ถ้าลุงเจมส์ไปสอบโควต้าที่ครุศาสตร์ จุฬาฯ รับรอง สอบไม่ติด 555
|
ความคิดเห็นที่ 1 โย สิสโส สิปปะโลเภนะ พหุง คัณหาติ ตัง สิปปัง มูโควะ สุปินัง ปัสสัง กะเถตุมปิ นะ อุสสะเห.
นักศึกษาที่ทำการศึกษาวิชาความรู้หลายอย่าง เพราะมีความโลภอยากได้ความรู้มากๆ นักศึกษานั้นจึงไม่สามารถกล่าววิชาเหล่านั้นได้ (ไม่สามารถแสดงให้ปรากฏได้ เพราะไม่แตกฉาน) เป็นเสมือนคนใบ้ที่ได้นอนหลับฝันไป เมื่อตื่นขึ้นมาย่อมไม่สามารถเล่าให้ใครๆ ฟังได้ (ความรู้ของคนโลภในการศึกษา ย่อมไม่ชัดเจน เลือนลางเหมือนความฝัน)
นี่คือหลักการของพระโบราณาจารย์ที่สอนต่อๆ กันมา ซึ่งเป็นข้อเท็จจริง
ปัจจุบันนี้ การศึกษาของเรามันครอบจักรวาลไปรึเปล่า???
แม้แต่มหาลัยยังต้องเรียนมันทุกอย่าง ไม่รู้ว่าจริงๆ เอกไรแน่ | โดย: ป๋า [28 พ.ย. 50 1:03] ( IP A:124.120.132.248 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 55+
ป๋า ลิงว่าสอบไม่ติด เพราะอ่านภาษาไทยไม่ออก | โดย: ลิงน้อย [28 พ.ย. 50 1:33] ( IP A:58.8.237.34 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 จริงๆเห็นด้วยกับ คุณลิงน้อย ลุงเจมส์สอบไม่ติดหรอก เพราะว่าอ่านภาษาไทยไม่ออก อาจสอบดนตรีปฏิบัติผ่านได้ เพราะว่าสื่อสารกับอาจารย์ผู้คุมสอบไ้ด้เล็กน้อย แต่ว่าวิชาอื่นตกหมดเพราะอ่านภาษาไทยไม่ได้ | โดย: เมโลดี้ [28 พ.ย. 50 5:42] ( IP A:149.159.2.126 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 ป๋ารู้หลักการสอบ คณะคุรุศาสตร์ เอก คณิตศาสคร์ ของ จุฬาฯ มาเอ่ย เดียร์อยากเข้า คณะนี้ ^^ | โดย: เดียร์ [28 พ.ย. 50 5:55] ( IP A:124.120.94.233 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 5 แม้แต่ท่าน Sir James Galway ก็ยังค้อมตัวอยู่ภายใต้ไม้ Baton
อิๆๆๆ | โดย: หางเต่า [28 พ.ย. 50 10:13] ( IP A:125.26.232.60 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 6 ไม่นะ ลุงเจมส์ ยืนกร้าว ช้านจะเล่นของช้านหยั่งงี้ 55+ | โดย: ลิงน้อย [28 พ.ย. 50 11:51] ( IP A:58.8.237.34 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 7 ทั่นลิง หัวแข็ง(เห้งเจีย)
บางคนเลือกที่ถือ flute บางคนเลือกที่จะถือไม้ Baton บางคนถือทั้ง Flute และ ไม้ Baton ......
ลุงเจมส์ในแผ่น DVD 9 ตอนบทเฉพาะกาล ก็ถือ Flute เป็นไม้ Baton ไปด้วย ขึ้นอยู่กับบทบาท .....
ทั่นลิงจะสวมครุยเมื่อไรอ่ะ จักงานฉลองนีต้องเป่า Flute 20 เพลงเป็นอย่างน้อย อิๆๆๆๆๆๆ | โดย: หางเต่า [28 พ.ย. 50 12:25] ( IP A:125.26.232.60 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 8 ซี้ดดดดด อูยยย .... กระทู้ล่อเป้า! | โดย: khunlab [28 พ.ย. 50 18:35] ( IP A:58.8.10.247 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 9 วิธีการคิดคะแนนเป็นแบบนั้นจริงหรอครับ O_o!! พึ่งรู้
แต่จากที่โทนี่ไปสอบมานั้น
ส่วนของวิชาการ(ภาษาไทย และอังกฤษ/ไม่นับสังคมนะครับ สังคมยากเวอร์อยู่วิชาเดียว) ง่ายมาก ๆ เลยล่ะครับ ประมาณว่า ถ้าไม่ใช่เกิดมาไม่เรียนหนังสือเลยจริง ๆ ก็ทำได้กันหมด ข้อสอบอย่างกะเอามาสอบเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมตอนต้นยังไงยังงั้น (ข้อสอบเตรียมยังยากส์กว่าเป็นล้านเท่า)
และข้อสอบส่วนที่เป็นวัดแววครูก็ง่ายสุด ๆ เช่นกัน อนุกรมระดับเด็กประถมเลยทีเดียว - -'' ** ยกเว้นความรู้รอบตัว ถามแต่ใครเปนประธาน คมช ใครเปนนู่น ใครเป็นนี่ การปฎิวัติเกิดขึ้นในวันที่เท่าไหร่ โทนี่คนไม่ค่อยดูทีวี (และไม่คิดว่าจะออกแบบนี้) เลยตายทันทีคาห้องสอบ
ส่วนของทฤษฎี+ประวัติศาสตร์อันนี้คิดว่าค่อยสมน้ำสมเนื้อหน่อยครับ แต่โชคดีที่โทนี่เรียนกับ อ.เมิร์ฟสุดเก่งแห่งบ้านฟลุ้ทมา เลยพอทำได้บ้าง (โฆษณาๆๆ)
สรุปแล้ว ถ้าทฤษฎี+ประวัติศาสตร์ และปฎิบัติทำได้คะแนนค่อนข้างดีเท่ากัน คนที่จะสอบติดคงจะเป็นคนที่ดูทีวี และเรียนดาว๊อง ติวสังคมมาเป็นอย่างดีครับ เพราะนอกนั้นข้อสอบกุ๊งกิ๊งมาก
....
ส่วนที่คิดว่าข้อสอบวิชาการยากสุดเท่าที่สอบมา 3 ที่ จุฬา เกษตร และ มศว. จะเป็นที่ มศว. ครับผม ข้อสอบสมน้ำสมเนื้อสะใจที่สุดครับ (ยากอิ๊บอ๋าย) ทั้งอังกฤษ ภาษาไทย และความถนัด ยากเชือดคอเลย แต่ ข้อสอบทฤษฎีดนตรี รู้สึกแปลก ๆ ไม่ค่อยได้มาตรฐานยังไงก็ไม่รุ้ครับ
สรุปเรียงลำดับความยากง่ายของข้อสอบวิชาการ (เท่าที่ผมสอบมาในปีนี้ 2550 ปีอื่นไม่รุ้นะครับ) มศว. ยากที่สุด รองมาเป็นเกษตร(ยากปานกลาง กลาง ๆ ขนาดโทนี่กำลังทำได้พอดี ฮ่า ๆๆๆ) และจุฬาข้อสอบวิชาการง่ายสุด
เผื่อว่าใครที่จะสอบเข้าเอกดนตรีจะได้ลองอ่านดูเป็นแนวทางในการเตรียมตัวสอบได้บ้างนะครับ
ปล. อันนี้คือปีที่ผมสอบ ดังนั้นปีอื่น ๆ อาจจะไม่เป็นอย่างงี้ก็ได้ ถ้าจะนำไปใช้เป็นข้อมูลในการเตรียมตัวสอบก็ต้องระวังไว้บ้างนะครับ | โดย: Tony [28 พ.ย. 50 19:17] ( IP A:58.64.82.170 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 10 ง้าพี่ Tony บรรยายยาวเลย
แล้วรู้สอบเข้า คณิตศาสตร์มะอะ
เดียร์เก่งคณิตสุดละ เกรด4 ทั้งพื้น ทั้งเพิ่ม ^^ | โดย: เดียร์ [28 พ.ย. 50 19:25] ( IP A:124.120.92.195 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 11 55+ ลิงแซว ลุงเจมส์ เค้าเฉยๆ 555+
กระทู้ล่อเป้าจริงๆอย่างที่พี่หลับว่า
แต่สุดท้าย สอบไม่ติด เพราะภาษาไทยเนี่ยแหละ พี่หางเต่า
ป.ล.
เรื่องรับปริญญาอีก1ปีด้วยความโง่ส่วนบุคคล เลยต้องระเห็จไปเรียนเนติก่อน
อาจจะโหมไฟแรงอ่านหนังสือหัวบาน เอาให้จบใน1ปี ถ้าความสามารถสูงส่งขนาดนั้น แต่อาจถึงขั้นไม่จับฟลุทเลยทีเดียว 555+
จะได้รับปริญญาตรี พร้อม กะ เนติบัณฑิต (ถ้าทำได้นะ ฝันเอาไว้ก่อน ไม่ได้ ก้อเรียน เนติ 2ปีก้อได้ พี่หางเต่า ไม่รีบๆ) | โดย: ลิงน้อย [28 พ.ย. 50 19:45] ( IP A:58.8.122.153 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 12 ครุศาสตร์ เอกคณิตศาสตร์หรอครับ อันนี้ไม่แน่ใจแต่น่าจะประมาณนี้นะครับ (เพราะระบบแอดมิชชั่น เปลี่ยนทุกปีเลย ไม่รุ้จะเอาไงแน่)
แต่ที่ต้องใช้ในสอบเข้าคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ แน่ ๆ คือวิชา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคม (และคณิตศาสตร์ ถ้าจะเอกคณิตศาสตร์) ความถนัดทางวิชาชีพครู GPA GPAX (เกรดนั่นเอง) ไม่น่าจะมีนอกเหนือจากนี้นะครับ
ยังไงก็ลองอ่านวิชาที่ว่าเตรียมตัวไว้ก่อน และก็ทำเกรดในโรงเรียนให้ดี ๆ (ประจบ ๆ อาจารย์หน่อย)
ส่วนเรื่องวิชาความถนัดทางวิชาชีพครูนั้น ถ้าเก่งคณิตศาสตร์เป็นทุนเดิมก็ค่อนข้างสบายครับ เพราะส่วนมากมันก็คือเชาว์ดี ๆ นี่เอง แต่ส่วนมากถ้าส่วนกลางจัด มักจะทำไม่ทัน ไม่ใช่ทำไม่ได้ ดังนั้นอย่าเข้าห้องสอบสายเหมือนโทนี่ ไม่งั้นชีวิตจะอับเฉา ._." | โดย: Tony [28 พ.ย. 50 20:34] ( IP A:58.64.82.170 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 13 น่าน!!! ว่าที่เด็กเกษตรมาตอบเอง คณิตศาสตร์ไปได้หลายทางครับ ถ้าไปเรียน pure math โดยตรงเลยก็ได้ แต่ถ้าเรียนแล้วจะคิดหนักเพราะว่า pure math เรียนกันหัวโตเลยทีเดียว แล้วอีกอย่างเมืองไทยจบมาทางสายนี้คงต้องเป็นครู เพราะเมืองไทยนักคณิตศาสตร์ยังไม่มีเป็นอาชีพ (ได้ยินมาจากรุ่นน้องนะครับ เพราะเคยมีรุ่นน้องกับรุ่นพี่เป็นเด็กโอลิมปิกคณิตศาสตร์) สุดท้ายก็เรียนตามที่ตัวเองรักจะดีกว่าเรียนตามที่ตัวเองถนัดนะครับ ไม่อย่างนั้นชีวิตจะขมขื่นเหมือนผม เพราะผมต้องเรียนเลขแต่อ่อนเลขมาก | โดย: Bas [28 พ.ย. 50 21:24] ( IP A:202.44.210.43 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 14 ต้องบอกก่อนว่านี่ไม่ใช่กระทู้ล้อเป้านะ แต่เป็นกระทู้ในเชิงวิชาการล้วนๆ เผอิญป๋าเป็นคนตั้งกระทู้ เพราะฉะนั้นใครมาข้างๆ คู ด่าว่าเสียๆ หายๆ ไม่พูดแต่ในแง่วิชาการก็รับรอง โดนป๋าสวนกลับ หุหุหุ (วันนี้เล่นบทดุ ๕๕๕)
ที่น้อง Tony ว่ามาก็มีเหตุผลอยู่ ที่ว่าข้อสอบเข้าโควต้า ครุฯ จุฬาฯ วิชาที่เป็นวิชาการมันค่อนข้างจะง่าย
แต่น้อง Tony ยังไม่เข้าใจ เพราะไม่ได้เรียนวิชาการวัดและการประเมินผลการศึกษา
ป๋าจะอธิบายในฟัง...
การวัดและประเมินผล การสอบเข้าเรียนต่อไม่ว่าในระดับใด จะต้องมีความยาก (เรียกว่า ความง่าย ก็ได้) ปานกลาง แต่ค่อนไปทางยากไว้ก่อน เพราะเป็นการประเมินแบบอิงกลุ่ม
การประเมินแบบอิงกลุ่ม หมายความว่า ไม่ว่าตัวเลขที่วัดออกมาจะเป็นเท่าไหร่ก็ตาม ไม่สำคัญ เอาคนที่เก่งที่สุดจำนวนหนึ่งเท่านั้น อาจจะเป็นแค่ 5 คน หรือ 10 คน ก็ได้ เช่น
คนที่สอบทั้งหมดอาจได้คะแนนไม่ถึง 60/100 เลยก็ได้ แต่เลือกเอาคนที่เก่งที่สุดเพียง 5 คนเท่านั้น (จำนวนคนมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับความต้องการที่อยากจะรับ)
และเนื่องการเป็นการประเมินแบบอิงกลุ่ม ไม่ใช่อิงเกณฑ์ ข้อสอบจะต้องมีความยากระดับปานกลาง ค่อนไปทางยาก
เพราะเหตุใด???
เพราะว่า
1. ถ้าข้อสอบง่าย ทุกคนจะทำได้คะแนนดีเท่าๆ กันหมด เพราะฉะนั้นจะมีค่าความจำแนกต่ำ
ค่าความจำแนกต่ำหมายถึงว่า ไม่สามารถจำแนกคนที่เก่งจริงๆ กับคนที่ไม่ค่อยเก่งออกจากกันได้
สมมติว่ามีคนสอบ ๑๐ คน สอบวิชาความรู้ทั่วไป
1) นาย A ได้คะแนน 98 2) นาย B ได้คะแนน 97 3) นาย C ได้คะแนน 95.5 4) นาย D ได้คะแนน 95 5) นาย E ได้คะแนน 94 6) นาย F ได้คะแนน 92 7) นาย G ได้คะแนน 90.5 8) นาย H ได้คะแนน 88 9) นาย I ได้คะแนน 86 10) นาย J ได้คะแนน 85
จะเห็นได้ว่าทั้ง ๑๐ คนที่สอบวิชานี้ได้คะแนนเท่าๆ กันหมดไม่ได้ต่างกันมาก ถ้าสมมติว่าต้องการรับแค่ ๕ คน นาย A - นาย E ก็จะสอบติด ส่วนที่เหลือสอบไม่ติด
ถามว่า ๕ คนแรกที่ได้คะแนนดีที่สุด เก่งกว่า อีก ๕ คนที่ได้คะแนนน้อยกว่าขนาดไหน???
จะเห็นได้ว่าข้อสอบมันง่ายมาก จนแทบจะไม่สามารถจำแนกคนที่เก่งจริงๆ กับคนที่ไม่ค่อยเก่งออกจากกันได้เลย (อย่าลืมว่ามันจะมีค่าความคลานเคลื่อนเข้ามาอีก เพราะฉะนั้นคนที่ได้คะแนนต่างกันเพียงเล็กน้อย ก็อาจจะเก่งเท่าๆ กัน)
เพราะฉะนั้นข้อสอบที่ใช้ในการวัดและประเมินผลแบบอิงกลุ่ม (แบบที่ใช้ในการสอบเข้าทั่วๆ ไป โดยเฉพาะในกรณีโควต้านี้) ไม่ควรง่ายเกินไป
2. ถ้าข้อสอบยากเกินไป ทุกคนก็จะได้คะแนนน้อยๆๆ เท่าๆ กันหมด เพราะฉะนั้นก็มีค่าความจำแนกต่ำเช่นเดียวกัน
3. สรุปว่าข้อสอบที่ใช้ในการวัดและประเมินผลแบบอิงกลุ่ม ไม่ควรมียากหรือง่ายเกินไป แต่ควรมีความยากระดับปานกลาง ค่อนไปทางยาก
ทั้งนี้เพราะเราต้องการจำแนกคนที่เก่งมากๆๆๆ กับคนที่เก่งมาก ออกจากกัน (คนเก่งมากๆๆๆ กับเก่งมาก จะได้คะแนนที่ต่างกันพอสมควร จึงเป็นข้อสอบที่มีค่าความจำแนกสูง เมื่อเลื่อกเอาคนที่เก่งที่สุดจำนวนหนึ่งออกมา ก็จะเป็นการประเมินที่ความเที่ยงตรงสูง มีความคลาดเคลื่อนต่ำ)
น้องโทนี่บอกว่าง่าย แต่คนอื่นอาจบอกว่ายากก็ได้นะ นักวิชาการจะไม่เชื่อที่ความรู้สึก เค้าจะมีวิธีวัดของเค้า โดยเอาข้อสอบแต่ละข้อมาดูจำนวนคนที่ทำได้ ถ้าข้อสอบนั้นมีคนทำได้เยอะ แสดงว่าง่าย ถ้าข้อไหนทำได้น้อย แสดงว่ายาก เค้าจะมีวิธีการคำนวณเป็นตัวเลขออกมา
และสามารถหาค่าความยากของข้อสอบทั้งฉบับออกมา
สรุปว่า ไม่ว่าข้อสอบวิชาอื่น นอกจากวิชาปฏิบัติ ยากหรือง่าย ลุงเจมส์ก็สอบไม่ติดอยู่ดี ๕๕๕๕
เพราะวิชาปฏิบัติมันแค่ 25% ของทั้งหมดเท่านั้น | โดย: ป๋า [28 พ.ย. 50 21:54] ( IP A:124.120.131.93 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 15 อิๆๆ ล่อแหลมมาก ไม่วิจารณืดีกว่าอ่ะป๋า การหาความยากง่ายของข้อสอบ นั้นต้องใช้เทคนิคการวัดผลประเมินผลหลายอย่าง โดยปกติความยากง่ายของข้อสอบ น่าจะใช้เทคนิค 5 % อะไรทำนองนั้น การสร้างข้อสอบมาตรฐาน การสร้างข้อสอบคู่ขนาน (วุ่นวายไปหมด) เดาๆเอานะ ที่ Tony ซังว่าง่ายหรือยากนั้น คำตอบง่ายคือ Tony ซังได้รับการ ติวจาก เซียนๆที่จบจากจุฬาฯ มานั้นเอง ทำให้ดักทางปืนของเหล่าคณจารย์จุฬาฯ ได้ถูก หากผมหางเต่ามวยวัด ออกข้อสอบให้ Tony ซัง สอบ คงโดนท่า นางพญาเข่าลอย สลบกลางอากาศ เป็นแน่แท้ อิๆๆ (ล้อเล่นนะครับ)
สรุปคือ ลุงเจมส์สอบๆไม่ติดแน่นอน แต่ลุงเจมส์ก็ได้รับ ดุษฎีบัณฑิตเป็น ดอกเตอร์ ไปแล้วอ่ะ ป๋า ..อิๆๆ | โดย: หางเต่า [28 พ.ย. 50 22:36] ( IP A:58.64.103.217 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 16 มองต่างมุมครับ (ไม่ได้ขัดไม่ได้แย้งนะครับ) ^^ จะพูดเรื่องที่ไม่ดีว่าเป็นเรื่องที่ดีกันไปใย เร็วมาทำเรื่องที่ดีที่บัณฑิตควรทำกัน | โดย: นาย [29 พ.ย. 50 1:31] ( IP A:58.8.79.98 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 17 ขอบคุณพี่ Tony นะ ที่แนะนำ เดียร์ก็ขอบคณิตศาสตร์อะ แต่ว่ารักฟลูตมากกว่า *0* แต่ถ้าจะให้เดียร์สอบฟลูตเข้าคงไม่ไหวอะ - -*
...............................................
ว่าแต่พี่ Tony ตัดสินใจขายให้เดียร์มะ -*- อยากได้จริงๆ จะได้เรียนกับป๋า *0* | โดย: เดียร์ [29 พ.ย. 50 5:52] ( IP A:124.120.97.30 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 18 ขอโทษนะครับ ยังไม่ได้ตัดสินใจขายเลย
(และถ้าขาย ก็คงไม่ถูกซักเท่าไหร่หรอกครับ น้องเดียร์ 55)
สำหรับพี่หางเต่าที่บอกว่าได้รับการติวมาจากเซียน ๆ ที่จบจากจุฬาฯ เลยทำได้ อันนี้เป็นความจริงแค่ทฤษฎีดนตรีและประวัติศาสตร์ดนตรีครับ เพราะเรียนกับ อ.เมิร์ฟ ที่บ้านฟลู้ทมา (โฆษณาอีกแล้ว)
จริง ๆ แล้วโทนี่ไม่ใช่คนเรียนเก่งเท่าไหร่ครับ อยุ่ระดับกลาง ๆ ค่อน ๆ ทางโง่เล็กน้อย เหอ ๆ แต่ที่บอกว่าภาษาอังกฤษง่ายมาก คือง่ายจริง ๆ ครับผม จะยกตัวอย่างโจทย์ที่จุฬาฯให้ดูนะครับ ที่จำได้แม่นมากมีสองข้อ
1. มีป้ายร้านอาหาร หลาย ๆ ป้าย (และป้ายนึงมีรูปพิซซ่าอยุ่) แล้วโจทย์ถามว่า ถ้าอยากจะกินพิซซ่าให้ไปร้านไหน ... โทนี่อ่านข้อนี้แล้วเครียดเลยครับ
2. มีจดหมายมาให้ดู และตรงท้ายมีลงชื่อคนเขียน (ปกติมันก็ต้องเป็นงั้น) แล้วโจทย์ถามว่า ใครเป็นคนเขียน และคำตอบที่ให้เลือกก็มีชื่อของคนเขียนอยุ่โต้ง ๆ ให้ตอบเลย
แต่จริง ๆ แล้วที่ว่าง่ายหรือยากนั้นมันก็อาจจะแล้วแต่คนอย่างที่ อ.ป๋า บอกครับ | โดย: Tony [29 พ.ย. 50 19:35] ( IP A:58.64.82.176 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 19 ผมว่าอัดเทปเป็นเสียงได้ปะ ยาวจัดขี้เกียจอ่านอะ | โดย: ชัย [30 พ.ย. 50] ( IP A:125.24.208.209 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 20 ไม่ถูกต้องนะครับป๋า
ที่ป๋าพูดมานั่นมันคือการสอบที่เรียกว่า รับตรง ส่วนวิธีรับโครงการศิลปะดีเด่น(โควต้า)ของครุ เค้าจะเรียงลำดับตาม คะแนนปฏิบัติ และวิชาความรู้ทั่วไปต้องผ่านเกณฑ์ที่กำหนดครับ ที่มา: สอบถามจากหัวหน้าสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุฯ จุฬาฯคับ
ฉะนั้นถ้า James Galway มีความรู้วิชาทั่วไป ก็สอบติดอย่างแน่นอน!!! | โดย: Nurng [30 พ.ย. 50 23:20] ( IP A:58.8.115.34 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 21 หมายความว่า วิชาความรู้ทั่วไปทั้ง ๓ วิชา เป็นการประเมินแบบอิงเกณฑ์เหรอ? อิงกลุ่มเฉพาะวิชาปฏิบัติ?
ป๋ากำลังจะเสนอให้เป็นแบบนั้นอยู่พอดี
ขออภัยถ้าเข้าใจผิด ฟังมาจาก Bas น่ะ บาสเป็นคนสอบ ป๋าอาจผิดเองที่ไม่ตรวจสอบดูจากต้นสังกัด เพราะไม่นึกว่าจะผิด
อย่างไรก็ตาม ความจริงที่ป๋าจะเสนอนี่ ไม่ใช่แค่อยากให้วิชาความรู้ทั่วไปทั้ง ๓ วิชาเป็นการประเมินแบบอิงเกณฑ์เท่านั้น แต่วิชาปฏิบัติที่เป็นการประเมินแบบอิงกลุ่ม ไม่ควรกำหนดคะแนนที่ 85 ว่าเป็นการผ่านเกณฑ์ด้วย
เข้าใจปะ?
ในเมื่อวิชาปฏิบัติเป็นการประเมินแบบอิงกลุ่มอยู่แล้ว จะกำหนดคะแนนที่ผ่านเกณฑ์ไว้ทำไมอีก?
มันไม่เห็นจะมีเหตุผลที่จะต้องกำหนดคะแนนผ่านเกณฑ์เลยหนิ???
นอกจากนั้น การกำหนดคะแนน 85 ว่าผ่านเกณฑ์ ถือว่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูง จะทำให้มีค่าความจำแนกต่ำ (อย่างที่อธิบายไปแล้ว)
อีกอย่างที่สำคัญมากๆๆๆๆ ก็คือ ทำไมคนที่สอบไม่รู้ว่าคณะประเมินแบบนี้ ทำไมจึงก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ขนาดนี้???
เพราะไม่ใช่ Bas ไม่รู้คนเดียว Tony ที่สอบด้วยก็ไม่รู้เหมือนกัน
ตามหลักการวัดและการประเมินผล คนที่ถูกวัดและประเมินจะต้องรู้ว่าวัดและประเมินแบบไหน (ถ้าไม่รู้ว่าวัดและประเมินแบบไหน จะเตรียมตัวสอบยังไง???)
ป๋าว่าถ้า Bas บอกผิดนี่ ไม่น่าใช่ความผิดของ Bas แน่นอน
คราวต่อไปทางคณะจะต้องทำให้คนถูกวัดและประเมินรู้อย่างชัดเจนว่าวัดและประเมินแบบไหน
-----------------------------------------------------
คิดไปคิดมา มันจะเป็นการประเมินแบบอิงกลุ่มวิชาปฏิบัติ แล้วอิงเกณฑ์อีก ๓ วิชาที่เหลือจริงเหรอ?? (มันไม่เห็นมีเหตุผลที่จะต้องกำหนดคะแนนวิชาปฏิบัติว่าผ่านเกณฑ์ที่ 85 เลยหนิ???)
เข้าใจปะ?
ที่ป๋าอยากจะเสนอคือ
ประเมินแบบอิงกลุ่มวิชาปฏิบัติ (โดยไม่ต้องกำหนดคะแนนผ่านเกณฑ์ไว้) และ ประเมินแบบอิงเกณฑ์วิชาอื่นอีก ๓ วิชาที่เหลือ
โดยถ้าคะแนนวิชาความรู้ทั่วไปทั้ง ๓ วิชาผ่านแล้ว จึงให้เอาเฉพาะคะแนนปฏิบัติมาประเมินเป็นครั้งสุดท้ายว่า ใครได้คะแนนสูงสุด 7 คน (ในกรณีที่รับ 7 คน)
โดยไม่ต้องไปสนใจวิชาความรู้ทั่วไปทั้ง ๓ วิชานั้นว่าแต่ละคนได้คะแนนเท่าไหร
ที่ป๋าฟังมานี่มันไม่ใช่แบบนี้เลยนะ ที่ Nurng ไปสอบถามมา ก็ไม่มีแนวโน้มว่าจะเป็นแบบนี้
การกำหนดคะแนนที่ 85 ในวิชาปฏิบัติ มันคล้ายๆ กับว่า ถ้าได้คะแนนถึง 85 แล้วค่อยเอาคะแนนนี้ไปรวมกับคะแนนวิชาที่เหลืออีก 3 วิชา แล้วได้เป็นตัวเลขสุดท้ายออกมา คนที่ได้คะแนนสูงสุด 7 คน ก็จะสอบติด
(ถ้าประเมินด้วยวิธีนี้ลุงเจมส์ก็อาจจะสอบไม่ติดอยู่ดีนะ - แม้ว่าข้อสอบแบบอิงเกณฑ์จะไม่ต้องยากนักก็ตาม) | โดย: ป๋า [1 ธ.ค. 50 1:06] ( IP A:124.120.137.58 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 22 การกำหนดคะแนนที่ 85 ในวิชาปฏิบัติ มันคล้ายๆ กับว่า ถ้าได้คะแนนถึง 85 แล้วค่อยเอาคะแนนนี้ไปรวมกับคะแนนวิชาที่เหลืออีก 3 วิชา แล้วได้เป็นตัวเลขสุดท้ายออกมา
คนที่ได้คะแนนสูงสุด 7 คน ก็จะสอบติด
----------------------------------------------------
ขยายความอีกนิดนะ จะได้ชัดๆ
- การกำหนดคะแนนปฏิบัติที่ 85 จะทำให้มีค่าความจำแนกต่ำ (ไม่สามารถจำแนกคนที่เก่งมากๆๆๆ กับคนที่ไม่ค่อยเก่งออกจากกันได้อย่างชัดเจน)
- วิชาความรู้ทั่วไปที่เหลือ ๓ วิชา แม้ว่าจะเป็นการประเมินแบบอิงเกณฑ์ (ซึ่งข้อสอบไม่ต้องยากนัก -แต่จะมีค่าความจำแนกค่อนข้างต่ำอยู่แล้วโดยธรรมชาติ)
ถ้าเอาคะแนนทั้ง ๓ วิชานี้ไปรวมกับวิชาปฏิบัติด้วย ก็จะทำให้การสอบทั้งหมดมีค่าความจำแนกต่ำ และคนที่เก่งที่สุด (คะแนนปฏิบัติสูงสุด) ก็อาจไม่ได้คะแนนดีที่สุด และเป็นไปได้ว่าจะสอบไม่ติดด้วย
- นอกจากนั้น ถ้าน้ำหนักของคะแนนมันเป็น วิชาปฏิบัติ 100 คะแนน วิชาที่เหลืออีก ๓ วิชา วิชาละ 100 คะแนน
แบบนี้ก็ยังเท่ากับว่า คะแนนวิชาปฏิบัติมันแค่ 25% ของทั้งหมดเท่านั้น
เพราะฉะนั้นลุงเจมส์ก็อาจสอบไม่ติดอยู่ดีนะ
สรุปว่า ปัญหามันมีอยู่ ๒ อย่างคือ ๑. ค่าความจำแนกต่ำ ๒. น้ำหนักของคะแนนไม่เหมาะสม
ถ้าไม่มีปัญหาทั้ง ๒ อย่างนี้ก็ควรถือได้ว่าเป็นการวัดการประเมินผลที่ดี
ช่วยถามอีกทีให้ชัดๆ ก็จะดีนะ มันเป็นไปได้อย่างไรที่คนสอบยังไม่รู้เลยว่าตัวเองถูกวัดและประเมินแบบไหน
ถือว่าถามเผื่อไว้ปีหน้าด้วย | โดย: ป๋า [1 ธ.ค. 50 1:26] ( IP A:124.120.137.58 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 24 ? อืม...ควรให้ผู้ที่รับผิดชอบเรื่องนี้มาอธิบายนะครับ ปล่อยให้เป็นแบบนี้ไม่ดี จะทำให้เข้าใจผิดเจตนากัน ไม่ว่าจะเกี่ยวกับความสามารถอย่างอื่นเช่นที่เขียนในหนังสือเรื่องไวโอลินของไอน์สไตน์ หรือแม้ว่าเป็นความจริงที่การประเมิณผลนั้นไม่ครอบคลุม และจริงอยู่ว่าเราควรเอาคนเก่งแต่คนเราเก่งไม่เหมือนกันครับไม่ว่ายังไงก็ตามซึ่ง ... แล้วผลสำเร็จทางการศึกษาละครับหรือคนละเป้าหมายกับคำว่าบัณฑิต หรือว่าไม่สนใจกัน ซึ่งสิ่งที่ควรทำนั้นมีอยู่แล้วไม่ต้องเสียเวลากับเรื่องนี้ยิงทำให้เกิดปัญหา | โดย: นาย [1 ธ.ค. 50 23:13] ( IP A:58.8.79.30 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 25 อุบ... เปลี่ยนจาก ไม่ต้องเสียเวลา เป็นไม่ควรเสียเวลาครับ ^^ | โดย: นาย [1 ธ.ค. 50 23:24] ( IP A:58.8.79.30 X: ) |  |
|