พัฒนาสายพันธุ์ คำถามคาใจ ทำไมมันยังเหมือนเดิม.....
   ณ.วันนี้พวกเราก็ได้ผ่านช่วงรุ่งโรจน์ของชวนชมสายอราบิคั่มกันมาแล้วถึง2ยก(ขอเหมารวมกลุ่มที่เรียกไทยโซโคด้วยนะครับ)... นั่นคือเราโดนจังหวะนิ่งหรือขาลงกันเป็นรอบที่2แล้ว จากวันที่พวกเรารู้จักแต่เพชรบ้านนา บางคล้า เขาหินซ้อน s1 กลุ่มยักษ์โคราช จนวันนี้อราบิคั่มของไทยมีชื่อเป็นร้อย ผสมปนเปกันไปจนแทบจะแยกกันไม่ออกว่าพันธุ์ไหนเป็นพันธุ์ไหน....

แล้วเคยสงสัยกันไม๊ครับว่าไม้กว่า100ชื่อในตลาดนะ ของเรามันชื่ออะไรแน่ ในเมื่อมันเหมือนกันซะขนาดนั้น แล้วทำไมไม่เรียกให้เหมือนกัน ทำไมหน้าตาเหมือนกันเป๊ะเลย แต่ดันคนละชื่อ....

แล้วมาถึงวันนี้มีไม้ใหม่ตัวไหนที่ถือว่าใหม่จริง ต่างจากไม้ประวัติศาสตร์ไปบ้าง(ไม่ต้องต่างมากเพราะคงยากอยู่) แล้วผู้ที่ตั้งชื่อจะสามารถอธิบายไม้ของตัวเองได้หรือเปล่า ว่าลักษณะแบบไหนที่ใช่แน่ ต่างจากต้นสายตรงไหน อยากให้เจ้าของชื่อพันธุ์เข้ามาลองหาคำจำกัดความของไม้ตัวเองดูกันซักทีครับ เพื่อต่อไปภายหน้าพวกเราจะได้โกอินเตอร์กันอย่างอกผาย ไหล่ผึ่ง ถามมาตอบได้ ไม่อายฝรั่ง....
โดย: พลภัทร [1 มิ.ย. 53 1:20] ( IP A:124.122.26.188 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   เริ่มกระทู้แรกจะแรงไปไม๊....

เอาเป็นว่าผมขอเอาลูกไม้ชื่อใหม่ของผมมาตีแผ่ก่อนเป็นรายแรกครับเพราะค่อนข้างมั่นใจว่ามีส่วนต่างจากอราบิคั่มตัวเดิมๆ.... ไม้ที่จะนำมาบรรยายลักษณะคือ "พันกร" ครับ....

พันกร เป็นอราบิคั่มที่หน้าตาค่อนข้างแปลกครับ เดิมเป็นไม้ของคุณแจ๊คลำทะเมนชัย ที่ได้ประกาศขายในบอร์ดสมัยก่อน ตอนนั้นจำได้ว่าโทรเช็คกันกับพี่หมออ็อบว่าตกลงมันอะไร ใช่ยักษ์ดำหรือเปล่า เพราะสีต้นมันดำดีจริง ก็ไม่ได้ข้อสรุปใดจึงจัดการซื้อมาดูซะให้สิ้นเรื่อง ครั้งนั้นผมนัดรับไม้กันที่ร้านหมูกะทะของพี่น้อยบุรีรัมย์ แล้วขนขึ้นรถปิ๊คอัฟกลับ กทม. โดยหิ้วฝักติดมา2-3คู่ และได้เพาะออกมาเป็น ลูกพันกรรุ่น1 โดยสรุป ต้นแม่พันกรน่าจะเป็นยักษ์อราบิคั่มสาย เพชรเมืองคง เพราะรูปใบและดอกคล้ายกันมาก ต่างตรงที่พันกรจะมีกิ่งเล็กๆงอกขึ้นมาจากกิ่งหลักแบบแทบจะทุกตากิ่ง และกิ่งเหล่านี้ก็สามารถให้ดอกเป็นช่อได้ ในช่วงที่สมบูรณ์สุดๆ ช่อดอกแทบจะบังกิ่งมิดเลยครับ....

ลูกไม้ของพันกรที่ผสมเข้ากับตัวเอง จะมีฟอร์มหลักๆอยู่2ฟอร์ม คือ....
1.ฟอร์มเหมือนแม่ คือฐานรากแผ่ กิ่งเย๊อะมีการแตกแขนงกิ่งคล้ายหนามตามกิ่งหลักและให้ดอกดกเป็นช่อ....
2.ฟอร์มไม้แกรน คือฐานรากไม่แผ่ มีลำต้นเหมือนกระป๋องโค๊ก แต่ยังคงลักษณะของการแตกกิ่งเหมือนแม่ไว้รวมถึงการแตกกิ่งแขนงด้วย(แต่การให้ดอกจะด้อยลง)....

ผมเชื่อว่าก่อนการตั้งชื่อยังไม่มีไม้ฟอร์มนี้ครับ(หรือมีแต่ผมและอีกหลาคนไม่เคยเห็น) จึงได้นำเสนอไม้ต้นนี้เป็นสายพันธุ์ใหม่ และได้นำเสนอออกไปยังต่างประเทศบ้างแล้ว(ลูกรุ่น1จะมีในบ้านเราแค่4ต้นครับ อยู่กับผม2 และท่านที่ประมูลช่วยงานหนองจอกอีก2) ส่วนรุ่นที่ตามมาผมขายเมล็ดเกลี้ยงเหลือไว้เพาะออกมาได้เพียงไม่กี่ต้น ก็ไม่ได้อยู่ในบ้านเราเช่นกันครับ....

นี่เป็นประวัติย่อๆ และลักษณะพิเศษของสายพันธุ์ที่ผมพอจะแยกแยะออกมาได้ ท่านใดที่มีลูกไม้ส่วนตัวลองเอามาตีแผ่กันให้น้องๆ เพื่อนๆได้รู้ดีไม๊ครับ เราจะได้มีอะไรเล่นกันมากขึ้น.....

ยินดีรับคำชี้แนะครับ.....

โดย: พลภัทร [1 มิ.ย. 53 1:38] ( IP A:124.122.26.188 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   ที่มันยังไม่ค่อยแตกต่างไปจากเดิม เพราะว่าหลายปัจจัย เช่น เวลาที่ใช้ในการพัฒนายังไม่มากพอ , เราใช้เทคโนโลยี่ที่ธรรมดามาก คือ การผสมเกสรข้ามต้นเท่านั้น หากเราใช้เทคฯที่ทันสมัยกว่านี้ เช่น รังสี สารกระตุ้น ไปจนถึงพันธุวิศวกรรม ก็อาจช่วยร่นเวลาในการปรับปรุงพันธุ์ได้
โดย: พั้ง-BBk421 [1 มิ.ย. 53 17:11] ( IP A:110.49.205.131 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   เป็นปัญหาที่หาคำตอบยากคุณพลภัทร เดี๋ยวปัญหามันก็จะค่อยๆหายไป พร้อมกับชวนชมที่ลดความแรงลง มันเป็นธรรมชาติ

อันนี้คือเหตุผลประการหนึ่ง ที่ผมนำไม้ไปจดทะเบียน ผมให้นักวิชาการด้านเกษตร และ กฏหมาย เป็นคนตอบแทนในกรณีที่มีคำถามแบบนี้

ถ้าจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชผ่าน ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นกฏหมายคุ้มครอง ก็น่าจะเป็นที่สิ้นสุด หรือใครจะไปเถียงกฏหมายของประเทศที่ตราไว้

แต่มันก็ไม่ใช่จะง่าย และผมรับรองว่ายากมากๆ เพราะเจ้าหน้าที่เขาตรวจสอบมาก และหลายประเด็น อะราบิคั่มไฮบริดท์ทั้งหลาย ไม่ใช่ไม้สี ที่ใช้ดอกตัดสินความต่างได้

และมันจะแตกต่างไปจากเดิมได้ยากเพราะ ไม้ที่เล่นๆกันทั้งหมด มีแหล่งที่พบมาจากที่เดียวกัน คือ คาบสมุทรอาหรับ

ถ้าเอาไปผสมไม้สี ก็เหมือนผสมฮอลแลนด์ ผสมพวกญี่ปุ่นหรืออื่นๆ(แหล่งอัฟริกากลาง)คนก็ไม่ค่อยจะทำกัน เพราะมันจะไม่เป็นทรงแบบโซโคไทยที่ว่า

เอาง่ายๆ แค่ผสมโซโคแท้ จากแหล่งเกาะโซโคตร้า บ้านเรามีใครเอามาผสมข้ามพันธุ์กันสักกี่เจ้า เนื่องจากโซโคแท้ มันก็ออกดอกมาให้ผสมไม่ใช่ง่ายๆ

ให้ผมทำนายไว้ตอนนี้เลยว่า อีกยี่สิบข้างหน้า มันก็ยังจะไม่ค่อยแตกต่างกันแบบเดิมนี่แหละ แค่ที่เรียกกันว่า ไทยโซโค ผสมกับพวกยักษ์ กิ่งยืดยาด คุมทรงลำบาก คนก็ไม่ค่อยสนใจจะเล่นแล้ว และต้องใช้เวลาอีกเท่าไหร่ ที่จะมีคนคิดนอกกรอบ เอาไปปลูกเลี้ยง ผสมพันธุ์ข้ามกันต่อไป เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ๆ

ทั้งนี้ มีเงื่อนไขของเวลา กระแสความนิยม ผลประโยชน์ เป็นบรรทัดฐานที่ยากปฏิเสธร่วมอยู่ด้วย
โดย: อรรถพล [1 มิ.ย. 53 20:21] ( IP A:113.53.155.108 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   คุณสามารถแยกแดงสยาม ออกจากแดงกำมะหยี่
กรณีลั่นทมได้หรือไม่ และไม่ต้องเห็นดอก
ถ้าแยกได้ นั่นมหายถึงคุณมองเห็นความแตกต่างของแต่ละลายพันธุ์
...ผมยังมองว่า ชวนนชมแต่ละต้น แต่ละพันธุ์ยังไม่นิ่ง และไม่เหมือนกัน
...ยกตัวอย่าง พบน. บางคล้า ทั้งๆที่เกิดจากฝักเดียวกัน ต้น ใบ ดอก
ยังออกมาแจกต่างกันได้ ทั้งๆที่ความจริงมันควรจะได้ชื่อว่า
เม็ดที่ออกจากฝัก พบน. ควรเรียก พบน ต่อๆไป
หรือ เม็ดที่ออกจาก บางคล้า ควรจะได้ชื่อบางคล้าต่อๆไป
...แต่สำหรับชวนชม อาจเป็นไม้ที่มีข้อยกเว้น เนื่องจากไม่มีความนิ่งนั่นเอง
....ในเรื่องรายพันธุ์ ตั้งชื่อได้ แต่ การสืบสายด้วยเม็ด คงละไว้ซึ่งความไม่นิ่ง
....แต่จะตีขลุม เรียกไม้ทุกตัวเป็น อาราบิคั่ม มันเป็นกลุ่มที่กว้างไป
เพราะเราก็เห็นว่า ในบรรดาอาราบิคั่มด้วยกัน บางสายพันธุ์ มีลักษณะ
ที่แตกกันออกไป เช่น รชน. ยักษ์ดำ หน้าวัง พบน. เอส-1 บางคล้า
ซึ่งผมเห็นว่าพวกเรายังสามารถดึงลักษณะพิเศษของ สายพันธุ์
ออกมาตั้งชื่อใหม่ได้
...มะม่วง-ทุเรียน ยังมีสายพันธุ์มากมาย ทำไมชวนชมเราจึงถูกบีบ
ถูกจำกัดการเรียกสายพันธุ์ล่ะครับ
...สำหรับกรณีไม่เหมือนกัน ชื่อต่างกัน เป็นเรื่องของการค้ามากกว่า
แบรนด์ใครแบรนด์มัน เรื่องแบบนี้ วงการลีลาวดีก็เกิดขึ้นแล้วเช่น
จักพรรดิ์(เมืองนอก) เหลืองบางพระ วิชาณุโกลด์ มันก็ไม้ตัวเดียวกันครับ
โดย: กฤตย์ ลูกไม้ไทย [3 มิ.ย. 53 13:02] ( IP A:125.27.127.100 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   ปัญหามันอยู่ที่ชวนชมสายพันธุ์ยักษ์มันมีดอกที่คล้ายกันไปหมดนี่สิครับพี่ มันถึงแยกยาก แถมฟอร์มต้นฟอร์มใบก็เปลี่ยนไปตามสถานที่และผู้เลี้ยง มันจึงยากจริงๆที่จะแยกแยะ ดังนั้นเวลาผมขายของออกไปผมมักจะตีไว้กว้างๆก่อนเป็นอราบิคั่มไทยไฮบริด เพราะไม่รู้จะไปบอกลูกค้ายังไงว่าทำไมมันถึงชื่อนี้(ทั้งที่มันเหมือนกับอีกต้นอย่างกับแก แต่ดันคนละชื่อ) ไม้หลักๆอย่าง S1 อย่างบ้านนา อย่างบางคล้า เราพอมองลักษณะเด่นออก แต่สายพันธุ์ผสมใหม่ๆ ทำไมโชว์กันแต่รูป ไม่บอกจุดสังเกตุกันเลย ว่าทำไมมันชื่อนี้ ทั้งที่ดูยังไงก็บางคล้า.... ดูกลับหน้ากลับหลังก็ยังบ้านนา.... อย่างชฏาเพชร ที่พี่กฤตย์ตั้งชื่อไว้ จนแทบจะกลายมาเป็นสายพันธุ์หลักเทียบเคียงบ้านนา บางคล้า ไปแล้ว ก็สามารถบอกได้ว่าทำไมต้องเรียกว่า ชฎาเพชร ใช่ไม๊ครับ.... หรืออย่าง มกท. (เมื่อก่อน)เราก็พอจะแยกมันออกจากเขาหินซ้อนได้ ด้วยลักษณะของกิ่งที่เอนนอนขนานกับพื้น....

ซึ่งเหล่านี้คือไม้ใหม่ที่สามารถอธิบายลักษณะเด่น และที่มาที่ไปได้ครับ คนใหม่ๆเข้ามาเค้าก็ไม่งง สะสมไม้ตามสายได้อย่างมีหลักเกณฑ์ ไม่ใช้บางคล้า10ต้น 10ชื่อ แต่อธิบายความต่างแค่ ใบมัน ใบมันกว่า ใบแหลมกว่าหน่อย ใบทู่กว่านิด เลี้ยงไปเลี้ยงมาเหมือนกันอย่างกับแฝด10.... อย่างนี้ก็ไม่ไหว ใช่ไม๊ครับพี่...
โดย: พลภัทร [3 มิ.ย. 53 21:37] ( IP A:124.121.143.56 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   ขอโทษครับผมมีข้อสงสัยนิดนืงครับ ในเรี่องของการพัฒนาไม้ส่วน
ใหญ่จะเน้นการทำไม้ใหม่ๆ แต่ทำไมไม่ค่อยมีใครเน้นเรี่องการทำสาย
พันธุ์ให้นิ่งละครับ ผมว่ามันน่าจะดีกับวงการนะครับ ดูจากการพัฒนา
สายพันธุ์สุนัขนะครับเวลาเขาประกวดกันเขาจะเน้นตัวที่เลือดนิ่งจริงๆ
ตรงตามลักษณะ ในสุนัขแม้หน้าตามันจะไม่เหมือนกันแต่ถ้าพันธุ์เดียว
กันดูยังไงมันก็เหมีอนกัน
หรือว่ามันทำยากเขาเลยไม่ค่อยทำกันครับ หรือเจ้าของเขาไม่ให้พัฒนา
ต่อครับ หรือผลทางการค้าครับ คือผมสงสัยมานานแล้วครับเลยสอบถามมาครับ ขอบคุณครับ
โดย: หนึ่ง พิษณุโลก bbk1289 [3 มิ.ย. 53 23:18] ( IP A:222.123.237.96 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   น่าจะ.... นะครับ....

สายพันธุ์เก่าๆ เช่น พบน. บางคล้า มีจำนวนลูกไม้ออกมาถึงตอนนี้น่าจะเป็นแสนต้นแล้วครับ ที่เหมือนแม่(พิมพ์นิยม)ก็น่าจะหลายพันต้นอยู่ การจะทำสายพันธุ์ให้นิ่ง มันจะคุ้มหรือเปล่า โดยเฉพาะถ้าคนที่คิดจะทำไม่ใช่เจ้าของสายพันธุ์ ทำออกมาคงโดนโจมตีจากทุกทิศทุกทางแน่..... และที่สำคัญเรายังสรุปไม่ได้เลยว่าต้นแม่แท้จริงของไม้แต่ละ"ชื่อ"คือต้นไหน แล้วลักษณะเด่นของแต่ละ"ชื่อ"เป็นยังไง แล้วจะผสมกันอีท่าไหนล่ะครับ ถึงจะนิ่งได้....

ส่วนคนที่มีไม้ชื่อใหม่ในมือ เป็นเจ้าของสายพันธุ์เอง ผมว่าหลายๆคนก็กำลังทำนะครับ พันกร ของผมก็ทำแล้ว ตอนนี้นำรุ่นลูกที่เหมือนแม่ มาผสมกับต้นแม่ จนได้เมล็ดและต้นกล้าออกมาแล้ว ผสมกลับอีกซัก2-3ชั่วรุ่นก็น่าจะเริ่มนิ่งแล้วล่ะครับ....
โดย: พลภัทร [4 มิ.ย. 53] ( IP A:124.121.143.56 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   ...ผมว่าไม่น่าเกิน 3 ปี น่าจะได้เห็นไทยโซโคดอกซ้อนนะครับ...
โดย: 18 [5 มิ.ย. 53] ( IP A:125.27.57.231 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   ขอออกความเห็นต่างนิดครับ สมัยที่เรียนชีววิทย์ๆจำได้ว่าการขยายพันธุ์พืชถ้าต้องการให้ได้พันธุ์เหมือนแม่ก็ต้อง โดยการตอน ชำ การเสียบ การเพาะเนื้อเยื่อ การทาบกิ่ง แต่ถ้าต้องการปรับปรุงสายพันธุ์ก็ผสมเกสรแล้วเพาะเมล็ดคัดต้นที่มีลักษณะเด่นเป็นต้นพันธุ์ไว้ขยายต่อไป ถ้าเป็นสมัยนี้มีความก้าวหน้าขึ้นมากก็เป็นคัด ดีเอ็นเอ แต่ยังไงการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดก็ยังคงให้ลูกออกมาไม่เหมือนแม่อยู่ดีและครับ ไม่รู้ผมคิดอย่างนี้ถูกไหมครับ
โดย: ชัยสระบุรี 70 [5 มิ.ย. 53 9:07] ( IP A:58.136.114.5 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   ชื่อเรียก"สายไม้"มากกว่าสายพันธุ์
ที่ผมเห็นแล้วยอมรับ พอจะแยกออก มี ชฎาเพรช อย่างเดี่ยวเลย
นอกนั้น น่าจะแค่ สายไม้ ของสวนไหน แม่คือไร หัวไม้หางไม้ตากกันเยอะมั๊ย
โดย: ต้น ยองฮิ [8 มิ.ย. 53 22:30] ( IP A:61.19.47.103 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน