arowana.pantown.com
FAQ -- คลังความรู้ <<
กลับไปหน้าแรก
.........ต า ม ร อ ย เ สื อ ต อ Part 2..... การเพาะพันธุ์ปลาเสือตอ
ตีหนึ่งแล้ว.... ผมนั่งพักอย่างไร้เรี่ยวแรง... หลังจากแวะดูอาการปลาเสือตอ 20 นิ้วที่กำลังป่วยหนัก ... ซึ่งเลี้ยงไว้ที่คลินิก.... เกือบ หนึ่งสัปดาห์แล้วที่ต่อสู้กันมาอย่างหนัก..... โอกาสช่างริบหรี่ขึ้นทุกวัน
.....เฮ้อ.......แล้วนี่...ถ้าปลาเสือตอของเรา ของเพื่อนๆ ทยอยป่วย ทยอยตาย ไปเรื่อยๆ สักวันปลาเสือตอคงจะได้สูญพันธุ์กันจริงๆ แน่นอน........
โดย: ed ครับ [4 พ.ค. 52] ( IP A:115.67.207.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 1
...รุ่งเช้าผมยกโทรศัพท์หาพี่ Mofish เทพแห่งเสือ....คุยกันถึงประเด็นที่ผมเป็นกังวลมาตั้งแต่เมื่อคืน..... ....พี่โม่ปิดท้ายว่า....
"หมอ Ed อยากไปบึงบรเพ็ดมั้ย ? ... ไปคุยกับประมงที่นครสวรรค์กัน....ได้ข่าวว่า เค้าเพาะพันธุ์เสือตอลายเล็กได้...."
โดย: ed ครับ [4 พ.ค. 52] ( IP A:115.67.207.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
.... และนั่น ...จึงเป็นการเริ่มต้นของการเดินทางในครั้งนี้ ...
....มาร่วม....ตามรอยปลาเสือตอ.ไปกับผม และชมรมคนรักปลาเสือตอฯ .......
...กันนะครับ ......เชิญครับ..........
โดย: ed ครับ [4 พ.ค. 52] ( IP A:115.67.207.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
กลับมาพบกันอีกครั้งนะครับ และแล้วก็ได้เวลานำเสนอในส่วนของเรื่องราวทางวิชาการ เกี่ยวกับความคืบหน้าในความพยายามในการอนุรักษ์และเพาะพันธุ์ปลาเสือตอลายใหญ่ของศูนย์ประมงน้ำจืดนครสวรรค์
ท่านใดที่พลาดตามรอยเสือตอใน Part แรกก็ยังสามารถติดตามได้จาก Link นี้นะครับ
https://www.pantown.com/board.php?id=173&area=1&name=board64&topic=20&action=view
ทีมงานชมรมคนรักปลาเสือตอได้รับการต้อนรับจากพี่สมศักดิ์ (เสื้อชมพู) ซึ่งเป็นนักวิชาการประมงที่ดูแลเรื่องการเพาะพันธุ์ปลาเสือตออยู่ในขณะนี้
โดย: ed ครับ [4 พ.ค. 52] ( IP A:115.67.207.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
ขอสะกดรอยตามด้วยคนนะครับ ^___^
โดย: ~A~ [4 พ.ค. 52] ( IP A:124.120.95.242 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
ณ วันนี้ ไม่พบปลาเสือตอลายใหญ่ในแม่น้ำประเทศไทยแล้ว ทางทางศูนย์ประมงน้ำจืดนครสวรรค์ เองก็เคยปล่อยลงสู่บึงบอระเพ็ดอยู่เหมือนกัน แต่ก็หายไปเลย แต่ปี 2545 น้ำท่วมใหญ่ที่บึงบอระเพ็ด มีเกษตรจับได้ 2 ตัว แต่เมื่อติดตามไปดูแล้วปรากฏว่า ปลาตายและถูกนำไปประกอบอาหารแล้ว แต่คาดว่าน่าจะเป็นเสือตอเขมร ที่มีคนนำมาปล่อยมากกว่า
ภาพนิเวศของบึงบอระเพ็ดในอดีต ครั้งยังอุดมสมบูรณ์
โดย: ed ครับ [4 พ.ค. 52] ( IP A:115.67.207.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
ส่วนสาเหตุของการลดจำนวนปลาเสือตอลายใหญ่จนเข้าสู่วิกฤติการสูญพันธุ์นั้น คาดว่าเกิดจากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะความเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศตามกาลเวลาของบึงบอระเพ็ด รวมทั้งมีการปนเปื้อนของสารเคมีต่างๆ จากการทำเกษตรกรรมลงสู่แหล่งน้ำ อาจนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในระบบห่วงโซ่อาหาร หรือส่งผลกระทบโดยตรงกับระบบการสืบพันธุ์ของสัตว์น้ำได้ และแน่นอนว่าในอนาคตประเทศกัมพูชา ก็มีโอกาสเกิดการสูญพันธุ์ของปลาเสือตอลายใหญ่ได้ในอนาคตอันใกล้เช่นกัน โดยจากการไปเยือนของคุณ Mofish พบว่าที่โตนเลสาบน้ำค่อนข้างขุ่นมาก การทำการประมงก็ไร้การควบคุม ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้สูงมากที่วันหนึ่งข้างหน้าเราอาจจะพบปลาเสือตอลายใหญ่เพียงรูปในหนังสือเท่านั้น จึงน่าจะเป็นความจำเป็นที่ทุกฝ่ายควรร่วมมือกันอย่างจริงจัง และจริงใจ ทั้งในส่วนราชการด้วยกันเอง ส่วนภาคเอกชนรวมทั้งกลุ่มผู้เลี้ยงปลาเสือตอ ซึ่งสุดท้ายประโยชน์จะเกิดกับประเทศชาติและลูกหลานของพวกเราเอง
สภาพบึงบอระเพ็ดในปัจจุบันครับ จะเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน
โดย: ed ครับ [4 พ.ค. 52] ( IP A:115.67.207.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
ณ วันนี้ ในส่วนของหน่วยงานราชการเราได้รับการยืนยันว่าเสือตอลายใหญ่ยังไม่สามารถเพาะพันธุ์ได้ ไม่ว่าสถานีประมงไหนก็ยังไม่สามารถเพาะได้ เคยมีความพยายามและทำได้ถึงขนาดออกไข่ แต่ไข่ไม่ได้รับการผสมและไม่ฝักเป็นตัว แต่ยังพอมีความหวัง พอให้แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ขึ้นมาไกลๆ เพราะในขณะนี้ทางศูนย์ประมงน้ำจืดนครสววรค์ สามารถเพาะเสือตอลายเล็กได้แล้ว แม้จะยังพบปัญหาเรื่องการอนุบาลลูกปลา แต่คาดว่าน่าจะประสบผลสำเร็จได้ในอีกไม่นาน ซึ่งคาดว่าน่าจะนำมาเป็นแนวทางในการเพาะพันธุ์ปลาเสือตอลายใหญ่ต่อไปได้
มุงอะไรกันครับพี่...???????
โดย: ed ครับ [4 พ.ค. 52] ( IP A:115.67.207.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
อย่างที่ทราบกันแล้วว่าขณะนี้ทางศูนย์ฯ ยังไม่ประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์ปลาเสือตอลายใหญ่ แต่สามารถเพาะพันธุ์ปลาเสือตอลายเล็กได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นจึงขอเสนอรายละเอียดเทคนิคการเพาะพันธุ์ อนุบาลไข่ และลูกปลาเสือตอลายเล็ก เพื่อเป็นแนวทางดังนี้
.....ตกลงมองอะไรกันคร้าบบบบบ...???????
โดย: ed ครับ [4 พ.ค. 52] ( IP A:115.67.207.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
ศูนย์ประมงน้ำจืด จ. นครสวรรค์ สามารถเพาะปลาเสือตอลายเล็กได้เป็นผลสำเร็จมาประมาณ4 ชุดแล้ว โดยได้ลูกปลาครอกละหลายหมื่นตัว แต่ยังไม่สามารถอนุบาลลูกปลาให้รอดได้ โดยลูกปลาทยอยตายไปและตายทั้งหมดเมื่ออายุ 12 วัน ( ครอกล่าสุดมีลูกปลารอดจนมีอายุได้ 20 วัน จำนวน 1 ตัว ) จากการศึกษาพบว่าลูกปลาเริ่มมีเชื้อโรคมาเกาะตั้งแต่อายุได้สองวัน และมากขึ้นเรื่อยๆ จนลูกปลาเสียชีวิต ซึ่งน่าจะเป็นกลุ่มเชื้อโปรโตซัว
...นี่คือผู้อยู่รอดครับ หนึ่งในแสน ลูกเสือตอลายเล็กอายุ 20 วัน ตัวเดียวที่ยังเหลืออยู่ ขนาดน่าประมาณ 1 ซม. ซึ่งจากการสอบถามจนถึงวันนี้ 4 พค.52 เค้ายังสบายดีนะครับ......WoW....
โดย: ed ครับ [4 พ.ค. 52] ( IP A:115.67.207.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
เทคนิคในส่วนของการเพาะพันธุ์ของทางศูนย์ฯ
-การเพาะพันธุ์ใช้บ่อปูน ขนาด 2 x 2 เมตร น้ำลึกประมาณ 80 ซม.
โดยใช้น้ำดิบจากบึง ( น้ำค่อนข้างขุ่น) กรองเศษอยาบออก ปล่อยน้ำเป็นสเปรย์ไหลผ่านเบาๆ ตลอดเวลา
- ใช้พ่อแม่ปลาขนาด 15-20 ซม.จำนวน 6 ตัว อัตราส่วนตัวผู้ต่อตัวเมีย 1 ต่อ 1 โดยให้อาหารเป็นปลาสวยงาม ปลาทอง โดยปลาวางไข่ในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม
บ่อที่แม่ปลาเสือตอไข่และได้ลูกครับ....จะเห็นว่าน้ำขุ่นพอสมควรเลยทีเดียว
โดย: ed ครับ [4 พ.ค. 52 1:00] ( IP A:115.67.207.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
-ใส่ท่อปูนวางในบ่อเพาะด้านข้างเพื่อให้พ่อแม่ปลาจับคู่ และวางไข่ ตามธรรมชาติ โดยไม่ได้ใช้ฮอร์โมนใดๆ กระตุ้น
...ท่อปูนจะกระเทาะด้านล่างออกเป็นทางให้ปลาเข้าออกจากด้านล่างดังรูปครับ
โดย: ed ครับ [4 พ.ค. 52 1:03] ( IP A:115.67.207.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
ขอโทษนะครับที่ปาดแต่อยากรู้ว่าพิมพ์ผิดหรือเปล่าครับ 15-20 ซม เหรอครับ หรือ หน่วยเป็นนิ้วครับ
กระทู้น่าติดตามมากครับ
โดย: ชอบบลูเบส [4 พ.ค. 52 1:03] ( IP A:124.120.79.140 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
ส่วนท่อ Pvc ที่อยู่ข้างๆ ท่อปูนคือ การนำท่อ PVC มาครอบท่อน้ำล้นไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ไข่ไหลออกไปกับน้ำครับ....เพราะในบ่อมีการ Overflow น้ำดิบจากบึงเข้ามาตลอดเวลาครับ
โดย: ed ครับ [4 พ.ค. 52 1:06] ( IP A:115.67.207.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
Tiger tip :รู้หรือไม่ว่า ถ้าปลาเสือตอไข่ในช่วงข้างแรม หรือ ไข่ตอนเช้าตรู่ ไข่จะไม่ผสมและไม่ฟัก แต่ถ้าไข่ช่วงเย็นจะผสมและฟักตัว ซึ่งพฤติกรรมแบบนี้คล้ายๆกับปลาม้า
และจากการสังเกตพบว่า ปลาเสือตอลายเล็กหนึ่งตัว น่าจะสามารถไข่ได้หลายครั้ง ในฤดูเดียว ไม่ใช่ไข่ครั้งเดียวหมดท้อง
ภาพรวมๆ ของบ่อที่ใช้เพาะปลาเสือตอลายเล็กครับ
โดย: ed ครับ [4 พ.ค. 52 1:11] ( IP A:115.67.207.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
รอจนเกือบลืมเลยครับ สุดยอดจริง ๆ
โดย: ครูเม้ง [4 พ.ค. 52 1:11] ( IP A:118.172.138.142 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
คราวนี้เรามาดูเทคนิคในส่วนการอนุบาลไข่ และลูกปลา
-บ่อปูน ไม่ใช้ดินรองพื้นขนาด 2x2 เมตร โดยใช้น้ำตื้นประมาณ 30 ซม. น้ำดิบขุ่นจากบึงได้ผลดีกว่าน้ำใส โดยสเปย์น้ำผ่านบางๆ
..รูปไข่ของปลาเสือตอลายเล็ก
โดย: ed ครับ [4 พ.ค. 52 1:13] ( IP A:115.67.207.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 17
-ช่วงหลังจากฟักเป็นตัว ลูกปลาจะยังมีถุงไข่แดงติดอยู่ และหงายท้องว่ายน้ำ
-จากการทดลองพบว่าลูกปลาที่อนุบาลในโรงเรือนโล่ง ลมผ่าน มีแสงสว่างมีอัตรารอดสูงและอยู่ได้นานกว่าลูกปลาที่อนุบาลไว้ในห้องมิดชิด และยังพบว่าการอนุบาลในบ่อโล่งๆ ดีกว่าการใส่พืชน้ำ หรือขอนไม้
...ลูกปลาเสือตอลายเล็กที่เพิ่งจะฟักครับ....
โดย: ed ครับ [4 พ.ค. 52 1:16] ( IP A:115.67.207.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 18
-สำหรับอาหารของลูกปลา เริ่มต้นให้โรติเฟอร์ (ช้อนจากบึงบรเพ็ด) โตขึ้นมาหน่อยให้เป็นไรแดง ไรขาว ต่อมาวางแผนว่าจะให้อาทีเมีย และลูกปลาที่เพิ่งฟัก (แต่ลูกปลาส่วนใหญ่ตายเสียก่อนที่จะได้กินอาทีเมีย
.....ลูกปลาเสือตอลายเล็กเมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศน์ครับ
... ต้องขออนุญาติทางศูนย์ฯ ด้วยนะครับ
โดย: ed ครับ [4 พ.ค. 52 1:19] ( IP A:115.67.207.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 19
Big problem:
ปัญหาการอนุบาลลูกปลาเสือตอลายเล็กในขณะนี้คือการที่ลูกปลาทยอยตาย และตายจนหมดเมื่ออายุ 12 วัน และจากการศึกษาพบว่าน่าจะเกิดจากการติดเชื้อกลุ่มโปรโตซัว
โดยทางศูนย์ฯ ได้เตรียมการป้องกันไว้สำหรับลูกปลาครอกต่อไปไว้หลายทาง โดยทางชมรมคนรักปลาเสือตอก็ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลในจุดนี้กับทางศูนย์ฯโดยแนะนำการใช้ UV เพื่อควบคุมปริมาณเชื้อโรคในบ่ออนุบาล ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการหาข้อมูลและดำเนินการเสนอจัดซื้อต่อไป
...นี่คือลูกปลาเสือตอลายเล็กอายุ 12 วัน ที่เสียชีวิตครับ จะเห็นจุดดำๆ ที่ลูกศรชี้ นั่นคือเชื้อโรคที่คาดกันว่าน่าเป็นสาเหตุของการตายครับ โดยเริ่มพบการเกาะของเชื้อตั้งแต่ลูกปลาอายุ 2 วันครับ
โดย: ed ครับ [4 พ.ค. 52 1:23] ( IP A:115.67.207.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 20
.....เบื้องหลังการถ่ายทำ เจ้าหนูน้อย หนึ่งในแสน.......
โดย: ed ครับ [4 พ.ค. 52 1:27] ( IP A:115.67.207.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 21
....มองเห็นไกลๆ คือโรงเรือนที่ใช้เพาะพันธุ์ปลาเสือตอลายเล็ก จะเห็นว่าเป็นโรงเรือนเปิดโล่ง อากาศระบายได้ดี มีแสงแดดพอประมาณ
โดย: ed ครับ [4 พ.ค. 52 1:30] ( IP A:115.67.207.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 22
คราวนี้เรามาดูเทคนิคและความพยายามในการเพาะพันธุ์ปลาเสือตอลายใหญ่กันบ้างนะครับ โดยขอนำเสนอเป็นข้อๆ ดังนี้ครับ
....
พี่สมศักดิ์ต้องคอยตอบคำถามจากพวกเราไม่ได้หยุดไม่ได้หย่อนเลยครับงานนี้
โดย: ed ครับ [4 พ.ค. 52 1:34] ( IP A:115.67.207.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 23
1 . การใช้วิธีธรรมชาติ กับการใช้เทคนิค การใช้ฮอร์โมน
ทางศูนย์มีการทดลองทุกแบบทั้งปล่อยพ่อแม่ปลาลงในบ่อดินขนาดใหญ่ 1.5 ไร่ โดยใช้น้ำธรรมชาติจากบึง ให้ปลาเหยื่อ แต่ก็ไม่ได้ผล และพบปัญหาคือพ่อแม่ปลาไม่สามารถไล่กินปลาเหยื่อได้เต็มที่ เนื่องจากอาจจะเคยชินกับการถูกเลี้ยงในตู้มาตั้งแต่เล็ก ปลาบางตัวก็ผอมตาย
และก็มีความพยายามในการใช้เทคนิคต่างๆ มาใช้ เช่น การฝังฮอร์โมนในปลาทั้งตัวผู้ตัวเมีย เพื่อกระตุ้นให้เกิดความสมบูรณ์ทางการสืบพันธุ์ แต่ฤดูที่ผ่านมาก็ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ซึ่งช่วงที่ปลาพร้อมผสมพันธุ์ที่สุดคือช่วงกลางปี เริ่มฤดูฝน
ส่วนการฉีดฮอร์โมนและรีดใข่ในตัวเมีย เพื่อนำมาผสมเทียม ยังไม่ได้ทำการทดลอง เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องจำนวนแม่ปลา เพราะเสี่ยงต่อการบอบช้ำและอาจเสียแม่ปลาได้ ( ในระบบราชการ ถ้าเสียปลาตัวหนึ่งก็ถือว่าเรื่องใหญ่ )
โรงเรือนที่ใช้เพาะปลาเสือตอลายใหญ่....
โดย: ed ครับ [4 พ.ค. 52 1:38] ( IP A:115.67.207.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 24
2. บ่อที่เหมาะสมในการเพาะพันธุ์ปลาเสือตอ
ขณะนี้ทางศูนย์ได้ทำการทดลองในบ่อหลายลักษณะ ทั้ง บ่อดินที่กล่าวถึงในข้างต้น ทั้งบ่อปูนขนาดเล็ก บ่อปูนปูด้วยดินที่พื้น บ่อปูนใหญ่ 50 ตัน ลึกประมาณ 2 เมตร บ่อปูนยาว รวมทั้งการใส่ตอไม้ลงในบ่อ เลี้ยงปลาแม่น้ำชนิดอื่นๆ ร่วมด้วย เพื่อเลียนแบบธรรมชาติให้มากที่สุด
....ภาพบ่อกลมขนาด 50 ตัน ซึ่งปล่อยพ่อแม่ปลาเสือตอลายใหญ่ที่ทราบเพศแน่นอน 6 ตัว
โดย: ed ครับ [4 พ.ค. 52 1:41] ( IP A:115.67.207.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 25
ซึ่งบ่อที่สามารถเพาะพันธุ์ลายเล็กได้คือบ่อปูนขนาด กว้าง 2 เมตร ยาว 2 เมตร น้ำลึกประมาณ 80 เซนติเมตร โดยใช้ท่อปูนขนาดกลางๆ กะเทาะด้านล่างให้กว้างแล้วนำไปวางที่มุมบ่อให้ปลาได้เข้ามาจับคู่กันได้ ดังที่ได้นำเสนอไปแล้ว
...ในความพยายามในอดีตเคยมีการทดลอง ใช้ดินปูที่พื้นบ่อปูนด้วยเช่นกัน ดังรูป
โดย: ed ครับ [4 พ.ค. 52 1:43] ( IP A:115.67.207.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 26
3.น้ำที่เหมาะสมในการเพาะพันธุ์ปลาเสือตอ
เสือตอลายเล็กที่เพาะได้ ใช้น้ำดิบจากบึงบอระเพ็ด กรองเฉพาะเศษใหญ่ๆ และศัตรูตัวใหญ่ๆ ออกไป โดยใช้น้ำจากบึงมาพ่นเป็นสเปรย์ผ่านตลอดเวลา ( สังเกตจากรูปด้านบนพบว่าน้ำค่อนข้างขุ่น)
....สภาพน้ำที่อยู่ในบ่อ 50 ตัน.ซึ่งมีการใส่ขอนไม้ รากไม้ไว้ในบ่อเป็นจำนวนมากพอสมควร
โดย: ed ครับ [4 พ.ค. 52 1:47] ( IP A:115.67.207.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 27
....พ่อแม่ปลาเสือตอในบ่อนี้ครับ พอจะมองเห็นมั้ยครับ..55
โดย: ed ครับ [4 พ.ค. 52 1:50] ( IP A:115.67.207.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 28
4. การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาเสือตอลายใหญ่ ขนาดและน้ำหนักปลาที่เหมาะสม
ตัวเมีย จะเริ่มสังเกตว่ามีไข่ชัดเจนคือขนาดประมาณ 1 ฟุต ส่วนตัวผู้ที่เริ่มมีน้ำเชื้อจะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมียเล็กน้อย ส่วนพ่อแม่ปลาเสือตอลายเล็กจากการสังเกตขนาดน่าจะประมาณ เท่าฝ่ามือ หรือประมาณ 15-20 ซม.
....เทียบความใหญ่โตของบ่อครับ บ่อลึกลงไปในดินอีกสัก 2 เมตรได้ครับ ระดับน้ำโดยประมาณจากสายตา น่าจะลึก 3 เมตรได้เลยครับ
โดย: ed ครับ [4 พ.ค. 52 1:54] ( IP A:115.67.207.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 29
ตามมาปาดภาคดึกครับพี่หมอ
โดย: Tee soi 4 [4 พ.ค. 52 1:55] ( IP A:125.25.135.245 X: )
ความคิดเห็นที่ 30
5.การแยกเพศปลาเสือตอลายใหญ่
เป็นเรื่องค่อนข้างยาก แต่มีแนวทางในการแยกเพศปลาดังนี้
- ถ้ารีดน้ำเชื้อ ( ใช้มือลูบเบาๆที่อวัยวะเพศปลา ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ของปลา คือช่วงต้น-กลางปี แล้วมีน้ำสีขาวขุ่นออกมาจากอวัยวะเพศ มั่นใจว่าน่าจะเป็นตัวผู้ แต่ก็จะเริ่มรีดเจอน้ำเชื้อได้เมื่อปลามีขนาดโตพอสมควร ( เกือบๆ 1 ฟุต )
-ปลามีลักษณะท้องอูมย้อยชัดเจน ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ค่อนข้างมั่นใจว่าน่าจะเป็นตัวเมีย
...ลักษณะท้องอูมของตัวเมียในฤดูวางไข่
โดย: ed ครับ [4 พ.ค. 52 2:03] ( IP A:115.67.207.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 31
-รูปทรงของปลา ไม่สามารถใช้เป็นหลักในการแยกเพศได้ ( เคยเข้าใจว่าปลาตัวทรงกลมสั้น น่าจะเป็นตัวเมีย ส่วนตัวที่มีทรงยาว น่าจะเป็นตัวผู้ แต่หลายๆครั้งปลาทรงยาวๆ ที่ตายเมื่อผ่าท้องดูก็พบว่ามีไข่อยู่ในท้อง )
และยังไม่มีการศึกษาว่าปลาเสือตอเป็นปลาที่สามารถเปลี่ยนแปลงเพศได้หรือไม่
.....พี่โม่บอกว่า.....แกใช้มองตามันครับ.....ถ้ามองตารู้ใจแสดงว่าเป็นตัวเมีย 5555
โดย: ed ครับ [4 พ.ค. 52 2:08] ( IP A:115.67.207.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 32
-การใช้วิธีลูบที่ท้องในฤดูผสมพันธุ์เหมือนกลุ่มปลาตะเพียน ก็ไม่สามารถใช้ได้ ( ตัวผู้จะสากๆ เพราะมีการเจริญของ pearl organ ส่วน ตัวเมียจะลื่นๆ)
-จากการสอบถามชาวบ้านท้องถิ่น แนะนำให้ดูที่ครีบท้อง ตัวผู้มักจะยาวเลยช่องเพศเพศไป ตัวเมียมักจะสั้นกว่า แต่จากการสังเกตของทางศูนย์ก็ไม่สามารถนำมาใช้ได้
-ลักษณะโหนก ความลาดชันของสันหน้า ก็ไม่สามารถแยกได้
-ช่องเพศ พอสังเกตความแตกต่างได้ แต่ต้องเป็นในช่วงที่สมบูรณ์เพศ โดยตัวเมีย ช่องเพศจะกลมๆ แดงๆ ส่วนตัวผู้ จะแหลมรีมากกว่า
...รูปแสดงลักษณะช่องเพศของปลาแม่น้ำบางชนิดครับ
...รูกลมๆด้านบนคือช่องทวารนะครับ เป็นทางผ่านของขี้ปลาครับ
...ส่วนขีดด้านล่างตรงนี้คือช่องเพศครับ เป็นทางผ่านของไข่ หรือน้ำเชื้อ และปัสสาวะครับ
โดย: ed ครับ [4 พ.ค. 52 2:14] ( IP A:115.67.207.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 34
6.เทคนิคพิเศษอื่นๆที่มีการนำมาใช้ในการเพาะพันธ์ปลาเสือตอลายใหญ่
- วิตามินเสริมพ่อแม่ปลา ที่ควรใช้คือวิตามินอี และวิตามินซี โดยวิตามินอีใช้ฉีดเข้าที่ปลาเหยื่อ ส่วนวิตามินซีใช้แช่ปลาเหยื่อ แล้วนำไปให้ปลาเสือตอกิน เพื่อกระตุ้นการเจริญของไข่
- ให้อาหารเป็น หลากหลาย ปลาสวยงาม ที่มักจะมีไข่เยอะๆ เช่นปลาทอง
-ใช้น้ำที่เพาะพันธุ์ปลาชนิดอื่นๆ ผ่านเข้ามาลงบ่อปลาเสือตอด้วย หวังผลว่าสารสื่อประสาทด้านการสืบพันธุ์(ฟีโรโมน)จะกระตุ้นปลาเสือตอไปด้วย
- ปล่อยปลาแม่น้ำหลากหลายชนิด ลงในบ่อเพาะขนาดใหญ่ด้วย เพื่อลองเลียนแบบธรรมชาติให้มากที่สุด
...
โดย: ed ครับ [4 พ.ค. 52 2:21] ( IP A:115.67.207.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 35
Special Tip ความแตกต่างของเพศปลาจากลักษณะภายนอก
1. ความยาวครีบ (fin) ปลาที่ใช้ลักษณะครีบแยกความแตกต่างเพศ มักเป็นปลาในครอบครัว Cichidae เป็นส่วนใหญ่ เช่น ปลากระดี่ ปลาสลิด ปลาแรด ปลาหมอเทศ ปลานิล เป็นต้น โดยพบว่าปลาเพศผู้จะมีครีบหลังที่ยาวและปลายครบหลังแหลมกว่าเพศเมีย ปลาหางดาบเพศผู้จะมีส่วนล่างครีบหางยาวกว่าเพศเมีย และปลากัดเพศผู้จะมีครีบทุกครีบยาวกว่าปลาเพศเมีย และสวยกว่าปลาเพศเมีย
2. สี (color) ปลาเพศผู้บางชนิดจะมีสีลำตัวที่เข้ม และสดกว่าเพศเมีย โดยเฉพาะในฤดูผสมพันธุ์วางไข่ เช่น ปลานิล ปลาหมอเทศ ปลากัด ปลาหางนกยูง ปลาสลิด เป็นต้น การใช้สีลำตัวในการแยกเพศควรระมัดระวังให้มาก เนื่องจากสภาพแวดล้อม และความเครียดมีผลทำให้สีปลาเปลี่ยนไปได้
3. ติ่งเพศ (urogenital papillae) พบในปลาบางชนิดมีลักษณะเป็นติ่งเล็ก ๆ ซึ่งมีทั้งในปลาเพศผู้และเพศเมีย ได้แก่ ปลาดุก ปลาบู่ ปลานิล ติ่งเพศปลาเหล่านี้อยู่ถัดจากช่องทวารหนัก โดยติ่งปลาเพศผู้จะเป็นทางออกของสเปิร์มและปัสสาวะ ปลาเพศเมียเป็นทางออกของไข่และปัสสาวะ แยกจากกัน
4. รูปร่างของลำตัว (body shape) โดยทั่วไปปลาที่มีอายุเท่ากัน ปลาเพศเมียมักมีขนาดโตและรูปร่างลำตัวป้อมกว่าปลาเพศผู้ กล่าวคือ ปลาเพศเมียจะมีลักษณะสั้นป้อมและความลึกของลำตัวมาก เนื่องมาจากรังไข่ที่มีการขยายตัว โดนเฉพาะในฤดูผสมพันธุ์วางไข่
5. ท้อง (belly) ลักษณะของท้องปลาในฤดูผสมพันธุ์วางไข่ จะแยกความแตกต่างเพศได้เด่นชัด โดยปลาเพศเมียจะมีท้องที่มีลักษณะขยายใหญ่ขึ้นบวมเป่ง เมื่อกดเบา ๆ จะรู้สึกนิ่มและเมื่อมีความสมบูรณ์เพศจะมีไข่ไหลออกมา เพศผู้ส่วนท้องปกติไม่อูมเป่งพื้นท้องจะแคบ และแข็งเมื่อกดเบา ๆ จะมีน้ำเชื้อ (อสุจิ) ไหลออกมา ในพ่อแม่พันธุ์ปลาที่มีความสมบูรณ์ เช่น ปลาตะเพียน ปลาไน
6. ตุ่มสิว (pearl organ or nuptial tubucle) มีลักษณะเป็นตุ่มเล็ก ๆ ตำแหน่งที่พบมากบริเวณหัวและแก้ม ครีบอก และลำตัว เมื่อลูบตำแหน่งเหล่านี้จะรู้สึกสากคล้ายกระดาษทราย พบเฉพาะในปลาเพศผู้ บางชนิด เช่น ปลาตะเพียน ปลาจีน ปลาไน ปลาทอง ปลายี่สก เป็นต้น
7. อินโทรมิตเทนท์ ออร์แกน (intromirrent organ) เป็นอวัยวะช่วยในการผสมพันธุ์ของปลาบางชนิดและพบในปลาเพศผู้ เช่น โกโนโพเดียม (gonoopodium) ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของก้านครีบอันแรกของครีบก้นของปลาหางดาบ
8. แคลสเพอร์ (clasper หรือ myxopterygia) เป็นอวัยวะที่พบในปลากระดูกอ่อน มีลักษณะเป็นแท่งเล็ก ๆ เรียวยาวเป็นคู่อยู่บริเวณครีบท้องทำหน้าที่เป็นทางออกของสเปิร์ม พบมากในปลาฉลาม
9. โอวิโพสิเตอร์ (ovipositor) เป็นอวัยวะที่ดัดแปลงมาจากท่อนำไข่ของปลาเพศเมีย โดยจะยื่นยาวต่อจากท่อนำไข่ออกมานอกตัว เพื่อวางไข่ในหอย 2 ฝาบางชนิด
10. ถุงฟักไข่ (brood pouch) เป็นอวัยวะที่มีลักษณะเป็นถุงหรือช่องเล็ก ๆ ทำหน้าที่ฟักไข่พบในปลาเพศผู้ เช่น ม้าน้ำ ปลาจิ้มฟันจระเข้
11. หน้าผาก (snout) มีลักษณะเป็นโหนกยื่นบริเวณหน้าผากของปลาเพศผู้ทำให้ความลาดชันของหน้าผากปลาตัวผู้จะมีมากกว่าในปลาเพศเมีย เช่น ปลาแรด ปลาเทวดา
โดย: ed ครับ [4 พ.ค. 52 2:24] ( IP A:115.67.207.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 36
....เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับข้อมูลที่พี่สมศักดิ์และทางศูนย์ประมงน้ำจืดนครสวรรค์ได้เปิดโอกาสให้เราได้เข้าถึงอย่างหมดเปลือกในครั้งนี้
.....เต็มอิ่มไหมครับ.....
...ผมขออนุญาตแปะชื่อคนที่ไปวันนั้นให้กรมประมงนะครับ จับก่อนเลยครับ ปลาเยอะทุกคน..5555 ยกเว้นผม..อิอิ
โดย: ed ครับ [4 พ.ค. 52 2:29] ( IP A:115.67.207.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 37
....ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามนะครับ ผมและทีมงานชมรมคนรักปลาเสือตอ หวังและตั้งใจเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ต่ออนาคตของปลาเสือตอ และเป็นแนวทางของการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ ไม่ว่าใครก็ตามที่ประสบผลสำเร็จ ผู้เลี้ยงปลา เอกชน หน่วยงานราชการ ......นั่นคืออนาคตของหนึ่งเผ่าพันธุ์
....มาช่วยกันทำให้ปลาเสือตอลายใหญ่ กลับคืนสู่แม่น้ำเมืองไทยกันเถอะครับ........
...ราตรีสวัสดิ์ครับ.....
โดย: ed ครับ [4 พ.ค. 52 2:40] ( IP A:115.67.207.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 38
สวัสดีครับคุณ ~A~ นอนหรือยังครับ
ขอบคุณ คุณชอบบลูเบส ครับที่ทักท้วง 15-20 ซม. ครับเป็นขนาด ของพ่อแม่ปลาเสือตอลายเล็กครับ....
ขอบคุณครับ คุณครูเม้ง .....
น้องตี๋นอนดึกจังเลยนะครับ.......
...งั้นก็นอนหลับฝันดีนะครับ.....
โดย: ed ครับ [4 พ.ค. 52 2:46] ( IP A:115.67.207.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 39
ขอบคุณข้อมูลครับ
นั่งรีเฟรชๆๆๆ
ตอนดึกๆไม่มีไรทำครับ ได้อ่านกระทู้นี้ก็ได้ความรู้มากมายครับ
โดย: free bird.. [4 พ.ค. 52 3:02] ( IP A:125.27.232.87 X: )
ความคิดเห็นที่ 40
สุดยอดมากค่ะ คุณed ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ ทั้งหมดค่ะ ^______^
โดย: mouth [4 พ.ค. 52 4:35] ( IP A:58.8.234.236 X: )
ความคิดเห็นที่ 41
ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลดี ๆ
โดย: เปิ้ล_ไว้ท์เฮ้าส์ [4 พ.ค. 52 7:43] ( IP A:202.183.133.178 X: )
ความคิดเห็นที่ 42
เจอทีมงานที่เอาจริง กันแบบนี้ ผมว่าคงอีกไม่นานครับ ที่จะได้เห็นเจ้าตัวเล็กๆ เพิ่มขึ้น
ขอขอบคุณและเอาใจช่วยให้ ประสบความสำเร็จน่ะครับ
โดย: doubledragon563 [4 พ.ค. 52 8:35] ( IP A:124.121.80.191 X: )
ความคิดเห็นที่ 43
ขอบคุณเรื่องดี ๆ ที่ใช้ความพยายามอย่างสูงทำให้เราได้อ่านกันนะครับ อยากเห็นเสือตอลายใหญ่ตัวเล็ก ๆ จากความพยายามของทุกคนที่เกี่ยวข้องด้วยนะครับ
โดย: ultra7 [4 พ.ค. 52 8:52] ( IP A:203.146.20.17 X: )
ความคิดเห็นที่ 44
ขอบคุณครับ เอาใจช่วยทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องครับ
โดย: สัมมากร [4 พ.ค. 52 9:10] ( IP A:118.173.207.226 X: )
ความคิดเห็นที่ 45
ขอบคุณครับ
เหมือนได้ไปด้วยเลยครับ
โดย: เฟริส [4 พ.ค. 52 9:52] ( IP A:58.137.93.82 X: )
ความคิดเห็นที่ 46
ยอดเยี่ยมมากครับ
โดย: espada [4 พ.ค. 52 10:05] ( IP A:124.122.206.197 X: )
ความคิดเห็นที่ 47
เอาอีก เอาอีก เอาอีกครับหมอ
โดย: November_yo [4 พ.ค. 52 10:55] ( IP A:124.120.105.121 X: )
ความคิดเห็นที่ 48
เป็นกระทู้ที่ยอดเยี่ยมมาก ๆ เลยครับ
เต็มที่ดีครับ
ขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องครับ ขอบคุณอย่างมากเลยครับ
ได้รู้อะไรที่ไม่เคยรู้เพิ่มเติมอย่างมาก เป็นประโยชน์จริง ๆ ครับ
เอาใจช่วยจริง ๆ นะครับ ถ้าเป็นเรื่องโรคในการอนุบาลเสือตอ uv..น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดี
แต่ห่วงเรื่องงบประมาณจริง ๆ เลย
หรือพวกเราจะช่วยกันสมทบทุนการซื้อ uv กันดีไหม ใครจะเป็นโต้โผเอย
^____________^
โดย: ปิติ (เจ้าบ้าน
) [4 พ.ค. 52 11:15] ( IP A:58.9.173.123 X: )
ความคิดเห็นที่ 49
เยี่ยมครับ
ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันกันครับ ^ ^
โดย: โค้มขม [4 พ.ค. 52 11:17] ( IP A:118.172.250.195 X: )
ความคิดเห็นที่ 50
ไม่เสียใจที่รอนานเลยครับ ED
15-20เซนถูกต้องแล้วครับคุณ ชอบบลูเบส
เสือตอลายเล็ก (Datnioides undecimradiatus)
ขนาดเจริญพันธุ์และขนาดโตเต็มที่ เล็กกว่าเสือตอลายใหญ่(Datnioides pulcher) และเสือตออิน (โดdatnioides microlepis) มากครับ
เห็นด้วยกับพี่ปิติครับ ^__^
โดย: mofish_6 [4 พ.ค. 52 12:59] ( IP A:125.25.108.186 X: )
ความคิดเห็นที่ 51
แจ๋วจริงๆเลยครับ พี่เอ็ด
โดย: กล้วยกล้วย [4 พ.ค. 52 15:53] ( IP A:58.8.234.245 X: )
ความคิดเห็นที่ 52
ยอดเยี่ยมมากครับ.....
โดย: Aropharma [4 พ.ค. 52 18:52] ( IP A:114.128.35.214 X: )
ความคิดเห็นที่ 53
Wow ปรบมือให้ครับผม
โดย: wmekloy [4 พ.ค. 52 19:09] ( IP A:125.25.97.135 X: )
ความคิดเห็นที่ 54
เยี่ยมครับ...อย่างน้อยเรายังมีหวัง
โดย: TUTA [4 พ.ค. 52 19:38] ( IP A:203.146.6.87 X: )
ความคิดเห็นที่ 55
สมกับที่รอคอยมากครับพี่หมอ
โดย: จักchakkpan@gmail.com [4 พ.ค. 52 19:42] ( IP A:124.121.106.200 X: )
ความคิดเห็นที่ 56
ขอบคุณมากครับคุณหมอed
โดย: มิ้งค์ [5 พ.ค. 52 7:33] ( IP A:58.9.43.58 X: )
ความคิดเห็นที่ 57
ยอดเยี่ยมเลยครับ จะลองกับเสือลายเล็กบ้าง
โดย: หมูหนองแขม [5 พ.ค. 52 19:57] ( IP A:61.90.82.95 X: )
ความคิดเห็นที่ 58
ขอคาระวะให้ สำหรับความพยายามครับ
โดย: aROmAnTiC [5 พ.ค. 52 22:39] ( IP A:118.174.208.69 X: )
ความคิดเห็นที่ 59
มีความรู้ดีมากครับ...เก่งๆหล่อๆกันทุกคนเลย
ยอดเยี่ยมครับ
โดย: พยัคฆ์ขาว [7 พ.ค. 52 12:11] ( IP A:125.24.37.64 X: )
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน