ความคิดเห็นที่ 1 Pablo Sarasate เขาเป็นลูกศิษย์ของ Alard ในปี 1914 Sarasate ได้บันทึกเสียงแผ่นเสียงไว้หลายแผ่น เป็นผลงานที่เขาแต่งเอง 7 เพลง รวมถึงเพลงที่เขาเรียบเรียงขึ้นใหม่ ได้แก่ Nocturne op.9 ของ Chopin และ Praeludium จาก Partita in E major ของ Bach ผลงานเหล่านี้ถูกนำมาอัดขายครั้งแล้วครั้งเล่าในรูปแบบของแผ่นเสียง LP น้ำเสียงค่อนข้างเดิมๆ แต่มนต์เสน่ห์ของการเล่นยังยอดเยี่ยมเช่นเดิม และไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง แม้ว่าช่วงนั้นจะเป็นช่วงที่สุขภาพและเทคนิคของเขาจะเริ่มตกลงบ้างแล้วก็ตาม
Sarasate เป็นหนึ่งในนักดนตรีคนสุดท้ายที่เป็นที่เป็นทั้งนักประพันธ์และนักไวโอลินชั้นยอดในตัว และเป็นคู่แข่งคนสำคัญของ Joachim เขาได้ฝากผลงานการประพันธ์ชั้นยอดในสำเนียงดนตรีสเปนบ้านเกิดเอาไว้ ซึ่งได้กลายเป็นบทประพันธ์บทสำคัญนับแต่นั้นเป็นต้นมา Sarasate เริ่มงานประพันธ์เพลงในช่วงอายุ 20 กลางๆ แต่คีตกวีที่มีชื่อเสียงหลายคนต่างพากันอุทิศผลงานการประพันธ์ให้เขา เช่น Lalo ได้มอบบทประพันธ์ไวโอลินคอนแชร์โตและ Symphonie Espagnole ให้เขา ส่วน Max Bruch ได้มอบไวโอลินคอนแชร์โตบทที่ 2 และ Scottish Fantasy ให้ และ Saint-Saens ได้มอบไวโอลินคอนแชร์โตให้เขาเช่นกัน แต่เขาจะหลีกเลี่ยงงานของ Paganini กล่าวกันว่ามือของเขาค่อนข้างเล็ก ไม่สามารารถเหยียดนิ้วได้ตามที่บทเพลงเขียนไว้ได้ แต่ไม่ว่ามือของเขาจะเล็กหรือไม่ก็ตาม เขาสามารถสร้างอารมณ์ของเพลงได้ไม่ว่าจะเล่นเพลงอะไรก็ตาม
| โดย: - [30 พ.ค. 49 8:25] ( IP A:202.12.74.7 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 Leopold Auer เขาเป็นลูกศิษย์ของ Dont และ Joachim มีคำถามว่าประวัติศาสตร์การเล่นไวโอลินสมัยใหม่จะเป็นอย่างไรถ้าปราศจากชื่อ Leopold Auer นักไวโอลินชั้นแนวหน้าหลายคนในยุคนั้นมักจะเป็นลูกศิษย์ของเขา คงเป็นการยากที่จะจินตนาการถึงโฉมหน้าของวงการไวโอลินถ้าปราศจากชื่อของ Heifetz, Milstein, Zimbalist, Elman, Brown, Seidel, Rabinoff นักไวโอลินชั้นยอดเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งซึ่งมาจากหนึ่งในสำนักไวโอลินที่ดีที่สุดตลอดกาล
Auer เป็นนักไวโอลินที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว ในปี 1868 เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์ทางด้านไวโอลินที่สถาบัน St. Petersburg Conservatory แต่เดิมนั้น Tchaikovsky ได้อุทิศบทประพันธ์ไวโอลินคอนแชร์โตให้กับเขา แต่เขากลับบอกว่ามันยากไป ในที่สุดคอนแชร์โตบทนี้ได้เปลี่ยนไปมอบให้กับผู้ที่นำมันออกแสดงคนแรก Adolf Brodsky หลังจากนั้น Auer ได้ละทิ้งอาชีพนักดนตรีเพื่อหันไปอุทิศตนให้กับการสอนอย่างจริงจัง ถือเป็นก้าวสำคัญที่โลกไวโอลินและประวัติศาสตร์การเล่นไวโอลินต้องชื่นชมตลอดไป เขายังคงออกแสดงคอนเสิร์ทอย่างต่อเนื่อง แต่มีโอกาสออกแสดงที่ Carnegie Hall ครั้งแรกในปี 1917 เมื่ออายุถึง 72 ปี
ในปี 1920 ซึ่งเขามีอายุครบ 75 ปี เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสสำคัญนี้ เขาได้บันทึกแผ่นเสียงเอาไว้จำนวน 2 เพลงด้วยกันคือ บทเพลง Melody ของ Tchaikovsky และ Hungarian Dance no. 1 in G minor ของ Brahms และอัดเป็นแผ่นออกมาเพียง 5 ชุดเท่านั้น หลังจากนั้นได้นำไปทำเป็นแผ่น LP และตั้งชื่ออัลบั้มว่า Masters of the Bow โดย James Creighton นักบันทึกแผ่นเสียงชาวคานาดา ส่วนแผ่นต้นฉบับชื่อว่า Victor Special Record ไม่มีหลายเลขกำกับ และทั้ง 5 ชุดนั้นได้มอบให้กับ Heifetz, Zimbalist, Elman, Eddy Brown และ F. Steinway
| โดย: - [30 พ.ค. 49 8:31] ( IP A:202.12.74.7 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 5 แผนผังแสดงความสัมพันธ์ของนักไวโอลินสายต่างๆ 
| โดย: - [30 พ.ค. 49 8:34] ( IP A:202.12.74.8 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 6 
| โดย: - [30 พ.ค. 49 8:34] ( IP A:202.12.74.5 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 8 Jeno Hubay นักไวโอลินชาวฮังกาเรียน Hubay เป็นลูกศิษย์ของ Joachim เขาเกิดเมื่อปี 1858 ที่เมือง Budapest และเสียชีวิตเมื่อปี 1937 ที่เมืองเดียวกัน ในบรรดานักไวโอลินด้วยกันแล้ว Hubay ถือเป็นเจ้าชายเลยทีเดียว ซึ่งสะท้อนผ่านทางการใช้ชีวิตที่หรูหราของเขา Carl Flesch ได้กล่าวยกย่อง Hubay ว่าเป็นนักไวโอลินชั้นเยี่ยมที่มีเทคนิคการเล่นและน้ำเสียงที่โดดเด่น ( A noble violinist of outstanding technical and musical qualities ) บางทีเขาอาจจะเป็นนักไวโอลินที่เก่งมากกว่าครูที่ดี แต่ถึงกระนั้นก็ตาม เขายังได้สร้างลูกศิษย์ที่มีชื่อสียง เช่น Szigeti, Telmanyi, von Vecsey และ วาทยกร Eugene Ormandy ซึ่งมีผลงานบันทึกเสียงไวโอลินคอนแชร์โตชั้นเยี่ยมไว้หลายแผ่นด้วยกัน
Hubay ไม่ได้บันทึกแผ่นเสียงบทเพลงชิ้นสำคัญเอาไว้ มีแต่เพียงผลงานชิ้นสั้นๆ เท่านั้น รวมถึงบทเพลงบางชิ้นที่เขาประพันธ์ขึ้นเอง เขาได้สร้างสรรค์คีตนิพนธ์ประเภทเพลงสั้นๆ ไว้เป็นจำนวนมาก เขาบันทึกแผ่นเสียงชุดแรกเมื่อประมาณปี 1934 ซึ่งในขณะนั้นเขามีอายุ 70 กว่าปีแล้ว แต่ยังเปี่ยมไปด้วยน้ำเสียงที่มีสีสันและความแม่นยำ
| โดย: - [30 พ.ค. 49 8:40] ( IP A:202.12.74.8 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 9 Eugene Ysaye Ysaye เป็นลูกศิษย์ของ Vieuxtemps และ Massart เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดนักไวโอลินในหมู่นักไวโอลินทั้งปวง Ysaye เป็นนักไวโอลินที่มีเทคนิคการเล่นที่เร่าร้อน ขับกล่อมผู้ฟังด้วยสำเนียงที่สดใสและโทนเสียงที่สง่างาม ในปี 1881 เขาเดินทางไปยังปารีส และมีโอกาสได้ร่วมกลุ่มกับนักประพันธ์รุ่นใหม่ๆ อย่าง Debussy, Franck และ Chausson ซึ่งภายหลังทั้ง 3 ได้อุทิศบทประพันธ์ของตนให้เขา
Arthur Symons นักวิจารณ์ดนตรีชาวอังกฤษได้กล่าวถึงการเล่นของเขาในปี 1907 ไว้ว่า การแสดงที่เปี่ยมไปด้วยความกระตือรือล้นในตัวของ Ysaye ได้สร้างวลีของบทเพลงที่น่าพิศวงด้วยเทคนิค Double-Stopped ในท่อน Cadenza ของ Beethoven ได้อย่างน่าฟัง เขาล่องลอยอยู่บนสายน้ำของเสียงที่บริสุทธิ์ในความฝัน โน้ตแต่ละตัวที่กลั่นออกมาราวกับหยดน้ำ ลูกศิษย์คนสำคัญของเขาเช่น Persinger, Gingold, Newman, Soldway
Ysaye ได้ฝากผลงานการบันทึกเสียงระบบ 78 รอบไว้ทั้งสิ้น 12 แผ่น รวมถึงแผ่นทดลองอีก 2 แผ่น และหลังจากนั้นเชื่อว่ายังมีแผ่นทดลองที่บันทึกเพลงไวโอลินคอนแชร์โตของโมสาร์ททุกบทอีกด้วย ซึ่งไม่ได้นำออกเผยแพร่แต่อย่างใด และผลงานที่อาจจะถือว่ายอดเยี่ยมที่สุดในบรรดาผลงานที่นำออกเผยแพร่คือ ไวโอลินคอนแชร์โตในท่อนสุดท้ายของ Mendelssohn (ผลงานทั้งหมดของเขาถูกแปลงเป็นแผ่น LP เพื่อวางจำหน่าย)
| โดย: - [7 มิ.ย. 49 8:24] ( IP A:202.12.74.7 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 10 Carl Flesch สำนักของ Carl Flesch มีบทบาทเป็นอย่างมากต่อประวัติศาสตร์การเล่นไวโอลินสมัยใหม่เช่นเดียวกับ Leopold Auer ในยุคก่อนหน้าเขา ลูกศิษย์ของเขาที่มีชื่อเสียงในวงการไวโอลินศตวรรษที่ 20 มีมากมายหลายคนจนแทบจะรวมเป็นหนังสือได้เลยทีเดียว และเป็นเวลาหลายทศวรรษทีเดียวที่ลูกศิษย์ของเขามีบทบาทในระดับนานาชาติมากกว่าสำนักอื่นๆ เช่น Haendel, Hassid, Rostal, Neveu, Odnoposoff, Szeryng, Gimpel และ Goldberg
บทบาทของเขาในเรื่องเทคนิคการเล่นไวโอลินสมัยใหม่เป็นสิ่งที่มีค่ามากทั้งในฐานะครูและนักเขียน งานเขียนที่สำคัญคือ The Art of Violin Playing เป็นหนังสือที่กล่าวถึงระบบการวางนิ้ว และอีกเล่มคือหนังสือบันทึกของเขา Memoirs ซึ่งนักไวโอลินทุกคนควรจะได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ภายในเล่มมีภาพภาพประกอบต่างๆ และเนื้อหาที่เป็นประโยชน์กับการเล่น นอกจากนั้นเขายังเป็นผู้บุกเบิกการสอนแบบ Master Class อีกด้วย
ผลงานบันทึกเสียงที่ทำเป็นส่วนตัวและที่ทำเป็นการค้าของเขายังคงมีให้ได้ฟังอยู่เรื่อยๆ งานไวโอลินโซนาต้าหมายเลข 4 ของ Handel มีความโดดเด่นมากในเรื่องความสดใสและเทคนิคการเล่นที่ประณีต แผ่นเสียงที่ยอดเยี่ยมที่สุดของเขาคือไวโอลินคอนแชร์โตของ Brahms และ Beethoven ซึ่งเป็นงานบันทึกเสียงส่วนตัวของเขาที่ไม่ได้นำเผยแพร่สู่สาธารณชน เขามีผลงานบันทึกแผ่นเสียงกับสังกัด Edison phonograph หลายชุดด้วยกัน รวมถึงงานบันทึกการแสดงอีกหลายชุด ผลงานของเขาทำขึ้นในช่วงปลายทศวรรษที่ 1920 และต้นทศวรรษที่ 1930
| โดย: - [7 มิ.ย. 49 12:09] ( IP A:202.12.74.5 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 12 Willi Hess นักไวโอลินชาวเยอรมัน Hess เกิดที่เมือง Mannheim เมื่อปี 1859 และเสียชีวิตที่ Berlin ในปี 1939 เขาเป็นลูกศิษย์คนหนึ่งของ Joachim ในฐานะครูสอนไวโอลินนั้น Hess มีอิทธิพลต่อนักเล่นชั้นนำหลายคนในยุคเดียวกันกับเขา เช่น Busch รียนไวโอลินกับเขาที่ Cologne ลูกศิษย์ของเขาอีกคนหนึ่งคือ Henry Holst รวมถึง Kulenkampff ซึ่งอาจจะเป็นคนที่มีสไตล์การเล่นใกล้เคียงกับเขาที่สุด | โดย: - [7 มิ.ย. 49 18:17] ( IP A:202.12.74.5 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 13 Otakar Sevcik ยอดนักไวโอลินชาวเชค Sevcik เป็นลูกศิษย์ของ Bennewitz เขาเกิดเมื่อปี 1852 ที่เมือง Horazdevice และเสียชีวิตเมื่อปี 1934 ที่เมือง Pisek มีนักไวโอลินจากทั่วทุกมุมโลกเดินทางมาเพื่อเรียนกับเขา ซึ่งลูกศิษย์ของเขามีมากกว่า 5,000 คนเลยทีเดียว หลายๆ คนได้กลายเป็นนักไวโอลินที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ เช่น Kocian, Kubelik, Daisy Kennedy, Morini, von Vecsey, Zacharewitch, Schneiderhan และ Marie Hall ซึ่งชื่อเหล่านี้ล้วนบ่งบอกความสามารถในการเป็นครูของเขาได้เป็นอย่างดี แม้ว่าแบบฝึกหัดและเทคนิคหลายๆ อย่างที่เขาเขียนขึ้นจะไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบันแล้วก็ตาม และเท่าที่ทราบ ไม่มีผลงานการบันทึกเสียงของเขาที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน
| โดย: - [14 ธ.ค. 49 18:36] ( IP A:202.12.74.5 X: ) |  |
|