เครื่องรีดขึ้นรูปโลหะ งาน Wire way
   

เครื่องรีดขึ้นรูปโลหะ งาน Wire way วายเวย์

Wire way


วันนี้เราในฐานะผู้ผลิตเครื่องจักรสำหรับงานรีด ชิ้นงานรางวายเวย์ ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ เครื่องรีดขึ้นรูป สำหรับรีดชิ้นงาน รางวายเวย์ ค่ะ

ความหมาย….

รางวายเวย์ รางไวเวย์ รางไฟ รางเหล็ก เป็นชื่อทั่วไป ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของอุปกรณ์เดินสายไฟฟ้า สายโทรศัพท์ ภายในอาคาร

ซึ่งผู้ผลิต wire way จะนำเอาแผ่นเหล็กมาตัดตามความยาว 8 ฟุต หรือ 4 ฟุต แล้วพับเป็นรางพร้อมฝาครอบ

โดย: www.jiracentre.com (เจ้าบ้าน ) [31 ก.ค. 56 23:41] ( IP A:182.52.52.206 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 2
   

ข้อกำหนดสำหรับงานรางเดินสายไฟ

• จำนวนสายที่มีกระแสไหลในรางเดินสายต้องไม่เกิน 30 เส้น สายไฟฟ้าในวงจรสัญญาณหรือวงจรควบคุมระหว่างมอเตอร์
กับสตาร์ทเตอร์ที่ใช้เฉพาะช่วงเวลาสตาร์ทมอเตอร์ ไม่ถือว่าเป็นสายที่มีกระแสไหล

• พื้นที่หน้าตัดของตัวนำและฉนวนทุกเส้นในรางเดินสายรวมกันไม่เกิน 20 % ของพื้นที่หน้าตัดภายในรางเดินสาย

• กรณีที่สายที่มีกระแสไหลในรางเดินสายเกิน 30 เส้นให้ใช้ตัวคูณลดกระแสเรื่องจำนวนสาย แต่พื้นที่หน้าตัดรวมฉนวน
ของสายทุกเส้นภายในรางเดินสายรวมกันต้องไม่เกิน 20 % ของพื้นที่หน้าตัดภายในรางเดินสาย

• อุปกรณ์ ไฟฟ้า รายวายเวย์ เดินสายต้องใช้งานในที่เปิดโล่งเท่านั้น ต้องสามารถเข้าถึงได้หลังจากติดตั้งแล้ว ถ้าเป็นชนิดใช้ภายนออาคาร
ต้องกันฝนได้ และไม่ใช้ในที่ที่มีอันตรายทางกายภาพ การติดตั้งรางเดินสายต้องมีการจับยึดที่มั่นคงแข็งแรง ทุกระยะห่างกันไม่เกิน 1.50 เมตร

และไม่อนุญาตให้ต่อรางเดินสาย ณ จุดที่ผ่านผนังหรือพื้น และไม่ใช้รางเดินสายเป็นตัวนำสำหรับต่อลงดิน

โดย: www.jiracentre.com (เจ้าบ้าน ) [31 ก.ค. 56 23:49] ( IP A:182.52.52.206 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   

รางวายเวย์ที่ได้จากเครื่องรีดขึ้นรูป

รางวายเวย์จะมีส่วนประกอบด้วยกัน 2 ส่วนคือ Body และ Cover ปกติผู้ผลิตจะผลิตความยาวตามมาตรฐานที่กล่าวมาข้างต้นคืออยู่ที่ 2.4 - 4 เมตร

แต่หากในความเป็นจริง การนำไปใช้งานนั้น ความยาวอาจจะเป็นร้อยๆ เมตรก็ได้ จึงต้องมีส่วนที่ใช้เชื่อมต่อกันที่เรียกว่า Joiner

โดยที่ตัวชิ้นงานด้านหัวหรือท้ายของ body จะทำการเจาะรูหรืออาจจะมีส่วนที่ยื่นออกมาสำหรับยึดเจ้า Joiner


ดังนั้น เครื่องจักรสำหรับผลิตรางวายเวย์จึงไม่ใช่แค่เครื่องรีดขึ้นรูปเพียงอย่างเดียวจำเป็นต้องมีระบบปั๊มรูเกิดขึ้น

หากจะนำชิ้นงานที่พับหรือขึ้นรูปแล้วมาใช้คนหยิบเข้าเครื่องเจาะรูจะทำให้เสียเวลาและแรงงานโดยไม่จำเป็น

จึงต้องมีการติดตั้งระบบ Puncher ไปด้วยเพื่อให้จบสิ้นกระบวนการในเครื่องเดียว เป็นการทำงานแบบ In line คือเจาะรู และรีดขึ้นรูปไปพร้อมๆ กัน

จะช่วยลดเวลาและต้นทุนการผลิตลงได้หลายเท่าตัวค่ะ

โดย: www.jiracentre.com (เจ้าบ้าน ) [31 ก.ค. 56 23:52] ( IP A:182.52.52.206 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   

กระบวนการผลิตรางวายเวย์ จากเครื่องรีดเหล็ก

วัสดุที่นำมาใช้นิยมใช้เป็นเหล็ก coil จะไม่ใช้แบบที่เป็นแผ่นตัดแล้วมาเข้าเครื่องรีด ขั้นตอนการผลิตรางวายเวย์มีดังนี้ค่ะ

โดย: info@jiracentre.com (เจ้าบ้าน ) [1 ส.ค. 56 14:14] ( IP A:49.48.193.44 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   

1. Uncoiler

ขั้นตอนแรกเริ่มจากเครื่องคลายม้วน นำวัสดุ coil มาผ่านตัวปล่อยม้วนคอยส์ หรือ uncoiler ชื่อภาษาไทยเรียกว่า เครื่องคลายม้วน นั่นเอง

2. Leveller

เมื่อปล่อยวัสดุออกมาจากม้วน เป็นปกติที่วัสดุที่ถูกม้วนทิ้งไว้ มักจะมีความโค้งคงค้าง อยู่ในตัวมัน หากเป็นการรีดขึ้นรูปธรรมดาจะไม่มีปัญหา

แต่ถ้าต้องการปั๊มรู วัสดุที่โค้งๆ จะไม่สามารถสอดผ่านแม่พิมพ์เพื่อเข้าไปปั๊มรูได้ เพราะฉะนั้นเราจะต้องทำให้มันเหยียดตัวออก

เครื่องที่จะทำให้ชิ้นงานหรือวัสดุเหยียดตัวได้เรียกว่า leveller ตัวปรับระดับให้เรียบในระดับที่เข้าไปปั๊มรูได้

3. Feeder

เมื่อถูกปรับระดับให้เรียบพร้อมเข้าไปปั๊มรูปได้แล้ว ก็จะต้องเข้าไปสู่เครื่องที่ทำหน้าที่ป้อนชิ้นงานเข้าสู่แม่พิมพ์ปั๊มรู

การป้อนชิ้นงานเข้าสู่เครื่องปั๊มรู จะต้องมีความแม่นยำสูง ค่าความผิดพลาดที่จิราฯ ยอมรับปกติอยู่ที่ อย่างน้อย + ไม่เกิน 0.2 mm

จากนั้นตัว Feeder จะเป็นตัวป้อนเข้าสู่แม่พิมพ์ปั๊มรู เพื่อปั๊มรูในขั้นตอนต่อไป

โดย: info@jiracentre.com (เจ้าบ้าน ) [1 ส.ค. 56 14:22] ( IP A:49.48.193.44 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   

4. Puncher

เมื่อตัว Feeder ป้อนชิ้นงานเข้าสู่แม่พิมพ์ปั๊มรู เครื่องปั๊มรูปก็จะทำหน้าที่กดรู ตัว feed ก็จะฟีดไปเรื่อยๆ ทีนี้เราก็จะได้ชิ้นงานแผ่นเรียบที่มีรูพร้อมที่จะเอาไปขึ้นรูป

โดย: info@jiracentre.com (เจ้าบ้าน ) [1 ส.ค. 56 14:23] ( IP A:49.48.193.44 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   


5. Rollformer

เมื่อได้ชิ้นงานแผ่นเรียบพร้อมเจาะรูแล้ว จากนั้นชิ้นงานจะถูกดึงต่อไปทันทีเพื่อเข้าเครื่องรีด เครื่องรีดจะทำหน้าที่ของมัน

นั่นก็คือ forming ตัวชิ้นงานให้ได้แบบที่ลูกค้าต้องการหรือตามแบบที่กำหนด


โดย: info@jiracentre.com (เจ้าบ้าน ) [1 ส.ค. 56 14:25] ( IP A:49.48.193.44 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   

6. Cutter

เมื่อขึ้นรูปได้เรียบร้อย ชิ้นงานก็จะไปสู่กระบวนการสุดท้าย คือกระบวนการตัดตามความยาวที่ระบุไว้ ด้วยมีดและแม่พิมพ์ตัด

7. Controller

ซึ่งระบบนี้จะลิงค์ต่อกันทั้งหมดของทุกๆ ตัวในเครื่องรีด ซึ่งก็จะมี Uncoiler - Leveller - Feeder Puncher - Rollformer และ Cutter

ทั้งหมดนี้จะถูกลิงค์ความเร็วเข้าด้วยกันทั้งหมดด้วย Controller

เมื่อจบกระบวนการตัดเรียบร้อยแล้ว เท่ากับชิ้นงานนั้นจบ จะได้ชิ้นงานที่ออกมาตามแบบค่ะ

โดย: info@jiracentre.com (เจ้าบ้าน ) [1 ส.ค. 56 14:31] ( IP A:49.48.193.44 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
   

Speed ของเครื่องจักร , ปริมาณการผลิต

ความเร็วของเครื่องรีดปกติอยู่ที่ประมาณ 8-15 เมตร/นาที จะขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบเวลาในการผลิตชิ้นงานจากเครื่องรีดให้เห็นชัดเจนดังนี้นะคะ

เครื่องรีดวิ่งด้วยความเร็ว 12 เมตร/นาที หากชิ้นงานที่ต้องการยาว 2.40 เมตร ภายใน 1 นาทีคุณจะได้ชิ้นงาน 5 ชิ้น

และเมื่อเทียบกับงานพับจะเห็นได้ว่าความเร็วในการผลิตสูงขึ้นหลายเท่าตัวทีเดียว

ผู้ที่อยู่ในวงการผลิตรางวายเวย์ในปัจจุบันที่ยังใช้วิธีพับจะเข้าใจได้ชัดเจนว่า ต้นทุนการผลิตลดลงเป็นอย่างมาก

โดยเทียบจากจำนวนชิ้นงานต่อวันที่ได้เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ซึ่งในขณะเดียวกันกลับใช้ Operator (คน) ทำงานน้อยลง (เมื่อเทียบกับเครื่องพับ)

แต่สิ่งที่ให้คำนึงเสมอเมื่อเทียบกับ line การผลิต จากเครื่องพับมาเป็นเครื่องรีด หากมีการนำชิ้นงานไปเข้าสู่กระบวนการผลิตอื่นๆ ที่ต่อเนื่อง

เช่น ทำสี…. จะต้องเร่งความเร็วให้ทันกับชิ้นงานที่ได้จากเครื่องรีดไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหาคอขวดขึ้น

คือจะมีชิ้นงานจากเครื่องรีดรอผลิตขั้นตอนต่อไปอย่างมากมาย

โดย: info@jiracentre.com (เจ้าบ้าน ) [1 ส.ค. 56 14:32] ( IP A:49.48.193.44 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
   ข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับ เครื่องรีดเหล็ก ดูเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์หลักของบริษัทค่ะ
https://www.jiracentre.com
โดย: info@jiracentre.com [4 ส.ค. 56 23:28] ( IP A:180.183.84.107 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
   
ขอทราบราคาเครื่องรีดวายเวย์
โดย: Mansruang [5 พ.ย. 63 9:48] ( IP A:124.122.92.13 X: )
คลิก เพื่อเปลี่ยนกลับไปแสดงความคิดเห็นแบบเดิม

ชื่อไฟล์รูปห้ามมีอักขระพิเศษ เช่น (#),(<),(>),(&) เป็นต้นค่ะ
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน