ความคิดเห็นที่ 1 แล้วต้นนี้ล่ะครับ
| โดย: ชลิต [23 เม.ย. 54 20:21] ( IP A:58.9.62.165 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 โทษทีครับ ต้นที่ 2 เสือพรานสามสี ต้นที่จะถามต้นนี้ครับ
| โดย: ชลิต [23 เม.ย. 54 20:22] ( IP A:58.9.62.165 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 ต้นที่ 1 กับต้นที่ 3 ต้นไหนคือเสือพรานครับ ต้นที่ไม่ใช่เสือพรานชื่อต้นอะไรครับ รบกวนผู้รู้ด้วยครับ | โดย: ชลิต [23 เม.ย. 54 20:26] ( IP A:58.9.62.165 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 ต้นที่ 1 ขันหมากชาวเหนือ ครับ
ต้นที่ 3 เสือพราน ครับ
รอฟังท่านอืนดูบ้างนะครับ | โดย: jo [23 เม.ย. 54 22:15] ( IP A:1.46.137.254 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 5 -- ลักษณะพิเศษของเสือพรานอย่างหนึ่งก็คือ กาบยาวมากกว่าครึ่งใบขอบใสและต้องเป็นสีขาว ส่วนดอกต้องอ้วนและใบเอี้ยวครับ อย่างเสือพรานสามสีในรูปที่2 (จากข้อสังเกตุส่วนตัวพบว่า เสือพรานที่มาจากเกาะบอร์เนียว ผิวใบด้านหน้าใบจะมีลักษณะเป็นกำมะหยี่ มากกว่าทางด้านเกาะสุมาตราครับซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของไม้ชนิดนี้ เพราะอโกลนีมานอกนั้นจะมีผิวมันเกือบหมด) ส่วนต้นที่3 ถ้าเป็นทรงพุ่มใบเยอะหนาแน่น ลำต้นไม่ทิ้งใบ (เสือพรานจะทิ้งใบล่างง่ายครับและมีทรงเหมือนต้นมะพร้าว) ซึ่งสวยกว่าต้นแม่ ต้นนี้อาจจะเป็นลูกไม้ของลุงอรุณ สวนตากับยายก็ได้ครับ ตันนี้มีเม็ดด้วย งั้นรออีกนิดครับ ถ้าเม็ดไม่ติดละก็ ของลุงแกครับ | โดย: ลุงติ๊ด [24 เม.ย. 54 6:58] ( IP A:125.24.40.226 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 6 ขอบคุณ คุณโจ และ ลุงติ๊ดนะครับ แต่ผมยังงงๆ ผมเลยถ่ายรูปทรงต้นของต้นที่ 1 มาให้ช่วยดูอีกทีครับ ว่าเป็นอะไรแน่ ส่วนต้นที่ 3 อาจเป็นลูกไม้ของลุงอรุณ เพราะเสือพรานไม่มีทรงต้นอย่างในภาพใช่ไม๊ครับลุงติ๊ด
| โดย: ชลิต [24 เม.ย. 54 20:34] ( IP A:58.9.200.226 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 7 -- ขออภัยอย่างแรงพิมพ์ตกไป ขอแก้คำผิดใน คห.5 ก่อนครับ ต้องเขียนว่า "กาบใบต้องยาวเกินครึ่งหนึ่งของก้านใบ มีสีขาวและขอบกาบต้องใส"(ขาวเฉพาะกาบ ไม่ใช่ทั้งก้าน) -- ส่วน คห.6 คงเป็นเสือพรานครับ เพราะว่าลักษณะต้องตามตำรา ที่ว่าไว้ -- ดีใจกับ คุณชลิต ด้วยครับที่เสาะหาจนได้สมใจหวัง เพราะว่าเสือพรานของผมที่คุณชลิตเคยถามไว้ ตอนนี้เหลือแค่ใบเดียว ถูกหนูแทะยอดหมดเลย โชคดีครับ | โดย: ลุงติ๊ด [25 เม.ย. 54 5:25] ( IP A:118.174.98.38 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 8 --ผมขออนุญาตนำรูปในคห.6 ไปลงในห้องทะเบียนประวัติไม้ กระทู้ที่246ด้วยครับ (รูปเดิมไม่เคลียร์) | โดย: ลุงติ๊ด [25 เม.ย. 54 5:47] ( IP A:118.174.98.38 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 9 --ผมขออนุญาตนำรูปในคห.1และคห.6 ไปลงในห้องทะเบียนประวัติไม้ กระทู้ที่245และ246ด้วยครับ (รูปเดิมไม่เคลียร์) | โดย: ลุงติ๊ด [25 เม.ย. 54 6:18] ( IP A:118.174.98.38 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 10 ขอบคุณครับ ลุงติ๊ด เรื่องรูปไม่มีปัญหาครับ | โดย: ชลิต [25 เม.ย. 54 8:51] ( IP A:124.121.253.179 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 11 --ได้คุยกันกับ อ.พงษ์ ว่าไม้ในรูปแรกกับรูปในคห.6 ทำไมผมถึงเชื่อว่าเป็นเสือพราน เพราะว่าดูแล้วรูปร่างของใบมันออกจะยาวไปหน่อย แต่ถ้าเป็นเสือพรานอินโด ขอบใบก็เรียบไป ไม่มีหยักเป็นลอนให้เห็น และอีกประการหนึ่งก็คือถ้่ายังไม่เห็นเกษรก็อาจเป็นลูกไม้ได้เช่นกัน ต้องยอมรับนับถือ อ.พงษ์อย่างยิ่งครับที่ให้ข้อสังเกตุนี้ เหตูที่ผมรีบบอกว่าใช่ก็เพราะ 1.ลักษณะตรงตามที่ตำาราว่าไว้ 2.ดินและกระถางที่ใช้ปลูก ดูแล้วเหมือนการปลูกไม้ทั่วไป ไม่ใช้กาบมะพร้าวและกระถางดำอย่างสวนไม้ประดับที่ทำเพื่อการค้า ก็เลยทำให้เชื่อได้ว่าน่าจะเป็นไม้เดิมๆ ซึ่งอาจจะผิดก็ได้ (ภาษาการโฆษณาบอกว่า โปรดใช้วิจารณญาณ) | โดย: ลุงติ๊ด [25 เม.ย. 54 20:55] ( IP A:125.24.81.230 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 12 --นึกได้ว่าเคยเห็นรูปไม้ต้นนี้ ในหนังสือสารานุกรมไม้ประดับในประเทศไทยเล่ม2 พ.ศ.2524 เค้าอธิบายว่า เขียวหมื่นปีชนิดนี้ ลักษณะใบเป็นรูปใบหอก ปลายใบเอี้ยวบิด หูใบกาง พื้นใบสีเขียวแก่อมเทา มีประป้ายส้เขียวอ่อนอมเทาอยู่ทั่วทั้งแผ่นใบ ที่บริเวณกลางแผ่นใบจะมีประป้านแต้มหนาแน่นดูคล้ายลวดลายเครื่องแบบของเสือพราน ขนาดใบกว้าง1/2ของความยาวของแผ่นใบ ท้องใบมีสีเขียวอ่อนเรียบ ก้านใบสีเขียวกลมรี มีร่องใต้ฐานใบเล็กน้อย ก้านยาว1/2ของแผ่นใบ ส่วนที่เป็นกาบยังคงห่อลำต้น ลำต้นเป็นข้อปล้องถี่พองาม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง3/4นิ้วหรือโตกว่าเล็กน้อย ก้านดอกยาวเท่ากับก้านใบ ก้านแท่งเกษรโผล่เหนือกาบ มีกาบหุ้มดอกสีเหลืองดอกจำปา ผลเมื่ออ่อนดีเขียว จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด และจะกลายเป็นสีแดงสดเมื่อสุก ไม้ต้นนี้มีถิ่นกำเนิดในมาเลเซีย และสุมาตรา มีลักษณะพิเศษตรงที่มักแตกหน่อใต้ดินเป็นกกกอ ดูรูปที่แนบมา ลักษณะใบจะเ้หมือนกันเลยใช่ไหมครับ
| โดย: ลุงติ๊ด [25 เม.ย. 54 21:19] ( IP A:125.24.81.230 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 13 --รูปเล็กต้นแรกคือเสือพรานสามสี ส่วนอีกต้นหนึ่งคือ กวักเงินพม่า หรือ หม่องเล (ชื่อทีเรียกกันทางเชียงใหม่) ซึ่งตอนนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aglaonema pumilum Hooker f. แยกออกจากกลุ่มเสือพรานอย่างชัดเจนแล้วครับ | โดย: ลุงติ๊ด [25 เม.ย. 54 21:31] ( IP A:125.24.81.230 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 14 หว่า ต้องรอดูดอกหรือครับ อ.พงษ์ เมื่อไหร่จะได้เห็นละครับนี่ผมเลี้ยงไม่ค่อยเก่งซะด้วยซิ และดูจากลำต้นแล้วไม่เห็นรอยของช่อดอกเดิมเลย คงต้องรอดูต่อไป อนาคตไม่มีอะไรแน่นอนครับ ขอบคุณทุกความเห็นครับ จะใช่ไม่ใช่ ก็เลี้ยงต่อไปครับ คนมันรักไปแล้วครับ
| โดย: ชลิต [25 เม.ย. 54 21:37] ( IP A:58.9.220.56 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 15 แล้วต้นนี้ละครับ
| โดย: tton_14@hotmail.com [26 เม.ย. 54 8:08] ( IP A:180.183.9.214 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 16 ต้นนี้ไม่เคยเห็น รอคำตอบจากผู้รู้ด้วยคนครับ | โดย: ลุงติ๊ด [26 เม.ย. 54 9:38] ( IP A:125.24.80.41 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 17 คห.ที่ 15 น่าจะเป็น"อินทรีย์หยก"(เขียวหมื่นปี+อินทรีย์ผยอง)ครับ | โดย: พงษ์ [27 เม.ย. 54 16:02] ( IP A:124.120.233.193 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 18 ขอบคุณครับ อ.พงษ์ , ลุงติ๊ด | โดย: tton_14@hotmail.com [28 เม.ย. 54 7:51] ( IP A:180.183.10.23 X: ) |  |
* ขณะนี้พี้นที่เต็ม ไม่สามารถโพสต์กระทู้เพิ่มได้ *
|