Ruggiero Ricci
    Ruggiero Ricci
Ruggiero Ricci นักไวโอลินร่วมสมัยชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง เขาเกิดเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 1918 ที่เมือง San Bruno

การศึกษาด้านดนตรีของเขามาจากการส่งเสริมของผู้เป็นบิดา เขาเรียนดนตรีไปพร้อมกับญาติๆ อีก 6 คน ทุกๆ ซึ่งทุกๆ คนเริ่มต้นเรียนเพื่อเป็นนักดนตรี แต่มี 2 ที่ประสบความสำเร็จและก้าวไปถึงระดับนักดนตรีอาชีพคือ Giorgio Ricci นักเชลโลคือและ Emma Ricci นักไวโอลิน ส่วน Ruggiero เริ่มเรียนไวโอลินกับ Louis Persinger และออกแสดงคอนเสิร์ทครั้งสำคัญต่อสาธารณชนที่ San Francisco เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 1928 เมื่ออายุเพียง 10 ขวบเท่านั้น โดยมีญาติของเขาเล่นเปียโนประกอบให้ หลังจากนั้นเขาออกแสดงที่นิวยอร์คเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 1929 และเริ่มออกทัวร์คอนเสิร์ทในหลายๆ ประเทศเมื่อปี 1932 เขาประสบความสำเร็จในการก้าวข้ามจากสถานะภาพเด็กอัจฉริยะมาเป็นศิลปินอย่างเต็มตัว

Ricci ค่อยๆ เก็บบทประพันธ์ไวโอลินคอนแชร์โตที่น่าเกรงขามถึงราวๆ 60 บท รวมถึงบทประพันธ์ไวโอลินต่างๆ ของ Paganini ทั้งหมด และเรียบเรียงบทเพลงไวโอลินคอนเเชร์โตยุคแรกๆ จากต้นฉบับของ Paganini ที่พึ่งถูกค้นพบ โดยเรียบเรียงใหม่ตามที่มันควรจะเป็นเหมือนเมื่อปี 1815 หลังจากนั้นเขาได้นำบทเพลงนี้ออกแสดงเป็นครั้งแรกที่กรุงนิวยอร์คร่วมกับวง American Symphony Orchestra เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 1977 นอกจากนั้นเขายังนำบทประพันธ์ไวโอลินคอนเเชร์โตของรุ่นใหม่หลายๆ คนออกแสดงอีกด้วย เช่น Alberto Ginastera ในปี 1963 และ Gottfried von Einem ในปี 1970

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาทำหน้ารับใช้ชาติในฐานะ "Entertainment specialist" ให้กับกองทัพอากาศของสหรัฐอเมริกา ภายหลังสงครามยุติลงเขาจึงมีโอกาสได้กลับมายืนอยู่บนเวทีคอนเสิร์ทอีกครั้งหนึ่ง เขาออกทัวร์คอนเสิร์ทรอบโลกหลายครั้งรวมถึง ทวีปอเมริกาใต้ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และรัสเซีย นอกจากนั้นเขายังสอนมาสเตอร์คลาสที่ N.C. School of the Arts, มหาวิทยาลัย Indiana University และที่ Juilliard School of Music ที่นิวยอร์คอีกด้วย

ไวโอลินคู่ใจของเขาคือ Guarneri del Gesu violin ปี 1734 ในปี 1978 เขาฉลองครบรอบวันเกิดปีที่ 60 "Golden Jubilee" ซึ่งเป็นวาระครบรอบครึ่งศตวรรษการเป็นนักไวโอลินอาชีพของเขา

โดย: - [23 ม.ค. 49 14:37] ( IP A:202.12.74.5 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
    Ex-Ferni, Ex-Huberman
Ex-Ferni และ Ex-Huberman เป็นไวโอลินที่ Guarneri del Gesu Giuseppe สร้างขึ้นในปี 1734 ทั้งคู่ ซึ่ง Ricci ได้มาครอบครองเมื่อปี 1977 แต่ได้ขาย Ex-Ferni ให้กับบริษัท Machold Rare Violins เมื่อปี 2001 และได้ขาย Ex-Huberman ให้กับมูลนิธิ Hayashibara Foundation เมื่อปี 2004 และทางมูลนิธิได้มอบให้กับ Midori Goto ยืมใช้เป็นการถาวร

โดย: - [23 ม.ค. 49 14:45] ( IP A:202.12.74.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
    'Ex-Ferni' ปี 1734

โดย: - [23 ม.ค. 49 14:48] ( IP A:202.12.74.7 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
    คำคมและข้อคิดของ Ruggiero Ricci
- การตีความที่ดีสามารถทำให้เพลงที่แย่ๆ เพลงหนึ่งมีความไพเราะขึ้นมาได้ในระดับหบนึ่ง ในขณะที่การตีความที่ไม่ดี ทำให้เพลงที่ดีๆ ด้อยค่าลงได้ ผมสามารถบอกได้ว่านักดนตรีบางคนมีรสนิยมที่แย่ ต่างจากที่พวกนักเปียโนทำ นักดนตรีเหล่านั้นละเลงจนเกินพอดี ซึ่งนั่นคือรสนิยมที่แย่

- ผู้เชี่ยวชาญคือคนที่ทำทุกๆ สิ่งที่เหลือได้ไม่ดี

- สีสันของเพลงไม่ทำให้เกิดความแตกต่างมากนัก ลองฟังบทเพลง Chaconne ของ Bach ดูสิ ทั้งเพลงไม่มีเครื่องหมายบอกการเปลี่ยนจังหวะ (Dynamic) เลยแม้แต่ตัวเดียว เพราะสีสันของเพลงไม่ทำให้เกิดความแตกต่างมากนัก

- นักไวโอลินทุกคนมีสไตล์การเล่นที่แตกต่างกันไป ดังนั้นการจดจำสไตล์ของพวกเขาจึงเป็นสิ่งสำคัญ คุณไม่จำเป็นต้องชอบสไตล์ของทุกคน แต่คุณต้องรู้จักสไตล์เหล่านั้น

- ผมไม่มีเพลงที่โปรดเป็นพิเศษ ผมคิดว่าเมื่อคุณเล่นดนตรี คุณต้องเป็นเหมือนหญิงขายบริการ คุณต้องรักในเพลงที่คุณกำลังเล่น และแม้ว่าคุณจะไม่ชอบมัน คุณต้องเล่นเหมือนว่าคุณชอบมัน ซึ่งมันจะทำให้คุณเป็นนักตีความที่ดีได้

- แน่นอนว่าสิ่งที่ยากทีสุดสำหรับไวโอลินมักจะเป็นเรื่องการสร้างท่วงทำนองของเสียง (Intonation) ประการที่สองคือเรื่องจังหวะ (Rhythm) ถ้าคุณเล่นไม่เพี้ยน เล่นตรงจังหวะ ด้วยน้ำเสียงที่ดี นั่นก็ถือว่าการเล่นของคุณอยู่ในขั้นสูงแล้ว และนี่คือปัจจัยหลัก 3 ประการ

- ก่อนอื่นคุณต้องหัดเล่นกับเครื่องนับจังหวะ (Metronome) หลังจากนั้นจึงค่อยเล่นอย่างมีอิสระ ถ้าคุณเล่นในวงออร์เคสตร้า คุณต้องมองวาทยกร เพราะเขาเป็นเหมือนเครื่องนับจังหวะ แต่จะยากกว่าตรงที่เขาสามารถเปลี่ยนจังหวะได้

- ร้อยละ 90 ของการตีความคือ “จังหวะ”

- เมื่อคุณได้ฟังการเล่นของนักไวโอลินสักคนที่เล่นดีกว่าคุณ คุณจงเรียนจากเขา เพราะถ้าคุณเล่นดนตรีกับใครสักคนที่เล่ยแย่กว่าคุณ คุณก็จะเล่นแย่ลงตามไปด้วย

- คุณต้องฟังให้มากๆ อย่าเรียนรู้จากตัวเองแต่เพียงอย่างเดียว
โดย: - [8 ม.ค. 54 23:51] ( IP A:202.12.74.11 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน