Sarah Chang
    Sarah Chang
เธอเกิดเมื่อปี 1980 ที่เมืองฟิลาเดลเฟีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มเรียนเปียโนเมื่ออายุเพียง 3 ขวบ เรียนไวโอลินเมื่ออายุ 4 ขวบ และออกแสดงคอนเสิร์ทต่อหน้าสาธารณชนครั้งแรกเมื่ออายุได้เพียง 5 ขวบเท่านั้น บิดาของเธอคือ Min-Soo Chang เป็นนักไวโอลินอาชีพที่จบการศึกษาจากสถาบัน Juilliard ทีมีชื่อเสียง และเป็นครูสอนไวโอลินคนแรกของเธออีกด้วย เธอจะออกแสดงคอนเสิร์ทโดยมีบิดาหรือมารดาเป็นผู้ที่เล่นเปียโนประกอบให้ และยังเป็นนักดนตรีที่อายุน้อยที่สุดที่ได้รับรางวัล Avery Fisher Career Grant

Chang ออกแสดงคอนเสิร์ทครั้งแรกร่วมกับวง New York Philharmonic เมื่ออายุเพียง 8 ขวบเท่านั้น และได้รับรางวัล Starling Scholarship สำหรับเข้าศึกษาต่อที่สถาบัน Juilliard ที่นิวยอร์คเมื่อปี 1987 และได้รับรางวัลศิลปินหน้าใหม่แห่งปี International Classical Music Awards ที่อังกฤษในปี 1994

เธอศึกษาด้านไวโอลินกับ Dorothy Delay ซึ่งเป็นครูดนตรีที่มีชื่อเสียงเมื่ออายุเพียง 5 ขวบเท่านั้น โดยเลือกเล่นเพลง Violin Concerto No.1 ของ Bruch เป็นเพลงทดสอบเพื่อเข้าศึกษาต่อที่ Juilliard และจบการศึกษาในปี 1999 เมื่ออายุเพียง 18 ปีเท่านั้น เธอใช้ไวโอลินของ Giuseppe Guarneri ‘del Gesu’ ซึ่งมีผู้ให้เธอยืมใช้เป็นการถาวร ในขณะที่เธออายุ 8 ขวบเธอฝึกวันละ 2-3 ชั่วโมง ปัจจุบันเธอฝึกวันละประมาณ 4 ชั่วโมง

Chang กล่าวว่า เธอต้องเข้าใจโครงสร้างและท่วงทำนองของบทเพลงเสียก่อนโดยใช้ความเข้าใจจากภายใน เมื่อต้องอาศัยการตีความ เธอเพียงแต่เล่นออกมาจากภายใน เพราะเธอคิดว่าอารมณ์ของบทเพลงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด Chang ยังกล่าวอีกว่า ถ้าคุณเพียงแต่เล่นตามโน้ต ก็จะเข้าถึงบทเพลงแต่เพียงผิวเผินเท่านั้น สิ่งที่ดีที่สุดบนเวทีก็คือการเล่นไปตามความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติ ในคอนเสิร์ททุกๆ ครั้ง เธอกล่าวว่าไม่มีครั้งใดที่เล่นได้เหมือนกันเลย เพราะว่ามนุษย์นั้นไม่ใช่เครื่องจักรกล

ผลงานแผ่นเสียงอัลบั้มแรกของเธอประกอบด้วยผลงานของ Sarasate, Paganini, Elgar และ Prokofiev ซึ่งบันทึกเสียงเมื่อเธออายุได้เพียง 9 ขวบโดยที่เธอใช้ไวโอลินขนาด 1/4 เท่านั้น
เซอร์ Yehudi Menuhin ได้กล่าวถึง Chang ไว้ว่า ดนตรีของเธอนั้นมีความงดงามและสมบูรณ์แบบ เป็นนักไวโอลินในอุดมคติที่ดีที่สุดที่ท่านเคยได้ยินมา ปัจจุบันเธอพักอาศัยอยู่กับครอบครัวที่สหรัฐอเมริกา

โดย: - [3 ม.ค. 49 18:28] ( IP A:202.12.74.5 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   ตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมา เธอใช้ไวโอลินที่ทำขึ้นในปี 1717 ฝีมือของ Giuseppe Guarneri del Gesu

โดย: - [10 ต.ค. 50 13:11] ( IP A:202.12.74.78 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
    ไวโอลินของ Sarah Chang
ไวโอลินที่เคยผ่านมือ Sarah Chang มีทั้งหมด 4 คันด้วยกัน
1.ไวโอลินที่เธอใช้ในวัยเด็กมีชื่อว่า “R. Wurlitzer” ไวโอลินขนาด ½ ทำขึ้นในราวๆ ปี 1760 ฝีมือของ Giovanni Battista Guadagnini ช่างทำไวโอลินชาว Piacenza ซึ่งเริ่มฝึกฝนการทำไวโอลินจากผู้เป็นบิดา Lorenzo Guadagnini หลังจากนั้นได้เดินทางไปศึกษาและทำไวโอลินตามเมืองต่างๆ ในอิตาลี เช่น Milan, Cremona และ Parma โดยรับตำแหน่งช่างทำไวโอลินของดยุคที่เมืองนี้ ต่อมาเขาได้เปิดร้านของตนเองขึ้นที่เมือง Turin ผลงานของเขาในช่วงนี้ได้รับอิทธิพลอย่างสูงจาก Antonio Stradivari ไวโอลินตัวนี้ทำขึ้นใน “ยุคปาร์มา” (Parma period) ส่วนหัวไวโอลิน (Scroll) เป็นของที่ทำขึ้นภายหลัง

2. “Sennhauser” ทำขึ้นในปี 1735 ฝีมือของ Giuseppe Guarneri ซึ่งเธอใช้ไวโอลินตัวนี้ในปี 1993 "Sennhauser" เป็นไวโอลินฝีมือของ Guarneri del Gesu 1 ในไม่เกิน 10 คันที่ไม้แผ่นหลังทำจากไม้เมเปิ้ลตัดแบบ Slab-cut ทำให้ลายไม้ที่ได้มีลวดลายแปลกตา ที่น่าสนใจคือ ไวโอลิน King Joseph," "Stern, Panette," และ "Sennhauser" ของ Guarneri del Gesu ล้วนมีไม้แผ่นหลังที่หายากแบบนี้ และอาจจะตัดมาจากไม้ซุงท่อนเดียวกันก็เป็นได้

ประวัติในช่วงแรกๆ ของไวโอลิน "Sennhauser" มีไม่มากนัก ในปี 1924 ร้าน Hamma ในเมืองสตุ๊ทการ์ทได้ขายไวโอลินตัวนี้ให้กับ Dirksen Adolf Sennhauser ซึ่งได้กลายมาเป็นชื่อของไวโอลินตัวนี้

ในหนังสือ The Violin-Makers of the Guarneri Family ที่ตีพิมพ์ในปี 1931 ระบุว่า บริษัท Rudolph Wurlitzer ได้เป็นเจ้าของไวโอลินตัวนี้ร่วมกับร้าน Hills และในปี 1944 Ernest Dupont Meyrowitz เป็นผู้ซื้อไวโอลินตัวนี้ไป หลังจากนั้น Joseph Fischoff นักไวโอลินสมัครเล่นฝีมือดีที่อาศัยในแถบชิคาโกได้ไวโอลินตัวนี้ไปเล่นอย่างมีความสุขอยู่หลายปี ในช่วงหลังๆ เขาได้ก่อตั้งการแข่งขันดนตรีแชมเบอร์ National Chamber Music Competition ขึ้นที่ South Bend มลรัฐอินเดียนา

ในปี 1989 Bein & Fushi ได้ไวโอลินตัวนี้มาจาก Fischoff ในฐานะคนกลางเพื่อขายให้กับเจ้าของคนปัจจุบัน ซึ่งได้มอบให้สมาคม Stradivari Society เพื่อสรรหานักไวโอลินที่มีความสามารถได้ยืมใช้ เช่น Leila Josefowicz, Yoon Kyung Kwon, Sarah Chang และ Emily Hyun

3. “Duc de Camposelice” ทำขึ้นในราวปี 1740-1743 ฝีมือของ Giuseppe Guarneri ไวโอลินคันนี้เป็นสมบัติของโรงเรียนดนตรี Juilliard School of Music มาตั้งแต่ปี 1953 Sarah Chang เล่นไวโอลินตัวนี้ในปี 1994 ในขณะศึกษาอยู่ที่สถาบันแห่งนี้

4. ปัจจุบันเธอใช้ไวโอลินปี 1717 ของ Giuseppe Guarneri ‘del Gesu’ ซึ่งเธอได้มาตั้งแต่ปี 2002 เป็นไวโอลินคันโปรดที่เธอทะนุถนอมเหมือนลูก ซึ่งเธอไม่ค่อยนำออกไปโดนแสงที่ร้อนจัดมากนัก เวลาถ่ายรูปเธอมักจะใช้ไวโอลินสำรองเสมอ เธอกล่าวว่า “มันเป็นไวโอลินที่งดงามมากๆ และมีน้ำเสียงที่ไม่เหมือนใคร ไวโอลินของ Guarneri del Gesu เป็นเครื่องดนตรีที่มีโทนเสียงที่หนักแน่น ไพเราะและทุ้มลึก แต่มีความสดใสแบบเดียวกับไวโอลินของ Stradivari ซึ่งฉันสามารถสร้างน้ำเสียงให้เป็นเสียงที่หวานมากๆ ได้เช่นกัน แต่มันเป็นไวโอลินที่อารมณ์แปรปวนได้ง่ายมาก ฉันคิดว่ามันสะท้อนบุคลิกของฉันออกมา บทเทือกเขา ทั้งใน Aspen หรือสวิสเซอร์แลนด์ หรือสถานที่ที่มีความชื้นสูงๆ มันจะบอกฉันว่ามันไม่ค่อยชอบที่แบบนี้นัก” ส่วนสายไวโอลินนั้น สิ่งที่น่าสนใจสำหรับไวโอลินตัวนี้คือ ในช่วงปี 1717 นั้น del Gesu พึ่งมีอายุเพียง 18 ปีเท่านั้น ซึ่งอาจจะบอกเป็นนัยให้ทราบว่าเนื้องานส่วนใหญ่ของไวโอลินตัวนี้เป็นฝีมือของ Joseph Guarneri filius Andrea ผู้เป็นพ่อ ซึ่ง Charles Beare ผู้เชี่ยวชาญไวโอลินระดับโลกกล่าวว่า เขาคิดว่าคนอเมริกันมักจะคิดว่าไวโอลินที่ทำขึ้นในยุคนี้เป็นฝีมือของ del Gesu แต่ในยุโรปนั้นอาจจะเรียกว่าเป็นฝีมือของ Joseph Guarneri filius Andrea

Chang จะพิถีพิถันในการเลือกสาย E มาก เธอชอบสายของ Jargar และWestminster ในกล่องไวโอลินของเธอนั้น เธอจะใส่หนังสือเดินทาง ตั๋วเครื่องบิน กระดาษแฟ็กซ์เอกสารต่างๆ ยุดเย็บปักถักร้อย และเทปกาว 2 หน้า (ใช้ในกรณีที่สายพาดไหล่ชุดประโปรงยาวของเธอหลุด) บางครั้งเธอก็พกพาคอมพ์พิวเตอร์แล็ปท้อปด้วยซ้ำ ฉันพกพาชีวิตทั้งหมดไว้ในกล่องไวโอลินของฉัน” เธอกล่าว
โดย: - [28 พ.ค. 52 14:12] ( IP A:202.28.96.2 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
    คันชักของ Sarah Chang
Sarah Chang มีคันชักคันโปรดอยู่ 4 คัน การเลือกใช้งานจะขึ้นอยู่กับเพลงที่เล่น สำหรับเพลงของ Mozart และ Bach เธอจะใช้คันชักของ Pajeot และจะใช้คันชักของ Sartory ในคอนแชร์โตใหญ่ๆ เช่น Tchaikovsky และ Sibelius ซึ่งป็นคันชักที่เธอใช้เป็นหลัก นอกจากนั้นจะสลับกันใช้ระหว่าง Dominique Peccatte ที่มีอยู่ 2 คัน นอกจากนั้นยังมีคันชักของ John Norwood Lee ช่างทำคันชักร่วมสมัยที่มีชื่อเสียงชาวอเมริกัน
โดย: - [28 พ.ค. 52 14:12] ( IP A:202.28.96.2 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน