บทความใหม่ 2 บทความ
   www.chat-flute.com

- แบบฝึกหัดเฉพาะ (Pure Exercises)
- Scales and Arpeggios กับการพัฒนาด้านเทคนิค

เข้าไปอ่านกันได้นะ อ่านแล้วเป็นไงบอกป๋าด้วย
โดย: ป๋า [28 ส.ค. 50 8:01] ( IP A:124.120.131.98 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   ป๋า เมื่อไรจะเขียนเรื่องวิธิเลือกฟลูทซะทีหละ
มีคำถามมาอีกแล้ว
โดย: เมโลดี้ [28 ส.ค. 50 10:46] ( IP A:149.159.2.211 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   ใจเย็นๆๆๆๆ เขียนยากนา ต้องหาข้อมูลด้วย ตั้งแต่ฟลูตมีกี่ประเภทไปเลย ฯลฯ
ไหนๆ ก็เขียนแล้วต้องให้สมบูรณ์ มันยากกว่าการตอบในกระทู้นา
โดย: ป๋า [28 ส.ค. 50 13:47] ( IP A:124.120.136.170 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   มีเหมือนกัน
55+
เอาแจ่มๆนะครับ คุงป๋า

ตอนนี้กำลังทำเรื่องของบประมาณประเทศอยู่ อิอิ
โดย: ลิงน้อย [28 ส.ค. 50 20:14] ( IP A:124.120.172.225 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   ใครเขียนเรื่องอะไรก็จะอ่านหมดทุกอย่าง
ไปอ่านมาเรียบร้อยแล้ว อ่ะ

รออ่านอีกนะ ป๋า อิๆๆๆๆ
โดย: หางเต่า [28 ส.ค. 50 20:46] ( IP A:58.64.109.10 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   เจ๋งจริงๆคะ คุณป๋า
มีข้อเดียวที่ใช้ไม่ได้ก็คือ
WIKIPEDIA: The Free Encyclopedia <https://www.wikipedia.org/>
ไม่ควรนำมาใช้ในบรรณานุกรมคะ เมื่อกี่วันมานี้ก็เพิ่งคุยกันที่นี่เองว่าเขาไม่ให้ใช้
สาเหตุก็คือใครก็ได้สามารถเข้าไปแก้ข้อมูลในวิกิพีเดียได้คะ พวกมหาลัยเขาเลยไม่ให้ใช้ในการเขียน
แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นาจารย์ทั้งหลายก็ยังเอาข้อมูลในวิกิพีเดียมาให้นักเรียนดูกันคะ

ส่วนเรื่องการเลือกฟลูทนั้นเริ่มเขียนเถอะคะ เพราะว่าปัจจัยมันแยอะแยะถ้าไม่เริ่มซะที น้องๆก็ไม่ได้อ่านไม่ได้เห็นเรื่องนี้ซะที นะ นะ นะ
โดย: เมโลดี้ [30 ส.ค. 50 9:48] ( IP A:149.159.2.211 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   อ่า ไม่ควรใช้ๆ

ความจริงหนังสือต่างๆ ที่นำมาอ้างอิงก็อาจมีการแก้ไขข้อมูลในครั้งต่อๆ ไปที่พิมพ์นะ แต่มันก็ยังอ้างอิงได้ว่าที่นำอ้างอิงนี้เอามาจากการพิมพ์ครั้งที่เท่าไหร่

สำหรับ Wikipedia เค้าไม่ให้ใช้เพราะมันมีการแก้ไขข้อมูลเรื่อยๆ

มีเหตุผลสมควรอยู่ เห็นด้วยๆ


ความจริงป๋าไม่ได้อ้างอิงข้อมูลจาก Wikipedia ในการเขียนเชิงอรรถ (Foot note) แต่เขียนไว้เป็นบรรณานุกรม เพราะใช้ดูประกอบเท่านั้น

มีคำถามว่า
๑) ในเมื่อไม่ได้อ้างอิงไว้ในเชิงอรรถ แค่ดูประกอบเท่านั้น แบบนี้ใส่ไว้ในบรรณานุกรมได้รึเปล่า (ก็ไม่ได้ให้ไปค้นต่อหนิ ไม่ได้เอาข้อมูลตรงนั้นมาโดยตรงไง)?

๒) อีกอย่าง แล้วถ้ามีการอ้างอิง Wikipedia ทั้ง ๒ ที่ คือทั้ง เชิงอรรถ และ บรรณานุกรม แต่ใส่วันที่ที่ได้ข้อมูลมา (ในเมื่อมันอ้างอิงครั้งที่พิมพ์ไม่ได้หนิ) จะได้รึเปล่า หรือว่าไม่ได้เพราะ คนที่ต้องการดูที่อ้างอิงไว้ พอไปหาอีกทีข้อมูลอาจเปลี่ยนแปลงไปแล้ว?

๓) ข้อสุดท้าย การอ้างอิงเชิงอรรถก็ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงเอกสารที่มีการตีพิมพ์เสมอไป ก็แปลว่าวัตถุประสงค์ในการอ้างอิงไม่ได้อ้างอิงเพื่อให้สามารถไปค้นข้อมูลต่อได้เท่านั้น แต่อ้างอิงเพื่อให้รู้ได้ว่ามีที่มาที่ไปก็ถือว่าใช้ได้ (ป๋าไปอ่าน "คู่มือการพิมพ์วิทยานิพนธ์" มาแล้ว) แล้วแบบนี้ การอ้างอิงจาก Wikipedia ซึ่งไม่สามารถไปค้นข้อมูลหรือตรวจสอบข้อมูลได้ ก็น่านะใช้ได้ไม่ใช่เหรอ?

อันนี้อยากได้เหตุผลที่สมควรจริงๆ นะ เจ๊ช่วยหาข้อมูลให้หน่อยละกันนะ
ถามกลับซะเลย แกล้ง ๕๕๕๕๕๕๕๕
โดย: ป๋า [30 ส.ค. 50 14:33] ( IP A:124.120.139.26 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   ์คู่มือการพิมพ์วิทยานิพนธ์ มีมากมายหลายแบบมากคะ ไม่สามารถฟันธงได้หรอกว่าวิธีการเขียนเชิงอรรถและบรรณานุกรมต้องทำอย่างไร หมายความว่าขึ้นอยู่กับว่าเราอิงกับสำนักไหนก็ต้องตามสำนักนั้นคะ

เท่าที่รู้ข้อมูลบนอินตอร์เน็ตถ้าจะอ้างไม่ว่าจะสำนักไหนก็ต้องอ้างถึงวันทีเราดูข้อมูลด้วย

เชิงอรรถหรือว่าบรรณานุกรม ก็อีกนั้นแหละ ชึ้นอยู่กับว่าเราอิงสำนักไหน แต่ละที่ไม่เหมือนกัน

น่าจะช่วยได้บ้างนะ
โดย: เมโลดี้ [31 ส.ค. 50 6:21] ( IP A:149.159.2.211 X: )


คลิก เพื่อเปลี่ยนกลับไปแสดงความคิดเห็นแบบเดิม

ชื่อไฟล์รูปห้ามมีอักขระพิเศษ เช่น (#),(<),(>),(&) เป็นต้นค่ะ
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน