Hechtia เปลี่ยนสี
   ไม้ตระกูล hechtia บางสายพันธุ์จะมีจุดเด่นที่จะเปลี่ยนสีได้ เวลาเจออากาศหนาวและแล้ง ซึ่งคนที่อยู่ภาคอื่นๆ มักจะอิจฉาคนอยู่ทางเหนือ เพราะอากาศเย็นมากหน่อยก็พอจะได้เห็นบ้างในบางปี ปีนี้อากาศค่อนข้างหนาว จึงมีลุ้นว่าจะเห็นสีเปลี่ยนหรือไม่ ถึงแม้อากาศหนาวปีนี้จะหนาวมากแต่ก็อยู่ไม่นานจึงอาจจะยังทำให้สีไม่จัดมากเท่าไร อย่างไรก็ตามก็นำมาให้ชมก่อน
Hechtia ผมมีแค่ 2 ต้นคือ Hechtia argentea กับ Hechtia texensis
ต้นแรกที่จะกล่าวถึงคือ Hechtia argentea ที่ผมเห็นใน FCBS ใบยาวสวยมีไตรโครม สีเงินเหลือบ ทำให้อยากได้ทาครอบครองดังใน

ภาพนี้จาก https://fcbs.org/pictures.htm ถ่ายโดย Len Harrison ที่สร้างกิเลสให้อยากได้

โดย: wee [13 ม.ค. 57 16:53] ( IP A:202.28.24.91 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   รอจนมีคนนำเข้ามาขาย จึงซื้ออย่างไม่ลังเล พร้อมป้ายเหลืองของ Michael's Bromeliads ตอนได้มาต้นเล็กจนโตขึ้นใบก็เป็นสีเขียวปรกติ แต่ไม่มีวี่แววไตรโครมแป้งบางๆ ให้เห็น ก็ได้แต่หวังว่าโตขึ้นอาจจะมีก็ได้

Hechtia argentea ไม้นำเข้าที่ได้มา ภาพถ่ายเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2555 ใบยังเขียวใสๆ

โดย: wee [13 ม.ค. 57 16:57] ( IP A:202.28.24.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   มาเข้าหน้าหนาวปีนี้ที่อากาศหนาวเย็น ใบเปลี่ยนเป็นสีแดงที่ขอบใบ แปลกดี จนเกิดสงสัยขึ้นมาว่าฝรั่งส่งมาผิดหรือมั่วต้นอื่นมาให้หรือเปล่า
ภาพต้นเดิมเมื่อปีใหม่ที่ผ่านมา

โดย: wee [13 ม.ค. 57 16:59] ( IP A:202.28.24.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   เลยต้องแก้คาใจค้นหาจนมาพบของ Annie’s Magic Garden เจ้านี้ขายในชื่อ Hechtia argentea Red Furry Clone มีลักษณะคล้ายกัน หรือของเราจะเป็น clone นี้กันแน่ สรุปว่าเป็น argentea แต่คนละ clone

ภาพอ้างอิงจาก web ขายไม้ของ Annie’s

โดย: wee [13 ม.ค. 57 17:01] ( IP A:202.28.24.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   สำหรับต้นนี้ของพี่ Q ที่ลุงConstantino ส่งมาให้ในนาม Dyckia agentea แต่เพาะมาแล้วได้ Hechtia argentea ซึ่งโชคดีมากได้ต้นที่มีไตรโครมสวยๆ ติดมา 1 ต้น
ขออนุญาตนำภาพของพี่ Q มาให้ชมนะครับ

โดย: wee [13 ม.ค. 57 17:03] ( IP A:202.28.24.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   ต้นที่สอง Hechtia texensis เป็นไม้ปราบเซียนตัวหนึ่ง เพราะสภาพอากาศบ้านเราหนาวไม่พอที่จะทำให้เป็นสีแดงสวย เริ่มจากภาพใน FCBS ก่อนเช่นกัน มีสีแดงตามตุ่มหนามสวยดี

ภาพนี้จาก https://fcbs.org/pictures.htm ถ่ายโดย D. Mueller

โดย: wee [13 ม.ค. 57 17:05] ( IP A:202.28.24.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   เช่นกันห้ามใจไม่ได้ เมื่อมีพี่นำมาขายก็ซื้อทันทีไม่ลังเล ถึงแม้จะมีคำเตือนตามมาว่าอาจจะสีไม่ได้ตามภาพต้องพิจารณาก่อนซื้อก็ตาม ซื้อเมื่อธันวาคมปีที่แล้วพอดียังเล็กอยู่และเพิ่งจะลงปลูกเลยไม่ได้ถ่ายภาพอดีตไว้
ภาพปัจจุบันครบ 1 ปี พอผ่านหนาวก็ขึ้นสีแดงให้เห็นบ้างดังภาพ

โดย: wee [13 ม.ค. 57 17:09] ( IP A:202.28.24.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   ใบจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลืองมากขึ้นและมีสีแดงแทรกมากหน่อยตามปลายใบ แต่ดูท่าทีคงไม่แดงไปกว่านี้ อาจจะเป็นเพราะต้นยังเล็กและอากาศหนาวไม่นานพอครับ คงต้องรอหน้าหนาวถัดไปครับ

โดย: wee [13 ม.ค. 57 17:11] ( IP A:202.28.24.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   ปิดท้ายด้วย Deuterocohnia lanata เป็นต้นที่ชอบอีกต้นหนึ่ง แก้ขัดแทน Hechtia argentea ไปก่อน
และคงต้องมีการแก้คาใจกับเจ้า Hechtia argentea clon ไตรโครมขาวอีกซักรอบครับ

โดย: wee [13 ม.ค. 57 17:14] ( IP A:202.28.24.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   สวัสดีครับ อ.wee วันนี้เข้ามาเยี่ยม
เลยอ่านเจอข่าวดี Hechtia argentea ต้นที่เพาะไว้แล้วมีไทรโครม
ต้นนี้ปัจจุบันใหญ่ขึ้นมากครับ เดี๋ยวจะถ่ายรูปมาให้ชม
สอบถามนิดครับ ตัวนี้ปกติเค้าให้หน่อเหมือน Dyckia หรือป่าวครับ
คือถ้าให้หน่อได้ ถ้าอ.wee ไม่รังเกียจ เมื่อไรที่ต้นนี้ให้หน่อ ผมจะแบ่งมาให้ครับ ^__^

ได้ความรู้ดีมากๆครับวันนี้ ดีใจๆ พรุ่งนี้ไปเปลี่ยนกระถางดีกว่าครับ
เอาแนวเครื่องปลูกแห้งๆโหดๆสักหน่อย เผื่อจะได้ลุ้นสีมาบ้าง
โดย: Qdyckia.blogspot.com [13 ม.ค. 57 19:07] ( IP A:171.6.248.97 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   พี่Q ครับ Hechtia ใฟ้หน่อได้เหมือน Dyckia ครับ วิธีแยกชำเหมือนกันครับ แต่ไม่รู้ว่าต้นแบบมีไตรโครมจะมีหน่อหรือเปล่า เพราะไม่ค่อยมีใครนำออกขาย รวมถึงไม่ค่อยมีใครนำต้นใหญ่ๆมาให้ชม แต่จากข้อมูลเท่าที่รู้คือ

พี่ศักดิ์ก็เคยเห็นนำหน่อออกมาแบ่งทีหนึ่งแล้วไม่มีอีกเลย
Flinston ก็เคยนำหน่อออกมาแบ่งครั้งหนึ่งเหมือนกัน
ของทั้ง 2 ท่านยังไม่เคยเห็นต้นแม่เลยครับ

สำหรับต้นที่ใหญ่ ป๋า Zill เคยนำภาพมาให้ชมนานแล้ว เป็นแบบมีไตรโครมขาว แต่ไม่เคยเห็นปล่อยหน่อออกมาครับ
ต้นใหญ่ของพี่หน่องก็เคยนำมาให้ชม แต่เป็นตัวเขียวไม่มีไตรโครมคลุม
ต้นใหญ่ของคุณ samatum ก็เขียวเหมือนกัน

พี่Q แบ่งตามอาวุโสที่ควรจะได้ไปก่อนเลยครับ ผมว่าพี่ศักดิ์ พี่หน่องก็น่าจะอยากได้เช่นกัน ของผมไม่รังเกียจเลยครับ รอได้ครับฐานะอาวุโสน้อยกว่าอิอิ

ภาพทั้งคู่ตอนเดือนธันวาคมที่เริ่มหนาวใหม่ๆ ใบเริ่มเปลี่ยนจากเขียวเป็นอมเหลือง อย่าเข้าใจผิดว่าขาดน้ำครับ

โดย: wee [14 ม.ค. 57 17:25] ( IP A:202.28.24.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   ขอบคุณ คุณ wee ทีให้ความรู้เรื่องการเลี้ยง สภาพอากาศ อุณหภูมิที่มีอิทธิพลกับการเปลี่ยนแปลงสีที่ใบคะ ทำให้ตัดสินใจได้ว่า ไม้นี้คงไม่เหมาะกับเรา แต่เหมาะกับท่านที่เลี้ยงแบบใจเย็น และรอคอยจนอากาศเป็นใจ เลี้ยงใน กทม.ก็คงไม่มีโอกาศได้เห็นความงามอย่างที่เขาควรเป็น แถมหนามมากมาย ความสวยที่ธรรมชาติสร้างมาไว้ป้องกันตัว และเพิ่มเสน่ห์
โดย: มาลี2545 [14 ม.ค. 57 20:17] ( IP A:72.184.239.13 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
   @ อ.wee

วันนี้ผมเดินไปดูไม้มาแล้วครับ ไทรโครมยังดีอยู่เหมือนเดิมครับ แต่แยก 2 ยอดแล้ว
เอาเป็นว่า พรุ่งนี้ผมจะเปลี่ยนกระถาง แล้วนำรูปมาให้ชมกันนะครับ ^__^
โดย: Qdyckia.blogspot.com [14 ม.ค. 57 22:21] ( IP A:171.6.249.244 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
   @ อ.wee

สำรวจดูหมดทั้งสวนแล้ว เหลืออยู่ 4 ต้นครับ
ต้นที่ 1 มีมาให้ชม 4 รูป 4 มุมมองครับ

โดย: Qdyckia.blogspot.com [16 ม.ค. 57 20:23] ( IP A:171.6.249.150 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
   จริงๆไทรโครมชัดเจนมากกว่านี้นะครับ ในรูปพึ่งเปลี่ยนกระถาง และรดน้ำมาครับ

โดย: Qdyckia.blogspot.com [16 ม.ค. 57 20:24] ( IP A:171.6.249.150 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
   ว่าแต่ปกติ Hechtia เค้าแยกยอดกันแบบนี้ด้วยหรือครับ

โดย: Qdyckia.blogspot.com [16 ม.ค. 57 20:25] ( IP A:171.6.249.150 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
   รูปสุดท้ายของต้นแรกครับ

โดย: Qdyckia.blogspot.com [16 ม.ค. 57 20:26] ( IP A:171.6.249.150 X: )
ความคิดเห็นที่ 17
   ต้นที่ 2 ออกสีเหลือมแดง

โดย: Qdyckia.blogspot.com [16 ม.ค. 57 20:27] ( IP A:171.6.249.150 X: )
ความคิดเห็นที่ 18
   ต้นที่ 3 เขียวล้วนๆ

โดย: Qdyckia.blogspot.com [16 ม.ค. 57 20:27] ( IP A:171.6.249.150 X: )
ความคิดเห็นที่ 19
   ต้นที่ 4 ต้นนี้หนามสวย แถมปลายสุดของใบจะเป็นสีแดงด้วยครับ แปลกดี ^__^

มีความคิดเห็นอย่างไร แจ้งมาได้เลยนะครับ จะได้ดำเนินการ เพราะผมไม่รู้เรื่อง Hechtia เลยครับ

โดย: Qdyckia.blogspot.com [16 ม.ค. 57 20:30] ( IP A:171.6.249.150 X: )
ความคิดเห็นที่ 20
   ต้องออกตัวก่อนครับพี่ Q ผมสนใจใน Hechtia แต่มีแค่ 2 ต้น ความรู้เลยไม่มากครับ ทั้ง 4 ดู Form แล้วเป็น Hechtia แน่ๆ เพราะใบยืดยาวกว่า Dyckia และมีหนามเล็กถี่ ๆ

ต้นแรกที่มีไตรโครม ดูแล้วยังคงเชื่อว่าเป็น Hechtia argnrtea ตัวหายากอยู่ครับ สำหรับเรื่องแยกยอดผมยังไม่รู้เพราะประสบการณ์เลี้ยงแค่ 2 ไม่พอ อาจจะต้องถามพี่ศักดิ์ที่เลี้ยงมาเยอะกว่า

ต้นที่ 2 โครงสร้างของ Form เริ่มผสมกันระหว่าง Hectia กับ Dyckia และมีสีเหลือบแบบ Dyckia จึงไม่สามารถระบุได้ว่าเป็น Hechtia argnrtea หรือ Hec. ตัวอื่น หรือเป็นลูกผสมข้ามสกุลอื่น อาจจะไม่ได้ตั้งใจผสม อาจจะติดฝักเองก็มีสิทธิ์เกิดได้ในระบบเปิด

ต้นที่ 3 มีความเห็นเช่นเดียวกับต้นที่ 2 ครับ เพียงแต่สีใบเขียว

ต้นที่ 4 โครงสร้าง Form เป็น Hechtia argnrtea แบบไม่มีไตรโครมครับ เหมือนกับต้นที่ผมมีอยู่ตอนยังไม่เป็นสีแดง

ประมาณนี้ครับพี่ Q ถือว่าเป็นความเห็นก็แล้วกันนะครับ ไม่ฟันธง เพราะไม่ยอมรับตัวเองว่าเป็นผู้รู้ตัวจริง อิอิ
เสริมภาพที่มาจาก https://forums.gardenweb.com/forums/load/bromeliad/msg021902498577.html โดยคุณ stephania ขออนุญาตอ้างอิงนะครับ
เป็น Hechtia argentia ที่อยู่ในสวนพฤกษศาสตร์ Kew Botanical Gardens ที่รู้จักกันดีในอังกฤษ จะเห็นได้ว่ามีทั้ง 2 แบบ ทั้งมีไตรโครมและไม่มีเป็นพื้นสีเขียวครับ

โดย: wee [17 ม.ค. 57 12:28] ( IP A:202.28.24.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 21
   เพราะภาพ Hechtia argentea ในFCBS. ที่คุณwee อ้างถึงในคห.แรกนี่แหละครับ ผมถึงกับต้องลงทุนสั่งซื้อมาจากคุณไมเคิล 1 ต้น แต่ก็ผิดหวัง เพราะเป็นชนิดที่ใบสีเขียว ทุกวันนี้ก็ปล่อยให้อดอยาก ปลายใบแห้ง ต้นแคระแกร็นราวกับ Dyckia เล็กกว่าต้นสีเขียว ที่อยู่ในสวนพฤกษศาสตร์ Kew Botanical Gardens ตามภาพข้างบนมากมาย
แต่ต้นในภาพคห.4 ของคุณ wee และคห.13-16 ของคุณQ สวยดีนะครับ แม้ใบยังไม่ยาวมาก แต่ก็มีTrichome ฉาบขาวนวลดี
ส่วนภาพ Hechtia texensis คห.5 เมื่อเห็นแล้วก็นึกถึงต้นนี้ ที่ไม่ทราบชื่อ มีผู้เอ็นดูจากทางภาคเหนือส่งมาให้ปลูก1ต้น วันที่มาถึงวันแรก โคนหนามที่ขอบใบก็เป็นสีส้มอย่างที่เห็นนี้แหละครับ แต่ปัจจุบันนี้เขียวอวบ ผิดรูปอย่างกับไม่ใช่ต้นนี้ สงสัยว่าต้องพึ่งอากาศเย็น แห้งแล้งกระมัง

โดย: หน่อง [17 ม.ค. 57 16:22] ( IP A:103.10.230.22 X: )
ความคิดเห็นที่ 22
   @ พี่หน่อง, อ.wee

คห. 17 มีหน่อแล้วนะครับ
เดี๋ยวแงะ แล้วจะแบ่งมาให้เลี้ยงกันครับ คงช่วงต้นเดือนหน้าครับ
ช่วงนี้งานชุกนิดนึงครับ เพราะวันที่ 25 จะครบรอบ 1 ปีของ Blog
เลยเตรียมรายการพิเศษๆไว้ให้เพื่อนๆ น้องๆ พี่ๆ ได้สนุกกันอีกครับ ^__^
โดย: Qdyckia.blogspot.com [17 ม.ค. 57 16:41] ( IP A:171.6.248.22 X: )
ความคิดเห็นที่ 23
   รายงานสด จาก วังน้ำเขียวครับ กลางวันอากาศเย็นกลางคืนอากาศหนาวและลมแรง
hectia จะว่าไป ในฤดูหนาว ที่แดดแรงๆจัดๆ ขอแค่อากาศกลางคืนพอเย็น กลางวันอากาศแห้ง เราสามารถทำให้เขาสวยได้ แต่ต้องขาโหดแบบผม

ทำได้โดย จับตากแดดจัดๆทั้งวัน และงดรดน้ำสักเดือน ท่านจะเห็นความงามปรากฎ แต่ไม้ท่านต้องเลี้ยงสมบูรณ์มาก่อนนะครับ โดยเฉพาะ goldmilata

มีขอคิดเห็นนิดนึง จากประสบการณ์ hectira จะให้หน่อ ตอนเล็กจะให้หน่ิบริเวณโคน แต่พอโตมากขึ้นจะให้หน่อบริเวณยอด(คล้ายแยกยอด) กับบริเวณกาบใบ ชึ่งแคะยากมาก พ้หน่ออ่อนมักหัก ถ้าแก่ก็จะออกราก แทรกอยู่ในต้นแม่เลย บวกกับหนมอันแสนโหด แคะทีเลือดอาบ
hec.agentia ที่ผมมีเหมือมีแป้งบางๆนะ แต่ต้นนี้ผมได้จากพี่หนุ่ม
กลับ กทม. จะ update hec เท่าที่มีอยู่ให้ชม
โดย: saksiri [18 ม.ค. 57 22:35] ( IP A:49.230.182.127 X: )
ความคิดเห็นที่ 24
   อากาศดีนะครับ พี่ศักดิ์ รอชมนะครับ
ผมเคยทำหักมาแล้วครับ หน่ออ่อนมันเปราะมาก ถึงแม้จะใหญ่แล้วก็ตามครับ พี่Q ต้องระวังครับ
โดย: wee [19 ม.ค. 57 8:25] ( IP A:171.99.101.127 X: )
ความคิดเห็นที่ 25
   @ แฟนๆ Hechtia ทั้งหลาย

มายืนยันครับ คห. 17 มีหน่อ 4 หน่อชัดเจนแล้ว
3 หน่อดูแล้วแยกได้ไม่น่าจะมีปัญหาครับ อีก 1 ไว้ต้องรอลุ้นครับ
ผมจะแยกไม้ให้ ต้นเดือน กพ. นะครับ ตอนนี้โค้วต้าที่ได้รับแน่นอนแล้ว
มี อ. wee, พี่หน่อง, คุณSak และยังเหลืออีก 1 หน่อ
ท่านใดสนใจแจ้งความประสงค์และที่อยู่ไว้ครับ

ปล. พี่หน่องครับ รบกวนขอที่อยู่ให้ผมอีกครั้งนะครับ จะดำเนินการจัดส่งมาให้ครับ ^__^
โดย: Qdyckia.blogspot.com [20 ม.ค. 57 12:52] ( IP A:171.6.248.215 X: )
ความคิดเห็นที่ 26
   หนาวและลมแรงมากครับ

ใช่ครับ ดูขนาดหน่อไม่ได้นะ ต้องลองโยกๆ ดู ถ้าไม่ออกอย่าฝืน ถ้าใช้ได้บริเวณโคนหน่อเค้าจะมีสีคลำๆ แดงออกดำ ถ้าโยกแล้วโคนโยกตาม แล้วหนืดๆๆแสดงว่าใช้ได้ ถ้าโยกแล้วนิ่งอย่าผืนครับ เคยได้หน่อจาก goldmelata โคนหน่อ ยาวฝังลงไปในกาบต้นแม่ยาวเกือบ 7 ซม. รูปถ่ายเมื่อตอนเกือบเที่ยงคืนครับ มีเวลาช่วงนี้ครับ

รูปแรก ยักษ์ใหญ่ ประจำบ้าน Hec.glauca
โดย: saksiri [20 ม.ค. 57 12:58] ( IP A:210.213.59.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 27
   ลืมรูปซะ Hec.glauca

โดย: saksiri [20 ม.ค. 57 12:59] ( IP A:210.213.59.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 28
   Hec.rosea เพศชาย เคยออกดอกทีหนึ่งแล้ว ใบใหญ่หนาอ้วนและยาว มืดๆ ดูเหมือนงูเลย

โดย: saksiri [20 ม.ค. 57 13:01] ( IP A:210.213.59.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 29
   ตามด้วย Hec.marnire-lapostolleii ตอนแรกคิดว่าเสียชีวิตซะแล้ว ย้ายออกมาจากกอ เลิฟเบริดส์ ใบอ้วนหน้ามีแป้งคลุม

โดย: saksiri [20 ม.ค. 57 13:03] ( IP A:210.213.59.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 30
   Hec.sp.'oasaka',Mexico หน้าตาคล้ายๆ glomelata แต่แตกต่างกันที่ หนามโหดน้อยกว่า และฟอร์มสวย ใบจะโค้งลงคลุมกระถาง หนาวนี้สีมาเองครับ โดยไม่ต้องแกล้ง

โดย: saksiri [20 ม.ค. 57 13:06] ( IP A:210.213.59.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 31
   Hec.sp. Barzil ต้นนี้ไม่ทราบชื่อแน่ชัด แต่ฟอร์มและหนามสวย ที่เห็น 2 ยอดนั้น ไม่ได้แยกยอดนะครับ เป็นหน่อครับ หน่อลักษณะนี้ แคะยากมาก ทำไม่ดียอดแม่หักด้วย เคยทำ rosea หักไปทีแล้ว

โดย: saksiri [20 ม.ค. 57 13:09] ( IP A:210.213.59.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 32
   Hec.golelata ปีนี้สีสวยโดยไม่ต้องแต่ง แต่ถ้าเลี้ยงแดดจัดๆ กว่านี้ เค้าจะออกสีเหลืองๆ หนามแดง

โดย: saksiri [20 ม.ค. 57 13:11] ( IP A:210.213.59.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 33
   อ้าวผมตกต้นนี้ไป 1 ต้นครับ แล้วมันหายไปไหนี้ คืนนี้ต้องไปมุดๆ ดูอีกละ
Hec.sp. 'Tehuacan' #3 ต้นนี้แตกต่างตรงที่ มีแป้งสีเงิน และหนามเค้าจะแดงโดยกำเนิด เลย
โดย: saksiri [20 ม.ค. 57 13:14] ( IP A:210.213.59.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 34
   ขอบคุณมากครับคุณ Q ขอรับรู้ในน้ำใจอันดี ณ ที่นี้ก็พอแล้วครับ ส่วนต้นไม้ให้คุณ Q เลี้ยงไว้ต่อไปนะครับ อย่าส่งให้ผมเลย เพราะไม่อยากมีภาระเพิ่มขึ้นครับ ทุกวันนี้ได้ดูคนที่ชื่นชอบการปลูกเลี้ยงบรอมิเลียดคุยกัน เอาภาพมาให้ดูกัน ก็Happy แล้วครับ
โดย: หน่อง [20 ม.ค. 57 14:08] ( IP A:103.10.230.22 X: )
ความคิดเห็นที่ 35
   ขออนุญาตจขกท.ฝอยต่อถึงไม้หนามสกุลนี้ต่อเลยนะครับ
ที่่บ้านมีอยู่ไม่กี่ชนิดครับ เอาภาพล่าสุดของ Hechtia argentea มาให้ดูครับ ถ้ารู้ว่าแตกต่างจากคห.แรกขนาดนี้ คงไม่สั่งซื้อมาแน่

โดย: หน่อง [20 ม.ค. 57 14:12] ( IP A:103.10.230.22 X: )
ความคิดเห็นที่ 36
   ภาพนี้คือสภาพปัจจุบันของคห.21 ครับ

โดย: หน่อง [20 ม.ค. 57 14:13] ( IP A:103.10.230.22 X: )
ความคิดเห็นที่ 37
   ภาพจากกล้องอีกตัว ไม่อยากเชื่อเลยใช่มั๊ยครับ ว่าต้นนี้จะมีโคนหนามเป็นตุ่มสีส้มแดงแบบในคห.21 ขอรับรองครับ ว่าไม่ผิดตัวแน่นอน
ขอบคุณคุณwee อีกครั้งที่ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา ผมจึงสังเกตุไม้ในบ้านอีกครั้ง และอยากจะเชื่อว่า Hechtia เป็นสับปะรดหนาม หรือ Bromeliad ที่หลายชนิดพันธู์หนามเปลี่ยนสีได้ในสภาพอากาศหนาวเย็น

โดย: หน่อง [20 ม.ค. 57 14:18] ( IP A:103.10.230.22 X: )
ความคิดเห็นที่ 38
   เมื่อก่อนเคยได้ไม้หนามบางต้นมา ที่ลักษณะคล้าย Dyckia มาก จนไม่รู้ว่าจะแยกเป็นสกุลไหน แต่วันนี้ผมชักอยากจะทึกทักเอาเองว่า ต้นที่มีหนามเปลี่ยนสีได้ คงจะไม่ใช่ Dyckia แม้ Dyckia จะชอบอากาศหนาวเย็นมากก็ตาม และสีของใบจะสดสวยมาก แต่สีของหนามผมว่ามันไม่เปลี่ยนนะ เคยเห็น Dyckia manier-lapostollei ชนิดที่หนามสีชมพู มันก็เป็นอย่างนั้นเอง และจริงๆแล้ว สีชมพูนั้นน่าจะมาจากสีของTrichome หรือเนื้อใบส่วนที่เป็นโคนหนามมากกว่า เสียดายต้นที่ผมมี มันโทรมมากจะดุแทบไม่ออก จึงไม่ได้ถ่ายมาให้ดูครับ
ภาพนี้ไม่ทราบชื่อครับ ว่าเป็นอะไรแน่ แต่ตอนนี้อยากจะเชื่อว่าคงจะเป็น Hechtia อะไรสักอย่าง...

โดย: หน่อง [20 ม.ค. 57 14:32] ( IP A:103.10.230.22 X: )
ความคิดเห็นที่ 39
   อีกกระถางหนึ่งท่ามกลางกลุ่ม Dyckia

โดย: หน่อง [20 ม.ค. 57 14:35] ( IP A:103.10.230.22 X: )
ความคิดเห็นที่ 40
    Hechtia marnier-lapostollei เป็น Hechtia ที่ผมชอบมากอีกชนิดหนึ่ง ชนิดนี้หนามไม่น่าจะเปลี่ยนสีนะครับ จะว่าTrichome มันคลุมหนา จนมองไม่ออก ก็คงจะไม่ใช่

โดย: หน่อง [20 ม.ค. 57 14:37] ( IP A:103.10.230.22 X: )
ความคิดเห็นที่ 41
   คุณ saksiri เลี้ยง Hechtia marnier-lapostollei (คห.29) ได้สีสวยจังครับ ผมเห็นภาพหนึ่งของชนิดนี้ใน FCBS. มันเป็นสีม่วงแดง ซึ่งไม่รู้ว่าจริงๆแล้วมันเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า พอเห็นคห.29 ก็พอจะเชื่อ FCBS. ได้มากขึ้น

โดย: หน่อง [20 ม.ค. 57 14:41] ( IP A:103.10.230.22 X: )
ความคิดเห็นที่ 42
   มี Hechtia หลายชนิดที่ดูภาพใน FCBS. แล้วเห็นว่ามีลักษณะคล้ายกันมาก ผมแยกไม่ค่อยออก
ภาพนี้เป็น Hechtia glomerata (จากการเทียบเคียงเอาเอง และอ้างอิงตามผู้อื่น) ที่ผมตามซื้อตามขอจากเจ้าบ้านอาศรมฯหลายปี เพราะเคยเห็นรูปแล้วชอบที่หนามน่ากลัว ใบยาว สีบนใบเขียวเข้มเป็นมัน Trichome ท้องใบหรือใต้ใบหนาขาวละเอียด จนลามเหลือบถึงขอบใบด้านบน

โดย: หน่อง [20 ม.ค. 57 14:45] ( IP A:103.10.230.22 X: )
ความคิดเห็นที่ 43
   ยามที่อากาศเย็นๆแบบนี้ ตุ่มหนามก็เปลี่ยนสีอย่างที่คุณ saksiriว่ามาข้างต้นครับ

โดย: หน่อง [20 ม.ค. 57 14:47] ( IP A:103.10.230.22 X: )
ความคิดเห็นที่ 44
   ผมได้มาจากอาศรมฯสองกระถาง ออกหน่อรกจนไม่กล้สเข้าใกล้ ส่วนกระถางนี้ได้หน่อมาจากคุณตี๋ หาดใหญ่ เลี้ยงตากแดด100% ไม่มีปุ๋ยให้กิน ใบก็ยังเขียวครับ

โดย: หน่อง [20 ม.ค. 57 14:50] ( IP A:103.10.230.22 X: )
ความคิดเห็นที่ 45
    Hechtia glauca ต้นนี้เป็นตัวเมีย หนามไม่เปลี่ยนสี ไม่รู้ว่าต้นตัวผู้หนามจะเปลี่ยนสีได้หรือเปล่านะครับ Hechtia มีบางชนิดที่แยกเพศครับ

โดย: หน่อง [20 ม.ค. 57 14:52] ( IP A:103.10.230.22 X: )
ความคิดเห็นที่ 46
   ดอกของ Hechtia glauca ตัวเมียครับ ไม่มีเกสรตัวผู้ เคยโม้เมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้วครับ

โดย: หน่อง [20 ม.ค. 57 14:53] ( IP A:103.10.230.22 X: )
ความคิดเห็นที่ 47
   ขอบคุณมากครับพี่หน่องและพี่ศักดิ์แบ่งปันมาให้ชมกัน ได้อิ่มเอมเต็มที่ เพราะ Hechtia ไม่ค่อยนิยมในบ้านเรา นานๆได้ชมที
โดย: wee [20 ม.ค. 57 17:58] ( IP A:202.28.24.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 48
   Hec.sp. 'Tehuacan' #3 ภาพแย่หน่อยนะ ถ่ายด้วย Tap มืดๆ ไตรโคมหาย เพราะพี่งรดน้ำเมื่อคืน ต้นนี้สวยตรงที่่หนามแดง ถ้าจัดหนัก สีแดงจะลามถึงใบ

โดย: saksiri [21 ม.ค. 57 12:29] ( IP A:210.213.59.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 49
   ต้นด้านล้างในภาพบน ที่เห็นเขียวๆนั้น เป็น Ort.navoides ไม้ปราบเซียนอีกต้นหนึ่ง ที่เลี้ยงอย่างไร ก็ไม่เหมือนในภาพ ของ FCBS ที่ขาวจั๊ว ของผมเขียวปี๋ เห็นว่าบางท่านได้แดดง (น่าจะมี 2 โคน) ทำใจครับ อากาศบ้านเราไม่เหมือนเมืองนอก ที่ หนาม-ร้อนชัดเจน

แต่ตอนนี้อยากได้ Hechtia gayorum ครับ
โดย: saksiri [21 ม.ค. 57 12:35] ( IP A:210.213.59.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 50
   พี่หน่อง ต้อง จะโหดกว่านี้ครับ งดน้ำครับ แต่ทางชุมพร ฝนเยอะ อากาศชื้น อาจยากอยู่

ส่วน คห. 29 พี่งไปรื้อออกมาครับ4
โดย: saksiri [21 ม.ค. 57 12:38] ( IP A:210.213.59.199 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน