Henri Vieuxtemps
    Henri Vieuxtemps
Henri Francois Joseph Vieuxtemps (17 กุมภาพันธ์ 1820 – 6 มิถุนายน 1881) นักประพันธ์และนักไวโอลินที่มีชื่อเสียงชาวเบลเยียมที่มีบทบาทอย่างสูงในฝรั่งเศส

Vieuxtemps เกิดที่เมือง Verviers ในประเทศเบลเยียม บิดาของเขาเป็นช่างทอผ้า นักไวโอลิน และช่างทำไวโอลินสมัครเล่น เขาเริ่มเรียนไวโอลินครั้งแรกจากบิดาและครูสอนไวโอลินในท้องถิ่น และออกแสดงต่อสาธารณชนครั้งแรกเมื่ออายุเพียง 6 ขวบเท่านั้น ด้วยปทประพันธ์ไวโอลินคอนแชร์โตของ Pierre Rode หลังจากนั้นเขามีโอกาสได้ออกแสดงคอนเสิร์ทต่างๆ ในเมืองใกล้เคียง รวมถึงเมือง Liege และ Brussels ซึ่งเขาได้พบกับ Charles de Beriot ที่เขามีโอกาสเรียนด้วยในภายหลัง

ในปี 1829 Beriot พาเขาไปยังปารีส คอนเสิร์ทเปิดตัวครั้งแรกของเขาประสบความสำเร็จด้วยดี ซึ่งเพลงที่เขานำออกแสดงคือไวโอลินคอนแชร์โตของ Pierre Rode เช่นเดิม แต่เขาต้องเดินทางกลับบ้านเกิดในปีต่อมา เนื่องจากการปฏิวัติฝรั่งเศสในเดือนกรกฎาคม ปี 1830 (July Revolution) และการแต่งงานของ Beriot กับ Maria Malibran นักร้องโอเปราที่มีชื่อเสียงชาวฝรั่งเศสซึ่งเป็นภรรยาลับๆ และได้ออกจากการทัวร์คอนเสิร์ทไป

เมื่อเดินทางมาถึงยังกรุง Brussels เขาได้พัฒนาเทคนิคการเล่นไวโอลินอย่างไม่หยุดยั้งด้วยตนเอง ดนตรีของเขาลุ่มลึกขึ้นเมื่อมีโอกาสได้เล่นกับนักร้องเสียง Mezzo-soprano คือ Pauline Garcia-Viardot ซึ่งเป็นน้องสาวของ Maria Malibran การออกทัวร์ในเยอรมันเมื่อปี 1833 ก่อให้เกิดมิตรภาพระหว่างเขากับ Louis Spohr และ Schumann ซึ่งเปรียบเทียบเขาในวัย 13 ขวบกับ Paganini เลยทีเดียว

ในช่วงทศวรรษต่อมาเขามีโอกาสได้ไปเยือนเมืองต่างๆ ในยุโรป ซึ่งต่างประทับใจในฝีมือของเขา ไม่เพียงแต่ผู้ชมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงนักดนตรีที่มีชื่อเสียง เช่น Hector Berlioz และ Nicolo Paganini ที่เขามีโอกาสได้พบตัวจริงในการออกแสดงคอนเสิร์ทครั้งแรกของตนที่ลอนดอนเมื่อปี 1834

แต่เขาได้แรงบันดาลใจในการเป็นนักประพันธ์เช่นเดียวกัน และได้ศึกษาด้านการประพันธ์เพลงกับ Simon Sechter ครูสอนดนตรีที่น่านับถือในกรุงเวียนนา เขาใช้เวลาในช่วงปี 1835–1836 ศึกษาด้านการประพันธ์เพลงกับ Antoine Reicha ที่ปารีส

บทประพันธ์ Violin Concerto No. 2 in F♯ Minor “Sauret”, Op.19 (1836) ไวโอลินคอนแชร์โตบทแรกของเขาที่ตีพิมพ์ในภายหลังในฐานะเป็นไวโอลินคอนแชร์โตหมายเลข 2 ของยุคนั้น ถัดจากบทประพันธ์ Violin Concerto No. 1 in E Major, Op.10 ที่เขาแต่งเสร็จในปี 1840

โดย: - [25 มี.ค. 51 13:29] ( IP A:203.170.144.1 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 2
   บทประพันธ์ไวโอลินคอนแชร์โตบทที่1 ได้รับการชื่นชมอย่างสูงเมื่อเขานำออกแสดงที่กรุง St. Petersburg ในคราวที่เขาไปเยือนเมืองนี้เป็นครั้งที่ 2 เมื่อปี 1840 และที่ปรุงปารีสในปีถัดมา Berlioz กล่าวถึงบทประพันธ์ชิ้นนี้ว่า “เป็นซิมโฟนีที่เยี่ยมยอดของไวโอลินและวงออร์เคสตร้า”

Vieuxtemps ยังคงพำนักที่ปารีสเพื่อประพันธ์เพลงอย่างต่อเนื่อง ผลงานของเขาประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี และมีรายการแสดงทั่วยุโรป เขาออกแสดงคอนเสิร์ทในสหรัฐอเมริการ่วมกับนักเปียโน Sigismond Thalberg เขาได้รับการยกย่องอย่างสูงโดยเฉพาะที่รัสเซีย ซึ่งเขาพำนักเป็นการถาวรในช่วงปี 1846-1851 ในฐานะนักดนตรีประจำราชสำนักของพระเจ้า Nicholas I และนักเดี่ยวไวโอลินประจำโรงละคร Imperial Theatre

เขาได้ก่อตั้งโรงเรียนสอนไวโอลินประจำสถาบันการดนตรี St. Petersburg Conservatory ขึ้น และวางแนวทางเทคนิคการเล่นไวโอลินแบบสำนัก "Russian school" ให้กับนักไวโอลินหลายคน ในปี 1871 เขาเดินทางกลับสู่บ้านเกิดเพื่อรับตำแหน่งนักไวโอลินประจำสถาบันการดนตรี Brussels Conservatory ลูกศิษย์คนสำคัญที่สุดของเขาที่นี่คือ Eugene Ysaye

แขนขวาของเขาเป็นอัมพาตในอีก 2 ปีต่อมา เขาเดินทางทางไปยังปารีสอีกครั้งเพื่อพักฟื้นร่างกาย หน้าที่สอนไวโอลินของเขาถูกแทนที่โดย Henryk Wieniawski นักประพันธ์และนักไวโอลินที่มีชื่อเสียงชาวโปแลนด์ แม้ว่าอาการของเขาดูเหมือนจะค่อยๆ ดีขึ้น แต่ในปี 1879 แขนซ้ายของเขากลับเป็นอัมพาตซ้ำอีก อาชีพนักไวโอลินของเขาจึงจบสิ้นลงโดยสิ้นเชิงนับแต่บัดนั้น เขาใช้เวลาในช่วงปีสุดท้ายในสถานพักฟื้นที่เมือง Mustapha Superieur ที่ประเทศอัลจีเรีย ซึ่งลูกสาวของเขาและสามีของเธอตั้งรกรากอยู่ที่นั่น เขายังคงทำงานประพันธ์ดนตรีต่อไปแม้ว่าสภาพร่างกายจะไม่สามารถเล่นดนตรีได้อีก ดินแดนที่เขาอยู่ก็ห่างไกลจากศูนย์กลางดนตรีในยุโรป และแม้ว่าหูของเขาจะไม่ได้ยินเสียงดนตรีที่ผู้อื่นเล่นก็ตาม

บทประพันธ์จำนวนมากของเขาแต่งขึ้นเพื่อเครื่องดนตรีที่เขาเล่นเท่านั้น ซึ่งรวมถึงไวโอลินคอนแชร์โตจำนวน 7 บท และบทเพลงสั้นๆ อีกหลายเพลง แม้ว่าในบั้นปลายชีวิตที่เขายอมแพ้ให้กับไวโอลิน เขามักจะหันไปเล่นเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ และได้เขียนเชลโลคอนแชร์โตขึ้น 2 บท รวมถึงประพันธ์บทวิโอลาโซนาต้าขึ้นในท่ามกลางงานประพันธ์หลายๆ ชิ้นของเขา นอกจากนั้นเขายังได้เขียนสตริงควอเต็ทขึ้นอีก 3 บทด้วยกัน

ด้วยผลงานไวโอลินคอนแชร์โตจำนวน 7 บททำให้เขามีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์วงการไวโอลินในฐานะผู้สนับสนุนคนสำคัญของสำนักไวโอลินสาย Franco-Belgian นอกจากไวโอลินคอนแชร์โตของตนเองแล้วเขายังสนับสนุนบทประพันธ์ไวโอลินคอนแชร์โตของ Beethoven (เขายังเล่นโซนาต้าและสตริงควอเต็ทของ Beethoven ด้วย) และ Mendelssohn อีกด้วย เขาได้เพิ่มมิติของดนตรีคลาสสิกในบทเพลงสำหรับไวโอลิน ซึ่งมักจะมีเทคนิคที่สดใส แต่มักจะมีการแปรเปลี่ยนท่วงทำนองเพียงเล็กน้อยเท่านั้นกับทำนองหลักของเพลงซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี เขาไม่เคยใช้เทคนิคการเล่นที่สุดยอดของตนเพื่อเล่นในแบบที่ตนต้องการเช่นเดียวกับนักไวโอลินที่คนอื่นๆ ในยุคก่อนหน้านั้นเคยทำ
โดย: - [25 มี.ค. 51 16:08] ( IP A:203.170.144.1 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
    Ex-Vieuxtemps, Ex-Wilmotte ไวโอลินที่ทำขึ้นในราวๆ ปี 1741 ฝีมือของ Giuseppe Guarneri del Gesu

Vieuxtemps มีไวโอลินชั้นยอดในครอบครองหลายตัวด้วยกัน (ประมาณ 13 ตัว) แต่เขาเล่นไวโอลินตัวนี้มานานกว่า 15 ปี ในจดหมายที่เขาเขียนขึ้นมื่อปี 1878 กล่าวถึงไวโอลินตัวนี้ว่าเป็นเพื่อนเก่าและเป็นคู่หูที่ไม่เคยแยกจากกันมานานกว่า 20 ปี และยังกล่าวด้วยว่า ไวโอลินตัวนี้มีส่วนช่วยเขาประพันธ์เพลง Violin Concerto in D minor (no.4, op.31) ซึ่งนำออกเผยแพร่ในราวๆ ปี 1850 เชื่อกันว่าเขาได้ไวโอลินตัวนี้มาในราวๆ ปลายทศวรรษที่ 1840 ดังนั้นจึงเป็นโอกาสอันดีที่จะใช้ไวโอลินตัวนี้บรรเลงบทประพันธ์ไวโอลินคอนแชร์โตบทที่ 4 และ 5 ที่เขาประพันธ์ขึ้นเป็นรอบปฐมทัศน์ ซึ่งนำออกแสดงในราวๆ ปี 1850 และ 1861 ตามลำดับ ในจดหมายเขายังบรรยายถึงการไวโอลินตัวนี้บรรเลงไวโอลินคอนแชร์โตบทที่ 4 ของเขาไว้ว่า ” เปี่ยมไปด้วยความสดใสและพลังเสียงที่น่าทึ่ง ” ( avec un éclat et une puissance remarquable ) ฉลากมีข้อความว่า Joseph Guarnerius fecit Cremone anno 1743

Vieuxtemps ถึงแก่กรรมเมื่อปี 1881 แต่เขาขายไวโอลินออกไปก่อนหน้านั้นในราวๆ ปี 1870 ให้กับนักสะสมชาวเบลเยียม Andre Wilmotte ซึ่งมีไวโอลิน ‘Ysaye’ ปี 1740 ฝีมือของ Guarneri del Gesu ในครอบครองอีกตัว นอกจากนั้น Wilmotte ยังมีไวโอลิน Stradivari ชั้นยอดอีกหลายตัว ซึ่งรวมถึงไวโอลินประดับลวดลาย ‘Sunrise’ ปี 1677 ไวโอลิน ‘Betts’ ปี 1704 ที่มีชื่อเสียง ไวโอลิน ‘Muntz’ ปี 1736 และไวโอลิน 1718 และ 1734 ที่ยังคงมีชื่อเล่นตามชื่อของเขา

Wilmotte ถึงแก่กรรมในปี 1893 ไวโอลินตัวนี้ได้ตกไปอยู่ในครอบครองของนักอุตสาหกรรมชาวเยอรมัน Eduard Ferdinand Kuchler ซึ่งในหนังสือของ Fritz Meyer ปี 1918 ปรากฎชื่อของเขาในฐานะผู้ครอบครองไวโอลินตัวนี้

Kuchler เป็นนักไวโอลินมือสมัครเล่นและนักแต่งเพลงที่ประสบความสำเร็จ ไวโอลินตัวนี้อยู่ในครอบครองของตระกูล Kuchler มาอย่างยาวนาน จนกระทั่งมีการขายไปเมื่อปี 2008 ให้กับ Maxim Viktorov นักกฎหมายคนหนึ่งในราคาที่ไม่เปิดเผย แต่เชื่อกันว่าน่าจะทำลายสถิติราคาการซื้อขายไวโอลินที่เคยมีมาก่อนหน้านี้

โดย: - [27 มี.ค. 51 13:08] ( IP A:203.170.144.1 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
    'Vieuxtemps ' ไวโอลินปี 1700 ฝีมือของ Giuseppe (filius Andrea) Guarneri หนึ่งในไวโอลินของเขาที่ตั้งชื่อตามเจ้าของ

โดย: - [27 มี.ค. 51 13:13] ( IP A:202.12.73.8 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
    ไวโอลินของ Henri Vieuxtemps

https://www.pantown.com/board.php?id=13220&area=4&name=board2&topic=223&action=view
โดย: - [7 เม.ย. 51 10:05] ( IP A:125.26.125.143 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน