ไม่ก้าวหน้า แถมเหมือนจะถอยหลัง
|
ความคิดเห็นที่ 1 สวัสดีครับคุณ กิ๋ง
ก่อนที่จะรู้ว่า พระอริยะเป็นอย่างไร ต้องทำความเข้าใจคำว่า นิพพานคืออะไรก่อนนะครับ
นิพพาน คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ ความหมดสิ้นกิเลสนั้นเอง
ดัีงนั้นพระอริยะทั้งแต่เบื้องต้น ตั้งแต่พระโสดาบันเป็นต้นไป ย่อมเป็นผู้มีกิเลสน้อย และทิฏฐิมานะน้อยลงไปตามลำด้บ จึงถึงพระอรหันต์
จิตของปุถุชนย่อมเีรียนรู้ย่อมเรียนแบบ กันเป็นธรรมดา ดังนั้นโดยส่วนมากคบกับบุคคลเช่นใด จิตก็จะมีทิศทางพฤติกรรมคล้่ายกันกับผู้คบหรือชื่นชอบเป็นธรรมดา
ดังนั้นคบหรือชมชอบกับบุคคลที่มีโทสะ แสดงโทสะอยู่เนื่องๆ โดยส่วนมากก็ย่อมเป็นผู้มีโทสะภายในใจอยู่เนื่องๆ และแสดงออกบ่อยๆ เนื่องๆ เช่นกัน และเช่นเดียวกันคบหรือชมชอบผู้ที่แสดงทิฏฐิมานะ อยู่บ่อยๆ เนื่องๆ โดยส่วนมากก็ย่อมเป็นผู้มีทิฏฐิมานะภายในใจ และแสดงออกมา เนื่องๆ เช่นกัน จึงควรคบแต่ผู้มีธรรมที่แท้จริง จึงมีความเจริญทางธรรมและเ็ป็นปกติสุขครับ. | โดย: vicha (เจ้าบ้าน ) [5 ก.พ. 56 9:33] ( IP A:183.89.148.153 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 แจ่มแจ้งครับ ขอบคุณครับ | โดย: กิ๋ง [5 ก.พ. 56 13:57] ( IP A:101.51.16.133 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 หากไม่นำอาการที่แสดงออกของหลวงพ่อมาพิจารณา หลักการ และ วิธีการเอาตามแนว พระไตรปิฎก ถือว่าถูกหรือไม่ครับ หรือ ควรผ่อนตามยุค หรือ คุณวิชาคิดว่าอย่างไร | โดย: กิ๋ง [9 ก.พ. 56 19:55] ( IP A:101.51.3.240 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 สวัสดีครับคุณ กิ๋ง
ธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่ประเสริฐละเอียดสุขุมลุ่มลึก นะครับ
แต่เมื่อออกจากปากและพฤติกรรมที่ไหลไปตามกิเลสของปุถุชน ย่อมเศร้าหมองด้วยคำด้วยกิเลสที่ปนเปื่อนอยู่นั้นเป็นธรรมดา
ผมยังจำได้คำพูดของหลวงพ่อรูปหนึ่ง ทำนองนี้ว่า "ธรรมของพระพุทธเจ้าที่ออกจากปากของปุถุชน(ที่กำลังมีกิเลสปะทุอยู่) ก็ย่อมกลายเป็นธรรมของปุถุชนนั้น"
หมายเหตุ หมายถึงปุกุชน ทั่วๆ ไป ไม่ได้เจาะจง | โดย: vicha (เจ้าบ้าน ) [11 ก.พ. 56 9:43] ( IP A:180.183.243.235 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 5 ข้อนี้ชักจะไม่ค่อยเห็นด้วยครับ หรือ ผมอาจจะตีความไม่ลึกไม่แน่ใจ ตามความเข้าใจของผม ถึงใครจะพูดหากพูดถูก(ตามหลักความจริง) หรือตรง(ตามพระไตรปิฎก)มันก็คงความจริง(เช่นไฟร้อน หากนักโทษประหารพูดว่าไฟร้อน ย่อมจริง) | โดย: กิ๋ง [11 ก.พ. 56 11:41] ( IP A:101.51.7.23 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 6 ยิ้มๆ... ดีแล้วครับสิ่งใดที่ยังไม่เข้าใจแจ้ง ก็กล่าวว่าไม่เข้าใจแจ้ง.
ต้องทำความเข้าใจเป็น 2 มิติ คือ
1.บัญญัติ 2.ทิฏฐิ(ความเห็นความเข้าใจ)
- บัญญัติ นั้นมีหลายระดับธรรมที่ลาดลึกและละเอียดปรานิตไปตามลำดับ จากผู้แจ่มแจ้งเห็นจริงแล้ว ย่อมเป็นจริงตามนั้นเมื่อปฏิบัติบรรลุสมบูรณ์ ตย. เช่น ปฐมฌาน ต้องพ้นจากนิวรณ์ 5 และประกอบด้วยองค์ฌาน 5 คือ วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข อุเบกขา
- ทิฏฐิ(ความเห็นความเข้าใจ) ย่อมต่างกันระหว่างบุคคลที่บรรลุปฐมฌานแล้ว กับ บุคคลที่ยังไม่เคยสัมผัสปฐมฌาน ดังนั้น บุคคลที่ไม่เคยสัมผัสกับปฐมฌาน เมื่อกล่าวถึงปฐมฌาน ก็ย่อมไหลไปตามทิฏฐิแห่งตนที่ไม่เคยสัมผัสปฐมฌานนั้นเอง แม้จะเอาบัญญัติที่ผู้แจ่มแจ้งแล้วบัญญัติไว้แล้วก็ตาม ก็จะเป็นการแสดงปฐมฌาน ตามความคิดเห็นของตนเท่านั้น ย่อมคลาดเคลื่อนบ้าง ย่อมเจือปนทิฏฐิแห่งตนบ้าง ทำให้เรื่อง ปฐมฌาน ที่ผู้นั้นบอกกล่าวไม่บริสุทธิ์สมบูรณ์นั้นเอง
ส่วนผู้ที่ได้สัมผัสปฐมฌานมาแล้ว เมื่อยกบัญญัติที่ผู้แจ่มแจ้งแล้วในปฐมฌานบัญญัติไว้ ก็ย่อมแสดงความเห็นป็นเนื้อเดียวกับบัญญัตินั้น ที่เป็นหลักสำคัญ พร้อมกับประสบการณ์ตรงที่ได้ปรากฏ ย่อมไม่คลาดเคลื่อนและเป็นเนื้อเดียวกัน มีทิฏฐิตรงกันในธรรมบัญญัตินั้น | โดย: vicha (เจ้าบ้าน ) [12 ก.พ. 56 9:50] ( IP A:183.89.157.51 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 7 สาธุ | โดย: aom [12 ก.พ. 57 11:36] ( IP A:110.169.179.207 X: ) |  |
|