นักไวโอลินไทย
    สุทิน เทศารักษ์ ยอดนักไวโอลินโรแมนติคของไทย

โดย: - [10 พ.ค. 49 7:58] ( IP A:202.12.74.8 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 2
   

โดย: - [10 พ.ค. 49 8:01] ( IP A:202.12.74.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   

โดย: - [10 พ.ค. 49 8:03] ( IP A:202.12.74.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
    พลเรือตรี หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พุทธศักราช ๒๕๓๗

ท่านผู้อ่านที่ได้สนใจติดตามอ่านประวัติความเป็นมาของศิลปินแห่งชาติที่ผมได้นำเสนอมาแล้วหลายสิบท่าน คงจะได้ทราบดีแล้ว ว่าศิลปินแห่งชาติส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดนั้น ล้วนแต่เป็นผู้ที่ได้ร่ำเรียนฝึกฝนมาทางศิลปะแขนงนั้นๆ โดยตรง ทั้งยังยึดถือเป็นอาชีพหลักอีกด้วย มีเพียงไม่กี่ท่านเท่านั้น ที่โดยวิชาชีพทำงานด้านอื่น แต่ด้วยความรักและความสนใจอย่างจริงจัง ประกอบกับพรสวรรค์อันพิเศษที่มีอยู่ในตัวเหนือกว่าคนทั่วไป ทำให้สามารถทำงานศิลปะในแขนงที่ท่านรักได้ยอดเยี่ยมถึงขั้นที่ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ ท่านองคมนตรี พลเรือตรี หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช เป็นอีกท่านหนึ่งที่เข้าข่ายนี้โดยตรงครับ

ท่านองคมนตรีอัศนี เกิดเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ ที่กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันอายุ ๖๖ ปี ท่านเป็นบุตรของ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี และท่านผู้หญิงอุศนา ปราโมช ณ อยุธยา ในวัยเด็ก ท่านได้รับการศึกษาที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน ก่อนที่จะเดินทางไปศึกษาต่อทางด้านกฎหมายที่มหาวิทยาลัย

อ๊อกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษจนสำเร็จปริญญาตรี จากนั้นก็ได้เข้าศึกษาในหลักสูตรเนติบัณฑิตที่สำนักอบรมศึกษากฎหมายเกรส์ อินน์ จนสำเร็จเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษ

เป็นที่ทราบกันดีโดยทั่วไปว่า หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช นั้นนอกจากจะเป็นนักกฎหมายระดับแนวหน้าของประเทศ เป็นนักการทูตที่ได้รับความยอมรับนับถือในเวทีโลกและเป็นนักการเมืองที่มีประวัติงดงาม เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาหลายวาระแล้วในอีกมุมหนึ่งของชีวิต ท่านยังเป็นจิตรกรที่มีผลงานอันเป็นที่ประทับใจของผู้ที่พบเห็น ทั้งยังเป็นนักดนตรีสมัครเล่นที่มีความสามารถสูงอีกด้วย จึงไม่เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจแต่ประการใด หากท่านองคมนตรีอัศนีจะได้รับอิทธิพลในด้านความรักในการดนตรีและศิลปะมาจากท่านบิดาอย่างเต็มตัวตั้งแต่วัยเด็ก ท่านเริ่มเล่นดนตรีด้วยการฝึกไวโอลิน และเมื่อหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ชักชวนลูกๆ และผู้ใกล้ชิดรวมตัวกันเล่นดนตรีเป็นวงควอเตทภายในครอบครัว ท่านองคมนตรีอัศนีก็ได้ร่วมอยู่ในวงนั้นด้วย

ครั้นเดินทางไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ท่านได้ใช้เวลาในยามว่างขวนขวายศึกษาเรียนรู้ดนตรีด้วยตนเอง ทั้งยังได้เข้าร่วมกิจกรรมทางดนตรีกับทางมหาวิทยาลัยเป็นประจำยิ่งไปกว่านั้น ท่านยังได้หาโอกาสไปชมการแสดงดนตรีโดยนักดนตรีชั้นนำอย่างสม่ำเสมอทำให้ประสบการณ์ทางดนตรีของท่านเพิ่มพูนขึ้นโดยลำดับ

แม้จะมีหน้าที่การงานที่มีภาระรับผิดชอบสูง ท่านองคมนตรีอัศนีได้เข้ารับราชการทหารที่กรพระธรรมนูญ กระทรวงกลาโหมอยู่ระยะหนึ่งจนได้รับยศเป็นร้อยเอก จากนั้นก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เข้าทำงานที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์ และได้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ตั้งแต่ปี ๒๕๑๒ มาจนถึงปัจจุบัน หน้าที่การงานของท่านก้าวขึ้นไปถึงจุดสูงสุดในปี ๒๕๒๗ เมื่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ท่านดำรงตำแหน่งองคมนตรี ในด้านยศทหารนั้น ท่านได้รับพระราชทานยศเป็นพลเรือตรีในตำแหน่งนายทหารพิเศษ ประจำกรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ เมื่อเดือนกรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕

โดย: - [10 พ.ค. 49 8:05] ( IP A:202.12.74.8 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   แม้จะมีหน้าที่การงานที่มีภาระรับผิดชอบสูง ท่านองคมนตรีอัศนีก็ยังได้เจียดเวลาในยามว่างประกอบกิจกรรมทางดนตรีมาโดยตลอดตั้งแต่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศได้ไม่นาน โดยในปี ๒๕๐๑ ท่านได้ร่วมกับ อาจารย์กำธร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และชาวต่างชาติอีก ๒ คน ตั้งวงสตริง ควอเตท ขึ้น ครั้นมีผู้สนใจเข้าร่วมมากขึ้น วงสตริงควอเตทจึงพัฒนาไปเป็นวง โปร มิวสิคา ซึ่งเป็นวงดนตรีที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม ต่อมาวงดนตรีนี้ก็ได้รับความสนับสนุนจากสถาบันวัฒนธรรมเยอรมันให้ใช้สถานที่ภายในสถาบันเป็นที่ฝึกซ้อม ทั้งยังได้ส่ง นายฮันส์ กุนเธอร์ มอมเมอร์ มาช่วยควบคุมวงดนตรีนี้ด้วย วงดนตรีโปร มิวสิคานี้นับเป็นวงดนตรีที่บุกเบิกวงการเพลงคลาสสิคของประเทศไทย ซึ่งท่านองคมนตรีอัศนีนับเป็นผู้ริเริ่มและเป็นกำลังสำคัญท่านหนึ่งของวงมาโดยตลอด โดยได้รับหน้าที่เป็นทั้งหัวหน้าวง ผู้จัดการวง ผู้แสดงเดี่ยว และผู้อำนวยเพลงด้วยจนกระทั่งเกิดการรวมตัวครั้งใหม่เป็นวงดนตรีที่ใหญ่ขึ้นมีชื่อว่าบางกอก ซิมโฟนี ออเคสตร้า (B.S.O.) ท่านก็ได้มีบทบาทสำคัญในวงนี้มาจนกระทั่งปัจจุบัน

นอกจากการเป็นนักดนตรี และผู้อำนวยเพลงแล้ว ท่านองคมนตรีอัศนียังมีผลงานด้านการประพันธ์และเรียบเรียงเสียงประสานอีกมากมาย อาทิ

เรียบเรียงเสียงประสานเพลงพระราชนิพนธ์หลายเพลง อาทิ ความฝันอันสูงสุด แผ่นดินของเรา เราสู้ เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย ยามเย็น ลมหนาว อาทิตย์อับแสง ฯลฯ
ปี ๒๕๒๑ ประพันธ์และเรียบเรียงเสียงประสานเพลงบัลเล่ต์ ปางปฐม
ปี ๒๕๒๗ ประพันธ์และเรียบเรียงเสียงประสานเพลงทัศนะ (View) ซึ่งวงดุริยางค์เยาวชนอาเซียนได้นำไปแสดงที่ประเทศสิงคโปร์เมื่อปี ๒๕๒๘
ปี ๒๕๒๙ ประพันธ์และเรียบเรียงเสียงประสานเพลงศรีปราชญ์ (Tone Poem) เพื่อให้วงดุริยางค์เยาวชนอาเซียนแสดงที่กรุงเทพมหานคร ในโอกาสที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ
ปี ๒๕๓๑ ประพันธ์และเรียบเรียงเสียงประสานเพลง สำหรับวันฉัตรมงคล เพื่อให้วงดุริยางค์ ราชนาวีแสดงในงานดนตรีกาชาดคอนเสิร์ต
ปี ๒๕๓๓ ประพันธ์และเรียบเรียงเสียงประสานเพลงประกอบบัลเล่ต์ชื่อ จันทกิรีเพื่อการแสดงที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
ปี ๒๕๓๕ ประพันธ์และเรียบเรียงเสียงประสานเพลงประกอบบัลเล่ต์ชื่อ ศรีปราชญ์ ขึ้นใหม่เพื่อการแสดงที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
ประพันธ์และเรียบเรียงเสียงประสานเพลงพนาไพร เพื่อให้วงดุริยางค์ราชนาวีแสดงในงานดนตรีกาชาดคอนเสิร์ต ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
เรียบร้องเสียงประสานเพลงปลุกใจและเพลงรักชาติในช่วงที่ประเทศชาติประสบกับภัยคุกคามของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์หลายเพลง อาทิ แด่ทหารหาญในสมรภูมิ จากยอดดอย วีรกรรมรำลึก ตื่นเถิดไทย อยุธยารำลึก ฯลฯ

พลเรือตรี หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช นับเป็นบุคคลสำคัญผู้บุกเบิกเพลงประเภทคลาสสิคท่านหนึ่งของไทย ผลงานและความสามารถในทางดนตรีไม่ว่าจะเป็นในฐานะของนักดนตรี ผู้อำนวยเพลงหรือในฐานะคีตกวีและผู้เรียบเรียงเสียงประสานล้วนได้รับความยอมรับนับถือในวงการดนตรีเป็นอย่างสูง ท่านจึงได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๗
โดยส่วนตัวผมรู้จักกับท่านองคมนตรีอัศนีมาเป็นเวลานาน ทั้งยังเคยได้ถ่ายภาพท่านมาแล้ว ดังนั้นจึงได้รับความกรุณาเป็นพิเศษเมื่อผมได้ติดต่อขอถ่ายภาพท่านในครั้งนี้ ท่านได้นัดให้ผมไปถ่ายภาพที่บ้านเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ที่ผ่านมา โดยสถานที่ที่ใช้ถ่ายภาพนี้นั้นเป็นห้องที่ท่านใช้ดูหนังฟังเพลง และซ้อมดนตรี และสามารถใช้เป็นห้องอัดเสียงมาตรฐานสูงได้ด้วย ภายในห้องนั้นนอกจากจะมีเครื่องเสียงที่ทันสมัยครบครันแล้ว ยังมีแกรนด์เปียโนที่ท่านใช้ซ้อมดนตรีและแต่งเพลงตั้งอยู่ด้วย

ในการถ่ายภาพท่านองคมนตรีอัศนีในครั้งนี้ ผมตั้งใจจะถ่ายภาพท่านกับไวโอลินคู่ใจ เพราะท่านเป็นนักไวโอลินที่มีความสามารถอย่างโดดเด่น และภาพท่านขณะบรรเลงไวโอลินก็เป็นยังสิ่งที่คุ้นตาของทั้งผมเองและบุคคลทั่วไปด้วย ในวันนั้น ท่านแต่งกายด้วยชุดสูทยาวโก้หรูแบบตามแบบที่ท่านมักแต่งเมื่ออกแสดงคอนเสิร์ตต่างๆ เมื่อแต่งชุดนี้แล้วท่านดูภูมิฐานเป็นอย่างมาก และยิ่งเมื่อเริ่มถ่ายภาพกันแล้ว ผมก็ได้พบว่าท่านองคมนตรีนักดนตรีท่านนี้สามารถวางท่าทางได้อย่างสง่างามอย่างเป็นธรรมชาติไม่ขัดเขิน การทำงานจึงเป็นไปด้วยความราบรื่นทุกประการ ผมได้จัดให้ท่านนั่งด้านหน้าแกรนด์เปียโน เพื่อช่วยเสริมบรรยากาศทางดนตรีขึ้นในภาพแต่ได้ระวังไม่ให้โดดเด่นออกมาจนแย่งความสนใจไปจากสาระสำคัญของภาพ
โดย: - [10 พ.ค. 49 8:06] ( IP A:202.12.74.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   ระหว่างที่ถ่ายภาพอยู่นั้น ผมได้ซักถามคำถามต่างๆ จากท่านมากมายตามประสาคนช่างถาม เรื่องที่ผมสนใจมากเรื่องหนึ่งคือที่มาของไวโอลินคันงามของท่าน เพราะเคยได้ยินมาก่อนหน้านี้ว่าไวโอลินของท่านคันนี้เป็นของเก่าแก่ ซึ่งท่านก็ได้เล่าให้ฟังว่าไวโอลินคันนี้มาจากประเทศอิตาลีเป็นของเก่ามีอายุกว่า ๒๐๐ ปี ผ่านมือนักไวโอลินที่มีชื่อเสียงมาแล้วหลายต่อหลายคนก่อนที่จะตกมาเป็นสมบัติของท่าน ท่านเล่าว่าคุณสมบัติพิเศษของไวโอลินคันนี้ก็คือเรื่องของเสียง ที่ไวโอลินสมัยปัจจุบันไม่อาจเทียบได้เลยแม้ว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่จะก้าวหน้าไปเท่าใดก็ตาม ซึ่งข้อนี้ยังไม่มีใครที่สามารถให้คำตอบที่แน่ชัดได้ว่าเพราะเหตุใด ยิ่งไปกว่านั้น ท่านยังได้เล่าให้ฟังอีกด้วยว่านอกจากความชอบทางดนตรีแล้ว ท่านยังมีความสนใจในทางศิลปะอีกหลายแขนงทั้งการเขียนภาพ และการถ่ายภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถ่ายภาพนั้น ในระยะหลัง ท่านได้หันมาสนใจการถ่ายภาพใต้น้ำ เนื่องจากท่านมีความชื่นชอบในด้านการดำน้ำเป็นพิเศษ

แม้เวลาหนึ่งชั่วโมงที่ได้ถ่ายภาพและสนทนากับศิลปินแห่งชาติท่านนี้จะผ่านไปอย่างรวดเร็ว แต่ผมก็มั่นใจว่าประสบการณ์ในวันนั้นจะอยู่ในความทรงจำของผมไปอีกนาน

เมื่อได้ศึกษาประวัติชีวิตของท่านองคมนตรี พลเรือตรี หม่อมหลวงอัศนี ปราโมชแล้ว คงไม่มีใครปฏิเสธว่าท่านเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างงดงามยิ่งทั้งในด้านงานวิชาชีพหลัก และงานรองหรืองานอดิเรกเพราะในด้านหน้าที่การงานหลักนั้น ท่านได้ดำรงตำแหน่งองคมนนตรีอันเป็นตำแหน่งสำคัญยิ่งที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนในงานทางด้านดนตรีซึ่งเป็นงานอดิเรกของท่านนั้น ท่านก็ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ ซึ่งเป็นเรื่องที่จะพบเห็นได้ไม่บ่อยนัก

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เอื้อเฟื้อข้อมูล
บริษัทโกดัก (ประเทศไทย) จำกัด สนับสนุนผลิตภัณฑ์ถ่ายภาพ
คุณบันลือ อุตสาหจิต แห่งบริษัทศรีสยามพริ้นท์แอนด์แพคก์ จำกัด อุปถัมภ์โครงการ

ข้อมูลจากนิตยสารสกุลไทย
https://www.sakulthai.com
โดย: - [10 พ.ค. 49 8:07] ( IP A:202.12.74.7 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
    นายเปรื่อง ชื่นประโยชน์
ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ประพันธ์เพลง)


นายเปรื่อง ชื่นประโยชน์ หรือ ป.ชื่นประโยชน์
เกิดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2465 ที่กรุงเทพมหานคร เป็น
บุตรของนายแปลก และนางพิณ ชื่นประโยชน์สมรสกับนาง
สนอง ชื่อนประโยชน์ มีบุตร 3 คน ชาย 2 คนหญิง 1 คน

พ.ศ.2479 เข้าสู่วงการเพลงด้วยแรงบันดาลใจจากเสียง
เพลง "ค่ำแล้วในฤดูหนาว" ของล้วน ควันธรรม ในระยะนั้น
ทำให้คิดอยากจะเป็นนักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงในอนาคต จึง
ตัดสินใจลาออกจากโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายในปลายปี
พ.ศ.2479 ทันที

พ.ศ.2480 สมัครเข้าเป็นนักเรียนดุริยางค์สากล กองดุริยางค์
ทหารบกจนจบหลักสูตร 3 ปี แล้วได้รับการบรรจุเข้าเป็นนัก
ดนตรี "จุลดุริยางค์" กองดุริยางค์ทหารบกในตำแหน่งไวโอลิน
ในความควบคุมของครูเมล์ เอื้อเฟื้อ

พ.ศ.2483 กองดุริยางค์ทหารบกจัดตั้งวงดนตรี แจ๊ส ชื่อวง
"ดุริยะโยธิน" ได้แต่งเพลงซึ่งเป็นเพลงแรกในชีวิตการแต่ง
เพลงชื่อเพลง "เพื่อนรักเก่า" และใช้นามปากกาว่า "ป.ชื่น
ประโยชน์" ให้เฉลา ประสพศาสตร์ ซึ่งเป็นนักร้องประจำวง
ดนตรีดุริยะโยธิน เป็นผู้ขับร้อง และได้แต่งเพลงอื่นๆร่วมกับ
ส. เกตศิริ อีกหลายเพลงให้กับวงดนตรี "ดุริยะโยธิน"

พ.ศ.2484-2485 ใช้ชีวิตเป็นนักดนตรีกับวงดนตรี เชาวน์
แคล่วคล่องบรรเลงหน้าเวทีละคร คณะจันทโรภาส ที่เวที
โรงภาพยนตร์นครสนุก แถวสี่แยกราชวงศ์

พ.ศ.2488 ออกจากกองดุริยางค์ทหารบก เดินทางไปกับคณะ
ละครเร่ ในฐานะนักดนตรีประจำละครเร่ ทั้งภาคเหนือ, ภาคใต้,
ภาคตะวันออก, ภาคตะวันตก ใช้ชีวิตอยู่กับคณะละครเร่ในฐานะ
นักดนตรี เล่นไวโอลินกับวงดนตรีเล็กๆหน้าเวทีละคร คอยนำ
เพลงในตัวละครขับร้องในเรื่องของละครทำดนตรีประกอบละคร
ขณะละครแสดง จนจบทุกๆฉากของละครทุกเรื่อง ครั้งสุดท้าย
เดินทางไปกับคณะละครจันทโรภาส จากกรุงเทพฯ มุ่งหน้าขึ้น
อีสานเข้าจังหวัดใหญ่ๆทุกจังหวัด โดยใช้โรงภาพยนตร์สมัย
นั้นเปิดการแสดง กลับจากอีสานมุ่งหน้าขึ้นเหนือเริ่มต้นจาก
นครสวรรค์ เข้า จังหวัดใหญ่บ้างเล็กบ้างจนสุดทางที่เชียงใหม่
แล้วกลับกรุงเทพฯจากกรุงเทพฯมุ่งหน้าลงภาคใต้ เริ่มต้นจาก
จังหวัดเพชรบุรี ผ่านจังหวัดใหญ่ๆ เช่น ชุมพร, หลังสวน,
สุราษฎร์ธานี , จังหวัดระนอง ,จังหวัดภูเก๊ต สุดท้ายปิดฉาก
คณะละครจันทโรภาส ล้มเลิกคณะซึ่งมีสีนวล แก้วบัวสายแสดง
เป็นนางเอก มนัส บุญยเกียรติ แสดงเป็นพระเอก ประจำคณะ
ละครจันทโรภาส จึงล้มเลิกคำว่าละคระชายจริง หญิงแท้
แต่บัดนั้นเป้นต้นมา จนถึงปี พ.ศ.2493

พ.ศ.2494 กลับเข้ารับราชการที่กองดุริยางค์ทหารบกอีกครั้ง
โดยการชักชวนขงอเชาวน์ แคล่วคล่อง โดยเป็นผู้ประพันธ์เพลง
ประจำวงดนตรีดุริยะโยธิน

พ.ศ.2495-2496 เล่นดนตรีอยู่กับคฯธเชาวน์ แคล่วคล่องหน้า
เวทีละครหลายคณะ เช่น คณะเทพศิลป์ ร่วมงานละครโดยเป็น
วงดนตรีประกอบละครกับ ส.อาสนจินดา, พันคำ, สุรสิทธิ์ สัตย
วงศ์, วิชิต ไวงาน, จำรูญ หนวดจิ๋ม, ล้อต๊อก , ชูศรี

พ.ศ.2497 สร้าง "วงจันทร์ ไพโรจน์"ด้วยเพลง "ชาตินี้ชาติเดียว"
พ.ศ.2498 สร้างชื่อเสียงให้ " ดวงตา ชื่นประโยชน์" ด้วยเพลง
"เพียงแค่นี้" และเพลง "สิ้นสวาท" ปลายปี พ.ศ.2498 สร้างชื่อ
เสียงให้ "คำรณ สัมปุณนานนท์" ด้วยเพลง "คนนอกสังคม" เพลง
"สวรรค์คนจน" และ เพลง "พ่อค้าหาบเร่"


พ.ศ.2499 กองสลากกินแบ่งรัฐบาลได้จัดตั้งวงดนตรีสากลชื่อวง
ดนตรี "วายบุตร" โดยความควบคุมของเชาวน์ เคล่องคล่อง และ
ป.ชื่นประโยชน์ เป็นผู้ประพันธ์เพลงระจำวงดนตรี

พ.ศ.2501 เขียนแบบเรียนดนตรีด้วยตนเองเป็นภาษาไทย เช่น
เรียนไวโอลินด้วยตนเอง กีตาร์ กลองแจ๊ส และการเขียนโน้ตสากล
ออกจำหน่ายเพื่อเป็นการส่งเสริมวิชาการดนตรีขั้นพื้นฐานในยุค
นั้น

พ.ศ.2502 จัดตั้งสำนักงานดนตรี ใกล้สี่แยกบางขุนพรหม
เปิดสอนวิชาดนตรีสากล เช่น ไวโอลิน, กีตาร์ และกลองแจ๊ส
ขั้นพื้นฐาน

พ.ศ.2503 จัดตั้งวงดนตรี ป.ชื่นประโยชน์ และตั้งโรงเรียนสอน
ดนตรี ร.ส.พ.ชื่อวงดนตรี "พินสุสร" และได้เลื่อนตำแหน่งเป็น
ผู้ควบคุมวงดนตรี เมื่อปี พ..ศ.2511

พ.ศ.2505 สร้างนักร้องและตั้งชื่อ ก้าน แก้วสุพรรณ ด้วยเพลง
"แก่งคอย"
พ.ศ.2506 ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำปีแรกด้วยเพลง "มาร
หัวใจ" ขับร้องโดย "สวลี ผกาพันธุ์"

โดย: - [10 พ.ค. 49 8:09] ( IP A:202.12.74.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
   พ.ศ.2507 สร้าง "พราว ดาราเรือง" ด้วยเพลง "ตราบาป"
พ.ศ.2508 ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานจากเพลง
"ไม่มีวัน" อีก 3 รางวัล คือ ทำนองเพลง, คำร้อง และเรียบเรียง
เสียงประสาน

พ.ศ.2537 จัดทำเทปเพลงบรรเลงไวโอลิน และแซ็กโซโฟน
หนังสือรวมเพลงจำหน่ายในงานฉลองครบรอบ 72 ปี
ป.ชื่นประโยชน์ นำเงินรายได้ทูลเหล้าถวายแด่พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสจัดตั้งมูลนิธิ ป.ชื่นประโยชน์ เป็น
จำนวนเงิน 100,000 บาท สมทบทุนโครงการลิ้นหัวใจเทียม
ของ จ.ส.100 เป็นเงิน 100,000 บาท และมอบทุนการศึกษาให้
กระทรวงศึกษาธิการจำนวน 150,000 บาท พร้อมเทปเพลงอีก
500ตลับและปัจจุบันได้ตั้งมูลนิธิ ป.ชื่นประโยชน์ มีวัตถุประสงค์
จัดทำทุกกิจการรมเพื่อโดยเสด็จพระราชกุศลโดยเฉพาะ
โดย: - [10 พ.ค. 49 8:09] ( IP A:202.12.74.5 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
    ขาเดร์ แวเด็ง
ขาเดร์ แวเด็ง หรืออีกชื่อนึงว่า แวกาเดร์ (แวเดร์) แวเด็ง เป็นชื่อที่รู้จักกันทั่วไปก่อนที่จะได้เป็นศิลปินแห่งชาติ ซึ่งเป็นชื่อที่
ปรากฎในบัตรประชาชนด้วย

แวเดร์ ได้รับเป็นศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2536 สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) เกิดเมื่อปีพ.ศ. 2474 ที่ปัตตานี แต่ได้เติบโตที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลา มีอาชีพหลักเป็นช่างทอง ออกแบบทำทองรูปพรรณต่างๆ และชำนานการทำแหวนมากเป็นพิเศษ เมื่ออายุได้ประมาณ 18 ปี แวเดร์ ได้เรียนวิธีการทำแหวนจาก "ครูเจะสาแม" ที่อำเภอรามัน
ซึ่งก่อนหน้านั้นแวเด็งเคยเป็นช่างทำตัวถังรถยนต์มาก่อน

แวเดร์ สมรสเมื่ออายุได้ 29 ปี มีบุตร 2 คน ธิดา 3 คน ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่ ตำบลยามู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ท่านฝึกการเล่นดนตรีโดยวิธีจดจำจากนักดนตรี รุ่นพี่ตั้งแต่เด็กๆ เครื่องดนตรีที่ชอบเป็นพิเศษคือ การสีไวโอลิน นอกจากนั้นท่านยังเล่นแมนโดลิน รำมะนาเล็ก รำมะนาใหญ่ มาราคัส (ลูกแซ๊ก) ฆ็อง รวมถึง แอคคอเดี้ยนได้อีกด้วยเช่นกัน

เพลงรองเง็งที่ไพเราะเป็นที่ถูกใจคนดูอย่างยิ่ง ต้องเป็นเพลงรองงเง็งจากวง "เด็นดังอัสลี" ที่มีแวเดร์ เป็นเจ้าของวง ลูกวงของแวเด็ง มีหลายคน

อาทิ
1. เซ็ง อาบู ตำแหน่งมือแมนโดลิน
2. สะแปอิง ตาเยะ ตำแหน่ง ตีฆ้อง
3. แวสะมะแอ แวดาโอ๊ะ ตีกลอง
4. สะมาแอ มามะ เล่นมาราคัส

อ้างอิง : บุคคลสำคัญของปัตตานี รศ.มัลลิกา คณานุรักษ์ สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2545

ข้อมูลจาก
https://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp?stcolumnid=175&stissueid=2388&stcolcatid=2&stauthorid=9

โดย: - [10 พ.ค. 49 8:13] ( IP A:202.12.74.7 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
    นพ โสตถิพันธ์
AVANT-GARD VIOLIN JAZZ


อัลบั้ม: Voyage to the Inner Space-อันตรเอกภพ
ศิลปิน: นพ โสตถิพันธ์-ไวโอลิน เปียโน ฮาร์พสิคอร์ด ซินธิไซเซอร์
แนวเพลง: Avant-Garde Jazz Violin

ผลงานเพลง Tone Poem ในแนวอาวอง-การ์ด แจ๊ส ที่มีท่วงทำนองและสีสันที่แปลกหูของเสียงไวโอลินและเปียโนผสมผสานเสียงจากเครื่องดนตรีสังเคราะห์ต่างๆ โดยได้แรงบันดาลใจจากกวีนิพนธ์เชิงปรัชญาที่ว่าด้วยสัจธรรมและการค้นหาตัวตนที่แท้จริงในจิตใจของมนุษย์ของท่าน Sai Ramakrishnanava Suddhibandhurangka

เพลงที่1.สังสารา: The Ocean of Duality (ความยาว 30.00 นาที)

สังสารามหามหรรรณพ

สถิตย์ถ้วนทวิทบ

ทั้งปริเวทนะปราโมช

มนตร์มายาพาเขลาโฉด

สรรพสัตว์สิ้นซ้องเสพย์

ซากซ้ำเสมอสมัย

เพลงที่ 2.อันตรเอกภพ: Voyage to the Inner Space (ความยาว 30.00 นาที)

จิตรผจญมานะมุ่งมั่น

สู่อันตรจักรวาล

ถึงสถานพิศุทธิ์เกศไกวัล

ซึ่งนรเนานิรันดร์

อันอุดมเอกภาพ

สามารถรับฟังได้ทาง HTTP://LISTEN.TO/THEINNERSPACE

โดย: - [10 พ.ค. 49 8:13] ( IP A:202.12.74.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
    นพ โสตถิพันธุ์
อาจารย์นพ โสตถิพันธุ์ ท่านเกิดเมื่อปี 1938 เป็นชาวใต้โดยกำเนิด เริ่มเรียนดนตรีไทยจากบิดาของท่านคือ ครูนิตย์ โสตถิพันธุ์ ตั้งแต่อายุได้ 5 ขวบ โดยเล่นออร์แกนในวงเครื่องสายดนตรีไทยซึ่งบิดาของท่านเป็นหัวหน้าวงอยู่ หลังจากนั้นท่านได้ร่ำเรียนทฤษฎีดนตรีต่างๆ และฝึกฝนด้วยตนเองอย่างจริงจัง นอกจากนั้นท่านยังศึกษาด้านศาสนาและปรัชญาต่างๆ รวมถึงให้ความสนใจการเขียนโคลงกลอนและการวาดรูปอีกด้วย ท่านมีศรัทธาอย่างแรงกล้าต่อคำสอนของท่านภควันศรีสัตยาไสบาบา นักบุญผู้ยิ่งใหญ่ชาวอินเดีย ด้วยความศรัทธาที่มีต่อท่าน อาจารย์นพจึงได้ประพันธ์บทเพลงถวายต่อท่านไสบาบา
ท่านแสดงคอนเสิร์ทมาแล้วทั่วประเทศทั้งในสไตล์แจ๊สและคลาสสิก ในคอนเสิร์ทครั้งสุดท้าย อาจารย์นพแสดงร่วมกับอาจารย์ Kit Young นักเปียโนที่มีชื่อเสียงชาวอเมริกันในแบบอิมโพรไวส์เซชั่นล้วน คีตกวีที่ที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่ออาจารย์คือ
- Johan Sebastian Bach
- Wolfgang Amadeus Mozart
- Johannes Brahms
- Arnold Schoenberge
- Alban Berg
- Bela Bartok
- Paul Hindemith
รวมถึงนักดนตรีผู้ยิ่งใหญ่ที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับอาจารย์
- Fritz Kreisler
- Jascha Hifetz
- Yehudi Menuhin
- Ravi Shangar
- Stephane Grappelli
แนวดนตรีที่อาจารย์ชื่นชอบและถนัดเป็นพิเศษคือ
- ดนตรีไทยเดิม
- ดนตรีคลาสสิกตะวันตก
- ดนตรีอินเดีย
- ดนตรีแจ๊ส
นอกจากนั้นอาจารย์ยังเป็นนักไวโอลินและเปียโนที่มีผลงานเพลงร่วมสมัยที่มีกลิ่นอายของความเป็นแจ๊สคืออัลบั้ม ‘เยื่อไม้’ ที่ผสมผสานดนตรีไทย 3 สไตล์เข้าด้วยกันอย่างลงตัว
- Sound of Wood: เสียงจากไม้
- Theme of Autumn: เพลงผลัดใบ
- Countryside Melody: ชนบทบรรเลง
ปัจจุบันท่านเป็นครูสอนดนตรีและนักดนตรีอิสระที่รักและหลงใหลในเสียงดนตรีแจีสและคลาสสิก

ผลงานการประพันธ์เพลงของอาจารย์นพ โสตถิพันธุ์
1. Sai Phony - Symphonic Poem
2. Maria Sonata - Sonata for Violin and Piano
3. Sang Sara (Birth Death Circle) - Piano Solo
4. Pragritti (Illusion) - Violin Solo with String Orchestra
5. Kalla Chakra (Circle of Time) - Violin Solo with String Orchestra
6. Elegie - Violin Solo with Piano accompaniment
7. Esan - Guitar Solo
8. Hare Krishna - Guitar Solo
9. Paramatama - Guitar Solo
10. Voyage to the InnerSpace - Avant-garde Jazz

โดย: - [10 พ.ค. 49 8:14] ( IP A:202.12.74.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
    ผศ.พ.อ.ชูชาติ พิทักษากร
ตั้งต้นเรียนทั้งดนตรีไทย และสากลกับ ร.อ.ยรรยง แดงกูร ร.น. ต่อมาได้เรียนไวโอลินกับอาจารย์สุทิน เทศารักษ์ หลังจากนั้นได้ศึกษาต่อต่างประเทศ ที่ประเทศอังกฤษ เยอรมันนี และโปรตุเกส ระหว่างนั้นได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันประกวดการเล่นไวโอลินถึงสองครั้งเมื่อจบการศึกษา โดยได้รับปริญญา G.L.C.M. จากลอนดอน คอลเลจ ออฟมิวสิก และ A.R.C.M. จากรอแยล คอลเลจ ออฟมิวสิก หลังจากนั้นได้เข้ามารับราชการที่กองดุริยางค์ทหารบก ต่อมาได้ลาออกเพื่อมารับตำแหน่งอาจารย์ประจำที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจนเกษียณอายุราชการ ปัจจุบันเป็นศิลปินประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในตำแหน่งผู้อำนวยการวงซิมโฟนีแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นอาจารย์พิเศษคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับที่ภาควิชาศิลปนิเทศ คณะมนุษศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผศ. พันเอก ชูชาติ พิทักษากร ศิลปินประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์พิเศษ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์พิเศษ ภาควิชาศิลปนิเทศน์คณะมนุษย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้อำนวยการด้านดนตรีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ. พันเอก ชูชาติ พิทักษากร ได้ใช้เวลา 9 ปีในการศึกษาด้านดนตรีในต่างประเทศทั้งอังกฤษ เยอรมัน โปรตุเกส และได้รับรางวัลระดับนานาชาติมาแล้วมากมายอาธิเช่น ชนะเลิศการประกวดแข่งขันไวโอลิน ณ เมืองลอนดอนประเทศอังกฤษถึง 2 ปีซ้อน ในฐานะผู้อำนวยเพลงเคยได้รางวัลการประกวดวาทยากรนานาชาติจากประธานาธิปดี Franz Jonas แห่งประเทศออสเตรีย ในฐานะผู้เรียบเรียงเสียงประสานเคยได้รับรางวัลพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และประสพการณ์การสอนดนตรีสากลมากกว่า 40 ปี

โดย: - [10 พ.ค. 49 8:21] ( IP A:202.12.74.5 X: )
ความคิดเห็นที่ 18
    อาจารย์สุทิน ศรีณรงค์
ศึกษาดนตรีเบื้องต้นที่โรงเรียนดุริยางค์ราชนาวี สำเร็จปริญญาตรีด้านการศึกษาจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมเล่นในวงดุริยางค์ราชนาวี และ วง Pro Musica ในตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มวิโอลา เคยร่วมกับวง Bangkok Chamber Orchestra ในฐานะหัวหน้าวง ออกแสดงทางโทรทัศน์หลายครั้ง ผลงานการแสดงเดี่ยวคอนแชร์โต้สำหรับวิโอลา ประพันธ์โดย Hindemith และการเดี่ยววิโอลาในบทเพลง Symphonie Concentante คู่กับ ม.ล.อัศนี ปราโมช กับวงดุริยางค์ราชนาวี และวง Pro Musica เป็นที่ยอมรับและได้รับคำวิจารณ์อย่างดี

ปี พ.ศ. 2517 ได้ร่วม Chamber Music Workshop ซึ่งจัดโดย Academic International de Musiqe de Chamber ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งทำให้มีโอกาสศึกษาเพิ่มเติมกับ Prof. Alberto Lysy,Frot. Johanne Eskar นักไวโอลินที่มีชื่อระดับชาติ ปี พ.ศ. 2519 ได้รับเชิญเข้าร่วม Philippines Young Performers เป็นผู้ฝึกสอนนักดนตรีเยาวชนที่มาร่วม First Asian Youth Music Camp ที่ฮ่องกง นอกจากนั้นยังได้ร่วมกิจกรรมดนตรีครั้งสำคัญอีกมาก เช่น First Asian Youth Music Workshop ที่ประเทศมาเลเซีย เมื่อปี พ.ศ.2524 และในปี พ.ศ. 2527 เป็นผู้ฝึกสอนบรรดาผู้เข้าร่วม Third Asian Youth Music Workshop ที่ประเทศฟิลิปปินส์ และ Fourth Asian Youth Music Workshop เมื่อปี พ.ศ. 2528 ที่ประเทศสิงคโปร์ และ Fifth Asian Youth Music Workshop ในปี พ.ศ. 2529 ที่กรุงเทพฯ

เป็นผู้หนึ่งในการร่วมจัดตั้งวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ (B.S.O.) เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ และในปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการเพลงวงดุริยางค์เยาวชนไทย (T.Y.O.) ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2529 และเป็นอาจารย์ประจำโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อีกด้วย

โดย: - [10 พ.ค. 49 8:25] ( IP A:202.12.74.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 19
    อาจารย์ สิทธิชัย เพ็งเจริญ
เริ่มการศึกษาไวโอลินกับ ดร.ภารดี ไตรวิทยาคุณ และ ดร.ประทักษ์ ประทีปะเสน ที่วิทยาวัยนาฎศิลป์ หลังจากนั้นได้ศึกษาต่อกับ ผศ.พ.อ.ชูชาติ พิทักษากร ที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับทุนไปศึกษาต่อกับ Rudolph Werther และ Henri Rudales ที่ Conservatory of Ghent ณ ประเทศเบลเยี่ยม Chistroph Poppen และ Ulf Wallin ที่ Detmold Music Academy ที่ประเทศเยอรมัน Erick Friedman และ Syoko Aki ที่ Yale University
นอกจากนี้ยังได้เข้าร่วม Master Class กับนักไวโอลิน อาทิ Yuri Marzukevid, Cyrus Forough, Takeshi Kubayashi, Clarence Mayerschough, Linda Rosenthal และ Alberto Lysy สิทธิชัยได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าวง Thai Youth Symphony Orchestra, Ibycus Chamber Orchestra, Bangkok Symphony Orchestra, National Symphony Orchestra เคยร่วมเป็นสมาชิกของวง The World Philharmonic Orchestra, Waterbery Symphony Orchestra และ Philharmonia of Yale และเคยเดี่ยว Brahms Violin concerto, Op.77 กับวง Thuringen Philharmonie Gotha – Suhl จากประเทศเยอรมัน Violin Concerto ของ Tchaikovsky ร่วมกับวงดุริยางค์ทหารบก
เคยเป็นอดีตหัวหน้าภาควิชาเครื่องสายตะวันตก ภาควิชาดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันเป็นอาจารย์สาขาวิชาดนตรีตะวันตก ภาควิชาศิลปนิเทศ คณะมนุษศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โดย: - [10 พ.ค. 49 8:25] ( IP A:202.12.74.5 X: )
ความคิดเห็นที่ 21
    อีริค ฟรีดแมน มีทุกอย่างที่นักไวโอลินต้องการ

ชีวิตเส้นทางดนตรี ของนักดนตรีฝีมือเยี่ยมบางคน บางทีก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ แม้บางครั้ง ความพร้อมทางดนตรี จะมีอยู่อย่างเต็มเปี่ยม แต่ 'ชะตาชีวิต' ก็เล่นตลกได้ทุกเวลา

ข่าวการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ในวัย 64 ปี ของ อีริค ฟรีดแมน (Erick Friedman) นักไวโอลินและครูสอนไวโอลินชาวอเมริกัน เมื่อวันอังคารที่ 30 มีนาคม ทำให้ผู้เขียนหวนคิดถึงเรื่องราวของเขา และเกิดความรู้สึกข้างต้นขึ้นมา

ใครคือ อีริค ฟรีดแมน และ เขามีความสำคัญอย่างไรในวงการดนตรีคลาสสิก หลายต่อหลายคน แม้เป็นแฟนเพลงคลาสสิก แต่ถ้าไม่ได้อยู่ในแวดวงไวโอลินและการเรียนการสอนไวโอลิน อาจไม่คุ้นเคยกับชื่อนี้

ฟรีดแมน เกิดเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ.1939 ที่เมือง Newark มณรัฐนิวเจอร์ซี ประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มเรียนไวโอลินตั้งแต่เป็นเด็กกับพ่อของเขา ที่เป็นนักไวโอลินสมัครเล่น ช่วงอายุ 6 -10 ขวบ เขาเรียนไวโอลินกับ แซมวล แอพเพิลบอม (Samuel Applebaum) หัวหน้าวง อเมริกัน สตริง ควอร์เต็ต ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของ ลีโอโพลด์ อาวเออะ (Leopold Auer) ผู้นำสำนักรัสเชียนแห่งการเรียนการสอนไวโอลิน

ฟรีดแมนแสดงคอนเสิร์ต เดี่ยวไวโอลินต่อหน้าสาธารณชนเป็นครั้งแรกขณะที่มีอายุเพียง 8 ขวบ จัดเป็นนักดนตรีเด็กเก่ง หรือ ชายล์ด พรอดิจิ คนหนึ่ง

หลังจากนั้นฟรีดแมนเรียนไวโอลินกับ อิวาน กาลาเมียน Ivan Galamian) ที่สถาบันดนตรีจูลลิอาร์ด ในนครนิวยอร์ก พร้อมๆ กับเรียนกับ นาธาน มิลสไตน์ (Nathan Milstein) ช่วงปี ค.ศ.1956-1958 เรียนไวโอลินกับ ญาช่า ไฮเฟตซ์ (Jascha Heifetz) และเป็นลูกศิษย์คนโปรดของไฮเฟตซ์

ปี ค.ศ.1961 ฟรีดแมนบันทึกเสียงเพลง ดับเบิล ไวโอลิน คอนแชร์โต ผลงานการประพันธ์ของบาคร่วมกับไฮเฟตซ์ นับว่าเขาเป็นนักไวโอลินคนแรกและคนเดียวที่บันทึกเสียงร่วมกับไฮเฟตซ์ โดยมีฐานะเท่าเทียมกันในการเล่นเดี่ยว เป็นอัลบั้มสังกัดอาร์ซีเอของฟรีดแมนที่ถูกยกขึ้นมากล่าวขวัญอยู่เสมอ

ปี ค.ศ.1965 ฟรีดแมนเป็นกรรมการตัดสินการแข่งขันไวโอลิน Long-Thibaud Competition ที่หนุ่มที่สุด เป็นช่วงแห่งความรุ่งโรจน์ทางดนตรี เขาออกแสดงดนตรี และมีผลงานแผ่นเสียงในสังกัดอาร์ซีเอออกมาหลายชุด

แต่แล้วชีวิตของฟรีดแมน เริ่มพบกับความผกผัน หลังจากที่ในปี ค.ศ.1966 เขาตัดสินใจเข้าร่วมการแข่งขัน ไชคอฟสกี คามเพติเชิน ในกรุงมอสโก ประเทศรัสเชีย ได้เพียงตำแหน่งที่ 6 จากการแข่งขัน เนื่องจากกระแส 'การเมือง' ในการแข่งขันสนามนี้มีมากมาย

ความผิดหวังจากการแข่งขันครั้งนั้น ทำให้เขา 'แขวนไวโอลิน' ไประยะหนึ่งเป็นการชั่วคราว ช่วงทศวรรษ 70 ฟรีดแมนเริ่มมุ่งสู่การเป็นครูสอนไวโอลินที่ แมนฮัตตัน สกูล ออฟ มิวสิค นครนิวยอร์ก และที่มหาวิทยาลัยเซาเทิร์น เมธอดิสต์ เมืองดัลลาส ในลักษณะที่เป็น Violin Pedagogy ผู้เป็นมากกว่าครูสอนไวโอลินธรรมดา แต่เป็นครูที่เจาะลึก ศึกษาถึงเทคนิคการเรียนการเล่นเครื่องดนตรีชิ้นนี้อย่างถึงรากถึงโคน หลังจากนั้นก็ออกแสดงคอนเสิร์ตอีกครั้งหนึ่ง

แต่ชีวิตบนเวทีการแสดงก็หักเหอีกครั้ง เมื่อปลายทศวรรษ 80 ฟรีดแมนต้องประสบอุบัติเหตุร้ายแรงทางรถยนต์ ได้รับบาดเจ็บที่แขนซ้าย ทำให้เป็นอุปสรรคในการแสดง เขาจึงทุ่มเทชีวิตให้กับการสอนไวโอลินเพียงอย่างเดียว ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์ด้านไวโอลินและเชมเบอร์ มิวสิค ที่มหาวิทยาลัยเยล ประเทศสหรัฐอเมริกา เขาสอนอยู่ที่นั่นจนเสียชีวิตเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

ถ้าจะพูดถึง อีริค ฟรีดแมน ให้ครบถ้วน นอกเหนือจากเรื่องที่คนในแวดวงดนตรีคลาสสิกนึกถึงเสมอ คือ ความเป็นลูกศิษย์ของไฮเฟตซ์ ที่เคยบันทึกเสียงร่วมกับไฮเฟตซ์มาแล้ว สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ความสามารถในการเล่นไวโอลินที่ 'ครบเครื่อง' โดดเด่นเป็น 'หนึ่ง' หาใครเทียบได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฟรีดแมนเป็นนักไวโอลินที่สืบทอดขนบการเล่นไวโอลินสำนักรัสเชียนมาได้ครบถ้วนมากที่สุดคนหนึ่ง ผ่านการเรียนไวโอลินกับ แอพเพิลบอม และ ไฮเฟตซ์ ที่เป็นลูกศิษย์โดยตรงของ ลีโอโพลด์ อาวเออะ ผู้เป็นเจ้าสำนักการเรียนการสอนไวโอลินชื่อดังแห่งนี้

โดย: - [10 พ.ค. 49 8:28] ( IP A:202.12.74.7 X: )
ความคิดเห็นที่ 22
   คนที่น่าจะพูดถึงฟรีดแมนได้ดีที่สุด ควรจะเป็นลูกศิษย์ที่เคยเรียนไวโอลินอย่างใกล้ชิดกับเขามาก่อน เมืองไทยเรานั้นมีนักไวโอลินที่เคยเรียนกับฟรีดแมนอยู่ 2 คน คือ สิทธิชัย เพ็งเจริญ (เรียนช่วงปี ค.ศ.1998-1999) และ ทวีเวท ศรีณรงค์ (กำลังเรียนอยู่) โดยที่หนุ่มนักไวโอลินไทยทั้งสองคน เรียนกับฟรีดแมนที่มหาวิทยาลัยเยล

สิทธิชัย เพ็งเจริญ อาจารย์สอนดนตรีและไวโอลินประจำภาควิชาศิลปนิเทศ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นวาทยกรและผู้เล่นเดี่ยวในวง บางกอก เมทโทรโพลิแทน ซิมโฟนี ออร์เคสตรา ที่เพิ่งตั้งขึ้นมาใหม่ ภายใต้การสนับสนุนของกรุงเทพมหานคร รำลึกถึงอาจารย์ฟรีดแมนว่า

- ตอนที่เล่นริไชทัล คอนเสิร์ต กับ อินทุอร ศรีกรานนท์ เธอถามผมว่าที่มหาวิทยาลัยเยล มีอาจารย์ฟรีดแมนสอนไวโอลินอยู่ ทำไมไม่หาโอกาสไปเรียนต่อกับท่านละ ผมเลยส่งเทปการแสดงริไชทัล คอนเสิร์ตนั้นไปให้อาจารย์ ตอนช่วงต้นปี ค.ศ. 1998 ท่านก็ตอบรับมา โดยผมได้ทุนเรียน เฉพาะส่วนที่เป็นค่าเล่าเรียน ซึ่งถือว่าเป็น Full Scholarship?

- ผมรู้จักกับฟรีดแมนครั้งแรกผ่านทางแผ่นเสียง ฟังครั้งแรกก็เกิดความรู้สึกว่า นี่ใครกัน เล่นได้ประทับใจ ประทับใจในความสามารถในการเล่นไวโอลินของอาจารย์ฟรีดแมนมาก ท่านเป็นนักไวโอลินสายตรงจากสำนักรัสเชียน หรือ อาวเออะ สกูล ซึ่งมีหัวเรี่ยวหัวแรงคนสำคัญคือ ลีโอโพลด์ อาวเออะ ลูกศิษย์คนสำคัญของอาว์เออะ คือ ญาช่า ไฮเฟตซ์ ผู้เป็นลูกศิษย์โดยตรงของรัสเชียน สกูล ในการเล่นไวโอลิน?

- ฟรีดแมน เป็นนักไวโอลินที่เรียนกับนักไวโอลินเก่งๆ ชื่อดัง สุดยอดของสำนักนี้หลายคน อาทิ กาลาเมียน, มิลสไตน์ และ ไฮเฟตซ์?

- ผมประทับใจเรื่องเทคนิคการสร้างโทนเสียงไวโอลิน, การสั่นนิ้ว (Vibrato), การใช้อาร์ติเคอเลเชินที่ไม่เหมือนใครของฟรีดแทน เช่น การใช้เทคนิค Bow Attack หรือ การสร้างโทนจากคันชัก น้ำหนักที่กดลงบนคันชักและสาย, ความเร็วระดับต่างๆ ในการสั่นนิ้ว ที่ไม่ใช้เรื่องของความกว้างในการสั่นนิ้ว มีลักษณะเฉพาะสำนักและเฉพาะตัวนักไวโอลินแต่ละคน?

- ก่อนหน้าอาวเออะ ก่อนหน้าไครสเลอร์ นักไวโอลินจะเล่นไวโอลินออกมาเสียงเล็กๆ ไม่ใหญ่โตเหมือนสมัยนี้ แต่สำนักรัสเชียนจะเริ่มมีการสั่นนิ้วมากขึ้น เพื่อรองรับน้ำหนักกดลงบนคันชักที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เสียงใหญ่ขึ้น ดังขึ้น เพราะคอนเสิร์ต ฮอลล์ยุคนี้มีขนาดใหญ่มากขึ้น เวลาเล่นไวโอลินต้องสามารถสร้างเสียงที่มีพลังส่งไปไกลๆ ถึงที่นั่งชมแถวหลังๆ ชั้นบนได้?

- นอกจากนั้น การผสมผสานหาความลงตัวในการใช้สรีระและเทคนิคต่างๆ ในการเล่นไวโอลินที่หลากหลายขึ้นนั้น มีข้อดีคือ เกิดสไตล์การเล่นไวโอลินเฉพาะตัวของนักไวโอลินแต่ละคน ฟังเสียงไวโอลินแล้วรู้ว่าใครเล่น บอกได้เลยว่าใครเป็นใคร ผู้ฟังมีตัวเลือก มีสีสันต่างๆ จากเสียงไวโอลิน ให้เลือกฟังมากขึ้น?

- เพราะนักไวโอลินสมัยใหม่ส่วนใหญ่ การเล่นจะเป็นมาตรฐานเดียวกัน เสียงออกมาคล้ายกัน ใกล้เคียงกัน ไม่ค่อยน่าสนใจ เมื่อเทียบกับการเล่นของนักไวโอลินรุ่นเก่าๆ โดยเฉพาะผมชอบฟรีดแมน โดดเด่นมากเรื่องเทคนิคการเล่น การใช้คันชัก การสั่นนิ้ว เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ในช่วงที่ชีวิตทางดนตรีรุ่งๆ นั้น ฟรีดแมนเป็นนักไวโอลินที่ 'สุดยอด' คนหนึ่งของโลก?

ต่อคำถามที่ว่านักวิจารณ์ดนตรีและคอเพลงคลาสสิกในต่างประเทศมักวิจารณ์การเล่นของฟรีดแมนว่า 'โคลน' มาจากการเล่นของไฮเฟตซ์ เป็น 'เงา' ของไฮเฟตซ์ สิทธิชัยให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า

- ผมคิดว่าเป็นเรื่องปกติ ที่ลูกศิษย์ย่อมต้องได้รับอิทธิพลจากครูผู้สอนอย่างเลี่ยงไม่ได้ ผมว่าเรื่องนี้ไม่ค่อยยุติธรรมกับอาจารย์ฟรีดแมนนัก ทำไมทีนักไวไวโอลินในสายกาลาเมียน ที่ส่วนใหญ่เรียนกันมาจากสถาบันดนตรีจูลลิอาร์ด ทุกคนเล่นออกมาเสียงและสไตล์การเล่นคล้ายกับ ยิตส์ชาค เพิร์ลแมน (Itzhak Perlman) นักไวโอลินคนดัง ตัวแทนคนสำคัญของสไตล์การเล่นสำนักกาลาเมียน แต่ไม่เห็นมีใครว่า หรือมีใครวิจารณ์อะไรเลย?

"ผมคิดว่าอะไรที่สุดยอด คนก็มักจะมาเรื่องมาตำหนิ หาเรื่องมาติเตียนจนได้นั่นแหละ อาจารย์ฟรีดแมนเป็นคนน่าสงสารนะ ท่านน่าจะประสบความสำเร็จมากกว่านี้ เพราะฝีมือของท่านสุดยอดจริง ท่านมีทุกอย่างทางดนตรีที่นักไวโอลินต้องการ"

https://www.bangkokbiznews.com/2004/04/07/jud/index.php?news=column_12258000.html
โดย: - [10 พ.ค. 49 8:30] ( IP A:202.12.74.5 X: )
ความคิดเห็นที่ 23
    อาจารย์ นรอรรถ จันทร์กล่ำ
นรอรรถ จันทร์กล่ำ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปีพ.ศ. 2532 และจบการศึกษาระดับปริญญาโทด้านการแสดงไวโอลินที่สถาบันดนตรีนิวอิงแลนด์ เมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา

นรอรรถ เริ่มเรียนไวโอลิน ที่วิทยาลัยนาฏศิลป์กับ ดร.ประทักษ์ ประทีปะเสน ดร.ภารดีไตรวิทยาคุณ และอ.ชัยรัตน์ แก้วกำแพง เมื่อเข้าศึกษาต่อที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ เรียนไวโอลินกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พันเอกชูชาติ พิทักษากร

เคยเข้ารับการอบรมจากนักไวโอลินระดับนานาชาติหลายครั้ง ได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมกิจกรรมดนตรีอาเซียนที่ประเทศจีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์และออสเตรเลีย มีโอกาสได้รับทุนจากมูลนิธิวัฒนธรรมไทย-เยอรมัน ให้เข้าเรียนที่สถาบันดนตรีเดทโมลด์ ประเทศเยอรมันเพื่อศึกษาการเล่นไวโอลินกับศาสตราจารย์คริสตอฟ พอพเพน และอัลฟ วาลลิน เป็นเวลา 3 เดือน นอกจากนี้ยังเคยแสดงเดี่ยวไวโอลินกับวงดุริยางค์ซมโฟนีกรุงเทพและวงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะที่ศึกษาอยู่ในระดับปริญญาโทได้รับทุนการศึกษาจากคุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช ในปี พ.ศ. 2538 จากมูลนิธิ ณอง เอมิล การ์โรช เพื่อศึกษาศิลปการถ่ายภาพและดนตรีและจากสถาบันดนตรีนิวอิงแลนด์ ในปี พ.ศ. 2539

ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นอาจารย์ฝ่ายวิชาการที่สถาบันดนตรีเคพีเอ็น

โดย: - [10 พ.ค. 49 8:31] ( IP A:202.12.74.5 X: )
ความคิดเห็นที่ 27
    อาจารย์ทัศนา นาควัชระ
อาจารย์ทัศนา นาควัชระได้สั่งสมประสบการณ์เชิงปฏิบัติและการเล่นดนตรีประเภทเชมเบอร์ จากพื้นฐานการเล่นซอด้วงที่โรงเรียนสาธิตปทุมวัน ละปรับเปลี่ยนสู่ไวโอลินเมื่ออายุ 10 ปี เริ่มเล่นไวโอลินในวงอิบิอุส วงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ วงเยาวชนไทย และได้รับคัดเลือกเป็นหัวหน้าวงเยาวชนอาเซียนในปี พ.ศ.2531

จากพื้นฐานการดนตรีที่ได้รับจากอาจารย์ชาวไทย คือ อาจารย์สุพจน์ ชมบุญ อาจารย์ สุทิน ศรีณรงค์ และอาจารย์พันเอกชูชาติ พิทักษากร จากนั้นได้ไปศึกษาต่อ ณ สถาบันดนตรี Inetrnational Menuhin Music Academy (IMMA) ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษในด้านดนตรีประเภทเชมเบอร์ และได้เดินทางไปแสดงดนตรีในยุโรป และสหรัฐอเมริกา กับวง Camerata lysy ภายใต้การควบคุมของ Alberto Lysy และ Lord Yehudi Menuhin นอกจากนี้ยังได้ศึกษาวิโอลากับ Johannes Eskar จากสถาบันดนตรีชั้นสูงแห่งกรุงโคเปนเฮเกน และได้เดินทางไปอาร์เจนตินากับอาจารย์ Lysy เพื่อแสดง quintet ที่โรงอุปรากรอันเลื่องชื่อ คือ Teatro Colon จากนั้นได้ไปศึกษาต่อที่ Voralberg Coservatory ประเทศออสเตรีย กับ Roland Baldini เป็นเวลา 3 ปี โดยเล่นดนตรีกับวงอาชีพ คือ Voralberg Symphony Orchestra ,Camerata Bregenz และ Salzburg Chamber Orchestra

ต่อจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัย Oregon และทำหน้าที่เป็นอาจารย์ช่วยสอนและเป็นหัวหน้าวงซิมโฟนีของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังเล่นดนตรีระดับอาชีพในวง Eugene Symphony Orchestra , Oregon Mozart Players และ Collegium Musicum Ensemble (วงเครื่องดนตรีโบราณ) ในด้านดนตรีเชมเบอร์วง Polaris String Quartet ที่เป็นสมาชิกอยู่ได้เข้ารอบรองชนะเลิศในการประกวดระดับชาติที่รัฐอินเดียนาในปี พ.ศ.2540 เมื่อจบการศึกษาจากสหรัฐอเมริกาได้รับการยกย่องให้เป็น “นักดนตรีดีเด่น” (Outstanding Graduate Performer) ของมหาวิทยาลัยออเรกอน

ในประเทศไทย มีผลงานแสดงในหลายรูปแบบตั้งแต่ดนตรีโบราณไปจนถึงดนตรีร่วมสมัย ได้แสดงเดี่ยวกับวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ วงดุริยางค์ราชนาวี วงดุริยางค์กรมศิลปากร ฯลฯ มีผลงานแสดงดนตรีเชมเบอร์อย่างสม่ำเสมอ นอกจากนั้นยังมีผลงานบันทึกเสียงดนตรีร่วมสมัย เพลงโฆษณา และเพลงประกอบภาพยนตร์ หลายเรื่อง
ปัจจุบันอาจารย์ทัศนาเป็นอาจารย์ประจำที่ คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และเป็นหัวหน้าวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ

โดย: - [10 พ.ค. 49 8:39] ( IP A:202.12.74.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 31
   ภาพชายหนุ่มนักไวโอลินที่ผมนำมาให้ชมกันในฉบับนี้ คงเป็นที่คุ้นตาสำหรับผู้ที่นิยมชมชอบเพลงคลาสสิค โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการบรรเลงของวง BSO หรือ Bangkok Symphony Orchestra เพราะเขาผู้นี้มิได้เป็นเพียงนักไวโอลินผู้มีฝีมือในการบรรเลงไวโอลินได้อย่างไพเราะเพราะพริ้งเป็นเยี่ยมเท่านั้น หากเขายังมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าวงดุริยางค์สำคัญดังกล่าวอีกด้วย

คุณทัศนา นาควัชระ เกิดที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๒ ด้วยความที่คุณพ่อ คือ ศ.ดร.เจตนา นาควัชระ เป็นผู้ที่รักในดนตรีคลาสสิคอย่างลึกซึ้ง ทั้งยังเป็นนักโวโอลินสมัครเล่นฝีมือดีอีกด้วย คุณทัศนาจึงเติบโตมากับเสียงเพลงคลาสสิคจากแผ่นเสียงฝีมือการบรรเลงของยอดนักดนตรีระดับโลกมากมายที่คุณพ่อเปิดฟังในบ้านอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนเสียงไวโอลินจากฝีมือของคุณพ่อเองมาตั้งแต่จำความได้ ยิ่งไปกว่านั้น เขายังได้ติดตามคุณพ่อไปชมการแสดงดนตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการแสดงของนักดนตรีชั้นเยี่ยมของโลกที่เข้ามาแสดงในประเทศไทยไม่เคยขาด จนค่อยๆ ซึมซับความรักในดนตรีคลาสสิคทีละน้อยอย่างไม่รู้ตัว

ก่อนที่จะเริ่มเล่นไวโอลิน คุณทัศนาเคยเรียนซอด้วงที่โรงเรียน ซึ่งเขาก็สามารถเล่นได้อย่างดีเด่น วันหนึ่งขณะที่นั่งฟังคุณพ่อสีไวโอลินอยู่ด้วยความสนใจ คุณพ่อก็ถามว่าอยากสีบ้างไหม คุณทัศนาก็ตอบว่าอยากคุณพ่อจึงได้ไปหาไวโอลินเล็กๆ มาให้ตัวหนึ่ง เมื่อได้ลองจับไวโอลินนั้นเป็นครั้งแรก เขาก็สามารถสีได้เลยโดยอาศัยเพียงพื้นฐานที่เรียนซอด้วงมาก่อนเท่านั้น คุณพ่อซึ่งมองเห็นพรสวรรค์ของลูกชาย และทราบถึงความมุ่งมั่นของเขาที่จะเอาดีทางด้านไวโอลินให้ได้ จึงได้สนับสนุนและส่งเสริมอย่างเต็มที่ โดยหาครูมาสอนไวโอลินให้อย่างจริงจัง จนเขาสามารถพัฒนาฝีมือขึ้นอย่างรวดเร็ว และได้เข้าร่วมบรรเลงไวโอลินกับวงดนตรีเยาวชนในที่สุด

เมื่อเรียนจบระดับมัธยมปลายจากโรงเรียนสาธิตปทุมวันแล้ว คุณทัศนาก็สอบเข้าเรียนต่อทางด้านดนตรีที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และระหว่างเรียนอยู่ชั้นปีที่ ๑ เขาก็เริ่มเข้าร่วมเล่นดนตรีกับวง BSO เป็นครั้งแรก ครั้นเมื่อเรียนอยู่ชั้นปีที่ ๒ มีปรมาจารย์ทางด้านดนตรีท่านหนึ่งเดินทางมาประเทศไทย และได้ฟังดนตรีที่คุณทัศนาบรรเลงก็ถูกใจ จึงถามว่าต้องการจะไปเรียนต่อทางด้านดนตรีที่สวิตเซอร์แลนด์หรือไม่ หากต้องการก็พร้อมจะสนับสนุน ซึ่งคุณทัศนาก็ตอบรับโอกาสทองนั้นในทันทีอย่างไม่ลังเล เขาได้รับทุนให้ไปเรียนไวโอลินอย่างเข้มข้นที่โรงเรียน เมนูฮินที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนไวโอลินที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และต่อมาก็ได้มีโอกาสออกติดตามอาจารย์ไปแสดงดนตรียังที่ต่างๆ มากมาย จากนั้นเขาก็ได้ขวนขวายออกตระเวนแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากสำนักดนตรีต่างๆ ในทวีปยุโรปอีกหลายแห่งก่อนที่จะข้ามไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งในทุกๆ แห่ง เขาก็ได้แสดงความสามารถจนได้รับทุนโดยตลอด
โดย: - [10 พ.ค. 49 8:41] ( IP A:202.12.74.7 X: )
ความคิดเห็นที่ 33
   พร้อมกับความมุ่งมั่นอย่างเต็มเปี่ยมที่จะกลับมาเป็นนักไวโอลินอาชีพเพื่อเล่นดนตรีให้คนไทยฟัง และเผยแพร่ดนตรีคลาสสิคในประเทศไทยให้กว้างขวางขึ้นกว่าเดิมโดยไม่ใส่ใจกับการขวนขวายหาทรัพย์สินเงินทองสร้างความร่ำรวยให้กับตนเอง และในช่วงนั้นเอง มหาวิทยาลัยศิลปากรก็เปิดคณะดุริยางคศาสตร์พอดี จึงได้เชิญเขาให้มาเป็นอาจารย์สอนไวโอลิน ซึ่งเขาก็ตอบรับคำเชิญนั้นอย่างเต็มใจด้วยความคิดว่าอยากจะให้ความรู้กับเด็กๆ ที่มีความตั้งใจจริงที่จะได้วิชา เหมือนกับที่ตัวเขาเองที่เคยแสวงหามาก่อน นับแต่วันนั้นจวบถึงทุกวันนี้ คุณทัศนาจึงมีงานหลักเป็นอาจารย์ประจำคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ส่วนงานสำคัญนอกเวลาราชการเขาก็คือการเป็นนักดนตรีประจำวงดนตรี BSO ซึ่งปัจจุบันเขาก็ได้ผ่านการสอบคัดเลือกให้เป็นหัวหน้าวงดนตรีวงนี้ด้วย

เพียงไม่นานหลังจากที่กลับมาเป็นนักไวโอลินในประเทศไทย คุณทัศนาก็ได้พิสูจน์ให้ทุกคนเห็นถึงความสามารถในเชิงไวโอลินอันไม่ธรรมดาของเขา จนเป็นเสมือนดาวดวงใหม่ที่ส่องประกายสดใสสุกสว่างในฟากฟ้าอันเงียบเหงาของวงการเพลงคลาสสิคบ้านเราขึ้นมาในทันที

ผมตั้งใจเลือกถ่ายภาพ คุณทัศนา นาควัชระ ศิลปินหนุ่มไฟแรงอนาคตไกลวัย ๓๒ ปีคนนี้ เพราะเล็งเห็นว่า ด้วยอุดมการณ์ที่ชัดเจนประกอบกับความสามารถ พรสวรรค์ และความตั้งใจที่เขามีอยู่อย่างเต็มเปี่ยม จะต้องส่งผลให้เขาเป็นนักดนตรีที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของประเทศไทย หรืออาจจะของโลกก็เป็นได้ในวันหนึ่งข้างหน้า และในวันนั้น ผมก็จะพลอยอาศัยชื่อเสียงของเขาคุยกับใครๆ ได้ว่าผมเคยถ่ายรูปเขาลงสกุลไทยมาตั้งนานแล้ว และภาพๆ นี้ ก็คงจะมีคุณค่ามากขึ้นควบคู่กันไปกับความสำเร็จของ “คนในภาพถ่าย” ที่ชื่อ ทัศนา นาควัชระ นี้ด้วยเป็นแน่แท้

https://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp?stcolumnid=1101&stissueid=2462&stcolcatid=2&stauthorid=9
โดย: - [10 พ.ค. 49 8:42] ( IP A:202.12.74.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 39
    ทวีเวท ศรีณรงค์

ทวีเวทเริ่มเรียนไวโอลินกับอาจารย์สุทิน ศรีณรงค์ ผู้เป็นบิดา เมื่ออายุ 10 ปี ได้เข้าร่วมกับวงดุริยางค์เยาวชนไทยและ แสดงเดี่ยวเป็นครั้งแรก ทวีเวทได้รับเลือกเป็นหัวหน้าวง เยาวชนไทยเมื่ออายุ 14 ปี และได้แสดงเดี่ยวกับวง BSO หลังจากนั้นไม่นาน ทวีเวทได้รับเลือกเป็นสมาชิกที่อายุน้อย ที่สุดของ Asian Youth Orchestra และแสดงคอนเสิร์ต ทั่วเอเชีย และอเมริกา

ทวีเวทได้รับทุนจาก British Council เมื่อศึกษาระดับมัธยม ปลายที่ Purcell School, London กับอาจารย์ Erich Gruenberg ในปี 1957 ทวีเวทเข้าศึกษาต่อที่ Royal Academy of Music, London โดยได้รับทุนทั้งหมดจากโรงเรียน และ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวง นราธิวาสราชนคิรนทร์ ทวีเวทได้รับปริญญาตรีเกียรตินิยม อันดับหนึ่ง, Post Graduate Diploma ระดับ Distinction และ ประกาศษณียบัตรการสอนไวโอลิน LRAM ขณะที่ทวีเวทอยู่ ที่ อังกฤษ ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าวง Purcell School ที่อายุน้อย ที่สุด และได้แสดงเดี่ยวและ เชมเบอร์มิวสิคทั่วยุโรป อาทิ Paris Royal Festival Hall ที่ London, Salzburg, Hungarian, Poland และ Italy และได้มีการบันทึกเสียงทางวิทยุหลายครั้ง

ในปี 2002 ทวีเวทได้รับทุนให้ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเยล กับ Erick Friedman ศิษย์เอกของ Jascha Heifetz และ Ani กับ Ida Kavafians ทวีเวทได้รับเชิญไปแสดงในหลายๆที่ เช่น Spoleto USA 2003 ที่เมือง Charleston รัฐ South Carolina และได้รับ Fellowship ที่ Aspen Music Festival ปี 2003 และ 2005 โดยได้ศึกษากับ Masao Kawasaki กับ Cho-Liang Lin จาก The Juilliard School ขณะที่ Aspen ทวีเวทได้รับเลือกให้แสดงเดี่ยวร่วมกับวง Cho-Liang Lin ที่ Benedict Music Tent ในปี 2004 ทวีเวทได้รับ Fellowship 1 ใน 2 ตำแหน่ง เข้าร่วม Music Academy of the West ที่ Santa Barbara

โดย: - [10 พ.ค. 49 10:21] ( IP A:202.12.74.7 X: )
ความคิดเห็นที่ 40
    มาริสา โสรัจจ์
จากงานอดิเรกที่ มาริสา โสรัจจ์ ทำในยามว่าง ด้วยการเล่นดนตรีแบบสนุกๆ ไปวันๆ กลับกลายเป็นสิ่งที่ยึดมาเป็นอาชีพ ในเวลาต่อมา

มาริสา นักไวโอลินเชื้อสายไทย อายุ 21 ปี เป็นลูกสาวคนสุดท้องของ น.พ.กุณฑล โสรัจจ์ แพทย์ไทยในสหรัฐ เกิดและศึกษาอยู่ที่แคลิฟอร์เนีย ศึกษาอยู่ที่ Thornton Scholl Of Music USC (University Southern California) และมีศักดิ์เป็นหลานของ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี

เส้นทางการเป็นนักดนตรี สำหรับ ริสา หรือ ซ่า (ชื่อที่ตัวเองและเพื่อนๆ ชอบเรียก) เริ่มเรียนดนตรีตั้งแต่ 3 ขวบ โดยเล่นทั้งเปียโนและไวโอลินพร้อมๆ กัน เพราะความที่แม่ได้ไปฟังสุนทรพจน์ของ ดร.ซูซูกิ แล้วรู้สึกกินใจกับประโยคที่ว่า 'ไม่มีใครเก่งกว่าใคร ก็เลยรู้สึกว่าลูกของตัวเอง น่าจะมีความสามารถไม่ด้อยไปกว่าคนอื่นๆ อีกทั้งริสายังเชื่อมั่นว่า พรสวรรค์ที่พระเจ้ามอบให้นั้น จะทำให้แต่ละคนมีความเก่งไม่เท่ากัน บางคนแค่ได้ยินโน้ตเพียงไม่กี่ตัว ฟังแป๊บเดียว ก็รู้ว่าจะต้องทำยังไงต่อ ผิดกับบางคน อาจจะต้องฝึกนานหน่อย แต่ถ้ามีพรแสวงมากพอ ก็สามารถทำได้เท่าๆ กัน

อาจจะสงสัยว่า การดีดเปียโนไปพร้อมๆ กับสีไวโอลินนั้น จะสร้างความสับสนให้กับผู้เล่นไหม เพราะด้วยลักษณะการเล่นรวมทั้งการอ่านตัวโน้ตที่แตกต่าง ริสา บอกว่า ไม่มีปัญหา ถ้าเริ่มต้นตั้งแต่อายุยังน้อยเหมือนกับเธอ กระทั่งอายุได้ 17 ปี ถึงเวลาต้องตัดสินใจเลือกระหว่างของสองสิ่ง ให้เหลือเพียงหนึ่งเดียว เมื่อถามใจตัวเองแล้วพบคำตอบว่า ไวโอลินน่าจะสร้างโอกาสดีๆ ให้กับชีวิต อย่างน้อยก็หางานทำได้ง่ายกว่า

"คิดดูแล้วกันคะว่า ในวงออร์เคสตรา มีคนเล่นเปียโนแค่คนเดียว ผิดกับไวโอลินที่มีตำแหน่งให้เล่นถึง 17 คน แล้วในบางครั้ง ยังสามารถแยกเป็นวง เล่นแบบทรีโอก็ได้ ยังไงก็ไม่ตกงาน" และก็เป็นจริงดังว่า ทุกๆ ปี ริสาจะขึ้นเวทีแสดงคอนเสิร์ตเสมอๆ เบ็ดเสร็จรวมได้ประมาณ 200 เวที เห็นจะได้ และเพื่อไม่ใช้ฟอร์มตก ก็ต้องให้ความสำคัญกับการฝึกซ้อม โดยปกติจะซ้อมอย่างน้อยวันละ 4 ชั่วโมง หากในช่วงไหนที่มีการแสดง ก็ทุ่มเทเวลาให้มากกว่าเก่า เรียกว่าทำจนเป็นนิสัย เพราะถือคติการมีครูดี แต่ไม่ขยัน ไม่อดทน ก็ไม่มีประโยชน์อะไร

ล่าสุด ช่วงคริสต์มาสที่ผ่านมา ได้แสดงร่วมกับ National Symphony Orchestra ที่ Carnergy Hall New York ซึ่งเป็นเกียรติประวัติในการแสดงดนตรี "มันตื่นเต้นไปหมด เพราะสถานที่ๆ ไปเล่น มันมีประวัติศาสตร์ยาวนาน และกว่าจะเข้าไปอยู่ในวงนั้น ก็ต้องสอบแข่งกับคนอื่น เฉพาะคนที่มาจากนิวยอร์กรัฐเดียว สมัครตั้ง 300 คนแล้ว ครั้งนี้เหมือนมาแก้ตัว เพราะเคยมาสอบ แต่ก็ไม่ผ่าน ตอนนั้นมันรู้สึกตื่นเต้นมากเกินไป ไม่มีสมาธิ รู้สึกกดดันมาก"

"พอมาสอบครั้งที่สอง คราวนี้ก็ควบคุมตัวเองได้ ประหม่าบ้าง แต่ก็แค่ 5 นาทีแรกเท่านั้น ถ้าไม่ตื่นเต้นเลย ก็คงเป็นคนประหลาด" เจ้าของไวโอลิน Gaudanini ราคา 9 แสนเหรียญ (ประมาณ 36 ล้านบาท) ยี่ห้อเดียวกับไวโอลินของ วาเนสซ่า เมย์ " เล่าถึงความหฤโหดของการแข่งขันและบรรยากาศบนเวที

หันมาดูเรื่องทั่วไปของการเป็นคนไทยที่ได้อยู่เมืองนอกมาตั้งแต่เด็กๆ นักไวโอลิน วัย 21 ปีรายนี้ บอกว่า ทุกวันนี้ เธอกลายเป็นคนอเมริกันเกือบเต็มตัว ไม่ใช่ว่าไม่รักเมืองไทย เมืองที่มีวัฒนธรรมเก่าแก่ อาหารรสเลิศ บ้านเกิดของพ่อและแม่ แต่ทว่า สิ่งแวดล้อมได้หล่อหลอมความคิดความอ่านให้เหมือนกับคนตะวันตกไว้ครึ่งหนึ่ง และส่วนที่เหลือ ก็ยังมีวิถีแบบคนไทย นับถือพุทธปนๆ อยู่ "ที่บ้านจะเลี้ยงดูแบบผสมกัน คือจะไม่เหมือนฝรั่งซะทีเดียว ซึ่งข้อดีก็มีเหมือนกัน คือจะสอนให้รู้จักทำตัวเรียบร้อย ไม่แต่งตัวโป๊ วันหยุดก็ชอบเข้าวัด ไปทำบุญกับคุณพ่อ แต่เรื่องแสดงความคิดเห็น คนไทยจะพูดถึงบุคคลสาธารณะแบบวิพากษ์ วิจารณ์ไม่ได้ ในขณะที่คนอเมริกัน สามารถทำได้อย่างเต็มที่ มีอิสระมาก"

"พอถึงช่วงปีใหม่ก็จะกลับมาเมืองไทยสองอาทิตย์ ไปเยี่ยมญาติ แล้วก็ไปเที่ยวทะเล หรือไม่ก็ไปตั้งแคมป์ในป่า อย่างคราวนี้ก็ไปอินเดีย 5 วัน ไปเดินดูสถานที่สำคัญทางศาสนา อย่าง พุทธคยา ทัชมาฮาล ถ้าให้เลือกว่า ต่อไปจะอยู่ที่ไหน ริสาบอกว่า ในเมื่อเกิดและโตที่นี่ ดังนั้นบ้านของหนู ก็ต้องอยู่ที่นี่ซิคะ"

นอกจากการเป็นนักไวโอลินแล้ว ในวันว่าง เธอยังเป็นนางแบบ ในสังกัด INT IMAGE MODEL ถือว่าเป็นโลกใบใหม่ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน และมีคนหยิบยื่นโอกาสให้ อย่างที่ตัวเองไม่ได้ตั้งใจมองหา เป็นเวลา 1 ปีเต็ม หากงานชิ้นใหม่นี้ สร้างสีสันให้กับชีวิต ไม่แพ้การเป็นนักดนตรี ริสาก็ยินดีที่จะต่อสัญญา ไม่แน่ว่า งานอดิเรกที่เธอเลือกทำ อาจกลายเป็นอาชีพเหมือนกับที่เลือกเล่นไวโอลิน จนสร้างชื่อเสียงให้กับตัวเองก็ได้
โดย: - [10 พ.ค. 49 10:21] ( IP A:202.12.74.5 X: )
ความคิดเห็นที่ 41
    เดโชพล โควินท์ทวีวัฒน์
เดโชพล อายุ 16 ปี เริ่มเรียนดนตรีที่โรงเรียนดนตรี Bangkok Symphony Music School โดยเรียนกับอาจารย์ Edward Top, Natasha Stanley Geertje Podevyn และอาจารย์ทัศนา นาควัชระ ได้รับทุนเรียนดนตรีที่สถาบัน Hong Kong Academy for Performing Arts โดยเรียนไวโอลินกับ Michael Ma ได้แสดงเดี่ยวหลายครั้งที่กรุงเทพฯ และเข้าร่วมเป็นสมาชิกวง Bangkok Symphony Orchestra ได้รับทุนไปอบรมแบบระยะสั้นที่ International Menuhin Academy ที่มีชื่อระดับโลกในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมวง Asian Youth Orchestra ในปี พ.ศ. 2546 เดโชพลได้รับเชิญไปสังเกตการณ์เทศกาลดนตรี Verbier Festival Youth Orchestra ที่มีชื่อระดับนานาชาติซึ่งจัดขึ้น ณ เมือง Verbier ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เมื่อปีที่ผ่านมา

โดย: - [10 พ.ค. 49 10:27] ( IP A:202.12.74.8 X: )
ความคิดเห็นที่ 42
    อ้อมพร โฆวินทะ
ดนตรีคลาสสิคที่ใครต่อใครมองว่า ต้องปีนกระไดฟัง แต่ อ้อมพร โฆวินทะ นักไวโอลินฝีมือดีจากวงบางกอก ซิมโฟนี่ ออเคสตร้าหรือ บีเอสโอ ไม่ได้คิดเช่นนั้น

"ดนตรีคลาสสิคเป็นสิ่งที่คนไทยไม่ค่อยสนใจ ก็เลยเอาไปตั้งกำแพงว่าเป็นเพลงฟังยาก ฟังไม่รู้เรื่อง ทั้งที่เพลงคลาสสิคก็เคยเป็นเพลงป็อบที่อยู่ในกระแสมาก่อน"

พี่อ้อม บอกว่าจะฟังดนตรีให้ไพเราะ ต้องเริ่มจากการ 'เปิดใจ' เหมือนกับการอ่านหนังสือ ที่เราต้องเริ่มต้นจากเล่มเล็ก ๆ แล้วค่อยหน้าขึ้น หนาขึ้น

"พี่เริ่มเล่นไวโอลิน ตอนอายุ 13 ปี ซึ่งความจริงถือว่าช้าไปหน่อยสำหรับคนที่จะมาเอาดีกับอาชีพนี้ เพราะก่อนหน้านั้นพี่จับเครื่องดนตรีมาหลายชนิดเหมือนกัน แต่มาถูกใจไวโอลินมากที่สุด เพราะรู้สึกว่าเล่นแล้วเป็นตัวของตัวเอง มีพลังดี (หัวเราะ) ทั้งนี้โชคดีด้วยค่ะที่พี่ได้เรียนไวโอลินกับ อ. ชูชาติ พิทักษากร ซึ่งตอนนั้นท่านสอนประจำที่จุฬาฯ อยู่แล้ว จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้อยากเป็นนักไวโอลินเก่ง ๆ เหมือนท่านบ้าง"

พี่อ้อม ตัดสินใจเอนทรานซ์เข้าเรียนที่คณะครุศาสตร์ จุฬา ฯ ไม่ต้องแปลกใจว่า สาขาที่เธอเลือกจะเป็นเอกไวโอลินตามความถนัด เพราะนอกจากเธอจะได้อยู่ใกล้ชิดกับเครื่องดนตรี และดนตรีที่รักแล้ว พี่อ้อมยังได้มีโอกาสไปออดิชั่นกับวงบีเอสโอ คลาสสิคแบนด์ชื่อดังที่สุดในเมืองไทย ซึ่งทำให้เธอได้เล่นดนตรีในฐานะนักไวโอลินมืออาชีพนับแต่นั้นเป็นต้นมา

"พอเรียนจบจากจุฬา ฯ พี่ได้ทุนไปเรียนไวโอลินเพิ่มเติมที่ Hongkong Academy for Performing Arts ซึ่งเป็นวิทยาลัยที่สอนทางด้านศิลปะโดยเฉพาะ พี่เลือกเรียนไวโอลินอย่างเดียวเพื่อจะได้เล่นในวงออเคสตร้าของเขาด้วย พอกลับมาเมืองไทยก็เรียนไวโอลินเพิ่มอีก เพราะรู้สึกว่า ที่เรียนมาทั้งหมดยังไม่พอที่จะไปสอนใครได้"

วงการดนตรีคลาสสิคในบ้านเราค่อนข้างแคบ คนสอนมีน้อย และคนที่จะเป็นนักดนตรีก็แทบไม่มีคู่แข่ง พี่อ้อมมองแบบนั้น จึงตัดสินใจอีกครั้งว่า จะต้องไปเก็บเกี่ยวประสบการณ์เพิ่มเติมระดับปริญญาโทในด้านการเล่นไวโอลิน และการสอนที่ University Of Oregon , USA ในสาขา Master of Music Violin Performance and Pedagogy เวลา 3 ปี ที่สหรัฐอเมริกา พี่อ้อม เก็บเกี่ยวประสบการณ์มามามาย และกลับมาเป็นครูสอนไวโอลินเต็มตัวอย่างที่ตั้งใจไว้ ควบคู่กับการเป็นนักไวโอลินของวงบีเอสโอ

"วิธีการสอนดนตรีพี่จะใช้ระบบที่เรียกว่า ซูซุกิ (Suzuki) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เน้นการสอนดนตรีอย่างเป็นธรรมชาติ เพราะเชื่อในหลักการที่ว่า คนจะเล่นดนตรีได้ไม่จำเป็นต้องมีพรสวรรค์เสมอไป การหัดเล่นดนตรีก็เหมือนการหัดพูด ซึ่งเราสามารถฝึกกันได้ตั้งแต่อายุน้อย ๆ ลูกศิษย์ของพี่ที่อายุน้อยสุด ยังไม่ถึงสี่ขวบดีเลย"

สิบสามปีที่อยู่กับไวโอลิน ความประทับใจที่มีต่อเครื่องดนตรีชิ้นนี้ พี่อ้อม สามารถบรรยายได้เป็นบท ๆ เหมือนกับเพลง Sonatas and Partitas ของเซบาสเตียน บาค (Sebastien Bach) ที่ พี่อ้อม มักจะเลือกหยิบขึ้นมาเล่นอยู่เสมอ

"ไวโอลินเป็นเครื่องมือที่ทำให้เราถ่ายทอดอารมณ์ และความรู้สึกไปสู่คนอื่นได้ผ่านเสียงดนตรี เช่นเดียวกัน นักดนตรีเขาก็มีเรากับเครื่องดนตรีของเราเป็นตัวแทนถ่ายทอดผลงานของเขาไปสู่ผู้ฟัง เหมือนกับเราเป็นสะพานเชื่อมโยงให้ทั้งหมดถึงกันได้"

สำหรับ "พี่อ้อม" ดนตรีไม่ใช่ปัจจัยหลักของชีวิต แต่คือส่วนเติมเต็มที่ชีวิตนี้ขาดไม่ได้

โดย: - [28 มิ.ย. 49 9:27] ( IP A:202.12.74.8 X: )
ความคิดเห็นที่ 43
    พลเรือตรี หม่อมหลวง อัศนี ปราโมช
พลเรือตรี หม่อมหลวง อัศนี ปราโมช (Rear Admiral ML Usni Pramoj) องคมนตรี และ ผู้จัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ (เกิด ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๗) เป็นบุตรของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี และท่านผู้หญิงอุศนา ปราโมช ณ อยุธยา สมรสกับท่านผู้หญิงวราพร ปราโมช ณ อยุธยา (ชลวิจารณ์) มีบุตรทั้งหมด ๕ คน

การศึกษา
ในวัยเด็ก ท่านได้รับการศึกษาที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ก่อนที่จะเดินทางไปศึกษาต่อทางด้านกฎหมายที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ จนสำเร็จปริญญาตรี จากนั้นก็ได้เข้าศึกษาในหลักสูตรเนติบัณฑิตที่สำนักอบรมศึกษากฎหมายเกรส์ อินน์ จนสำเร็จเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษ

การทำงาน
หม่อมหลวงอัศนีเข้ารับราชการทหารที่กรมพระธรรมนูญ กระทรวงกลาโหม จนได้รับยศเป็นร้อยเอก จากนั้นก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เข้าทำงานที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์ และได้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ มาจนถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หม่อมหลวงอัศนีดำรงตำแหน่งองคมนตรี

ในด้านการทหาร ท่านได้รับพระราชทานยศเป็นพลเรือตรีในตำแหน่งนายทหารพิเศษ ประจำกรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๕

ผลงานทางดนตรี
หม่อมหลวงอัศนีได้รับอิทธิพลในด้านดนตรีและศิลปะมาจากหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ตั้งแต่วัยเด็ก ท่านเริ่มเล่นดนตรีด้วยการฝึกไวโอลิน และได้รวมตัวกันเล่นดนตรีวงควอเตทภายในครอบครัวบ่อยครั้ง เมื่อเดินทางไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ท่านได้ใช้เวลาว่างศึกษาเรียนรู้ดนตรีด้วยตนเอง ทั้งยังได้เข้าร่วมกิจกรรมทางดนตรีกับทางมหาวิทยาลัยเป็นประจำ

เมื่อเดินทางกลับจากศึกษาต่อในปี ๒๕๐๑ ท่านได้ร่วมกับ อาจารย์กำธร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และชาวต่างชาติอีก ๒ คน ตั้งวงสตริงควอเตทขึ้น ต่อมาวงสตริงควอเตทได้พัฒนาไปเป็นวงโปรมิวสิคา ซึ่งเป็นวงดนตรีที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม และก็ได้รับความสนับสนุนจากสถาบันเกอเธ่ (สถาบันวัฒนธรรมเยอรมัน) ให้ใช้สถานที่ฝึกซ้อม ทั้งยังได้ส่งนายฮันส์ กุนเธอร์ มอมเมอร์ มาช่วยควบคุมวง

วงดนตรีโปรมิวสิคานี้ นับเป็นวงดนตรีที่บุกเบิกวงการดนตรีคลาสสิกของประเทศไทย ซึ่งท่านเป็นผู้ริเริ่มและรับหน้าที่เป็นทั้งหัวหน้าวง ผู้จัดการวง ผู้แสดงเดี่ยว และผู้อำนวยเพลง จนกระทั่งเกิดการรวมตัวครั้งใหม่เป็นวงดนตรีที่ใหญ่ขึ้น มีชื่อว่า วงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ หรือ บางกอก ซิมโฟนี ออเคสตร้า (B.S.O.) นอกจากการเป็นนักดนตรี และผู้อำนวยเพลงแล้ว หม่อมหลวงอัศนียังมีผลงานประพันธ์และเรียบเรียงเสียงประสาน อาทิ

เรียบเรียงเสียงประสานเพลงพระราชนิพนธ์หลายเพลง อาทิ ความฝันอันสูงสุด แผ่นดินของเรา เราสู้ เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย ยามเย็น ลมหนาว อาทิตย์อับแสง ฯลฯ
ปี ๒๕๒๑ ประพันธ์และเรียบเรียงเสียงประสานเพลงบัลเล่ต์ ปางปฐม
ปี ๒๕๒๗ ประพันธ์และเรียบเรียงเสียงประสานเพลงทัศนะ (View) ซึ่งวงดุริยางค์เยาวชนอาเซียนได้นำไปแสดงที่ประเทศสิงคโปร์เมื่อปี ๒๕๒๘

ปี ๒๕๒๙ ประพันธ์และเรียบเรียงเสียงประสานเพลงศรีปราชญ์ (Tone Poem) เพื่อให้วงดุริยางค์เยาวชนอาเซียนแสดงที่กรุงเทพมหานคร ในโอกาสที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ
ปี ๒๕๓๑ ประพันธ์และเรียบเรียงเสียงประสานเพลง สำหรับวันฉัตรมงคล เพื่อให้วงดุริยางค์ ราชนาวีแสดงในงานดนตรีกาชาดคอนเสิร์ต
ปี ๒๕๓๓ ประพันธ์และเรียบเรียงเสียงประสานเพลงประกอบบัลเล่ต์ชื่อ จันทกิรีเพื่อการแสดงที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
ปี ๒๕๓๕ ประพันธ์และเรียบเรียงเสียงประสานเพลงประกอบบัลเล่ต์ชื่อ ศรีปราชญ์ ขึ้นใหม่เพื่อการแสดงที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

ประพันธ์และเรียบเรียงเสียงประสานเพลงพนาไพร เพื่อให้วงดุริยางค์ราชนาวีแสดงในงานดนตรีกาชาดคอนเสิร์ต ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

เรียบเสียงประสานเพลงปลุกใจและเพลงรักชาติในช่วงที่ประเทศชาติประสบกับภัยคุกคามของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์หลายเพลง อาทิ แด่ทหารหาญในสมรภูมิ จากยอดดอย วีรกรรมรำลึก ตื่นเถิดไทย อยุธยารำลึก ฯลฯ

พลเรือตรี หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗

โดย: - [8 ม.ค. 50 8:13] ( IP A:202.12.74.8 X: )
ความคิดเห็นที่ 44
    ศิริพงษ์ ทิพย์ธัญ
ศิริพงษ์เริ่มเรียนไวโอลินเมื่ออายุ7ขวบกับอ.เพลิน ศรีวัลลภ ภายหลังได้ศึกษาต่อกับอ. ภารดี ไตรวิทยา, อ.สุทิน ศรีณรงค์และ ผ.ศ. พันเอก ชูชาติ พิทักษากร ตามลำดับ ศิริพงษ์ได้รับเลือกให้เข้าร่วมโครงการระดับนานาชาติมากมาย หลังจากที่ได้เข้าเป็นนิสิตในโครงการช้างเผือกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทาลัยเพียงปีครึ่งศิริพงษ์ก็ได้รับทุนจาก Hong Kong Academy for Performing Arts จนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี กับ Prof. Michael Ma

ศิริพงษ์ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันคอนแชร์โต้ที่ประเทศฮ่องกงสองครั้ง ติดต่อกันและได้รับทุน Duchess of Kent ในฐานะนักศึกษายอดเยี่ยม ในระหว่างการศึกษาที่ HKAPA นั้นศิริพงษ์ได้ร่วมทำ Master class กับนักไวโอลินระดับโลกเช่น Isaac Stern, Pinchas Zukerman, Cho-liang Lin, Joseph Silverstein, the Ysäye String Quartet, the Australian String Quartet

หลังจากจบการศึกษา ศิริพงษ์ได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าวงซิมโฟนีออร์เคสตร้ากรุงเทพ(Concert master of Bangkok Symphony Orchestra) ซึ่งถือว่าเขาเป็นหัวหน้าวงที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ของวงดุริยางค์ ซิมโฟนีกรุงเทพ ในปี 2544 ศิริพงษ์ได้รับทุนการศึกษาระดับปริญญาโท จาก University of Oregon ประเทศสหรัฐอเมริกาและทุนส่งเสริมดนตรีคลาสสิคในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระ เจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทำการศึกษาไวโอลินกับ Prof. Katherine Lucktenberg ระหว่างที่ทำการศึกษาเขาได้ร่วมเล่นกับวงซิมโฟนีออร์เคสตราระดับอาชีพหลายวง เช่น The Eugene Symphony Orchestra, The Oregon Mozart Player นอกจากนั้นยังได้เข้าร่วม The Oregon Bach Festival ซึ่งถือว่าเป็นเทศกาลดนตรีที่ใหญ่ที่สุดในฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ

ปัจจุบันอาจารย์ศิริพงษ์เข้ามาเป็นอาจารย์ประจำวิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต ในตำแหน่งหัวหน้าสาขาวิชาการแสดงดนตรีคลาสสิค และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง the RSU Piano Trio, the Artists Ensemble และ the Bangkok String Quartet (BSQ)

โดย: - [24 ต.ค. 53 2:16] ( IP A:202.12.74.245 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน