YoungGolfPro.pantown.com
บทความ...น่ารู้ <<
กลับไปหน้าแรก
ครีมกันแดด จำเป็น และ เป็นจริง แค่ไหน
"ครีมกันแดด" เป็นหนึ่งในสิ่งจำเป็นของคนสมัยใหม่ ที่เชื่อว่าจะช่วยป้องกันรังสียูวี ซึ่งเป็นต้นเหตุของริ้วร้อยและโรคมะเร็งผิวหนัง แต่เรารู้จักสิ่งนี้ดีแค่ไหน และโฆษณาที่อวดอ้างสรรพคุณมากมาย มีความเป็นจริงหรือไม่
วันนี้มีผลการทดสอบผลิตภัณฑ์กันแดด ทั้งประเภทครีม โลชั่นและสเปรย์ ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT ทดลองไว้มาฝากผู้อ่าน หลังจากที่ห่างหายไปนานพอสมควร การทดลองครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจผลิตภัณฑ์กันแดดในท้องตลาดมีค่า SPF ที่แท้จริงเท่าไหร่ และมีประสิทธิภาพในการกันน้ำ ตามที่แจ้งไว้บนฉลากหรือไม่ โดยมีอาสาสมัครอุทิศแผ่นหลังและท้องแขน เพื่อการทดลองประมาณ 10 -14 คน ต่อหนึ่งผลิตภัณฑ์
จากการทดสอบพบว่า ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มีค่า SPF ใกล้เคียงกับที่กำหนดไว้บรฉลาก หรือไม่ก็มีมากกว่า อย่างไรก็ตาม มีผลิตภัณฑ์ 3 ชิ้นที่มีค่า SPF ต่ำกว่าที่แจ้งไว้ และ 1 ในนั้นมีค่า SPF ไม่ถึงครึ่งของที่แจ้งไว้ โดยที่ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่เหลือประสิทธิภาพในการกันแดดมากกว่าร้อยละ 50 ภายหลังที่ผิวหนังถูกน้ำตามรายละเอียด ดังนี
1. นีเวีย - Nivea Sun Moisturising Sun Spray SPF 15
ค่า SPF ที่วัดได้เมื่อผิวหนังแห้ง คือ 16.9
% ของค่า SPF ที่เหลือเมื่อผิวถูกน้ำ คือ 65 %
นีเวีย - Nivea Sun Soin Hydratant Lait Protecteur 20
ค่า SPF ที่วัดได้เมื่อผิวหนังแห้ง คือ 23.7
% ของค่า SPF ที่เหลือเมื่อผิวถูกน้ำ คือ 61 %
2. บู๊ทส์ - Boots Soltan Moisturising Sun Care Lotion SPF 15
ค่า SPF ที่วัดได้เมื่อผิวหนังแห้ง คือ 15.2
% ของค่า SPF ที่เหลือเมื่อผิวถูกน้ำ คือ 70 %
3. เทสโก้ - Tesco Sun Protection 15 Mediium SPF
ค่า SPF ที่วัดได้เมื่อผิวหนังแห้ง 12
% ของค่า SPF ที่เหลือเมื่อผิวถูกน้ำ คือ 69 %
4. Marks & Spencer Sun Formula Moisturising Lotion SPF 15
ค่า SPF ที่วัดได้เมื่อผิวหนังแห้ง 7.1
% ของค่า SPF ที่เหลือเมื่อผิวถูกน้ำ คือ 92 %
5. เอวอน - Avon Bronze SPF 15 Sensitive Sun Lotion Spray
ค่า SPF ที่วัดได้เมื่อผิวหนังแห้ง 18.1
% ของค่า SPF ที่เหลือเมื่อผิวถูกน้ำ คือ 85 %
6. การ์นีเย่ - Garnier Ambre Solaire Moisturising Protection Milk SPF 15
ค่า SPF ที่วัดได้เมื่อผิวหนังแห้ง 16.3
% ของค่า SPF ที่เหลือเมื่อผิวถูกน้ำ คือ 80 %
การ์นีเย่ - Garnier Solaire clear Protect SPF 15
ค่า SPF ที่วัดได้เมื่อผิวหนังแห้ง 18.7
% ของค่า SPF ที่เหลือเมื่อผิวถูกน้ำ คือ 83 %
การ์นีเย่ - Garnier Solaire clear Protect SPF 20
ค่า SPF ที่วัดได้เมื่อผิวหนังแห้ง 18.1
% ของค่า SPF ที่เหลือเมื่อผิวถูกน้ำ คือ 86 %
7. ลอรีอัล - Solar Expertise Advanced anti-ageing Sun Protection Lotion SPF 15
ค่า SPF ที่วัดได้เมื่อผิวหนังแห้ง 15.8
% ของค่า SPF ที่เหลือเมื่อผิวถูกน้ำ คือ 80 %
ลอรีอัล - Solar Expertise Lait Solaire Protection Avance SPF 20
ค่า SPF ที่วัดได้เมื่อผิวหนังแห้ง 18.3
% ของค่า SPF ที่เหลือเมื่อผิวถูกน้ำ คือ 81 %
ลอรีอัล - Solar Expertise Lait brumiseur Protection Avance SPF 20
ค่า SPF ที่วัดได้เมื่อผิวหนังแห้ง 27.8
% ของค่า SPF ที่เหลือเมื่อผิวถูกน้ำ คือ 54 %
8. ร็อค - ROC Minesol Lait Spray SPF 20
ค่า SPF ที่วัดได้เมื่อผิวหนังแห้ง 27.3
% ของค่า SPF ที่เหลือเมื่อผิวถูกน้ำ คือ 60 %
9. Vichy Capital Soleil Lait Gel SPF 20
ค่า SPF ที่วัดได้เมื่อผิวหนังแห้ง 18.1
% ของค่า SPF ที่เหลือเมื่อผิวถูกน้ำ คือ 51 %
ที่มา: มติชน
โดย: webmaster (เจ้าบ้าน
) [8 ธ.ค. 51 10:45] ( IP A:58.9.101.205 X: )
ความคิดเห็นที่ 1
ไขข้อข้องใจ เรื่องผลิตภัณฑ์กันแดด
โดย รศ.ดร.พิมลพรรณ พิทยานุกูล
- หลักการเลือกครีมกันแดด
1. ผู้ที่ทำงานในอาคารและเดินทางโดยไม่ต้องถูกแสงแดดมาก เช่น ขับรถส่วนตัวหรือนั่งรถไฟฟ้า สามารถทาครีมกันแดด SPF 6 - 14 หรือไม่อาจจำเป็นต้องทาเลยด้วยซ้ำไป
2. ผู้ที่ต้องเดินทางนอกสถานที่เป็นประจำ ควรเลือกครีมกันแดด SPF ระหว่าง 15 - 29
3. ผู้ที่ไปเที่ยงกลางแจ้ง ควรทาครีมกันแดดที่มี SPF สูงๆ แต่พวกค่า SPF 130 ถือว่าไม่มีความจำเป็น ทั้งนี้ อย.ของสหรัฐรับรองครีมกันแดดค่า SPF สูงสุดที่ SPF 50 เท่านั้น
- ปริมาณการใช้ที่เหมาะสม
ควรเน้นทาให้ทั่วใบหน้าหรือลำตัว ทั้งนี้ ตามหลักวิชาการระบุว่า ควรทาครีมกันแดดหนาประมาณ 2 มิลลิกรัมต่อ 1 ตร.ซม. นอกจากนี้ ควรทาทิ้งไว้ก่อนออกแดดนาน 15 - 30 นาที และควรทาซ้ำทุก 2 - 3 ชั่วโมง
- การที่โฆษณาระบุว่า ควรทาครีมกันแดดแม้ในวันที่ไม่ต้องถูกแดด จริงหรือเท็จอย่างไร
งานวิจัยพบว่าหลอดไฟมีรังสียูวีเอ ซึ่งส่งผลต่อการเกิดริ้วรอยบนใบหน้า อย่างไรก็ตาม แสงจากหลอดไฟถือเป็นความเสี่ยงที่ต่ำมาก เมื่อเทียบกับปัจจัยอื่นๆ เช่น ความเครียด มลภาวะ การรับประทานอาหาร ดังนั้น จึงไม่ควรใส่ใจมากเกินไป เชื่อว่าผู้ขายคงต้องการขายสินค้าให้ได้มากๆ เท่านั้น
การทาครีมกันแดดมากเกินไปเป็นประจำ อาจสร้างปัญหาใหม่ คือ การสะสมสารเคมีที่ผิวหนัง
- การที่โฆษณาระบุว่า ผลิตภัณฑ์ที่มี "ไลโปโซม" จะช่วยพาครีมสู่ผิวหนังชั้นนอก ทำให้เนื้อครีมไม่หลุดง่ายนั้น จริงหรือเท็จอย่างไร
เรื่องนี้ไม่เป็นความจริง เพราะไลโปโซมเป็นเทคโนโลยี ที่มีจุดประสงค์ในการนำส่งตัวยาหรือสารอาหารเข้าสู่ผิวหนัง แต่ไม่มีความจำเป็นในแง่ของเครื่องสำอาง เนื่องจากไลโปโซมคงตัวได้ไม่ดีและมักสลายตัวระหว่างการเก็บรักษา
- ไทเทเนียมออกไซด์และซิงค์ออกไซด์ ที่เป็นส่วนผสมในสารกันแดด มีอันตรายหรือไม่
สารทั้ง 2 ชนิดถูกจัดอยู่ในประเภทปลอดภัย ทำหน้าที่สะท้อนรังสียูวีออกจากผิวหนัง โดยการเคลือบผิวหนัง และสามารถล้างออกได้โดยการล้างหน้าหรืออาบน้ำ อย่างไรก็ตาม อย.อนุญาตให้ใส่สารทั้ง 2 ชนิดได้ไม่เกิน 25 %
ที่มา: นิตยสาร "ฉลาดซื้อ" ฉบับที่ 93 โดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เขียนโดย กองบรรณาธิการ
โดย: webmaster (เจ้าบ้าน
) [8 ธ.ค. 51 10:52] ( IP A:58.9.101.205 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
สารกันแดดแบบไหนที่เหมาะกับผิวเด็กและผู้ใหญ่
กว่า 70 ปี ที่นักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้นสารกันแดด และ มีการนำมาใช้ทาผิวหนังเพื่อป้องกันแดดเผา ปัจจุบันมีการพัฒนาให้ใช้ทาเพื่อป้องกันมะเร็งผิวหนังเนื่องจากรังสีดวงอาทิตย์ และยังป้องกันไม่ให้ผิวหนังเสื่อมเร็วหรือแก่ก่อนวัยจากการทำลายเซลผิวโดยรังสียูวี อย่างไรก็ตามจากสถิติของสถาบันมะเร็งของประเทศสหรัฐอเมริกาก็พบว่าผู้ที่ป่วยด้วยมะเร็งผิวหนังไม่ได้ลดจำนวนลงแม้จะมีการใช้สารกันแดดอย่างมากมายเช่นในปัจจุบันก็ตาม
สารกันแดดถูกวิจัยพัฒนาขึ้นเพื่อให้ครอบคลุมการกรองรังสีดวงอาทิตย์ทุกชนิดให้มากที่สุด โดยหลักใหญ่ ๆ จะแบ่งเป็นสาร 2 กลุ่มคือ สารเคมีกลุ่มอินทรีย์ (Organic sunscreens) และ สารกลุ่มอนินทรีย์ (Inorganic sunscreens) ทั้งสองกลุ่มมิได้มาจากธรรมชาติแต่ถูกสังเคราะห์ขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์
สารเคมีกลุ่มอินทรีย์ มิได้หมายถึงมาจากธรรมชาติแต่ในที่นี้หมายถึงในโมเลกุลประกอบด้วยคาร์บอนด์และไฮโดรเจน สารเคมีกลุ่มนี้จะละลายได้ดีในตัวทำละลายบางชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแอลกอฮอล โดยทั่วไปจะเรียกสารกันแดดกลุ่มนี้ว่า สารกันแดดเคมี (Chemical sunscreens)
ส่วนกลุ่มอนินทรีย์มักจะถูกเรียกว่า สารกันแดดกายภาพ (Physical sunscreens) ทั้งนี้เพราะสารกลุ่มนี้จะมีลักษณะเป็นผงแป้งละเอียด สีขาว จะไม่ละลายน้ำหรือในตัวทำละลายใด ๆ จึงอาจจะเรียกว่าเป็นสารกันแดดกายภาพ ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักในแป้งฝุ่นโรยตัวเด็กและแป้งฝุ่นแป้งแข็งแต่งหน้าของผู้หญิงนั่นเองแต่มีความละเอียดมากกว่าเมื่อถูกนำมาใช้เป็นสารกันแดด
สารกันแดดทั้งสองกลุ่มมีประสิทธิภาพแตกต่างกันและมีกลไกการกันรังสีดวงอาทิตย์ที่แตกต่างกัน สารกันแดดกลุ่มอินทรีย์มีประสิทธิภาพสูงในการดูดซับรังสีดวงอาทิตย์เฉพาะรังสียูวีเท่านั้นในช่วงคลื่นระหว่าง 280-365 นาโนเมตร ส่วนสารกันแดดอนินทรีย์ คือ ไทเทเนียมไดออกไซด์ และ ซิงค์ออกไซด์ (มีเพียง 2 ชนิดเท่านั้น) มีกลไกกันรังสีดวงอาทิตย์ระหว่างช่วงคลื่น 260 - 700 นาโนเมตร จึงป้องกันได้ทั้งรังสียูวี ที่คนเราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า และรังสีหรือแสงแดดที่เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าโดยวิธีการสะท้อนรังสีออกจากผิวหนังทันทีที่ตกกระทบ นับได้ว่าสารกันแดดกลุ่มนี้มีประสิทธิภาพครอบคลุมการกันแดดได้ดีกว่า
ผู้ใหญ เด็ก ควรเลือกแบบไหนดี?
สารกลุ่มกายภาพคือ ไทเทเนียมไดออกไซด์และซิงค์ออกไซด์ ปลอดภัยกว่าสำหรับทุกเพศและวัย เพราะไม่ทำให้ผิวหนังระคายเคือง เหมาะอย่างยิ่งในการใช้กับผิวเด็ก และผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย นอกจากนั้นยังพบว่าการที่สารกลุ่มนี้สามารถกันรังสีดวงอาทิตย์ได้ช่วงคลื่นกว้างมาก จึงป้องกันผิวหนังได้ดีกว่า
ส่วนสารกลุ่มเคมีหรือสารกลุ่มอินทรีย์ ด้วยความที่เป็นสารเคมีที่ต้องละลายในแอลกอฮอล์และน้ำมัน ทำให้ผู้ที่มีผิวแพ้ง่ายเกิดระคายเคืองได้ง่าย และอาจมีการสะสมตามผิวหนังได้เมื่อใช้เป็นประจำทุกวัน ดังนั้น แพทย์ผิวหนังจึงไม่แนะนำให้ใช้กับเด็กเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผลิตภัณฑ์ในรูปแบบของ สเปรย์ และ เจลกันแดด เพราะทั้งสองชนิดจะมีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมในปริมาณสูง
สำหรับเด็กทารกวัย 6-12 เดือน ไม่ควรทาสารกันแดดเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้นำทารกในวัยนี้ไปรับแดดนั่นเอง แต่หากจำเป็นก็ไม่ควรอยู่นานเกิน 15 นาที และควรใช้สารกันแดดกลุ่มกายภาพหรืออนินทรีย์คือ ไทเทเนียมไดออกไซด์จะปลอดภัยกว่า
อายุของครีมกันแดด
หากมีครีมกันแดดที่เก่าเก็บ ไม่ควรนำมาใช้เช่นเดียวกับเครื่องสำอางทั้งหลายที่เก่าเก็บ เพราะสารกันแดดโดยเฉพาะอย่างยิ่งสารกันแดดกลุ่มเคมีมักจะสลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน ประสิทธิภาพจะหมดหรือลดน้อยไปด้วย
วิธีใช้ที่ถูกต้อง
เมื่อต้องการทากันแดด ควรทาทิ้งไว้บนผิวหนังประมาณ 15-20 นาทีก่อนไปออกแดด เพื่อให้สารกันแดดเกาะติดกับผิวหนัง หากไปสถานที่แดดจัดมาก เช่น ทะเล ควรเลือกครีมกันแดดที่มีประสิทธิภาพกันแดดสูง โดยดูจากค่า เอสพีเอฟ (SPF) ค่าเหล่านี้จะหมายถึงความสามารถของผลิตภัณฑ์ในการป้องกันรังสีดวงอาทิตย์ได้นานกี่นาที เช่น เอสพีเอฟ 2 หมายถึงกันแดดได้นาน 2x15 นาที หรือ เอสพีเอฟ 15 จะสามารถป้องกันแดดได้นาน 15x15 = 225 นาที
ที่มา: วารสารฉลาดซื้อ ฉบับที่ 54(เขียนโดย รศ.ดร.พิมลพรรณ พิทยานุกุล คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล)
โดย: webmaster (เจ้าบ้าน
) [9 ธ.ค. 51 15:47] ( IP A:58.9.103.91 X: )
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน