arsomlilavadee.pantown.com
ชวนชม <<
กลับไปหน้าแรก
จดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืช
การจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืช จะมีผลคุ้มครองตามกฎหมาย เจ้าของผู้ยื่นจดทะเบียน จะได้ใช้ชื่อว่า.. ผู้ทรงสิทธิ์..ก็ต่อเมื่อ ขั้นตอนการยื่นจดทะเบียนทุกอย่างเสร็จสิ้นลง...ซึ่งขั้นตอนสุดท้ายคือ..
การประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งมีรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนาม..แล้วจึงถือว่าเสร็จสมบูรณ์ ต้นไม้นั้นๆมีผลคุ้มครองทางกฎหมาย..
ปัจจุบันยังไม่มีชวนชมชื่อใด มีผลคุ้มครองตามกฎหมาย แบบถูกต้อง ล้วนแล้วแต่เป็นการแอบอ้างที่ไม่มีผลทางกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชทั้งสิ้น..
ข้อมูลต่างๆ สอบถามความชัดเจนได้ที่ กองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร ซึ่งตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์บางเขน...เกี่ยวกับข้อบังคับกฎหมายต่างๆ ก็หาอ่านศึกษาได้โดยทั่วไป..ไม่สามารถจะอธิบายเป็นข้อกฎหมายได้ทั้งหมด เพราะเรื่องมันยาว..อ่านกฎหมายแล้วปวดหัว..
อธิบายอย่างง่ายๆให้พอเข้าใจว่า..ถ้าท่านจะจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืช ท่านต้องมาติดต่อที่กองคุ้มครองพันธุ์พืชหรือพบเจอเจ้าหน้าที่ ไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง เรื่องถึงจะเสร็จสมบูรณ์...
ถ้าท่านทำแปลงปลูกทดลองเปรียบเทียบเอง ท่านจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ .. 14600 บาท
ถ้าท่านให้เจ้าหน้าที่จัดการให้ โดยท่านแบกต้นไม้ไปให้เขาจัดการ ค่าใช้จ่ายจะประมาณ.. .43000 บาท
(ตัวเลขอาจคลาดเคลื่อนเล็กน้อย เพราะใช้การจดจำ จากการเข้าประชุม แต่ราคาจะประมาณนั้น)
หลังจากที่ทางอาศรมฯได้เข้าไปศึกษา และลงมือทำร่วมกับ บ้านลูกไม้ไทย ของคุณกฤตย์ และจากการอำนวยความสะดวกบางประการของทางเจ้าหน้าที่ ทำให้มีช่องทางในการจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืช ง่ายและประหยัดขึ้น ..
ค่าใช้จ่ายประมาณ 4500-5000 บาท..
ท่านต้องมาพบเจ้าหน้าที่แค่ 2 ครั้งเท่านั้น ..ครั้งแรก เซ็นต์ลงแปลงปลูกเปรียบเทียบ..และ อีกครั้ง ตอนมารับหมายเลขคุ้มครองพันธุ์พืช..
ท่านจะมีสิทธิ์ทำแบบนี้ได้ โดยผมรับเป็นธุระในหลายๆเรื่องให้.ท่านต้องเป็นสมาชิกของอาศรมฯเท่านั้น...
ตั้งแต่ดูไม้ ผมจะช่วยพิจารณาคร่าวๆให้..
ยื่นเรื่อง ผมจะไปเอาเอกสารที่กองคุ้มครองพันธุ์พืช มาร่วมส่งให้ท่านที่ประสงค์จะทำ พอท่านเซ็นต์เสร็จส่งกลับมา ผมก็จะเดินทางไปยื่นเรื่องให้ (โดยเฉพาะท่านที่อยู่ไกลๆ)
ต้นแม่พันธุ์ที่จะจดทะเบียน ถ่ายรูปทุกมุมส่งมาให้ผม..ส่วนกิ่งพันธุ์ที่ใช้เสียบปลูกเปรียบเทียบทดลอง ท่านต้องเสียบและส่งมาปลูกที่อาศรมฯ..ไม่ต่ำกว่า 1 ปี ..หลังจากเสร็จเรื่อง ท่านต้องเอากลับไปให้หมด เพราะไม้ที่จดทะเบียนคุ้มครองเสร็จแล้ว ผมไม่ปลูกเอาไว้ให้เกะกะหรอกครับ ..เพราะมันเป็นสิทธิ์ของท่านแต่ผู้เดียวในประเทศไทย...
การทำการตลาด..มีแผนคร่าวๆ ที่ผมคิดไว้อยู่บ้างแล้ว ทั้งนี้การทำการตลาด ท่านมีสิทธิ์จัดการของท่านเองตามที่ท่านปรารถนา...ข้อดีของการทำ มีมากมาย..ซึ่งผมเคยแจ้งให้สมาชิกหลายๆท่านทราบไปแล้ว วันนี้ยังไม่อธิบายรายละเอียด..แต่สามารถโทรมาสอบถามได้ทุกท่าน ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป..
.
โดย: อรรถพล [18 มิ.ย. 52 17:26] ( IP A:125.27.119.48 X: )
ความคิดเห็นที่ 1
รอบแรกผมจะรับประมาณ 7 ท่าน ที่จะจด ซึ่งบางท่านอาจจะจด 2 ต้น..ผมต้องดูแลไม้ทั้งสายพันธุ์ที่ขอจด และสายพันธุ์เปรียบเทียบ ร่วม 200 กระถางกว่าปี จึงขอแค่นี้ก่อน ..
อ้อ.ลืมแจ้งไป วันที่ท่านเดินทางมารับหมายเลขทะเบียนคุ้มครอง เตรียมเงินค่าธรรมเนียมมาอีกหนึ่งพันบาทครับ ไม่รวมค่าใช้จ่ายข้างบน
และวันนี้เสนอไม้เตรียมจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืช ตัวนี้ครับ..
มงกุฎไพลิน..
ตั้งชื่อโดยเจ้าของสายพันธุ์ คือคุณชมภู แห่งจังหวัดกระบี่..ลักษณะเด่นของไม้ตัวนี้มีพอสมควร ในการเสนอตั้งชื่อ..และขอลงใช้ชื่อนี้ไว้แต่บัดนี้ เพื่อจะได้ไม่มีใครมาใช้ซ้ำกัน..
โดย: อรรถพล [18 มิ.ย. 52 17:42] ( IP A:125.27.115.172 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
คุณสมบัติขิงไม้ที่จะนำไปจดทะเบียนเป็นยังไงบ้างครับพี่ ขอไกด์ไลน์หน่อย....
โดย: พลภัทร [18 มิ.ย. 52 19:13] ( IP A:124.122.241.79 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
ต้องเป็นไม้ที่บุคคลอื่นไม่มี หรือมีคล้ายกันได้ แต่ไม้ที่เราจะนำไปจดทะเบียนต้องสามารถพิสูจน์ได้ว่า
แตกต่างอย่างไรกับของผู้อื่นที่คล้ายกัน ทั้งยังมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเจนด้วย
และที่สำคัญ ต้องเป็นไม้ที่มีความนิ่งของสานพันธุ์มากกว่า 90%
หากท่านไม่แน่ใจ หรือความนิ่งสายพันธุ์น้อยกว่า 90% รัฐจะไม่สามารถจดทะเบียนให้ท่านได้ และท่านอาจเสียเงินและเสียเวลาฟรี ควรอย่างมากที่จะศึกษาหรือสอบถามให้ถ่องแท้เสียก่อน
คุณอรรถพล ควรทิ้งเบอร์ติดต่อของหน่วยงาน หรือเว็บไซต์ ให้ท่านอื่นได้สอบถามด้วยตนเอง เพราะการสื่อสารผ่านบุคคลที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่โดยตรง อาจผิดเพี้ยนได้
หมายเหตุ ที่กล่าวมาเป็นการรับฟังในครั้งแรกที่ประกาศกฎระเบียบนี้ และไม่ได้ติดตามต่อเนื่อง อาจมีความเปลี่ยนแปลงได้
โดย: พั้ง BBK421 [18 มิ.ย. 52 20:21] ( IP A:58.8.103.111 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
ยกตัวอย่าง ดอกซ้อนของสวนหัสดี จะไปขอจดดอกซ้อนเหมารวมหลายๆดอกหลายๆลาย เป็น 1 จดทะเบียนไม่ได้ ต้องจดแยกเป็นเบอร์ไป
และข้อที่ไม่รัดกุมอีกอย่างของการจดทะเบียนนี้ และถือเป็นความผิดพลาดของหน่วยงานรัฐอย่างมาก คือ
หากไม้ได้รับการจดทะเบียนสมบูรณ์แล้ว แต่วันนึงไม้หลุดไปอยู่ต่างประเทศ ท่านสามารถฟ้องได้
แต่ต้องไปฟ้องที่ประเทสนั้นๆเอง ออกค่าใช้จ่ายเอง
และที่สำคัญ ฟ้องได้เฉพาะประเทศที่มีอนุสัญญานี้เหมือนกับประเทศไทย
โดย: พั้ง BBK421 [18 มิ.ย. 52 20:26] ( IP A:58.8.103.111 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
ผิดพลาด ตกหล่น คลาดเคลื่อนอย่างไร ยินดีรับการชี้แนะคับ และไม่ได้หมายความว่า ผมไม่เห็นด้วยกับการจดทะเบียนนะคับ เพียงแต่เอาสิ่งที่ได้มีโอกาศไปรับฟังมาแบ่งปันกัน
ไม่ง่ายอย่างที่คิด
แล้วอีกอย่างคับ สมมุติว่าไม้จดทะเบียนเรียบร้อย ท่านต้องเป็นผู้จำหน่ายเอง หรือ ท่านสามารถมอบความยินยอมให้ผู้อื่นจำหน่ายได้ โดยทำนิติกรรมทางกฏหมายให้ครอบคลุม
ข้อเสีย คือ
โดยปรกติเราๆท่านๆก็ทราบกันอยู่ว่า คนทำไม้เก่ง ไม่ได้บ่งชี้ว่าจะขายเก่ง ดังนั้น หากท่านจดทะเบียนไปแล้ว แต่ขายไม่เก่งหรือโปรโมทด้านการตลาดไม่เก่ง ไม้นั้นก็จะด้อยค่าลงไปทันที เพราะขายออกไปได้น้อย (ในกรณีนี้ หมายถึง ท่านมุ่งเน้นจดทะเบียนเพื่อมุ่งทำเงิน) อาจไม่คุ้มกับค่าจดทะเบียน เพราะ ว่าท่านต้องมีค่าใช้จ่ายให้กับหน่วยงานรัฐเป็นรายปีด้วย
ตรงนี้รู้สึกว่าคุณอรรถพลไม่ได้ระบุคับ
โดย: พั้ง BBK421 [18 มิ.ย. 52 20:35] ( IP A:58.8.103.111 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
แล้วถ้าผมจะเอาลีลาวดีด่างไปรวมกลุ่มจดจะได้ไม๊ครับ เงื่อนไขเดียวกันหรือเปล่า....
โดย: พลภัทร [18 มิ.ย. 52 20:40] ( IP A:124.122.241.79 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
จดได้คับ ถ้าเข้าเงื่อนไข และใช้เงื่อนไขเดียวกัน
โดย: พั้ง BBK421 [18 มิ.ย. 52 20:45] ( IP A:58.8.103.111 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
ขอบคุณครับ พี่เจ้าบ้าน
โดย: ชมภู [1099] [18 มิ.ย. 52 22:48] ( IP A:118.173.146.93 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
พอดีเนตไม่ปรกติครับช่วงหัวค่ำใช้ได้นิดหน่อย พอทุ่มกว่าๆล่มทุกที..มันน่าจริงๆ ...ต้องเปลี่ยนมาใช้เนตตอนเช้าแทน
คุณพลภัทร ลั่นทมกับชวนชมเงื่อนไขเดียวกัน ..ควรจะเป็นไม้ใหม่ มีรากแก้ว ไม่เคยจำหน่ายมาก่อนหนึ่งปี ที่ยื่นเรื่องขอจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืช..
คุณพั้ง ...
ต้องเป็นไม้ที่บุคคลอื่นไม่มี หรือมีคล้ายกันได้ แต่ไม้ที่เราจะนำไปจดทะเบียนต้องสามารถพิสูจน์ได้ว่า แตกต่างอย่างไรกับของผู้อื่นที่คล้ายกัน ทั้งยังมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเจนด้วย
และที่สำคัญ ต้องเป็นไม้ที่มีความนิ่งของสานพันธุ์มากกว่า 90%
ตรงนี้คุณไปศึกษารายละเอียดให้ชัดเจนก่อน ว่าความหมายถึงที่สุด ของประโยคเหล่านี้ อยู่ตรงไหน..ผมเคยอธิบายให้เพื่อนสมาชิกบางท่านฟังไปแล้ว..เรื่องมันยาว ขี้เกียจพิมพ์ เพราะผมจะทำให้สมาชิกที่สนใจจริงๆเท่านั้น...ส่วนเงินเสียค่ายื่นคำร้อง 100 บาท จดไม่ได้ก็ไม่ต้องจ่ายตังค์ ส่วนเรื่องการเสียเวลา น่าจะเป็นผม มากกว่าสมาชิกที่สนใจนะ
การติดต่อหน่วยงาน ผมแจ้งแล้ว อยู่ที่กองคุ้มครองพันธุ์พืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์บางเขน อย่าโทรไป สนใจควรเข้าไปสอบถามด้วยตนเอง.. อย่าว่าแต่โทรไปจะรู้เรื่องหรือเปล่า เข้าไปฟังวันที่เขาประชุมชี้แจง ถามว่ามีกี่ท่านที่เข้าใจเรื่องราวบ้าง ผมยังไม่แน่ใจเลย บางทีก็เข้าใจไปคนละเรื่องเดียวกัน โดยที่ไม่ได้สอบถามและศึกษาต่อเนื่อง การอ่านและการฟังอย่างเดียว เสร็จแล้วคิดเอาเอง อาจไม่ใช่คำตอบสุดท้ายที่ถูกต้องครับ ตัวอย่างมีให้เห็นอยู่มากมาย ในการตอบกระทู้ทั่วไปตามเว็บต่างๆนี่แหละ..
ส่วนข้อกฎหมายต่างๆ หาอ่านง่ายๆ ก็หนังสือไม้ดอก-ไม้ประดับ เชื่อว่าถ้าคนสนใจ เขาคงอ่านกันไปเยอะแล้ว
อีกอย่างกว่าผมจะลงเรื่องราวชักชวนเพื่อนสมาชิก (จริงๆมีการพูดคุยนอกรอบกัน หลายท่านและหลายครั้งแล้ว) ผมต้องสอบถาม และศึกษา จนมีข้อมูลที่ชัดเจนแล้ว เช่นเมื่อวาน ผมก็ได้โทรศัพท์ คุยกับเจ้าหน้าที่เขาอยู่ รับรองว่าผมเลยวัย เล่นขายข้าวขายของมานานแล้ว..
ส่วนตัวอย่างดอกซ้อนของเฮียคุง ที่คุณพั้งยกมา เป็นความเข้าใจผิดของคุณอยู่แล้ว ที่คิดว่าจะจดดอกซ้อนเหมาๆรวมๆกันได้เป็นเบอร์เดียวกันได้ เพราะตั้งแต่ต้นที่มีการเปิดจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชมา ผมยังไม่เคยเห็นเจ้าหน้าที่เขาบอกแบบนั้น หรือ มีข้อบังคับออกมาแบบนั้น..
แต่มันมีเงื่อนไขหนึ่ง ที่สามารถทำรวมกันได้หลายๆท่าน ..ตามเงื่อนไขที่ผมบอก..ซึ่งคุณอาจจะต้องศึกษาและหาข้อมูลความเป็นไปได้เอาครับ..
ส่วนการเล็ดลอดไปต่างประเทศ มันไม่มีอนุสัญญาอะไรคุ้มครอง กฎหมายเขาออกมาครอบคลุมแล้วครับสำหรับชวนชมไทย ยังไม่มีตัวไหนขึ้นทะเบียนแบบ โซโคมรานั่มบนเกาะโซโคต้า ที่ติดอนุสัญญาไซเตส... ของเราทำได้แค่เงื่อนไขการเป็นสมาชิก WTO เหมือนกัน สามารถฟ้องได้ตามเงื่อนไขการเป็นสมาชิกเท่านั้น.. เพราะวันนั้นที่ประชุม ดร.สาวิตรี เป็นคนถาม คำตอบคือ มันดำเนินการลำบาก ซึ่งสมาชิกทุกประเทศ มีสิทธิ์ทุกอย่างเท่ากัน..
.
โดย: อรรถพล [19 มิ.ย. 52 7:49] ( IP A:125.27.115.50 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
จริงอยู่มันไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด..แต่คุณลองทำหรือยัง ถึงทราบว่ามันยากหรือง่าย เรื่องราวบางอย่าง มันก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิดเช่นกัน เพราะว่ามันยังมีอีกหลายเงื่อนไข ที่เป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้ทำได้
ส่วนข้อเสีย อย่าไปคิดเรื่องการตลาดมากครับ ที่ชวนชมดอกซ้อนของเฮียคุง ไม่ประสบผลสำเร็จในการจำหน่ายเท่าที่ควร ไม่ได้หมายความว่า ด้านการตลาดเก่งหรือไม่เก่ง อาจจะอยู่ที่จังหวะ หรือ โอกาส และปัจจัยอื่นๆประกอบด้วย ส่วนข้อดีที่ผมพูดให้เพื่อนสมาชิกหลายๆท่านฟังบ่อยๆ คือ การโปร่งใส ในวงการชวนชมสำหรับอนาคต ก็ขอทิ้งไว้ก่อนที่จะยังไม่อธิบาย
ส่วนภาษีรายปีที่ต้องเสียให้กับรัฐนั้น ผมเห็นว่าเป็นเรื่องหลัง จึงยังไม่ได้ลงรายละเอียดทั้งหมด ซึ่งยังมีเกร็ดเล็ก เกร็ดน้อยอยู่อีกพอสมควรในหลายๆเรื่อง ซึ่งไม่ใช่เรื่องหลัก..
เสียภาษีให้รัฐปีละ 1000 บาท ถ้าการตลาดทำได้ไม่ดี ขายยาก ก็หยุดจ่ายภาษีซะ ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ และสำหรับชวนชมกฎหมายคุ้มครองแค่ 12 ปีเท่านั้น (ไม้อื่นมีแตกต่าง) หลังจากนั้น ไม้จะตกเป็นสาธารณะ..
สรุปนะครับ
1.. ผมต้องศึกษาความเป็นไปได้ก่อน ที่จะลงมือทำ เพราะไม่ได้เล่นขายของ ..และกว่าที่ผมจะคิดดำเนินการแบบที่ผมแจ้งสมาชิก มิใช่ผมนั่งทางในเอา..ว่ามันทำแบบนั้นได้...
2..เงินที่สมาชิกจะต้องจ่าย ค่อนข้างต่ำกว่าปรกติมาก และ จริงๆที่อยากเรียนให้ทราบคือ สมาชิกบางท่านยินดีโอนเงินเต็มจำนวนที่แจ้งมาให้ผมก่อนเลยด้วยซ้ำ ..แต่ก็ไม่ใช่ที่ผมจะรับ..เรื่องบางเรื่องเงินมาทีหลังครับ ต้องคิดให้เป็น มิใช่สักแต่จะขายเอาเงินอย่างเดียว โดยที่ไม่ดูในเรื่ององค์ประกอบอื่นๆ...ส่วนเรื่องเวลา ศึกษาดูดีๆครับ ที่เสียเวลาไม่ใช่สมาชิกที่ทำ แต่เป็นผมต่างหาก ถ้ามันผิดพลาดมีปัญหา
สำหรับสมาชิกที่สนใจโครงการนี้ สิ่งหนึ่งที่ต้องนึกถึงก่อนเลย คือไม้ที่จะนำมาจด...จำไว้นะครับ..
ถ้าความเด่นมีไม่พอ ไม่ดึงดูดใจลูกค้า การตลาดดีอย่างไรมันก็ขายไม่ดี.. การตลาดที่ผมคิดและเคยบอกสมาชิกบางท่านไว้ คือรวมกันอย่างสะอาดและพอเพียง ...รายละเอียดต่างๆ จะแจกแจงเมื่อถึงเวลาครับ...แต่เชื่อว่ายังไงซะ แค่สี่ห้าพัน คุ้มค่าแน่นอนครับ และรับรองว่าการทำตลาดคนละแนวทาง กับการจำหน่ายชวนชมดอกซ้อนของเฮียคุง..ที่คุณพั้งมีส่วนร่วมในการจำหน่ายแน่นอนครับ
.
โดย: อรรถพล [19 มิ.ย. 52 7:51] ( IP A:125.27.115.50 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
เป็นมาตราฐานเริ่มต้นสำหรับพันธุ์พืชไทยครับ ต่อไปคนปรับปรุงพันธุ์พืชเค้าจะได้มีกะจิดกะใจ ทำงานครับ อย่าไปคิดมากของพึ่งเริ่ม ขั้นตอนอาจเปลี่ยนได้ในอนาคด การรวมกลุ่มกันทำผมคิดว่าดี ทำให้เข้มแข็ง และรับรู้ข่าวสารได้เร็ว
โดย: ลูแปง [19 มิ.ย. 52 9:02] ( IP A:58.147.40.53 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
ผมอ่านสิ่งที่พาดพิงผม ของคุณอรรถพล หลายๆอย่าง คิดว่าคุณอรรถพล เข้าใจหลายอย่างคลาดเคลื่อนไปบ้าง แต่ไม่ได้เป็นสาระสำคัญอะไรต่อผม เพราะว่าผมต้องการใช้กระทู้นี้เพื่อถกเถียงกันให้เกิดประโยชน์ต่อวงการชวนชมโดยรวม
และอย่างที่บอกไปแล้วว่า ผมยินดีรับการชี้แนะจากทุกคน และต้องขอขอบคุณคุณอรรถพลมา ณ ที่นี้ด้วย ที่นำเรื่องราวี่มีประโยชน์ต่อส่วนรวม มาเผยแพร่และช่วยสนับสนุนเพื่อน สมช ท่านอื่นที่สนใจ รวมทั้งการชี้แจงพาดพิงผม ผมเองก็ถือว่าเป็นประโยชน์ จึงอยากปรับความเข้าใจให้ตรงกัน
(
โดยเฉพาะ
ผมเองไม่ได้ทำธุรกิจชวนชมแต่อย่างไรในตลาดในประเทศ ดังนั้นเชื่อได้ว่า สิ่งที่ผมชี้แจงจะไม่มีการอิงผลประโยชน์ หรือพูดเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ใคร ในทุกกรณี
)
และผมเองไม่มีอคิติต่อการจดทะเบียนฯ และไม่ได้มุ่งหวังขัดขวางแต่อย่างไร เพียงเข้ามาแชร์ความเข้าใจที่รับรู้มา
เพื่อให้เพื่อนสมาชิกเห็นมุมมองที่แตกต่าง
และตักตวงสิ่งดีๆให้มากที่สุด
โดย: พั้ง BBK421 [19 มิ.ย. 52 9:57] ( IP A:58.8.99.36 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
ขอชี้แจงเพิ่มเติม การจำหน่ายดอกซ้อน ในปัจจุบันผมไม่ได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับสวนหัสดีมานานเกือบ 2 เดือนแล้ว ปัจจุบันเพียงช่วยเฮียคุงบ้างในฐานะคนรู้จักและมีพระคุณ ไม่ได้มีส่วนในเชิงนโยบายแต่อย่างไร
โดย: พั้ง BBK421 [19 มิ.ย. 52 10:06] ( IP A:58.8.99.36 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
ครับ เพิ่งเข้ามาอาศรม
เรื่องการจดทะเบียน ชวนชม ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ของวงการ
และนักวิชาการต้องบอกก่อนว่าไม่มีความรู้มากนักกับชวนชม
เรียกว่าใหม่ทั้งคนจด และคนรับจด
....นักวิชาการบอกว่า ผมเองก็ต้องพึ่งพาหาความรู้กับเจ้าของสวนเช่นกัน
...ในการประชุมที่กรมวิชาการเกษตร ครั้งแรก ผมมีโอกาสเข้าไปฟัง เพราะสวนเพชรไพลิน ได้ที่นั่งมา 3 ที่ แบ่งให้ผม 1 ที่ เลยมีโอกาสเข้าไปนั่งฟัง
...ในวันนั้นมีแต่สวนใหญ่ๆ เจ้าของสายพันธุ์ต่างเข้าไป มีดร.สาวิตรี และหลายท่านเข้าไปฟังการประชุมเปิดตัวการจด ทะเบียนชวนชมเป็นครั้งแรกในเมืองไทย
...และวันนั้นผมอาจเป็นตัวเล็กๆในสายตา ผู้หลักผู้ใหญ่ ซึ่งมุมมองในตอนนั้น เขาต้องการฟังว่า
ไม้ดังดั้งเดิมต่างๆ สามารถนำมาจดได้หรือไม่เท่านั้น
...เมื่อฟังแล้ว ต่างคนต่างยิงคำถามเพื่อหาจุดดีของการจดทะเบียน
แต่เท่าที่ฟังคำถามส่วนใหญ่ คือ
1.สายพันธุ์เดิมๆ จดได้หรือไม่
2.กังวลเรื่องการตลาด กลัวจดแล้วขายไม่ได้
ซึ่งส่วนใหญ่ถามแต่ 2 เรื่องนี้
...เจ้าหน้าที่มาสรุปบอกว่าไม้ที่จดได้ ต้องเกิดจาก การคัดกรองจากแปลงเพาะปลูก การผสมพันธุ์ หรือกลายพันธุ์ และไม่เคยจำหน่ายจ่ายแจก ให้แก่ผู้ใด ใน 1 ปี ก่อนจด
...เท่ากับว่า สายพันธุ์ดั้งเดิมเป็นพันธุ์ป่า หรือพันธุ์พื้นเมืองไปโดยปริยาย จึงหมดคำถามที่จะซักเจ้าหน้าที่ต่อ
...เหลือแต่เด็กๆรุ่นใหม่อย่างผม ซักต่อในเรื่องการนำสายพันธุ์มาจด
เช่น เอามาจากต่างประเทศจดได้หรือไม่ ซึ่งเจ้าหน้าที่บอกว่า ถ้าคุณทราบที่มาที่ไปของเทือกเถาเหล่ากอไม้ต้นนั้นได้ ก็จดได้ เช่นเขาผสมอะไร ใครกับใคร ใครเป็นพ่อเป็นแม่ ตรงนี้ถ้าตอบได้ก็มาจด
...เจ้าหน้าที่บอกว่า วัตถุประสงค์ของการจด เพื่อต้องการให้มีนักปรับปรุงพันธุ์พืชเกิดขึ้นในเมืองไทย มีการพัฒนาสายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง และมีการคุ้มครองสิทธิให้เขาด้วยผลแห่งกฎหมาย
...นับแต่วันนั้น ผมรู้ดีว่าวงการชวนชม กำลังเข้าสู่ยุคใหม่ ทั้งสายพันธุ์ และการตลาด จะถูกกำหนดโดยทิศของคนกลุ่มใหม่รุ่นใหม่
...วันนี้อาจเป็นเพียงภาพเงาที่เลือนลาง และอาจจะชัดเจนยิ่งๆขึ้นต่อไป สิ่งที่เรากลัว สิ่งที่เรากังวล มันยังไม่มีภาพให้เห็น พวกว่าสิ่งเหล่านี้
มนเป้นอุปสรรค์เพียงน้อยนิดถ้าเทียบกับความภาคภูมิใจ ว่าครั้งหนึ่งเรามีชื่อเป็นเจ้าของชวนชมสัก 1 สายพันธุ์ ความภาคภูมิใจตรงนี้ต่างหากที่ผมอยากได้ และผมเชื่อว่าการตลาด มันมีช่องทางที่หลากหลายไว้คอยให้คนคิดและทำได้ในเวลาต่อมา
...ผมเห็นว่า ท่านที่เลี้ยงชวนชม หลายท่านมีฐานะอยู่สุขสบายโดยไม่ต้องการขายเพื่อประทังชีวิต และผมเชื่อว่า ประเด็นนี้อาจฉุกคิดให้ท่านเป็นส่วนหนึ่งในความภาคภูมิใจกับการพัฒนาสายพันธุ์ได้บ้าง
...ทั้งท่านเจ้าบ้าน ที่มีแนวคิด ลดภาระค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียน ทั้งเฮียพั้ง ที่มีมุมมองที่กว้างออกไป ทุกๆท่าน ล้วนแล้วคือผู้ที่ร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาวงการชวนชมด้วยกันทั้งสิ้น
...ชม red star ต้นนี้อาจเป็นหนึ่งต้นที่ผมจะนำไปจดทะเบียนครับ
โดย: กฤตย์ ลูกไม้ไทย [19 มิ.ย. 52 12:31] ( IP A:124.120.66.21 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
ต้นนี้อีก 1 ต้น แคระใบฟ้า ดอกเล็กจิ๋วหริ๋ว แบบนี้
โดย: กฤตย์ ลูกไม้ไทย [19 มิ.ย. 52 12:41] ( IP A:124.120.66.21 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
ดอกกะเปี๊ยกแค่นี้ ต้องเอาไปจดวะแล้ว
...ไม้กลุ่มกลายพันธุ์จดง่ายที่สุด ลักษณะเด่น
1.ใบเล็กแข็งสีฟ้า
2.ดอกเล็กปลายแหลม
เป็นการผสมปิดในดอกเดียวกัน ของต้นแม่ มงกุฎไสว
...ข้อมูลแค่นี้เพียงพอต่อการจดทะเบียนแล้วครับ
โดย: กฤตย์ ลูกไม้ไทย [19 มิ.ย. 52 12:44] ( IP A:124.120.66.21 X: )
ความคิดเห็นที่ 17
มีพบน.ด่างอีกต้น เล็กเกินไป
ในกลุ่มไม้ด่างก้จดง่าย เพราะเราไม่ได้หวังผลถึงรุ่นลูก เราใช้แค่กิ่งแค่ใบ ถ้าไม้ท่านใดมีใบด่างสวยงาม เป้นเอกลักษณะไม่เหมือนใคร นำมาจดได้เลยครับ
..ผมไม่บังคับว่าจะจดแบบไหน ค่าใช้จ่ายมีกำหนดตายตัว แต่ถ้าจดแบบประหยัด ต้องที่อาศรมลีลาวดีครับพี่น้อง
โดย: กฤตย์ ลูกไม้ไทย [19 มิ.ย. 52 12:50] ( IP A:124.120.66.21 X: )
ความคิดเห็นที่ 18
ปั่นกระทู้ด้วยไม้ด่างหวานแหวว
โดย: กฤตย์ ลูกไม้ไทย [19 มิ.ย. 52 12:51] ( IP A:124.120.66.21 X: )
ความคิดเห็นที่ 19
เรื่อยๆครับ
โดย: กฤตย์ ลูกไม้ไทย [19 มิ.ย. 52 12:52] ( IP A:124.120.66.21 X: )
ความคิดเห็นที่ 20
ชมครับ ความหลากหลายของความสวยงามในชวนชม
โดย: กฤตย์ ลูกไม้ไทย [19 มิ.ย. 52 12:53] ( IP A:124.120.66.21 X: )
ความคิดเห็นที่ 21
อย่าให้สิ่งเหล่านี้ลบหายไปด้วยการเวลา นำสิ่งที่มีค่าในปัจจุบัน จารึกไว้ในความทรงจำของมวลมนุยชาติ เพราะครั้งหนึ่ง เราคือผู้จารึกสิ่งเหล่านี้ไว้ครับ
โดย: กฤตย์ ลูกไม้ไทย [19 มิ.ย. 52 12:58] ( IP A:124.120.66.21 X: )
ความคิดเห็นที่ 22
คุณพั้ง พักนี้ผมเป็นโรคเฉื่อยชา ขี้เกียจอธิบายเรื่องราวต่างๆมาก ถ้าเป็นปีที่แล้ว ยังขยันตอบกระทู้ นึกถึงคุณ 18 ปีที่แล้ว ให้ความเห็นกันแบบไม่เคยยั้ง..และผมไม่อยากให้เป็นแบบนั้นอีก เพราะคนที่มีใจแบบคุณ 18 หาไม่ได้ง่ายๆในโลกเนต คือมีทั้งเหตุและผล รู้ว่าถูกและผิด เป็นผู้ชายและเป็นผู้ใหญ่ กวดกันในกระทู้สนุกสนานครับ ลองไปหากระทู้เก่าๆอ่านดู
ขอบคุณ คุณทนายสวยทุกต้น ว่าแต่ต้นไหนจะเอามาเลี้ยงที่อาศรมฯครับ
โดย: อรรถพล [19 มิ.ย. 52 18:45] ( IP A:125.27.119.16 X: )
ความคิดเห็นที่ 23
ใจละลายเลยค่ะแต่เห็นภาพไม้ด่างของคุณกฤตย์มากๆค่ะยิ่ง Red Star ต้องนอนฝันถึงแน่ๆ
โดย: ดาวค่ะ [19 มิ.ย. 52 20:18] ( IP A:203.146.63.182 X: )
ความคิดเห็นที่ 24
ว่าจะเอาต้นนี้ไปจดครับ ต้นแม่รากแก้วยังอยู่ แต่มีการตัดไปแล้วและไม่ได้โตซักเท่าไหร่ แต่คงต้องขอคิดซักพักก่อนครับว่าจดดีไม่จดดี....
เพราะในแง่ธุรกิจมันไม่เกิดประโยชน์แน่ๆ(กับแนวทางการทำธุรกิจของผม) ส่วนการคุ้มครองพันธุ์ ผมไม่ค่อยแน่ใจว่าหากจะต้องมีการเอาผิดกันเรื่องจะจบลงอีท่าไหน เพราะในวงการไม้ประดับ ซ้ายก็พี่ ขวาก็เพื่อน แถมยังมีเพื่อนของพี่และเพื่อนของเพื่อนเข้าไปอีก เรื่องคงไปจบตรงที่เสียเวลาฟ้องเปล่า แต่ถ้าคุ้มครองได้ใน ตปท.ล่ะก็น่าสนครับ เพราะผมสับไม่เลี้ยงแน่ แต่ถ้าแค่ในประเทศผมคงถอยให้กับระบบพวกพ้องและระบบอาวุโสครับ....
โดย: พลภัทร [19 มิ.ย. 52 20:41] ( IP A:124.122.2.63 X: )
ความคิดเห็นที่ 25
ลืมภาพครับ....
โดย: พลภัทร [19 มิ.ย. 52 20:43] ( IP A:124.122.2.63 X: )
ความคิดเห็นที่ 26
อยากรู้เหมือนกันว่า ชวนชมต้นแรกที่ได้รับการจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืช จะประสบความสำเร็จทางการค้าหรือตลาดหรือไม่
ถ้าอาศัยเพียงว่ามีความแปลก แตกต่างจากไม้ที่มีอยู่ในตลาด มีลักษณะคุณสมบัติที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในพันธุ์นั้น ก็ไม่แน่ว่าคนซื้อจะชอบ ตอนนี้คนยังอยากได้ไม้ที่สวยเหมือนแม่พันธุ์ต้นแม่หรือกิ่งแม่ เช่น
มงกุฎทอง เพชรบ้านนา บางคล้า
ยิ่งไม้สี ต่อให้สวยมากแค่ไหนแป๊บเดียวราคาก็ลง เหมือนกับไม้ต่างประเทศที่มีคนเอาเข้ามาขาย จากกิ่งละหลายพันตอนนี้ราคา 50-100 บาทเอง
หรือ ชวนชมที่เป็นไม้กำแพง ใบพลาสติก ดอกซ้อนหรือแม้แต่โซโคต้า ที่มีความแปลกโดดเด่น คนก็ยังนิยมน้อยเมื่อเทียบกับไม้ดัง
ในความเห็นผมถ้าจดทะเบียน คุ้มครองพันธุ์พืช คงยากน่าดูเพราะ
พันธุ์พืชตามพระราชบัญญัตินี้(คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542) ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้ (มาตรา 11)
(1) มีความสม่ำเสมอของลักษณะประจำพันธุ์ทางด้านสัณฐานวิทยา สรีรวิทยา หรือคุณสมบัติอื่นที่เป็นผลเนื่องจากการแสดงออกของสภาพทางพันธุกรรมที่จำเพาะต่อพันธุ์พืชนั้น
(2) มีความคงตัวของลักษณะประจำพันธุ์ที่
สามารถแสดงลักษณะประจำพันธุ์ได้ในทุกครั้งของการผลิตส่วนขยายพันธุ์พืชนั้น
เมื่อขยายพันธุ์ด้วยวิธีทั่วไปสำหรับพืชนั้น
(3) มีลักษณะประจำพันธุ์แตกต่างจากพันธุ์อื่นอย่างเด่นชัด ทางสัณฐานวิทยา สรีรวิทยา หรือมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งเป็นผลเนื่องจากการแสดงออกของสภาพทาง พันธุกรรมที่แตกต่างจากพันธุ์พืชอื่น
ลักษณะของพันธุ์พืชตาม (1) ไม่ใช้บังคับกับพันธุ์พืชป่า
ผมขอถามคุณกฤตย์ นะครับ
ตรงประเด็นนี้
มาตรา 12 พันธุ์พืชที่จะขอจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
(1) เป็นพันธุ์พืชที่ไม่มีการนำส่วนขยายพันธุ์มาใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นการขายหรือจำหน่ายด้วยประการใด ทั้งในหรือนอกราชอาณาจักรโดยนักปรับปรุงพันธุ์ หรือด้วยความยินยอมของนักปรับปรุงพันธุ์เกินกว่าหนึ่งปีก่อนวันยื่นขอจดทะเบียน
ผมลองอ่านดูแล้วเหมือนกับว่า ถ้าเอามาจำหน่ายไม่เกิน 1 ปี ยังสามารถจดทะเบียนได้ไม่ใช่หรือครับ แต่ถ้าเอาออกมาขายเกิน 1 ปี คงเอามาจดไม่ได้ อยากให้คุณกฤตย์ ลองเอา พรบ. มาอ่านดูและตีความด้วยครับ
คือจะดูคล้ายๆ กับการจดสิทธิบัตร ถ้าเอามาเผยแพร่นานเกินไป เขาก็ไม่ยอมให้จด
ถามดูแบบไม่เคยเรียนกฎหมายนะครับ
โดย: som [19 มิ.ย. 52 23:07] ( IP A:124.121.46.33 X: )
ความคิดเห็นที่ 27
ไม่ซีเรียสคับคุณอรรถพล แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงสร้างสรร คุณอรรถพลเป็นคนตรงๆดี ไว้คงได้เจอกันใหม่เมื่อชาติต้องการคับ ^_^
ผมว่าจะเอาต้นนี้ไปจดเป็น 4toshop Adenium
โดย: พั้ง BBK421 [19 มิ.ย. 52 23:18] ( IP A:58.8.99.36 X: )
ความคิดเห็นที่ 29
อ่านแล้วดีใจ อย่างน้อยพวกพี่ๆก็ได้แสดงให้รุ่นหลังๆยังมีความหวังว่าวงการนี้ยังอยู่อีกนาน พี่น้องสามัคคีกันและแสวงหาสิ่งใหม่ๆที่เป็นประโยชน์อยู่เสมอครับ
โดย: อิทธิพล-LANA004 [20 มิ.ย. 52 6:37] ( IP A:118.172.28.125 X: )
ความคิดเห็นที่ 30
ตามนั้นเลยครับอาจารย์ ตรงตามอักษร ผมยังไม่ได้อ่าน พรบ. ฟังแต่ นักวิชาการกรม เชื่อว่า เรื่องตีความ กม. คงสู้ผมไม่ได้แน่ ขายไม่ถึง 1 ปี จดได้ครับ ถ้าตีความตามอักษร
ทีนี้ล่ะปัญหา ถ้าจดสำเร็จแล้ว คนที่ซื้อไปก่อนจด ไปขยาย ขายล่ะยุ่ง
คนที่ยุ่งก็คือคนจด จะเอาผิดย้อนหลังก็ไม่ได้ ทางที่ดี นักวิชาการเลยตัดบทตัดบัญหา ให้ผู้จดตัดสินใจเองว่าควรจดแบบไม่เคยขายหรือแจกจะดีกว่า ไม่มีปัญหามารบกวนเมื่อจดเสร็จแล้ว
โดย: กฤตย์ ลูกไม้ไทย [20 มิ.ย. 52 18:54] ( IP A:124.122.132.202 X: )
ความคิดเห็นที่ 31
แก้วกินรีจดได้ไม๊ครับ.... ผมต้องการแค่จดเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของสายพันธุ์เท่านั้น เรื่องการขายผมเปิดกว้างครับ.... ควรจดแบบไหนดี....
โดย: พลภัทร [20 มิ.ย. 52 19:11] ( IP A:124.121.140.253 X: )
ความคิดเห็นที่ 32
จดสายพันธุ์น่ะจดได้ เรื่องค่าใช้จ่ายอาจถูกมากด้วย แต่งเงื่อนไขการจดเขาบอกว่ายุ่งยากพอทน และระยะเวลาพิสูจน์น่าจะนาน ไว้เจอเจ้าหน้าที่จะสอบถามให้ หรือโทรไปถามกรมวิชาการเกษตรเลยครับ ได้คำตอบชัดเจนยิ่งขึ้น
โดย: กฤตย์ ลูกไม้ไทย [20 มิ.ย. 52 21:54] ( IP A:124.122.132.202 X: )
ความคิดเห็นที่ 33
เรื่องกฎหมายที่ผมสงสัย เพราะว่านักวิชาการเกษตรก็อาจไม่ถนัดในเรื่องตีความ แต่ถ้ามีการประกาศ พ.ร.บ. ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก็ต้องตีความตามที่เขียนไว้ ถ้ามันกำกวมคงต้องแก้ใหม่
ส่วนเรื่อง ขายก่อนหนึ่งปี ผมว่ามันไม่ต่างกันหรอกครับ ถึงขายหลังจดทะเบียนคุ้มครอง ถ้าเขาเอาไปขยายเขาก็น่าจะขายได้ แต่ส่วนใหญ่เขาจะทำได้ไม่ทันคนผลิตเพราะ คนที่เป็นเจ้าของพันธุ์ น่าจะมีสต็อก ไม้พอสมควรก่อนนำออกขาย ตั้งแต่แรกแล้ว และถ้าเราใช้หลัก คือกิ่งไม่ให้หลุดจากสวน ยากที่คนจะทำออกมาได้เหมือน
หรือว่า ถ้าผ่านการจดแล้ว คนอื่นที่ซื้อของเราไปห้ามเอาไปขยายพันธุ์และขายต่อ เหมือนแผ่นซีดี ดีวีดี ห้ามก๊อป ห้ามทำซ้ำ ต้นไม้ไม่เหมือนสิ่งของ มันมีลูกมีหลาน
ใจผมนะ น่าจะ จดเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของสายพันธุ์ แบบคุณพลภัทร และถ้าต้องการห้ามคนอื่นเอาชื่อไปขายก็จดทะเบียนทางการค้าเป็น แบรนด์ หรือเครื่องหมายการค้า สมมุติว่า เราจดชื่อ เพชรxx ใครก็ขายชื่อนี้ไม่ได้ ไม่มีสิทธิขาย เหมือนกับที่เราไม่สามารถขายน้ำอัดลม ในชื่อแป๊บซี่ หรือ โค๊ก ต่อให้เราทำได้ซ่าและอร่อยเหมือน หรืออร่อยกว่า ขนาด ไม้ดัง ที่เขาบอกว่าเขามีการจดทะเบียนไว้ (อะไรก้ไม่รู้) ก็ยังคุ้มครองจนใครก็ไม่กล้าใช้ชื่อนั้นขาย และยังอยู่ในตลาดชวนชมได้เป็นหลายปี
ขั้นตอนการตรวจพิสูจน์พันธุ์พืช ต้องใช้เวลาปลูกเพื่อดูความนิ่ง ใช้เวลาค่อนข้างนาน ชวนชมอาจต้องใช้เวลาเป็นปี ไม่เหมือนพืชผักสวนครัวที่ไม่กี่เดือนก็เห็นผลแล้ว ผมห่วงตรงขั้นตอนการพิสูจน์ การตรวจสอบลักษณะพันธุ์พืช ผมกลัวว่าถ้าทำแล้วจะไม่ผ่าน ดุแล้วน่าจะยากนะ แต่ถ้าใครทำได้ก็ขอแสดงความยินดีด้วย จะได้เป็นต้นแบบ สำหรับคนที่กำลัง จะทำบ้าง อยากรู้ด้วยว่าไม้พันธุ์อื่นที่เขาจดทะเบียนแล้วผลทางการค้าเป็นอย่างไรบ้าง
ขั้นตอนที่ 3
การตรวจสอบลักษณะพันธุ์พืช
หลังจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคำขอแล้ว หากเห็นว่าถูกต้องจะพิจารณาข้อมูลเพื่อหาพันธุ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงที่จะใช้ปลูกเปรียบเทียบและกำหนดแปลงปลูกทดสอบ เพื่อจะตรวจสอบพันธุ์พืชที่ขอจดทะเบียนว่ามีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ โดยผู้ยื่นขอจะต้องต้องส่งมอบส่วนขยายพันธุ์ที่จะปลูกตรวจสอบให้พนักงานเจ้าหน้าที่และจะต้องปลูกทดสอบพันธุ์พืชใหม่นั้น ณ แปลงทดสอบของผู้ขอจดทะเบียนหรือแปลงทดสอบของกรมวิชาการเกษตร หรือสถานที่อื่นที่อธิบดีประกาศกำหนดก็ได้ ในเรื่องเกี่ยวกับ
ความแตกต่างจากพันธุ์อื่นอย่างเด่นชัด
ความสม่ำเสมอของลักษณะประจำพันธุ์
ความคงตัวของลักษณะประจำพันธุ์
โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลการเก็บบันทึกลักษณะของพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ กรมวิชาการเกษตรจะแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบภาคสนามทำหน้าที่ประเมินผลการปลูกทดสอบดังกล่าวด้วย
โดย: som [21 มิ.ย. 52 1:57] ( IP A:124.122.253.186 X: )
ความคิดเห็นที่ 34
ขั้นตอนการจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่
ตามลิงค์ นี้ครับ
https://www.ipasian.com/shop/i/ipasian/img-lib/con_20080505175314_u.doc
พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542
https://www.thasta.com/pdf/
พระราชบัญญัติคุ้มครองฯ2542.pdf
โดย: som [21 มิ.ย. 52 2:18] ( IP A:124.122.253.186 X: )
ความคิดเห็นที่ 35
พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 ข้างบน ต้องก๊อปข้อความให้หมด ถึงจะเปิดได้ (
https://www.thasta.com/pdf/
พระราชบัญญัติคุ้มครองฯ2542.pdf )
หรือ
https://www.senate.go.th/jeab/admin/files/prb/250/349_2.pdf
หลักเกณฑ์การตั้งชื่อพันธุ์พืชใหม่ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542
https://as.doa.go.th/pvp/index/rabiab2.pdf
โดย: som [21 มิ.ย. 52 2:30] ( IP A:124.122.253.186 X: )
ความคิดเห็นที่ 36
ต้องถามใจตัวเองก่อนว่าเราจะจดทะเบียนเพื่ออะไร
ชั่วชีวิตของนักปรับปรุงพันธุ์ (ไม่ว่าพืชหรือสัตว์)ได้สายพันธุ์เกิดขึ้นจำนวนมหาศาล ยิ่งการผสมข้าม (สายเลือดห่างมากๆ) รุ่นลูกยิ่งมีการกระจายตัวมากตาม (มีทั้งลักษณะดีเลวปนๆกันอยู่ ทั้งที่มองเห็นด้วยตา และซ่อนอยู่ภายใน) ผ่านไปอีกหลายปีดีดัก เขาเลือกจด หรือจดได้เฉพาะบางสายพันธุ์เท่านั้น หรือบางคนทำงานจนแก่ตายก็ยังจดไม่ได้สักสายพันธุ์ แต่ความมุ่งหวังที่จะพัฒนาสายพันธุ์กลับไม่ได้ตายตาม ยังมีคนรุ่นต่อๆ มาสืบทอดเจตนาเสมอ
การขึ้นทะเบียน หรือจดทะเบียนฯ พันธุ์ส่วนใหญ่กลุ่มที่สนใจจะเป็นนักปรับปรุงพันธุ์ที่ทำงานประจำ ทั้งภาคเอกชนและราชการ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นภาครัฐมากกว่าเพราะถือเป็นผลงาน ส่วนภาคเอกชนจะจดเฉพาะสิ่งที่เพิ่มมูลค่าให้บริษัทจริงเท่านั้น (ส่วนที่เหลือคือ ความลับสุดยอด)
ส่วนภาคเกษตรกร (ภาคเอกชนอีกประเภทหนึ่ง ที่น่าสงสารที่สุด) เป็นภาคที่มีการพัฒนาสายพันธุ์ และนำไปสู่การใช้งานจริงและปฏิบัติจริงได้มากที่สุด ถ้าอยากเห็นภาพชัดๆ ลองนึกถึงพันธุ์มะม่วงต่างๆ เงาะ ทุเรียน ที่ดังๆ ล้วนเป็นฝีมือพี่น้องเราทั้งนั้น ส่วนภาครัฐเข้ามาทีหลัง กลุ่มนี้ไม่ได้สนใจขึ้นทะบง...ทะเบียน...เลย
โดย: กบ-BBK338 [21 มิ.ย. 52 10:49] ( IP A:124.121.180.60 X: )
ความคิดเห็นที่ 37
ขอบคุณ อ.สมที่นำมาให้อ่าน แต่ข้อมูลมันเยอะ ผมเคยพยายามอ่านมาหลายพักแล้ว จำไม่ค่อยได้..แต่ตาม พรบ.ปี 42 เปลี่ยนแปลงไปแค่ไหนผมไม่ทราบ แต่ที่แน่ๆ ไม่ได้ยื่นที่กระทรวงเกษตรครับ ยื่นที่เกษตรศาสตร์บางเขน อาจจะเปลี่ยนที่แล้ว..
ลั่นทมกับชวนชม เพิ่งเปิดให้จดทะเบียน เมื่อปี 2551 คือปีที่แล้วครับ เพิ่งเริ่ม..ผมเก็บข้อมูลไว้เยอะ แต่มันเยอะจนขี้เกลียดพิมพ์อธิบาย งานอะไรที่เกี่ยวกับราชการ มักจะเป็นเรื่องยาวทั้งสิ้น..
ข้อดีมันมีอยู่เยอะ ..และผมคิดจะทำให้เฉพาะเพื่อนสมาชิกที่สนใจเท่านั้น เพราะจริงๆแล้ว มันเป็นเรื่องยาวและยาก..
ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายก่อน คือ ค่าคำร้อง 100 บาท ..กระถาง 8 นิ้ว 14 ลูก..กระถาง 11 นิ้ว 14 ลูก..
ดินวัสดุปลูก สำหรับกระถาง..ถ้าการจดทะเบียนไม่เป็นผลสำเร็จ ก็ไม่ต้องจ่ายตังค์ แต่ผมต้องเลี้ยงต้นไม้กว่า 20 กระถางให้คุณเกินหนึ่งปี ..
ผมก็อยากทำให้ เพราะอยากเห็นความโปร่งใสในวงการชวนชม เมื่อจดทะเบียนเสร็จ สามารถใช้กฏหมายควบคุม จำนวนไม้ในวงการได้ ยิ่งถ้าทำกันเป็นกลุ่ม สามารถช่วยกันดูแลได้(ส่วนนี้ผมจะยังไม่ลงในรายละเอียด )
ฉะนั้นขอให้ลองคิดดูว่า เพื่อนสมาชิกที่ติดตามเรื่องนี้ ถ้าท่านทำ ท่านเสียอะไร เท่าไหร่ มาถึงตรงนี้ผมบอกตรงๆว่า ผมก็เลือกที่จะทำให้เฉพาะคนเหมือนกันครับ ไม่ทำให้ทุกคนแน่นอน..
คุณกบ ..มันเป็นเรื่องใหม่ครับ ถ้าเข้าไปศึกษาจะพบว่า ที่ใช้สิทธิ์ทางกฏหมาย ส่วนมากจะเป็นบริษัทใหญ่ๆเสียส่วนมาก เช่น เจียไต๋ หรือ ยูคาฯ ส่วนชาวสวนเรามีจดอยู่บ้างครับ ผลไม้ส่วนมากเป็นพันธุ์ดั้งเดิม จดคุ้มครองไม่ได้ นอกจากเป็นสายพันธุ์ลูกผสมใหม่ ซึ่งมีเข้าไปจดกันน้อยรายมากครับ ที่เห็นมีมาก ก็พวก มะเขือ แตงกวา พริก ยูคาลิปตัส ..ของพวกบริษัทใหญ่
แต่ก็ไม่ใช่ไม่มีนะครับ เมื่อประมาณ 6-7 ปีที่แล้ว ที่งาน ม.เกษตร บางเขน ทะเลาะกันเรื่องขนุน จดทะเบียนคุ้มครอง มีคนไปขายในชื่อพันธุ์ของเขา แต่จบยังไง ผมไม่ได้ติดตาม และเมื่อปี 2550 ที่งานสวนหลวง ร.9 ก็ขนุน จดทะเบียนอีกเหมือนกัน แต่คนละสายพันธุ์กัน..
จริงๆมีคนทำอยู่ แต่ไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลาย อย่างหนึ่งก็คือ คนไม่เห็นความสำคัญ ของกฎหมายตัวนี้ อีกอย่างคือ ทางรัฐ อธิบายประโยชน์ ของเรื่องนี้ ในวงที่ค่อนข้างแคบ ขาดการประชาสัมพันธ์ที่ต่อเนื่อง..
แต่ผมคิดว่า ในอนาคตกฏหมายตัวนี้ มีความจำเป็นมากในแวดวงการค้า เพราะโลกมันแคบลง การอยู่รวมกันหลายๆประเทศในโลก กฏ กติกาจะมากขึ้นเรื่อยๆ..ไม่ต่างจากวงการต้นไม้บ้านนา ที่ต้องรองรับความเปลี่ยนแปลงให้รวดเร็วและทันการ..
ส่วนของคุณพลภัทร ไว้วันหลัง จะอธิบายนิยามของคำว่า เพื่อน คนรุ้จัก และ ผู้อาวุโส วันนี้เมื่อยแล้ว..
โดย: อรรถพล [21 มิ.ย. 52 19:04] ( IP A:125.27.139.57 X: )
ความคิดเห็นที่ 38
จะรอดูตัวอย่างความสำเร็จครับพี่ การจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืช ประเภทชวนชม ผมมองในแง่ดีนะครับ
และผมมีคำถามในใจว่า
1.พันธุ์แรกที่จดทะเบียนสำเร็จจะเป็นพันธุ์อะไร หน้าตาจะเป็นแบบไหน เป็นของใคร
2.หลังจดทะเบียนแล้วผลกระทบต่อวงการชวนชมจะเป็นอย่างไร
พี่อรรถพล ขอถามเป็นความรู้หน่อยครับ ว่ามีประเทศใดจดทะเบียนฯ ชวนชมแล้วบ้างครับ ส่วนตัวผมขอขอบคุณพี่ที่พยายามจะช่วยเหลือทุกคนให้เข้าถึง และได้รับโอกาสใหม่นี้
โดย: กบ-BBK338 [21 มิ.ย. 52 20:12] ( IP A:124.121.72.217 X: )
ความคิดเห็นที่ 39
คุณกบ คำตอบข้อแรกอยู่ที่ข้างรถคุณกฤตย์ครับ ป้ายเขียวๆข้างรถนั่นแหละเขาบอกไว้..
ส่วนข้อสอง มันไม่มีผลกระทบอะไรต่อวงการชวนชมหรอกครับ แค่ชวนชมชื่อใหม่ตัวเดียว ซึ่งถ้าไม่ดีจริง ไม่สวยจริง ก็ใช่ว่าจะขายได้ดี ..เอาไว้เจอกันที่หนองจอกแล้วกันครับ ผมจะอธิบายรายละเอียดให้มากกว่านี้..
ส่วนประเทศที่จดทะเบียนชวนชม ผมยังไม่เคยค้นคว้าครับ คุณกบลองค้นหาที่กูเกิ้ล น่าจะมีคำตอบให้..
โดย: อรรถพล [21 มิ.ย. 52 21:12] ( IP A:125.27.116.192 X: )
ความคิดเห็นที่ 40
เดี๋ยวไปตั้งสภากาแฟกันที่งานหนองจอกดีกว่าครับพี่ เพราะงานคราวนี้คนน่าจะไปกันเย๊อะ....
โดย: พลภัทร [21 มิ.ย. 52 21:50] ( IP A:124.122.26.159 X: )
ความคิดเห็นที่ 41
"ไม่ได้ยื่นที่กระทรวงเกษตรครับ ยื่นที่เกษตรศาสตร์บางเขน "
หน่วยงานที่รับจด ก็คงเป็นของกระทรวงเกษตรนั่นแหละครับ ไม่ใช่ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
แต่หน่วยงานระดับกรมในสังกัดกระทรวงเกษตร ส่วนใหญ่จะมีที่ทำการอยู่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อย่างกรมประมง กรมวิชาการเกษตร
เพราะฉนั้น ถ้าใครจะจดทะเบียนที่กองคุ้มครองพันธุ์พืช ซึ่งสังกัดกรมวิชาการเกษตร จึงต้องไปที่หน่วยงานนั้นที่อยู่ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือที่เขาเรียกว่า เกษตรกลาง บางเขน
ตอนนี้มีผู้ติดต่อจดทะเบียนเพื่อคุ้มครองพันธุ์พืช ที่เป็นชวนชมแล้วจำนวน 2 ราย รวม 3 สายพันธุ์ เมื่อประมาณปลายปีที่แล้ว ซึ่งเจ้าหน้าที่กำลังตรวจเอกสาร 7 เดือนแล้วยังอยู่แค่ขั้นตอนที่ 2 คือตรวจเอกสาร ยังมีขั้นตอนอื่นอีก ไม่รู้ว่าสิ้นปี นี้จะได้ขายไหม
เอาใจช่วยนะครับ ผ่านเมื่อไหร่อย่าลืมเอามาบอกกันบ้าง นะครับ จะได้ร่วมแสดงความยินดีกัน
โดย: som [21 มิ.ย. 52 22:09] ( IP A:124.121.181.95 X: )
ความคิดเห็นที่ 42
ในแง่การตลาด มีลูกเล่นพอสมควร
ชวนชมที่จดทะเบียนแล้ว เหมือนลิขสิทธิ์
ห้ามเอาส่วนขยายใดๆ จำหน่าย
การจำหน่ายต้องมีฉลากรับรอง
...ผลกระทบไม่มีกับคนขายแน่ครับ เพราะผมเตรียมการไว้แล้ว
ขายง่าย ขายคล่อง และเจ้าของไม่ต้องกังวัลในเรื่องลักลอบขาย
เพราะขายไม่ได้ เนื่องจากไม่มีเอกสารหรือฉลากรับรอง
เมื่อไม่มีเอกสารขายไปก้เป็นความผิด คือลักลอบใต้ดินได้ แต่ขายบนดินไม่ได้
ต่อให้ท่านมีของแท้ ของจริงไว้ในครอบครอง ท่านคงขายยาก เหมือนลักษณะ มกท.ไม่มีใบเซอร์ ใครจะซื้อท่านเป็นต้น
...รูปแบบของ มกท. นำล่องการขายไว้แล้ว ซึ่งต่างกันตรงที่ มกท.จดทะเบียนการค้า แต่ผมจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ ซึ่งบุคคลอื่นเอาสิทธิ์ผมไปขายไม่ได้ถ้าไม่ได้รับอนุญาติ มีกฎหมายรองรับ ส่วนสายพันธุ์ที่ไม่ได้จดทะเบียน เป็นสายพันธุ์สาธารณะ ทุกคนนำมาใช้ได้ไม่ผิดกฎหมาย ยกเว้นจะผิดตรงปลอมใบเซอร์เขาเท่านั้นเอง
โดย: กฤตย์ ลูกไม้ไทย [22 มิ.ย. 52] ( IP A:124.120.62.97 X: )
ความคิดเห็นที่ 43
ฟ้าครึ้มๆ ออกไปทำงานในสวนแต่เช้า ..สู้ยุงไม่ไหว หนีมาเข้าเนตดีกว่า ตอนกลางวัน เนตมันติดดีกว่าช่วงกลางคืน ..
ก็ช้าดีเหมือนกัน คาดว่าประมาณ 15-18 เดือน จึงจะทราบผล..มันไม่ค่อยง่ายเท่าไหร่..
ทีนี้คนที่อยู่ไกลๆ เช่น เชียงใหม่ หรือ หาดใหญ่ สนใจจะทำบ้างคงเป็นเรื่องยุ่งยากไม่น้อย ขนาดเรื่องอยู่ที่ ตรวจเอกสาร ต้องพบเจ้าหน้าที่แล้ว 4 ครั้ง และอีกกี่ครั้งจะจบ ยังคิดไม่ได้เลย เพราะเราไม่เคยผ่านขั้นตอน..
ปัญหานี้ผมนำไปปรึกษาเจ้าหน้าที่ โดยเสนอตัวจะเป็นคนนำเอกสารทั้งหมด มาส่งให้ผู้คิดจดทะเบียนที่มีภูมิลำเนาไกลๆ เสร็จแล้วผมจะรวบรวมนำเข้าไปยื่นที่กองคุ้มครองพันธุ์พืช และอีกหลายขั้นตอนอยู่ในบริการของผม...
ได้รับการอำนวยความสะดวกจากท่านเจ้าหน้าที่เป็นอย่างดี..อนุโลมให้ผมดูแลแทนได้ แต่ยังไงก็ต้องมาพบเจ้าหน้าที่ 2 ครั้ง..ซึ่งลดภาระเรื่องการเดินทางไปได้มากมาย..
และจริงๆผมกำลังศึกษาอีกอันหนึ่งคือ เรื่อง การมอบฉันทะให้ทำแทน ..เผื่อว่าคนบ้านไกล จะได้ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางเข้ามากรุงเทพฯ ซึ่งเข้ามาแต่ละครั้ง ในวันราชการ คำนวณทุกๆอย่างแล้ว มันเสียเวลาเยอะมาก.. แต่เรื่องนี้ผมยังไม่ได้สอบถามเจ้าหน้าที่...
ความพยามยาม ที่คิดบริการสมาชิก เป็นเรื่องที่ผมคิดเสมอ เพราะผมขายสินค้าได้เงินจากสมาชิก มาซื้อข้าวกิน ..เล็กๆน้อยๆ เป็นสิ่งที่คิดคืนกำไรให้ เลี้ยงต้นไม้ประมาณสองร้อยกระถางกว่าปี ก็ต้องจ้างคนมาดุแลพิเศษ..เพราะปลูกต้นไม้เปรียบเทียบ จะให้เทวดาช่วยดูแล แบบเราเลี้ยงของเราเองก็ไม่..
เพียงแต่ขอให้สมาชิกเข้าใจ ว่าสิ่งที่ผมทำ มันเป็นประโยชน์ต่อท่าน ไม่ใช่ทำเพราะต้องการผลประโยชน์อื่นๆ ผมก็ดีใจแล้ว..
.
โดย: อรรถพล [22 มิ.ย. 52 9:06] ( IP A:125.27.117.103 X: )
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน