เรื่องราวของการปรับปรุงสายพันธุ์และคุ้มครองพันธุ์พืช
   ด้วยความที่ชอบเดินทาง พอเจ้าหน้าที่จากกองคุ้มครองพันธุ์พืช โทรมาชวนไปเสวนาเรื่องเกี่ยวกับการคุ้มครองพันธุ์พืช พอเขาบอกว่าไปที่จังหวัดกาญจนบุรี แทบไม่ต้องคิดเลย ตกลงไปก่อน เพราะชอบที่จะเดินทางเป็นทุนอยู่แล้ว

คุยรายละเอียดกันสักพักหลังจากวางสาย ก็ต่อสายไปหาคุณทนายกฤตย์ ขอเชิญไปเป็นวิทยากรด้วยเพราะมีเรื่องราวเกี่ยวกับชวนชมอยู่บ้าง ส่วนตัวผมขอเป็นคนนั่งฟัง เก็บเกี่ยวข้อมูล เอามาเล่าให้สมาชิกในอาศรมฯได้รับรู้ เพราะบางเรื่องราวที่เราไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน ต้องใช้สมาธิในการฟัง และเก็บเกี่ยวข้อมูลเพิ่มเติมให้มาก เพื่อถ่ายทอดสิ่งที่ถูกต้องที่สุดให้กับผู้ที่จะมารับการถ่ายทอดต่อจากเรา

ไม่ใช่ยืนเรียงกันสิบคน แล้วกระซิบข้อความ จากคนแรกถึงคนสุดท้าย ข้อความที่ถูกต้องหายไปไหนก็ไม่รู้ 555...
โดย: เจ้าบ้าน [2 มิ.ย. 54 21:28] ( IP A:182.52.175.207 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   นัดคุณทนายให้มารับที่อาศรมฯตอนตี 3 กลัวไปไม่ทันลงทะเบียนสองโมงเช้า ซึ่งไปถึงที่จัดประชุม เวลาก็พอดีกำลังเหมาะ หลังหาข้าวกินกันคนละจานก็เข้าไปที่ผึ้ง-หวาน รีสอร์ท สถานที่ก็ดูดี สวยงาม ใครผ่านไปแถวนั้นก็ลองแวะไปพักดูครับ โฆษณาให้เสร็จ

หลังจากลงทะเบียน ก็หาที่พักผ่อน เดินสำรวจสถานที่ ให้คุณทนายเป็นนายแบบสักครั้ง เก็บภาพไว้เป็นที่ระลึก ถ้าใครดูแล้วชมว่าคุณทนายหล่อเหลาเอาการ ผมไม่เสียใจเลย เพราะคุณทนายกับผม เป็นมนุษย์พิมพ์เดียวกัน ต่างกันก็แค่ตำหนิในรอยยิ้มนิดหน่อย

โดย: เจ้าบ้าน [2 มิ.ย. 54 21:31] ( IP A:182.52.175.207 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   

โดย: เจ้าบ้าน [2 มิ.ย. 54 21:31] ( IP A:182.52.175.207 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   คุณทนายกำลังทำการบ้านก่อนเข้าไปสัมมนา ต้องศึกษาข้อมูล

โดย: เจ้าบ้าน [2 มิ.ย. 54 21:32] ( IP A:182.52.175.207 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   

โดย: เจ้าบ้าน [2 มิ.ย. 54 21:33] ( IP A:182.52.175.207 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   การเสวนาในวันนั้นมีบุคลากรจากกองคุ้มครองพันธุ์พืช ทั้งท่านผู้อำนวยการ นักวิชาการระดับด๊อกเตอร์หลายท่าน ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งเกษตรกรตัวจริง เนื้อหาหัวข้อตั้งไว้ใน 4 หัวข้อใหญ่ แต่ในที่นี้คงไม่ลงในรายละเอียดทั้งหมด เอาแค่กระพี้ไปก่อน เพราะถ้าจะเอาถึงแก่น กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชในเมืองไทย ยังไม่สะเด็ดน้ำเลย กฎหมายบางข้อ ยังขัดแย้งกัน บางมาตราเรื่องเดียวกัน แต่นิยามไปกันคนละเรื่องก็ยังมี เช่นที่มีด๊อกเตอร์ในภาคเอกชนบางท่าน อ่านกฎหมายให้ฟัง เรื่องเกี่ยวกับนิยามของคำว่าพืช ในกฎหมายฉบับที่ต่าง พ.ศ..กัน เนื้อหาแตกต่างกันซะงั้น

ผมถ่ายทอดตามแบบฉบับ ส่วนตั้ว ส่วนตัว เพราะว่า การพูดเป็นเรื่องผมนั้นไม่ถนัด แต่ถ้าพูดให้เกิดเรื่องละก็ ดูมันง่ายกว่าเยอะ 555..

โดย: เจ้าบ้าน [2 มิ.ย. 54 21:34] ( IP A:182.52.175.207 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   กฎหมายคุ้มครองพืช มีความสำคัญไหม สำหรับเกษตรกรเมืองไทย โดยเฉพาะนักปรับปรุงสายพันธุ์

ผมมองว่าจำเป็น แต่เนื่องจากเป็นของใหม่ ในวงการเกษตรบ้านเรา ทั้งขาดการประชาสัมพันธ์ในวงกว้าง ทำให้ได้รับความสนใจค่อนข้างน้อยจากเกษตรกรไทย หรือนักปรับปรุงพันธุ์พืช บางคนมองไปว่า ทำไปก็เท่านั้น ต่างประเทศ เขายังฟ้องร้องกันไม่ได้เลย เหมือนเสือกระดาษ กัดไม่ได้ อันนี้จากที่ฟังวิทยากรจากกอง ฯ พูดมาหลายครั้งแล้ว สรุปได้ว่า มันมีผล

โดย: เจ้าบ้าน [2 มิ.ย. 54 21:35] ( IP A:182.52.175.207 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   สำหรับต่างประเทศ อย่างน้อยมันมีประโยชน์สำหรับเกษตร ถ้าท่านมีพืชที่ได้รับการคุ้มครองอยู่ ทางเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะเป็นปากเป็นเสียงแทนท่านได้ ในเวทีโลกถ้าเกิดปัญหา ส่วนในวงการต้นไม้เมืองไทย มีประโยชน์เยอะครับ เพียงแต่ท่านศึกษาสักนิด กฎหมายให้สิทธิ์และโอกาสกับท่าน น่าเสียดายมากทีเดียวที่ท่านละทิ้งสิทธิ์และโอกาสนั้น ไม่ทำให้เกิดประโยชน์

โดย: เจ้าบ้าน [2 มิ.ย. 54 21:36] ( IP A:182.52.175.207 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   ด๊อกเตอร์ท่านนี้ พูดได้ชัดเจนฉะฉานและแม่นยำเรื่องราวดีครับ จัดว่าเป็นผู้หญิงเก่งอีกท่านหนึ่ง

ส่วนกฎหมายการคุ้มครองพันธุ์พืชในประเทศไทย เริ่มจากเหตุผลทางการค้า ประเทศไทยต้องการสมัครเป็นสมาชิก องค์การการค้าโลก World Trade Organization (WTO ) เป็นองค์กรนานาชาติ สังกัดองค์การสหประชาชาติ (UN) และ ภายใต้ข้อบังคับของ WTO ให้สมาชิกทุกประเทศต้องมีกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช ร่วมกับ คุ้มครองพันธุ์พืชโลก (Plant Variety Protection World) (อันนี้ข้าพเจ้าขี้เกียจหารายละเอียดให้ลึกกว่านี้)
หมายถึง สมาชิก WTO ทั้งโลกต้องอยู่ภายใต้กติกานี้เหมือนกัน คำตอบเกี่ยวกับถ้ามีปัญหาการละเมิดสิทธิ์ในต่างประเทศ เกษตรกรจะจัดการอะไรได้บ้าง ?

โดย: เจ้าบ้าน [2 มิ.ย. 54 21:38] ( IP A:182.52.175.207 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   ต้องสมมุติ กันหน่อยจะได้เห็นภาพชัด

คุณหน่อง ผสมพันธุ์สับปะรดสี ได้พันธุ์ใหม่ที่แปลกสวยงาม และ นำไปจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืช ได้รับผลการคุ้มครองจากกฏหมายเรียบร้อยแล้วประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา มีนักขยายพันธุ์สับปะรดสีในอเมริกา (ซึ่งเป็นประเทศสมาชิก WTOเหมือนกัน) นำสับปะรดสีของคุณหน่องไปขยายพันธุ์ขายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากคุณหน่อง

กรณีนี้คุณหน่องสามารถนำเรื่องราวไปปรึกษาหรือร้องเรียน ที่กองคุ้มครองพันธุ์พืชไทยให้ช่วยดำเนินการจัดการให้ได้ (แต่ในรายละเอียด ลืมถามแฮ่ะ)

โดย: เจ้าบ้าน [2 มิ.ย. 54 21:39] ( IP A:182.52.175.207 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   แต่ถ้าไม่ใช่ประเทศที่เป็นสมาชิก WTO เหมือนกัน เช่นบางประเทศแถบอัฟริกา หรือแถบบ้านเราเช่นพม่า เขมร (ถ้ายังไม่ได้เป็นสมาชิกWTO) คุณหน่องจะไปขอความช่วยเหลือให้คุ้มครองสิทธิ์ จากตรงไหน ?

ส่วนตัวผมมองว่า คงต้องขอความคุ้มครองสิทธิ์จากศาลพระภูมิ หรือศาลเจ้าที่หน้าบ้านนั่นแหละครับ 5555..

โดย: เจ้าบ้าน [2 มิ.ย. 54 21:40] ( IP A:182.52.175.207 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   ชักไปไกลแล้วกลับมาเมืองไทยดีกว่า สำหรับนักปรับปรุงสายพันธุ์พืชในบ้านเรา มีกฎหมายบางข้อ ที่จำเป็นต้องทราบไว้ คือเรื่องการแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างท่านผู้ทำการปรับปรุงพันธุ์สำเร็จกับรัฐบาล ตามกฎหมายมาตรา 52,53 พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืชปี 2542 (ไปหาอ่านเอาครับ) ถ้าปรับปรุงสายพันธุ์เพื่อการค้าเลี่ยงยากครับ ทั้งพืชพื้นเมืองทั่วไป พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น และพืชป่า รัฐบาลออกกฎหมายครอบคลุม บีบจมูก และ ปิดตาเอาผลประโยชน์จากเกษตรกรไทยเรียบร้อย

โดย: เจ้าบ้าน [2 มิ.ย. 54 21:41] ( IP A:182.52.175.207 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
   สมุมติอีกที..ผมเป็นคนทำนา (นักปรับปรุงสายพันธุ์) แต่ไม่มีเงินลงทุน ต้องใช้แรงงานตัวเองไถนาแทนควาย ไถดะ ไถแป หว่านข้าวเรียบร้อย เหนื่อยแทบตาย รัฐไม่เคยให้เงินช่วยเหลือสนับสนุนเลย ผมมีความสุขเมื่อข้าวตั้งท้องออกรวงมาเต็มท้องทุ่ง พอลมหนาวมาเยือน ข้าวเริ่มแก่เป็นทุ่งสีทอง (เหมือนการปรับปรุงสายพันธุ์ทำได้สิ่งที่ดีออกมา)

รัฐเดินเข้ามาและบอกว่า เฮ้ย. ผลผลิตน่ะส่วนหนึ่งต้องแบ่งปันให้รัฐนะ ในฐานะการเป็นพลเมืองไทยที่ดี ห้ามหลบเลี่ยงเป็นอันขาดผิดกฎหมาย

โดย: เจ้าบ้าน [2 มิ.ย. 54 21:42] ( IP A:182.52.175.207 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
   วิทยากรท่านนี้เป็นด๊อกเตอร์จากภาคเอกชนอีกท่านหนึ่ง ซึ่งมีลีลาการพูดที่ชัดเจน พูดตรงประเด็น ดึง ลาก ชี้นำ ข่วยเหลือ เพือนผู้ร่วมสนทนาได้ยอดเยี่ยม...

ความรู้สึกในแง่ดี มันก็หดหายไป จริงอยุ่มีท่านด๊อกเตอร์วิทยากรบางท่านบอกว่า สำหรับกฎหมายฉบับนี้ เราต้องทำใจที่จะต้องอยู่ร่วมกับมัน

วันนั้นในช่วงสุดท้าย ผมรีบกลับบ้านเพราะง่วงนอน และต้องเดินทางอีกไกล ใจจริงๆ อยากจะตอบว่า กฎหมายฉบับนั้น มันไม่ใช่เมียที่บ้านครับ เราไม่จำเป็นต้องทำใจที่จะอยู่ร่วมกับมัน ปัญหาการเลี่ยงกฎหมายจึงเกิดขึ้นอยู่เสมอในสังคมไทย เพราะ กฎหมายไทย เหมือนจะเป็นธรรมแต่มันไม่ยุติธรรม เช่น

โดย: เจ้าบ้าน [2 มิ.ย. 54 21:46] ( IP A:182.52.175.207 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
   การปรับปรุงสายพันธุ์พืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าว ผลไม้ พันธุ์ไม้เศรษฐกิจ เช่น ยูคาลิปตัส เหล่านี้ เมื่อปรับปรุงสายพันธุ์ออกมา ผลตอบแทนค่อนข้างยาวนานและสูง

แต่ถ้านักปรับปรุงพันธุ์ไม้สวยงาม ประเภทเป็นอาหารใจ ทำออกมาขายได้บ้าง ไม่ได้บ้าง เพราะมันไม่ใช่เรื่องจำเป็นในชีวิตประจำวันแบบ ข้าว

โดย: เจ้าบ้าน [2 มิ.ย. 54 21:47] ( IP A:182.52.175.207 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
   วิทยากรท่านนี้เป็นชาวญี่ปุ่น เป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองพันธุ์พืช มาร่วมให้ความเห็น และเล่าเรื่องราวของการคุ้มครองพันธุ์พืชในญี่ปุ่น พูดภาษาอังกฤษได้รื่นหูน่าฟังมาก เนื่องจากท่านเสียงทุ้ม และพูดแบบมีจังหวะจะโคน ไม่พูดภาษาอังกฤษแบบให้คนฟังคิดว่า จะรีบไปลงเรือด่วน เดี่ยวเดินทางไม่ทัน..

มาต่อเรื่องข้างบนกัน..ถ้าต้องโดนเก็บค่าต๋งเหมือนกันเท่ากัน โดยเฉพาะเอกชนรายย่อยบางรายที่ทำการปรับปรุงสายพันธุ์ด้วยความรักความชอบเป็นการส่วนตัว ชวนชมบ้าง ลีลาวดี ,โกสน, อโกลนีมา ขายบ้าง แจกบ้าง ใครเขาอยากจะเข้าไปในระบบให้เสียตังค์ เสียอารมณ์

ฉะนั้นเรื่องเกี่ยวกับการคุ้มครองพันธุ์พืช จึงยังไม่เป็นที่สนใจของนักปรับปรุงสายพันธุ์รายย่อยในไทยเท่าที่ควร เพราะในวงการไม้ประดับบ้านเรา มันก็มีประเพณี การดำรงอยู่ และการอยู่ร่วมกันด้วยมารยาทมาแต่ครั้งก่อน

ต่างกับนักปรับปรุงสายพันธุ์ภาคเอกชนของบริษัทใหญ่ๆ ที่มีผลประโยชน์ ในการจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศค่อนข้างสูง แต่เชื่อว่าสำหรับกฎหมายมาตรา 52,53 นี้ เขาก็คงคิดเหมือนกันแหละ ว่านั่นไม่ใช่เมียที่บ้าน ที่เขาจะต้องอดทนอยู่ร่วม ยังไงเขาก็ต้องหาทางเลี่ยง 5555..

เขียนไปเขียนมา ลืมซะอีกแล้ว ว่าเขียนมาทางไหน ชักงง..

โดย: เจ้าบ้าน [2 มิ.ย. 54 21:52] ( IP A:182.52.175.207 X: )
ความคิดเห็นที่ 17
   กลับมาพูดในมุม การคุ้มครองพันธุ์พืชกับเกษตรกรผู้ปรับปรุงสายพันธุ์อีกครั้ง

ถ้ายังจำกันได้ สมัยหนึ่ง โครงการพืชสวนครัวรั้วกินได้ รัฐบาลสมัยหนึ่งซื้อเมล็ดพันธุ์พืชจากบริษัทใหญ่ เพื่อแจกให้เกษตรกรทั่วไปปลูก พืชผักบางชนิด เมล็ดพันธุ์กิโลละหลักแสนบาท ..อุแม่เจ้า แบบนี้บริษัทใหญ่ๆ เขาก็ทำได้ มีทุนพร้อมผลคุ้มค่า
ในลิสต์รายชื่อพืช ที่ส่งเข้าจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืช ส่วนมากมีแต่ของกินได้ และ ของแปรรูปเพื่อการใช้สอยในชีวิตประจำวัน เช่นไม้ยูคาลิปตัส ผลิตออกมาได้ตลาดรองรับค่อนข้างกว้าง ผิดกับพวกไม้สวยงาม ปรับปรุงสายพันธุ์ออกมา ยังจะต้องโดนใจคนซื้อ ต้องดูหัวลม ดูกระแสของตลาด ซึ่งเป็นการยาก ที่จะคุ้มทุนกับการลงใจ ลงแรงพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์ ซึ่งกรณีนี้คุณทนายกฤตย์ได้ยกขึ้นมากล่าวอ้างในวันนั้นด้วย

โดย: เจ้าบ้าน [2 มิ.ย. 54 21:56] ( IP A:182.52.175.207 X: )
ความคิดเห็นที่ 18
   อีกอย่างหนึ่งที่ผมได้มาในวันนั้น คือการสอบถามเจ้าหน้าที่ จากกองคุ้มครองพันธุ์พืช เรื่องเกี่ยวกับสับปะรดสี เพราะปัจจุบันในประเทศไทยเรา มีนักผสมพันธุ์สับปะรดสี เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ผมมองว่าสับปะรดสี มีวิธีการขยายพันธุ์ที่แตกต่างจากไม้อื่นๆ ทำให้การเพิ่มจำนวนค่อนข้างช้า การปรับปรุงสายพันธุ์น่าจะมีจุดที่คุ้มทุนได้ง่าย

แต่ต้องไม่ลืมด้วยว่า สับปะรดสี สามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้แล้วเป็นบางชนิดในประเทศไทย เกิดสับปะรดสีของท่านที่พัฒนาสายพันธุ์ออกมาด้วยความลำบาก โดนซื้อไปบ้างเล็กน้อย และนำไปขยายพันธุ์ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ขายแข่งกับท่าน ความรู้สึกที่ได้ก็คงไม่แฮบปี้เท่าไหร่ แล้วจะทำยังไง จึงพอที่จะคุ้มครองสิทธิ์ในผลงานของท่านที่ทำมา

ปัจจุบัน พืชที่สามารถจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืช ตามคำสั่งของรัฐมนตรีได้ มีกี่ชนิด จำไม่ได้แฮะ..แต่ไม่มีสับปะรดสีอยู่ในรายชื่อแน่นอน ผมได้สอบถามเจ้าหน้าที่แล้วว่า สามารถทำได้ แต่ควรรวมตัวกันเสนอเรื่องขึ้นไป จึงฝากเรื่องไว้ให้มือปรับปรุงสายพันธุ์สับปะรดสีทั้งหลายพิจารณาด้วย

การไปสัมมนาในครั้งนี้ก็ได้รับความรู้และแรงฮึดในการปรับปรุงสายพันธุ์พืชมาพอสมควร ถึงแม้จะไม่ค่อยยินดีกับกฎหมายบางมาตราไปบ้าง แต่ก็ถือว่า เราเป็นไทย ต้องทำหน้าที่พลเมืองไทยที่ดี ตามกฎหมาย

โดย: เจ้าบ้าน [2 มิ.ย. 54 21:57] ( IP A:182.52.175.207 X: )
ความคิดเห็นที่ 19
   และในการสัมมนาในครั้งนี้ มีท่านด๊อกเตอร์ นักวิชาการบางท่าน พูดถึงการขึ้นทะเบียนพันธุ์ชวนชม เพชรบ้านนาด้วย ในแง่ของความเป็นห่วง กลัวว่าจะมีคนชาติอื่น นำขึ้นไปจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืช อันจะทำให้คนไทยเราเสียประโยชน์และเสียโอกาสทางด้านการค้าในโอกาสต่อไป

ส่วนเรื่องสำคัญอีกเรื่องก็คือ ท่าน ผ.อ. กองคุ้มครองพันธุ์พืช ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องราวข่าวที่ว่า มีประเทศอื่นนำไม้ของไทยแอบไปจดขึ้นทะเบียนพันธุ์พืช เช่น เปล้าน้อย หรือ มังคุด และมีการต่อว่ากัน ว่ากองคุ้มครองพันธุ์พืชทำอะไรอยู่ เราโดนขโมยไม้อีกแล้ว

ท่านผ.อ แจ้งให้ทราบโดยทั่วกันว่า.. ยกตัวอย่าง..มังคุด
ประเทศญี่ปุ่น เขาไม่ได้เอาพันธุ์มังคุด ไปขึ้นทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืช แต่เขาเอามังคุดไปแปรรูป และเขาจดทะเบียน วิธีแปรรูปมังคุดนั้นต่างหาก อาจจะแปรรูปเป็นยา เป็นอาหารเสริม เป็นน้ำมังคุดเพื่อสุขภาพ แต่เขาคุ้มครองวิธีแปรรูป ไม่ใช่คุ้มครองสายพันธุ์ เปล้าน้อยก็เช่นกัน และอาจจะมีพืชอื่นๆอีก

ไปกินกาแฟของเขามาแล้ว ผมเลยมาช่วยแก้ตัว เฮ้ย แก้ข่าวให้ทางกองสักนิด 555...

แล้วก็เมื่อยเพราะพิมพ์มาเยอะแล้ว ยังมีเรื่องขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชอีกอย่าง (ต่างจากคุ้มครองพันธุ์พืช) เอาไว้คุยวันหลังแล้วกัน เมื่อยขนาด สวัสดีครับ

โดย: เจ้าบ้าน [2 มิ.ย. 54 21:58] ( IP A:182.52.175.207 X: )
ความคิดเห็นที่ 20
   ขอบคุณคุณอรรถพลมากครับ ได้ความรู้มากเลยเกี่ยวกับเรื่องนี้
โดย: paradon_sela@hotmail.com [3 มิ.ย. 54 9:35] ( IP A:182.53.195.11 X: )
ความคิดเห็นที่ 21
   ขอบคุณครับสำหรับความรู้ที่แบ่งปัน
โดย: หนึ่ง ชุมพร [3 มิ.ย. 54 11:43] ( IP A:111.84.144.189 X: )
ความคิดเห็นที่ 22
   เข้ามาอ่านครับ...
ขอบคุณครับ...
โดย: ดุ่ย [3 มิ.ย. 54 13:02] ( IP A:110.77.177.57 X: )
ความคิดเห็นที่ 23
   ขอบคุณมากครับพี่ท่านเจ้าบ้าน ได้ความรู้มากมาย ฟังดูเหมือนจดลิขสิทธิ์เพลง ผมเลยมีข้อสงสัยมากมายเช่น
-สมมุติ ซื้อต้นจากต่างประเทศจากรังที่มีชื่อ บังเอิญเลี้ยงดีแตกหน่อเยอะเลยแบ่งขายออกไปบ้าง เจ้าของรังเืกิดอิจจาอยากเล่นงานก็สามารถเรียกร้องส่วนแบ่งการขายได้ใช่ไหมครับ
-สมมุติ เราสามารถสร้างพันธุ์ใหม่ขึ้นมาจดทะเบียนแล้ว ปรกติไม่ได้ขายแต่แบ่งปันให้เพื่อน แล้วเพื่อนเอาไปเลี้ยงดีได้หน่อขายไปมากมาย รัฐจะเก็บส่วนแบ่งที่เพื่อนที่ขาย หรือผู้จดทะเบียน งงครับ
แต่สุดท้ายกฏหมายก็เป็นประโยชน์ในมุมกลับที่เราถูกลอกเลียนเช่นกันครับ
โดย: wee [3 มิ.ย. 54 15:17] ( IP A:202.28.24.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 24
    สมมุติ ซื้อต้นจากต่างประเทศจากรังที่มีชื่อ บังเอิญเลี้ยงดีแตกหน่อเยอะเลยแบ่งขายออกไปบ้าง เจ้าของรังเืกิดอิจจาอยากเล่นงานก็สามารถเรียกร้องส่วนแบ่งการขายได้ใช่ไหมครับ

เงื่อนไขของกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช (เพราะว่าต่างอยู่ภายใต้คุ้มครองพันธุ์พืชโลก ภายในกฎของ WTO ) ตรงนี้อธิบายเฉพาะคุ้มครองพันธุ์พืชไทยนะครับ คาดว่าคงไม่แตกต่างกันเท่าไหร่

ชิ้นส่วนขยายพันธุ์ (เช่น หน่อ, กิ่ง, เมล็ด ฯ) ของต้นไม้ที่ได้รับการคุ้มครองพันธุ์พืชตามกฎหมาย เมื่อจะขายต้องติดหมายเลขที่ได้รับอนุญาตจากรัฐ ถ้าไม่ติดหมายเลข เจ้าของคนที่ขายมีความผิดตามกฎหมาย และถ้าใครละเมิด ก็มีความผิดทั้งทางแพ่งและอาญา สามารถฟ้องได้ถึงขั้นล้มละลาย เพราะกฎหมายกำหนดโทษไว้สูง

ที่คุณถามว่าซื้อมาจากรังในต่างประเทศ เขาสามารถฟ้องเราได้ไหม ถ้าเขาจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืช ตอบว่าได้ครับ แต่ตอนที่เขาขายคุณมา ควรจะมีหลักฐานบอกว่า พันธุ์ไม้ของเขามีการคุ้มครองตามกฎหมาย

แต่ถ้าเขาไม่ได้จดทะเบียนคุ้มครอง เขาฟ้องคุณไม่ได้ครับ

สมมุติ เราสามารถสร้างพันธุ์ใหม่ขึ้นมาจดทะเบียนแล้ว ปรกติไม่ได้ขายแต่แบ่งปันให้เพื่อน แล้วเพื่อนเอาไปเลี้ยงดีได้หน่อขายไปมากมาย รัฐจะเก็บส่วนแบ่งที่เพื่อนที่ขาย หรือผู้จดทะเบียน งงครับ

เก็บที่ผู้ทรงสิทธิ์ที่ได้รับการคุ้มครองพืชตามกฎหมายครับ จนกว่าคุณจะโอนสิทธิ์-แบ่งสิทธิ์ การคุ้มครองให้คนอื่น หรือ ผู้สืบสันดานตามกฎหมาย เหมือนมรดกครับ โอนได้ สงสัยจะขายได้ด้วยซ้ำ ลืมถามมา

การคุ้มครองมีระยะนับจากวันได้รับการคุ้มครอง มีตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป หมายถึง พันธุ์ไม้ที่สามารถมีผลผลิตได้ภายใน 2 ปี คุ้มครอง 12 ปี

พวกไม้ที่ให้ผลผลิตช้า มีระยะการคุ้มครองยาวออกไปอีก ผมจำไม่ได้ทั้งหมด คาดว่าจะเป็น 17 ปีประมาณนี้ครับ

ถ้าต้องการรายละเอียดเพิ่มขึ้น เกี่ยวกับการคุ้มครองพันธุ์พืช สามารถถามได้ทุกอย่างครับ ผมอยากให้เกษตรกรและผู้ปรับปรุงสายพันธุ์พืชระดับชาวบ้าน แบบเราๆ ศึกษาเรื่องนี้ไว้ เพื่อเป็นประโยชน์ครับ
โดย: อรรถพล [3 มิ.ย. 54 18:30] ( IP A:125.27.118.237 X: )
ความคิดเห็นที่ 25
   หุหุหุ ที่จริงแล้ว ท่านเจ้าอาศรมมีคิวเป็นวิทยากร แต่คงไม่ชอบกล้อง
เลยโยนให้ผมไปนั่งทำหล่อแข่งกับระดับดอกเตอร์ เ
ไปพลางๆ
...งานนี้ต้องขอขอบคุณหน่วยงานกรมวิชาการเกษตร ที่จัดขึ้นมา
หลายครั้ง บางท่านอาจไม่ทราบว่าเขาจัดทำไม แต่ในฐานะนักกฎหมาย
ผมพอเข้าใจว่าเขาจัดขึ้นมาเพื่อนำข้อมูล 3 ฝ่าย คือผู้ออกกฎหมาย ผู้ดูแลกฎหมาย
และผู้ใช้กฎหมาย ว่ามันสามารถปฏิบัติ สอดคล้องกันไม่ขัดกันได้แค่ไหน
ถ้ามีส่วนที่มีปัญหา ส่วนที่ขัดกัน หรือส่วนที่ใช้ไม่ได้ มีรูร่วที่ไหนก็อุดกันไป
ขาดตกที่ไหน ก็เติมกันให้เต็ม ซึ่งผมเห็นว่าทุกส่วนฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ตลอดผู้มีส่วนได้เสีย พยายามช่วยกันผลักดัน ให้กฎหมายใช้ได้ตามวัตถุที่ประสงค์
โดยทุกๆฝ่ายสามารถปฏิบัติตามได้โดยไม่เกิดความขัดแย้งหรือเดือดร้อน
.....การจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืช เปิดให้จดแล้วกว่า70ชนิด
แยกเป็นพืชไร่ ไม้ผล ไม้ประดับ หลากหลาย มีผู้ขอยื่นคำร้องจด
นับ 700 กว่ารายการ ดำเนินการแล้วเสร็จเท่าไหร่ผมไม่ทราบ
...จุดแรกของผม ดังที่ตั้งปฏิธานไว้ตั้งแต่ต้นว่า อยากทำสายพันธุ์ชวนชมใหม่ๆ
สักสายพันธุ์ ไม่คิดว่าจะกลายเป็นผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐ
ที่พยายามผลักดันให้ ประเทศไทยมีนักปรับปรุงพันธุ์พืช และมีการจดทะเบียน
คุ้มครองพันธุ์พืช ตามเงื่อนไขของWTO ตามที่ท่านเจ้าอาศรมได้เกริ่นไว้แล้ว
...ในแง่ของคนเล็กๆอย่่างผม คงทำได้แค่ เป็นตัวแทนภาคเกษตรกร
ที่นำปัญหาสำหรับส่วนไม้ประดับ ไปบอกล่าวให้เขาฟัง เผื่อจะมีการจ่ายให้ภาครัฐ
ตามบัญชีท้าย พรบ.(ตอนนี้ยังไม่มี) น้อยลงก็เป็นได้
เพราะผมแจ้งไปว่า ไม้ดอกไม้ประดับบางอย่าง การจดทะเบียน
เป็นได้แค่ความภาคภูมิใจของคนผลิต แต่การทำตลาดอาจล้มเหลว
หรือขาดทุนก็เป็นไปได้ เรียกว่าจดไม่คุ้มนั่นเอง
.....แต่ทั้งหมดนั่นเป็นเรื่องราวในอนาคต กฎหมายยังปฏิบัติไม่ได้เต็มที่
ช่องว่างก็ยังมีให้เลี่ยง คงต้องดูเกมส์นี้ยาวๆครับ
ชวนชม ลั่นทม ภาครัฐมองเห็นความสำคัญแล้วครับ ว่าเป็นพืช
ที่สมควรประกาศให้มีการจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์ แต่ทว่า กระแสความนิยม
มันสั้น มันมีรอบ2-4 ปี ใครล่ะจะกล้าลงทุน เพราะเกษตรกรของเรา
ยังรู้จักการตลาดแบบเดิมๆ ยังไม่เคยใช้การตลาดแบบลิขสิทธิ์
จึงเป็นจุดกลัวที่ไม่ขอเสี่ยงจด แต่เมืองนอกเมืองนา เขาเอื้อประโยชน์
เขาคุ้มครองผู้ที่จด(ทรัพย์สินทางปัญญา)มากมาย ก็คาดว่าการประชาสัมพันธ์
ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คงสัมฤทธิ์ผลในเร็ววันนะครับ
สำหรับวันนี้สวัสดีครับ
โดย: กฤตย์ ลูกไม้ไทย [3 มิ.ย. 54 22:31] ( IP A:110.49.31.99 X: )
ความคิดเห็นที่ 26
   อ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่รับรู้ถึงความตั้งใจดี
ขยันพิมพ์ยาวๆให้อ่าน แต่คนอ่านกลับขี้เกียจซะงั้น
ผมหวังแค่อยากเห็นชาวนาไทยมีความเป็นอยู่สมกับปลูกพืชที่คนต้องกินกันทุกวัน น่าจะรวย แต่เงินไปตกอยู่ที่ใครหมด...จะหวังผู้มีอำนาจในบ้านในเมืองให้ช่วยเหรอ เขาคงคิดให้ชาวนาช่วยทำให้พวกเขารวยต่อๆไป ง่ายกว่าเยอะ
ผมมีโอกาสเจอสมาชิกชมรมมิตรเพลงฯ ที่ชื่นชอบเพลงลูกทุ่งเก่าๆเหมือนกัน แกใช้นามแฝงว่า "ป้าส. สิ้นหวัง" ผมสงสัยมานานว่า ส. ย่อมาจากชื่อจริงของแกว่าอย่างไร
แกตอบผมว่า " สยาม สิ้นหวัง"
(สาธุ ขอให้แกชื่อสยามเถอะครับ อย่าหมายความเป็นอื่นเลย)
โดย: หน่อง [4 มิ.ย. 54 15:41] ( IP A:61.7.146.26 X: )
ความคิดเห็นที่ 27
   คุณหน่อง เรื่องมันยังไม่จำเป็น เป็นเรื่องไกลตัว ส่วนมากก็จะเหมือนกันครับ ขี้เกียจอ่านผมก็เป็นเหมือนกันแหละ ธรรมดาเลยไม่ค่อยพิมพ์เรื่องยาวๆ ไว้นึกจำเป็นจะต้องใช้ ต้องรู้ ค่อยมาศึกษาก็ได้ครับ

สวัสดีน้องๆ และสหายทั้งหลายที่เข้ามาอ่าน หวังว่ามันคงเป็นประโยชน์กับท่านได้บ้าง ถึงจะไม่ใช่ตอนนี้ แต่สักวันมันอาจมีประโยชน์ครับ
โดย: อรรถพล [4 มิ.ย. 54 19:24] ( IP A:125.27.139.131 X: )
ความคิดเห็นที่ 28
   ไปก็ไม่ชวน ฝนตก ว่างงานจัด...555+++
โดย: takajad [4 มิ.ย. 54 19:51] ( IP A:125.27.124.17 X: )
ความคิดเห็นที่ 29
   ตาเท วันที่ 16 นี้ ไปดูงานประกวดโป๊ยเซียนกัน
โดย: อรรถพล [4 มิ.ย. 54 19:55] ( IP A:125.27.115.94 X: )
ความคิดเห็นที่ 30
   ไปคร้าบบบบ....เดี๋ยวพรุ่งนี้ได้โทรศัพย์แล้วจะโทรไปหาครับ
โดย: takajad [4 มิ.ย. 54 21:15] ( IP A:125.27.124.17 X: )
ความคิดเห็นที่ 31
    ขอขอบคุณครับ ....แวะมาอ่านเพื่อรับทราบความเป็นไปของกฏหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับต้นไม้ใบหญ้า...
โดย: มือกระบี่จากฟากโพ้นทะเลบูรพา [5 มิ.ย. 54 19:59] ( IP A:125.27.58.209 X: )
ความคิดเห็นที่ 32
   พั้กฤตย์ดูเหนื่อยนะครับ ยังไงงานหนักก็พักบ้าง เป็นห่วงครับ....
โดย: พลภัทร [5 มิ.ย. 54 23:42] ( IP A:124.122.49.122 X: )
ความคิดเห็นที่ 33
   เพิ่งเข้ามาอ่านคำตอบ ขอบคุณท่านพี่เจ้าบ้านมากครับ
โดย: wee [6 มิ.ย. 54 8:47] ( IP A:202.28.24.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 34
   ขอบคุณครับ ว่าแต่ว่า เมื่อไหร่รัฐจะดูแลภาคเกษตรให้ดี ให้ทั่วถึงน้อ พี่น้อง แบบจริงใจน่ะ
โดย: ลมBKK2373 [7 มิ.ย. 54 11:41] ( IP A:125.27.122.132 X: )
ความคิดเห็นที่ 35
   หนับหนุนอย่างเป็นทางการครับ มีสิ่งไหนให้ลูกบ้านช่วยบอกได้คับ ช่วยเต็มความสมารถคับ
โดย: เอ็ม วังไทร bbk2000 [10 มิ.ย. 54 12:31] ( IP A:180.180.191.225 X: )
ความคิดเห็นที่ 36
   แวะมารับความรู้ครับ
โดย: ศรีราชาดีไลท์ 122 [15 มิ.ย. 54 11:38] ( IP A:202.136.14.9 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน