Pablo Casals
    Pablo Casals
ท่านเกิดเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 1876 ที่เมือง Vendrell ในแค้วนคาตาลันของสเปน ท่านเป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่ทั้งในอาชีพนักดนตรีและชีวิตส่วนตัว ได้รับการยอมรับเป็นอย่างมากจากเพื่อนนักดนตรีด้วยกัน Fritz Kreisler กล่าวว่า นี่คือนักดนตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ใช้คันชัก ในช่วงอายุใกล้วันเกิดปีที่ 79 ท่านยังได้รับการยกย่องในคุณความดีและความใจบุญของท่านนอกเหนือจากฝีมือในทางดนตรี ท่านยังมีความสนิทสนมกับราชงศ์ต่างๆ ทั้งที่จริงแล้วท่านเป็นคนที่ยึดมั่นในความคิดที่เป็นประชาธิปไตยอย่างสูง

ท่านมีโอกาสแสดงต่อหน้าประธานาธิบดีในทำเนียบขาวถึง 2 ครั้งด้วยกัน การแสดงครั้งแรกเป็นการเล่นต่อหน้าประธานาธิบดี Theodore Roosvelte ในปี 1904 และประธานาธิบดี John F. Kennedy ในปี 1961 จริงๆ แล้วท่านสามารถเป็นนักการเมืองได้อย่างง่ายดายเช่นเดียวกับ Toscanini แต่ท่านก็คงความเป็นคนที่สมถะถ่อมตนจวบจนช่วงสุดท้ายของชีวิตที่ดำเนินชีวิตใกล้เคียงกับพระเข้าไปทุกที

สิ่งที่ท่านได้รับมาจากบิดาซึ่งเป็นนักออร์แกน คือได้เรียนทั้งออร์แกน เปียโนและไวโอลิน พออายุได้ 8 ขวบ ท่านมีโอกาสได้ไปเล่นออร์แกนที่โบสถ์แทนบิดาอยู่หลายครั้ง ส่วนสิ่งที่ได้รับมาจากมารดาคือบุคลิกที่เข้มแข็งและการไม่ยอมรับต่อกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ไม่เป็นธรรมในสังคมซึ่งสะท้อนอยู่ในผลงานนั่นเอง ท่านได้ยินเสียงของเชลโลครั้งแรกเมื่ออายุ 11 ขวบและตัดสินใจที่จะใช้เป็นเครื่องดนตรีประจำตัวตั้งแต่นั้น และนั่นทำให้ต้องเดินทางไปศึกษาที่โรงเรียนการดนตรี ณ เมืองบาร์เซโลนา ฝืมือของท่านพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ต่อมาท่านได้แสดงเดี่ยวเชลโลที่เมืองบาร์เซโลนาเมื่ออายุได้เพียง 14 ขวบเท่านั้น หลังจากนั้นได้เดินทางไปศึกษาต่อที่สถาบันการดนตรีแห่งกรุงแมดริด ต่อมาในปี 1897 ได้ร่วมแสดงในฐานะนักเดี่ยวเชลโลร่วมกับวงแมดริดซิมโฟนี่ ออกแสดงครั้งแรกที่กรุงลอนดอนและปารีสในปี 1899

ในช่วงปี 1900-1901 ท่านได้ออกแสดงดนตรีทั่วสเปนและเนเธอร์แลนด์ หลังจากนั้นจึงได้เดินทางไปเปิดการแสดงที่สหรัฐอเมริกาในช่วงปี 1901-1902 และอเมริกาใต้ในปี 1903 นั่นถือเป็นจุดเริ่มต้นอาชีพนักดนตรีที่เปี่ยมด้วยความสามารถเหนือธรรมดาของท่าน หลังจากนั้นในช่วงทศวรรษ 1920 ท่านยังคงออกแสดงทั่วโลกอย่างสม่ำเสมอทั้งยุโรปและสหรัฐอเมริกา ในช่วงเดียวกันนั้นเองท่านได้หันมาสนใจการเป็นผู้อำนวยเพลง เช่น วงลอนดอนซิมโฟนี่ออร์เคสตร้า วงเวียนนาฟิลฮาร์โมนิคและวงนิวยอร์ก ซิมโฟนี่ออร์เคสตร้า นอกจากนั้นท่านยังได้ก่อตั้งวง Orquestra Pau Casals ขึ้นที่กรุงบาร์เซโลน่า อยู่หลายปีหลังจากนั้นจึงค่อยๆ เสื่อมความนิยมลงและได้ก่อตั้งวงขึ้นใหม่เป็นวงอองซองเบลอซึ่งท่านได้ร่วมแสดงในฐานะนักเดี่ยวเชลโลด้วย

โดย: - [13 ก.พ. 50 8:28] ( IP A:202.12.74.8 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 2
   นักเชลโล่ในยุคก่อนหน้านั้นเช่น Davidoff Piatti และ Poper ซึ่งผลงาน Etude ของท่านเหล่านั้นได้ฝากความประทับใจและความสามารถอันสูงส่งผ่านเครื่องดนตรีคือเชลโล แต่ถ้าเราลองตั้งใจฟังแผ่นผลงานของนักเชลโลหรือนักเล่นเครื่องสายคนใดคนหนึ่งในยุคก่อน Casals อย่างจริงจัง เราจะได้ยินเสียงดนตรีที่ดูเหมือนจะมีข้อจำกัดทางเทคนิคที่ไม่อาจปิดบังได้เลย แต่นักเชลโลจากแค้วนคาตาลันผู้นี้ได้แสดงให้เราเห็นในสิ่งที่ตรงกันข้าม ท่านสามารถควบคุมเครื่องดนตรีชิ้นนี้ได้อย่างง่ายดาย ต่อให้มันมีขนาดใหญ่กว่าดับเบิ้ลเบสก็ตาม Casals พยายามอย่างเต็มที่เพื่อจะหาเทคนิคและวิธีการเพื่อควบคุมการเล่นเสียงที่ดัง และการสไลด์นิ้วเพื่อขจัดเสียงที่แปร่งและเป็นส่วนเกินในท่วงทำนองของบทเพลงออกไป ท่านใช้เวลากับเชลโลชั่วโมงแล้วชั่วโมงเล่าด้วยสมาธิและความมุ่งมั่น จนกระทั่งได้น้ำเสียงที่เกิดจากคันชักและมือซ้ายใกล้เคียงกับเสียงที่อยู่ในจินตนาการของท่าน เกิดเป็นเทคนิคใหม่ๆ สำหรับเชลโลที่ยังคงใช้สอนกันในโรงเรียนดนตรียุคปัจจุบันนี้

เทคนิคที่ท่านพัฒนาขึ้นมานั้น แบ่งเป็น 2 ส่วนที่สำคัญคือ การจับคันชักแบบสบายๆ ไม่เกร็ง และแทนที่จะใช้คันชักตลอดความยาวของมันในแต่ละโน้ตไม่ว่าสั้นหรือยาว แต่ให้ปรับความเร็วและการกดน้ำหนักให้เหมาะสม และในบางครั้งก็ให้ใช้คันชักสั้นๆ เพื่อเชื่อมต่อกลุ่มของโน้ตแต่ละตัวเข้าด้วยกัน แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ท่านได้คิดค้นเทคนิคที่เรียกว่า Finger extensions นั่นคือความสามารถของช่วงนิ้วที่สามารถยืดได้มากที่สุดและสามารถฝึกยืดนิ้วได้อย่างเหมาะสม โดยการยืดของนิ้วนั้นต้องหลีกเลี่ยงการเคลื่อนของมือจากตำแหน่งเดิม เทคนิคที่ท่านคิดค้นขึ้นนั้นไม่สามารถประเมินค่าได้เลย และอาจจะกล่าวได้ว่าทำให้บทบาทของเชลโลก้าวกระโดดจากนกธรรมดาๆ กลายเป็นหงส์เช่นในบทเพลง Swan ของ Saint-Saens ขึ้นมาทันที หลังจากนั้นไม่กี่ปีเทคนิคของท่านก็นิยมใช้กันกันอย่างแพร่หลาย

เมื่อตอนที่ท่านอายุได้ 39 ปี นักวิจารณ์เพลง Louis Elson จากหนังสือ The Boston Globe ได้กล่าวยกย่องท่านว่าเป็น "Paganini of the Violoncello" เลยทีเดียว เขากล่าวว่า ปากานินี่นั้นเป็นราชาแห่งเทคนิคการเล่นไวโอลิน และ Casals ก็เป็นเจ้าแห่งเครื่องดนตรีของเขาเช่นเดียวกัน แต่ปากานินี่ไม่เคยเอาหัวใจใส่ลงไปในดนตรีของเขาและไม่เคยซาบซึ้งดื่มด่ำลงไปในหัวใจของผู้ฟังทั้งหลาย แม้ว่าทุกๆ อย่างจะสมบูรณ์แบบและงดงาม แต่นั่นไม่ใช่เสียงจากจิตวิญญาณที่ซึมซับลงไปในจิตวิญญาณดวงอื่นๆ เช่น Casals

โดย: - [13 ก.พ. 50 8:31] ( IP A:202.12.74.8 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   Pablo Casals กับเชลโลที่ทำขึ้นในราวๆ ปี 1700 ฝีมือของ Matteo Goffriller แต่ฉลากกลับมีข้อความบนดังนี้ Carlo Bergonzi . . . 1733 เชลโลตัวนี้ถูปปรับลดขนาดลง แต่ชองเสียง (f-hole) และหัวเชลโลยังอยู่ในสภาพเดิมๆ

โดย: - [13 ก.พ. 50 8:32] ( IP A:202.12.74.7 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
    Ex-Pablo Casals
เชลโลที่ทำขึ้นในราวๆ ปี 1730 ผลงานของ Carlo Tononi ช่างแห่งเวนิส ข้อความบนฉลาก Carlo Tononi Bolognese / Fece in Venetia, 'A 1730

โดย: - [13 ก.พ. 50 8:33] ( IP A:202.12.74.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   รายละเอียดของช่องเสียง (f-hole) และหัวเชลโล

โดย: - [13 ก.พ. 50 8:34] ( IP A:202.12.74.7 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   Pablo Casals นักเชลโลและวาทยกรผู้ยิ่งใหญ่ได้กล่าวไว้ว่า “ดนตรีต้องทำหน้าที่รับใช้จุดประสงค์อันใดอันหนึ่ง โดยเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวมันเอง และเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นมนุษย์”

โดย: - [13 ก.พ. 50 10:45] ( IP A:202.12.74.8 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน