ความคิดเห็นที่ 3 ในปี 1911 เขาได้นำไวโอลินคอนแชร์โตของ Elgar ออกแสดงให้โลกได้รู้จักเป็นครั้งแรก Kreisler มีความสุขกับความสำเร็จและการมีชื่อเสียงในฐานะนักไวโอลินเอก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เขาถูกเกณฑ์ทหารเพื่อเข้าร่วมรบในสงคราม แต่ได้รับบาดเจ็บที่ขาและถูกจำหน่ายว่าเสียชีวิตในการรบ หลังสงครามยุติลง เขาได้กลายเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงและมีฐานะร่ำรวย หลังจากนั้นได้ย้ายไปพำนักยังประเทศสหรัฐอเมริกา Kreisler ให้ความช่วยเหลือเด็กกำพร้ารวมถึงชาวยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากภัยสงคราม รวมถึงแสดงคอนเสิร์ทเพื่อการกุศลต่าง ๆ แต่เมื่ออเมริกาเข้าร่วมรบในสงคราม ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาต่อต้านและมีแนวคิดไม่ลงรอยกับทางการอยู่เสมอ เขาจึงได้เขียนจุลอุปรากร (Operetta) เรื่อง Apple Blossoms และบทเพลง String Quartet เพื่อแสดงจุดยืนของตนเอง
Kreisler สร้างบ้านขึ้นที่เบอร์ลินเมื่อปี 1924 แต่ในปี 1933 เขาได้ทิ้งบ้านหลังนี้ไป เนื่องจากสะเทือนใจที่พรรคนาซีของฮิตเลอร์ได้เข่นฆ่าชาวยิวเพื่อนร่วมชาติ ในปี 1938 เขาโอนสัญชาติเป็นฝรั่งเศส และได้ย้ายกลับไปพำนักที่สหรัฐอเมริกาเมื่อปี 1941
เขาประสบอุบัติเหตุถูกรถแวนชนขณะที่เดินข้ามถนนในกรุงนิวยอร์ค ได้รับบาดเจ็บสาหัสอยู่ในอาการโคม่ากว่า 4 อาทิตย์ ผลของอุบัติเหตุครั้งนี้ทำให้เขาต้องปิดฉากอาชีพการเป็นนักดนตรีเลยทีเดียว Kreisler มีความรักในแผ่นดินแห่งเสรีภาพนี้เป็นอย่างมาก เขาได้โอนสัญชาติเป็นอเมริกันเมื่อปี 1943 และยังแสดงคอนเสิร์ทจนถึงปี 1950 และเสียชีวิตที่นิวยอร์คเมื่อวันที่ 29 มกราคม 1962
ช่วงก่อนแสดงคอนเสิร์ททุก ๆ ครั้ง Kreisler แทบจะไม่เคยหยิบไวโอลินออกจากกล่องเลย เคยมีผู้ถามเขาว่าเขาใช่เวลาฝึกซ้อมในแต่ละวันเป็นเวลากี่ชั่วโมง ? เขากลับตอบว่า "ผมฝึกหนักมาตลอด 24-25 ปี" ฝีมือของเขาส่วนหนึ่งมาจากเทคนิคของนิ้วและมือนั่นเอง ด้วยสัมผัสที่แผ่วเบาของปลายนิ้วที่กดลงบนสายไวโอลิน
Daisy Kennedy นักไวโอลินชาวออสเตรเลียกล่าวว่า ผลงานบันทึกเสียงหลาย ๆ ชิ้นของเขาแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดถึงการควบคุมความยืดหยุ่นของจังหวะ (Tempo rubato) ด้วยท่วงทำนองที่ไพเราะ รวมถึงการใช้ดับเบิ้ลสต็อปที่หาใครเทียบได้ยาก การใช้คันชักที่เหมาะสม George Enescu กล่าวว่าในขณะเล่นหางม้าที่คันชักของเขามักจะขาดอยู่บ่อย ๆ และสัมผัสกับคันชักเสมอ ในขณะที่ Kreisler นิยมขึ้นหางม้าค่อนข้างตึงแต่ปรับแรงกดในขณะเล่น คันชักของเขาเหมือนมีกาวติดอยู่กับสายแต่กลับเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่ว ซึ่งเป็นสิ่งเขาได้ฝึกฝนมาตั้งแต่สมัยที่เรียนอยู่ที่ปารีส น้ำเสียงอันไพเราะที่บรรเลงออกมานั้นส่วนหนึ่งมาจากการใช้คันชักที่ดีเยี่ยมนั่นเอง
Kreisler มีไวโอลินในครอบครองเป็นจำนวนหลายตัวเช่น ไวโอลินของ Carlo Bergonzi และ Peter Guarneri of Mantua แต่ไวโอลินที่เขาชื่นชอบมากที่สุดกลับเป็นฝีมือของ Guarneri del Gesu นอกจากนั้นเขายังมีไวโอลินของ Stradivari อีกหลายตัวเช่น Greville ปี 1726, Huberman ปี 1733, Earl of Plymouth ปี 1734, Lord Amherst of Hackney ปี 1734 และยังมีไวโอลินของ del Gesu อยู่ในครอบครอง 2 ตัวคือ Hart ปี 1737 จนกระทั่งในปี 1917 เขาได้ไวโอลินมาไว้ในครอบครองอีก 1 ตัวคือ Kreisler ที่ทำขึ้นในปี 1733 ซึ่งตั้งชื่อตามชื่อของเขาในภายหลัง ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ห้องสมุดสภาคองเกรส (Library of Congress) ในกรุงวอชิงตัน ดีซี ครั้งหนึ่งเคยมีนักวิจารณ์กล่าวว่าการที่เขาเล่นไวโอลินได้ไพเราะนั้นเป็นเพราะใช้ไวโอลินชั้นยอดนั่นเอง เมื่อ Kreisler ทราบถึงกับโกรธมาก เขาไปซื้อไวโอลินธรรมดาราคาถูก ๆ มาใช้เล่นในคอนเสิร์ทคราวหนึ่งของเขา คอนเสิร์ทในครั้งนั้นประสบความสำเร็จด้วยดี เขากล่าวว่าดนตรีที่แท้จริงนั้นมาจากภายใน เครื่องดนตรีเป็นเพียงสื่อกลางเท่านั้น
มีเรื่องตลกเล่าว่า Fritz Kreisler เคยถูกสาวสังคมชั้นสูงนางนึงถามว่า เขาจะคิดค่าแสดงในงานเลี้ยงส่วนตัวของเธอซักเท่าไหร่? เขาตอบว่า $5,000 เหรียญ อนงค์นางนั้นตอบตกลงอย่างไม่เต็มใจนักพร้อมกับมีเงื่อนไขข้อหนึ่งว่า
"จำไว้ว่า" เธอกล่าวเน้น "ฉันไม่ได้หวังให้คุณมายุ่มย่ามกับแขกของฉัน" "ในกรณี้นี้นะครับ คุณผู้หญิง" Kreisler ตอบพร้อมกับรอยยิ้ม "ค่าตัวผมแค่ 2,000 เหรียญเท่านั้นครับ" | โดย: - [20 ม.ค. 49 11:24] ( IP A:202.12.74.7 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 มาอ่านครับ
มาช่วยเสริมว่า Kreisler ที่เป็นนักไวโอลินที่โด่งดังและเป็นที่รักที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของไวโอลินก็เพราะว่าท่านเป็นนักแต่งเพลงและเรียบเรียงเพลงสำหรับไวโอลินไว้เยอะมากครับ ในการแสดง Violin Recital เรามักจะได้ยินเพลงของท่านเสมอๆ เพลงที่รู้จกกันดีก็เช่น Liebesleid, Liebesfreud, Schoen Rosmarin, Caprice Viennios etc.. ปัจจุบันเราสามารถหาผลงานการเล่นของท่านมาฟังได้ไม่ยากนัก แม้คุณภาพเสียงไม่เต็มร้อยแต่ สำเนียง และ น้ำเสียงการเล่นไวโอลินของท่านนั้นสุดยอดไพเราะหาคนเทียบยากจริงๆครับ | โดย: Kreisler [20 ม.ค. 49 11:25] ( IP A:202.12.74.7 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 5 Fritz Kreisler Fritz (หรือในชื่อจริง Friedrich) Kreisler ยอดนักไวโอลินชาวอเมริกันเชื้อสายออสเตรีย เขาเกิดเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 1875 ที่กรุงเวียนนาและเสียชีวิตเมื่อวันที่ 29 มกราคม 1962 ที่นิวยอร์ค
พรสวรรค์พิเศษของเขาเริ่มฉายแววเมื่อเขาอายุได้เพียง 4 ขวบเท่านั้น และได้รับการส่งเสริมเป็นอย่างดีจากบิดาของเขา ด้วยคำแนะนำเหล่านั้นเองทำให้ฝีมือของเขาพัฒนาไปรวดเร็วมาก Jacob Dont รับเขาเป็นลูกศิษย์ในขณะที่อายุเพียง 6 ขวบเท่านั้น นอกจากนั้นเขายังเรียนกับอาจารย์อีกคนหนึ่งคือ Jacques Auber พออายุ 7 ขวบได้เข้าเรียนที่สถาบันการดนตรี Vienna Conservatory อาจารย์ที่สอนไวโอลินให้เขาก็คือ Hellmesberger Jr. และ Bruckner เป็นอาจารย์สอนทฤษฎีดนตรี เขาออกแสดงเป็นครั้งแรกที่สถาบันแห่งนั้นเองในขณะที่อายุ 9 ขวบ และได้รับรางวัลเหรียญทองเมื่ออายุเพียง 10 ขวบ ต่อมาได้ศึกษาต่อด้านไวโอลินในระดับสูงกับ Massart และเรียนด้านการประพันธ์เพลงกับ Delibes ที่สถาบันการดนตรี Paris Conservatory
ในปี 1887 เขาได้รับรางวัล Premier prix ร่วมกับนักเรียนคนอื่นๆ อีก 4 คน Kreisler ออกแสดงในสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรกที่เมืองบอสตันเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 1888 หลังจากนั้นได้ออกทัวร์ทั่วประเทศสหรัฐฯ ในช่วงปี 1889-1890 ร่วมกับนักเปียโน Moriz Rosenthal แต่ได้รับความสำเร็จพอประมาณเท่านั้น เขาเดินทางกลับยุโรปอีกครั้ง และละทิ้งด้านดนตรีเพื่อศึกษาต่อด้านการแพทย์ที่กรุงเวียนนาและด้านศิลปะที่กรุงโรมและปารีส หลังจากนั้นเขาได้เข้ารับราชการเป็นทหารในกองทัพออสเตรียในช่วงปี 1895-1896 เมื่อกลับมาแสดงคอนเสิร์ทอีกครั้ง เขาออกแสดงเดี่ยวไวโอลินโดยร่วมงานกับวาทยากร Richter และวง Vienna Philharmonic เมื่อวันที่ 23 มกราคม 1898 และต่อมาได้ออกแสดงร่วมกับวาทยากร Nikisch และวง Berlin Philharmonic เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 1899 ถือเป็นการเริ่มเส้นทางการเป็นนักดนตรีอาชีพในระดับนานาชาติของเขา
Kreisler ไม่เพียงแต่เรียกฝีมือของเขาในช่วงที่ต้องหยุดพักกลับมาเท่านั้น แต่ยังพัฒนาการตีความบทเพลงของเขาอีกด้วย การออกทัวร์คอนเสิร์ตครั้งที่ 2 ในสหรัฐฯ ในช่วงปี 1900-1901 ทั้งในฐานะเดี่ยวไวโอลินและนักแสดง Recital ร่วมกับ Hofmann และ Gerard เขาได้รับเสียงชื่นชมจากผู้ชมอย่างดีเยี่ยม Kreisler ออกแสดงครั้งแรกที่ลอนดอนเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 1902 ในฐานะนักเดี่ยวไวโอลินร่วมกับวง Philharmonic Society Orchestra โดยมี Richter ทำหน้าที่อำนวยเพลง ต่อมา Edward Elgar ได้ประพันธ์บทไวโอลินคอนแชร์โตให้กับเขา และ Kreisler นำออกแสดงเป็นครั้งแรกที่ลอนดอนเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 1910 โดยมีผู้ประพันธ์เป็นผู้กำกับวงด้วยตัวเอง ในช่วงที่สงครามโลกครั้งที่ 1 อุบัติขึ้นในปี 1914 Kreisler ได้กลับเข้าประจำการในกองทัพอีกครั้ง แต่หลังจากนั้นไม่นานเขาได้รับบาดเจ็บและถูกปลดประจำการในเวลาต่อมา หลังจากนั้นเขาได้เดินทางกลับไปยังสหรัฐเพื่อเป็นนักดนตรีอีกครั้ง แต่หลังจากที่สหรัฐฯ เข้าร่วมสงครามในปี 1917 เขาได้ถอนตัวจากการแสดงต่อสาธารณชน เมื่อสงครามยุติลงเขากลับมาแสดงอีกครั้งที่นิวยอร์คเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 1919 และเริ่มออกแสดงทัวร์คอนเสิร์ตอีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้นในช่วงปี 1924 ถึง 1934 เขาได้ย้ายไปพำนักที่กรุงเบอร์ลิน และในปี 1938 เขาได้เดินทางไปยังฝรั่งเศสและได้โอนสัญชาติเป็นฝรั่งเศส แต่ในปี 1939 เขาได้เดินทางไปตั้งรกรากที่สหรัฐฯ และได้โอนสัญชาติเป็นพลเมืองอเมริกันในปี 1943
ในปี 1941 เขาได้รับอุบัติเหตุจนเกือบเสียชีวิตเพราะถูกรถบรรทุกชนในขณะที่เดินข้ามถนนในกรุงนิวยอร์ค แต่อาการของเขาค่อยๆ หายเป็นปกติและกลับมาเล่นคอนเสิร์ตได้อีกครั้งจนถึงปี 1950
| โดย: - [23 ม.ค. 49 18:01] ( IP A:202.12.74.5 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 6 Kreisler ถือเป็นหนึ่งในสุดยอดนักไวโอลินแห่งยุค เทคนิคอันยอดเยี่ยมของเขาเป็นเลิศทัดเทียมกับน้ำเสียงไวโอลินอันโดดเด่น ซึ่งเขามักจะใช้มันเพื่อรับใช้บทประพันธ์ของคีตกวีต่างๆ นอกจากนั้นเขายังเป็นเจ้าของไวโอลินชั้นยอด Guarneri "del Gesu" ปี 1733 รวมถึงไวโอลินชั้นยอดของช่างคนอื่นๆ อีกด้วย
เขาสะสมบทเพลงต้นฉบับที่ประเมินค่าไม่ได้ไว้เป็นจำนวนมาก ในปี 1949 เขาได้บริจาคต้นฉบับบทประพันธ์ไวโอลินคอนแชร์โตของ Brahms และต้นฉบับบทประพันธ์ "Poeme for Violin and Orchestra" ของ Chausson ให้กับห้องสมุดสภาคองเกรส (Library of Congress) ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เขาได้แต่งบทประพันธ์ไวโอลินที่มีชื่อเสียงไว้หลายบท เช่น Caprice viennois, Tambourin chinois, Schon Rosmarin และ Liebesfreud นอกจากนั้นเขายังได้ตีพิมพ์บทเพลงในลีลาแบบคลาสสิกไว้เป็นจำนวนมากโดยเขาอ้างว่าเป็นผลงานของคีตกวีหลายๆ ท่าน เช่น Vivaldi, Pugnani, Couperin, Padre Martini, Dittersdorf, Francoeur, Stamitz ฯลฯ แต่ในปี 1935 เขาก็ออกมายอมรับแบบเสียไม่ได้ว่าผลงานเหล่านั้นเป็นฝีมือของเขาเอง ยกเว้นบทเพลง "Chanson Louis XIII" ที่เขาแต่งโดยใช้ชื่อของ "Couperin" ซึ่ง 8 ห้องแรกนั้นเขานำมาจากทำนองเพลงพื้นเมือง
เขาให้เหตุผลในการทำเช่นนี้ว่าเป็นความจำเป็นที่ต้องสร้างรายการแสดงที่หลากหลายในคอนเสิร์ตของเขา ต้องมีบทเพลงชิ้นสำคัญๆ ของคีตกวีที่มีชื่อเสียงแทนที่จะเป็นบทเพลงที่แต่งในชื่อของเขาเองที่ยังไม่มีชื่อเสียงมากนัก นอกจากนั้นเขายังได้แต่งจุลอุปรากร (Operetta) ไว้หลายบท คือ "Apple Blossoms" และ "Sissy" ซึ่งตีพิมพ์บทเพลงในยุค Modern music ตอนต้นที่เรียบเรียงขึ้นใหม่หลายเพลง เช่น "La Folia" ของ Corelli, "The Devil's Trill" ของ Tartini, "Slavonic Dances" ของ Dvorak, "Spanish Dance" ของ Granados, "Tango" ของ Albéniz เป็นต้น และยังได้เขียนท่อน Cadenza สำหรับไวโอลินคอนแชร์โตของ Beethoven และ Brahms ไว้อีกด้วย
Kreisler ได้เขียนหนังสือที่เล่าถึงเหตุการณ์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่ชื่อ FOUR WEEKS IN THE TRENCHES: THE WAR STORY OF A VIOLINIST ตีพิมพ์เมื่อปี 1915 | โดย: - [23 ม.ค. 49 18:07] ( IP A:202.12.74.6 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 7 ภาพถ่ายของ Fritz Kreisler จากแนวหน้า รูปนี้ถ่ายในช่วงที่เขารับราชการเป็นทหารได้ 3 อาทิตย์ 
| โดย: - [23 ม.ค. 49 18:09] ( IP A:202.12.74.5 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 8 ภาพถ่ายของ Kreisler ในช่วงที่เขารับราชการทหารอยู่ในกองทัพออสเตรีย และภรรยาของเขาที่เป็นนางพยาบาล 
| โดย: - [23 ม.ค. 49 18:11] ( IP A:202.12.74.6 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 11 ภาพข่าวจากหนังสือพิมพ์ซึ่งลงข่าวที่ Fritz Kreizler ถูกรถชนขณะข้ามถนนในนิวยอร์ค 
| โดย: - [24 ม.ค. 49 14:12] ( IP A:202.12.74.7 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 14 'Kreisler' ไวโอลินของ Giuseppe Guarneri del Gesu ทำขึ้นในราวๆ ปี 1730 ฉลากระบุว่าทำในปี 1733 (แต่ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าทำขึ้นก่อนหน้านั้นในราวๆ ปี 1730) ไม้แผ่นหลังเป็นไม้ 2 แผ่นจากไม้ซุงท่อนเดียวกับไวโอลิน "Stretton" ที่ทำขึ้นในราวๆ ปี 1729 หัวไวโอลินเหมือนกับเชลโลเชลโลปี 1731 ที่ติดฉลากของ Giuseppe filius Andreae ผู้เป็นบิดา ปัจจุบันไวโอลินตัวนี้เก็บรักษาไว้ที่ห้องสมุดสภาคองเกรส (Library of Congress) ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
| โดย: - [7 พ.ค. 51 22:22] ( IP A:203.170.144.1 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 16 ไวโอลิน 'Kreisler' 1733 
| โดย: - [21 ส.ค. 55 11:49] ( IP A:202.12.73.207 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 17 วาทะของ Fritz Kreisler
- อัจฉริยะเป็นคำพูดที่เกินจริงจนเกินไป โลกรู้จักพวกอัจฉริยะเพียงแค่ครึ่งโหลเท่านั้น ส่วนผมแค่ใกล้เคียงในระดับหนึ่งเท่านั้น | โดย: - [21 ส.ค. 55 11:51] ( IP A:202.12.73.207 X: ) |  |
|