น้ำตาแสงไต้
   
โดย: คุณพ่อมือใหม่ ณ ตากสิน [24 ก.พ. 57 19:03] ( IP A:101.109.182.194 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   

โดย: คุณพ่อมือใหม่ ณ ตากสิน [24 ก.พ. 57 19:04] ( IP A:101.109.182.194 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   

ทุกครั้งที่เห็นกระทู้ของคุณพ่อมือใหม่ คลิกเข้ามาฟังไม่เคยผิดหวังเลย ไพเราะจริงๆครับ

ไม่ทราบของถามเคล็ดวิชานิดได้ไหมครับ

เกริ่นคำถามก่อนนะครับ คือด้วยความที่ผมหัดไวโอลินแบบเรียนมาตามตำราในแนวคลาสสิค แบบฝรั่งบ้าง ญี่ปุ่นบ้าง และพบว่าแนวที่เรียนนี้ มันไม่สามารถเล่นเพลงไทยออกมาให้เป็นเพลงไทยอย่างที่คุณพ่อมือใหม่เล่นให้ฟังนี้ได้เลย มีสองจุดที่ผมสังเกตและสันนิฐาน คือ 1. การเอื้อน 2. การเล่นให้เพี้ยนต่ำ(โดยจงใจ) ที่ทำให้เพลงไทยฟังเป็นเพลงไทย และมีเสียงที่ต่างออกไปจากการหัดตามแนวคลาสสิค 

ใคร่รบกวนถามเป็นวิทยาทานครับ ว่าในเวลาที่คุณพ่อมือใหม่เล่นเสียงเอื้อนนั้น ทั้งจุดที่เล่น และลักษณะของการเอื้อน ท่านใช้เล่นแบบ by heart ตามอารมณ์เลย หรือว่าต้องแกะจากแผ่นเสียงที่ผู้เล่นดั้งเดิมเขาเล่นเอาไว้ และต้องจำแนวเอื้อนและจุดเอื้อนทั้งหมดในเพลงแล้วค่อยเล่นตาม

และในกรณีที่เป็นแบบ by heart พอจะมีเคล็ดลับไหมครับ ว่าจุดไหนบ้างที่ใส่แล้วจะเพราะ จุดไหนใส่แล้วไม่เพราะ ผมเองเคยลองใส่เอื้อนในเพลงไทยเล่นดูเอง แต่พอบันทึกเสียงมาฟังย้อนหลัง ก็ได้แต่คิดในใจว่า "อะไรของมรึงเนี่ย" เพราะใส่จนเฟ้อไปหมดทั้งเพลง ฟังแล้วไม่เพราะเลย (ขออภัยที่ใช้คำไม่สุภาพครับ คืออยากให้สื่ออารมณ์ให้เหมือนจริง" 

ขอบคุณล่วงหน้าในวิทยาทานครับ

โดย: olDlaD [27 ก.พ. 57 9:26] ( IP A:110.171.86.229 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ขอบพระคุณ คุณolDlaD ที่ให้ความสนใจในการเล่นไวโอลินเพลงไทย แบบนี้ครับ จริงๆแล้วไม่มีเคล็ดอะไรหรอกครับ ผมก็หัดเล่นเหมือนกับคุณolDlaDครับ ใช้ตำราแนวคลาสสิคเช่นกัน เป็นสิ่งที่ถูกต้องครับเพราะตำราเหล่านัันจะเป็นการฝึกนิ้ว การอ่านโน้ต จังหวะ ไล่บันไดเสียง ซึงเป็นเรื่องาำคัญมากของการฝึกหัดไวโอลินครับ
สำหรับการเล่นเพลงไทย ก็มีหลายท่านในบอร์ดนี้ที่เล่นได้ยอดเยี่ยมหลายๆท่าน
ที่ผมชื่นชมเป็นการส่วนตัวก็ คุณหมี, คุณโอ่ง(พยูนน้อย)คุณชัย แต่ละท่านก็มีสไตล์แต่ละท่านไม่เหมือนกัน ที่ผมชอบเล่นเพลงไทย ไม่ว่าจะเป็นแนวลูกทุ่ง สตริง ไทยสากล ไทยเดิม เพราะเล่นแล้ว อินครับ หมายถึงเข้าใจอารมณ์เพลงง่ายกว่าคลาสสิค
ข้อสังเกตที่คุณolDlaD ได้ตั้งมาถูกครับ เพลงไทยมีเอื้อน มีโน้ตสบัดเล็กๆ เราจะรู้ได้ไงว่าตรงไหนควรใส่เอื้อน ใส่อะไรลงไป ก็ต้องฟังครับ เพลงไทยที่ผมเล่นมาทั้งหมด ผม by heart ทั้งหมดครับ ผมฟังเพลงต้นฉบับจากนักร้อง เพื่อฟังการร้อง การเอื้อน และเวลาเล่นไวโอลินก็จำลองเสียงร้องมาเป็นแบบไวโอลิน เล่นจนเหมือนไวโอลินร้องเพลงได้ ผมจึงจะพอใจ ไม่เล่นตรงๆตามโน้ตครับเพราะมันจะแข็งที่อมากๆ เพลงไทยๆเราสามารถใส่อะไรที่เป็นแบบเราได้ครับ ต่างจากคลาสสิค ซึงทุกอย่าง ดัง เบา ช้าเร็วถูกกำหนดไว้หมดแล้วจากผู้ประพันธิ์ สำคัญคือฟังมากๆครับ แล้วลองทำ ฟังไม่ดีก็ลองใหม่ เพลงไทยสำคัญที่การถ่ายทอดอารมณ์ครับ หนัก เบา บางครั้งก็หน่วงๆจังหวะได้ ทั้งหมดอยู่ที่อารมณ์ครับ พยายามต่อไปครับ แล้วลองส่งคลิปมาฟังบ้างนะครับ สู้ๆครับ
โดย: คุณพ่อมือใหม่ ณ ตากสิน [27 ก.พ. 57 11:30] ( IP A:101.109.184.118 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   

ดีใจจังครับ ที่คุณพ่อมือใหม่ ช่วยกรุณาช่วยให้ความกระจ่างในครั้งนี้ เป็นแนวทางที่ช่วยได้มากเลยครับ ผมขออนุญาต High Light ข้อความส่วนนี้ของคุณพ่อมือใหม่นะครับ

"ผมฟังเพลงต้นฉบับจากนักร้อง เพื่อฟังการร้อง การเอื้อน และเวลาเล่นไวโอลินก็จำลองเสียงร้องมาเป็นแบบไวโอลิน เล่นจนเหมือนไวโอลินร้องเพลงได้ ผมจึงจะพอใจ ไม่เล่นตรงๆตามโน้ตครับเพราะมันจะแข็งที่อมากๆ"

ผมจะนำไปลองปฏิบัติดูและได้ผลอย่างไรจะบันทึกคลิปเพื่อกลับมารับคำชี้แนะจากคุณพ่อมือใหม่เพิ่มเติมนะครับ และเพื่อไม่ให้ตัวเองล่องลอยเกินไป ผมจะให้โจทย์ตัวเองให้เป็นเรื่องเป็นราวหน่อย โดยขอเลือกเป็นเพลงหนองบัว ของคุณบุษยา รังสีตามคลิปด้านล่างนี้นะครับ เหตุผลคือเป็นเพลงที่ชอบ ฟังแล้วรู้สึกเย็นสบายใจ และเคยแกะโน๊ตไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ก็เป็นตามที่คุณพ่อมือใหม่กล่าวไว้ไม่ผิดเพี้ยนเลยครับ คือ เมื่อเล่นตรงๆตามโน๊ตมันจะแข็งทื่อมากๆ

โดย: olDlaD [27 ก.พ. 57 15:35] ( IP A:110.171.86.229 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   เนื่องจากคำตอบข้างบนนี้ คุณพ่อมือใหม่ไม่ได้รวมชื่อของผมไว้ในกลุ่มเพื่อนฝูงที่คุณพ่อ ฯ กล่าวว่า "ชื่นชมเป็นการส่วนตัว" ดังนั้นจึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผมจะต้องขัดคอเสียหน่อย ในสิ่งที่คุณพ่อมือใหม่ได้ตอบคุณ olDlaD ไปแล้ว

เจ้าของปัญหาได้ถามว่า "มีเคล็ดลับ" อะไรพอที่จะบอกกันบ้างได้ไหม

คุณพ่อมือใหม่ตอบว่า "จริง ๆ แล้ว ไม่มีเคล็ดอะไรหรอก" ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริง คุณพ่อ ฯ เองก็ทราบดีอยู่แก่ใจว่ามี เพราะเมื่อเขียนตอบไปเรื่อย ๆ ก็ได้เผลอเผยเคล็ดที่ว่านั้นออกมาเสียเต็มรัก
โดย: ลุงสุบ [27 ก.พ. 57 15:41] ( IP A:223.207.77.233 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   แน่ะ เห็นไหม คุณ olDlaD รีบเชื่อคุณพ่อ ฯ ไปแล้วซี ถึงกับบอกว่าจะรีบกลับไปหัดเพลงหนองบัว ที่คุณบุษยา รังสี ได้ขับร้องไว้ ช้าก่อนซีครับ ฟังผมขัดคอก่อน อย่าเพิ่งเชื่อคุณพ่อมือใหม่ไปเสียทั้งหมด ว้า..จะทันหรือเปล่าเนี่ยะ
โดย: ลุงสุบ [27 ก.พ. 57 15:46] ( IP A:223.207.77.233 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   คำแนะนำข้อหนึ่งที่คุณพ่อมือใหม่หลุดออกมา หรือ จะเรียกว่า เผยเคล็ด ออกมาก็ได้นั้น ก็คือ คำว่า "เพลงไทยมีเอื้อน" ตรงนี้แหละ ที่ผม (ผู้ซึ่งไม่ปรากฏชื่อในกลุ่มเพื่อนฝูงที่คุณพ่อมือใหม่ ฯ ชื่นชมฝีมือ ฮือ ฮือ) เห็นว่าสำคัญมาก

มีข้อเท็จจริงประการหนึ่งก็คือว่า คุณพ่อมือใหม่นั้น เป็นนักเลงซอด้วงมาก่อน ถ้าใครไม่เชื่อก็คงไม่จำเป็นถึงกับต้องไปสืบประวัติหรอกครับ แค่ไปเปิดดูกระทู้เก่า ๆ ที่คุณพ่อ ฯ เคยโพสต์ภาพให้เราดู ก็จะเห็นว่าฝาบ้านของคุณพ่อมือใหม่นั้น มีซอด้วงสวยมาก ๆ อยู่คันหนึ่งแขวนอยู่ พร้อมที่เจ้าของคือคุณพ่อมือใหม่จะเล่นได้ตลอดเวลา

ความที่คุณพ่อ ฯ เป็นมือซอด้วงมาก่อนนี่แหละครับ ที่ผมสงสัยว่าจะเป็น "เคล็ด" (ส่วนจะลับหรือไม่ลับ นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง) ที่ทำให้คุณพ่อเล่นเพลงไทยด้วยไวโอลินได้ไพเราะเกินหน้าเกินตาเพื่อนฝูง
โดย: ลุงสุบ [27 ก.พ. 57 15:56] ( IP A:223.207.77.233 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   ขณะนี้ผมนั่งเขียนโต้แย้งคุณพ่อมือใหมอยู่ที่ภูเก็ต ที่บ้านผมก็มีนะครับ ซอไทย น่ะ ผมมีซออู้อยู่คันหนึ่ง ได้มานานหลายปีแล้ว แต่ยังไม่เคยฝึกหัดโดยมีครูผู้สอนเลยแม้แต่ครั้งเดียว ได้แต่เคยจับมาสีเล่นเรื่อยเปื่อย (มวยวัด) อยู่บ้างเหมือนกัน แต่ไม่เคยเป็นเพลงอะไรทั้งสิ้น ทั้งนี้ก็เพราะผมไม่มีครูนั่นเอง

การที่ผมไม่เคยได้เรียนซอ (ไทย) จากครูท่านใดเลย ทำให้ผมเล่นซอด้วงไม่เป็น เล่นซออู้ไม่เป็น และ เล่นซอสามสายก็ไม่เป็น ทั้ง ๆ ที่อยากจะเล่นเป็นใจจะขาด ผมเดาเอาว่าการเล่นซอทั้งสามชนิดที่เอ่ยชื่อมานั้น จะต้องมี "เคล็ดวิชา" เป็นของตนเองแน่ ๆ เพราะเป็นศาสตร์อย่างหนึ่ง ใช่ไหมครับคุณพ่อมือใหม่
โดย: ลุงสุบ [27 ก.พ. 57 16:07] ( IP A:223.207.77.233 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   เขียนมาถึงตอนนี้ทำให้ผมต้องเดินไปหยิบพจนานุกรมขึ้นมาเพื่อดูให้แน่ใจว่า "เคล็ด" ที่เรามักจะพูดถึงกันอยู่เสมอ ๆ นั้น หมายถึงอะไร และ เราเข้าใจตรงกันหรือไม่ หรือ เข้าใจไปกันคนละอย่างสองอย่าง ดูไปพร้อม ๆ กันนะครับ จะลงมือลอกความหมายเดี๋ยวนี้แหละ

"เคล็ด" น. วิธีการที่ฉลาด พลิกแพลง ใช้ในการอย่างใดอย่างหนึ่ง,อุบาย, เล่ห์, กลเม็ด เช่น รู้เคล็ด มีเคล็ด เคล็ดลับ

ลอกเอาแต่เนื้อ ๆ น่ะครับ ผมได้ข้ามบางตอนไปเสียมั่ง เพราะเห็นว่าไม่จำเป็นที่จะต้องลอกทั้งหมด แต่อย่างใด อ้อ..คงไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงอีกความหมายหนึ่งหรอกนะครับ ที่เคล็ดมีความหมายว่ากล้ามเนื้อแพลง คอเคล็ด แขนเคล็ด ยกเว้นคนฝึกเล่นไวโอลินใหม่ ๆ ซึ่งหลายคนก็มักบอกว่าเล่นแล้ว คอเคล็ด ไม่ไหว ยากเหลือเกิน ไม่เอาแล้ว ไวโอลง ไวโอลินเนี่ยะ
โดย: ลุงสุบ [27 ก.พ. 57 16:16] ( IP A:223.207.77.233 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   วิธีการที่ฉลาดของคุณพ่อมือใหม่ก็คือ ...

1. ต้องรู้ว่าตรงไหนควรใส่เอื้อน ใส่อะไรลงไป ก็ใส่
2. ถ้าไม่รู้ ก็ต้องฟัง โดยฟังเพลงต้นฉบับจากนักร้อง เพื่อฟังการร้อง การเอื้อน
3. เวลาเล่นไวโอลินก็จำลองเสียงร้องมาเป็นแบบไวโอลิน เล่นจนเหมือนไวโอลินร้องเพลงได้
4. ไม่เล่นตรง ๆ ตามโน้ต เพราะมันจะแข็งที่อมาก ๆ
5. ใส่อะไรที่เป็นแบบของเราเองลงไป
6. ข้อสำคัญคือต้องฟังมาก ๆ ฟังแล้วลองทำ ทำแล้ว ฟังไม่ดีก็ลองใหม่
7. เพลงไทยสำคัญที่การถ่ายทอดอารมณ์ หนัก เบา บางครั้งก็หน่วง ๆ จังหวะได้ ทั้งหมดต้องให้ความสำคัญแก่อารมณ์เป็นหลัก

นี่..ถือโอกาสลอกข้อความที่คุณพ่อมือใหม่เผลอปล่อยกลเม็ดออกมา โดยผมมิพักต้องเขียนอะไรแทรกเข้าไปเลย เพียงแต่ตัดพลความเล็ก ๆ น้อย ๆ ออกมา เราก็ได้เคล็ดวิชาในการเล่นเพลงไทยของคุณพ่อมือใหม่แล้ว

ถ้าคุณพ่อมือใหม่เข้ามาอ่าน ผมก็อยากจะขอความกรุณาอีกข้อหนึ่งนะครับ ขออนุญาตถามต่อว่า "เทคนิคและความชำนาญในการเล่นซอไทยของคุณพ่อมือใหม่นั้น มี ผลต่อการเล่นเพลงไทยโดยใช้ไวโอลินหรือไม่"

ข้อนี้ผมถามในกรณีของคุณพ่อมือใหม่นะครับ ไม่ต้องตอบเป็นหลักการ หรือ วิชาการอะไรหรอก อยากฟังคำตอบด้วยความรู้สึกที่แท้จริงนี่แหละขอรับ
โดย: ลุงสุบ [27 ก.พ. 57 16:35] ( IP A:223.207.77.233 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   

5555555555555 + 

เกรงว่าคุณพ่อมือใหม่ต้องเพิ่มชื่อลุงสุบลงในรายการ เพื่ิอนฝูงที่ "ชื่นชมเป็นการส่วนตัว" เสียแล้วละครับ ... ส่วนผมขอหลบฉากไปหัดเพลงหนองบัวต่อ แม้ลุงสุบจะบอกให้ช้าไว้ รอฟังลุงสุบขัดคอก่อนก็ตาม ห้ามไม่ทันแล้วละครับ :)

โดย: olDlaD [27 ก.พ. 57 17:08] ( IP A:110.164.236.220 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
   ดีใจจังครับที่ลุงสุบเข้ามา แสดงความเห็นด้วย
ลุงสุบสรุปเคล็ดไม่ลับที่ผมได้แอบเผลอบอกไปเรียบร้อยแล้ว จริง๐ไม่ได้คิดว่าเป็นเคล็ดอะไร แต่ลุงสุบผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาก็เรียบเรียงได้อย่างถูกต้อง ตรงไปตรงมา ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ "เทคนิคและความชำนาญในการเล่นซอไทยของคุณพ่อมือใหม่นั้น มี ผลต่อการเล่นเพลงไทยโดยใช้ไวโอลินหรือไม่" มีครับ โดยเฉพาะการเล่นเพลงไทยสากล เพลงลูกทุ่ง ในเพลงสตริง ก็มีแต่ไม่มาก เพลงสากลก็แอบใส่บ้าง
ส่วนมากจะเป็นลูกเอื้อน การเสลอตัวโน้ต เล่นให้เสียงโน้ตตัวหนึ่งไปอีกตัวหนึ่งอย่างไหลลื่น การสบัดโน้ต การพรมนิ้วที่ทางฝรั่งเรี่ยก trill และเทคนิดที่ได้จากการเล่นซอด้วงก็แอบเอามาใช้อยู่บ่อยๆครับ
โดย: คุณพ่อมือใหม่ ณ ตากสิน [27 ก.พ. 57 21:36] ( IP A:125.25.97.37 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
   

เพลงนี้จะมีการเล่นแบบสากล กับเล่นแบบไทยๆปนด้วยลองดูเล่นๆนะครับ

โดย: คุณพ่อมือใหม่ ณ ตากสิน [27 ก.พ. 57 21:45] ( IP A:125.25.97.37 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
   ไพเราะครับคุณพ่อ ผมตามฟังอยูเรื่อยๆครับ ทั้งในนี้และที่เฟสครับ
โดย: หมี [27 ก.พ. 57 23:45] ( IP A:58.11.210.85 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
   

ขอบคุณคุณหมีมากครับ

โดย: คุณพ่อมือใหม่ ณ ตากสิน [27 ก.พ. 57 23:48] ( IP A:125.25.97.37 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
   

เพลงเศร้ามากครับ

โดย: ขอบอก [1 มี.ค. 57 13:35] ( IP A:101.108.144.88 X: )
* ขณะนี้พี้นที่เต็ม ไม่สามารถโพสต์กระทู้เพิ่มได้ *

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน