ความคิดเห็นที่ 22
ประวัติความเป็นมา
สมัยกรุงศรีอยุธยา....ในสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 พ.ศ.2054 "ตรัง" เป็นเมืองท่าของเมืองนครศรีธรรมราช ทางด้านทะเลนอก (อันดามัน) ฝั่งตะวันตกของภาคใต้ โดยจากตำนานพราหมณ์ เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเขียน เมื่อ พ.ศ.2276 ตรงกับสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้กล่าวถึงเมืองตรังว่า เป็นเมืองที่พราหมณ์นำเอาเทวรูปพระนารายณ์ รูปพระลักษมี รูปพระอิศวร รูปหงส์ และชิงช้าทองแดงจาก กษัตริย์เมืองรามนคร ในประเทศอินเดีย มาถวายพระรามาธิบดีที่ 1 ต่อมาเรือถูกพายุแตกพัดเข้าปากน้ำตรัง
สมัยกรุงธนบุรีในปี พ.ศ.2319
พระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงโปรดฯ ให้แยกหัวเมืองปักษ์ใต้ออกจากเมืองนครศรีธรรมราช ดังนั้น ปี พ.ศ.2320 เป็นต้นมา หัวเมืองนครศรีธรรมราชจึงเหลือแค่ เมืองตรัง และเมืองท่าทอง เท่านั้น
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ในสมัยนี้เมืองตรังแยกเป็นส่วนตามลักษณะที่ตั้งได้หลายส่วน เริ่มต้นที่
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรดฯ ให้รวมเมืองตรัง และเมืองภูรา เข้าด้วยกันเป็น เมืองตรังภูรา โดยส่งพระยาภักดีบริรักษ์ ผู้ช่วยราชการ เมืองนครศรีธรรมราช ให้เป็นผู้รักษาเมืองตรังภูรา ตั้งเมืองที่ "ควนธานี" จากหลักฐานทำเนียบเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ.2354 ในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ในขณะนั้น ได้กราบทูลเสนอ นายม่วง เป็นเจ้าเมืองตรัง คือ พระอุไทยธานี มีตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการเมืองตรัง โดยสมบูรณ์เป็นคนแรก และได้สร้างหลักเมือง ที่ควนธานี (ศาลหลักเมืองตรังตั้งอยู่ที่ตำบลควนธานีในปัจจุบัน)หกด สมัยเมืองกันตังเป็นศูนย์กลางระหว่างช่วง พ.ศ. 2436-2458 กล่าวว่า เมื่อคราวพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองตรัง ในยุคนั้นเมืองกันตังเป็นเมืองที่เจริญ มีชุมชนชาวจีน ทำมาค้าขาย มีท่าเรือติดต่อกับมลายู ชาวบ้านปลูกพริกไทยส่งไปขายถึงเกาะหมาก ดังนั้น จึงมีพระราชดำริให้ พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ผู้ว่าราชการเมืองกระบุรีมาเป็นเจ้าเมืองตรัง ซึ่งถือว่าเป็นผู้พัฒนาเมืองตรังให้เจริญรุ่งเรือง จนได้รับสมญานามจากชาวตรังว่าเป็น "เจ้าแห่งการพัฒนา" เนื่องจากเป็น ผู้วางรากฐานความเจริญให้กับเมืองตรังมากมาย ทั้งการ นำต้นยางพารามาจากมลายู มาปลูกที่เมืองกันตังเป็นแห่งแรก จนทำให้มีการปลูกยางพาราอย่างแพร่หลายทั่วภาคใต้ เมื่อมีการจัดการวางผังเมือง ชาวตรังจึงได้ร่วมกันสร้างอนุสาวรีย์ขึ้น เมื่อ พ.ศ.2494 เพื่อรำลึกถึงคุณของท่าน และจัดงานรำลึก ในวันคล้ายวันถึงแก่อนิจกรรมของท่าน ในวันที่ 10 เมษายนของทุกปี
จากกันตังสู่ทับเที่ยง
ตั้งแต่ พ.ศ. 2458 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน เมืองทับเที่ยงกลายเป็นศูนย์กลางเมืองตรัง ครั้งระหว่างสงคราม โลกครั้งที่ 1 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสเมืองกันตัง ซึ่งขณะนั้นเกิดโรคระบาด และทรงเกรงว่า ศัตรูอาจจะจู่โจมทางทะเลได้ อีกทั้งกันตังเป็นเมืองปิด เนื่องจากติดทะเลไม่สามารถขยายเมือง ออกไปไหนได้ จึงได้มีพระราชดำริให้ย้ายเมืองไปอยู่ที่ ทับเที่ยง หรือ อำเภอเมืองตรังในปัจจุบัน
ที่มาของคำว่า "ทับเที่ยง"
ตำนานเล่าว่า สมัยเจ้าพระยานคร (น้อย) ยกทัพมาจากเมืองนครศรีธรรมราชเพื่อไปรบกับทัพไทรบุรีนั้น ได้หยุดพักตั้งค่าย ณ บริเวณนี้ในเวลา ช่วงเที่ยง จึงได้ชื่อ "ทับเที่ยง" แต่นั้นมา
ที่มาของคำว่า "ตรัง"
ตรัง มาจากคำว่า "ตรังคบุรี" เป็นชื่อเมืองหนึ่งในเมือง 12 นักษัตร ซึ่งเป็นเมืองป้อมปราการล้อมรอบเมืองนครศรีธรรมราช ตรัง มาจากคำว่า "ตรังค" แปลว่า ลูกคลื่นอันเนื่องมาจากสภาพลักษณะพื้นที่ของเมืองตรังเป็นเนินสูง ๆ ต่ำ ๆ คล้ายลูกคลื่น ปรากฏอยู่ทั่วพื้นที่จังหวัดตรัง ตรัง มาจากคำว่า "ตรังเค" ซึ่งเป็นภาษามาลายู แปลว่า "รุ่งอรุณ" หรือสว่างแล้ว ซึ่งมีผู้สันนิษฐานว่า ชาวมลายูเดินทางมาค้าขายละแวกนี้ จะเปล่งเสียงอุทานว่า "ตรังเค" เมื่อเรือเล่นมาถึงปากแม่น้ำตรัง พอดีกับที่เวลารุ่งเช้า ตรัง หมายถึง พืชตระกูลปาล์มในภาษาเขมร พืชชนิดนี้ขึ้นในพื้นที่จังหวัดตรัง
https://www.lib.ru.ac.th/trang/tranginfo/history.html

|