ความคิดเห็นที่ 1 monoplane machine เป็นเครื่องที่มีลักษณะที่สำคัญ คือมี C-arm สำหรับ detector ซึ่งมีทั้งแบบ Image intensifier และแบบ flat panel ตัว C-arm จะสามารถเลื่อนไปตามระยะของเตียงตรวจ และเคลื่อนเป็นแนวโค้งตามความกว้างของเตียงได้ ดังนั้นจึงเหมาะกับการตรวจดูเส้นเลือดหัวใจ และส่วนลำตัว 
| โดย: ไรน์ [16 ต.ค. 49 18:29] ( IP A:202.28.180.201 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 biplane machine เป็นเครื่องที่มีลักษณะที่สำคัญ คือมี C-arm และ lateral arm สำหรับ detector ซึ่งมีทั้งแบบ Image intensifier และแบบ flat panel เช่นกัน ตัว C-arm จะสามารถเลื่อนไปตามระยะของเตียงตรวจ และเคลื่อนเป็นแนวโค้งตามความกว้างของเตียงได้ ขณะเดียวกันทั้ง 2 arm สามารถที่จะเคลื่อนที่ในแนว co-positioning กันได้ เพื่อที่จะได้ดูภาพใน view ต่างๆ ดังนั้นจึงเหมาะกับการตรวจดูเส้นสมอง ซึ่งมีกายวิภาคที่ซับซ้อนไปตามโครงสร้างของสมองและกระโหลกศีรษะได้ 
| โดย: ไรน์ [16 ต.ค. 49 18:32] ( IP A:202.28.180.201 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 แพทย์จะทำการตรวจโดยยืนอยู่ในซีกขวาของเครื่อง เราเรียกว่า doctor site ในขณะที่อีกฝากหนึ่งจะเป็นส่วนที่พยาบาลจะเข้าไปดูแลผู้ป่วยเรียกว่า nurse site และหากต้องมีการดมยา มักจะให้เครื่องดมยาตั้งอยู่ที่ nusre site มากกว่า 
| โดย: ไรน์ [16 ต.ค. 49 18:35] ( IP A:202.28.180.201 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 ช่วงต้นปี 1960 ระบบ fluoroscopy ได้มีการพัฒนาตัวรับภาพมาเป็น image intensifier ซึ่งทำให้สามารถเห็นภาพเส้นเลือดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงเกิดการทำหัตถการต่างๆ มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามในช่วงระหว่าง 1960-1980 แม้หัตถการจะเกิดขึ้นจำนวนมาก แต่ระบบห้องตรวจหลอดเลือด (angiogram) ที่เป็นมาตรฐานนั้นยังมีน้อย การพัฒนามาตรฐานห้องและเครื่องตรวจหลอดเลือดเริ่มจริงจังหลังปี 1980 ให้ต่างจากห้อง fluoroscopy ทั่วไป เรียกว่า IR suite ในช่วงนี้มีการใช้เครื่องตรวจหลอดเลือดที่ถ่ายภาพลงบนฟิล์มแล้วทำการซ้อนภาพเพื่อให้ได้เส้นเลือดได้ แต่ยังต้องนำฟิล์มไปล้างในห้องมืด ซึ่งบางการตรวจ อาจต้องถ่ายภาพ 20-30 ภาพต่อชุดภาพ การตรวจ(series) ทำให้เสียเวลาและแรงงานในการล้างฟิล์มมาก ในขณะที่บางการตรวจอาจต้องใช้หลายชุดภาพ IR suite มีมาตรฐานการจัดวางและการใช้งานในราวปีปลายยุค 1980 โดยมีสิ่งที่เปลี่ยนไปก็คือแขนรูปตัวซีที่เคลื่อนที่ได้ (movable multiple-angle C-arm fluoroscopy) และการจัดเก็บภาพดิจิตอล (digital image acquisition) ซึ่งทำให้สามารถเห็นภาพในองศาต่างๆ ได้ และการจัดเก็บภาพอยู่ในระบบดิจิตอลทำให้เห็นภาพได้ทันที ไม่ต้องรอฟิล์มที่นำไปล้างอีก ระบบภาพดิจิตอลยังทำให้สามารถค้างภาพระหว่างการตรวจและทำภาพนำทางได้ (fluoroscopic road mapping)

| โดย: rrine [5 เม.ย. 50 22:13] ( IP A:202.28.181.7 X: ) |  |
|