[b] ปลาเสือตอ [/b]
   สวัสดีครับ เพื่อนๆพี่ๆทุกท่าน... กระทู้นี้ถือเป็นกระทู้เกี่ยวกับปลาเสือตอ ที่ใช้เวลาทำนานมากๆ กระทู้หนึ่งเลยทีเดียว โดยมีความตั้งใจ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ที่รัก และเลี้ยงเสือตอทั่วไป จะเห็นได้ว่ากระทั่งชื่อเรื่องก็ตั้งแบบเรียบง่ายเพียงแค่ว่า "ปลาเสือตอ" เพื่อหวังให้ผู้ที่ต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับปลาเสือตอนั้น พบเจอได้ง่ายเมื่อ Search หาในGoogle เช่นเดียวกับที่ผมเคยหาข้อมูลเรื่องเสือตอในเวปเมื่อสมัยก่อนตอนผมเลี้ยงใหม่ๆ สมัยนั้นข้อมูลยังน้อยกว่าเดี๋ยวนี้มาก มีทั้งถูกๆผิดๆ เก่าๆใหม่ๆ บางส่วนก็เชื่อถือไม่ได้นัก ก็ว่ากันไปยังไงก็ตามแต่ ขอออกตัวก่อนว่า อย่าเชื่อผมทั้งหมดนะครับ ผมไม่ใช่เทพ เป็นเพียงแต่ผู้ที่รวบรวมข้อมูล คัดกรอง แล้วเอามาบอกต่อกันฟังเท่านั้นครับ และสำหรับรูปภาพประกอบบางรูป ต้องขออนุญาติท่านเจ้าของภาพมาในที่นี้ด้วยนะครับ

หวังอย่างยิ่งว่า บทความนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับผู้เลี้ยงเสือตอทุกท่าน หากมีข้อผิดพลาดประการใดขออภัยมาในที่นี้ และให้ถือเป็นความผิดของกระผมแต่เพียงผู้เดียว แต่ถ้าจะมีความดีอยู่บ้าง ขอยกความดีทั้งหมดให้กับครูบาอาจารย์ทุกท่าน และคุณพ่อคุณแม่ สวัสดีครับ ^_^ mofish_6

โดย: mofish_6 [17 ต.ค. 52 22:51] ( IP A:180.183.145.224 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 2
    ความเป็นมาเป็นไป ของปลาเสือตอและด้านการตลาด

ในอดีต ปลาเสือตอลายใหญ่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ทั้งเป็นปลาเนื้อเพื่อบริโภคและขายเป็นปลาสวยงามโดยพบมากในบึงบอระเพชร จังหวัดนครสวรรค์ แต่หลังจากปี พ.ศ.2520 ปลาเสือตอเริ่มลดปริมาณลงอย่างมากและต่อเนื่อง ทั้งที่ในปี พ.ศ. 2515 มีรายงานการจับถึง 9000 กิโลกรัม(ข้อมูลจากนักวิชาการประมงบึงนครสวรรค์) เหตุผลที่ปริมาณลดลงคาดว่ามาจากการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศภายในบึงโดยฝีมือมนุษย์ ความนิยมบริโภคปลาเสือตอ การจับปลาที่เป็นเหยื่อตามธรรมชาติของปลาเสือตอเกินขีดจำกัด การทำประมงที่ขาดจิตสำนึก เช่นการใช้ระเบิด การใช้ยาเบื่อเมา การจับปลาในฤดูวางไข่ มลพิษทางน้ำจากการทำเกษตรกรรมและอุสาหกรรม การปล่อยปลาชนิดอื่นๆที่ไม่มีอยู่เดิมลงไปในบึง และความนิยมปลาเสือตอเป็นปลาสวยงามเพิ่มขึ้น จากความต้องการทั้งในและนอนประเทศ ส่งผลให้มีการล่าจับลูกปลาอย่างต่อเนื่อง รายงานการพบปลาเสือตออย่างเป็นทางการครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2529 โดยชาวบ้านที่มีอาชีพประมง แต่เสือตอตัวนั้นก็ตายก่อนที่นักวิชาการประมงจะไปถึง

โดย: mofish_6 [17 ต.ค. 52 22:58] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ด้วยความต้องการปลาเสือตอเพื่อเลี้ยงเป็นปลาสวยเพื่อมากขึ้น แต่ไม่มีปลาป้อนสู่ตลาด ผู้ส่งออกปลาสวยงามและพ่อค้าปลาสวยงามจึงเริ่มเสาะหาแหล่งที่อยู่อาศัยใหม่ๆในต่างประเทศ ครั้งหนึ่งมีซากปลาเสือตอลายใหญ่ ติดมากับปลาเนื้อทั่วไปจากประเทศกัมพูชาเรื่องนี้ทราบถึงหูผู้ค้าปลาสวยงาม จึงมีการส่งคนเข้าไปเพื่อเสาะหาปลาเสือตอลายใหญ่ แล้วก็พบว่าในทะเลสาบเขมร (โตนเลสาป) เป็นแหล่งที่มีปลาเสือตออยู่อย่างชุกชุม มีการรวบรวมลูกปลาซึ่งจับได้ง่ายกว่าปลาใหญ่ รวบรวมจนได้จำนวนแล้วส่ง มายังประเทศไทยครั้งละหลายพันตัว โดยประเทศไทยก็จะทำหน้าที่กระจายปลาสู่ประเทศต่าง ทั้งญี่ปุ่น จีน เกาหลีอีกทอดหนึ่ง ซึ่งในช่างเวลานั้นต่างประเทศยังเข้าใจว่าปลาทั้งหมดเป็นปลาที่ได้มาจากแหล่งน้ำธรรมชาติของไทย
ช่วงเวลานี้มีปลาเสือตอลายคู่เริ่มปรากฏให้เห็น แม้จะมีปริมาณไม่มาก กระนั้นในช่วงแรกนั้นยังไม่เป็นที่ยอมรับ เนื่องจากผู้เลี้ยงยึดติด กับลักษณะลายเดิมๆ จึงทำให้ปลาเสือตอลายคู่ที่มาจากเขมรมีราคาถูกผู้จับถึงขนาดต้องยัดเยียดขายให้กับผู้ซื้อ เช่นแอบปนมากับถุงปลาเสือตอลายใหญ่(ถุงละร้อยตัวมีลายคู่ปนมาสิบตัว) หลังจากนั้นไม่นานเหตุก็เกิดกลับตาระปัดกลุ่มผู้เลี้ยงเริ่มเข้าใจว่าเสือตอลายคู่ก็คือเสือตอเช่นกัน และยังมีจำนวนน้อยกว่า ตลอดจนนิยมความสวยงามของเสือตอลายคู่มากขึ้นจนราคาแพงขึ้นเป็นเท่าตัวของปลาเสือตอลายใหญ่ ความลับไม่มีในโลกฉันใดก็ฉันนั้น ในช่วงนี้เองเริ่มมีผู้รู้ และเข้าถึงแหล่งปลาที่เขมรมากขึ้นเรื่อยๆ มีการเข้าไปเสนอราคาตัดหน้ากันเองมากขึ้นจนผู้จับเริ่มเล่นตัวและโก่งราคาให้แพงขึ้นเรื่อยๆ ซ้ำร้ายเรื่องแหล่งปลาเสือตอในเขมรนี้ยังหลุดไปถึงหูผู้ซื้อปลาจากต่างประเทศจึงทำให้ทั้งจากญี่ปุ่น จีนเกาหลีพากันไปรับซื้อถึงแหล่งโดยไม่ให้พ่อค้าปลาไทยหลอกกินหัวคิวอีกต่อไป และแล้วการจับที่บ้าคลั่งก็เริ่มขึ้นในแหล่งใหม่ ขับเคลื่อนด้วยเงินและความโลภ

โดย: mofish_6 [17 ต.ค. 52 23:00] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   แม้จะมีเยอะเท่าไรก็ไม่พอ ปลาเริ่มลดจำนวนลงอย่างชัดเจน ปลาเสือตอในประเทศไทยก็แพงขึ้นจากหลักสิบเป็นหลักร้อย ช่วงนี้เริ่มมีการพบเสือตอลายใหญ่(ไม่แน่ในว่ามีลายคู่รึป่าว)ในประเทศเวียดนามแม้จะไม่มากเท่าในเขมร ทั้งหมดถูกรวบรวมตรีตราว่ามาจากเขมรที่เดียวเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในกลุ่มผู้เลี้ยง เหมือนสวรรค์จะเป็นใจ ในขณะที่ปลาเสือตอจากทั้งภูมิภาคนี้ลดลงอย่างรวดเร็ว กลับมีการนำเข้าปลาเสือตอจากแหล่งใหม่สดๆซิ่งๆ เสือตออินโดนั่นเองDatnioides microlepis เสือตอจากแหล่งใหม่นี้ดูผ่านๆแล้วก็ไม่ต่างจากปลาที่มาจากแหล่งเดิมเท่าไหร่นัก ที่สำคัญปลาจากอินโดนั้นมีลักษณะลายคู่จำนวนมาก พ่อค้าไทยตอนนั้นตีปีกกันพับๆ เนื่องจากลายคู่ในช่วงนั้นราคายังสูงอยู่ ผู้เลี้ยงก็แยกความแต่งต่างไม่ออก และต้นทุนปลาเสือตอทั้งลายคู่และลายใหญ่จากประเทศอินโดนิเซียนั้นก็ไม่แพงเท่าไหร่ ในช่วงต่อมาความจริงเริ่มปรากฏเมื่อปลาลายคู่ที่ผู้เลี้ยงซื้อไปนั้นโตขึ้นมาไม่สวยเหมือนเก่าดำๆด่างๆขี้กลัว ทำให้ผู้นิยมปลาเสือตอลายคู่เริ่มจะถอดใจ และราคาปลาเสือตอลายคู่ก็ดึ่งลงเหว ประกอบกับช่วงนั้นมีการออกกฎหมายให้ปลาเสือตอลายใหญ่อยู่ในบัญชีสัตว์ปลาคุ้มครองคุ้มชนิดเพาะพันธุ์ได้ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ปลา พ.ศ.2535 โดยบัญญัติไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่ 10 ลงวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ก็ไม่น่าแปลก อะไรที่ห้ามคนยิ่งชอบ หรือจะด้วยการเริ่มตระหนักถึงความหายากของปลาชนิดนี้ แต่กระนั้นก็ทำให้ปลาเสือตอลายใหญ่กลับมามีราคาแพงกว่าลายคู่อีกครั้งหนึ่ง

โดย: mofish_6 [17 ต.ค. 52 23:03] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   กระทั่งประมาณปี 2547 เสือตอทั้งลายใหญ่ลายคู่-อินโดเขมร ทั้งหมดก็วางขายรวมกันโดยที่ผู้ซื้อส่วนใหญ่ไม่สามารถแยกความแต่งต่างได้ รู้แต่เพียงว่าลายใหญ่แพงกว่าลายคู่เท่านั้น ในช่วงนี้ราคาเสือตอลายใหญ่ขนาด 2-3นิ้วขี้เหล่ๆตัวหนึ่งอยู่ราว 700 บาท ที่สวยๆก็มีราคาถึง 1500 บาท ส่วนเสือตอลายคู่ทั้งเขมรและอินโดขนาดเดียวกันราคาอยู่ที่ 550-750 บาท ส่วนตัวผมจำได้ว่าครั้งหนึ่งในปี 2547 ได้ซื้อเสือตอลายคู่จากตลาดปลาสนามหลวงสองมา4ตัว จากตู้เดียวกัน ในราคาตัวละ 650 บาทโดยสี่ตัวนี้มีลายคู่เขมร 2 ลายคู่อินโด 2 ตัว โดยที่ไม่รู้ตัวเลยว่าปีนี้จะเป็นปีสุดท้ายที่จะมีเสือตอเล็กๆมาให้คัดให้เลือกซื้อ

โดย: mofish_6 [17 ต.ค. 52 23:05] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   ต่อมาในปีพ.ศ.2548 เสือตอก็หายไปซะเฉยๆ ไม่มีการนำเข้ามาเช่นทุกปี หลายคนคิดว่าเป็นการกักตุนปลาโดยพ่อค้าเพื่อทำกำไร ไม่ก็ว่าต่างชาติเหมาไปหมด จะมีกี่คนที่คิดว่าเป็นเพราะมันหมดจริงๆ ปีแล้วปีเล่าที่เฝ้าคอยปลาเสือตอไซร์เล็กๆก็ไม่มีเข้ามาซักที เป็นเพราะอะไรไม่มีใครตอบได้ ได้แต่คาดเดาสาเหตุ การสร้างเขื่อนในประเทศจีนทำให้น้ำขึ้นน้ำลงไม่ตรงตามฤดูกาล? การที่โลกร้อนขึ้นรึป่าว? ก็มีส่วน แต่โดยส่วนตัวคิดว่า สาเหตุที่เสือตอเขมรลดจำนวนลงเหตุผลก็ไม่ได้ต่างจากประเทศไทยในอดีตนั่นเอง การจับปลามากเกินไป เราจะคาดหวังอะไร? ให้ประชาชนเค้าจับปลาอย่างมีจิตสำนึกหรือ ในเมื่อประเทศไทยยังไม่สามารถทำได้เลย ประชาชนที่นั่นจนกว่าเรา ด้อยพัฒนากว่าเรามากมาย กอบโกยได้เท่าไหร่เค้าก็ต้องเอา จะตัวเล็กตัวใหญ่ ฤดูว่างไข่ แน่นอนว่าไม่สน กินเหลือทำปลาร้า หรือปลากระมอก(ตากแห้งรมควัน) ขาย

โดย: mofish_6 [17 ต.ค. 52 23:09] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   ปลาเสือตอที่ทะเลสาบเขมร มิใช่ว่าสูญพันธ์เสียแล้ว เพียงแต่ไม่คุ้มที่จะทำเป็นอาชีพได้เหมือนแต่ก่อน หากมั่วแต่จะรอจับแต่เสือตอขายรับรองว่าชาวประมงคนนั้น ตัวเองและลูกเมียต้องอดตายแน่นอน ปีนึงหากโชคดีอาจจะได้ซัก3-4ตัว ท่านไหนมีเส้นมีสาย มีเงินมีเวลา ก็ลองดูนะครับ

โดย: mofish_6 [17 ต.ค. 52 23:10] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   ปี 2550 หลังจากไม่มีปลาเสือตอเข้ามา 2 ปีเสือตอที่มีอยู่เดิมในตลาดราคาถีบตัวสูงอย่างน่าตกใจ จาก 3500 เป็น 5000 จาก 5000 เป็น 10000และไม่มีทีท่าว่าจะหยุด ในช่วงนี้ช่องทางการสื่อสารทางอินเตอร์เนท หรือตลาดซื้อขายปลาออนไลน์ เริ่มตื่นตัวอย่างมาก เมื่อเสือตออินโดเข้ามาสู่ตลาดปลาสวยงามบ้านเราอีกครั้งหนึ่ง โดยครั้งนี้ปลาส่วนใหญ่เป็นเสือตอลายใหญ่ ซึ่งทำให้เกิดความสับสนในผู้เลี้ยงมากมายเรื่องการแยกแยะสายพันธุ์ระหว่างเสือตออินโดและเสือตอเขมร ซึ่งนำไปสู่การแสวงหาความรู้ใหม่ๆ การพิจารณาจุดสังเกตต่างๆ เสือตออินโดที่เข้ามาช่วงแรก ขนาด 1-2 นิ้วมีราคาตัวละ 500 บาท และสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็เพียงแค่ปีเดียว หลังจากปลายปี 2551 ปลาเสือตออินโดก็ทำท่าจะหายไปจากตลาดปลาสวยงามเช่นเดียวกับเสือตอเขมร

โดย: mofish_6 [17 ต.ค. 52 23:11] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   สาเหตุหนึ่งเพราะเสือตอไม่สามารถวางขายตามตลาดปลาทั่วไปได้เนื่องจากผิดกฎหมาย การซื้อขายปลาเสือตอทางเวปไซต์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ปลอดภัยในขณะนั้น ในช่วงนี้ความนิยมปลาเสือตอได้เข้าสู่กลุ่มผู้เลี้ยงหน้าใหม่ที่เป็นวัยรุ่น ที่มีความสามารถเล่นและเปิดดูอินเตอร์เนทได้ นอกจากจะใช้เป็นช่องทางหาซื้อปลาแล้ว ผู้เลี้ยงกลุ่มนี้ยังช่างสังเกต ตระตือลือล้นที่จะแสวงหาความรู้ เกี่ยวกับปลาเสือตอ จากอินเตอร์เนท จนได้แนวคิดใหม่ๆหลายต่อหลายอย่าง วิธีการเลี้ยงและดูแลปลาเสือตอ ตลอดจนวิธีสังเกตสายพันธุ์มากมายจนถึงทุกวันนี้
ปัจจุบัน 2552 ราคาเสือตออยู่ที่ 10000 บาทขึ้นไปถึง หลายหมื่นบาทตามแต่ความสวยงาม ปลาจำนวนไม่มากนักวนเวียนเปลี่ยนมือกันไปมา แน่นอนว่าจำนวนก็ลดลงเรื่อยๆเมื่อปลาตายลงไป แต่ไม่มีปลาใหม่เข้ามา การกำหนดราคามักขึ้นอยู่กับความสวยงามของปลาเป็นอันดับแรก ปลาที่สีเหลืองลายดีและทรงอ้วนกลมจะเป็นที่นิยม จะมีราคาที่สูงเป็นเท่าตัวกับปลาที่ไม่สวยแม้จะมีขนาดเท่ากัน เนื่องจากทุกวันนี้ ผู้เลี้ยงส่วนใหญ่มีความรู้และรสนิยมในการดูปลาสวย เช่นเดียวกันหมด อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจในปีนี้ก็คือ มีความตื่นตัวจากทั้งภาครัฐและเอกชนที่ต้องการเพาะพันธุ์ปลาเสือตอเขมรให้สำเร็จ มีการเสนอข่าวให้ประชาชนสนใจปลาเสือตอมากขึ้นตลอดจน จัดสัมมนาให้ความรู้กับเอกชนในเรื่องความพยามเพาะพันธุ์ปลาเสือตอโดยกรมประมง มีความต้องการแสวงหาความร่วมมือกันระหว่างกระประมงและเอกชน แต่ปัญหาที่ยังขวางกั้นอยู่ก็คือทางด้านกฎหมายคุ้มครองปลาเสือตอ ซึ่งหากสำเร็จคาดว่าจะทำรายได้ให้กับเกษตรกรและประเทศชาติอย่างมากมาย

โดย: mofish_6 [17 ต.ค. 52 23:14] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
    เลือกซื้อปลาเสือตออย่างไร
การเลือกซื้อเสือตอต้องดูสามสิ่งประกอบกันคือ ไม่ป่วย สวย และนิสัยดี น่าน…อะไรจะเรื่องมากขนาดนั้น ข้อแม้อย่างกับเลือกเมียซักคน แต่กระนั้นความสวยงาม
ก็เป็นเรื่องของแต่ละคนมองนะครับ ไม่มีปลาตัวไหนที่จะสวยสมบูรณ์ไปซะทุกอย่าง นอกจากวาดขึ้นมาเอง คนเรายิ่งรู้มากยิ่งเรื่องมาก มาตรฐานสูงพาลมองปลาสวยเป็นไม่สวยไปซะดื้อๆ เอาเป็นว่าหากตัวไหนเข้าข่ายหลักเกณฑ์ที่กล่าวมา เกินครึ่งก็ ตัก ได้แล้วครับ
1.ไม่เจ็บป่วย
เช่นทั้งผิวนอกและตาดำไม่มีอาการขุ่นเป็นฝ้า ตาไม่โปน ไม่มีอาการปากหุบไม่สนิท ไม่หอบหายใจถี่ๆ ไม่ผอมบางเกินไป ครีบเบ่งบางไม่ว่ายลู่ ครีบว่ายปลายหางไม่มีอาการเปื่อย โคนครีบอกไม่มีสีแดงช้ำ ไม่มีฝีผิวหนังปูดบวม หรือผิวหนังถลอกจนเกินไป ไม่มีลักษณะของโรครูที่หัว

โดย: mofish_6 [17 ต.ค. 52 23:23] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
    2.ความสวยสำหรับปลาเสือตอ เป็นเรื่องของสามสิ่งหลักๆคือ
สี ลาย ทรง

2.1 สี
ควรเลือกตัวที่มีสีเหลืองสดใส ลายดำเข้มดำสนิท เมื่อมองใกล้ๆจะเห็นเกล็ดเป็นมันวาว ครีบตะเกียบเป็นสีเหลืองตัดดำดูสวยงาม โทนสีของเสือตอนั้นยังสามารถแยกออกไปได้อีกหลายสี เช่นเหลืองทอง เหลืองทองแดง เหลืองกล้วย เหลืองน้ำตาล เหลืองอ่อน เหลืองชมพู ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมส่วนหนึ่งและพันธุกรรมของปลาตัวนั้นๆส่วนหนึ่ง ส่วนใหญ่จะนิยมสีเหลืองกล้วย และเหลืองทอง เป็นหลัก

โดย: mofish_6 [17 ต.ค. 52 23:26] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
   สวัสดีครับคุณKing เข้าใจว่าคุณคงรู้สึกว่าคล้ายกระทู้ของคุณนินจาละมั้งครับ ในการเขียนเรื่องเดียวกันนั้น หากจะกล่าวถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นๆก็คงจะคล้ายๆกันนั่นเหละครับ ต่างกันบ้างในมุมมองและลายละเอียด รบกวนอ่านต่อนะครับ และการเขียนบทความหากส่วนไหนเป็นส่วนที่ผมลอกเค้ามา ผมจะใส่อ้างอิง เป็นเคดิสให้ไว้หลังจบประโยคครับ ^_^
โดย: mofish_6 [17 ต.ค. 52 23:36] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
   สีแปลกๆก็มี และสียังเป็นส่วนที่บ่งบอกถึงสุขภาพของปลาตัวนั้นๆอีกด้วยนะครับ

โดย: mofish_6 [17 ต.ค. 52 23:37] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
   ตู้เดียวกันหลายสีก็มี

โดย: mofish_6 [17 ต.ค. 52 23:38] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
    ลาย
หมายถึงลายดำที่พาดผ่านตัว ควรเป็นเส้นที่ใหญ่หนาและลงตรง ขอบลายคมไม่ขรุขระในลายสีเหลืองไม่ควรมีสีดำแซม ตรงกันข้ามในแถบสีดำก็ต้องดำสนิทไม่มีสีเหลืองแซม ในปลาเขมรลักษณะลายแซมมักจะพบได้น้อยกว่าเสือตอจากอินโด ลักษณะด้อยอีกข้อหนึ่งที่มักพบในเสือตออินโดคือ เขม่าสีดำในพื้นเหลือง ซึ่งจะสามารถเข้มขึ้นหรือจางลงได้ตามแต่อารมณ์ของปลา หากเขม่านี้เข้มมากๆก็จะนับว่าเป็นลายแซม จุดที่มักพบเขม่าได้คือส่วนด้านบนของตัวปลาระหว่างลายเส้นที่ 5-6 ว่ากันต่อถึงความงามของลาย เส้นทุกเส้นลงจรดท้อง โดยเฉพาะสร้อยคอควรจะหนาเข้ม เพราะเมื่อปลายิ่งโตขึ้นมีความเป็นไปได้ที่เส้นรอบคอจะจางลงเรื่อยๆ
ตรงนี้ก็อย่าจริงจังกันนักนะครับ โดยส่วนตัวผมเห็นหลายๆคนยอมจ่ายราคาเพิ่มอีกหลายพันเพื่อให้เส้นรอบคอเส้นนี้เชื่อมต่อกัน ทั้งๆที่มันขาดจากกันใต้คอเพียงแค่เซนติเมตรเดียว อย่าลืมนะครับ เรายืนดูปลาไม่ได้ตีลังกาดู หรือนอนดูปลา สำหรับเสือตอเขมรนั้นนิยมปลาที่มีลาย 6 ขีดโดยความเชื่อแต่ดั้งเดิมว่า ปลาเสือตอไทยนั้นมี 6 ขีด และปลาไทยนั้นเป็นปลาที่สวยกว่าปลาที่นำเข้ามาในสมัยก่อนที่มักจะมี 7 ขีด

โดย: mofish_6 [17 ต.ค. 52 23:40] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 17
   มาดูลายคู่บ้าง(คู่เขมร)

โดย: mofish_6 [17 ต.ค. 52 23:41] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 18
   แจ่มครับคุณโม่ แบบนี้ต้องเก็บเข้าFAQครับ
โดย: โอ๋ 0830465273 [17 ต.ค. 52 23:43] ( IP A:110.164.5.86 X: )
ความคิดเห็นที่ 19
    ทรง
เสือตอนิยมทรงต้องสั้นกลม แลดูอ้วนหนา ข้อหางไม่ยาวใบหางไม่ใหญ่เกินไป ด้านหน้าปลาลาดชันมากหรือบางท่านเรียกว่าหน้าหัก ไม่งุ้มในลักษณะหน้าเต่าซึ่งจะดูไม่สวยและไม่เป็นที่นิยม ปากสบกันได้ดีไม่เบี้ยว

โดย: mofish_6 [17 ต.ค. 52 23:43] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 20
   สวัสดีครับโอ๋ ^_^

มาดูลักษณะหน้าปลาเสือตอกัน ว่าหล่อกับไม่หล่อมันเป็นยังไง

โดย: nofish_6 [17 ต.ค. 52 23:45] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 21
   ข้อหางยาวก็ไม่งาม เรื่องมากจริงๆเฮะ

โดย: mofish_6 [17 ต.ค. 52 23:47] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 22
   มาดูที่สวยๆกัน

โดย: mofish_6 [17 ต.ค. 52 23:47] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 23
   ขอบคุณนะครับ...หายไปนาน
กลับมาก็มีความรู้มาฝากอีกครับ...
รักษาสุขภาพด้วยนะครับ...
โดย: ภัทร [17 ต.ค. 52 23:54] ( IP A:124.121.8.141 X: )
ความคิดเห็นที่ 24
    เอาละข้อสุดท้าย....ต้องนิสัยดี

ต้องไม่จู้จี้ขี้บ่น ใจกว้าง ประหยัด และมีความรับผิดชอบหน้าที่ ! ไม่ใช่ครับ เสือตอนิสัยดีในที่นี้หมายถึงว่า นิสัยบางอย่างที่แสดงออกให้เห็น เช่นการว่ายการ ยืนน้ำกางครีบ ช่างสงสัย เป็นต้น ในกรณีที่มีให้เลือกหลายตัว ในเสือตอขนาดเล็กเราจะเลิกตัวที่ว่ายอยู่ ไม่ใช่ตัวที่นอนอยู่มุมตู้หรือทำตัวเอียงๆอยู่ที่ผิวน้ำ เมือเราไปยืนหน้าตู้ เนื้อคู่ของเราตัวนี้จะว่ายถอยหลังแต่ตายังจับจองมองเราอยู่ เมื่อเราเอามือไปทาบหน้าตู้เจ้าตัวนี้จะว่ายพุ่งหนีในระยะสั้นๆ แต่จะแว้งกลับตัวมามองเราอีกรอบ หรือเริ่มว่ายเข้ามาจ่อดูมือเราที่หน้ากระจก หากได้แบบนี้รีบมองและจำให้ดีแล้วตักเลยครับ เสือตอตัวที่ไม่ขี้กลัวและช่างสงสัยเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินดีโตเร็ว และมักจะปรับสีสันให้สวยงามได้ง่ายกว่าตัวอื่นๆ ทั้งในเสือตอตัวเล็กและตัวใหญ่ นิสัยช่างสงสัยและกล้าเข้าหาคนเป็นส่วนที่น่ารักสำหรับเสือตอครับ การยืนน้ำก็เป็นส่วนสำคัญต่อความสง่างาม เราจะไม่เลือกปลาที่ว่ายตัวลีบๆ พุ่งไปพุ่งมาลักษณะว่ายโดยใช้หางอย่างเดียว แต่เราจะเลือกตัวที่ว่ายน้ำอย่างเชื่องช้าครีบอกโบกพัดอยู่ตลอด ครีบตะเกียบและครีบหลังกางและดูสง่างาม ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความมั่นใจ และมีสุขภาพดี

โดย: mofish_6 [17 ต.ค. 52 23:56] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 25
   ขอบคุณคุณ ภัทร ครับ ^_^
โดย: mofish_6 [17 ต.ค. 52 23:58] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 26
   ขออณุญาต ครับพี่โม่ เจ๋งครับพี่
โดย: Red B [18 ต.ค. 52] ( IP A:58.9.62.80 X: )
ความคิดเห็นที่ 27
    การเลี้ยง
การเลี้ยงเสือตอมี4สิ่งที่สำคัญคือ น้ำ-อุณหภูมิ-อาหาร-สภาพแวดล้อม 34-35-36
น้ำดี… เสือตอเป็นที่กินเก่ง ของเสียที่ปล่อยออกมานั้นเรียกได้ว่ามากมายเลยทีเดียว สังเกตว่ากินๆขี้ๆทั้งวัน น้ำจึงมักจะเสียอย่างรวดเร็วจากขี้ปลาหรือจากเหยื่อที่ตกค้างในตู้ จึงควรมีระบบกรองที่มีขนาดใหญ่และมีประสิทธิภาพ วัสดุกรองที่นิยมได้แก่หินพัมมิส และใยแก้ว ปะการังไม่ค่อยจะเหมาะสมกับปลาเสือตอนักเพราะนานไปจะทำให้น้ำกระด้าง ซึ่งเสือตอไม่ค่อยปลื้มนัก นอกจากนี้ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง หรือถ้าเลี้ยงปลาค่อนข้างหนาแน่น ก็ต้องมีถึงสองครั้งต่ออาทิตย์ ผู้เลี้ยงสามารถติดตั้งระบบโอเวอร์โฟร์น้ำในตู้หรือในบ่อ เพื่อลดภาระและยังลดความเสี่ยงในกรณีที่ลืมหรือขี้เกียจถ่ายน้ำได้อีกด้วย
อุณหภูมิ… อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับเสือตออยู่ที่ 29 ไม่ควรเกิน 31องศาและไม่ต่ำกว่า 27 องศา หากต่ำกว่านี้จะเสี่ยงทำให้เกิดโรคต่างๆตามมาอธิโรคจุดขาว และหากสูงกว่านี้มากๆเกินจะทำให้ปลาหอบและตาย อุณหภูมิไม่ควรขึ้นๆลงๆหรือที่เรียกว่าแกว่งในช่วงต่างๆของวัน แต่กระนั้นก็สามารถเลี้ยงเสือตอในตู้ที่ตั้งไว้ในห้องแอร์ได้ หากเป็นตู้ขนาดใหญ่ที่มีมวลน้ำมาก เช่นตู้ 60นิ้วขึ้นไป
อาหาร เสือตอเป็นปลาล่าเหยื่อในธรรมชาติจับกินเหยื่อที่มีชีวิตเป็นอาหารแต่ก็สามารถหัดให้กินเหยื่อตายได้

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 28
   เหยื่อเป็น ที่นิยม-ข้อดีข้อด้อย

กุ้งฝอย [/fontเหมาะกับปลาที่หวังเพาะพันธุ์ เพราะจะช่วยสร้างไข่และน้ำเชื้อ ปลาได้รับแคลเซี่ยม และทำให้ปลามีสีสันดี ข้อด้อยเก็บรักษายาก ทำให้น้ำขุ่นและเสียเร็ว อันตรายที่อาจเกิดจากกรีกุ้ง

ปลานิล ราคาถูก หาซื้อง่าย มีโปรตีนสูง เก็บรักษาได้นานข้อด้อย โรคตามๆที่มากับปลานิลครีบหลังแข็งอาจเกิดอันตรายได้

ปลาไน ไม่มีครีบหลังที่แข็ง ว่ายน้ำช้าจับกินง่าย เก็บรักษาง่าย ข้อด้อยคือหาซื้อได้ยาก

ปลายี่สก ราคาไม่แพง ไม่มีครีบแข็ง ลักษณะตัวยาวลื่นลงคอง่าย ข้อด้อย หาซื้อยาก ว่ายน้ำเร็วจับกินยาก กระโดดเก่ง ใจเสาะ จึงเก็บรักษายาก

ปลานวลจัน [/fontไม่มีครีบแข็ง ลักษณะตัวยาวลื่นลงคอง่าย ข้อด้อย หาซื้อยาก ราคาสูง ว่ายน้ำเร็วจับกินยาก

ปลาดุก มีโปรตีนสูงที่สุด จับกินง่าย สามารถให้วิตามินหรือสารอาหารผ่านทางเหยื่อได้ง่าย ข้อด้อย ต้องเป็นขนาดเล็กจริงๆไม่อย่างนั้นอาจเกิดอันตรายจากเงี่ยงปลาดุก

ปลาคราฟ สีสันชวนกิน จับกินง่าย
ข้อด้อยราคาแพง หาซื้อยาก

ปลาทอง สีสันชวนกิน จับกินง่ายที่สุด เหมาะสำหรับแม่ปลาท้องแก่ที่ว่ายน้ำได้เชื่องช้า ข้อด้อย ราคาแพง น่าสงสารไม่เหมาะกับผู้ที่ใจอ่อน

ปลาสอด สีสันสะดุดตาชวนกิน ข้อด้อยว่ายผิวน้ำเสือตอบางตัวไม่กล้าขึ้นมากิน หนอนสมอ และแพง

ปลากัด ว่ายน้ำช้าจับกินง่าย ข้อด้อยคือราคาแพง และไม่เหมาะกับตู้กรองข้าง กรองล่าง เพราะชอบลอยไปอุดหวีน้ำล้น
โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 29
    เหยื่อตาย
เหยื่อตายที่ผู้เลี้ยงนิยมหัดให้ปลากินได้แก่ กุ้งฝอยตาย กุ้งชิ้น เนื้อปลาชิ้น หากหัดให้กินกุ้งฝอยตายควรเริ่มจาก ผสมกุ้งตายกับกุ้งเป็นและค่อยๆเพิ่มอัตราส่วนกุ้งตายให้มากขึ้นเรื่อยๆ จนเหลือแต่กุ้งตายอย่างเดียว
การหัดให้กินกุ้งชิ้นเกาะหัวหรือเกาะเปลือกทั้งตัวต้องหักดิบ ให้ปลาอดแล้วจึงให้ เมื่อปลาไม่กินก็ตักออก ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ หากมีปลาเสือตอตัวที่ยอมกินหรือกินนำให้เห็นเป็นตัวอย่าง ตัวที่ไม่กินมีโอกาสสูงขึ้นที่จะกินตาม หรือหากไม่มีปลาเสือตอกินนำเราอาจให้ปลาอื่นๆเช่นนกแก้ว ตะเพียนฯ แทนก็ได้ ส่วนการหัดให้กินเนื้อปลาชิ้นก็ทำตามแบบวิธีเดียวกัน
หลายคนถามว่าปลาจะยอม อดจนตายรึป่าว ถามกลับว่ามีใครบ้างครับที่จะทนเห็นปลาอดจนตายไปต่อหน้าต่อตา เมื่อปลาผอมมากจนเหมือนจะตาย ก็ต้องให้อาหารกันทุกคนหรือไม่ก็ขายออกไป ที่ผ่านมาปลาอดจนตายผมยังไม่เคยเห็น แต่ที่อ่อนแอลงจนนานๆเข้าก็มีโรคแทรกซ้อนจนตาย เห็นได้บ่อยครับ อย่าว่าแต่อ่อนแอลงเพราะเจ้าของจับอดเลยครับ แค่การให้อาหารที่ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสม เช่นให้เนื้อไก่เนื้อหมู กุ้งเน่า หรือที่ปลาไม่ชอบจนปลาอ่อนแอลงก็สามารถทำให้ปลาตายได้แล้ว สรุปว่าไม่มีปลาตัวไหนทันได้อดตายครับ ปลาอ่อนแอลงและเกิดโรคแทรกซ้อนจนตาย เพราะฉะนั้นสังเกตว่าปลาของท่านมีขีดจำกัดแค่ไหน และอย่าฝืนธรรมชาติจนเกินไปนักครับ หากถามว่าเสือตออดได้นานเท่าไหร่คงไม่สามรถตอบได้ชัดเจนนัก แต่เสือตอที่สมบูรณ์สามารถ อดอาหารได้ 1 เดือนสบายๆครับ
โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 30
    ความถี่ของการให้อาหาร
เสือตอเป็นปลาล่าเหยื่อลำไส้สั้นกินเยอะและหิวในเวลาไม่นาน ควรให้กินจนอิ่มทุกๆวัน แต่ในหนึ่งอาทิตย์อาจจะมีสักวันที่ไม่ให้อาหาร ซึ่งอาจจะเป็นวันที่เปลี่ยนถ่ายน้ำ และในวันรุ่งขึ้นก็เป็นวันที่ให้อาหาร+วิตามินครับ
โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 31
    สภาพแวดล้อม
ตู้ที่ใช้เลี้ยงเสือตอควรมีขนาดพอเหมาะ เล็กเกินไปปลาเครียดและอาจจะแกร็น ใหญ่เกินไปปลาผอมเนื่องจากไล่เหยื่อไม่ทัน เสือตอทั้งเขมรและอินโด ในระยะยาวหนึ่งตัวต่อตู้ขนาดไม่เล็กไปกว่า 48 20 20 แต่ในช่วงแรกก็สามารถเลี้ยงรวมกันได้หลายๆตัวขอกล่าวถึงการเลี้ยงรวมหลายตัวซักหน่อย การเลี้ยงรวมก็ย่อมมีบ้างที่ปลาจะกัดกันหางแตก หรือข่มกันจนสีดำบ้างเหลืองบ้าง แต่เมื่อผ่านไปนานๆ การกัดกันมีแนวโน้มจะน้อยลงเป็นลำดับ ส่วนการลงปลาใหญ่ ก็มักจะมีการกัดกันเพื่อหยั่งเชิงบ้างให้ผู้เลี้ยงใจแข็งอดทนดูซักระยะ เมื่อ ปลาจัดระเบียบสังคมกันได้แล้ว รู้ว่าตู้นี้ใครคุม รู้จักหลบจักหลีก การกัดกันจะลดลงไปเอง ว่ากันถึงสภาพแวดล้อมต่อ ตู้เสือตอปูหินดีหรือไม่ปูหินดี และหากปูหินควรใช้หินแบบไหนสีอะไร ? ในผู้เลี้ยงมือใหม่ เลี้ยงแน่นตู้เล็ก และยังไม่มีวินัยการเปลี่ยนน้ำพอ แนะนำว่าไม่ควรปูหินครับ เพราะขี้ปลาจะลงไปสะสมทำให้หมักหมมได้ นอกจากนี้ก็ยังมีกรณีที่ปลากินเหยื่อและฮุบเอาหินเข้าไปติดคอหรือลงไปอยู่ในท้องจนตาย นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงที่ตู้ปลาจะแตกจากหินที่นำลงไปปูด้วยครับ
เพราะฉะนั้นมือใหม่ไม่ปูหินนะครับ แค่ขอนไม้ผูกต้นอนูเบียสก็งามตาแล้ว

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 32
   เอาละ ถ้าท่านมีประสบการณ์ มีเวลาเปลี่ยนถ่ายน้ำ มั่นใจว่าดูแลเรื่องความสะอาดได้ และยอมรับความเสี่ยงที่กล่าวมา หินแม่น้ำก้อนใหญ่มนๆสีเหลืองอ่อนปนน้ำตาล จะทำให้ปลาเสือตอขับสีได้ดีมากๆ ปลารู้สึกปลอดภัย และตู้ท่านก็สวยงามขึ้นอีกมากทีเดียวครับ หากปูหินสีที่ว่าแล้วตู้ติดสติกเกอร์ขาวหรืออย่างน้อยเป็นตู้ใส จะสวยมากๆครับ

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 33
   สำหรับหลอดไฟ…สำหรับตู้เสือตอ จะเป็นสีอะไรก็ได้แล้วแต่ชอบครับ แต่ที่นิยมก็มี ฟิลลิปอควาเลีย หรืออควาสตาร์ซึ่งจะให้แสงสีขาว หลอดเดล์ไลฟ์หรือที่เรียกว่าหลอดบ้านธรรมดานี่เหละซึ่งจะให้แสงสีขาวอมเหลืองอมเขียว ส่วนที่ส่วนตัวไม่ค่อนปลื้มนักคงเป็นหลอดไฟตู้ปลาทั่วไปที่สีออกโทนชมพูอมม่วง และหลอด 12000 Kที่ให้แสงออกขาวอมฟ้า ครับ

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 34
    การเคลื่อนย้ายปลาเสือตอ
สามารถทำได้หลายวิธี ทั้งอัดอ๊อกใส่ถุงหรือใส่ถังลังโฟมลังพลาสสติก
ซึ่งจะใช้วิธีไหนก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับปลาที่สุด
การเคลื่อนย้ายโดยใช้ลังพลาสสติกหรือลังโฟม
เหมาะสำหรับการเคลื่อนย้ายในระยะทางใกล้ๆ กินเวลาไม่นานเกิน 1 ชั่วโมง โดยใช้อ๊อกถ่านและหัวทราย โดยเจอะรูที่ฝาของภาชนะแล้วสอดสายออกซิเจนเข้าไป ปิดฝาให้สนิท ข้อควรระวังคือฝาต้องปิดให้สนิท เพราะปลาอาจดิ้นจนออกมาได้ หากฝาไม่มีที่ตัวล็อคต้องไม่ลืมหาสิ่งของที่มีน้ำหนักมาทับไว้

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 35
    การเคลื่อนย้ายโดยอัดอ๊อกใส่ถุง เหมาะกับการเคลื่อนย้ายในระยะทางไกลๆ ถุงที่มีออกซิเจนบริสุทธิ์ ปลาสามารถอยู่ได้อย่างปลอดภัยได้นานหลายชั่วโมง

ขั้นตอน

1.ซ้อนถุงสองชั้น(ถุงเหนียว)โดยขั้นกลางด้วยกระดาษหนังสือ
พิมพ์หลายๆแผ่น
และใส่น้ำลงไปเล็กน้อยเพื่อความสะดวกในการซ้อนชั้นต่อไป

2.ซ้อนอีกชั้นด้วยถุงปุ๋ย (เพิ่มความทนทาน)

3.ซ้อนชั้นสุดท้ายด้วยถุงดำ(ความมืดทำให้ปลาสงบลง) แล้วจึงใส่น้ำที่มาจากตู้ที่เลี้ยงลงไป อัดออกซิเจนลงไปในน้ำซัก 20 วินาทีเป็นการตีน้ำเพื่อเพิ่มอ็อกซิเจนให้น้ำในถุง และจึงรวบถุงอัดอ็อกมัดยาง เพื่อให้มัดได้สะดวกและแน่นควรแบ่งเป็นมัดสองชั้นชั้นละสองใบ
รวมถุงทั้งหมดสี่ชั้นด้วยกัน และใส่ลงในลังโฟมโดยลักษณะวางตั้ง ซึ่งจะเสี่ยงต่อการรั่วมากกว่าวางนอน แล้วจึงปิดฝาได้เลย(ในกรณีเคลื่อนย้ายโดยขนส่ง)

ข้อแนะนำ
-การตักปลาขึ้นจากตู้ให้ยกส่วนหัวขึ้นก่อน ตรงกันข้ามการปล่อยปลาลงตู้ให้ปล่อยส่วนหางลงก่อนทั้งนี้เพื่อกันปลาดิ้นน้ำกระจายเปียก

-ควรเอามือประคองน้ำหนักตัวปลาทุกครั้งที่ตักปลาขึ้นเหนือน้ำเพื่อเป็นการลดน้ำหนักกดทับบริเวณดวงตาปลาอันจะทำให้ปลาตาฝ้าหลังการย้าย และการใส่ปลาลงถุง ควรใช้มือจับทางด้านหัวปลาให้หัวปลาลงถุงก่อน เพราะการเอาด้านหางลงก่อนอาจจะทำให้กระโดงหลังที่แข็งตำถุงจนรั่วก่อนเดินทาง และควรประคองหัวปลาจนถึงน้ำก่อน จึงปล่อยเพื่อกันไม่ให้หัวปลากระแทกพื้นแข็ง

-การเคลื่อนย้ายปลาไม่ควรทำในขณะที่ปลากินอิ่มมากๆ ควรอดอาหารก่อนหนึ่ง วันเป็นอย่างน้อย

-ไม่ควรวางถุงไว้ในจุดที่มีอากาศร้อนเช่นใต้รถทัวร์ หากจำเป็นน้ำแข็งจำนวนที่เหมาะสมห่อหนังสือพิมพ์ และใส่ถุงมัดยาง หย่อนลงในลังโฟม(ไม่ใช่ในถุงปลานะครับ)จะช่วยลงอุณหภูมิได้

-เดินทางในเวลากลางคืนเพื่อเลี่ยงรถติด และอากาศไม่ร้อน แต่ต้องระวังด่านตรวจนะครับ เพราะตามกฎหมายถือว่ามีความผิด ถึงแม้ว่าเสือตอตัวนั้นจะมีใบครอบครองก็ตาม เพราะคุณไม่มีใบเคลื่อนย้าย เจอตำรวจที่รู้ดีเข้าก็เสร็จครับ

-อันนี้สำคัญมากๆ หากเคลื่อนย้ายด้วยรถส่วนตัว ต้องเตรียมถุงสำรอง หนังยาง อ๊อกถังหรืออย่างน้อยอ๊อกถ่านไปด้วยครับ หากถุงรั่วไม่มากให้ซ้อนถุงได้เลย ถุงใหม่จะไปช่วยชะลอจุดที่รั่วได้ หรือจะทำการเปลี่ยนถุงอัดอ๊อกใหม่ก็แล้วแต่ หากรั่วมากจนถุงแฟบ น้ำไหลออกมากๆ และไม่มีอ๊อกถัง ให้ถ่ายปลาใส่ลังโฟม และใช้อ๊อกถ่านที่เตรียมมาครับ อ๊อกซิเจนบริสุทธิจากถัง กับอากาศจากปั้มลมถ่านต่างกันมาก หากนำออกซิเจนถังไปด้วยจะปลอดภัยกว่ามากครับ

-หากเดินทางด้วยรถส่วนตัวเปิดแอร์เย็นเฉียบ เมื่อถึงที่หมายแล้ว ให้ระวังเรื่องการลงปลาด้วยครับ โดยในถุงมักมีอุณหภูมิต่ำกว่าในตู้หลายองศา ควรทำการปรับอุณหภูมิก่อนปล่อยปลาลงตู้

-การเดินทางด้วยเครื่องบินไม่ควรอัดออกซิเจนจนแน่นเกินไป เพราะอากาศจะขยายตัวจนถุงระเบิดออกได้ เพียงแค่หลวมๆหย่อนๆก็เพียงพอแล้ว

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 36
    ระบบรักษา ความปลอดภัยในตู้ปลาเสือตอ

น่าแปลกที่เสือตอส่วนใหญ่มิได้ตายจากการเจ็บป่วย แต่ตายจากสาเหตุไฟฟ้าดับ ออกซิเจนไม่ทำงาน ซะมากกว่า เสือตอเป็นปลาที่ต้องการออกซิเจนในน้ำสูง เมื่อปั้มออกซิเจนไม่ทำงานเพียงไม่กี่ชั่วโมงปลาจะเริ่มหอบ ลอยหัวและตายในที่สุด ยิ่งในปลาที่อ้วนๆกินดีๆตัวสวยๆมักจะไปก่อนเพื่อน เพราะหายใจลำบาก และในตู้ที่มีขนาดเล็กเมื่อปั้มอ็อกซิเจนดับ ปลาจะขาดอากาศอย่างรวดเร็วกว่าตู้ทีมีขนาดใหญ่

ปั้มสำรองไฟ
ปั้มสำรองไฟจะทำงานอัตโนมัตเมื่อไฟฟ้าดับ ปั้มจะจ่ายออกซิเจนสู่ตู้ปลาทันที โดยมีระยะเวลาอยู่ที่ประมาณ 5-9 ชั่วโมง ขนาดความแรง 2-4หัวทราย ราคาอยู่ที่ประมาณ 1000-1500 บาท เมื่อเทียบกับ ปลาเสือตอราคาหลายพัน หรือหลายหมื่นถือว่าคุ้มค่ามากครับ

ปั้มถ่าน
แบบใส่ถ่านไฟฉาย ขนาดความแรง 1หัวทราย มีราคาประมาณ 200-300บาท ถึงราคาจะถูกแต่ข้อเสียคือ ทำงานแบบอัตโนมือ เจ้าของต้องเอาออกมาใช้เองมือไฟดับ ซึ่งบางครั้งไฟดับในช่วงที่เจ้าของไม่อยู่บ้านซึ่งอาจทำให้แก้ไขได้ไม่ทันการ

การเดินไฟ
การเดินระบบไฟฟ้า ก็สำคัญต่อความปลอดภัย กล่าวคือในช่วงเวลาปกติควรจะแยกเต้าเสียบของปั้มน้ำและปั้มออกซิเจนออกจากกัน หากมีความเสียหายเช่นเกิดการช็อตหรือฟิวของเต้าเสียบตัวใดตัวหนึ่งขาดไป อีกตัวจะช่วยเติมออกซิเจนให้กับตู้ปลาของเราได้ หากไว้รวมกัน เวลาดับก็จะดับทั้งหมดซึ่งอันตรายมาก

ฮีตเตอร์
ในช่วงหน้าหนาวสำหรับตู้ปลาที่มีขนาดเล็ก และตั้งอยู่ในบริเวณที่โดนลมควรจะมีฮีตเตอร์เพื่อเพิ่มอุณหภูมิให้ไม่ต่ำกว่า 29 องศาเพื่อป้องการโรคต่างๆ ฮีตเตอร์ควรทำจากแท่งสแตนเลส เพื่อป้องกันการแตกระหว่างใช้

เทอร์โมมิเตอร์
หากมีฮีตเตอร์ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีเทอร์โมมิเตอร์ หรือที่วัดอุณหภูมิเพื่อตรวจสอบการทำงานของฮีตเตอร์ เพราะบางครั้งฮีตเตอร์เสียไม่ตัดไฟ น้ำในตู้จะมีอุณหภูมิสูงมาก หากไม่มีเทอร์โมมิเตอร์ไว้คอยตรวจสอบ ก็อาจจะสายเกินไป
โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 37
   สวัสดีครับตี๋ ^_^

โรคต่างๆที่มักพบในปลาเสือตอ
หลายๆคนพูดว่าเสือตอนั้นหามาครอบครองนั้นแสนจะยาก แต่เวลาจะตายนั้นง่ายดายซะจริงๆ บางตัววันนี้ยังกินอาหารอยู่ดีๆเช้ารุ่งขึ้นทำเป็นโรแมนติก นอนดูดาวซะแล้ว ปลาที่ตายนั้นล้วนมีสาเหตุเสมอ อยู่ที่ว่าเราจะสังเกตพบรึไม่ นึกตรองดูว่าก่อนหน้านี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง ทำอะไรก่อนหน้านี้บ้าง ก็อาจจะรู้ว่าทำไมปลาถึงตาย บางตัวป่วยแบบแสดงอาการออกมา เจ้าของก็ยังมีหวังได้รักษา ก็โชคดีไป
เพราะฉะนั้นการเลี้ยงดูจึงต้องอาศัยความเข้าใจในธรรมชาติของเค้า และความรู้ในการรักษาโรคบ้าง โรคต่างที่พบในปลาเสือตอนั้น มีหลายชนิด บางชนิดอันตรายถึงชีวิตในเวลาไม่นาน บางชนิดไม่รุนแรง ผู้เลี้ยงจึงควรมีความเข้าใจ และไม่ควรตื่นตูมจนเกินกว่าเหตุ เพราะการรักษาโดยขาดความเข้าใจ อาจจะเป็นการซ้ำเติมปลา ทำให้ปลาตายได้พอๆกับโรคร้ายเลยทีเดียว

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 38
    ตู้พยาบาลปลา

-ผู้เลี้ยงปลาเสือตอ ควรมีตู้ปลาเตรียมไว้เป็นตู้พยาบาลปลาป่วย ขนาดที่เหมาะสม ขนาดที่เหมาะสมหมายถึง เหมาะสมกับขนาดของปลา ไม่เล็กจนเกินไปจนทำให้ปลาเครียด หรือใหญ่จนเกินไป จนทำให้สิ้นเปลืองปริมาณยาที่ใช้ในการรักษา สำหรับเสือตอขนาด 12 นิ้วขึ้นไปแนะนำตู้ขนาด48 20 20 นิ้ว น้ำครึ่งตู้ และน้ำเต็มตู้สำหรับปลาที่ใหญ่กว่านี้

-มีหัวทรายสำรองให้อากาศ แรงๆ เพราะในระหว่างใส่ยาอ๊อกซิเจนจะลดระดับลง

-อุณหภูมิ ค่า ph ที่ไม่ต่างจากตู้ที่เลี้ยงปลาอยู่มากนัก

-ตั้งอยู่ในที่ไม่พลุกพล่าน สงบเงียบ

-อุณหภูมิ ไม่แกว่ง

-ไม่จำเป็นต้องให้อาหารระหว่างรักษา เพราะในช่วงที่ปลาเสือตออ่อนแอ อาจโดนเหยื่อรุมกินโต๊ะได้

การเตรียมอุปกรณ์ต่างๆและแผนสำรองเมื่อปลาเจ็บป่วย ที่กล่าวมาถือว่าจำเป็นอย่างมาก เมื่อปลาเกิดเจ็บป่วยขึ้นมาหลายคนมักจะทำอะไรไม่ถูก ตื่นเต้นเนื่องจากความไม่พร้อม เช่นเอาปลาลงรักษาในลังเล็กๆ น้ำใหม่ๆ ซึ่งทำให้เกิดความเครียด หรือการช็อคน้ำได้

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 39
   เยี่ยมครับ อัดแน่นไปด้วยเนื้อหา
โดย: สามบั้ง [18 ต.ค. 52] ( IP A:112.142.208.116 X: )
ความคิดเห็นที่ 40
   ขอบคุณความรู้ดีๆครับ แต่ตอนนี้อยากหามาเลี้ยงไม่รู้จะไปหาที่ไหนแล้วอ่ะครับ....
โดย: ตากลม [18 ต.ค. 52] ( IP A:111.84.118.245 X: )
ความคิดเห็นที่ 41
   ตารางเปรียบเทียมการใช้ยาแก้อักเสพเอม๊อกซี่(500มก.)ในตู้ขนาดต่างๆที่ปริมาณ 25 มิลลิกรัมต่อน้ำหนึ่งลิตร
นิ้ว ลิตร เม็ด
ตู้ขนาด 24 * 18 * 18นิ้ว 124L 6
30 * 18 * 18นิ้ว 155L 7
36 * 18 * 18นิ้ว 186L 9
48 * 20 * 20นิ้ว 307L 15
60 * 20 * 20นิ้ว 384L 19
-หากใส่น้ำเพียงครึ่งตู้ก็ให้ลดปริมาณยาเหลือเพียงครึ่งเดียว

-ควรใช้ยาติดต่อกันจะครบ 7 วันแม้อาการจะหายดีแล้วเพื่อป้อง
กันการดื้อยา

-ไม่ควรใช้เกลือรักษาร่วมกับยาแก้อักเสพ

-ควรทำการละลายผงยาแก้อักเสพในถ้วยก่อน แล้วจึงเทใสตู้รักษา

-ตัวยาจะเสื่อมภายใน 1-2 วันจึงต้องใส่ยาใหม่ในปริมาณเท่าเดิม
วันเว้นวัน

-การเปลี่ยนน้ำทุกครั้งก่อนใส่ยาซัก 30 % มีผลดีในการรักษาดีขึ้น
โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 42
   สวัสดีครับป๋า ^_^ ขอบคุณครับ
คุณตากลม สอดส่องในเวปดีๆครับ มีมาเรื่อยๆ ^_^

ตาขุ่น ตาฝ้า 2-3
เสือตอตาขุ่นนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ นับเป็นความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นได้บ่อยมาก แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่มีอันตรายถึงชีวิต

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 43
    ขุ่นเพราะเกิดจากการย้ายปลา
ในการย้ายปลาโดยใช้กระชอนตักปลาขึ้นจากน้ำ ทำให้กระชอนตักปลาเกิดการเสียดสีกับบริเวณที่เป็นแก้วตาของปลาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้เกิดความเสียหายกับดวงตาปลาและปลาจะสร้างเมือกขาวมาห่อหุ้มไว้จนเห็นเป็นฝ้าขุ่น อาการนี้จะดีขึ้นและหายไปเองในเวลาไม่นานหากรักษาคุณภาพน้ำได้เป็นอย่างดี ทำให้ไม่ให้เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนได้ อีกกรณีหนึ่ง คือเมื่อทำการย้ายปลาจากที่หนึ่งไปสู่ที่หนึ่งซึ่งน้ำอาจจะมีอุณหภูมิต่างกัน ค่า PH ต่างกัน ปลาจะทำการขับเมือกทั้งตัวรวมถึงเมือกบริเวณแก้วตาด้วย จึงสังเกตเห็นดวงตามีลักษณะขาวขุ่น ในกรณีนี้ หากไม่มีการติดเชื้อ ในเวลาไม่นานเพียง2-3วัน ก็จะหายไปเอง

ขุ่นเพราะเกิดจากการการที่น้ำในตู้หมักหมมไม่สะอาด
ปลาเสือตอเป็นปลาที่กินมาก เมื่อกินมาก ขี้ก็ต้องมากตามไปด้วย น้ำในตู้ที่ใช้เลี้ยงปลาเสือตอนั้นจึงเสียได้เร็วมากๆ ควรจะมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำที่สม่ำเสมอเป็นระเบียบ จะช่วยหลีกเลี่ยงตาขุ่นได้ และในปลาที่ตาขุ่นเนื่องจากน้ำไม่สะอาดนั้น หากขุ่นในระยะเริ่มแรก การเปลี่ยนถ่ายน้ำติดต่อกัน ในช่วง2-3วัน วันละ20%
ตาขุ่นก็สามารถหายเป็นปกติได้ แต่หากเป็นมากขึ้นก็ควรใช้ยาแก้อักเสพร่วมในการรักษาด้วยการแช่ยาแก้อักเสพ เอมม๊อกซี่หรือ อ๊อกซี่เตร็ดต้าไซคลิน 25มกต่อน้ำหนึ่งลิตร เปลี่ยนน้ำ30%และใส่ยาใหม่100%วันเว้นวัน สามรอบ

ขุ่นเพราะเกิดจากการแพ้สารเคมีรุนแรง
ปลาเสือตอนั้นเป็นปลาที่มีอาการแพ้ต่อสารเคมีหลายชนิด ตัวอย่าง เช่นครอลีน มาลาไคร์กรีน และยาฆ่าปรสิตหลายชนิด จึงไม่ควรจะใส่ยาอะไรซี้ซั้ว เมื่อมีอาการแพ้เสือตอจะแสดงอาการตาขุ่นหรือบางครั้งมีอาการบวมร่วมด้วยอย่าน่ากลัว จากขุ่นอาจกลายเป็นสีขาวทึบ วิธีรักษาคือแยกปลามาไว้ในตู้พยาบาลที่ไม่มีสารเคมี และใช้ยาแก้อักเสพเหมือนกับการรักษาการติดเชื้อ ในกรณีที่ไม่มีตู้พยาบาล วิธีรักษาคือพยามถ่ายน้ำที่มีสารเคมีออกให้มากที่สุด แต่ไม่เกิน 40% โดยที่น้ำใหม่ต้องมีอุณหภูมิไม่ต่างจากน้ำเดิมในตู้มากนัก ติดต่อกันทุกวัน และใช้ยาแก้อักเสพในปริมาณและวิธีเดียวกับการรักษาในข้อด้านบน

ขุ่นเพราะเกิดจากบาดแผลกัดกัน หรือกระทบของแข็ง แล้วเกิดการติดเชื้อตามมา
การกัดกันของปลาเสือตอ หรือการโดนของแหลมมีคม จนเป็นแผลอักเสพ ตาขาวขุ่นและบวมนั้น เพื่อป้องกันการติดเชื้อควรรักษาด้วยการแช่ยาแก้อักเสพ เอมม๊อกซี่หรือ อ๊อกซี่เตร็ดต้าไซคลิน 25มกต่อน้ำหนึ่งลิตร เปลี่ยนน้ำ30%และใส่ยาใหม่100%
วันเว้นวัน สามรอบ หรือ จะใช้ยาขี้ผึ้งป้ายตาแก้อักเสพ ครอแรมครีม ทาวันละ 1 ครั้งร่วมด้วยก็จะช่วยได้มากยิ่งขึ้นครับ อย่าลืมว่าไม่ว่าอย่างไรการรักษาน้ำให้สะอาดทั้งเวลาปรกติ และเวลาที่ปลาป่วยอยู่สำคัญมากนะครับ

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 44
    อาการตาโปน 4

ตาโปนจากสาเหตุจากการติดเชื้อแทรกซ้อน
รักษาด้วยยาแก้อักเสพเอมม๊อกซี่ หรืออ๊อกซี่เต็ดต้าไซคลิน 30 มิลลิกรัมต่อน้ำหนึ่งลิตร เปลี่ยนถ่ายน้ำวันเว้นวันในปริมาณ 30% และใส่ยาปริมาณเท่าเดิม เมื่อจำกัดการติดเชื้อได้ตาจะค่อยๆยุบลง

ตาโปนจากการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยเมื่อนานมาแล้ว
เป็นไปได้ว่าปลาเคยบาดเจ็บที่ดวงตาเมื่อนานมาแล้ว หลังจากหายดี ดวงตายังใหญ่กว่าปกติ การที่จะให้หายเป็นปกตินั้นเป็นไปไม่ได้

ตาโปนจากความแคะแกร็น
ไม่สามารถรักษาได้แต่ถ้าสามารถอัดอาหารให้ปลากินดีและเจริญเติบโตขึ้นมาได้ ดวงตาก็จะแลดูเล็กลงสมส่วนกับขนาดตัวที่ใหญ่ขึ้น

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 45
    หนอนสมอ

หนอนสมอเป็นโรคที่น่ากลัวสำหรับปลาเล็ก แต่กับเสือตอนั้น ไม่น่าเป็นห่วงซักเท่าไหร่ ป้องกันได้ด้วยการเปลี่ยนถ่ายน้ำให้สม่ำเสมอ และรักษาด้วยการจับปลาขึ้นมาถอนออกด้วยแหนบถอนขน ข้อแนะนำคือ ไม่ว่าจะมีหนอนกี่ตัว ควรจำจุดที่หนอนเกาะให้ดี จะจดไว้ก็ได้ เพื่อความรวดเร็วในการถอน และระวังตัวหนอนจะขาดก่อนถูกถอนออกมาทั้งหมดเพราะจะทำให้แผลหายช้าและอาจติดเชื้อได้ ไม่ควรเอาด่างทับทิมทาโดยตรงที่ตัวปลาเพราะจะทำให้เกิดอาการแพ้หรือบาดเจ็บที่ผิวหนังของปลาเสือตอ หากหนอนสมอมีจำนวนมากจนถอนไม่หมด ให้ใช้ยาโอเชี่ยนฟรี ของเฉียนหวู่ ตามโดสที่เขียนไว้ข้างขวด จากการทดลองใช้ ปลาไม่มีอาการแพ้ยาแต่อย่างใด สำหรับวิธีใช้ยาตัวนี้ ให้ผสมตัวยาทั้งสองขาวที่ให้มาเข้าด้วยกัน ใสยาตามปริมาณข้างขวดแช่ไว้ 4 วัน ทำซ้ำอีก 2 รอบ รวมระยะเวลารักษา 12 วันโดยทุกครั้งที่ใส่ยาควรเปลี่ยนถ่ายน้ำ 30% ด้วย

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 46
    จุดขาว

เป็นปรสิตชนิดหนึ่ง มักจะพบในช่วงที่อากาศเย็นเช่นหน้าหนาว หรือหน้าฝน สังเกตได้ชัดเจนเมื่อปลามีจุดขาวๆเล็กๆคล้ายฝุ่นแป้งเกาะตามตัว ในบางครั้งแม้จะยังไม่เห็นจุดขาว แต่ปลาจะแสดงอาการคันตามตัว ว่ายน้ำกระตุกๆ ไถตัวถูตัวตามก้นตู้หรือสิ่งของในตู้ถี่ๆ หรืออาจมีอาการหอบร่วมด้วย

วิธีรักษา ให้เปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวัน วันละ 15 %เปลี่ยนใยแก้ว และติดตั้งฮีตเตอร์ไว้ที่อุณหภูมิ 30องศาเพื่อเร่งให้วงจรชีวิตของเจ้าโรคร้าย
(โตและตายไป) ในขณะที่การเปลี่ยนถ่ายน้ำก็ช่วยเอาไข่และตัวอ่อนออกจากตู้ปลาเราให้มากที่สุด ในเวลา1 อาทิตย์ เจ้าจุดขาวก็จะหายไปเองครับ

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 47
   สิว ฝี หนอง
เกิดจากน้ำในตู้ที่ไม่สะอาด และขาดการดูแลเป็นเวลานาน
ปลาจะสะสม อมโรคไว้และ และแสดงออกมาโรคเป็นสิวบ้าง
ฝีและหนองบ้าง ควรรักษาด้วยการจับปลาขึ้นมาบ่งหัวสิว-หนองออกและทาด้วยขี้ผึ้งแก้อักเสพที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป หากเป็นมากๆหรือเป็นๆหายๆบ่อยๆ ควรผสมยาแก้อักเสพไม่ว่าจะเป็นเอม๊อกซี่ หรืออ๊อกซี่เต็ดตร้าไซคลินก็ได้ กับเหยื่อที่ให้ วันละ2ครั้งในอัตราส่วน 10 มก ต่อน้ำหนักตัวปลา 1 กิโลกรัม เป็นเวลา 7 วัน
ควรให้ครบ7วันเพื่อป้องกันการดื้อยานะครับ

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 48
   ฝีหนองแบบรุนแรง เชือนเนื้อที่ปูดออก แล้วทาด้วยยาแก้อักเสพ
ก่อนนำปลาไปแช่ยา หรือป้อนยาตามวิธีทีดังกล่าว

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 1:01] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 49
   เชื้อไวรัสฆ่ายากกว่าเชื้อแบคทีเรียมาก เราใช้วิธีตัดออกแล้วทายาป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 1:05] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 50
    อาการไถตัว

เกิดจากการไม่สบายตัว หรือการคันตามลำตัว อาจจะเกิดจากการที่ย้ายที่อยู่ใหม่ น้ำใหม่ อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง หรือเป็นภาวะแรกเริ่มของอาการจุดขาว หรืออาจจะเพียงแค่คันเฉยๆก็ได้ ครับ
หากปลาไถตัวไม่ถี่นัก ก็ไม้ต้องเป็นกังวลนะครับ คนเรายังคันกันทั้งวันเลย ปลามันก็คันเป็นเหมือนกันครับ ติดตรงที่มันไม่มีมือคอยเกาอย่างเราจึงต้องไถตัวอย่างที่เห็นครับ
หากปลาไถจนลำตัวมีลอยถลอกมากๆ ใช้การเปลี่ยนถ่ายน้ำและรักษาด้วยยาเหลืองญี่ปุ่นครับ

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 1:08] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 51
    หอบ

อาการหอบเกิดได้จากหลายสาเหตุ เป็นตัวบอกที่ดีว่าปลาที่รักไม่ปกติซะแล้ว คงต้องมีอะไรผิดปกติซักอย่าง อาจจะป่วย หรือน้ำมีออกซิเจนน้อย หรืออุณหภูมิสูงเกินไป เบื้องต้นแก้ไขโดยการให้อากาศแรงๆและหาต้นเหตุที่แท้จริง ว่าเกิดอะไรขึ้น โดยทบทวนถึงเวลาก่อนหน้านี้เกิดอะไรขึ้นอาจจะพบสาเหตุครับ และแก้ไขก่อนจะสาย

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 1:10] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 52
    ริดสีดวง

มีลักษณะ บวมและแดงที่รูทวาร ควรงดอาหารเปลี่ยนถ่ายน้ำดูอาการก่อนซัก 5 วันบางตัวก็จะยุบหายไปเอง หรือถ้าไม่หาย ก็ต้องใช้ยาแก้อักเสพ ให้แช่ปลาด้วยอ๊อกซี่เต็ดต้าไซคลิน 25 มิลลิกรัม หรือ อิริโทมัยซิน 25 มิลลิกรัมต่อน้ำหนึ่งลิตร เปลี่ยนน้ำ 30%และใส่ยาใหม่100%ทุกสองวันจนครบกำหนดอย่างน้อย 7 วันครับ
งดอาหารช่วงที่ใส่ยาด้วยครับ
โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 1:11] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 53
    เชื้อรา

เชื้อราเป็นอีกโรคหนึ่งที่เกิดขึ้นบ่อยๆกับปลาเสือตอ มักจะเกิดขึ้นเวลาที่ปลาอ่อนแอเจ็บป่วย ปลาเกิดบาดแผลจากการกัดกันหรือย้าย
ที่อยู่ แม้กระทั้งเวลาปลาเสียเมือก เพราะในความเป็นจริงเมือกปลา
มีสารป้องกันเชื้อราที่มีประสิทธิภาพอยู่ ลักษณะของเชื้อราเป็นปุยขาวๆฟูๆเหมือนสำลี การป้องกันที่ดีที่สุดคืออย่าปล่อยให้ตู้ปลาหมักหมม ดูแลเปลี่ยนถ่ายน้ำให้สม่ำเสมอ ปลาเราก็จะแข็งแรงและ
ต่อต้านเชื้อโรคได้ดี ส่วนการรักษาที่ดีที่สุดตอนนี้ ควรใช้ยา ROF
แช่ตามโดส หรือจับขึ้นมาเช็ดเชื้อราที่ตัวปลาออกอย่างเบามือ ด้วยสำลีชุบยาก็สามารถทำได้เช่นกัน
ห้ามใช้มาลาไคท์กรีนในการรักษาเชื้อราในปลาเสือตอเด็ดขาด
โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 1:12] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 54
    ปากหุบไม่สนิท

อาจเกิดขึ้นได้จาก 2 สาเหตุหลักๆ คือการที่ปลาบาดเจ็บภายในช่องปากเนื่องจากกินเหยื่อที่มีคม และเกิดการติดเชื้อตามมา ซึ่งรักษาได้ด้วยการแช่ยาอักเสพเช่นเดิมคือ25มก/น้ำหนึ่งลิตรเปลี่ยนน้ำ30%เปลี่ยนยา100%วันเว้นวัน
อีกสาเหตุหนึ่ง ปลามีอาการบาดเจ็บภายใน หรือที่เหงือกจึงทำให้หายใจได้อย่างยากลำบาก อาจเป็นเชื้อราที่เหงือก จุดขาวเล่นงานที่เหงือก ปรสิตต่างๆ ตรงนี้แนะนำยา rof อีกเช่นกัน เพราะครอบคลุมการรักษาโรคได้หลายชนิด เช่นเชื้อรา และจุดขาวเป็นต้น โดยการรักษานั้นควรมีการเปลี่ยนน้ำและคุมอุณหภูมิให้นิ่ง

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 1:14] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 56
    ท้องผูกท้องบวม

เกิดการอักเสพติดเชื้อในช่องท้อง ควรใช้ยาแก้อักเสพ อิริโทมัยซิน 25 มก ต่อน้ำหนึ่งลิตร แช่ปลาโดยเปลี่ยนน้ำ30%และใส่ยาใหม่วันเว้นวัน และใส่ดีเกลือฝรั่ง 1 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตรร่วมในการรักษา หากปลาเสียการทรงตัว พยามบังคับปลาให้ทรงตัวอยู่ในลักษณะปกติด้วย โดยอาจจะใช้โหลปลากัดที่มีลักษณะสี่เหลี่ยมวางเรียงเพื่อล๊อกตัวปลาเสือตอก็ได้

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 1:16] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 57
    หางแตกโดยการกัดกัน

เป็นเรื่องปกติของปลาเสือตอครับ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่หาง ยิ่งรวมกันหลายตัวการกัดกันบ้างเป็นสิ่งที่เลี่ยงได้ยากมาก โดยส่วนใหญ่แล้วปลาสามารถรักษาตัวเองและเชื่อมแผลต่างๆได้เอง แต่ในบางกรณี
ที่แผลมีความกว้างและลึกมากๆและเกิดขึ้นซ้ำๆ แผลก็อาจจะไม่หายกลับมาเป็นปรกติเช่นเดิม อันนี้ต้องทำการตัดตกแต่งแผล
เพื่อเปิดปากแผลที่ปิดไปแล้ว ข้อแนะนำคือ ในน้ำที่สะอาดแผลฉีกขาดจะเชื่อมได้ รวดเร็วขึ้น และหากปลากัดกันมากๆซ้ำๆ ก็ควรจะ
แยกเลี้ยงครับ เพราะถึงหางจะเชื่อมกันได้เอง แต่หากขาดบ่อยๆเข้า หางจะเสียรูปทรง และใหญ่ขึ้นใหญ่ขึ้นจนแลดูไม่สวยงาม

รูป 1 ลักษณะแผลฉีกขาดที่กำลังจะสมานด้วยตัวของมันเอง
สังเกตว่าจะมีเยื่อ ขาวๆบางๆขึ้นระหว่างแผล

รูป 2 ลักษณะแผลฉีกขาดที่ปากแผลปิดไปแล้วไม่สามารถ
กลับเป็นเหมือนเดิมได้ ต้องทำการตัดแต่งใหม่

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 1:19] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 58
    การพุ่งชนตู้ หรือถูกชนโดยเสือตอตัวอื่น
เป็นอันตรายมืดสำหรับเสือตออีกอย่างหนึ่ง ปลาบางตัวที่ตายโดย
ไม่ทราบส่าเหตุ ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการโดนปลาตัวอื่นชน
หรือชนตู้ตาย การบาดเจ็บจะเกิดขึ้นภายในตัวปลาไม่ว่าจะเส้นประสาทเสียหาย หรืออวัยวะภายในฉีกขาด ซึ่งผู้เลี้ยงไม่สามารถรู้ได้เลย
แต่บางตัวไม่ตายทันที ในบางครั้งเราจะเห็นปลาว่ายแบบ เสียการทรงตัว อาจหอบลอยผิวน้ำ ก็ควรจับแยกมาพยาบาลด้วยยาแก้อักเสพ กระแสน้ำไม่แรงและลึกนัก
ทางแก้คือคอยสังเกตปลาในตู้ว่ามีการกัดกันรุงแรงรึป่าว และแยกออกเมื่อเห็นท่าไม่ดี และไม่ควรทำอะไรให้ปลาตกใจจนพุ่งชนตู้

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 1:21] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 59
    ปลาจุกไข่

ในปลาเสือตอตัวเมียเมื่อถึงช่วงหนึ่งของปี ไข่ในท้องจะขยายใหญ่ขึ้นจนเบียดเข้ากับอวัยวะภายในทำให้ปลามีอาการจุกหอบ และอาจตายได้ ข้อแนะนำคือในช่วงที่ปลาท้องใหญ่มากๆนั้นควรจัดกระแสน้ำในตู้ให้เบาลง และที่สำคัญคือต้องลดปริมาณอาหารที่ให้ลงซักครึ่งหนึ่ง เมื่อปลาเริ่มอดโดยธรรมชาติปลาจะใช้พลังจากสำรองที่มีอยู่ในตัว ก็คือไข่นั่นเอง ไข่จะค่อยๆยุบลงๆ และเมื่ออยู่ในลักษณะที่มองว่าปลอดภัย ก็สามารถให้ปลากินตามปกติได้

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 1:23] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 60
    โรคหัวเป็นรู

เกิดจากสาเหตุเดิมๆครับ คือสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี หมักหมมเป็นที่อยู่อย่างดีให้เชื้อโรคชนิดนี้ และเมื่อปลาอ่อนแอมันก็เข้าเล่นงานทันที ที่น่ากลัวคือมันสามารถติดต่อจากปลาตัวหนึ่งไปสู่อีกตัวได้ด้วย ลักษณะอาการภาย นอกจะสังเกตเห็นรูเล็กๆตรงเหนือปากใกล้กับ
รูจมูก และจะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ หรือบริเวณที่เป็นรูจมูกของปลาเสือตอที่ปกติจะมีข้างละสองรู แต่ในปลาที่เป็นโรคนี้รู้ทั้งสองมักจะรวมกันเป็นรูใหญ่รูเดียว และขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงนี้ปลาอาจไม่ค่อยกินอาหาร ถอดสีจนซีด ควรตรวจดูว่ามีรูเล็กบริเวณดั่งกล่าวรึไม่จะได้รักษาได้ทันการ
การป้องกันที่ดีที่สุดคือรักษาคุณภาพน้ำให้ดีอยู่ตลอดครับ ส่วนการรักษาใช้ยา Metronidazole ในอัตราส่วน 100 มก ต่อน้ำหนักของปลาที่ป่วย 1 กิโล ละลายยาในน้ำ 1cc และใช้หลอดฉีดยาแบบไม่ติดเข็มฉีดเข้าปากปลาโดยตรง
วันเว้นวัน ประมาณ 10 วันเมื่อดูว่าแผลดีขึ้น เริ่มมีการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ก็หยุดให้ยาได้
ในกรณีที่ปลายังกินอาหารอยู่เราสามารถคลุกยาตัวกับอาหาร ในอัตราส่วน 10มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กรัม อีกวิธีหนึ่งที่สะดวกแต่ให้ผลช้ากว่าคือการแช่ยาในอัตราส่วน 20มิลลิกรัมต่อน้ำ1ลิตร เปลี่ยนน้ำ30%และใส่ยาใหม่ทุกสองวันจนกว่าแผลจะดีขึ้น หรือจะจับปลาขึ้นมาโรยแผลด้วยผงยาจากแค็ปซูนก็ได้ครับ ก่อนโรยควรเช็ดเมือกบริเวณแผลออกก่อนเพื่อให้ยาติดกับแผลได้ดีขึ้น โดยทำวันเว้นวันครับ
(ขอบคุณข้อมูลจากคุณ rof)

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 1:26] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 61
    อาการลอยผิวน้ำ

ลักษณะลอยเชิดหัวที่ผิวน้ำ ปลาอาจจะแค่เครียด หรือเจ็บป่วยภายใน ให้สังเกตอาการอื่นๆร่วมด้วยเช่นมาอาการหอบ หรือมีอาการท้องบวมร่วมด้วยรึไม่ ถ้ามีแนะนำให้ใส่ยาแก้อักเสพ นอฟ๊อกซาซิน 30มก ต่อน้ำหนึ่งลิตร เปลี่ยนน้ำ 30% และใส่ยาใหม่ปริมาณเท่าเดิมทุกสองวันครับ

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 1:27] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 62
    ปลิงใสดูดเลือด

เป็นปรสิตขนาดใหญ่ที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า เกาะตามตัวปลาและดูดเลือดเป็นอาหาร ที่อันตรายอย่างยิ่งคือหากมันเกาะตามเหงือกปลาแล้ว จะทำความเสียหายให้ปลาอย่างมาก ปลาจะมีอาการหอบและตายในที่สุดขอแนะนำ คือแช่ปลาด้วยน้ำเกลือเข้มข้น เป็นระยะเวลาสั้นๆ 5 นาทีและ หรือใช้ยารอฟ ในการรักษาตามโดส

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 1:28] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 63
    ตาปลา
อีกสิ่งหนึ่งที่อยากฝากให้สังเกตดูก็คือ ตาปลาครับ เค้าว่ากันว่าดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ เรื่องจริงนะครับปลาที่สมบูรณ์ แข็งแรง กับปลาที่เจ็บป่วย ตามารถมองได้จากการกลอกลูกตาไปมาเวลาว่ายน้ำครับ สังเกตดูนะครับ ปลาป่วยตาจะแข็ง ไม่กลอกลูกตาไปมาเท่าใดนัก
ต่างจากปลาที่แข็งแรงจะกลอกตาไปมา ซ้ายที ขวาที ขึ้นบน ลงล่าง และมีพฤติกรรมช่างสังเกตช่างสงสัยอยู่เป็นนิจ ครับนั่นเหละครับปลาสุดที่รักเลย และการมองตากับมันใกล้ๆ บ่อยๆจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างคนกับปลา ด้วยครับ ^_^
(ขออนุญาติพี่แก๊ปสำหรับรูปนี้ด้วยครับ)

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 1:31] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 64
    วิธีปรับสีปลาเสือตอ

ปลาเสือตอก็เหมือนกับปลาหลายชนิดที่สามารถปรับสีให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเพื่อพรางตัว หลบซ่อนและล่าเหยื่อได้ เพราะฉะนั้นการจัดสภาพแวดล้อมให้สว่างสีปลาก็สว่างตามไปด้วย หากสภาพแวดล้อมมืดๆดำๆ ปลาเสือตอก็จะปรับสีให้ดำเช่นกัน นอกจากสภาพแวดล้อมแล้ว ปัจจัยที่มีผลอย่างยิ่งต่อสีของเสือตอก็คือสภาพอารมณ์ของปลาเสือตอเอง แล้วอารมณ์ไหนบ้างละที่ส่งผลทางบวก(สีเหลืองสดใส)
และส่งผลทางลบ(ดำ-ซีด)

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 1:36] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 65
   เป็นกระทู้ที่สุดยอดจริงๆครับโม่ เป็นการรวบรวมข้อมูลต่างๆ

ที่ใช้เวลานานจริงๆ นับถือจากใจเลย ^___^
โดย: ~A~ [18 ต.ค. 52 1:40] ( IP A:124.120.97.228 X: )
ความคิดเห็นที่ 66
    อารมณ์กลัว รู้สึกไม่ปลอดภัย รู้สึกระแวง อารมณ์ดุดัน ส่งผลในทางลบ

ตรงกันข้ามรู้สึกตื่นเต้น รู้สึกปลอดภัย ช่างสงสัย หิว ถูกข่ม(บางตัว) มักจะส่งผลทางบวก

หลายท่านมักจะพบปัญหาที่ว่า เมื่อปิดไฟในตู้ปลาจะสีดี เมื่อเปิดไฟสว่างปลาจะสีแย่ลง ตรงนี้จะเห็นได้ชัดว่าอารมณ์มีนัยยะสำคัญต่อสีปลาเสือตออย่างมาก สภาพแสงส่งผลอย่างยิ่งต่อปลาเสือตอ ที่เป็นปลาหากินกลางคืน ปลาจะรู้สึกได้เปรียบผู้ล่าและเหยื่อเมื่ออยู่ในที่มืด เพราะว่ามันมีสายตาที่ดีกว่า แต่เมื่อเปิดไฟข้อไปเปรียบของมันหมดไป ปลามักจะรีบหาที่กำบังตัว และเกิดอารมณ์กลัว ซึ่งทำให้สีแย่ลง ตรงจุดนี้เราสามารถแก้ด้วยการสร้างความเคยชินเช่นเปิดไฟทิ้งไว้ให้บ่อยขึ้น หรือเวลาให้อาหาร เมื่อนานๆไปปลาจะเรียนรู้ได้เองว่าไม่มีอันตราย

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 1:41] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 67
    การไล่สีปลาเสือตอด้วยแท้งเมท

ปลาเสือตอสามารถเลี้ยงรวมกับปลาอื่นได้หลายชนิด ปลาเสือตอบางตัวถูกข่มบ้างสีจะดีขึ้น ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ความกลัวที่เกิดขึ้นนั้นมีหลายแบบและหลายระดับ ในระดับที่ไม่มากนัก และเกิดโดยปลาบางชนิดจะส่งผลในทางบวกกับปลาเสือตอ เพราะฉะนั้นเมทที่เอามาข่มจึงมีทั้งที่เหมาะสมและไม่เหมาะสม เมทที่ดีต้องไม่สามารถทำอันตรายเสือตอถึงขั้นบางเจ็บหรือตาย และต้องไม่ถูกเสือตอกินเป็นอาหารได้ ที่นิยมนำมาไล่สีก็ได้แก่นกแก้ว ตะเพียนตะพาก กระแห ปลาแรด ออสซิลาลิส เทเมนซิล อินซีเนท และอื่นๆอีกมากมาย

ดุดำ-แอบดำ
การเลือกเมทเพื่อไล่สีต้องดูนิสัยปลาเสือตอของเราเองด้วย หากเสือของเพื่อนๆดุดำให้หาเมทแบบนกแก้วใหญ่ๆมาข่ม เพราะนิสัยปลานกแก้วไม่กลัวใคร แต่ก็ไม่สามารถสร้างอันตรายให้เสือตอมากนัก แต่หากปลาคุณนิสัยติ๋มๆ ขี้กลัวชอบ แอบดำ การเอาปลาเล็กๆว่ายเร็วๆเช่นตะเพียน กระแห ให้เค้าออกมารังแกบางก็จะเป็นการสร้างความมั่นใจให้เสือตอให้ออกมาว่ายทั่วตู้และสีดีขึ้นได้

ขอบคุณครับพี่เอ ^_^

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 1:44] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 68
    ทิ้งให้หิวบ้าง
ปลาอิ่มมักแอบ ปลาหิวจะออกมาขออาหาร ความหิวในบางครั้งก็สามารถเอาชนะความกลัวได้ และเมื่อปลาไม่กลัวสีก็จะมาเองครับ เพราะฉะนั้นการทิ้งอาหารครั้งละมากๆไว้ให้ปลาอิ่มตลอดเวลา จะทำให้ปลาเสียนิสัย แอบอยู่เสมอ ทางที่ดีควรให้หมดเป็นครั้งๆหมดแล้วหมดเลย ตรงเวลา และให้ในช่วงที่เปิดไฟอยู่เสมอครับ



ขอนไม้ มีหรือไม่มีดี
หลายคนสงสัยว่า ขอนไม้จะทำให้ปลาปรับสีดำตามสีขอนไม้ อันนี้ต้องบอกว่าก็จริงครับ แต่ขอนไม้ก็ทำให้ปลารู้สึกปลอดภัยขึ้นด้วยจริงๆเสือตอทั้งเล็กทั้งใหญ่มีแนวโน้มชอบสีดำ และวัสถุสีดำๆใหญ่ๆเมื่อมีปลาจะจะรู้สึกสบายใจและปลอดภัยที่จะเอาตัวเข้าไปใกล้ๆอิงแอบแนบชิด หากพิจารณาถึงปลาใหม่ที่เพิ่งลงตู้ได้ไม่นาน ก็จึงควรมีขอนไม้ไว้ให้เค้าหลบบ้าง แรกๆคุณอาจจะไม่เห็นปลาเลยเพราะเค้าหลบทำตัวดำตลอดเวลา แต่เมื่อปลาเริ่มชินกับสภาพตู้แล้วปลาก็จะเลิกหลบ ออกมาขออาหารเองในที่สุด ตู้ที่ไม่มีขอนไม้ ปลามาลงใหม่มักจะไปซุกอยู่ที่มุมตู้บ้างผิวน้ำบ้าง ทำตัวดำ ทำตัวเอียง เห็นแล้วเจ้าของก็เครียด บางตัวไม่กินเจ็บป่วยและตายในที่สุด สรุปว่าเสือตอไม่ว่าตู้ใสโล่งๆหรือจะตู้ดำก็ตามแต่ หากปลายังมีความรู้สึกกลัวระแวงยังไงสีก็ไม่ดีไปได้ครับ

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 1:52] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 69
   แต่หากปลาของคุณ ปล่อยลงตู้โล่งๆ แล้วปลาว่ายเป็นปรกติระดับกลางน้ำ กินอาหารทันที คุณก็ถือว่าโชคดีมากได้ปลาชั้นยอดมาเลี้ยง
อันนี้จะใส่ขอนไม้หรือไม่ใส่ก็ตามแต่ชอบครับ เพราะเสือตอร้อยตัว ก็มีนิสัยร้อยแบบครับ วิธีข้างต้นอาจไม่ได้ผลกับปลาทุกตัว
ยิ่งที่สำคัญกับการปรับสีปลาให้สวยคือ ให้เวลาปลาได้ปรับตัวปรับอารมณ์ซักพักก่อน ใจเย็นๆ ค่อยๆเปลี่ยนๆค่อยๆหาวิธีที่ดีที่สุดสำหรับปลาของคุณเอง อย่าใจร้อนว่ามันต้องสวยวันนี้พรุ่งนี้ครับ จะเครียดซะป่าวๆ ปลาบางตัวเลี้ยงมา 4 ปี เพิ่งจะมามีสีสวยเมื่อปีนี้อย่างนี้ก็มีครับ
สำหรับเสือตออินโดนั้นทั้งด้านอารมณ์(ขี้กลัว)และลักษณะทางกายภาพ(ลักษณะของเกล็ดและการเปลี่ยนที่ของเม็ดสี)ล้วนมีส่วนที่ทำให้ปรับสีได้ยากกว่าเสือตอจากเขมร ต้องใจเย็นๆและทำใจไว้ส่วนหนึ่งนะครับ

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 1:55] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 70
    สายพันธุ์ปลาเสือตอและการสังเกต

เรื่องการสังเกตลักษณะของเสือตอว่าแต่ละตัวถือวีซ่ามากจากทีได้นั้นเป็นเรื่องที่เมื่อ3-4ปีก่อนนั้นเป็นเรื่องยากและสับสนกันพอควรทีเดียว แต่ในช่วง 3-4 ปีมานี้เองปลาเสือตอได้รับความสนใจจากผู้เลี้ยงปลาสวยงามอย่างมาก อาจจะเป็นเพราะการเริ่มเข้าใจว่าปลากำลังจะสูญพันธุ์หรือชอบเพราะตามกระแสก็ตาม ส่งผลให้ราคาปลาเสือตอติดจรวดไปลิ่วๆ จึงไม่เป็นเรื่องแปลกที่จะมีพวกอธรรม คอยจ้องที่จะหลอกลวงหลอกขายปลาผิดสายพันธุ์ให้กับผู้เลี้ยงมือใหม่ที่สนใจ แต่กระนั้น ในปัจบันหลายๆท่านที่นิยมปลาชนิดนี้ ก็เริ่มที่จะมีความรู้ความสามารถในการจำแนกสายพันธุ์ได้ดีขึ้นอย่างมาก เนื่องจากได้รับความรู้สื่อต่างๆ โดยเฉพาะการสื่อสารทางสื่ออินเตอร์เนทในเวบไซต์ ที่เกี่ยวกับปลาสวยงามต่างๆ

เสือตอเขมรลายใหญ่และลายคู่ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์เดียวกันว่า (Datnioides pulcher)
ในที่นี้รวมถึงเสือตอจากไทยที่คาดว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว และเวียดนามด้วย สายพันธุ์นี้ย้อนหลังไป 20-30 ปีก่อนพบในทะเลสาบน้ำจืดใหญ่ แม่น้ำใหญ่และแม่น้ำสาขาของ3ประเทศที่กล่าวมา และแม่น้ำโขงตอนล่าง ใกล้กับปากแม่น้ำที่บรรจบกับทะเล ไม่พบหรือพบน้อยมากในแม่น้ำโขงตอนบน (ประเทศลาว) โดยเสือตอที่พบจากทั้งสามประเทศนี้คาดว่าลักษณะทางกายภาพนั้นไม่มีความแต่งต่างกันเป็นนัยยะสำคัญ ส่วนในประเทศพม่าหรือลาวนั้น ไม่มีรายงานการพบแบบเป็นทางการ
ลักษณะเด่นของเสือตอเขมรลายใหญ่นั้น มีแถบดำผ่านลำตัว 6-7แถบและลายคู่มี7-8แถบ สีสันสวยงามส่วนใหญ่มีสีเหลืองตัดดำชัดเจน ส่วนใหญ่มีอุปนิสัยไม่ขี้กลัวเท่าใดนัก และช่างสังเกต ต่างจากสายพันธุ์ใกล้เคียงอื่นๆที่ขี้กลัวและชอบหลบซ่อนมากกว่า

เนื่องจากเสือตอเขมรนั้นเป็นสายพันธุ์ที่สวยงาม หายาก และใกล้จะสูญพันธุ์ที่สุด จึงทำให้มีราคาแพงที่สุดและผู้ขายที่ไม่ซื่อตรงมักจะเอาปลาสายพันธุ์อื่นมาหลอกขายว่าเป็นปลาเขมร หลายปีที่ผ่านมาในปลาขนาดเล็กไม่เกิน 1 นิ้วนั้นจะเป็นช่วงที่ดูยากที่สุดโดยผู้ขายมักจะเอาเสือตอลายเล็ก (Datnioides undecimradiatus) กะพงลาย (Datnioides polota) หรือเสือตออินโดมาหลอกขายเป็นเสือตอเขมร

แต่ในปลาที่มีขนาดใหญ่ขึ้น จุดสังเกตต่างๆเริ่มชัดเจน กะพงลายและเสือตอลายเล็กจะไม่สามารถตบตาผู้ซื้อได้อีกต่อไป จึงเหลือเสือตอจากประเทศอินโดนีเซีย (Datnioides microlepis) เท่านั้นที่ใกล้เคียงและสามารถตบตาผู้ซื้อได้ เรามาดูข้อแตกต่างระหว่างคู่ชกที่สมน้ำสมเนื้อกัน

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 2:04] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 71
    ลาย
เสือตอลายใหญ่อินโดทุกตัวจะมีเส้นพาดผ่านลำตัวทั้งหมด 7เส้นโดยเราจะเริ่มนับเส้นแรกที่พาดผ่านตา เป็นเส้นที่หนึ่ง แต่ในลายของเสือตอลายใหญ่เขมรนั้น บางตัวนับได้ 7 ขีด บางตัวนับได้ 6 ขีด เพราะฉะนั้นถ้าคุณเจอเสือตอลายใหญ่ตัวหนึ่ง นับเส้นแล้วได้6 ขีด คุณมั่นใจได้เลยว่าเป็นเสือตอลายใหญ่เขมร ชัวร์ แต่ถ้านับแล้วได้ 7 ขีดมันอาจจะเป็นได้ทั้ง อินโดหรือเขมรก็ได้ เราจึงต้องมาดูในข้อถัดมา

รูปแบบของลาย
ถ้าคุณเห็นลายสีดำเส้นที่ 5 ด้านบนโย้มาทางด้านหน้า สงสัยได้ว่าจะเป็นเสือตออินโดถ้าคุณเห็นลายที่คอ(สร้อย)หนามากใหญ่จนเกือบเท่าลายที่พาดผ่านกลางลำตัว สงสัยได้ว่าเป็นอินโดถ้าลายกลางลำตัว ทิ้งลงเป็นเส้นตรง ไม่เฉียงไปทางด้านหลัง และมีขนาดความกว้างของลายสีดำเท่ากันตั้งแต่ด้านบนจนถึงท้อง และขอบของลายเรียบไม่ขรุขระ สงสัยได้ว่าเป็นอินโด

สี
ของสองชนิดนี้ต่างกันที่เสือลายใหญ่เขมรจะมีสีเหลืองเข้มกว่าเสือตอลายใหญ่อินโดจะเห็นได้ชัดจากปลาที่มีขนาดใหญ่ เขม่าหรือลายแซมที่มักจะพบมากในปลาอินโด

ทรง
โดยส่วนใหญ่หน้าผากของปลาเสือตอเขมรและอินโดมีความต่างกัน ในปลาเขมรนั้นจะมีความลาดเอียงตั้งชันมากกว่าเสือตออินโด และลำตัวก็กว้างกว่าเสือตออินโดที่มักจะออกเป็นสี่เปลี่ยมผืนผ้ามากกว่า


อุปนิสัย
เสืออินโดมักขี้กลัว ขี้แอบเลี้ยงให้ชินกับสถานที่เลี้ยงและผู้เลี้ยงยากกว่าเสือตอลายใหญ่เขมรมากนัก นั่นเป็นอีกสาเหตุอีกอย่างหนึ่งมี่ทำให้เสืออินโด มีสีที่ไม่สวย เมื่อนำขึ้นจากน้ำสังเกตว่าเสือตออินโดจะดิ้นจนน้ำกระจายเลยแต่เสือตอเขมรมักทำตัวแข็งทื่อ
กางครีบหลังตั้งชัน

ขนาด
หากคุณพบปลาที่มีขนาดเล็กกว่า 5 นิ้วในขณะนี้นั่นคือปลาอินโดเหตุผลเพราะว่าไม่มีเสือตอเขมรไซต์เล็กขนาดนี้เข้ามาขายในประเทศไทยนานแล้ว

ราคา
ผู้เลี้ยงหน้าใหม่บางคนโดยเค้าหลอกก็แย่แล้ว ยังชอบหลอกตัวเองด้วย คำว่าฟลุ๊คในเวลานี้ไม่มีคับ ยิ่งที่สวนจตุจักร เสือสิง กระทิง แรด ทั้งนั้น แบบที่ว่าพ่อค้าปลาเค้าว่า “น้องๆตัวนี้ลายใหญ่ แน่ๆหลงมากับลายเล็ก 1200 พอ” หรือ “น้องๆเสือตอเขมรขายให้น้องถูกๆเลยไม่ใช่อินโดแน่นอน3000” หากเป็นเขมรจริงเค้าจะขายราคานี้เหรอครับ
มีหรือที่เรารู้ราคา แล้วพวกพ่อค้าจะไม่รู้จริงมั้ยครับ

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 2:10] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 72
   ส่วนการแยกความแตกต่างระหว่างเสือตอลายคู่เขมรและเสือตอลายคู่อินโดนั้น เป็นเรื่องที่ยากและต้องอาศัยประสบการณ์สักหน่อย หากเป็นเสือตอลายคู่เขมรในปัจุบันจะต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า 9 นิ้ว ส่วนใหญ่สร้อยคอจะไม่รอบ และอาจนับเส้นลายได้7เส้น ในข้างใดข้างหนึ่งหรือสองข้าง เส้นลายด้านบนลำตัวระหว่างเส้นที่ 5 และเส้นที่ 6มักจะเชื่อมติดกัน ในปลาเสือตอลายคู้เขมร 8 ขีดลักษณะลายที่ 6-7 มักจะมีลักษณะเป็นเส้นที่ไม่ตรงนัก อาจจะบิดๆ เบี้ยวๆ หรือขรุขระ จุดสุดท้ายให้สังเกตว่า ไม่ควรมีเขม่าที่เข้ม หรือลักษณะสีตก ระหว่างลายที่ 4-5 และ 5-6 ซึ่งมักจะพบในเสือตอลายคู่อินโด

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 2:11] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 73
   เสือตอลายคู่เขมรนั้นเป็นลักษณะที่เลือกได้ว่าหายาก มีน้อย ยิ่งตัวที่สวยลายดีๆนั้นแถบไม่พบเลยก็ว่าได้ในปัจุบัน
ปลาในสกุล Datnioides ทั้ง 5 ชนิด เสือตอเขมร เสือตออินโด เสือตอลายเล็ก เสือตอจากปาปัวนิวกีนี และกะพงลาย ซึ่งหลายสายพันธุ์เช่นเสือตอลายเล็ก กระพงลายและเสือตออินโดในปัจจุบันต่างก็มีราคาสูงขึ้นขยับตามเสือตอลายใหญ่เขมร

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 2:12] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 74
   มาดูการนับขีดเสือตอลายคู่อินโด และเสือตอลายใหญ่อินโดกันอีกครั้งครับ

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 2:14] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 75
    การเสริมวิตามินให้ปลาเสือตอ
เพื่อให้ปลาแข็งแรงสมบูรณ์ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ การเสริมวิตามินจึงมีส่วนช่วยได้อย่างมาก ในธรรมชาติปลาเสือตอล่าเหยื่อที่หลากหลายกว่าปลาที่เลี้ยงในที่เลี้ยง จึงได้สารอาหารที่หลากหลายกว่า
การเสริมวิตามินสำหรับปลาเลี้ยงสวยงาม
เราสามารถคลุกวิตามินเสริมยี่ห้อโกล์มิคกับเหยื่อไม่ว่าจะเหยื่อเป็น หรือเหยื่อตายก็ได้ ให้กินอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้งตามปริมาณที่ระบุไว้ จะสังเกตว่าปลาไม่ค่อยเจ็บป่วย กินเก่ง และอ้วนท้วนดี

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 2:17] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 76
    สำหรับปลาที่ตั้งใจเลี้ยงเพื่อจะเพาะพันธุ์
ค่อนข้างจะยุ่งซักนิด วิตามินที่สำคัญคือวิตามิน E ซึ่งสร้างเสริมระบบสืบพันธุ์ถ้าให้ในปริมาณที่เหมาะสม สำหรับตัววิตามิน Eนั้นสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาคนทั่วไป ในลักษณะแคปซูนสีเหลืองใสเป็นน้ำมันอยู่ข้างใน โดยมีระดับความเข้มข้นของวิตามินอยู่ที่ 100-400 IU ต่อหนึ่งเม็ด ราคา 400 IU ตกอยู่ที่เม็ดละประมาณ 5-7 บาท ปริมาณที่ควรให้เสือตอได้รับคือ 200 IU ต่อเหยื่อหนึ่ง กิโลกรัม โดยให้ปลากินให้อิ่มในแต่ละมื้อ อาทิตย์ละสองครั้ง

จากการทดลองให้วิตามินเป็นเวลา 3 เดือนคาดว่าทำให้ปลาตัวผู้มีน้ำเชื้อที่สามารถรีดดูได้ จำนวน1ตัวจาก3ตัว ส่วนในปลาตัวเมียยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน (ปัจจัยอื่นๆที่คาดว่ามีส่วนช่วยคือสภาพแวดล้อม และความสมบูรณ์ของอาหาร )


การเสริมวิตามินผ่านเหยื่อตาย
สามารถใช้กรรไกรตัดปลายของเม็ดแค็ปซูนหนึ่งเม็ด200IUแล้วหยดลงคลุกกับเหยื่อปริมาณหนึ่งกิโลกรัม(หากเหยื่อปริมาณ500กรัมก็ให้เพียงครึ่งเม็ด) แล้วน้ำไปให้ปลากินได้ทันที หากเหยื่อเหลือไม่ควรเก็บเหยื่อที่คลุกวิตามินไว้สำหรับมื้อหน้าเพราะวิตามินอาจเสื่อมสภาพ

การให้ผ่านเหยื่อที่มีชีวิต
ให้วิตามินในอัตราส่วนเดียวกัน และแนะนำให้ผ่านเหยื่อปลาทองหรือปลาคราฟ เพราะมีปากที่ใหญ่และมักอ้าปากกว้างเมื่ออยู่เหนือน้ำ ง่ายต่อการหยดวิตามินลงในปาก ทางกรมประมงมักใช้วิธีการฉีดวิตามินเข้าสู่ตัวปลา แต่เนื่องจากเป็นวิธีที่ทรมานสัตว์เกินไปผมชอบที่จะให้วิธีหยดลงปากปลาเหยื่อมากกว่า อีกเหตุผลหนึ่งคือวิตามิน E ในรูปแบบแคปซูนนั้นเป็นน้ำมันผสมอยู่ข้างในยากต่อการใช้เข็มดูดขึ้นมาเพราะมีความหนืดสูง

การให้จะให้ในลักษณะการสุ่ม และกะประมาณ
กล่าวคือปลาเหยื่อ 1 ตัวต่อ มิตามิล200IU 1หยด(หนึ่งเม็ดประมาณ 10หยด) ต่อเสือตอ 1 ตัวอาทิตย์ละ 2 ครั้ง การกินควรให้ในช่วงหลังวันที่หยุดให้อาหาร เพราะปลาจะหิวจัด และโฉบเข้าฮุบทันที ทำให้ปลาเหยื่อไม่ทันคายวิตามินออก และพยามให้ปลาเสือตอทุกตัวได้กินเหยื่อเสริมวิตามินครบทุกตัวเท่าที่จะทำได้ หากมีเสือตอตัวไหน กินเหยื่อเสริมวิตามินเกินหนึ่งตัวก็ไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นอันตราย แต่ไม่ควรเกินสามตัวนะครับ

ขุนปลาเหยื่อ
คือนำปลาเหยื่อมาเลี้ยง3-4วันโดยให้อาหารเม็ดคลุกวิตามิน Eทุกๆวัน และทยอยนำมาให้เสือตอกินเป็นอาหาร วิธีนี้ขนาดปริมาณของวิตามินที่คลุกให้ปลาเหยื่อกินยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ก็คาดว่าคงต้องมากกว่าเป็นสองหรือสามเท่ากับวิธีของต้น วิธีนี้ทรมานใจคนเลี้ยงน้อยที่สุดครับ เพราะก่อนปลาเหยื่อจะตายอย่างน้อยก็ตายในขณะที่ท้องอิ่ม และปลาเหยื่อที่สมบูรณ์ตัวอ้วนๆมีวิตามิน E และผ่านการกักกันโรคนั้นย่อมดีต่อปลาเสือตอแน่นอน

การให้ผ่านกุ้งฝอย
สำหรับกุ้งฝอยเป็นนั้นผู้เลี้ยงสามารถคลุกวิตามิน E 200IU/กุ้งฝอย1กิโลกรัมและเทให้เสือตอกินได้ทันที

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 2:21] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 77
    ความหวังในการเพาะพันธุ์ ปลาเสือตอ
ในปัจจุบันยังไม่มีใครสามารถเพาะพันธุ์ปลาเสือตอเขมรได้เป็นผลสำเร็จ แต่ยังเป็นข้อถกเถียงกันสำหรับเสือตออินโดว่า เป็นปลาที่ได้จากการเพาะพันธ์หรือปลาที่จับรวบรวมจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ส่วนเสือตอลายเล็กนั้นสามารถเพาะพันธุ์ได้แล้วอย่างแน่นอน ทั้งเอกชนและกรมประมง แต่ก็เพียงส่วนน้อย ปลาส่วนใหญ่ที่ขายอยู่ในตลาดยังเป็นปลาที่รวบรวมจากแหล่งน้ำธรรมชาติอยู่ดี เนื่องจากยังมีจำนวนมากอยู่ แต่ก็คาดว่าอีกไม่นานก็คงจะลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว
แน่นอน

สิ่งที่เหมือนกันของทั้งเอกชนและประมงก็คือต้องการเพาะพันธุ์เสือตอเขมร หรือที่เป็นสายพันธุ์เดียวกับเสือตอไทยนั่นเอง ด้วยเหตุผลต่างๆกันไป บ้างต้องการชื่อเสียง บางคนต้องการเงิน และบางคนเพียงอยากให้เสือตอกลับมาแหวกว่ายอยู่ในสายน้ำของประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง

จะด้วยเหตุผลไดก็ตามนับเป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่ในขณะนี้มีความตื่นตัวในความพยามเพาะพันธุ์ มากขึ้น มีการแลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างกรมประมงและภาคเอกชนมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งกรมประมงก็เปลี่ยนท่าทีจากผู้จับปรับและยึดปลา เป็นการขอความร่วมมือและให้ความรู้กับผู้ที่มีปลาอยู่

แต่กระนั้นทั้งสองฝ่ายก็ยังเข้าหน้ากันได้อย่างไม่สนิทใจนัก เนื่องจาก ณ วันนี้ ยังติดตัวบทกฎหมายที่กำหนดให้ฝ่ายหนึ่งเป็นโจทย์และฝ่ายหนึ่งเป็นจำเลยของสังคมอยู่ดี หากมีการแก้ไขพระราชบัญญัตสงวนและคุ้มครอง แน่นอนว่าการร่วมมือกันอย่างเต็มกำลังก็จะเกิดขึ้น

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 2:28] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 78
    ทำไมเสือตอเขมรจึงเพาะพันธุ์ยากนัก ข้อเท็จจริงคือ ?
ปลาที่ใช้ทำการทดลองเพาะพันธุ์มีจำนวนน้อย และมีมูลค่าสูง
การทดลองบางอย่างเช่นการ ฉีด ฝัง รีด หรือสอดท่อเข้าตัวปลา
ล้วนมีความเสียง ที่จะทำให้ปลาตายทั้งนั้น เพราะฉะนั้นความพยามเพาะพันธุ์จึงต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป และส่วนใหญ่เลือกวิธีตามธรรมชาติที่ปลอดภัย เช่นการเลี้ยงในสภาพแวดล้อมที่จัดเลียนแบบธรรมชาติ ให้วิตามินเสริมเพียงเท่านั้นเอง

ปัจจุบันเรามีความรู้เกี่ยวกับ ความเป็นอยู่การขยายพันธุ์ของปลาเสือตอตามธรรมชาติน้อยมาก ถึงตอนนี้แล้วการจะไปศึกษาในธรรมชาติก็ยากพอๆกับงมเข็มในมหาสมุทร มือระดับเนชั่นแนลจีโอกราฟฟิกก็ไม่รู้จะหาตัวมันพบ และถ่ายทำในน้ำแสนขุ่นที่โตนเลสาปประเทศกัมพูชาได้รึป่าว เมื่อเราไม่รู้อะไรเกี่ยวกับมันเลย

จึงมีสมมุติฐานมากมายที่ยังไม่มีคำตอบยกตัวอย่างเช่น

-ความเครียดของปลาที่เลี้ยงทำให้ระบบสืบพันธุ์ของปลาเสือตอ
เสื่อมลง

-การเสื่อมสภาพของระบบสืบพันธุ์ เป็นเพราะขาดสารอาหารที่มี
วิตามินE

-เสือตอไข่ในระดับน้ำลึกกว่า 6 เมตร

-เราสามารถสอดเข็มเบอร์เล็กที่สุดเข้า (เข็มฉีดอินซูลีน)ไปในช่องท้องเสือตอตัวเมียเพื่อดูดเอาไข่ที่สมบูรณ์ออกมาผสมกับน้ำเชื้อที่รีดมาได้โดยที่ปลาเสือตอตัวเมียไม่ได้รับอันตราย

-เสือตอไข่ในสภาพน้ำไหลช้า เพื่อพัดพาไข่ไปในช่วงน้ำหลาก

-เสือตอไข่ตามขอนไม้แล้วเฝ้าไข่จนฟักเป็นตัว

-ต้องเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ในบ่อที่เลียนแบบสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ

-เสือตอขยายพันธุ์ในน้ำข้อนข้างขุ่น

-ค่าพีph ส่งผลต่อการวางไข่ขยายพันธุ์ของปลาเสือตอ
ฯลฯ

การจะได้มาแต่ละคำตอบนั้นยากเย็น ทั้งเสี่ยงต่อการสูญเสียปลา ทั้งใช้เวลา และเงินมากมายคิดดูนะครับ แค่จะหาคำตอบในข้อสามก็แย่แล้ว ทำบ่อไป 500000 รออีก5ปี เป็นต้น เพราะฉะนั้นทฤษฎีหลายๆข้อจึงไม่ได้มาจากการทดลองแต่มาจากการคาดเดา เพราะเราไม่มีโอกาสมากนักในการลองผิดลองถูก

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 2:32] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 79
    สิ่งที่เป็นการคาดเดา
-บ่อควรจัดสภาพแวดล้อมเลียนแบบธรรมชาติ มีขอนไม้เยอะๆ
มีพืชน้ำบ้าง

-สภาพน้ำต้องสะอาด มีค่าเป็นกรดอ่อนๆที่ ph6-7 มีออกซิเจนสูง
และขุ่นนิดๆ

-อาหารต้องสมบูรณ์ไม่ขาด และเป็นเหยื่อที่ว่ายน้ำช้าจับกินง่าย
และต้องเสริมวิตามิน

-ต้องไม่มีและไม่ทำสิ่งใดที่เป็นการคุมคามปลา หรือทำน้อยที่สุด

-น้ำฝนเป็นตัวเร่งให้ปลาผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ

-เสือตอเข้าสู่ช่วงเจริญพันธุ์ช่วงเดือนมีนาคม ไข่เป็นเม็ดสีเหลืองใสมีน้ำมันภายใน และเป็นไข่ลอย จะฟักเป็นตัวใน 18 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 28-29องศา เมื่อเกิดมาจะว่ายน้ำกลับหัว ปากปลาแรกเกิดมีขนาดเล็ก ไข่แดงจะหมดหลังจาก 2วัน จึงจะเริ่มให้อาหาร ที่มีขนาดเล็กเช่นไข่แดงต้มแล้วบด โรติเฟอร์ หรือลูกปลาแรกเกิด

แล้วเราเรียนรู้อะไรบ้างนอกเหนือไปจากการคาดเดา

- เราสามารถเลี้ยงให้ปลาตัวผู้มีน้ำเชื้อและปลาตัวเมียไข่แก่ได้
แต่เรายังไม่สามารถ ทำให้ปลาผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติ

- การเสริมวิตามิน E ในอาหารช่วยเสริมสร้างระบบสืบพันธุ์

- กุ้งฝอยมีไข่เป็นอาหารที่เหมาะสมเพื่อสร้างเสริมระบบสืบพันธุ์

- การฉีดฮอร์โมน การเหน็บฝังฮอร์โมน ไม่ประสพผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีความเสี่ยงที่จะทำให้พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ตาย

- อาหารต้องไม่ขาดช่วง
โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 2:36] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 80
    สรุป
การเพาะพันธุ์เสือตอลายใหญ่เขมร มีความพยามยามทั้งภาครัฐและเอกชน อยู่ในขั้นทดลอง ยังไม่ประสพผลสำเร็จ ข้อมูลการเพาะพันธุ์เก่าๆในหลายปีที่ผ่านมาเป็นข้อมูลที่ยังสับสนอยู่มาก มีการผสมปนเประหว่างการเพาะพันธุ์เสือตอลายเล็ก และเสือตอลายใหญ่ ความยากของการพยามเพาะพันธุ์คือ การเลี้ยงพ่อแม่ปลาให้สมบูรณ์เพศ การหาวิธีและปัจจัยที่ทำให้พ่อแม่ปลาผสมพันธุ์กันเอง และการอนุบาลลูกปลาให้รอด
ท่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก ศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดนครสวรรค์ 056-221561 หรือ สำนักงานประมงสุพรรณบุรี 035-441033
โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 2:37] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 81
    การมีปลาเสือตอไว้ในครอบครอง

ปลาเสือตอ (Coius microlepis) จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 โดยบัญญัติไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 10 (2540) ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2540
การมีปลาตะพัด และ/หรือ ปลาเสือตอไว้ในครอบครองจะต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมประมง ตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และผู้ครอบครองจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวง และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต

ผู้มีสิทธิมีสัตว์น้ำดังกล่าวไว้ในครอบครองมี 3 ประเภท ดังนี้ 1. เป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์ปลาตะพัด หรือปลาเสือตอ ตามมาตรา 18(1)
2. เป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ค้าปลาเสือตอ หริอปลาตะพัด ตามมาตรา 19
3. เป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ครอบครองปลาตะพัด และ/หรือปลาเสือตอ ตามมาตรา 19
การขอใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่า (สป.9)
ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่า (สป 8) ได้ที่สำนักงานประมงจังหวัดในจังหวัดที่จะดำเนินการเพาะพันธุ์ สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตได้ที่ฝ่ายบริหารและจัดการทรัพยากรประมง อาคารเชิดชาย อมาตยกุล กรมประมง เกษตรกลาง เขตจตุจัตร ในวันและเวลาราชการ
หลักฐานประกอบในการยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์
ผู้ยื่นคำขอจะต้องแนบเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
1. แสดงหลักฐานการได้มาซึ่งปลาตะพัด หรือปลาเสือตอ ได้แก่ หลักฐานการนำเข้า (สป 5) ในกรณีที่มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ หรือหลักฐานการซื้อขาย โดยผู้ยื่นคำขอจะต้องซื้อปลามาจากผู้ที่มีใบอนุญาตให้ค้าปลาตะพัด หรือปลาเสือตอ (สป 11)
2. โครงการเพาะพันธุ์ปลาตะพัด หรือปลาเสือตอ
3. แผนผังของสถานที่ตั้งฟาร์มเพาะพันธุ์ 2 ชุด
4. สำเนา ทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอรับใบอนุญาตในกรณีเป็นบุคคลธรรมดา หรือสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลง ชื่อผูกพันบริษัท หนังสือบริคญห์สนธิและข้อบังคับของบริษัท และหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงรายการจดทะเบียนและ รายชื่อกรรมการซึ่งออกมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน ในกรณีเป็นนิติบุคคล

บทลงโทษ
ผู้ฝ่าฝืนกระทำการเพาะพันธุ์ปลาตะพัด หรือปลาเสือตอ โดยมิได้รับอนุญาตมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การขอรับใบอนุญาตให้ค้า (สป 11)
ให้ยื่นคำรับใบขออนุญาต (สป 10) ได้ที่สำนักงานประมงจังหวัด ในเขตจังหวัดที่ร้านค้าตั้งอยู่ สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตได้ที่ ฝ่ายบริหารและจัดการทรัพยากรประมง อาคารเชิดชาย อมาตยกุล กรมประมง เกษตรกลาง เขตจตุจัตร ในวันและเวลาราชการ

หลักฐานประกอบในการยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ค้า
ผู้ยื่นคำขอจะต้องแนบเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
1.แสดงหลักฐานการได้มาซึ่งปลาตะพัด หรือปลาเสือตอ ได้แก่ หลักฐานการนำเข้า (สป5) ในกรณีที่มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ หรือหลักฐานการซื้อขาย โดยผู้ยื่นคำขอจะต้องซื้อปลามาจากผู้ที่มีใบอนุญาตให้ค้าปลาตะพัด หรือปลาเสือตอ (สป 11)
2. หลักฐานการมีสิทธิ์ใช้สถานที่ที่จะทำการค้า
3. แผนผังของสถานที่ประกอบการค้า 2 ชุด
4. สำเนา ทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอรับใบอนุญาตในกรณีเป็นบุคคลธรรมดา หรือสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการ ผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัท หนังสือบริคญห์สนธิและข้อบังคับของบริษัท และหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงรายการจดทะเบียนและ รายชื่อกรรมการ ซึ่งออกมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน ในกรณีเป็นนิติบุคคล
บทลงโทษ
ผู้ฝ่าฝืนค้าปลาตะพัด และ/หรือปลาเสือตอ โดยมิได้รับอนุญาตมีโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การขอรับใบอนุญาตให้ครอบครอง (สป 15)
ให้ยื่นคำรับใบขออนุญาต (สป 14) ได้ที่สำนักงานประมงจังหวัด ในเขตจังหวัดที่ผู้ขอมีความประสงค์จะเลี้ยงปลาตะพัด และ/หรือปลาเสือตอ สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตได้ที่ ฝ่ายบริหารและจัดการทรัพยากรประมง อาคารเชิดชาย อมาตยกุล กรมประมง เกษตรกลาง เขตจตุจัตร ในวันและเวลาราชการ
หลักฐานประกอบในการยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ครอบครอง
ผู้ยื่นคำขอจะต้องแนบเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
1. แสดงหลักฐานการได้มาซึ่งปลาตะพัด หรือปลาเสือตอ ได้แก่ หลักฐานการนำเข้า (สป 5) ในกรณีที่มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ หรือหลักฐานการซื้อขาย โดยผู้ยื่นคำขอจะต้องซื้อปลามาจากผู้ที่มีใบอนุญาตให้ค้าปลาตะพัด หรือปลาเสือตอ (สป 11)
2. สำเนา ทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอรับใบอนุญาตในกรณีเป็นบุคคลธรรมดา หรือสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการ ผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัท หนังสือบริคญห์สนธิและข้อบังคับของบริษัท และหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงรายการจดทะเบียนและ รายชื่อกรรมการ ซึ่งออกมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน ในกรณีเป็นนิติบุคคล

บทลงโทษ ผู้ฝ่าฝืนมีปลาตะพัด และ/หรือปลาเสือตอ โดยมิได้รับอนุญาตมีโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ฝ่ายบริหารและจัดการทรัพยากรประมง
กองอนุรักษ์ทรัพยากรประมงกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ที่ตั้ง: อาคารเชิดชาย อมาตยกุล ชั้น 1 เกษตรกลาง ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แขวงลาดยาว เขตจตุจัตร กรุงเทพฯ 10900
โทร 0-2558-0196 โทรสาร 0-2558-0197 https://www.fisheries.go.th
(ข้อมูลจาก https://arowana-thailand.com/index.php/knowledge/law )
โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 2:42] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 82
   กฎหมายเรื่องปลาเสือตอ
มีมานานมากๆแล้วครับ เรียกได้เต็มปากว่า เป็น กฎหมายโบราณ ยุคๆแรกเนื้อหาคือ ห้ามฯลฯ ปลาเสือตอ (ไม่ได้บอกเลยว่าลายใหญ่ลายเล็ก) ชื่อวิทย์คือ Datnioides microlepisซึ่งตอนนั้น ตอนที่ออกกฎหมายใหม่ๆ ยังไม่มีการแยกชื่อวิทย์ของเสือตอลายเล็ก และลายใหญ่ของไทยเลยครับ แน่นอนว่า เขมร และอินโดฯ ก็ไม่ได้แยกจึงหมายความว่า ถ้าใช้กฎหมาย ณ. เวลานั้น เสือตอ ทุกชนิด ผิดกฎหมายหมด ไม่ว่าจะชนิดไหน ลายอะไร ถ้าชื่อวิทย์เดียวกันก็จับได้ ถูกป่าวครับ

ยุคสอง
เริ่มมีการ แยกชนิดเสือตอละเอียดขึ้น โดยลายใหญ่ แยก จากลายเล็กต่างหาก เป็นคนละชนิด คือ ลายเล็ก มีชื่อวิทย์ว่า D. undecimradiatus ดังนั้น ในยุคนี้ ลายเล็กจึงไม่ผิดกฎหมาย แต่ลายใหญ่ ลายคู่ จะอินโดฯ เขมร เวียดนามก็ผิดหมด ถูกป่าวครับ

ยุคที่สาม
เป็นยุคที่ความรู้พัฒนามาสูงสุดครับ นักวิทยาศาสตร์เริ่มเข้าใจแล้วว่า ปลาเสือตอมันต่างกันมากกว่าที่เค้าคิด เลยกลายเป็นว่า
เสือตอ ไทย เขมร เวียดนาม (ทุกๆลาย) มีชื่อวิทย์ว่า D. pulcher
เสือตออินโด จากสุมาตรา(ทุกๆลาย) มีชื่อวิทย์ว่า D. microlepis

ดังนั้น ถ้ายึดตามกฎหมายโบราณ กับวิทยาศาสตร์ปัจจุบันที่สรุปชนิดมาชัดเจนแล้ว ก็จะกลายเป็นว่า เสือตอ อินโดฯสุมาตราทุกๆลาย ผิดกฎหมายหมด เพราะชื่อวิทย์มันดันไปตรงกับ กฎหมายโบราณของเราถูกป่าวครับ ส่วนชนิดอื่น รอดหมด

แต่ทำไม ในปัจจุบันนี้ พวกมัน จึงเลือกจับแต่ เสือตอลายใหญ่ ทุกๆชนิดล่ะครับ แต่ไม่จับลายคู่ ลายแซม ลายมั่ว หรือลายเล็ก
เหตุผลง่ายๆครับว่า มันขึ้นกับดุลยพินิจ ของคนจับครับ มันไม่ได้ยึดตามกฎหมายเลย อย่างที่ผมชี้แจงไปแล้ว แต่อย่างใด
เรียกง่ายๆว่า แล้วแต่ว่า พวกมันจะกำหนดมาตราฐานในการจับแต่ละครั้งเป็นอย่างไร แค่นั้นเองครับ เอาแน่ไม่ได้ เวลานี้ มันกำหนดแบบนี้ เวลาอื่นๆต่อไป มันอาจจะกำหนดอย่างอื่นก็ได้ ถ้าเทรนด์มันเปลี่ยน

ข้อมูลจากคุณ ROF https://www.pantown.com/board.php?id=2888&area=4&name=board1&topic=5790&action
โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 2:44] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 83
    เรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับปลาเสือตอ

ไปดูที่บึงบอระเพ็ดเค้าเพาะพันธุ์ปลาเสือตอกัน โดยหมอED ตอน1-2
https://www.pantown.com/board.php?id=173&area=4&name=board4&topic=383&action=view

https://www.pantown.com/board.php?id=173&area=4&name=board4&topic=376&action=view

ข้อมูลการการสัมมนาเรื่องความพยามเพาะพันธุ์ปลาเสือตอล่าสุด https://www.pantown.com/board.php?id=173&area=4&name=board4&topic=433&action=view

วิธีการแยกเสือตอลายคู่อินโด-เขมรโดยคุณมิ้ง https://www.pantown.com/board.php?id=173&area=4&name=board4&topic=256&action=view

ขึ้นเครื่องบินไปวนดูทะเลสาบเขมร ถิ่นเสือตอกันครับ
https://www.encyclopedia.com/YouTubeDisplay.aspx?videoid=pQAN8q5OtFA&topicid=35343&mediaid=2511759

https://www.encyclopedia.com/YouTubeDisplay.aspx?videoid=Y42cPXSsA3s&topicid=35343&mediaid=2511755


การตกแต่งแผลดูได้จากลิ้งค์นี้ครับ เป็นกระทู้ที่คุณ rof ได้อธิบายไว้อย่างละเอียด
https://www.pantown.com/board.php?id=2888&area=4&name=board17&topic=1157&action=view
โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 2:45] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 84
    จบซักที....กับกระทู้ที่ยาวที่สุดที่เคยทำมา ครั้งแรกตั้งใจจะแบ่งเป็น

ตอนๆ แต่คิดว่ารวมกันไว้จะดีกว่าเพื่อง่ายต่อการค้นข้อมูลของผู้อ่าน

เลยไม่รูรู้ว่ามันจะยาวเกินไปจนหน้าเบื่อรึป่าว?

ยังไงก็ขอบคุณที่เป็นกำลังใจให้นะครับ โดยส่วนตัวช่วงนี้ยุ่งกับ

เรื่องงานมงคลที่กำลังจะมาถึง อาจจะไม่ได้เข้ามาตอบกระทู้เรื่องเสือ

ตอเท่าไหร่นัก มีปัญหาอะไรหาคำตอบได้ในกระทู้นี้นะครับ คิดว่ามีคำ

ตอบมากมายอยู่ในนี้


คิดว่าสำหรับใครก็ตาม ที่อ่านมาถึงตรงนี้ ก็คงจะปวดหัวน้องๆผู้เขียนเลยทีเดียว เพราะฉนั้นก่อนจะจากไปมีนิทานไร้สาระเบาสมองมาฝากครับ สวัสดีลาไปก่อนนะครับ บ้ายบาย






บทส่งท้าย นิทานสำหรับเด็กดี เรื่องปลาน้อยบุ๋มบิ๋ม 53


กาลครั้งหนึ่ง มีลูกปลาเสือตอน้อยตัวหนึ่งชื่อ “ บุ๋มบิ๋ม ” อาศัยอยู่กับพ่อปลา แม่ปลา และพี่ๆ ปลาของมันอีก 9 ตัวในบ้านหลังเล็กๆน่ารักหลังหนึ่ง บ้านน้อย ของ พวกมัน เป็นต้นไม้ที่หัดโค่นลงมาในน้ำเมื่อย้อนไป หลายสิบฝนที่ผ่านมา ต้นไม้นี้มีกิ่งก้านมากมาย มีโพรงให้หลบ และยังมีปลาเล็กๆมาอาศัยอยู่ด้วย

วันหนึ่ง เหล่าพี่น้องลูกปลาแอบประชุมลับกัน ปลาบุ๋มบิ๋ม เสนอความคิดกับ พี่ๆ ว่า “ ผมว่า พวกเราโตขึ้นกันทุกวันเลยนะ แล้วบ้านน้อยหลังนี้ ก็ดูเหมือน จะคับแคบ อึดอัดเกินไป แล้วล่ะ ” “ อืม เจ้าตัวเล็กพูดถูก ” พี่ปลาใหญ่ เห็นด้วย ” เอาอย่างนี้ พี่ว่าเราไปบอกพ่อกับแม่ กันเถอะว่า พวกเราโตแล้ว เราจะแยกย้าย กันไปหาบ้านอยู่เอง ” พี่น้องปลา ต่างก็เห็นด้วย กับความคิด ของพี่ปลาใหญ่ จึงพากันไปบอกพ่อปลากับแม่ปลา ทั้งพ่อและแม่ก็ไม่ได้คัดค้านอะไร ได้แต่ยิ้มๆ แล้วก็อวยพรให้ปลา ทุกตัวปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง

วันรุ่งขึ้น พี่น้องปลา ต่างก็เก็บของใส่ห่อผ้า (ซึ่งประกอบด้วย ของเล่น เสื้อผ้าสองสามชุด ) แล้วร่ำลากัน ก่อนจะแยกย้ายออกจากบ้านไป

พี่ๆ ปลาทั้งหลาย น่าจะพอเอาตัวรอดได้ เรามาตามไปดู เจ้าปลาบุ๋มบิ๋ม ตัวจิ๋ว กันดีกว่า เพราะเจ้าปลาบุ๋มบิ๋ม ดูจะสับสนกว่าใครเพื่อน มันเหลียวซ้าย แลขวา แล้วก็ไม่รู้ จะว่ายไป ทางไหนดี มันแบกห่อผ้าไว้บนบ่า ว่ายไปเรื่อยๆ ตามกระแสน้ำ จนกระทั่งมาถึงบึงน้ำแห่งหนึ่ง

ที่บึงนั้น มีดอกบัวสวยๆเต็มไปหมด ปลาน้อยบุ๋มบิ๋ม จึงนั่งพัก แต่แล้ว ก็ต้องสะดุ้ง เมื่อมีเสียง ร้องทัก “ อ๊บ อ๊บ จะไปไหนรึเจ้าปลาตัวน้อย อ๊บ อ๊บ ” กบใหญ่ ท่าทางใจดีนั่นเอง ปลาน้อยบุ๋มบิ๋ม จึงเล่าให้กบใหญ่ ฟังว่า กำลังหา บ้านอยู่ “ โธ่เอ๋ย เรื่องขี้ปะติ๋ว อ๊บ อ๊บ มามะ มาอยู่กับลุงกบ ใต้ใบบัว ใกล้บึง ใหญ่นี่ก็แล้วกัน ดอกบัวก็สวย น้ำก็ใสไหลเย็น แมลงก็มีให้หม่ำเยอะแยะ อ๊บ อ๊บ ” เจ้าปลาน้อยบุ๋มบิ๋ม ดีใจมาก จึงรีบว่ายไปอยู่ใต้ใบบัว ที่ลุงกบนั่งอยู่ทันที “ ขอบคุณมากฮะ ลุงกบใจดีจัง ”
แต่เจ้าปลาน้อยบุ๋มบิ๋ม อยู่ใต้ใบบัวได้ประเดี๋ยวเดียว มันก็ชัก ไม่สนุก เสียแล้ว เพราะทุกครั้งที่ลุงกบขยับตัว ใบบัวก็จะเคลื่อนขึ้น เคลื่อนลง ไปด้วย ที่แย่กว่านั้น คือ น้ำในบึง กระเพื่อมจนปลาน้อยบุ๋มบิ๋ม ไม่ได้หลับได้นอน มันคิดว่าคงอยู่ที่นี่ไม่ได้แล้ว จึงบอกลุงกบว่า “ใต้ใบบัวก็ดีอยู่หรอก แต่ผมคิดว่า ปลาอย่างผม ไม่เหมาะจะอยู่ที่นี่ อย่างลุงกบหรอกฮะ ขอบคุณนะฮะ” แล้วเจ้าปลาน้อยก็ว่ายน้ำ จากไป

ปลาน้อยบุ๋มบิ๋ม ว่านน้ำต่อไปเรื่อยๆ ก็ได้ยินเสียง “ จิ๊บ จิ๊บ ” มาจากต้นไม้ มันจึง แหงนหน้ามอง บนต้นไม้ใหญ่ เห็นนกแสนสวยตัวหนึ่ง นกตัวนั้นร้องทัก อย่างอารมณ์ดี “ จ๊ะเอ๋ เจ้าปลาน้อย ดูท่าทางเหนื่อยนะ ขึ้นมาพักกับเรา บนรัง ที่อบอุ่น และแสนสบายของเราไหมล่ะ จิ๊บ จิ๊บ ” “รังของคุณดูอบอุ่น แสนสบายน่าอยู่จังเลย คุณนกแสนสวย ขอบคุณมากฮะแต่ผมไม่รู้จะขึ้นไปยังไงนี่ฮะ แล้วผมก็จะหายใจไม่ออกเมื่ออยู่บนนั้น ” เจ้าปลาน้อยตอบแล้วว่ายจากไป


คืนนั้น ปลาน้อยบุ๋มบิ๋ม นอนหลับอยู่ใกล้ก้อนหิน ด้วยความ เหนื่อย ล้านั่นเอง รุ่งเช้าแล้วมันยังไม่ได้กินอะไรเลย แต่เจ้าปลาน้อยก็ออกเดินทาง ต่อไป ว่ายไปได้ไม่ไกล ปลาน้อยบุ๋มบิ๋ม ก็เห็นป้ายไม้ปักอยู่ ป้ายนั้นเขียนว่า “ทางเข้าเมือง ” “ได้การละ เราจะไป ผจญภัย หาบ้านใหม่ในเมืองก็แล้วกัน” คิดดังนั้น เจ้าปลาน้อยจึงรีบว่ายต่อไป จนกระทั่ง มันมาถึงหินก้อนใหญ่ ใจกลางเมือง เจ้าปลาน้อยรู้สึกว่า หินนั้นใหญ่โต มโหฬารจริงๆ “ถ้ามันถล่มมาทับตัวเราจะทำยังไงล่ะนี่!” เจ้าปลาอดคิดไม่ได้ แล้วมันก็รู้สึก ทั้งกลัว ทั้งเหงา ขึ้นมา

ทันใดนั้น เจ้าปลาน้อยก็เห็นโพรงหินหนาดใหญ่ ราวกับจะเชิญชวนให้ เจ้าปลาน้อยบุ๋มบิ๋ม เข้าไปค้นหา “เอาล่ะ เป็นไงเป็นกัน เราจะสร้างบ้านของเรา ในโพรงใหญ่นี้แหละ” แล้วเจ้าปลา ก็รีบว่ายเข้า ไป เมื่อเข้าไปข้างในแล้ว เจ้าปลาน้อยบุ๋มบิ๋ม ถึงกับตะลึง ทุกอย่างดูโอ่อ่า สวยงาม และหรูหรา ไปหมด เจ้าปลาน้อยตกตะลึงกับความงามได้ไม่นาน ก็ต้องสะดุ้งสุดตัว เจ้าปลาชะโดตัวใหญ่ โผล่มาจาก ไหนก็ไม่รู้ กำลังจ้องปลาน้อยบุ๋มบิ๋ม อยู่ มันแยกเขี้ยวแหลม เลียปาก และ ว่ายน้ำใกล้ เข้ามาทุกที ทุกที ปากที่มีฟันแหลมของมัน อยู่ห่างจากตัว ปลาน้อยบุ๋มบิ๋ม แค่ปลายเล็บเท่านั้น “โอ๊ย! ช่วยด้วย ช่วยด้วย อย่าทำอะไรเราเลยช่วยด้วย พ่อจ๋า แม่จ๋า ช่วยปลาน้อย
บุ๋มบิ๋มด้วย หนูไม่อยู่ที่นี่แล้ว” เจ้าปลาน้อยว่ายหนีไป พลางร้องไป มันได้ยินเสียงปลาตัวโตคำรามลั่น “มาอยู่นี่ซะดีๆ” ปลาน้อยบุ๋มบิ๋ม กลัวสุดขีด รีบว่ายหนีอย่างไม่คิดชีวิต มันว่ายและว่าย ผ่านต้นไม้ใหญ่ ที่มีรังนก แสนสวยอยู่ ผ่านบึงบัวสวยที่มีบัวมากมายของลุงกบ มันว่ายและว่ายต่อไปอีก จนกระทั่ง ถึงบ้านหลัง หนึ่ง มันรู้สึกคุ้นขึ้นมาทันที และ จากนั้น มันก็รู้สึก อบอุ่น อย่างบอกไม่ถูก เมื่อเห็นพ่อปลา และแม่ปลา ยืนอยู่หน้า ประตู บ้านนั้น มันรีบวิ่งไปกอดพ่อ แม่พลางพูดว่า “บ้าน บ้านของผม บ้านแสนสุข ของผม ทำไมผมถึงคิด จะทิ้ง บ้าน ทิ้งพ่อ ทิ้งแม่ไปหาความสุขที่อื่นนะ ในเมื่อที่นี่มีความสุข ความอบอุ่น และ ความรักของเราทุกคน พ่อจ๋า แม่จ๋าปลาน้อยบุ๋มบิ๋ม จะไม่หนีพ่อแม่ไปไหนแล้ว ”
พ่อปลา และแม่ปลาจูงมือปลาน้อยบุ๋มบิ๋ม เดินเข้าบ้านมาเงียบๆ
เด็กๆ ทายซิว่าปลาน้อยบุ๋มบิ๋ม เห็นอะไรอยู่ในบ้าน...

ก็เห็นพี่น้องทั้ง 9 ตัวของปลาน้อยบุ๋มบิ๋ม ไงล่ะ!
แล้วครอบครัวปลาก็กลับมาอยู่พร้อมหน้ากันอีกครั้งอย่างมีความสุข
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็ไม่อบอุ่นสบายเท่าอยู่บ้านของตัวเอง
แปลงจากเรื่อง หนูย้ายบ้าน https://pha.narak.com/topic.php?No=14647
โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 3:01] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 85
   สุดยอดมากค่ะ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ ที่คุณโม่นำมาเป็นวิทยาทานนะค่ะ
ขอบคุณมากค่ะ ^___________^
โดย: mouth [18 ต.ค. 52 3:02] ( IP A:58.8.150.242 X: )
ความคิดเห็นที่ 86
   สวัสดีครับคุณ mouth ยินดีครับ

โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 3:11] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 87
   นับถือในความพยายาม และความหวังดีต่อส่วนรวมเลยครับ นับถือ นับถือ....


ไม่อยากชมมาก....เดี๋ยวหาว่าชมกันเอง คริคริ



ก็ขอให้โม่มีความสุขอย่างที่อยากให้ทุกคนมีความสุขนะครับ


ปล. ไม่ต้องปิดแล้วเนอะ....^_^

โดย: Aropharma [18 ต.ค. 52 4:27] ( IP A:118.175.60.70 X: )
ความคิดเห็นที่ 88
   เป็นกระทู้ที่ต้องใช้ความตั้งใจสูงมากเลยครับ ข้อมูลต่างๆมีประโยชน์มากๆสำหรับมู้ที่สนใจในเสือตอ สุดยอดมากเลยครับคุณโม่
โดย: มังกรแดง [18 ต.ค. 52 5:39] ( IP A:125.24.214.92 X: )
ความคิดเห็นที่ 89
   สุดยอดมากเลยครับพี่โม่

เป็นกระทู้ที่รวมทุกอย่างเกี่ยวกับเสือไว้เลย
โดย: เอก/ลาดกระบัง [18 ต.ค. 52 7:00] ( IP A:124.120.234.55 X: )
ความคิดเห็นที่ 90
   เหนือคำบรรยาย..ครับ

โดย: คุณชาย 108(Sukhothai & The Gang) [18 ต.ค. 52 7:17] ( IP A:125.25.204.152 X: )
ความคิดเห็นที่ 91
   คนแบบนี้น่านับถือในความตั้งใจจริงจริงครับ ดีครับกระทู้นี้บ่งบอกถึงคนที่มีใจรักเสือตอ(อย่างคุณโม่)และยังแบ่งบันความรู้ให้คนอื่นอีก
โดย: auto [18 ต.ค. 52 7:48] ( IP A:124.122.147.162 X: )
ความคิดเห็นที่ 92
   ข้าน้อยขอคาราวะ
โดย: แจ็ค0878089991 [18 ต.ค. 52 8:06] ( IP A:124.121.125.113 X: )
ความคิดเห็นที่ 93
   หายไปนานเลยนะพี่ exclaim
ข้อมูลแน่นมาก เลยครับ
ปล.อย่างนี้ต้องมีปาร์ตี้สละโสดซะแล้ว น้องๆรออยู่ครับ 55555+blink

โดย: Mr.U [18 ต.ค. 52 8:10] ( IP A:124.120.124.97 X: )
ความคิดเห็นที่ 94
   เยี่ยมครับ
นับถือ
โดย: RTG KKN [18 ต.ค. 52 8:22] ( IP A:117.47.131.185 X: )
ความคิดเห็นที่ 95
   ครบเครื่องเรื่องเสือตอครับ....

^________^
โดย: ก๊อก [18 ต.ค. 52 8:29] ( IP A:58.11.46.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 96
   ยอดเยี่ยมมากครับ โม่

ว่าแต่ 21 พฤศจิกา นี้ ขอให้มีความสุขมากๆนะครับ
โดย: โก้ครับ [18 ต.ค. 52 8:57] ( IP A:124.121.10.88 X: )
ความคิดเห็นที่ 97
   สุดยอดมากครับ
โดย: ซามูไร...ใจไม่ถึง [18 ต.ค. 52 9:02] ( IP A:124.120.131.28 X: )
ความคิดเห็นที่ 98
   ยอดเยี่ยมครับโม่ นับถือในน้ำใจที่มีให้จริงๆครับ ข้อมูลเนื้อหาแน่นปึ้ก

สุดท้ายก็ขอให้โม่มีความสุขในการใช้ชีวิตคู่นะครับ และมีโม่น้อยไวๆนะครับ
โดย: nu_gap [18 ต.ค. 52 9:07] ( IP A:125.26.13.73 X: )
ความคิดเห็นที่ 99
   นี่แหละที่หามานาน ครับพี่ สุดยอดข้อมูล
โดย: เทพชาละวัน [18 ต.ค. 52 9:17] ( IP A:117.47.6.236 X: )
ความคิดเห็นที่ 100
   ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆที่นำมาแบ่งปันกัน จะตั้งใจศึกษาค่ะ

....ดีใจด้วยจริงๆค่ะพี่ชาย ขอให้มีความสุขอย่างที่ตั้งใจไว้นะคะ
โดย: น้องแตงโม [18 ต.ค. 52 9:33] ( IP A:117.47.6.236 X: )
ความคิดเห็นที่ 101
   สุดยอดครับคุณโม่ และขอให้มีความสุขในชีวิตคู่ครับ
โดย: เต้ย [18 ต.ค. 52 10:30] ( IP A:61.90.87.234 X: )
ความคิดเห็นที่ 102
   แจ่มครับ และยินดีด้วย
โดย: @korat [18 ต.ค. 52 10:43] ( IP A:118.174.9.16 X: )
ความคิดเห็นที่ 103
   ความคิดเห็นที่ 27 ข้องใจนิ๊ดหน่อยครับ
การเลี้ยง
การเลี้ยงเสือตอมี4สิ่งที่สำคัญคือ น้ำ-อุณหภูมิ-อาหาร-สภาพแวดล้อม 34-35-36

34-35-36 คืออะไรหรอครับ
โดย: ขอบคุณครับ [18 ต.ค. 52 11:07] ( IP A:222.123.76.85 X: )
ความคิดเห็นที่ 104
   เป็นไกด์ว่าในหัวข้อนี้จะใช้รูปที่ 34-35-36 ครับ ขอภัยลืมลบออกซะนี่
^_^
ขอบคุณทุกๆท่านครับ
โดย: mofish_6 [18 ต.ค. 52 11:37] ( IP A:180.183.145.224 X: )
ความคิดเห็นที่ 105
   สุดยอดกระทู้ครับ

ตั้งใจจริง ๆ ขอบคุณมากครับ
โดย: จอม [18 ต.ค. 52 11:52] ( IP A:113.53.11.200 X: )
ความคิดเห็นที่ 106
   ยอดเยี่ยมเลยครับ ขอบคุณสำหรับข้อมูลทุกอย่าง
โดย: ink [18 ต.ค. 52 12:18] ( IP A:111.84.52.60 X: )
ความคิดเห็นที่ 107
   ได้ความรู้เพิ่มมากขึ้นเยอะเลยครับ
โดย: โต้งบางตาล [18 ต.ค. 52 12:19] ( IP A:58.147.0.186 X: )
ความคิดเห็นที่ 108
   ตั้งใจทำมากๆครับ ให้ความรู้คนเลี้ยงเสือตอได้ดีมากๆ นับว่าดีที่สุดเลยครับ เป็นกำลังใจให้เลย ตั้งใจดีจริงๆ เป็นประโยชน์ ต่อคนอื่นอีกหลายต่อมากๆครับ ความรู้เอามาแบ่งปัน เยี่ยมจริงๆ
โดย: tiger crazy [18 ต.ค. 52 13:50] ( IP A:58.8.86.101 X: )
ความคิดเห็นที่ 109
   ขอบคุณครับ
โดย: เปี๊ยก-ประมงหันตรา [18 ต.ค. 52 13:53] ( IP A:202.149.25.194 X: )
ความคิดเห็นที่ 110
    ให้มันได้อย่างนี้สิครับพี่โม่ สมกับที่รอคอย แน่นๆ เต็มๆ สุดยอดบทความเรื่องเสือตอเลยครับ...ลงหนังสือเสียดีไหมครับ 55 .......จะแต่งงานแล้วหรือครับ แน่ใจแล้วหรือครับ 55 ยินดีด้วยเช่นกันนะครับ....เดี๋ยวผมตามไป

โดย: ed ครับ [18 ต.ค. 52 14:13] ( IP A:111.84.95.40 X: )
ความคิดเห็นที่ 111
   ขอบคุณมากครับ สำหรับข้อมูลที่ตั้งใจถ่ายทอด อ่านทุกบรรทัด ทุกข้อความครับ
โดย: Purat [18 ต.ค. 52 15:18] ( IP A:118.172.193.194 X: )
ความคิดเห็นที่ 112
   ขอบคุณบทความดีๆ สุดยอดครับแน่นจริงๆ

โดย: basuka [18 ต.ค. 52 16:10] ( IP A:125.25.116.175 X: )
ความคิดเห็นที่ 113
   "เอาใจผมไปครองเลยครับพี่....!!"

^^
โดย: เสือลายเล็ก [18 ต.ค. 52 18:18] ( IP A:125.26.153.28 X: )
ความคิดเห็นที่ 114
   ข้อมูลยอดเยี่ยมครับ อย่างนี้ต้องเก็บFAQแน่นอน (แอบSAVEด้วยคน)

แต่ว่า ค.ห. 68 กุนเชียงหายไปไหนครับ หรือว่าปล่อยให้ปลาหิวจัด!!!

ยินดีด้วยกะเจ้าบ่าวคนใหม่ครับ หนุ่มโสดหายไปอีกรายละ
ขอให้มีความสุขมาก ๆนะครับ
โดย: ^_^ [18 ต.ค. 52 18:39] ( IP A:58.8.227.85 X: )
ความคิดเห็นที่ 115
   แจ่มไปเลยครับเฮียโม่ เป็นบทความที่สมบูรณ์ที่สุดแล้วววว

คห. ที่ 10 เสือชุดสุดท้ายเนี่ย คุ้นๆจังเลยแฮะ อิอิ
(แอบเก็บภาพของผมไว้ด้วย)

เป็นความดีใจครั้งสุดท้ายกับเสือตอเขมร ของผมเลยที่ได้ไปคัด และสอยมาได้จำนวนนึง

ปล. งานแต่งของเฮียโม่ต้องไปแน่นอนครับ
โดย: sealteam8 [18 ต.ค. 52 19:01] ( IP A:58.8.61.238 X: )
ความคิดเห็นที่ 116
   ยอดเยี่ยมจริงๆครับ
โดย: เฟริส [18 ต.ค. 52 19:19] ( IP A:58.8.244.238 X: )
ความคิดเห็นที่ 117
   ขอบคุณมากครับ ผมไม่มีเสือตอ อ่านแล้วยังแฮ๊ปปี๊เลย

ครับ ขอบคุณมากครับ
โดย: ผู้ชายคนหนึ่ง [18 ต.ค. 52 20:38] ( IP A:180.183.164.157 X: )
ความคิดเห็นที่ 118
   สุดยอดครับบทความที่มีจะเป็นครูสำหรัญผู้ไม่รู้ในเรื่องเสือตอผมก็เป็นคนหนี่งที่รอบทความนี้มานานแล้วเพิ่งอ่านแล้วกับอึ่งเป็นเลยเหมือนพ็อกเก็ตบุ๊คอะครับไม่ผิดหวังครับ

โดย: น้องเชอรรี่ [18 ต.ค. 52 20:53] ( IP A:125.27.25.80 X: )
ความคิดเห็นที่ 119
   นี่แหละแจ่มจริง ขอบคุณนะครับพี่โม่ที่อุส่าห์นั้งทำ ผมว่ามีประโยชน์อย่างมากเลยที่เดียวนะครับ
โดย: somhank [18 ต.ค. 52 22:34] ( IP A:222.123.155.214 X: )
ความคิดเห็นที่ 120
   สุดยอดครับ

โดย: คนรักเสือ [18 ต.ค. 52 22:39] ( IP A:124.121.139.46 X: )
ความคิดเห็นที่ 121
   โห เยี่ยมยอดครับ ตั้งใจสูง จริงๆ ขอบคุณครับ
โดย: ตูน มังกรเพลิง [19 ต.ค. 52 9:06] ( IP A:124.120.187.93 X: )
ความคิดเห็นที่ 122
   สุดยอดครับโม่

เข้าใจความรู้สึกเวลาหาข้อมูลเลย ว่ามันเหนื่อยใจแค่ไหน

นับถือจริงๆ ครับ

ข้อมูลมีประโยชน์มาก และสามารถประยุกต์ใช้กับปลาได้หลายชนิดเลยทีเดียวครับ
โดย: ป_ปลาระเบิด(เกร็ดกระจาย) [19 ต.ค. 52 11:02] ( IP A:124.121.180.59 X: )
ความคิดเห็นที่ 123
   ขอบคุณมากครับ
สุดยอดกระทู้แห่งปี
โดย: pakphong@gmail.com [19 ต.ค. 52 11:09] ( IP A:117.47.167.135 X: )
ความคิดเห็นที่ 124
   อ่านเเล้วทึ่งครับ ผลงานขั้นสุดยอดแห่งความรู้
โดย: pup [19 ต.ค. 52 11:28] ( IP A:58.8.202.120 X: )
ความคิดเห็นที่ 125
   ขอบคุณครับ สุดยอดเลยคงเหนื่อยน่าดู
โดย: เก่ง คลองสาม [19 ต.ค. 52 11:30] ( IP A:125.25.112.38 X: )
ความคิดเห็นที่ 126
   ยอดเยี่ยมเลยครับ smile
โดย: ลุงมังกร [19 ต.ค. 52 11:41] ( IP A:125.24.70.90 X: )
ความคิดเห็นที่ 127
   ยอดเยี่ยมมาก ๆ ครับ

เรียกว่าเป็นหนึ่งในสุดยอดกระทู้แห่งปีจริง ๆ ครับ


ขอเก็บเข้า FAQ นะครับ และเชื่อว่า..ต้องเป็นกระทู้ที่ถูกอ้างอิงมากที่สุดกระทู้หนึ่งอย่างไม่ยากเลย


ยอดเยี่ยม ยอดเยี่ยม ยอดเยี่ยมครับ

โดย: ปิติ (เจ้าบ้าน ) [19 ต.ค. 52 12:44] ( IP A:58.9.173.132 X: )
ความคิดเห็นที่ 128
   หนึ่งในกระทู้สุดยอดแห่งปีแน่นอนครับ

ครบถ้วน เนื้อหาแน่น ได้ทุกแง่มุม

สุดยอด สุดยอด สุดยอด

เทพเสือตอตัวจริงครับ

^_________^
โดย: bta_crazy [19 ต.ค. 52 13:04] ( IP A:203.155.247.225 X: )
ความคิดเห็นที่ 129
   สงสัยมานานแล้วครับเกี่ยวกับปลาตัวนี้


ขอบคุณมากๆเลยครับ
โดย: ztar127 [19 ต.ค. 52 14:54] ( IP A:125.25.159.44 X: )
ความคิดเห็นที่ 130
    สุดยอดมาก เยี่ยมไปเลยครับโม่
โดย: ShOwA [19 ต.ค. 52 15:20] ( IP A:58.64.112.43 X: )
ความคิดเห็นที่ 131
   ***** แน่น นุ่ม ลึก สุดยอดจริงๆครับ *****
โดย: PLA WANG-DANG [19 ต.ค. 52 15:54] ( IP A:118.173.98.117 X: )
ความคิดเห็นที่ 132
   สุโค่ยยยยยยย
โดย: phatphon [19 ต.ค. 52 16:03] ( IP A:119.42.125.136 X: )
ความคิดเห็นที่ 133
    ในความเห็นที่ 41 ที่ว่าไม่ควรใช้เกลือร่วมกับยาแก้อักเสพ ด้วยเหตุผลที่ว่าจะไปลดทอนประสิทธิภาพของยาแก้อักเสพ

ในประเด็นนี้คุณพี่ต้น(รอฟ)ให้ความกระจ่างว่า ถึงแม้เกลือจะลดประสิทธิภาพของยาแก้อักเสพจริง แต่ก็เพียงเล็กน้อนเท่านั้น
และเกลือยังมีประโยชน์ในการรักษามาก สรุปว่าใส่เกลือร่วมด้วยมีผลดีกว่าไม่ใส่ครับ ประมาณว่า
"โม่เอ้ย! ยามันลดปสิทธิภาพไปเอ็งก็ใส่ยาเพิ่มหน่อยซิแค่นั้นจบ"
ขอบคุณพี่ต้นมากครับ ^_^
โดย: mofish_6 [19 ต.ค. 52 16:09] ( IP A:112.142.22.71 X: )
ความคิดเห็นที่ 134
   ข้อมูลลึกมากครับ เยี่ยมจริงๆครับ
โดย: อีกาตัวดำๆ [19 ต.ค. 52 17:38] ( IP A:210.213.58.143 X: )
ความคิดเห็นที่ 135
   สุดยอดมากครับ
โดย: kapomguy [19 ต.ค. 52 18:52] ( IP A:124.122.138.72 X: )
ความคิดเห็นที่ 136
   สุดยอดมากครับ เนื้อหาแน่จริงๆ เยี่ยมมากครับคุณโม่
โดย: Ton Lucky [19 ต.ค. 52 18:57] ( IP A:58.8.45.21 X: )
ความคิดเห็นที่ 137
   ขอบคุณ คุณโม่ มากครับ แจ๋วจริงๆ ทำให้ได้รู้เรื่องเสือตอ แทบจะกระจ่างเลยครับ

ปลาที่เอามาจากคุณโม่ ตอนนี้ต้องให้เพื่อนไปเลี้ยงต่อครับ เพราะพี่ท่าน ดุเหลือเกิน และรับประทาน แบล็คโกส ขนาดยาว 6" ได้

ขอให้มีความสุขกับชีวิตคู่นะครับ
และมีกระทู้ที่ดีๆ แบบนี้อีกนะครับ

เก๋ บางกรวย

โดย: ratsachai@yahoo.co.th [19 ต.ค. 52 20:54] ( IP A:61.90.88.59 X: )
ความคิดเห็นที่ 138
   มีคนสุดยอดอย่างพี่ ทำให้มือใหม่อย่างผมได้ความรู้เพียบเลยครับ
โดย: สุดยอดพี่ [20 ต.ค. 52 11:17] ( IP A:203.154.79.200 X: )
ความคิดเห็นที่ 139
   ขอแสดง ความนับถือ อย่างยิ่ง
โดย: ตั้ม [20 ต.ค. 52 20:58] ( IP A:125.24.133.185 X: )
ความคิดเห็นที่ 140
   ขอแสดงความเคารพอย่างยิ่ง
โดย: เด็กบางบอน [21 ต.ค. 52 9:39] ( IP A:124.157.153.189 X: )
ความคิดเห็นที่ 141
   เก่งจริงๆครับคุณโม่

ขอแสดงความยินดีด้วยครับ ^^
โดย: Nix [22 ต.ค. 52 15:19] ( IP A:61.19.66.187 X: )
ความคิดเห็นที่ 142
   ขอบคุณทุกลายละเอียดที่พี่โม่ตั้งใจทำให้กับทุกๆคน
โดย: jcpl30@hotmail.com [22 ต.ค. 52 23:13] ( IP A:58.9.27.214 X: )
ความคิดเห็นที่ 143
   สุดยอดครับพี่โม่ รู้สึกได้ถึงความตั้งใจทำกระทู้นี้อย่ามากเลยครับ นับถือจริงๆครับ
โดย: เอกสิทธิ์ [24 ต.ค. 52 11:17] ( IP A:202.57.133.247 X: )
ความคิดเห็นที่ 144
   ขอบคุณครับ
โดย: บอย ปืนโต [28 ต.ค. 52 10:12] ( IP A:203.155.125.178 X: )
ความคิดเห็นที่ 145
   ขอบคุณครับพี่โม่ บทความดีมากมากเลย
ยังไงก็ขอให้มีความสุขในชีวิตคู่นะครับ
โดย: ฟ่อน [28 ต.ค. 52 19:09] ( IP A:222.123.232.121 X: )
ความคิดเห็นที่ 146
   ขอบคุณครับ คุณโม่สำหรับบทความดีๆที่ให้
โดย: มิ้งค์ [31 ต.ค. 52 14:59] ( IP A:58.9.47.211 X: )
ความคิดเห็นที่ 148
   ับ คุณโม่สำหรับบทความดีๆที่ให้
โดย: มิ้งค์ [31 ต.ค. 52 14:59] ( IP A:58.9.47.211 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน