โครงสร้างเชลโล
    โครงสร้างเชลโล
ก่อนที่จะลงมือเล่นเชลโลอย่างจริงจังนั้น ผุ้เล่นควรจะทราบถึงชื่อชิ้นส่วนต่างๆ ของเชลโลเสียก่อน โดยเริ่มจากส่วนบนลงไป

ลูกบิด (Peg) และหัวเชลโล (Scroll)
หัวเชลโล (Scroll) คือส่วนตกแต่งที่ทำจากไม้แกะลายโค้งอย่างสวยงามอยู่ส่วนบนสุดของเชลโล ลูกบิด (Peg) ใช้สำหรับปรับระดับเสียงของเครื่องดนตรี ซึ่งสายทั้ง 4 จะพันอยู่รอบแกนลูกบิด การปรับลูกบิดจะทำให้เสียงของสายต่างๆ สูงขึ้นหรือต่ำลง

โดย: - [20 มิ.ย. 49 16:19] ( IP A:202.12.74.6 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
    คอ (Neck) และฟิงเกอร์บอร์ด (Fingerboard)
คอ (Neck) และฟิงเกอร์บอร์ด (Fingerboard) คือไม้ชิ้นยาวที่ยื่นออกมาจากลำตัวของเชลโล โดยทั่วไปแล้ว ส่วนคอหมายถึงความยาวทั้งหมด ในขณะที่ฟิงเกอร์บอร์ดจะหมายถึงไม้สีดำที่อยู่ด้านหน้าสำหรับกดนิ้วลงบนสายต่างๆ ทำให้เกิดเสียงโน้ตที่ต่างกัน

โดย: - [20 มิ.ย. 49 16:20] ( IP A:202.12.74.8 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
    หย่อง (Bridge) และช่องเสียง (F-Hole)
หย่อง (Bridge) คือชิ้นไม้ขนาดเล็กที่รับเเรงดึงจากสายไวโอลินไม่ให้กดทับไม้แผ่นหน้า ส่วนช่องเสียง (F-hole) คือช่องรูปตัว f บนไม้แผ่นหน้า ทำให้เสียงสามารถออกมาจากภายในลำตัวเชลโลผ่านทางช่องนี้

โดย: - [20 มิ.ย. 49 16:20] ( IP A:202.12.74.8 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
    หางปลา (Tail piece) และเหล็กขาตั้ง (Spike)
หางปลา (Tail piece) คือไม้หรือโลหะสีดำ ทำหน้าที่ยึดสายที่ส่วนล่างลำตัวเชลโล เหล็กขาตั้ง (Spike) คือโลหะปลายเเหลมซึ่งอยู่ล่างสุดของเชลโล ทำหน้าที่รับน้ำหนักของเชลโลที่ถ่ายลงบนพื้นและป้องกันไม่ให้เชลโลลื่นไถลไปมา

โดย: - [20 มิ.ย. 49 16:21] ( IP A:202.12.74.5 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
    ท่าทางการนั่งที่ถูกต้อง (Sitting Position)
พยายามนั่งให้ตัวตรงและหลังตรง เท้าทั้ง 2 ข้างวางบนพื้น พยายามให้น้ำหนักของเชลโลอยู่ระหว่างหัวเข่าทั้ง 2 ข้าง ตำแหน่งคอของเชลโลควรจะสูงกว่าหัวไหล่ประมาณ 1 นิ้ว

โดย: - [20 มิ.ย. 49 16:22] ( IP A:202.12.74.8 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
    สายเชลโล
ในบทต่อไปลองมาเรียนรู้ชื่อของสายทั้ง 4 ของเชลโลดูบ้าง เมื่อคุณอยู่ในท่านั่งเล่นเชลโล สายที่สูงที่สุดของเชลโลจะอยู่ทางซ้ายมือ หรืออาจจะอธิบายได้ว่าสายที่สูงบางที่สุดคือสายที่เสียงสูงที่สุด ซึ่งเรียกว่าสาย ‘A’ ถัดลงไปเป็นสาย D, G และ C ซึ่งเป็นสายที่มีความหนาที่สุด วิธีที่ง่ายที่สุดในการจดจำชื่อและลำดับของสายให้พูดว่า ‘ Cats Go Down Alleys’

ก่อนที่จะข้ามไปดูถึงเรื่องคันชัก ลองดีดสายต่างๆ ด้วยนิ้วชี้ของมือขวา โดยให้ดีดบริเวณระหว่างหย่อง (Bridge) และฟิงเกอร์บอร์ด (Fingerboard)

โดย: - [20 มิ.ย. 49 16:23] ( IP A:202.12.74.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   แบบฝึกหัดที่ 2 ให้ใช้นิ้วชี้มือขวาดีดเช่นเดียวกัน พยายามดีดให้เป็นจังหวะสม่ำเสมอ

โดย: - [20 มิ.ย. 49 16:23] ( IP A:202.12.74.8 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
    จังหวะ (Rhythm)
ดนตรีทุกประเภทล้วนมีจังหวะที่สม่ำเสมอซึ่งสามารถเล่นได้ในทุกอัตราความเร็ว โน้ตแต่ละชนิดมีอัตราจังหวะที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นโน้ตตัวดำ (Quarter-note หรือ Crotchet) ซึ่งเท่ากับ 1 จังหวะ

ดังนั้นถ้าโน้ตตัวดำ (Quarter-note) 5 ตัวในแถวเดียวกันจะมีลักษณะดังนี้

โดย: - [20 มิ.ย. 49 16:23] ( IP A:202.12.74.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   โน้ตตัวขาว (Half-note หรือ Minim) ซึ่งเท่ากับ 2 จังหวะ ดังนั้นโน้ตตัวขาว (Half-note) 4 ตัวจะมีลักษณะดังนี้

โดย: - [20 มิ.ย. 49 16:24] ( IP A:202.12.74.8 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   สุดท้ายคือ โน้ตตัวกลม (Whole-note หรือ Semibreve) ซึ่งเท่ากับ 4 จังหวะ ดังนั้นโน้ตตัวกลม (Whole-note) 4 ตัวในแถวจะมีลักษณะดังนี้

โดย: - [20 มิ.ย. 49 16:24] ( IP A:202.12.74.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
    ห้อง (Bar)
เส้นแบ่งห้อง (Bar line) จะแบ่งเพลงออกเป็นกลุ่มที่มีอัตราจังหวะเท่าๆ กัน เพลงที่เขียนอยู่ระหว่างเส้นแบ่งห้อง 1 เส้นและเส้นถัดไปมีค่าเท่ากับ 1 ห้อง ซึ่งในแบบแรกนี้จะเขียนเป็นอัตรา 4/4

โดย: - [20 มิ.ย. 49 16:25] ( IP A:202.12.74.8 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   ซึ่งหมายถึงมีโน้ตตัวดำ (Quarter-note) 4 ตัวในแต่ละห้อง ตัวอย่างโน้ตข้างล่างจำนวน 2 ห้อง เขียนในอัตราจังหวะ 4/4 แต่ละตัวมีค่าเท่ากับ 1 จังหวะ ส่วนในห้องที่ 2 ประกอบด้วยโน้ตตัวกลม (Whole-note) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 4 จังหวะเต็ม 1 ห้องพอดี

โดย: - [20 มิ.ย. 49 16:25] ( IP A:202.12.74.5 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
   เส้นแบ่งห้องคู่ (Double bar-line) หมายถึงตอบจบของบทเพลง

โดย: - [20 มิ.ย. 49 16:26] ( IP A:202.12.74.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
    คันชักเชลโล (Cello bow)
หมุด (Screw) ใช้สำหรับปรับความตึงและหย่อนของหางม้า หลังเลิกเล่นทุกครั้งควรจะผ่อนหางม้าเพื่อไม่ให้คันชักบิดหรืองอ โดยปกติเเล้วเวลาเล่นจะใช้หางม้าตลอดทั้งความยาวของหางคันชัก แต่บางครั้งจะใช้ส่วนปลาย (Tip) หรือส่วนโคน (Frog) ของคันชักเท่านั้น โดยลากหางม้าให้สุดปลายทั้ง 2 ข้างตามความเหมาะสมเพื่อเปลี่ยนคุณภาพของน้ำเสียง

โดย: - [20 มิ.ย. 49 16:26] ( IP A:202.12.74.8 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
    การจับคันชัก (Bow hold)
เวลาจับคันชักเเขนจะเป็นวงกลม คล้ายๆ กับการจับลูกเทนนสิ ให้มือรู้สึกสบายๆ อย่าเกร็ง ไม่จำเป็นต้องจับคันชักให้เเน่นมาก

แบบฝึกหัดที่ 1
ในขั้นแรกให้ลองเล่นเเบบฝึกหัดนี้โดยใช้นิ้วดีดก่อน หลังจากที่คุ้นเคยกับตัวโน้ตดีเเล้วจึงเริ่มสีด้วยคันชัก

โดย: - [20 มิ.ย. 49 16:27] ( IP A:202.12.74.8 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
    แบบฝึกหัดที่ 2

โดย: - [20 มิ.ย. 49 16:27] ( IP A:202.12.74.8 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
    ข้อควรจำ:
-ตรวจดูให้เเน่ใจว่าคันชักขนานกับหย่อง
-ตำแหน่งของคันชักอยู่กึ่งกลางระหว่างปลายฟิงเกอร์บอร์ด (Fingerboard) และหย่อง (Bridge)

โดย: - [20 มิ.ย. 49 16:30] ( IP A:202.12.74.8 X: )
ความคิดเห็นที่ 17
    เทคนิคการเล่นเชลโลขั้นพื้นฐาน

การจับเชลโล (Cello hold)
1. ผุ้เล่นควรนั่งที่ปลายเก้าอี้

โดย: - [20 มิ.ย. 49 16:31] ( IP A:202.12.74.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 18
   2. วางเท้าข้างขวาชิดขาเก้าอี้ และวางเท้าซ้ายไว้ข้างหน้า
3. พยายามนั่งหลังตรงและเเนบไปกับตัวเชลโล

โดย: - [20 มิ.ย. 49 16:31] ( IP A:202.12.74.8 X: )
ความคิดเห็นที่ 19
   4. หันเชลโลเข้าหาคันชัก
5. ปรับความยาวและวางเหล็กค้ำ (Tail pin) ในตำแหน่งที่เหมาะสม

โดย: - [20 มิ.ย. 49 16:32] ( IP A:202.12.74.5 X: )
ความคิดเห็นที่ 20
   6. ให้น้ำหนักของคันชักกดลงบนสายและอย่าเกร็งข้อมือ
7. วางนิ้วโป้งที่ปลายหนังหุ้มด้ามจับคันชัก (Grip)
8. รักษาระยะห่างของนิ้วที่เหลือที่วางอยู่ฝั่งตรงข้ามกับนิ้วโป้งให้เท่าๆ กัน
9. การวางนิ้วทั้ง 2 จุด ให้วางนิ้วให้เป็นรูปโค้งและงอนิ้วโป้งตามภาพตัวอย่าง

โดย: - [20 มิ.ย. 49 16:32] ( IP A:202.12.74.8 X: )
ความคิดเห็นที่ 21
   10. นิ้วกลางควรจะอยู่ใกล้กับปลายปลอกโลหะ (Ferrule) หรือแตะไว้เพียงเล็กน้อย

โดย: - [20 มิ.ย. 49 16:33] ( IP A:202.12.74.5 X: )
ความคิดเห็นที่ 22
    เทคนิคการใช้คันชัก
11. วางคันชักลงบนสายบริเวณโคนคันชัก เเละบิดข้อมือให้โค้งเหนือคันชัก
12. ปล่อยให้น้ำหนักของคันชักกดลงบนสาย

โดย: - [20 มิ.ย. 49 16:34] ( IP A:202.12.74.5 X: )
ความคิดเห็นที่ 23
   13. ลากคันชักผ่านสายต่างๆ เหยียดข้อมือ ข้อศอก และเเขนตามแนวที่ลากคันชักไป

โดย: - [20 มิ.ย. 49 16:34] ( IP A:202.12.74.8 X: )
ความคิดเห็นที่ 24
   14. พยายามให้คันชักเป็นแนวตรง

โดย: - [20 มิ.ย. 49 16:35] ( IP A:202.12.74.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 25
   

โดย: - [20 มิ.ย. 49 16:35] ( IP A:202.12.74.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 26
   15. ยกแขนขึ้นเหนือสาย A

โดย: - [20 มิ.ย. 49 16:35] ( IP A:202.12.74.8 X: )
ความคิดเห็นที่ 27
   

โดย: - [20 มิ.ย. 49 16:36] ( IP A:202.12.74.8 X: )
ความคิดเห็นที่ 28
   16. วางแขนไว้ใกล้ลำตัวบนสาย C

โดย: - [20 มิ.ย. 49 16:36] ( IP A:202.12.74.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 29
   17. วางนิ้วโป้งบนคอให้ตรงกับนิ้วกลาง
18. วางระยะห่างของนิ้วให้เท่าๆ กัน

โดย: - [20 มิ.ย. 49 16:37] ( IP A:202.12.74.8 X: )
ความคิดเห็นที่ 30
   19. ยกและปล่อยแขนขึ้นลงโดยให้นิ้วข้ามไปมาบนสายต่างๆ

โดย: - [20 มิ.ย. 49 16:37] ( IP A:202.12.74.5 X: )
ความคิดเห็นที่ 31
   

โดย: - [20 มิ.ย. 49 16:38] ( IP A:202.12.74.8 X: )
ความคิดเห็นที่ 32
   ยกและปล่อยแขนขึ้นลงโดยให้นิ้วข้ามไปมาบนสายต่างๆ

โดย: - [20 มิ.ย. 49 16:38] ( IP A:202.12.74.8 X: )
ความคิดเห็นที่ 34
    การเล่นเชลโล

- นั่งบนเก้าอี้ที่มั่นคง นักเชลโลบางคนนิยมนั่งปลายเก้าอี้โดยให้เท่าซ้ายอยู่ข้างหน้าเล็กน้อย

- ปรับเหล็กแหลม (Spike) เพื่อให้ลำตัวเชลโลค่อยๆ วางอยู่บนหน้าอกของคุณ และให้เชลโลวางอย่างสมดุลระหว่างเข่าของคุณ

- ใช้เข่าหนีบเชลโลให้มั่งคง อย่าใช้มือจับเชลโล

- คอ (Neck) และหัวเชลโล (Scroll) ควรอยู่ทางฝั่งซ้ายของศรีษะ โดยให้ลูกบิดสาย C ที่อยู่ต่ำสุดอยู่ในแนวเดียวกับหูของคุณ (สามารถปรับให้เหมาะสมได้ตามขนาดของเชลโลและตัวนักเชลโล)

- ค่อยๆ ปรับองศาของเชลโลอยู่ในองศาที่ถูกต้อง เพื่อให้สามารถลากคันชักได้ตรงตลอดโดยไม่ต้องปรับตำแหน่งของเชลโลที่อยู่ระหว่างเข่า

- นักเชลโลหลายๆ คนใช้อุปกรณ์รองเหล็กปลายแหลมเพื่อป้องกันการลื่นไถล อุปกรณ์ดังกล่าวมีทั้งแบบที่เป็นทรงกลม ทำจากยาง แถบผ้า แผ่นยางรอง หรือพรม

โดย: - [27 พ.ย. 50 19:55] ( IP A:202.12.74.74 X: )
ความคิดเห็นที่ 36
    การจับคันชักเชลโล
- อย่าเกร็งมือ ปล่อยตามสบาย พลิกข้อมือไปทางซ้ายเล็กน้อย ปล่อยนิ้วให้วางตามตำแหน่งของมัน

- ปลายนิ้วโป้งที่โค้งเข้าให้สัมผัสกับปลาย Frog
นิ้วต่างๆ (นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย) ที่วางเหนือด้ามคันชักให้โค้งเข้าเล็กน้อย

-อย่าให้นิ้ว 4 (นิ้วก้อย) วางอยู่บนด้ามคันชักเหมือนกับการจับคันชักของไวโอลินหรือวิโอลา ปล่อยให้นิ้วก้อยโค้งเข้า และวางพาดเหนือด้ามคันชักเหมือนกับนิ้วอื่นๆ


การใช้คันชัก
- คุณภาพเสียงที่ดีมาจากตำแหน่งการวางคันชักที่เหมาะสม (Bow placement) ความเร็วในการใช้คันชัก(bow speed) และแรงกดคันชัก (Bow pressure)

- เอียงคันชักไปทางปลายฟิงเกอร์บอร์ดเล็กน้อย

- วางคันชักบนสายตรงจุดกึ่งกลางระหว่างหย่องและฟิงเกอร์บอร์ด
ลากคันชักเป็นแนวตรง ดังนั้นคันชักจะขนานไปกับหย่องตลอด

- สามารถเพิ่มความดังของเสียงได้โดยออกแรงกดคันชักมากขึ้น และโดยการวางและลากคันชักให้ใกล้หย่อง

- สามารถเล่นให้เสียงเบาลงเสียงได้โดยลดแรงกดคันชัก และโดยการวางและลากคันชักให้ใกล้กับฟิงเกอร์บอร์ด

- ทดลองลากคันชักโดยใช้ความเร็วในการใช้คันชัก (Bow speed) แรงกดคันชัก (Bow pressure) และตำแหน่งการวางคันชัก (Bow placement) ในแบบต่างๆ กัน เพื่อหาเสียงที่ต้องการ
โดย: - [27 พ.ย. 50 20:05] ( IP A:202.12.74.76 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน