลายแล้ว

งานยุคแรกๆ ของ เดล เจซู ประมาณปี 1727 สังเกตุได้อยู่ว่ามีกรอบแบบแผนเดิมอยู่และการพยายามสร้างสรรแนวคิดใหม่เข้าไป

โดย: หมี [17 ม.ค. 57 21:07] ( IP A:124.121.217.178 X: )
ความคิดเห็นที่ 17
   ปี1740 ที่ผมใช้เป็นแบบในการสร้างงานชิ้นนี้ งานของท่านมีอิสระหลุดจากกรอบเดิมๆไปมากแล้ว ประกอบกับกล่าวกันว่างานไวโอลินช่วงนี้หรือหลังจากนี้เริ่มที่จะมีความไม่คงเส้นคงวา การทำแบบรีบๆขาดความเอาใจใส่ หรืออะไรก็แล้วแต่ไม่อาจรู้ได้ เพราะจากการมองที่ตัวงานเองทำให้การวิเคราะห์จากหลายๆผู้เชี่ยวชาญชี้ไปทางแนวนั้น

งานที่กล่าวกันว่ามีความไม่เรียบร้อยในบางจุด อาจทำด้วยความรีบร้อน เห็นได้จากช่องเอฟซ้ายขวาวางไม่เท่ากันบ้าง เบี้ยวนิดเบี้ยวหน่อย การไม่เก็บผิวร่องรอยสิ่วต่างๆไม่ทำให้เรียบ แต่จะปล่อยทิ้งไว้ให้เห็นอย่างเด่นชัด

แต่หากถอยมามองโดยรวมทั้งตัวแล้ว จะเกิดความรู้สึกที่น่ามองอย่างประหลาด เกิดสมดุลในสัดส่วนและที่สำคัญเหนือสิ่งเหล่านั้น คุณภาพเสียงที่ได้จากรูปลักษณ์ที่กล่าวมา กลับเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังและความสดใสชัดเจนดียิ่ง

อันนี้ต้องบอกว่าจากที่ได้ฟังในปัจจุบันนะครับ แต่ตอนเสร็จใหม่ๆไม่อาจบอกได้ว่าเป็นอย่างไร
โดย: หมี [17 ม.ค. 57 21:26] ( IP A:124.121.217.178 X: )
ความคิดเห็นที่ 18
   ช่วงปี 1740เป็นช่วงปีของงานนี้ และตัวที่เลือกคือ ไวโอลินคู่ใจของท่าน Eugene Ysaye ท่านใช้บรรเลงและรักมาก ถึงกับมีการใส่ข้อความเพิ่มเติมลงไปในตัวไวโอลินด้วยทีเดียว นัยว่า "ไวโอลินคันนี้เป็นเพื่อนแท้ของท่าน"

และในปีนี้ เดล เจซูยังสร้างไวโอลินที่มีชื่อเสียงอีกเช่น จากข้อมูลของ Hill ดังนี้

1740 ex Lutti
1740 ex Heifetz
1740 ex Kreisler
1740 ex Bonjour
1740 ex Rovelli
1740 ex Sauret
โดย: หมี [17 ม.ค. 57 21:34] ( IP A:124.121.217.178 X: )
ความคิดเห็นที่ 19
   Eugene Ysaye

โดย: หมี [17 ม.ค. 57 21:36] ( IP A:124.121.217.178 X: )
ความคิดเห็นที่ 20
   ไวโอลิน เดล เจซู ปี 1740 Ysaye

ไวโอลินคันนี้ไม้หน้าต่อแบบสองแผ่น ส่วนแผ่นหลังเป็นไม้แผ่นเดียว วางลายเฉียงลงจากขวามาซ้าย ซึ่งมีไวโอลินอีกตัวที่ชื่อ Kochanski ทำในปี 1741 และทำให้ผมนึกถึงไวโอลินของ เดล เจซู อีกตัวปี1741 เช่นกันที่ใช้ไม้แผ่นหลังคล้ายๆแบบนี้ ซึ่งจากการที่ได้ลองเสียงในระยะสั้นๆ บอกได้ถึงความแจ่มชัด ความหลากหลายของเสียง การลงโบว์ที่ไม่ต้องออกแรงมาก แม้ว่าอายุมันตั้ง 273 ปีมาแล้วก็ตาม

โดย: หมี [17 ม.ค. 57 21:51] ( IP A:124.121.217.178 X: )
ความคิดเห็นที่ 21
   ผลงานไวโอลินที่ได้จากการตีความ ความคิดของ เดล เจซู ในครั้งนี้

โดย: หมี [17 ม.ค. 57 21:56] ( IP A:124.121.217.178 X: )
ความคิดเห็นที่ 22
   ถ้ามันอายุ 273 ปีเท่ากัน มันก็อาจยิ่งใหญ่เท่ากันหรือมากกว่าก็ได้ครับ
โดย: ส. [18 ม.ค. 57 18:02] ( IP A:183.88.249.146 X: )
ความคิดเห็นที่ 23
   สุดยอดครับหมี
โดย: Dr.Violin [18 ม.ค. 57 19:41] ( IP A:180.183.174.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 24
   นั่งทานองุ่นแล้วนั่งอ่านทุกตัวอักษรตั้งแต่ต้นจนจบครับ..
โดย: เอก รักในหลวง [18 ม.ค. 57 21:33] ( IP A:27.145.62.129 X: )
ความคิดเห็นที่ 25
   ครับ ลุงส. หวังว่าไวโอลินคันนี้จะคงอยู่ได้ใช้งานได้เป็นร้อยๆปีเช่นกันครับ

ขอบคุณท่าน Dr.Violin ด้วยครับ งานสร้างครั้งนี้ก็ได้รับความรู้จากสิ่งสุดยอดที่ท่านให้ความรู้มาครับ

ยินดีครับ คุณเอก
โดย: หมี [18 ม.ค. 57 23:52] ( IP A:124.121.195.117 X: )
ความคิดเห็นที่ 26
   จากที่ลุงส. ว่ามาถึงเรื่องอายุไวโอลิน ก็ทำให้ต้องมาว่าต่อถึงเรื่องนี้อีกสักนิดหน่อย ด้วยว่าไวโอลินที่ทำด้วยไม้ทำไมถึงอยู่มานานได้ขนาดนี้ ผมเองคิดว่าส่วนหนึ่งคงอยู่ที่การดูแลเก็บรักษาอย่างเอาใจใส่จากเจ้าของไวโอลินที่ผ่านๆมาด้วย

หากมองไปถึงการสร้างไวโอลิน การเลือกไม้เป็นส่วนสำคัญทีเดียวในระดับต้นๆ หากไม้ที่เลือกไม่เหมาะสมดีพอ ไวโอลินคันนั้นอาจเปลี่ยนสภาพไปจากรูปร่างเดิมที่ตั้งใจไว้แต่แรกแล้ว คงไม่อยู่ได้ยาวนานขนาดนี้แน่ ดังนั้นการมองไปที่ไม้ที่สร้างก็ช่วยให้เราพิจารณาคุณสมบัติไวโอลินที่ดีได้ส่วนหนึ่งเช่นกัน
โดย: หมี [19 ม.ค. 57] ( IP A:124.121.195.117 X: )
ความคิดเห็นที่ 27
   วัตถุดิบหลักที่เดล เจซู ใช้นั้นก็คงเป็นไม้ในยุคเดียวกับของที่ช่างไวโอลินในเมืองเครโมนาใช้กัน แต่อาจจะขึ้นอยู่กับงบประมาณด้วยว่าถ้ามีมากก็จะได้ไม้ดีๆไปก่อน ด้วยทุนรอนของท่านเอง อาจจะน้อยเพราะเทียบกับปริมาณงานแล้ว ไวโอลินของ เดล เจซู ดูจะน้อยกว่าทางฝั่ง สตราดิวารีอยู่ค่อนข้างมาก แต่ก็ไม่มีใครทราบจำนวนที่แท้จริง หรือบางทีเรื่องลายไม้ก็อาจจะไม่โดเด่นเท่างานของสตรัดก็ตาม แต่ความเข้าใจในเรื่องการคัดไม้ จูนไม้ของท่านดีเยี่ยม หรือหลักการนี้เป็นหลักการทั่วไปที่ทราบกันดีอยู่แล้วของช่างทำไวโอลินในเมืองเครโมนาก็เป็นได้

ในข้อมูลที่มีผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวไว้ว่า งานของเดล เจซู บางครั้งไม่ได้ใช้ไม้ที่เก่ามาก ด้วยทุนหรืองบประมาณที่มีไม่มาก ทำให้ไม้ที่ท่านนำมาใช้นั้นมีอายุไม่มากนัก โดยนับจากการปีที่ตัดจนกระทั่งถูกนำมาใช้งาน แต่ถ้ามองที่ตัวงานแล้วความคงทนที่อยู่มาถึงปัจจุบันนั้น บอกได้ว่าท่านก็คงไม่ได้เลือกไม้ที่เพิ่งตัดใหม่ๆมาทำเป็นแน่ มิฉะนั้นแล้วไม้คงบิดผิดรูปผิดร่า่งไปนานแล้ว ไม้ที่ใช้คงต้องแห้งสนิทดีแล้วเท่านั้นถึงจะเหมาะสมจริงๆที่จะนำมาสร้างไวโอลิน
โดย: หมี [19 ม.ค. 57] ( IP A:124.121.195.117 X: )
ความคิดเห็นที่ 28
   ไม้ที่ เดล เจซู ใช้นั้นปัจจุบันก็ไม่มีหลักฐานหรือชิ้นส่วนเศษไม้ที่เหลือจากการสร้างไวโอลินให้เห็นกันอีกแล้ว จะหาดูได้ก็จากตัวงานจริง หรือรูปถ่ายเท่านั้น ดังนั้นการพิจารณาที่จะหาไม้มาทำไวโอลินตามแบบก็ต้องดูความใกล้เคียงจากภาพ และมองหาไม้ที่มีอายุการตัดที่เหมาะสมให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ก่อน เหตุผลก็ด้านการให้เสียงที่ดี และความคงทนต่อไปในอนาคต อย่างที่ลุงส.ว่าไว้ รวมทั้งให้งานสร้างออกมามีความรู้สึกสวยงามน่าดูไปด้วย แต่อย่างไรก็ไม่อาจหาไม้ได้ตรงกับตัวต้นแบบทุกกระเบียดนิ้วครับ

สำหรับไม้ที่ใช้ทำแผ่นหน้าไวโอลินของผม แผ่นหน้าได้ไม้ตัดปี1996ครับ

ไม้แผ่นหน้าปี 1996 เนื้อแห้งสนิทดี

โดย: หมี [19 ม.ค. 57] ( IP A:124.121.195.117 X: )
ความคิดเห็นที่ 29
   ไม้แผ่นหลังได้ไม้ บอลข่านเมเปิล ตัดปี 2001 และต้องหาลายที่ไปในแนวทางเดียวกับตัวแบบ เท่าที่จะทำได้ เพราะจะทำให้เวลาทำงานเคลือบจะได้พื้นผิวมุมมองไปในทางเดียวกัน เพื่อฝึกการสังเกตุเวลาลงแปรงเคลือบวานิชของผมเองด้วยครับ

โดย: หมี [19 ม.ค. 57] ( IP A:58.11.212.181 X: )
ความคิดเห็นที่ 30
   ขอเรียนถามท่านผู้รู้ดังนี้ครับ

del Jesu อ่านว่า เดล เจซู หรืออ่านว่า เดล เยซู หรืออ่านได้ทั้งคู่ครับ

แปลว่า อุทิศแด่พระเยซู ใช่หรือไม่ ?
โดย: OVM [19 ม.ค. 57 17:33] ( IP A:202.28.7.142 X: )
ความคิดเห็นที่ 31
   สุดยอดครับพี่หมี ขอบคุณมากครับสำหรับความรู้

พี่ขีดน่าจะทำถ้วยกาแฟเฉพาะสำหรับพี่หมีนะครับ
โดย: Kreisler [19 ม.ค. 57 17:53] ( IP A:171.5.3.239 X: )
ความคิดเห็นที่ 32
   น่าสนใจครับ คุณ OVM ผมเองต้องออกตัวว่าไม่แน่ใจการเขียนที่ถูกต้องแน่นอนจริงๆ ที่ผมเขียน "เดล เจซู" ก็เพราะความคุ้นชินของผมเองครับ ผิดถูกก็ขออภัยล่วงหน้า หากได้ผู้รู้ทางด้านภาษา อย่างลุงสุบ และท่าน Dr.Violin ท่านเชี่ยวชาญโดยเฉพาะกับไวโอลินของ "del Gesu" มาช่วยให้คำแนะนำคงได้ความกระจ่างแน่นอนครับ

สำหรับคำว่า เดล เจซู (อันนี้ที่ผมเขียน) ถ้าเป็นตัวภาษาอังกฤษ ผมดูจากข้อมูลในหนังสือของ Hill เขาจะเขียน del Gesu อันนี้ไม่แน่ใจว่าจะต่างกับ Jesu อย่างไรนะครับ

รูปประกอบจากการตีพิมพ์ในเล่มครับ

โดย: หมี [19 ม.ค. 57 19:12] ( IP A:58.11.212.181 X: )
ความคิดเห็นที่ 33
   ส่วนที่มาของคำเรียกชื่อ "del Gesu" มาจากสัญลักษณ์ที่พิมพ์อยู๋ในฉลากตามนี้ครับ

โดย: หมี [19 ม.ค. 57 19:14] ( IP A:58.11.212.181 X: )
ความคิดเห็นที่ 34
   ขอบคุณน้อง Kreisler ครับ นานๆงานเสร็จถึงจะเขียนกันที เขียนมากๆเดี๋ยวเนื้อที่เต็มครับ ^^
โดย: หมี [19 ม.ค. 57 19:16] ( IP A:58.11.212.181 X: )
ความคิดเห็นที่ 35
   

del Gesu

แปลว่า ของพระผู้เป็นเจ้า ,ของพระเจ้า

ไม่ใช่รึ?

โดย: La Lombardia [22 ม.ค. 57 17:12] ( IP A:14.207.66.209 X: )
ความคิดเห็นที่ 36
   ลองค้นหาใน Google พบว่า del(ภาษาอิตาลี) แปลว่า ใน, ของ, แห่ง, of(English)
โดย: OVM [29 ม.ค. 57 19:50] ( IP A:110.164.187.83 X: )
ความคิดเห็นที่ 37
   จูเซปเป กวาร์นีเอรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กุยเซ็ปเป กวาร์นิเอรี
Giuseppe Guarneri
เกิด 21 สิงหาคม ค.ศ. 1698
เครโมนา อิตาลี
เสียชีวิต 17 ตุลาคม ค.ศ. 1744 (46 ปี)
เครโมนา อิตาลี
สัญชาติ อิตาลี
รู้จักในสถานะ ช่างทำไวโอลิน
ปัจจามิตร อันโตนีโอ สตราดิวารี
บาร์โทโลมีโอ กุยเซ็ปเป อันโทนีโอ กวาร์นิเอรี "เดล เกซู" (อิตาลี: Bartolomeo Giuseppe Antonio Guarnieri, del Gesù) (21 สิงหาคม ค.ศ. 1698 - 17 ตุลาคม ค.ศ. 1744) [1> ช่างทำไวโอลินที่มีชื่อเสียงจากเมืองเครโมนา ประเทศอิตาลี มีชื่อเสียงเทียบเคียงได้กับอันโตนีโอ สตราดิวารี (1644-1737) โดยกุยเซ็ปเปเป็นหลานชายของอันเดรีย กวาร์นิเอรี (1626-1698) ที่เคยเรียนรู้วิชาทำไวโอลินในตระกูลอามาติ และเป็นลูกศิษย์ของนิโคโล อามาติ เช่นเดียวกับอันโตนีโอ สตราดิวารี


ตราสัญลักษณ์บนไวโอลินของ เดล เกซู
กุยเซ็ปเป กวาร์นีเอรี มีฉายาว่า "เดล เกซู" (อิตาลี: del Gesù, อังกฤษ: of Jesus) เนื่องจากไวโอลินที่เขาผลิต จะใช้ตรา เป็นรูปไม้กางเขนโรมัน และอักษรย่อ IHS ของพระคริสต์ในลัทธิเยซูอิด


อิล แคนนอน เดล เกซู จัดแสดงอยู่ที่เมืองเจนัว
ไวโอลินตัวที่มีชื่อเสียงที่สุดของเดล เกซู คือไวโอลินชื่อว่า Il Cannone Guarnerius (The Cannon) [2> ผลิตขึ้นในปี ค.ศ. 1743 เคยเป็นไวโอลินที่นิโคโล ปากานินีใช้เล่นจนวาระสุดท้าย ปัจจุบันเป็นสมบัติของเมืองเจนัว และได้รับการจดทะเบียนเป็นสมบัติแห่งชาติของอิตาลี [3>
โดย: OVM [29 ม.ค. 57 19:52] ( IP A:110.164.187.83 X: )
ความคิดเห็นที่ 38
   ดังนั้น del Gesu (ภาษาอิตาลี) อ่านว่า " เดล เกซู "
of Jesus (ภาษาอังกฤษ) อ่านว่า " ออฟ เจซัส "
แปลว่า " ของพระเยซู " (คือ กุยเซ็ปเป กวาร์นีเอรี ถวายให้พระเยซู )
โดย: OVM [29 ม.ค. 57 20:07] ( IP A:110.164.187.83 X: )
ความคิดเห็นที่ 39
   1 ทิโมธี 2:5 กล่าวอย่างชัดเจนถึงความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้าและพระเยซูว่า “มีพระเจ้าองค์เดียว และมีคนกลางแต่ผู้เดียวระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ คือพระเยซูคริสต์ผู้ทรงสภาพเป็นมนุษย์“ คำที่เน้นไว้นำไปสู่บทสรุปดังนี้

- มีพระเจ้าแท้แต่องค์เดียว จึงเป็นไปไม่ได้ที่พระเยซูเป็นพระเจ้า ถ้าพระบิดาคือพระเจ้า และพระเยซูคือพระเจ้า ก็จะมีพระเจ้าสององค์
"แต่ว่าสำหรับพวกเรานั้นมีพระเจ้าองค์เดียว คือพระบิดา" (1 โครินธ์ 8:6) "พระเจ้าพระบิดา" คือพระเจ้าเพียงองค์เดียว จึงไม่อาจมี "พระเจ้าพระบุตร" ดังเช่นคำสอนของพวกที่เชื่อในตรีเอกานุภาพ พระคริสตธรรมคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมแสดงว่า ยาเวห์ พระเจ้าองค์เดียวเป็นพระบิดา (อิสยาห์ 63:16; 64:8)

- นอกจากพระเจ้าองค์เดียวนี้ มีคนกลางคือพระเยซูคริสต์ผู้ทรงสภาพเป็นมนุษย์ "…และมีคนกลาง…" คำว่า “และ” แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างพระคริสต์และพระเจ้า

- การที่พระคริสต์เป็น "คนกลาง" หมายความว่า พระองค์ทรงเป็นคนกลางระหว่างมนุษย์ที่มีบาปและพระเจ้าผู้ไร้บาป พระองค์ไม่สามารถที่จะเป็นพระเจ้าผู้ไร้บาปเสียเอง พระองค์จะต้องเป็นมนุษย์ไร้บาปที่มีธรรมชาติของมนุษย์ที่มีบาป "พระเยซูคริสต์ผู้ทรงสภาพเป็นมนุษย์" ทำให้เราเข้าใจอย่างถูกต้อง แม้ว่าเปาโลจะบันทึกพระธรรมนี้หลังจากที่พระเยซูทรงเสด็จสู่สวรรค์ ท่านก็ไม่ได้ใช้คำว่า "พระเจ้าพระเยซูคริสต์"
โดย: OVM [29 ม.ค. 57 20:18] ( IP A:110.164.187.83 X: )
ความคิดเห็นที่ 40
   ไม่มีใครช่วยตอบให้ชัดเจนเลย เค้าหาเองก็ด้ายยย ฮึ
โดย: OVM [29 ม.ค. 57 20:23] ( IP A:110.164.187.83 X: )
ความคิดเห็นที่ 41
   

ขอบคุณมากครับ คุณ OVM 

โดย: หมี [30 ม.ค. 57 12:35] ( IP A:61.91.175.66 X: )
ความคิดเห็นที่ 42
   

อ้าว! Guarneri อ่านว่า กวาร์นิเอรี หรอกหรือ?

เพื่อนพาอ่านว่า กัวอาร์นาริ เหอะๆสงสัยจะเป็นภาษาถิ่นของล่ะมั้งนะ5555

ส่วนประโยคนี้ Guarnieri, del Gesù อ่านเป็น กัวร์นิเอริ เดล เกซู(กัวร์นิเอริของพระผู้เป็นเจ้า)

ชื่อเมือง Cremona อ่านว่า เกรโมน่า

Salve (ซั่ลเหวะ) สวัสดีแบบสุภาพใช้กับคนที่ไม่สนิท

Ciao (ช่าว)สวัสดีที่ใช้กับเพื่อนสนิท

Grazie(กาซซิเอ่)ขอบคุณ

วันนี้ได้ภาษาอิตาลี่หลายคำแล้วนี่น่า

ป่ะ...แพคกระเป๋าไปเที่ยวอิตาลี่กัน5555

ปล.เพื่อนเราเคยบอกว่า ป้ายไวโอลินในยุคศตวรรษที่ 16-18 ส่วนมากจะเขียนเป็นภาษาละติน รองลงมาเขียนเป็นภาษาอิตาลี่

เราไม่รู้ว่าจริงหรือเปล่า? ไปหาข้อมูลเพิ่มเติมกันเองนะคะ

 

โดย: La Lombardia [30 ม.ค. 57 15:42] ( IP A:171.7.33.158 X: )
* ขณะนี้พี้นที่เต็ม ไม่สามารถโพสต์กระทู้เพิ่มได้ *

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน