จำชื่อไม่ได้
   เป็นไม้สีน้ำตาลอ่อนที่บอกเล่าไว้ ช่อใหญ่ประมาณลูกบาส กลิ่นหอมแบบไทย..

โดย: เจ้าบ้าน [27 พ.ย. 57 17:51] ( IP A:125.27.21.90 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   สีแปลกดี..
ช่อใหญ่ด้วย..

ถ้ามีที่จะต้องปลูกแน่ๆ

อยากมีต้นลีลาวดีต้นใหญ่ๆ ไว้ในบริเวณบ้าน

มันคลาสสิกดีค่ะ
โดย: บุหลันแรม [14 ธ.ค. 57 22:19] ( IP A:118.175.247.206 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   อ่านคำว่า "กลิ่นหอมแบบไทย.." ที่เจ้าบ้านบรรยายไว้ ก็นึกขำเลยครับ
อยากรู้ว่ากลิ่นหอมแบบชาติอื่นๆนี่มันเป็นยังไงนะ กลิ่นสัมผัสมันน่าจะเป็นสากลนะพี่
หรือพี่จะเถียงว่า เหม็นแบบไทย มันหอมกว่าเหม็นแบบอเมริกา ฮ่าๆๆ
โดย: หน่อง [16 ธ.ค. 57 15:02] ( IP A:103.10.230.22 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   

ลั่นทมมันแตกต่างกันทางด้านกลิ่นคุณหน่อง ถ้าคนชอบลั่นทมแล้วเคยปลูกและศึกษามาบ้างจะเข้าใจครับ หอมแบบไทย กลิ่นจะคล้ายๆพวกดอกราตรี ซ่อนกลิ่น หรือไม้ไทยดอกหอมส่วนมาก ทั้งจันกระพ้อ บุนนาค มะลิ กลิ่นจะคล้ายคลึงกัน

 

ส่วนหอมแบบไม้นอก ส่วนมากกลิ่นจะคล้ายเครื่องเทศที่ปรุงอาหารของฝรั่ง ซึ่งแตกต่างจากกลิ่นแบบไทยๆที่คุ้นจมูกมาก แต่มีไม้นอกพันธุ์แท้หลายตัวเหมือนกันที่กลิ่นหอมแบบไม้ไทย ..

มีไม้อยู่ตัวนึงครับ ถ้าคุณหน่องได้ดมจะนึกถึงความหอมแบบบาหลีหรือแบบแขก บาหลีไฮโกล์ด  หรือกลิ่นหอมแบบกุหลาบก็มี เวร่า ครู๊ซโรส  บางตัวหอมเหมือนชงโกโก้ร้อนๆ ตอนเช้า  ความหอมของลีลาวดีเป็นเรื่องที่มีความหลากหลาย หอมแบบไม้ไทย กับหอมแบบไม้เทศ แตกต่างกันครับ  แต่เรื่องเหม็นนี่แยกไม่ออกครับ ไม่เคยดมกลิ่นฝรั่งเหม็นๆ เคยดมแต่แหม่มหอมๆ 5555...

โดย: อรรถพล [16 ธ.ค. 57 20:15] ( IP A:125.27.21.31 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   ถ้าพี่อรรถพลยกตัวอย่างความเป็นเอกลักษณ์ของกลิ่นด้วยกลิ่นของอาหารที่แตกต่างกันด้วยเครื่องปรุง เครื่องเทศ อันเป็นตำรับของแต่ละถิ่นแต่ละภูมิภาค ก็พอจะเข้าใจถึงความต่างได้ชัดครับ
ผมสัมผัสพรรณไม้น้อยกว่าพี่อย่างเทียบกันไม่ได้ ต้องยอมรับครับ ว่ากลิ่นหอมของพรรณไม้น่าจะมีนัยสำคัญที่บ่งชี้ตามสายพันธุ์ได้
โดย: หน่อง [18 ธ.ค. 57 15:32] ( IP A:103.10.230.22 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน