สงสัยดับแล้วกลับมาอีก
   
คำบริกรรมของสายวัดมหาธาตุ
เมื่อโกรธก็ให้บริกรรม โกรธหนอ ฯลฯ แล้วมันจะดับไปเอง. แต่มันไม่ดับขาด
มันเกิดความโกรธขึ้นใหม่ ต้องทำอย่างไรจึงดับแบบสมุทเฉทประหาร

โดย: เจริญรัตน์ [30 ม.ค. 60 9:21] ( IP 49.230.198.188 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   

ตอบ คุณเจริญรัตน์

   เมื่อกำหนดภาวนา แล้วความโกรธดับไป นั้นเป็นการดับชั่วคราวครับ

จนกว่าปฏิบัติธรรมบรรลุธรรม มรรคญาณ  รอบที่ 3 คือบรรลุถึง พระอนาคามีมรรค ครับ ความโกรธก็จะไม่เกิดขึ้นอีกเป็น สมุทเฉทประหาร ครับ

โดย: vicha [30 ม.ค. 60 14:08] ( IP A:183.88.63.149 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   
คำสอนว่า ให้พิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โดย
ความเป็นปฏิกูล ให้ทำช่วงไหนคะ

โดย: เจริญรัตน์ [31 ม.ค. 60 10:43] ( IP 49.230.192.181 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   

ทำได้ตลอด ตามเหมาะสมครับ

   กรรมฐานหลักก็ปฏิบัติ กรรมฐานอื่นๆ ค่อยเอาเสริมได้ครับ

 

โดย: เจ้าบ้าน [1 ก.พ. 60 10:23] ( IP A:183.88.37.138 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   
ขณะทำวิปัสสนา มีผู้รู้กับ สิ่งที่ถูกรู้ ตอนอยู่ในวัดคอยตั้งรับ ดูว่าอะไรจะเกิด เช่น ร้อนหนอ หิวหนอฯลฯ เมื่ออยู่ในชีวิตประจำวัน เราต้องเป็นฝ่ายรุก
เช่น จะกินอะไรดี ต้องวางใจอย่างไรให้เป็นวิปัสสนา

โดย: เจริญรัตน์ [2 ก.พ. 60 17:19] ( IP 49.230.192.109 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   

เมื่อมีความนึกคิดในชีวิตประจำวัน ก็ต้องดักด้วยสติรู้เท่าทัน ที่เป็นปัจจุบันนั้นๆ โดยไม่ต้องภาวนา ตามรูปแบบ

 ในพระอรรถกถา จึงกล่าวไว้ว่า...

          สติ       มีหน้าที่ ดัก หรือจับ

          สมาธิ   มีหน้าที่  หยุดนิ่ง เป็นหนึ่ง

          ปัญญา  มีหน้าที่  ตัด ดับกระแสกิเลิส

 

 

โดย: เจ้าบ้าน [3 ก.พ. 60 10:08] ( IP A:183.88.57.140 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   
ตอนอยู่วัด มีคนสอบอารมณ์ 2 คน
เมื่อปวดบริกรรมปวดหนอ เฝ้าดูด้วยความอดทน ไม่ได้บริกรรมอดทนหนอ
ตอนไปสอบอารมณ์ แม่ชีบอกดูจิตไม่ละเอียด ต้องมีความไม่พอใจอยู่ด้วย
แต่อีกคนบอก ดีแล้วเห็นความปวดอย่างเดียว
โทสะไม่แทรก
ท่านอาจารย์มีความเห็นอย่างไร

โดย: เจริญรัตน์ [9 ก.พ. 60 13:10] ( IP 49.230.192.122 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   

ยิ้ม...   ให้สังเกตุดูที่

  1.มีสติเป็นปัจจุบันขณะ สัมปชัญญะสมบูรณ์

  2.ดัก หรือ จับ กระแสกิเลสได้ ไม่เพิ่มขึ้น  (ไม่ใช่เวทนา ที่กำลังเจ็บ หรือปวด) แต่หมายถึงความหวั่นไหว หรือเกิดลังเล หรือการชัดส่ายของใจ

   ส่วนจะบริกรรมอย่างใร ก็ได้ด้วยความเหมาะสมกับสภาวะที่เป็นนั้น

 

โดย: เจ้าบ้าน [10 ก.พ. 60 14:32] ( IP A:180.183.114.172 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   
ผู้บรรลุธรรม มรรคญาณ รอบที่1
มีอาการทางกาย หรือทางจิตอย่างไร

โดย: เจริญรัตน์ [17 ก.พ. 60 8:51] ( IP 49.230.195.173 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   

ผมจะยกเพียงพื้นฐานง่ายๆ อิงตามที่ศึกษามา  นะครับ

พระโสดาบันบุคคล.

   1.กล่าวถึงทางจิตใจก่อน.

     -ไม่มีจิตใจที่มีเจตนาผิดศีล 5 อย่างแน่นอน  แต่ยังทำผิดพลาดได้อยู่ ตัวอย่างเช่นทำให้สัตว์อื่นตายโดยไม่มีเจตนาฆ่า 

     - เข้าผลสมาบัติแห่งตนได้  ก็เหมือนดั่งนั่งสมาธิ จนสงบนิ่งจนทิ้งอารมณ์ความรู้สึกหมดไป เมื่อออกมาจิตใจนั้นบริสุทธิ์ ไม่มีอารมณ์ปฏิคะ(ขุ่น) ไม่มีความไม่สบายใจสะสมจนไม่ทราบที่มาที่ไป แล้วมีอินทรีย์อ่อนในการงาน เป็นปกติสุขตามฐานะ.

    2.กล่าวถึงทางกาย  ไม่พึงไปประมาณในกิริยา หรือรูปลักษณ์ แต่พึงสังเกตุได้อย่างหนึ่ง คือ เมื่อโกรธจัด ไม่ด่าด้วยคำหยาบคาย หยาบโลน จนของขึ้นแบบหน้าแดงกล้ำ ตัวสั่น  หรือเข้าไปทำร้ายผู้อื่น

       แต่ผู้ที่โกรธ ขุ่นโกรธ จนหน้าแดงตัวสั่น พูดจาโวยวายเสียงดัง แต่ไม่ประกอบด้วยคำแช่งด่า หยาบคาย หยาบโลน และไม่เข้าไปทำร้ายผู้อื่นทางกาย จะกล่าวว่า อย่างนี้่ต้องไม่ใช่พระโสดาบัน ก็ไม่ได้.

       ดังนั้น ทางกาย จึงไม่พึงประมาณได้ ยกเว้นเมื่อโกรธหรือปฏิคะเกิด แล้วแช่งด่า อย่างหยาบคายและหยาบโลน แต่ไม่เข้าไปทำร้าย หรือเข้าไปทำร้ายผู้อื่นด้วยความโกรธ  ก็ถือได้ว่าไม่เป็นอริยะชน.

 

 

 

โดย: เจ้าบ้าน [17 ก.พ. 60 10:13] ( IP A:183.88.39.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   
มีคนถามพระไว้ค่ะ
เขาบอกว่าการเจริญสติไม่ได้ช่วยให้ความโกรธลดลงเลย เขามีสติรู้ว่าความโกรธค่อยๆเพิ่มขึ้น
มีสติแล้วไง
พระบอกเมื่อรู้เกิด มันมาแทนโกรธ โกรธก็ดับไป
ดิฉันว่าพลังจิตต่างหาก ที่ทำให้กิเลสครอบงำไม่ได้
โดยการทำสมาธิให้ได้ขั้นสูง
ท่านอาจารย์มีความเห็นอย่างไร

โดย: เจริญรัตน์ [20 ก.พ. 60 21:42] ( IP 49.230.195.50 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   

ยิ้มๆ...

   ความโกรธ ตามธรรมชาติ เมื่อเกิดขึ้น ย่อมตั้งอยู่ แล้วบรรเทาลง ดับไปเป็นธรรมดา แม้เราไม่ต้องไปทำอะไรมัน เพียงแค่หลีกเลี่ยงสภาวะหรือสถาณการณ์ที่ก่อให้เกิด หรือกำลังโกรธ นั้น  เป็นเรื่องของธรรมชาติอยู่แล้ว 

    แต่ด้วยทิฏฐิและความยึดมั่นถือมั่นนั้นแหละ จึงเข้าไปหา หรืออยู่กับความโกรธนาน หรือก่อให้โกรธอยู่บ่อยๆ 

และผมเคยกล่าวในความเห็นก่อนแล้ว การละ การดับกิเลสนั้น (ราคะ โทสะ โมหะ) ไม่ใช้เพียงสติอย่างเดียว ต้องประกอบด้วย 3 อย่างเมื่อกล่าวโดยรวม คือ สติ สมาธิ ปัญญา ดังนี้

      สติ      มีหน้าที่ ดัก หรือ จับ

      สมาธิ   มีหน้าที่ หยุด หรือ ให้หยุดนิ่งเป็นหนึ่ง

      ปัญญา  มีหน้าที่ ตัด หรือ ดับ กระแส กิเลส

แต่เมื่อกล่าวเป็น พละ ก็จะกลายเป็น พละ 5 ที่ทำให้เจริญขึ้่น คือ 1.สติ 2.สมาธิ 3.ปัญญา 4.ศรัทธา 5.ความเพียร ในการปฏิบัติธรรม.

 

 

 

 

 

โดย: เจ้าบ้าน [21 ก.พ. 60 10:07] ( IP A:14.207.40.251 X: )
คลิก เพื่อเปลี่ยนกลับไปแสดงความคิดเห็นแบบเดิม

ชื่อไฟล์รูปห้ามมีอักขระพิเศษ เช่น (#),(<),(>),(&) เป็นต้นค่ะ
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน