ขอรบกวนถาม ไม้ด่างที่ดี สวย นั้น เขาดูกกันอย่างไรคะ
|
ความคิดเห็นที่ 6 มีคำถามภาคต่อไปอีกด้วยคะ โยงไป คู่กับ albo. ก็ต้องพวกด่างที่เป็น var. .ไช่ไหมคะ ตั้งภาพของคุณหน่อง Neo. 'Yin' กับ Neo 'Yang' รอไว้ล่วงหน้าเผื่อๆ ท่านใดมีประสบการ์ณ มาแบ่งกัน ... วันนี้แค่นี้ก่อน สวัสดีทุกๆท่านคะ | โดย: มาลี2545 [23 มี.ค. 56 22:54] ( IP A:72.184.239.13 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 7 มาเข้าคิวรอฟังด้วยคนครับ
| โดย: pongpan [25 มี.ค. 56 22:37] ( IP A:110.77.183.213 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 8 ผมคิดว่าด่างดี ด่างสวย คือความสม่ำเสมอของรอยด่างบนใบ และความสุขของคนเล่นไม้ด่าง อาจจะเลยไปถึงความคงที่ในการถ่ายถอดพันธุกรรมไปยังรุ่นหน่อด้วย จากหมายเลขที่พี่มาลีกำกับในภาพคห.2 อาจจะยังมีความเข้าใจไม่ตรงกันนิดหน่อย รอยด่างของต้นในคห.2 ถือเป็นด่างนอก ที่เรียกว่า albomarginated ครับ ไม่จำเป็นที่จะต้องให้มีรูปแบบคงที่แบบใบเลข1-2 เป๊ะๆ ให้รอยด่างสีขาวอยู่ที่ขอบใบเป็นสำคัญ (margin) แล้วจะมีเส้นขาว หรือสีเขียวเล็กๆ แซมนิดหน่อย ก็ไม่เป็นไรครับ แต่ถ้าเป็นด่างใน ก็รอยด่างจะสลับกลับเข้ามาอยู่ข้างใน กึ่งกลางใบ แล้วอาจจะมีเส้นด่างหรือเส้นเขียว แซมนิดหน่อย ส่วนด่างแบบ lineata หรือ striata ก็คล้ายๆกัน ผมแยกไม่ออกว่าแบบไหนควรใช้ชื่อไหน สรุปว่าเป็นลายเส้นเล็ก ตามแนวยาวของใบ (เหนือ-ใต้) ทั่วทั้งใบครับ
| โดย: หน่อง [26 มี.ค. 56 14:37] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 9 ขอเอาภาพสับปะรดสีของสวนนายดำมาแสดงนะครับ ต้นนี้เป็นด่างใน variegated ที่ผมคิดว่าสวยครับ เพราะด่างทุกใบ และมีสัดส่วนของรอยด่างกับสีเขียวพื้นใบสม่ำเสมอดี
| โดย: หน่อง [26 มี.ค. 56 14:42] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 10 ต้นนี้ก็ด่าง variegated แม้แถบขาวด่างข้างใน จะแคบกว่าต้นเมื่อกี๋ แต่ก็ด่างทุกใ และคงอัตราส่วนของรอยด่างคงที่ดี
| โดย: หน่อง [26 มี.ค. 56 14:44] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 11 ด่าง albomarginated ที่ครบทุกใบ และ สม่ำเสมอดีครับ
| โดย: หน่อง [26 มี.ค. 56 14:45] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 12 ภาพนี้ไม้ที่บ้านผมเอง ตัวอย่างของด่างแย่ๆครับ ไม่เสถียรเอาซะเลย ใบด้านบนของภาพ เริ่มไม่มีรอยด่าง
| โดย: หน่อง [26 มี.ค. 56 14:48] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 13 ด่างขอบ albomarginated ที่บาง เป็นเส้นน้อยๆแบบนี้ ก็มีโอกาสที่จะกลายเป็นไม่ด่างสูงครับ
| โดย: หน่อง [26 มี.ค. 56 14:49] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 14 ไม้ด่างหลายต้นไม่ค่อยคงที่ อย่าง Neo.'Sand Flea' ต้นขวามือนี้ เริ่มกลายเป็นไม้ที่ไม่ด่าง แต่หน่อใหม่ซ้ายมือ กลับด่างดีขึ้นครับ
| โดย: หน่อง [26 มี.ค. 56 14:51] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 15 Neo.'Morado' สายพันธุ์นี้ ผมว่าเชื้อสายค่อนข้างจะนิ่งดีครับ ไม่ค่อยกลาย
| โดย: หน่อง [26 มี.ค. 56 14:52] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 16 ด่างมากๆที่กลายเป็นไม้เผือก อ่อนแอมาก แยกไปปลูกก็ตาย
| โดย: หน่อง [26 มี.ค. 56 14:54] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 17 จาก Neo.marmorta Albo-marginated ต้นแม่ที่มีลายแดงๆบนใบ กลายเป็นแบบนี้เลยครับ
| โดย: หน่อง [26 มี.ค. 56 14:56] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 18 Ae.'Jubilee' ด่างที่กำลังกลายเป็นไม่ด่าง
| โดย: หน่อง [26 มี.ค. 56 14:58] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 19 ผมไม่ค่อยสนใจไม้ด่างสักเท่าไหร่ จะเป็นไม้สี ไม้ลาย หรือไม่ด่าง อะไรก็ได้ ถ้าถูกใจ ราคาพอรับได้ ก็โอเคครับ ที่สำคัญขอให้เป็นไม้ที่สุขภาพแข็งแรงก่อน และไม่ด่าง ตามทฤษฎีคือไม้ที่มียีนส์ด้อย จะเลี้ยงยากกว่าไม้ทั่วๆไปที่แข็งแรงดีครับ คห.3 ของพี่มาลี ถ้าดูใบที่อยู่ตรงกลางภาพ ปลายชี้ขึ้นบน จะเห็นว่ารอยด่างขอบใบด้านซ้าย จะเล็กกว่าทางขวา แบบนี้เป็นสัญญานว่าไม่นิ่งครับ มีโอกาสกลายกลับสูง
| โดย: หน่อง [26 มี.ค. 56 16:44] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 20 ต้องขอบคุณพี่มาลี ที่ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา
ขอบคุณพี่หน่อง ที่นำภาพไม้ด่าง ที่โตแล้ว กลับเปลี่ยนไป
มันเป็นการเตือนสติผม เรื่อง "ไม้ด่าง" ครับ
.
| โดย: นัท-บางใหญ่ [26 มี.ค. 56 16:44] ( IP A:203.151.40.8 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 21 เท่าที่ดูชื่อของ Neo. ใบด่างมา ผมว่าส่วนใหญ่มักจะมี Neo,.carolinae variegated เป็นคู่ผสม อยากเห็นภาพของพันธุ์นี้จังครับ คุณ Skotak แกคงจะหวงมากๆ..
Neo.( carolinae x concentrica ) x 'Angelita' (variegated- Michael Kiehl)
| โดย: หน่อง [26 มี.ค. 56 16:48] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 22 สำหรับผมตอนนี้ ด่างนิ่งๆ สวย ราไม่แรง เป็นตัวเลือกแรก ครับ
.
ส่วนเจ้าต้นนี้ เริ่มหมดแรงด่าง ยอดแปลกไป แถมไม่ออกดอก ตอนนี้ให้หน่อมา 3 หน่อ ด่างเส้นเล็กๆ อีก
พี่หน่อง ทราบไหม ว่ามันเป็นอะไร .
| โดย: นัท-บางใหญ่ [26 มี.ค. 56 16:52] ( IP A:203.151.40.8 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 23 ผมชอบไม้ใบสีดำ-แดง ลายคล้ายด่างแบบ Neo.'Pemiento', Neo.'Margaret' หรือ Neo.'Kahala Dawn' ภาพนี้ แต่บางคนไม่นับเป็นไม้ด่าง ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะจะนิยามให้คำว่าไม้ด่าง หมายถึงเฉพาะรอยด่างสีขาวหรือเหลืองเท่านั้นหรือเปล่า ?
| โดย: หน่อง [26 มี.ค. 56 16:52] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 24 Neo.marmorata ที่เป็นชนิดด่าง ไม่ว่าจะด่างนอกหรือด่างใน ผมได้ยินกิตติศัพท์เรื่องความเพี้ยนของมัน จนเจอกับตัวเองด้วย เชื่อว่ามันกลายได้ง่ายมาก แบบที่คุณนัทเจอนั่นแหละครับ | โดย: หน่อง [26 มี.ค. 56 16:54] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 25 เรื่องลักษณะด่างของสับปะรดสี มีประเด็นอื่นๆที่เกี่ยวข้องด้วย ผมอ่านหนังสือของ Mr. John Catlan เกี่ยวกับเรื่องนี้ ยังแปลผิดๆถูกๆ เอาไว้มีโอกาสจะนำมาเผยแพร่ต่อนะครับคุณนัท เขาว่าความชื้นในอากาศก็มีส่วนที่ทำให้มันกลาย ดดยเฉพาะ Cryptanthus 'It' บางชนิดก็ต้องใส่ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอครับ
| โดย: หน่อง [26 มี.ค. 56 16:57] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 26 Neo.'Yin' & 'Yang'Update ครับ
| โดย: หน่อง [26 มี.ค. 56 16:58] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 27 Neo.'Yin' ต้นนี้ผมลองเลี้ยงแบบใส่ปุ๋ยละลายช้า ไม่ให้ขาด ทีแรกกะว่าจะให้ใบมันยาว ต้นใหญ่ แต่ตอนนี้เห็นแผลที่ขอบใบ แสดงอาการติดเชื้อรา ผมคงจะงดปุ๋ยไม่ได้แล้วจริงๆ ไม่งั้นอาจจะไม่มีภูมิต้านทานโรคไปเลย
| โดย: หน่อง [26 มี.ค. 56 17:00] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 28 Bromelia serra forma variegata หนามโหด ที่รอยด่างน่าจะเป็นแบบ albo-marginata มากกว่า แต่ทำไมถึงเรียกว่า variegata หรือด่างข้างในนะ ? ต้นนี้บ้างก็ว่ามีบางสายเรียกชื่อว่า Bromelia pinquin variegata ซึ่งบางคนก็ว่ามันคือชนิดเดียวกัน..
| โดย: หน่อง [26 มี.ค. 56 17:05] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 29 
| โดย: หน่อง [26 มี.ค. 56 17:06] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 30 เพียงคุณมีความสุขกับสิ่งที่คุณมีก็พอแล้วครับ
| โดย: หน่อง [26 มี.ค. 56 17:06] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 31 แบบนี้เขาเรียกว่า "ด่างจม"ครับ รอยด่างจางๆ คล้ายซึมอยู่ในเนื้อใบ ต้นนี้เป็น Ae.blanchetiana variegated ไม้นำเข้าครับ รุ่นหน่อด่างยิ่งจมลึกเลยครับ ระวังถอนตัวไม่ขึ้นกันนะครับ มันไม่ดี..
| โดย: หน่อง [26 มี.ค. 56 17:09] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 32 ขอบคุณ คุณหน่องมากๆคะ ที่สละเวลามาให้ความรู้เรื่องไม้ด่าง ได้สติเรื่องด่างหาย ที่ไม่เคยทราบมาก่อน ได้ความรู้เรื่อง เรื่องด่างเสมอ และที่สำคัญ คือการมีความสุขกับสิ่งที่เรามีอยู่..อยากมากไปก็จะกระสับ กระส่าย ความสุขหดหายหมด | โดย: มาลี2545 [26 มี.ค. 56 18:08] ( IP A:72.184.239.13 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 33 คห. 12 นั้น ถึงจะเป็นด่างแย่ๆ แต่ลายของเสือก็มาแรง เด่นมากนะคะ คุณหน่องผสมเองหรือเปล่าคะ หากสลับ พ่อ-แม่ กันคงน่าชม นี่แหละคะที่อยากให้ไม้ที่บ้านออกดอกพร้อมกัน อยากผสมเล่นๆบ้าง คงเพลิน และลุ้นกันสนุกเลย
นึกอยู่ว่าจะถามเรื่อง เสือ+ด่าง = เสือด่างนี้ แต่ไม่มีตัวอย่างภาพจะนำคำถาม ได้จังหวะพอดีเลยคะ หากคุณหน่องพอมีเวลาเล่า เรื่องเสือด่างบ้าง ก็คงได้ความรู้เพิ่มอีก เวลาดูภาพจากในเว็บจะได้ ใช้เป็นพื็นฐาน ทบทวนไปเรื่อยๆ | โดย: มาลี2545 [26 มี.ค. 56 18:28] ( IP A:72.184.239.13 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 34 ดูภาพ คห.12 หลายครั้ง ทำให้เกิดคำถามอีกคะ ว่านักผสมพันธุืไม้ที่เขาผสม เสือไม่ด่าง นั้น นอกจากไม้พันธุ์ใหม่สู่ตลาดแล้วจริงๆ เขาตั้งความหวังอะไร ส่วนตัวดู. Neo. 'Norman Bates' x 'Blushing Tiger' (Skotak) ทั้ง2 ต้นนี้ไม่มีสักต้นคะ 555 ก้เป็นเสือไม่ด่าง (หากเข้าใจผิด รบกวนแก้ไขให้ด้วยคะ) ที่สวยถูกใจมากๆเลยคะ ทั้งลาย ขนาด และฟอร์มที่ compact มากกว่า เสือทั่วไป ใบห่อ กระชับ ไม่กางกว้าง ลายพาดกลอนก็ได้สีดำ+แดงจากพ่อและแม่มาแล้ว คือออก สีเลือดนกแล้ว ตามสายตาของตนเองนะคะ แต่ก้ไม่ทราบว่าเขาผสมมากี่รุ่นแล้ว และการถ่ายทอดพันธุ์กรรมนั้น เริ่มคงที่หรือยัง
..คงต้องรบกวนถามคุณหน่อง และทุกๆท่านเพิ่ม ว่า เรื่องการดู เสือไม่ด่างอีกเรื่องคะ การดูลายเสือนั้น นอกเหนือจากความชอบพอใจของแต่ละคนเป็นส่วนตัวแล้ว การเลือกนั้น ควรดูการถ่ายทอดลายเสืออย่างไร ถี่มาก ถี่น้อย หรือ สี สรรจากต้น พ่อ-แม่ (มากไปไหมคะ) หรือได้อย่าใด อย่างหนึ่งจากพ่อหรือ แม่ก็ถือว่าโอเค เกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆเหล่านี้ ส่วนตัวแล้วถือว่าเป็นพื้นฐานดี ที่ควรคิดนำไปใช้เสมอก่อนนำไม้เข้าบ้าน อย่างน้อยหากไม้กลายไป ก็ทราบสันนิฐานถึงเหตุผลได้
หากเพื่อนๆมีภาพก็รบกวนด้วยคะ นอกจากของคุณหน่อง กับ พี่ Pongpan แล้วไม่กล้าใช้ภาพของท่านอื่น เดี๋ยวเข้าใจผิด คิดว่าเราไปกล่าวว่าต้นไม้เขาไม่งาม จะหมางใจกัน แก้ไขลำบากคะ | โดย: มาลี2545 [26 มี.ค. 56 23:02] ( IP A:72.184.239.13 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 35 เสือด่าง คห.12ผมซื้อต่อจากเขามาอีกทีครับพี่มาลี2545 | โดย: หน่อง [27 มี.ค. 56 12:44] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 36 "ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น"ครับพี่มาลี2545 ต้นพันธุ์เป็นอย่างไร ก็ย่อมถ่ายทอดลักษณะของพันธุ์นั้นๆไปย้งรุ่นลูกไม่มากก็น้อย การรู้ชื่อของต้นแม่ x ต้นพ่อจึงช่วยให้เราเดาได้บ้างครับ ผมเคยรับรู้มาว่าต้นแม่ที่ถือฝักจะเป็นตัวถ่ายทอดลักษณะของต้น เช่นขนาด รูปทรง เป็นต้น ส่วนต้นพ่อ ที่เป็นเจ้าของละอองเรณูจากเกสรตัวผู้ จะถ่ายทอดสีและลายไปให้ลูก แต่ผมว่ามันก็คงจะไม่เสมอไป ดูอย่าง Neo.'Blushing Tiger' x 'Norman Bates' ที่พี่มาลีกำลังพูดถึง ซึ่งปัจจุบันมีต้นที่เขาคัดไปตั้งชื่อเฉพาะแล้ว ในนาม Neo.'Calinite' ภาพนี้เป็น Neo.'Blushing Tiger' x 'Norman Bates' (Grex) ซึ่งผมคิดว่ามันได้สีของต้นแม่ ('BT')ซะมากนะครับ
| โดย: หน่อง [27 มี.ค. 56 17:26] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 37 และภาพนี้เป็นลูกผสมจากพ่อแม่คู่เดิม แต่สลับกลับกันครับ เป็น Neo.'Norman Bates' x 'Blushing Tiger' ผมเพิ่งซื้อมาเลี้ยง ต้นยังเล็ก
| โดย: หน่อง [27 มี.ค. 56 17:29] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 38 ภาพนี้ชื่อ Neo.'Shockwave' ที่เป็นลูกผสมจากแม่ x พ่อเดียวกับต้นข้างบน แต่ตั้งชื่อแล้ว
| โดย: หน่อง [27 มี.ค. 56 17:31] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 39 อยากได้ไม้ลายเสือก็ต้องหาต้นพันธุ์ที่มีลายแบบนั้นครับ ดูผังคู่ผสมตามชื่อที่พี่มาลียกมา ก็จะเห็นว่าบรรพบุรุษล้วนมีลายแทบทั้งนั้น ส่วนจะได้ลายท่ี่ถูกใจหรือเปล่า ก็ขึ้นอยู่กับรสนิยมของแต่ละคน และโชคของผู้เพาะเลี้ยง ว่าจะได้ลูกผสมแบบไหน จากเมล็ดมากมาย
| โดย: หน่อง [27 มี.ค. 56 17:34] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 40 สาอะไรกับต้นที่เขาเรียกชื่อเหมือนกัน แต่มาจากต่างที่ ต่างวิธีเลี้ยงดู หรือได้รับโครโมโซมจากต้นพันธุ์เดิมไม่เหมือนกัน ก็ย่อมแตกต่างครับ ภาพนี้คือ Neo.'Norman Bates' ครับ
| โดย: หน่อง [27 มี.ค. 56 17:37] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 41 นี่ก็ Neo.'Norman Bates' อีกต้นครับ
| โดย: หน่อง [27 มี.ค. 56 17:37] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 42 ผมเริ่มรู้จักภาพของเสือด่างเมื่อราวๆปลายปี ค.ศ.2008 จากหนังสือเล่มนี้ ของพี่มนูญครับ แกสมัครป็นสมาชิกBSI.ครับ
| โดย: หน่อง [27 มี.ค. 56 17:42] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 43 หน้าตาเสือด่างของคุณไมเคิล ที่ประกวดได้รางวัล Best of Show ที่ฟลอริดาเมื่อปี 2007
| โดย: หน่อง [27 มี.ค. 56 17:44] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 44 คราวนั้นคู่ผสม พ่อแม่ของเสือด่างยังไม่มากมายเท่าตอนนี้ครับ
| โดย: หน่อง [27 มี.ค. 56 17:45] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 45 ผมแปลไม่ค่อยออกครับ ขอยกมาทั้งแผงเลยนะครับ
| โดย: หน่อง [27 มี.ค. 56 17:49] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 46 
| โดย: หน่อง [27 มี.ค. 56 17:49] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 47 จากหนังสือเล่มนี้ครับ ได้รับความอนุเคราะห์จากคุณหมอ Udo เมื่อปี 2009 หนังสือบางๆ เล่มเล็กมีไม่ถึง 70 หน้า และมีภาพสีเล้กๆแค่ 4 หน้า ที่ปกนอก ปกใน แต่เนื้อหาสุดยอด..
| โดย: หน่อง [27 มี.ค. 56 17:52] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 48 สารบาญ
| โดย: หน่อง [27 มี.ค. 56 17:52] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 49 ผมค้นหาในอินเตอร์เนท ได้ภาพนี้มา หน้าตาของเจ้าของบทความในหนังสือบรอมิเลียดใต้ต้นมะม่วง ที่ชื่อคุณ John Catlan อาจจะประมาณนี้ แกไม่ได้มีความรู้เฉพาะสับปะรดสีครับ
| โดย: หน่อง [27 มี.ค. 56 17:55] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 50 พักนี้ยุ่งแต่เรื่องเงินกู้ 2.2 ล้านล้าน,เรื่องปตท. , เรื่องพระ ไม่ค่อยได้เข้ามาตอบกระทู้สับปะรดสี เข้ามาเจอของเหม็นพอดี ในรูปสุดท้ายนี่ ดอกที่คลุมหัวอยู๋นี่น่าจะเหม็น แต่หมากผู้หมากเมียสีแดงๆใบใหญ่ๆนี่สวยแฮ่ะ..
ส่วนสับปะรดสีใบด่าง ไม่ว่าจะด่างกลางหรือด่างข้าง ล้วนแล้วแต่มีตัวซ้ำซากคล้ายๆกัน แปลกหน่อยก็มีลายขวาง แต่ก็เหมือนกันหลายตัว ควรเล่นเฉพาะที่ชอบจะดีกว่า ถ้าซื้อทุกชื่อ ทำนายว่าจะต้องเจ๊งครับ
ผมชอบแบบใบสั้น ใบหนาแข็ง หนามห่างใหญ่ ด่างข้างหรือด่างกลางก็ได้ มีลายขวางสักหน่อย แดงก็ได้ ดำก็ดี แต่ทรงต้นต้องใหญ่ไม่ต่ำกว่า.70 -.80 ม . ใครมีไม้ด่างลักษณะแบบที่ว่าแนะนำบ้างครับ | โดย: อรรถพล [27 มี.ค. 56 19:40] ( IP A:125.27.2.13 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 51 ขอบคุณ คุณหน่องมากคะที่นำข้อมูลดีๆมาแบ่ง ขออณุญาติเก็บไว้ใช้ด้วยนะคะ วันก่อนโน้นเพิ่งเห็นชื่อหนังสือเล่มนี้ใน FSCB ยังว่าจะไปห้องสมุดหามาลองอ่านดู ช่างบังเอิญจริงๆที่คุณหน่องมีข้อมูลจากหนังสือเล่มนี้ด้วย
ขอบคุณ คุณหน่องไม่รู้จบ สำหรับผังบันทึกคู่ผสมคู่นี้ เตือนสติและความจำสมัยเรียนวิชาชีวะ ที่คืนความรู้กลับไปให้คุณครูหมดแล้ว ต้องนำกลับมาใช้คะ เพราะเทียบคู่ผสมเดียวกัน แต่มีหลายชื่อที่เขาไปจดทะเบียน เมื่อต้นปีดูรายการไม้ปี 2013 ของ MK ก็ยัง งงๆอยู่ว่า ทำไม พ่อ-แม่เดียวกัน แล้วมีหลายชื่อ คิดว่าตัวเองดูกลับ-ไป-มา จนจำผิดว่าจะจด ไว้ก็ไม่ได้ทำ มาเจอคำตอบจากคุณหน่อง ..มีเรื่องให้ศึกษาเพิ่มเติม หาการบ้านมาทำบ้างหน้าจะดี
ต้องขอคารวะ และนับถือน้ำใจของคุณหน่องที่นำข้อมูล มาแบ่งปัน ให้ผู้ที่ไม่รู้อย่างพี่ ผ่านหน้าจอเผื่อแผ่ไปยังทุกๆท่านที่ผ่านมาและมีโอกาศได้อ่าน อย่างสม่ำเสมอ ไม่หวงแหนเลย และท่านอื่นๆด้วยนะคะ คุณภราดรก็นำคำศัพท์มาให้ และท่านอื่นๆที่ไม่ได้เอ่ยชื่อด้วยคะ ได้อ่านเป็นความรู้เพิ่ม สังคมเล็กๆ ที่แบ่งปัน ความรู้ ประสบการ์ณ ช่วยเหลือกัน อย่างนี้ทำให้สังคมน่าอยู่ และมีความสุขคะ | โดย: มาลี2545 [28 มี.ค. 56] ( IP A:72.184.239.13 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 52 คุณอรรถพล เขียนสั้นๆได้ใจความ ชอบมากคะ ควรเล่นเฉพาะที่ชอบจะดีกว่า ถ้าซื้อทุกชื่อ ทำนายว่าจะต้องเจ๊งครับ น่าจะนำสโลแกนนี้ไปตั้งหมุดเหลืองเตือนทุกๆท่านที่เล่นสับปะรดสี
ชอบเหมือนกันคะ ใบสั้น ใบหนาแข็ง หนามห่างใหญ่ ... แต่ทรงต้นต้องใหญ่ไม่ต่ำกว่า.70 -.80 ม ะ สำหรับเสือชอบขนาดกลางถึงใหญ่ ทรงกระชับ อ้วนๆอวบๆ บึกๆคะ ต้นเล็กยังไม่เจอที่ถูกใจเท่าไร แต่เรื่องด่าง แต่ขอใช้ความรู้ที่ได้รับจากคุณหน่องมาใช้ก่อนนำไม้ด่างเข้าบ้านนะคะ เวลาดูเทียบกับด่างไม่เสมอ จะได้ชื่นใจบ้าง เพราะที่ซื้อไปแล้วก็ชอบทั้งนั้น ด่างจะกลายไปบ้างก็ไม่เป็นไรคะ แถมจะได้ซื่อไม้ยากขึ้นเสียกะตังค์น้อยลงน่าจะดี ..จะขอรอฟังด้วยคะ สำหรับไม้ที่คุณอรรถพล ตามหาอยู่ | โดย: มาลี2545 [28 มี.ค. 56] ( IP A:72.184.239.13 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 54 คห.37 Neo.'Norman Bates' x 'Blushing Tiger' ผมน่าจะซื้อมาจากจ.มหาสารคามครับ ถ้าจำไม่ผิด แต่ไม่ใช่ระยองหรือภาคใต้แน่ๆครับ เลี้ยงแบบอดอยาก ก็เลย Stunt หน่อยครับ แต่ละวิธีก็มีข้อดีข้อเสีย ขึ้นอยู่กับว่าคนเลี้ยงต้องการอะไรครับ ภาพนี้เป็น Neo.((carolinae variegata x 'Fairchild') x 'Bobby Hull') x 'Don Vitus' ที่ด่างเหลือซีกเดียว
| โดย: หน่อง [28 มี.ค. 56 8:14] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 55 
| โดย: หน่อง [28 มี.ค. 56 8:15] ( IP A:61.7.146.26 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 56 สเป็ก สับปะรดสีของพี่อรรพล เหมือนกับของผมเลย หลังจากคบหากับสับระสีมา 2 ปี
ของผมแอบเพิ่ม อีกนิด ต้องเลี้ยงง่าย ไม่เรื่องมาก.....อิอิ
อ้อ... ผมได้ข้อคิดอีกนิด สำหรับไม้ด่าง ถ้าผู้ขาย เชียร์เรื่องด่างดี ด่างสวย เราเล่นได้ครับ (คนขายที่มีประสบการณ์ น่าเชื่อถือนะ) แต่ถ้าไม่ว่าอะไร ขายตามภาพ ตามราคา ต้องพิจารณาให้ดี
.
| โดย: นัท-บางใหญ่ [28 มี.ค. 56 8:55] ( IP A:203.151.40.8 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 57 ช่างเป็นกระทู้ที่ดีจริงๆขอบคุณมากครับที่พี่มาลีตั้งกระทู้และพี่หน่อง ผู้รอบรู้ ช่วยตอบ
เห็นเจ้า Neo.((carolinae variegata x 'Fairchild') x 'Bobby Hull') x 'Don Vitus' ด่างหายแล้วไม่น่าเชื่อแตกต่างจากภาพเก่าที่เคยมาให้ชมมากเลยครับ ผมก็มีต้นหนึ่ง ที่ Neo.((carolinae variegata x 'Fairchild') x 'Bobby Hull') x 'Silver' ด่างกำลังจะหายเช่นกัน
และเอาต้นที่ด่างไม่สวยมาร่วมครับ เป็น หน่อของ Neo. 'DeRolf' ตอนติดอยู่กับต้นแม่ก็ด่างดี พอตัดออกมาเลี้ยงเริ่มกลายในแบบที่เรียกในการซื้อขายว่า ด่างไม่ครบและด่างไม่สวยในต้นเดียวกัน ด่างไม่ครบคือ ใบที่มุมขวาล่างไม่ด่างจึงทำให้ใบด่างไม่ครบทุกใบ ด่างไม่สวยเพราะ แถบขาวตรงกลางใบที่เรียกว่า แบบ variegated เหลือเพียงเป็นเส้นหรือแถบเล็กๆ ไม่กว้างตามที่ควรจะเป็นตามสายพันธุ์ที่ดี ไม้แบบนี้มีพี่คนหนึ่งเรียกว่า ไม้เฝ้าบ้าน เพราะขายไม่ออกครับ แต่ผมชอบเพราะจะเลี้ยงเพื่อทดลองศึกษาหาความรู้ต่อไปครับ
| โดย: wee [28 มี.ค. 56 10:14] ( IP A:202.28.24.91 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 58 สวัสดีคะ คุณ wee ด่างเฝ้าบ้าน ช่างตั้งชื่อได้เหมาะดี ที่บ้านมีอยู่บ้างคะเจ้า ด่างเฝ้าบ้านเนี่ย ไม่ค่อยเน้นหากสีสวยก ด่างน้อยก็ไม่เป็นไร
..คห.54 Neo.((carolinae variegata x 'Fairchild') x 'Bobby Hull') x 'Don Vitus' ของคุณหน่อง ฟอร์มสวยจริงๆ ถึงสีและด่างจะจางหายหากเป็นต้นเดิมที่เคยนำมาให้เพื่อนๆได้ชม ก็เห็นความเปลี่ยนแปลงของไม้ด่างตอน top form และหลังจากนั้น เหมือนคนเราจริงๆ สังขารไม่เที่ยง แต่ต้นไม้ยังน่าดูกว่าสังขารของเรา ฮิ..ฮิ.... อยากทราบว่าหน่อต้นนี้จะเป็นเช่นไร หากเมื่อไรคุณหน่องพอมีโอกาศนำมาให้ชมว่า ไม้ด่างต้นนี้หน่อจะถ่ายทอดด่างได้ขนาดไหนกับการเลี้ยงโหดๆ หรือว่าการเลี้ยงแบบนี้จะทำให้การเติบโตของระบบสืบพันธุ์ทำงานไม่สมบูรณ์ จึงไม่เข้าตำราว่าจะ ให้หน่อเพื่อรักษาเผ่าพันธุ์ก่อนอำลาเจ้าของคะ | โดย: มาลี2545 [28 มี.ค. 56 17:55] ( IP A:72.184.239.13 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 59 คุณ นัท-ช้าง กระสวยออกดอกสวยมากคะ คงส่งกลิ่นหอมไปทั่ว | โดย: มาลี2545 [28 มี.ค. 56 17:58] ( IP A:72.184.239.13 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 60 คห.. 23 ผมชอบไม้ใบสีดำ-แดง ลายคล้ายด่างแบบ...แต่บางคนไม่นับเป็นไม้ด่าง ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะจะนิยามให้คำว่าไม้ด่าง หมายถึงเฉพาะรอยด่างสีขาวหรือเหลืองเท่านั้นหรือเปล่า ?
albo. แปลว่า ขาว หรือ ออกครีม( off white)คะ เลยคิดว่า ดำ-แดงไม่เข้าพวก | โดย: มาลี2545 [29 มี.ค. 56 2:11] ( IP A:72.184.239.13 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 61 https://journal.bsi.org/ อันนี้เป็นลิงค์ Journal of the bromeliad society ช่วงปี 1951-1989 ครับ ผมบังเอิญไปเจอ เก่าหน่อย แต่ไปโหลดอ่านได้ครับ ได้ความรู้ดีครับ | โดย: พรศักดิ์ [30 มี.ค. 56 21:02] ( IP A:110.168.170.98 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 62 ขอบคุณคะ คุณพรศักดิ์ ที่นำ link มาให้เพื่อนๆคนรัดสับปะรดสีได้ศึกษา เห็นปีเริ่มต้นแล้วดีใจว่า ตนเองยังไม่เกิด 555 มาถึงตอนนี้เริ่มแก่แล้ว ก่อนอ่านคงตั้งสติให้ดี และหา dictionary มาวางใกล้โดยเฉพาะศัพท์เกี่ยวกับ bromeliad ..ขอบคุณอีกคั้งคะ | โดย: มาลี2545 [1 เม.ย. 56 7:28] ( IP A:72.184.239.13 X: ) |  |
|