ความคิดเห็นที่ 1 ปลาเสือตอนั้น มีขายมานานนม พอๆกับอายุของตลาดจตุจักรเลยก็ว่าได้ ความนิยม ก็มีขึ้นมีลง แล้วแต่ช่วงเวลา ขึ้นอยู่กับว่า ปลาชนิดใด จะโดนโปรโมทขึ้นมา เช่น จากการออกทีวี ออกรายการต่างๆ การส่งเสริมโดยกรมประมง ฯลฯ สำหรับผมนั้น เห็นวัฏจักรของปลาชนิดนี้มาหลายรอบหลายสมัยแล้ว มามองดูคนสมัยนี้ ที่เห่อๆกัน ก็นึกๆขำเหมือนกัน ปลาเสือตอ ตอนนี้ที่ค่อนข้างหายาก และมีราคาแพง เนื่องจากหลายปัจจัยเช่น กรมประมง เกิดฟิตจัดเอามากๆเลย ในเรื่องการจับปลาผิดกฏหมาย เลยทำให้มีคนใจกล้านำมาวางขายในตลาดน้อยมากๆ การประชุม ไซเตส ในประเทศไทย และการนำปลาไปออกรายการโดยให้ข้อมูลที่เกินจริง และเริ่มย่างเข้าหน้าหนาวซึ่งมีปลาน้อยอยู่แล้วตามธรรมชาติ และที่สำคัญที่สุด ก็คือ อินเตอร์เนตนี่เอง เป็นปัจจัยที่น่ากลัวที่สุด ในการสร้างกระแสครับ
| โดย: RoF [11 ธ.ค. 47 19:48] ( IP A:158.108.86.124 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 ดังนั้น ช่วงนี้เลยไม่เห็นมีปลาขายในตลาดเท่าใดนัก ที่มีก็เป็นปลาไม่สวย อาจเป็นเพราะมีของเข้ามาน้อยด้วยก็เป็นได้ เมื่อไรที่กระแสปลาชนิดนี้ลดน้อยลง คนเริ่มเบื่อ ประมงขี้เกียจจับ(อันนี้สำคัญ) ปลาก็จะมีให้เลือกมากขึ้น ราคาถูกลงไปเอง แต่มีข้อสังเกตุว่า ถึงแม้ปลาจะเยอะขึ้น และราคาถูกลงก็ตาม แต่ราคากลางๆ ก็ยังสูงขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีแนวโน้มจะลดลงเลย คงเป็นเพราะปลาชนิดนี้ยังเพาะพันธุ์ได้ไม่สำเร็จเท่าที่ควร ที่ทราบมา ก็สถานีประมงน้ำจืด นครสวรรค์ สามารถทำได้พอสมควร แต่ไม่มีเหตุผลที่จะเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน เพราะเป็นปลาผิดกฏหมายนั่นเอง และที่น่าเศร้าที่สุดก็คือ ปลาพ่อแม่พันธุ์ที่สถานี้ประมงใช้ ล้วนเป็นปลาเสือตอจากเขมร ที่ยึดมาจากพ่อค้าแม่ค้าปลาจากจตุจักรทั้งสิ้น หาใช่ปลาเสือตอไทยแท้ จากบึงบรเพ็ดไม่ สำหรับปลาไทยตัวนี้ มันสายไปมากแล้ว จึงจะคิดแก้ไขกัน ดังนั้น อย่าโดนหลอกกันอีกเลย ถ้ามีใครสักคนบอกว่าปลาของเขาเป็นเสือตอไทย
| โดย: RoF [11 ธ.ค. 47 19:55] ( IP A:158.108.86.124 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 สำหรับผมแล้ว การขายปลาเป็นเสมือนงานอดิเรก ยังไม่ถึงเป็นมืออาชีพเท่าใดนัก แต่ยังไม่รู้ว่าต่อไปจะเป็นอย่างไร เอาดีทางด้านไหน ก็ยังสับสนกับชีวิตอยู่ ส่วนปลาเสือตอนั้น ผมดีใจที่มีเพื่อนๆไว้ใจซื้อปลากับผม หรือให้ผมเลือกปลาให้ ปลาที่ผมนำมานั้น มาจากหลายร้าน และหลายคนส่ง ขึ้นอยู่กับว่าใครจะมีปลาเวลาไหน และสวยมากน้อยแค่ไหน หรือราคาเป็นอย่างไร ส่วนราคาที่ผมจะตั้งขาย จะยึดราคาขายปลีกปลาสวยในท้องตลาด หรือ ตามเวปที่มีคนมาโพสขายเป็นหลัก เงินใครๆก็อยากได้ ผมก็อยากได้ แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น ราคาปลาของเราจะต้องไม่ทำให้ใครเดือดร้อน หรือสมเหตุสมผลกับราคาตลาดหรือคุณภาพปลา อย่างไรก็ตามก็ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ซื้อเป็นหลัก ถ้าผู้ซื้อแฮปปี้กับตัวปลา และราคา คุยกันรู้เรื่อง การซื้อขายก็เกิด ยึดหลักง่ายๆแค่นี้ กำไร ผมเอาแน่ครับ ไม่เอาได้งัย ข้าวก็ต้องกิน หญิงก็ต้องเลี้ยง แถมยังต้องคอยมาตอบคำถามในเวปอีก เราจริงใจในเรื่องข้อมูลวิชากรทุกอย่าง ตลอดจนประสบการณ์ที่พร้อมจะถ่ายทอด มีแต่คนต้องการความช่วยเหลือแต่ไม่มีใครหยิบยื่นเงินให้ ดังนั้น ผมขายปลาเอากำไรดีกว่า และคิดว่าไม่แพงกว่าราคาทั่วๆไปด้วย ถูกใจไม่ถูกใจก็ขออภัยกันด้วยครับ
| โดย: RoF [11 ธ.ค. 47 21:28] ( IP A:158.108.86.124 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 อย่างที่ทุกท่านทราบกันดี เสือตอลายใหญ่ ผิดกฏหมาย (ลายคู่จริงๆควรจะผิดด้วยเพราะเป็นชนิดเดียวกัน แต่ประมงอนุโลม) ทั้ง สนธิสัญญาว่าด้วยการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ หรือ CITES บัญชีที่ 1 และกฏหมายประมงของไทย(ตอนเรียนก็ท่องจำอยู่) บางคนก็เป็นห่วงว่า การเลี้ยงเสือตอนั้น ยิ่งเป็นการส่งเสริมให้ปลาสูญพันธุ์มากขึ้นไปหรือเปล่า ขอให้เพื่อนๆลองมองปัญหาเหล่านี้ดู ปลาเสือตอสูญพันธุ์จากบึงบรเพ็ดได้อย่างไร จริงๆแล้ว บึงบรเพ็ดมีขนาดใหญ่มาก และเมื่อ 30 ปีที่แล้ว เรียกได้ว่า มีปลาชนิดนี้อยู่อย่างชุกชุม อย่าว่าแต่จะจับมาเลี้ยงเลยครับ จับกินกันไม่หวาดไม่ไหว ขายสดบ้าง ตากแห้งบ้าง ทำเค็มบ้างฯลฯ เป็นเรื่องปกติสำหรับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติทั่วๆไป แล้วมันหมดบึงได้อย่างไร? ใครมีความเห็นกันอย่างไรบ้างครับ ส่วนผมเอง มองว่า น่าจะเกิดจากการพัฒนาของประเทศ ความเจริญ เป็นศัตรูกับสิ่งแวดล้อมครับ ยิ่งในสมัยที่มีนายกฯทุนนิยมแบบนี้ด้วย ยิ่งน่าเป็นห่วง....... บ้านเรือนริมบึงเยอะขึ้น ปล่อยน้ำเสียลงไป บุกรุกบริเวณชุ่มน้ำ อันเป็นที่อนุบาลลูกปลา เอากระชังลงไปกาง เลี้ยงปลาต่างๆ ปลาสวายเอย ปลานิลเอย ปลาตะเพียนเอย นานๆเข้าก็หลุดลงไปขยายพันธุ์เต็มบึง แย่งอาหาร แย่งที่อยู่อาศัย แย่งอากาศหายใจ แย่งน้ำสะอาดฯลฯ จนถึงปัจจุบัน ถ้าท่านได้ไปบึงบรเพ็ด ท่านก็จะเห็นแต่ปลาพวกนี้ แถมกรมประมงยังอุตสาห์อนุรักษ์อีก ช่างไม่มีความคิดเสียนี่กระไร อนุรักษ์ ปลาสวาย เพื่อให้คนมาเที่ยว โยนขนมปัง......
| โดย: RoF [11 ธ.ค. 47 21:42] ( IP A:158.108.86.124 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 5 และการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของบึงบรเพ็ด โครงการขุดลอกพัฒนาบึงบรเพ็ด เพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยว คือการขุดหลุมฝัง ปลาชนิดนี้ ตลอดจนสิ่งมีชีวิตอีกหลายๆชนิด ให้สูญพันธุ์ไปอย่างถาวร.... นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร ฉลามหางไหม้ .... เนื่องจากปลาชนิดนี้ มีแหล่งการกระจายพันธุ์ที่น้อย การสูญเสียไปครั้งนี้ จึงเป็นการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่พอควร ที่ทำให้เกิดกฏหมายห้ามมีเสือตอไว้ในครอบครอง เกิดขึ้นในประเทศไทย เท่ากับปิดประตูรอดของปลาเสือตอไปอย่างถาวร ทำไมผมจึงพูดเช่นนั้น ผมคิดว่า การตั้งกฏหมายดังกล่าว ไม่ใช่การแก้ที่สาเหตุ เพราะสาเหตุ ไม่ได้อยู่ที่การจับมากเกินไปถึงแม้ว่าช่วงหลังๆจะมีการเก็บรวบรวมปลาขนาดเล็กจากบึงส่งเป็นปลาสวยงามขายทั้งใน และส่งออกก็ตาม แต่อย่างไรก็ไม่มีวันหมด ถ้าเรารู้จักบริหาร จัดการวางแผนการใช้ทรัพยากรให้มีระบบ และทำการศึกษา อนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยให้สมบูรณ์เหมาะสมแก่ปลาอยู่เสมอ แต่ปัญหา การบุกรุก การนำปลาต่างถิ่นมาเลี้ยง มาปล่อย การเปลี่ยนแปลงสภาพบึงอย่างถาวร กลับไม่มีคนไปออกกฏหมาย หรือช่วยอะไรได้เลย มันก็ยังคงเดินหน้าไปเรื่อยๆ ตามกระแสแห่งความเจริญ.....
| โดย: RoF [11 ธ.ค. 47 21:52] ( IP A:158.108.86.124 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 6 ซ้ำร้าย การออกกฏหมายห้ามเลี้ยง ห้ามเป็นเจ้าของ ห้ามทุกอย่าง มันก็เท่ากับเป็นการ ปิดหูปิดตาประชาชน จากข้อมูล ประสบการณ์ หรือทุกๆสิ่งเกี่ยวกับปลาตัวนี้ ยิ่งห้าม ก็ยิ่งมีคนสงสัย อยากรู้ อยากลองมากขึ้น แต่ก็ไม่มีข้อมูล ไม่มีความรู้ ไม่มีประสบการณ์ ทุกอย่างเหมือนอยู่ในเงามืด แค่คำว่า ผิดกฏหมาย คำเดียว ก็ร้ายแรงพอแล้วสำหรับนักเลี้ยงปลาทั่วๆไป ดังนั้น การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ข้อมูล หรือตัวปลา ย่อมไม่เกิด หรือเกิดขึ้นได้ยาก คนเลี้ยง ก็ขอเพียงแค่ว่า ได้มีปลาไว้สักตัว ได้เลี้ยงให้สะใจก็พอแล้ว ไม่ได้คิดอะไรให้มากกว่านี้มากนัก ทุกอย่างก็เลยไม่ได้พัฒนา และรอวันเสื่อมโทรมลง ดังนั้น การตั้งกฏหมายนี้ขึ้นมา ก็เหมือนกับเป็นการฝัง ปลาชนิดนี้ลงไปในเหวลึก ไม่ได้ช่วยในการอนุรักษ์ปลาชนิดนี้แต่อย่างใดเลย ผมไม่ได้พูดเกินจริง เพราะทุกๆท่าน ก็มองเห็นอยู่ว่าสถานการณ์ของปลาเสือตอทุกๆวันนี้ ดีขึ้นหรือแย่ลง ไม่เห็นมันมีอะไรดีขึ้นมาเลย มันก็แค่ปลาตัวนึง ที่รอวันจากไป ตามกฏการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (ที่มีมนุษย์เป็นส่วนนึงของธรรมชาติ)
| โดย: RoF [11 ธ.ค. 47 22:03] ( IP A:158.108.86.124 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 7 บ้านผมอยู่คอนหวันงับ ตอนเด็กๆเคย เห็นมานมาเยอะเหมืนกานน | โดย: book [11 ธ.ค. 47 22:09] ( IP A:61.90.64.76 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 8 ส่วนทางหน่วยงานรัฐฯนั้น ก็ยังทำอะไรไม่ได้นอกจากการเดินเบ่งตามร้านขายปลาในจตุจักร การล่อซื้ออย่างหน้าด้านๆ และการจับปลาของกลางไปขึ้นรถเหมือนกับเป็นสิ่งของชิ้นหนึ่ง ชุ่ย ไร้ความรับผิดชอบ ปลาตายจากการขนส่ง และการนำไปเก็บตั้งเท่าไรไม่มีใครรู้ ที่พอรู้ก็คือ เอาไปเซ่นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่อยากเลี้ยงปลาเสือตอกะเค้าบ้าง เอามาประดับตู้ไว้งั้นๆ เหมือนเฟอร์นิเจอร์มีราคา ที่เหลือก็ถูกส่งไปเก็บตามสถานีประมงต่างๆ แล้วแต่ใครจะขอ แล้วแต่โอกาส กระจัดกระจายกันไป ให้ชื่อว่า สถานีเรา ก็มีเสือตอ มันก็อยู่ในตู้ของมันเหมือนๆกับที่อยู่ในตู้ของพวกเรานั่นเอง จะรอคนมาศึกษาหรอ ยากส์ เพราะพวกเขามัวแต่เพาะปลาดุก ปลาตะเพียนกันอยู่เพื่อทำผลงานในสิ้นปี ไหนล่ะ การอนุรักษ์ มองไม่เห็นเลยครับ
| โดย: RoF [11 ธ.ค. 47 22:19] ( IP A:158.108.86.124 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 9 เสือตอลายใหญ่นั้น จะอาศัยอยู่ในบึงน้ำขนาดใหญ่ ลึก สะอาด น้ำคุณภาพสูง และนิ่ง ประกอบไปด้วยระบบนิเวศน์ที่หลากหลาย ทั้งน้ำลึก พื้นที่ตื้น แหล่งอนุบาลลูกปลา แหล่งเกิดอาหาร โดยเฉพาะกุ้งฝอย ฯลฯ ไม่สามารถอาศัยสืบพันธุ์ได้ในแม่น้ำลำคลองโดยทั่วๆไป และไม่สามารถอาศัยอยู่กับปลาหลายๆชนิดอื่นๆได้ พูดง่ายๆว่า ต้องการสถานที่เฉพาะตัวเลยทีเดียว อย่างเช่นในทะเลสาปเขมรตอนนี้ ความเจริญยังเข้าไปไม่ถึง ทะเลสาบมีขนาดใหญ่สุดหูสุดตา มีระบบนิเวศน์ และสภาพแวดล้อมที่ยังสมบูรณ์ บริสุทธิ์ ก็เลยยังจับกันได้เรื่อยๆ ไม่หมด เพราะปลาก็ผสมพันธุ์ออกลูกกันมาเรื่อยๆ ไข่ทีนึง ก็เป็นแสนๆฟอง รอดที ก็หลักร้อยหลักพัน จับกันแบบธรรมดาๆไม่หมดหรอกครับ แต่ไม่นานนัก ถ้าความเจริญเข้าไปถึง ตามรอยเดิมที่เกิดขึ้นในบ้านเรา ผลที่ตามมา เราคงเดาได้นะครับ มีโอกาสเจริญรอยตามเราได้มากเลย แต่ถ้าเค้าทำได้ดีกว่าเราล่ะครับ เราคงอายเขมรน่าดู
| โดย: RoF [11 ธ.ค. 47 22:36] ( IP A:158.108.86.124 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 10 หนทางข้างหน้าของเสือตอยังมืดมน ทุกวันนี้ คนหาเสือตอมาเลี้ยงกันอย่างบ้าเลือด แต่ละคนก็หวงปลาของตนเองอย่างกะอะไรดี คิดแต่เพียงว่า ปลาของเราต้องสวย ต้องเหลือง ต้องมีคนชม ต้องอยู่กะเรา ในตู้ของเรา แค่นี้ ไม่ได้คิดอะไรไปมากกว่านั้นเท่าใดนัก การตระหนักถึงคุณค่าของปลา ยังผิดทิศทางไป คือ ไปตระหนักใน มูลค่า ของตัวปลาแทน ไม่ได้มองถึงคุณค่าที่แท้จริง ของทรัพยากรธรรมชาติชนิดนี้เลย ซึ่งก็ไม่ผิดครับ ที่ทุกคนจะหวงแหนปลาสวยๆของตนเอง ผมเองก็เป็นเหมือนกัน แต่ขอให้ทุกท่าน หวงแหนปลาชนิดนี้ในฐานะสมบัติของโลกใบนี้ ไม่ใช่สมบัติของเราแต่เพียงผู้เดียว มีความรู้ มีประสบการณ์ มีเทคนิค มีวิธีการเลี้ยง วิธีการรักษาโรค วิธีการเลือกปลา หรือแม้แต่วิธีการเพาะขยายพันธุ์ หรือความรู้ใดๆอันเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม ก็ควรจะช่วยเหลือ เผยแพร่ ให้กับส่วนรวมบ้าง ไม่ใช่ หวงความรู้ งกวิชาซะหมด ทำได้อย่างนี้ก็วิเศษมากแล้วครับ ไม่ได้เสียหายหรือขาดทุนอะไรเท่าใดนัก ถึงแม้ว่าในหัวของคุณจะมีแต่เรื่องธุรกิจก็ตาม พวกเราทำได้เท่านี้จริงๆครับ คือการเปิดหูเปิดตา เปิดใจ ไม่ใช่ห้ามไปซะทุกอย่าง และไปปิดหูปิดตาคนอื่นซะอีกโดยที่ตัวเองก็ช่วยอะไรไม่ได้เลย อย่างนี้ยิ่งแย่ลงเรื่อยๆ ดูอย่างอโรวาน่า เป็นตัวอย่างครับ เชื่อว่าอีกไม่นานก็หลุด CITES อย่างถาวร ซึ่งแต่ก่อนเพาะยากนักยากหนา เดี๋ยวนี้มีเกลื่อนทั่วโลก เสือตอก็ไม่ใช่ปลาที่จุติจากสวรรค์ มนุษย์เรา เพาะได้แน่นอนครับ ขอให้ถึงวันนั้นเร็วๆ แต่อย่างไรก็ตาม กฏหมาย ยังเป็นเครื่องปิดกั้นการพัฒนาที่สำคัญยิ่งอยู่ เมือรัฐต้องการปิดหูปิดตาประชาชนในเรื่องนี้แล้ว รัฐเอง ก็ต้องแก้ปัญหาตรงนี้ให้ได้ ไม่ใช่ดีแต่จับ ขยายพันธุ์ก็ไม่ได้ อนุรักษ์ก็ไม่ได้ ทำอะไรก็ไม่ได้นอกจากเดินเบ่งตามร้าน กฏหมายมีมานานแล้วครับ ถ้ามีอะไรดีขึ้นบ้าง ก็คงดีไม่น้อย ฝากไว้ด้วยนะครับ ถ้าไม่ให้เราทำ ท่านก็ต้องทำให้ได้ | โดย: RoF [11 ธ.ค. 47 22:59] ( IP A:158.108.86.124 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 11 สำหรับผมเองนั้น การที่ได้มีโอกาสให้ความรู้กับทุกๆคน และชี้แนวทางที่เหมาะสมให้ ผมก็ดีใจมากแล้วครับ ผมเอง ก็ไม่ใช่คนดิบดีมาจากไหน ยังชอบเลี้ยงปลาตามใจตัวเอง ยังต้องการเงิน ยังต้องการ......ฯลฯ ที่ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา ไม่ได้บอกว่าผมดีกว่าคนอื่น ผมก็เหมือนๆคนอื่นทั่วไปครับ แค่มีโอกาสมากกว่าแค่นั้นเอง เลยอยากจะช่วยให้ได้มากที่สุด การห้าม ก็เหมือนการยุ มันเป็นวิธีการที่มักง่าย ไม่ต้องอาศัยความรู้ ไม่ต้องอาศัยประสบการณ์ ไม่ต้องอาศัยความรับผิดชอบ และมันมักจะไม่ได้ผล วิธีการที่ผมเลือก คือ การส่งเสริม ครับ แต่เราต้องส่งเสริมในสิ่งที่ถูกต้องจริงๆ ต้องอาศัยความรู้ ความอดทน ความรับผิดชอบ และเสี่ยงต่อการโดนประณามมาก ปลาก็ยังมีขายอยู่ ผมไม่เลี้ยงคนอื่นก็เลี้ยง แต่ผมไม่พูด ก็ไม่มีใครพูดเช่นกัน
แต่ผมก็คิดว่าแนวทางนี้ เหมาะสมที่สุดสำหรับคนเลี้ยงปลา คนเรียนเรื่องปลา คนทำงานเกี่ยวกับปลา และคนขายปลาคนนึงมากที่สุดแล้วครับ
| โดย: RoF [11 ธ.ค. 47 23:13] ( IP A:158.108.86.124 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 12 ฝากทุกท่านที่เลี้ยงปลาทุกๆชนิดด้วยนะครับ อย่างี่เง่า อย่าเห็นแก่ตัว ช่วยๆกันสร้างสรรค์ ช่วยกันให้ความรู้ แก่ทุกๆคนที่ต้องการ มองเห็นคุณค่าของปลาในแนวทางที่ถูกต้อง ไม่ใช่ เจอคนตกปลาสวาย ก็ไปหาว่าเค้าใจร้ายใจดำ ทำร้ายธรรมชาติ ฯลฯ แต่พอเห็นคนทิ้งขยะลงในแม่น้ำ กลับไม่กล้าเข้าไปต่อว่า อย่างนี้มันงีเง่าครับ ปลาสวายมีเยอะแยะเกินไปแล้ว เลิกให้ขนมปังมันได้แล้วครับ อย่าให้แม่น้ำของเรามีแต่ปลาสวายเลย มนุษย์เรา ไม่ควรไปยุ่งกับสมดุลธรรมชาติให้มากนัก โดยปราศจากความรู้ที่แท้จริง
บ่นมามากพอดูแล้วครับ ไปก่อนดีกว่า ไว้นึกอะไรได้อีกค่อยมาบ่นกันใหม่นะครับ ใครมีความเห็นอย่างไร ก็เข้ามาคุยกันครับ
บายยยยยยยยยยยยยย,,,,,,,,,,
| โดย: RoF [11 ธ.ค. 47 23:37] ( IP A:158.108.86.124 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 13 ดีครับ ไม่อยากให้เสือตอ เหลือแต่ตอ | โดย: วิน [11 ธ.ค. 47 23:50] ( IP A:210.86.131.249 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 14 ช่ายๆๆๆเห็นตั้งแต่ออกทีวีออกงานประกวดปลาหากันใหญ่เลย..แล้วก็เป็นห่วงว่าปลาจะตัวดําปลาจะไม่สวยแต่ไม่คิดกันเลยว่าปลาเสือตอนั้นนะเวลานี้เป้นยังไง..ผมก็เคยกลัวว่าปลาจะดําสนิทเส้นจะขาดแต่ผมก็รักจริงๆๆเลี้ยงมาก็นานแต่อดไม่ได้เลยอ่ะไปสวนที่ไรเห็นมุงกันซื้อเสือตอถามผมว่าตัวนี้เป็นไงตัวนู้นเป้นไงแต่เมื่อก่อนไม่เห็นเยอะกันขนานนี้เลย..แต่ถ้าคนที่ซื้อไปอยากได้จริงไม่ได้คิดว่าเลี้ยงไปตามเขาว่าเป้นปลาหาอยากหรือราคาแพง....แต่คุณเก็บเลี้ยงรักษาเขาเป็อย่างดีก็แล้วกัน | โดย: jAzztOwn [11 ธ.ค. 47 23:50] ( IP A:203.150.217.116 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 15 แจ๋วววววว....ไม่ทราบว่าไปโดนอะไรมาแต่อ่านดูแล้วรู้สึกดีครับ | โดย: Sucker [11 ธ.ค. 47 23:58] ( IP A:210.86.221.187 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 16 ตามมาอ่านแล้วครับ สำนวนคมคายถูกใจเหลือเกิน ผมก้อคนนึงล่ะที่รักปลาตชนิดนี้ ยังไงก้ออยากเห็นมันอยู่กะเราไปนานๆนะ | โดย: MeNaCe [12 ธ.ค. 47] ( IP A:161.246.1.34 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 17 เขียนได้ดีทีเดียวคับ ผมไม่ได้เลี้ยงมันเพราะว่ามันแพงหรือหายากหรอกคับ แต่ผมเป็นคนหนึ่งที่เลี้ยงเพราะอยากเลี้ยงจิงๆ เรื่องมันเกิดขึ้นหลังจากที่ผมทำปลาทองช็อคน้ำตายหมู่ 11 ตัว ตู้มันว่างๆเลยคิดๆดูว่าจะเลี้ยงอะไรดี คิดไปคิดมา เลี้ยงปลาประจำจังหวัดดีกว่า นั่นก็คือเจ้าเสือตอนั่นเองผมจึงเริ่มค้นหาเวบที่เกี่ยวข้องกะเจ้าเสือตอจนมาเจอเวบนี้ขอบอกเลยหน้ากระทู้เก่าๆผมไล่อ่านมาทุกหน้าแล้วคับ(เฉพาะปลาน้ำจืด) ตอนนี้เลยเลี้ยงแบบตั้งใจมากๆ จนพี่ ROF เตือนผมว่าอย่าวิตกจริตกะปลามันมากไปนัก คือที่ผมห่วงมันมากเพราะว่าข้อนึงคือมันหายาก ซึ่งเราไม่ควรทำมันตายเลย การที่เราเอามาเลี้ยงแบบปล่อยปะละเลยไม่ดูแล ไม่สังเกตุ มัน ผมว่าเลี้ยงแบบนี้เอาไปปล่อยดีกว่า ผมจึงตั้งใจเลี้ยงไม่ให้มันตายเหมือนอย่างปลาทองทั้ง 11 ตัว อีกข้อนึงคือ ผมอยากศึกษามันให้มากกว่านี้ อยากรู้อยากเห็น ตอนนี้จึงพยายามศึกษา เฝ้าดูพฤติกรรมของมันอย่างมาก จนดูว่าผมวิตกจริตมากๆ ปลาผิดแปลกไปจากเดิมนิดนึงก็ต้องถามผู้รู้ถามซักไซ้จนได้ความ ผมไม่ได้เรียนมาทางด้านนี้ และเมื่อก่อนผมไม่มีความคิดที่จะเลี้ยงปลาเลยด้วยซ้ำ ผมเป็นเด็กในโครงการพิเศษของ NECTEC ซึ่งผมสนใจแต่คอมพิวเตอร์ ซ่อม+ประกอบคอมไม่รู้กี่เครื่องต่อกี่เครื่อง แต่พอมาเลี้ยงปลา ผมกลับทำได้ไม่ดีทำปลาตายหมู่ ผมจึงคิดว่าเราควรจะตั้งใจเลี้ยงมากกว่านี้ ผมว่าเสือตอเป็นปลาที่เลี้ยงไม่ยากเลย ตายยากนะ มาอยู่กะผมได้ตั้งนานแล้วเหมือนกัน ยังไม่ตายเลย ซึ่งผมไม่มีความรู้เรื่องการเลี้ยงปลาเลย(ซักนิด) มาได้ความรู้ก็เพราะเข้าเวบนี้ไล่อ่านกระทู้ไล่หาเวบที่เกี่ยวข้องทำให้ผมพอมีความรู้ขึ้นมาบ้างพอที่จะเลี้ยงเจ้าพวกนี้ให้อยู่รอด ตอนนี้ผมรู้สึกว่าผมเริ่มผูกพันกะพวกมันจิงๆซ่ะแล้วสิ | โดย: Book [12 ธ.ค. 47] ( IP A:61.90.64.76 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 18 ผมว่ากฏหมายน่าจะมีข้อยกเว้นน่ะ อย่าง บัญชีที่ 1 ของไซเตสถ้ามีหลักฐานยืนยันว่าสามารถเพาะพันธุ์ได้ โดยดูจากจำนวนของลูกปลาในครอกเดียวกันต้องมีขนาดเท่ากันและมีจำนวนมากพอสมควร (ไม่ใช่ 2-3 ตัวแล้วบอกว่าได้จากการเพาะพันธุ์) ก็น่าจะเป็นการยืนยันว่าปลาชนิดนี้สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้และสามารถหลุดจากบัญชีที่ 1 ไปบัญชี 2 อะไรประมาณนี้น่ะครับ แต่ก่อนที่จะมีการแก้กฏหมายเพื่อให้คนทั่วไปสามารถมีครอบครองได้ คงต้องมีใครหรือกลุ่มคนที่หลบเลี่ยงกฏหมาย (ยอมทำผิดกฏหมาย) เพื่อจะมีพ่อแม่พันธุ์สำหรับเพาะปลาชนิดนี้ขึ้นมาก่อน เพราะว่ามันไม่ได้เกิดจากกระบอกไม้ไผ่ ผมว่าคุณ RoF น่าทำน่ะ เพาะได้แล้วก็เอามาขายพวกเราไง แล้วก็จดสิทธิบัติเอาไปกู้เงินได้ด้วย (รัฐเขาจัดให้) คิดเล่นๆน่ะครับ แต่ผมอยากให้เพาะได้จริงๆ | โดย: PooChin [12 ธ.ค. 47 2:27] ( IP A:202.57.168.182 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 19 ผมว่ากฏหมายน่าจะมีข้อยกเว้นน่ะ อย่าง บัญชีที่ 1 ของไซเตสถ้ามีหลักฐานยืนยันว่าสามารถเพาะพันธุ์ได้ โดยดูจากจำนวนของลูกปลาในครอกเดียวกันต้องมีขนาดเท่ากันและมีจำนวนมากพอสมควร (ไม่ใช่ 2-3 ตัวแล้วบอกว่าได้จากการเพาะพันธุ์) ก็น่าจะเป็นการยืนยันว่าปลาชนิดนี้สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้และสามารถหลุดจากบัญชีที่ 1 ไปบัญชี 2 อะไรประมาณนี้น่ะครับ แต่ก่อนที่จะมีการแก้กฏหมายเพื่อให้คนทั่วไปสามารถมีครอบครองได้ คงต้องมีใครหรือกลุ่มคนที่หลบเลี่ยงกฏหมาย (ยอมทำผิดกฏหมาย) เพื่อจะมีพ่อแม่พันธุ์สำหรับเพาะปลาชนิดนี้ขึ้นมาก่อน เพราะว่ามันไม่ได้เกิดจากกระบอกไม้ไผ่ ผมว่าคุณ RoF น่าทำน่ะ เพาะได้แล้วก็เอามาขายพวกเราไง แล้วก็จดสิทธิบัติเอาไปกู้เงินได้ด้วย (รัฐเขาจัดให้) คิดเล่นๆน่ะครับ แต่ผมอยากให้เพาะได้จริงๆ | โดย: PooChin [12 ธ.ค. 47 2:28] ( IP A:202.57.168.182 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 20 เป็นบทความที่ดีมากที่สุดบทความหนึ่งที่ผมเคยอ่านมาเลยนะครับ
ได้ใจ โดนใจไปหลาย ๆ ดอกเลยครับ
แจ๋วมากครับคุณRof | โดย: ปิติ [12 ธ.ค. 47 8:06] ( IP A:61.90.106.73 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 21 นี่สิลูกผู้ชายตัวจริง | โดย: อิงค์-ออม [12 ธ.ค. 47 9:42] ( IP A:203.172.59.251 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 22 บทความถูกใจมากครับ
อ้างจากคห.ที่4 คุณRoF เรียนจบมาจากที่ไหนครับ ไม่ทราบว่าที่เดียวกับผมหรือเปล่า (คณะประมง ม.เกษตรศาสตร์)
ผมเรียนจบมาเป็นสิบปีแล้ว(จบปี33)ไม่เคยได้ใช้ความรู้ที่เรียน ทำงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับประมงเลย แต่ชอบเลี้ยงปลาครับ | โดย: oui [12 ธ.ค. 47 11:10] ( IP A:203.147.20.42 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 23 บทความถูกใจมากครับ
อ้างจากคห.ที่4 คุณRoF เรียนจบมาจากที่ไหนครับ ไม่ทราบว่าที่เดียวกับผมหรือเปล่า (คณะประมง ม.เกษตรศาสตร์)
ผมเรียนจบมาเป็นสิบปีแล้ว(จบปี33)ไม่เคยได้ใช้ความรู้ที่เรียน ทำงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับประมงเลย แต่ชอบเลี้ยงปลาครับ | โดย: oui [12 ธ.ค. 47 11:11] ( IP A:203.147.20.42 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 24 บทความนี้ดีมากๆเลยครับพี่ | โดย: nongkorn [12 ธ.ค. 47 14:23] ( IP A:61.90.121.2 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 25 อ่านแล้วรู้สึกถึงความเป็นผู้ที่มีความคิดที่กว้างไกลดูเป็นนักวิชาการ กว่า เจ้าหน้าที่รัฐในปัจจุบันมามครับผมเห็นด้วยว่าทุกวันนี้ตามมาตรการปัจจุบันจะทำให้เป็นการปิดกั้นการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับ สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในช่วงวิกฤตอย่างเสือตอครับ อยากให้คนที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านนี้ได้เข้ามาเปดหูเปิดตาความรู้จะได้ก้าวไกลหน่อยไม่ใช่ทำงานเพื่อตัวเองเพื่อแนวทางเดียว บริหารทรัพยากรที่มีค่าอย่างไร้ความรู้ ผมชอบและเห็นด้วยกับแนวความคิดของพี่ครับ | โดย: ต้น [12 ธ.ค. 47 18:31] ( IP A:203.150.217.114 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 26 ผมก็คนหนึ่งครับ ที่อยากเลี๊ยงเจ้าเสือตอมาสัก 10 ปีแล้วครับตั้งแต่ตัวเองเด็กๆๆ ไปเจอในโปสเตอร์ปลาน้ำจืดที่เขาขายๆๆกัน แต่เนื่องด้วยไม่เคยรู้ว่ามีจตุจักรไม่รู้จะหาที่ไหนนานๆๆก็ไปวงเวียนใหญ๋ซื้อปลาก็มีแค่ปลาทอง ปลาคาร์ฟ และอื่นๆๆ จนกระทั่งเมื่อสัก 2 เดือนมานี้ ได้กลบัมาเลี๊ยงปลาอีกครั้ง จึงทำให้สมหวังครับ กับเจ้าเสือตอ ชอบสุดๆๆจริงๆๆๆ เวลาเขาทานอาหาร ผมว่าเขาน่าสนใจ มีอารมณ์ที่แสดงออกชัดเจน ตามสีตัวที่เปลียนไปจึงเป็นอะไรที่ ผู้เลี๊ยงกับปลาสือถึงกัน ว่าตัวปลารู้สึกยังไงกับที่เราจัดให้กับที่เราดูแล ผมหลงรักเขาแล้วจริงๆๆ | โดย: หนึ่ง [12 ธ.ค. 47 19:24] ( IP A:202.183.136.38 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 27 เสือตอไม่ได้ติด CITES นะครับ ปลาไทยที่ติดมีแต่ ปลาบึก กับ ยี่สกไทย ครับ เสือตอติดแต่ สัตว์คุ้มครองอย่างเดียว รู้สึกว่าเป็นชนิดที่อนุญาตให้เพาะพันธุ์ได้ด้วยครับ
ผมเกิดไม่ทันตอนที่เสือตอกำลังจะหมดไป แต่ผมเชื่อว่าสาเหตุที่ทำให้จำนวนลดน้อยลงมากมายขนาดนี้ส่วนหนึ่งมาจากการถูกจับแน่นอนครับ การเปลี่ยนแปลงถิ่นอาศัยก็ส่วนหนึ่ง แต่จับมากิน จับมาเลี้ยง มีส่วนแน่ๆครับ
ผมเชื่อว่าในที่สุดกรมประมงจะเพาะได้ครับ ไม่นานเกินรอหรอก กรมประมงไทยถึงแม้จะทำอะไรเพี้ยนๆไปบ้างในบางกรณี แต่ฝีมือก็ไม่ใช่ขี้ไก่หรอก ข้าราชการเก่งๆดีๆมีเยอะแยะ
ผมไม่ซื้อไม่เลี้ยงเสือตอลายใหญ่มาแต่ไหนแต่ไรแล้วครับ | โดย: คลม [12 ธ.ค. 47 21:15] ( IP A:202.57.158.169 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 28 มาอ่านครับผู้เลี้ยงอย่างผมไม่ได้รู้ลึกไปเท่าไหร่เลยครับอาศัยเลี้ยงไปวันๆ ความรู้ก็หาเอาเท่าที่จะหาได้ผิดบ้างถูกบ้างก็ว่ากันไปครับ มาอ่านประดับความรู้ครับ | โดย: JJ [12 ธ.ค. 47 22:03] ( IP A:203.155.29.60 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 30 ตอบคุณ oui ครับ ผมจบประมงเกษตรฯเช่นกันครับ เพาะเลี้ยงฯ มีนกร 46 KU 55 ยินดีที่ได้รู้จักรุ่นพี่ครับ
ก่อนอื่นต้องขออภัยสำหรับข้อมูลที่ผิดพลาดนะครับ ปลาเสือตอไม่ได้ติด CITES อย่างที่คุณคลมให้ข้อมูลไว้ พอดีคงอินไปกับการประชุมที่จัดขึ้นในประเทศไทยเมื่อเร็วๆนี้น่ะครับ ขออภัยจริงๆ เป็นอันว่า เสือตอคงจะติดแต่กฏหมายของไทยเพียงอย่างเดียว อันนี้ยิ่งน่าคิดนะครับ ว่าตั้งกฏหมายมาเพื่ออะไร เดาได้ไม่ยาก ก็คือตั้งขึ้นมาเพราะปลามันเหลือน้อยมากแล้วในไทย จนกระทั่งหายไปในที่สุด เหมือนกับตอนนี้ที่ฮอตๆกันอยู่ก็คือ การห้ามนำเข้าปลาอัลลิเกเตอร์เข้าประเทศไทย เลยทำให้คนหากันให้ควั่กเลย ต่อไปก็คงเพาะกันได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆครับในประเทศไทย แล้วอย่างนี้คนเพาะปลา หรือเลี้ยงปลาอัลลิเกเตอร์จะผิดกฏหมายหรือไม่ ยังไม่รู้เลยในอนาคต แต่ทีอราไพม่า ออกลูกออกหลานเต็มบ่อ ขายกันให้เต็มสวนฯ จะทำอย่างไรกันดี จริงๆแล้ว ปลาทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นปลานำเข้า หรือปลา ในประเทศเอง ถ้ามันอยู่ถูกที่ถูกทางของมัน มันก็ไม่ก่อให้เกิดปัญหากับระบบนิเวศน์หรอกครับ จริงๆ น่าจะมาแก้กันที่ การปล่อยปลาลงแหล่งน้ำกันมากกว่า ช่วยกันรณรงค์ ให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องผลกระทบของปลาต่างถิ่นในธรรมชาติถ้าหลุดรอดลงไป ตรงนี้มากกว่า ที่จะมาไล่จับ ไล่ห้ามกัน คนเรา ชอบปลาไม่เหมือนกันครับ บางคนชอบอัลลิเกเตอร์ บางคนชอบคิลลี่ ของอย่างนี้บังคับกันไม่ได้ครับ มันก็เหมือนเรามีตู้ปลาอยู่ตู้หนึ่ง น้องเราจะเลี้ยง คิลลี่ เราจะเลี้ยงอัลลิเกเตอร์ ถ้ามาทะเลากันเพื่อแย่งตู้ปลาใบนี้ ก็คงไม่ได้เลี้ยงหรอกครับ ต่างคนต่างมีเหตุผลของตัวเองกันทั้งนั้น ทางแก้คือ หากระจกมากั้นครึ่ง ก็จบ ดูแลกระจกให้ดี อย่าให้มันแตกด้วยล่ะครับ
ผมชอบปลาเสือตอ และหลายๆคนในที่นี้ก็ชอบ ชอบมากกว่าปลาถ้ำหลายๆชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์ ชอบมากกว่าปลากัดกระบี่ ที่เหลืออยู่เพียงไม่กี่ตัวในประเทศ ชอบเลี้ยงปลาฉลามปากเป็ด และชอบมากกว่าตะพาบม่านลาย.....
กฏหมายไม่ได้เป็นเครื่องบอกถึงความเหมาะสมที่สุด ในการกำหนดชะตากรรมของปลาแต่ละชนิดหรอกครับ ช่องโหว่ ช่องว่าง มันมีเยอะ พอที่จะให้คนรู้มากใช้ประโยชน์จากตรงนี้มาตำหนิผู้อื่น ที่บังเอิญชอบปลาที่ผิดกฏหมาย แต่ตนเองไปชอบ ไปเลี้ยง ปลาไทยหายากชนิดอื่นที่ไม่ผิดกฏหมาย แต่มีความเสี่ยงในการสูญพันธุ์สูงกว่าครับ
ขอบอกคุณ คลม ว่าผมยังเชื่อในความเห็นเดิมของผม ว่า การทำลาย หรือการเปลี่ยนแปลง สภาพแวดล้อม เป็นสาเหตุสำคัญที่สุด ในการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ โดยเฉพาะสัตว์น้ำ การจับ มีผลครับ แต่น้อยกว่ามาก และที่สำคัญ ปลาเสือตอลายใหญ่ตอนนี้ ไม่ใช่ปลาไทยแล้วครับ เป็นปลาจากเขมร และเวียดนาม ที่โดนจับๆกันก็เพราะเป็นปลาชนิดเดียวกับที่เคยพบในไทย มีชื่อวิทยาศาตร์เหมือนกัน (เอาเข้าจริงๆ มันก็ต่างกันอยู่ดี อยู่ที่การตั้งชื่อว่าจะรวม หรือจะแบ่ง อันนี้เรื่องยาว) เพราะฉะนั้น ที่จับๆกันอยู่ จึงไม่ได้เป็นการอนุรักษ์ปลาไทยแล้วล่ะครับ อ้อลืมไปว่า นิยามของคำว่า "ปลาไทย" ของผมกับของคุณคลม ต่างกัน คุณคลมดูที่ชื่อวิทยาศาตร์ ส่วนผม มองลึกลงไปในสายพันธุ์ หรือแหล่งที่มา ผมมิอาจ เรียกปลาเสือตอลายใหญ่ที่ขายๆกันอยู่ว่า เป็นปลาไทย ได้แล้วล่ะครับ มันกระดากปาก และคิดว่า ถ้าเรามองกันแค่ชนิด อย่างนี้เราคงเอา ปลากัดหม้อ ไปเททิ้งตามทุ่งนา แถวๆสระบุรี ได้อย่างเต็มภาคภูมิ เพราะมันมีชื่อวิทยาศาตร์เหมือนกันเลยสรุปว่าไม่ต่างกันเลยปล่อยได้....
ผมก็เชื่อเช่นกันครับ ว่ากรมประมงฯจะต้องเพาะได้ ยิ่งได้ข่าวแว่วๆมาแล้ว ว่าสำเร็จไปแล้ว ก็ยิ่งดีใจ ถึงแม้ว่า ปลาที่เพาะได้จะเป็นปลาเขมรแทบทั้งสิ้นก็ตาม โอนสัญชาติให้พวกมันก็สิ้นเรื่องครับ ขอเพียงแต่อย่า ปิดหู ปิดตา หลอกลวงประชาชนไปเลย ว่านี่คือ ปลาไทย
ข้อมูลผิดพลาดประการใด หรือความคิดเห็นใดๆ ก็ยินดีรับฟังเช่นเคยครับ | โดย: RoF [13 ธ.ค. 47] ( IP A:158.108.86.184 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 31 ในมุมมองของคุณ ROF เสือตอไทยกับเสือตอเขมรมีลักษณะต่างกันอย่างไรครับ? ลักษณะภายนอกหรือ Genetic? คือถ้าเรามองทางสัตวภูมิศาสตร์ จะพบว่า ทะเลสาปเขมรถึงแม้จะเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำโขงก็ตาม ปลาส่วนใหญ่จะคล้ายกับปลาของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาครับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในตอนล่างของแม่น้ำโขงกับระบบเจ้าพระยาเคยมีความต่อเนื่องกันอยู่ ดังนั้นการที่ปลาเสือตอจะเป็นชนิดเดียวกันก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะแม้แต่ลุ่มแม่น้ำโขงเองก็เคยมีรายงานปลาเสือตอลายใหญ่เหมือนกัน ดังนั้นผมไม่คิดว่าจะมีความแตกต่างระหว่างเสือตอไทย กับเสือตอเขมร ครับ ถ้าของเราหมดก็ไปเอาของเขามาเพาะปล่อยลงไปก็ไม่น่าจะมีความแตกต่าง คือโดยหลักการแล้ว ถ้าได้ปลาจากลุ่มแม่น้ำไทยแท้ๆเลยก็คงดี ซึ่งถ้าหากันจริงๆแล้วก็ได้ข่าวเรื่อยๆว่าจับจากธรรมชาติได้ที่นู้นที่นี่ เคยเห็นปลาขนาดใหญ่มีรอยติดตะคัดที่คอจากลุ่มน้ำป่าสักเมื่อไม่กี่ปีมานี่ด้วยซ้ำไป
ส่วนเรื่องกฏหมายห้ามนู้นห้ามนี่นั้น มีบางอันที่ผมก็ไม่ชอบครับ แต่เรา ต้องยอมรับอย่างหนึ่งครับว่าเรื่องบางเรื่อง ไม่พร้อมก็คือไม่พร้อมครับ คนไทยหลายคนยังไม่พร้อมที่จะรับผิดชอบกับสิ่งแวดล้อม กับปลาที่ตัวเองเลี้ยง และไม่เห็นว่าเป็นเรื่องเสียหายในการปล่อยปลาล่าเหยื่อขนาดใหญ่ที่สามารถเพาะพันธุ์ในแหล่งน้ำไทยได้เองลงไปในแหล่งน้ำธรรมชาติ และระบบการศึกษาของไทย ระบบข้าราชการ หรือแม้แต่องค์กรณ์เอกชนเอง ก็ยังไม่พร้อมที่จะให้ความรู้กับประชาชนทั่วไปได้ดีพอ ดังนั้นวิธีการที่สามารถทำได้ในตอนนี้ก็คือ \\"ห้าม\\" มันเสียเลย อาจจะเรียกว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ ง่าย และ โง่ที่สุดในเวลาเดียวกัน แต่ทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับความพร้อม และ ความเป็นไปได้ครับ เคยได้ยิน กฏของเมอร์ฟี่ไหม? \\"Anything that can go wrong, will go wrong\\" พอพลาดแล้วเรื่องบางเรื่องมันแก้ไขได้ยากเย็นเสียด้วยสิ
เข้าใจครับว่าความชอบในการเลี้ยงสัตว์ของแต่ละคนต่างกันเรามี รสนิยม วินัย เป้าหมาย จุดประสงค์ และ อุดมการณ์ในการเลี้ยงต่างกัน ดังนั้นการเลือกเลี้ยงปลาของแต่ละคนจึงต่างกันครับ ผมทิ้งท้ายไว้ว่าผมไม่ซื้อไม่เลี้ยงปลาเสือตอ ไม่ได้หมายความว่าผมว่าคนที่ซื้อที่เลี้ยง(หรือที่ขาย) ไม่ดีนะครับ ผมแค่บอกว่าผมไม่เฉยๆ เป็นรสนิยมส่วนตัวที่ไม่ชอบปลาใหญ่อยู่แล้วแค่นั้นเอง | โดย: คลม [13 ธ.ค. 47 10:01] ( IP A:61.90.32.54 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 32 ลืมอีกเรื่อง
ไม่เถียงครับว่าการสูญพันธุ์ของสัตว์ในปัจจุบันส่วนใหญ่เกิดจากการทำลายสิ่งแวดล้อม แต่อยากให้ลองมองไปรอบๆดู บอกไว้ก่อนว่าอันนี้ก็เป็นการ"เดา"นะครับ ผมก็เกิดไม่ทันเหมือนกัน คือถ้าดูระบบนิเวศของบึงบอระเพ็ด(ทางราชการสะกดแบบนี้) จริงๆแล้วมันก็ยังมีปลามีอะไรเหลืออีกเยอะแยะ เสือตอเป็นอะไรหนักหนาถึงหายไปเฉยๆถ้าประชากรยังมีสุขภาพและปริมาณดีอยู่? หรือแม่แต่ลุ่มแม่กลอง ซึ่งโดนเขือนไป ๓ แห่ง ทำไมปลาอื่นๆส่วนใหญ่ยังอยู่กันได้ มีที่หายไปหรือเหลือน้อยมากๆอยู่ ๓-๔ ชนิดคือ หมูอารีย์ หางไหม้ กาแดง และ ยี่สกไทย ถามว่าทำไมถึงต้องเป็น ๔ ชนิดนี้ มันกินยากอยู่ยากกว่าชนิดอื่นหรือ? หรือว่าเพราะประชากรมันถูกจับจนเหลือน้อยลงจนมีปริมาณที่น้อยจนเกินไปแล้ว พอโดนซ้ำด้วยการทำลายถิ่นอาศัยเข้าไปจึงหมดไปในที่สุด? ผมจบประโยคด้วย ? นะครับ ผมก็ไม่มีข้อมูลมาฟันธง แต่คิดกันดูเอาเองแล้วกัน
โทษการทำลายสิ่งแวดล้อมโทษได้ครับ แต่การจับโดยตรงขอมนุษย์ไม่ว่าจะเพื่อเป็นปลาเลี้ยงสวยงาม หรือ เพื่อจับมากิน มีผลแน่นอนครับ | โดย: คลม [13 ธ.ค. 47 10:12] ( IP A:61.90.32.54 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 33 สวัสดีครับคุณRoF ยินดีที่ได้มาเจอกันในเวปนี้ครับ ผมจบจากเพาะเลี้ยงเหมือนกัน สมัยอาจารย์ยนต์ยังเป็นหัวหน้าภาควิชาครับ มีนกร 37 KU 46 ครับ
สำหรับความรู้เรื่องสัตว์น้ำของผมเหลือน้อยเต็มทีครับ แต่บอกได้อย่างหนึ่งว่า ถูกต้องทั้งคู่ครับ ทั้งการทำลายสิ่งแวดล้อมและการจับที่ที่ผิดวิธีมีผลต่อการลดจำนวนของสัตว์น้ำลงมาก แต่การทำลายสิ่งแวดล้อมมีผลมากกว่าครับ ถามว่าปลาเสือตอทำไมสูญพันธุ์ แล้วปลาอื่นๆยังมีอยู่ อันนี้ต้องดูลักษณะนิสัยและธรรมชาติของปลาแต่ละชนิดด้วยครับว่ามีความทนทานและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้แค่ไหน ปลาบางชนิดสามารถขยายพันธุ์ได้ง่ายทั้งที่สภาพแวดล้อมเริ่มเสีย บางชนิดซึ่งปกติขยายพันธุ์ยากอยู่แล้ว มาเจอสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี ทำให้ไม่สามารถขยายพันธุ์ได้เลย จึงทำให้สูญพันธุ์หรือใกล้สูญพันธุ์ไป การเพาะขึ้นมาแล้วปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยเพิ่มประชากรสัตว์น้ำครับ อีกวิธีหนึ่งก็คือการช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อมของแหล่งน้ำธรรมชาติไว้ครับ
ส่วนปลาเสือตอไทยกับเขมรต่างกันอย่างไร ผมไม่ทราบจริงๆครับ | โดย: oui [13 ธ.ค. 47 11:12] ( IP A:203.147.20.59 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 34 ในโลกแห่งความเป็นจริงมันไม่มีอะไรที่จะขาวบริสุทธิ์ หรือดำสนิท... มีแต่สีเทาที่ค่อนข้างขาวและเทาที่ค่อนข้างดำ... ทุกเรื่องที่พูดมามันมีส่วนทั้งนั้น จะต่างกันก็ตรงที่จะมากหรือน้อยเท่านั้น... จริง ๆ แล้วมันยังมีปัจจัยอื่นอีกหลายอย่าง ๆ ที่ไม่ได้ถูกเอ่ยถึง และผมก็ไม่อย่างจะไปเอ่ยถึง แบบว่าขี้เกียจ...
"ถ้าไม่ให้เราทำ ท่านก็ต้องทำให้ได้" คำพูดนี้โดนใจผมมากเลย... แต่ปัญหามันก็อีกแหละ... ไม่มีใครมากำหนดเวลา เลยไม่สามารถจะฟันธงใด ๆ ได้ว่าจะทำได้หรือทำไม่ได้ ในเมื่อกฎหมายห้ามก็ต้องยอมรับ แต่อาจไม่ปฎิบัติตามก็เท่านั้น...
ผมว่าท่าจะดีกว่าถ้าเรา ๆ ท่าน ๆ ที่หวังดีและนิยมชมชอบในเสือตอ จะพยายามเลี้ยงมันอย่างดีและพยามยามขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มโอกาสให้กับปลาชนิดนี้ในบ้านเรา... ผมเชื่อว่าหลาย ๆ ท่านในกรมประมง ฯ ก็มีใจรักและตั้งใจที่จะขยายพันธู์ปลาชนิดนี้ ไม่น้อยไปกว่าเรา ๆ ท่าน ๆ หลอกครับ เพียงแต่มันอาจจะไม่ทุกคนในกรมประมง ฯ ก็เท่านั้น เหมือนอย่างที่เราบางคนเลี้ยงมันอย่างทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ หรือ หามาเพื่อประดับตู้ เช่นกัน | โดย: Gee. [13 ธ.ค. 47 19:57] ( IP A:202.130.154.34 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 35 เป็น"เสียงสะท้อน"จาก"คนในวงการ"ที่ดีจริงๆครับ ผมชอบประโยคนี้มากเลย "...แถมกรมประมงยังอุตสาห์อนุรักษ์อีก ช่างไม่มีความคิดเสียนี่กระไร อนุรักษ์ ปลาสวาย เพื่อให้คนมาเที่ยว โยนขนมปัง......"
ผมก็เป็นคนหนึ่งที่อยากเลี้ยงปลาชนิดนี้มานานแล้ว เมื่อหก-เจ็ดปีที่แล้ว ยังจำได้ว่ายังเห็นปลาชนิดนี้ว่ายเป็นคู่ๆอยู่ในแหล่งต้นน้ำน่านเหนือเขื่อนสิริกิต พยายามตักด้วยสวิงแต่มันว่ายเร็วมากเลยไม่มีโอกาสได้เห็นใกล้ๆ ตัวเป็นๆ ยังคิดอยู่เลยว่าอยากเลี้ยงปลาอย่างนี้ เพราะมันสวยมาก ยิ่งในแหล่งน้ำใสๆนั้นแล้วเรียกได้ว่า "เหลืองตัดดำ" จริงๆ...
เมื่อไม่นานมานี้ผมได้มีโอกาสไปที่นั่นอีก(แหล่งน้ำนั้นเรียกว่า"ปากนาย" เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่หนึ่งของจังหวัดน่าน) แต่... ไม่มีให้เห็นอีกแล้วครับ ปลาเสือตอ...
จนมาช่วงนี้กระแสปลาเสือตอแรงมาก ผมซึ่งแวะเข้ามาเวปนี้บ่อยๆอยู่แล้วก็เห็นถึงความเปลี่ยนแปลง ตอนนี้ผมคิดว่าเวปนี้เป็นเวป"เสือตอ"ไปแล้วครับ...
โดยส่วนตัวแล้วผมเห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะมีที่ซักที่หนึ่งเป็นแหล่งความรู้ที่ทุกคนสามารถเข้ามาแลกเปลี่ยนทรรศนะและความรู้กันได้ ซึ่งเวปนี้ก็ทำได้ดีทีเดียวเลยครับ... ขอบคุณครับ
อ้อ... ผมยังไม่มีโอกาสได้เลี้ยงปลาเสือตอเลยครับ แม้จะชื่นชมปลาชนิดนี้มากเท่าใดก็ตาม... ^_^" | โดย: Toonhyper [13 ธ.ค. 47 22:48] ( IP A:61.91.80.2 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 36 ผมก็คนนึงที่เลี้ยงปลาเสือตอ แต่ไม่เคยรู้หรือมองออกว่าปลาไทยและเขมรต่างกันอย่างไรเลยคับ เลี้ยงมาหลายตัวแล้วมองไงก็มองไม่ออกเลย เคยได้ยิน"เค้า"ว่ากันว่าของไทยสวยกว่า เหลืองกว่า ลายมากกว่าหรือน้อยกว่านี่แหละจำไม่ได้ เท่าที่เคยเจอมามันเป็นเรื่องของการแปรผันทอง phenotype ของปลาไม่ใช่เหรอคับ
ปลาเขมร ปลาไทยก็น่าจะตัวเดียวกันนะคับ
ผมก็เชื่ออย่างนั้น!!!!!
แต่ก็ไม่ชอบเลยคับที่ต้องมาห้ามไม่ให้เลี้ยง ให้ความรู้มาดีกว่าคับ ว่าที่เคยเพาะได้น่ะ เพาะอย่างไร มีเทคนิคไหนบ้าง อะไรประมาณนี้ ดีกว่ามาห้ามเลี้ยง ห้ามเพาะ แล้วก็ลองทำกันเองในกรมเพาะปลาดุก ปลาตะเพียน ถ้าเป็นแบบนั้นให้เราๆที่เลี้ยง รักมันจิงๆมาเพาะ หลายๆคน แบ่งความรู้กันว่าแบบไหนมีสิทธิ์ประสบความสำเร็จมากกว่ากัน น่าจะเป็นวิธีที่ดีกว่านะคับ | โดย: Cheetah [14 ธ.ค. 47 15:47] ( IP A:61.90.61.205 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 37 ชอบทุกความคิดเห็นครับ ดีใจที่มีคนเลี้ยงปลาที่ไม่ได้สักแต่ว่าเลี้ยง การจุดประกายการสร้างสรรค์สังคมของคนเลี้ยงปลาอย่างพวกเราๆยังคงต้องมีต่อไปครับ
ผมเองเป็นคนเลี้ยงปลาเสือตอมาเกือบ 10 ปีแล้ว เลี้ยงมาตั้งแต่อยู่ ม.ต้นมีปลาผ่านตู้ที่บ้านมากกว่า20ตัว ผมเห็นด้วยอย่างแรงกับคุณ ROF ว่าถ้าปล่อยให้มีการเลี้ยงปลาไทยคงไม่สูญพันธ์อย่างแน่นอน ผมเคยได้อ่านบทความในหนังสือเล่มหนึ่ง เขาบอกว่ามีทีมทำสารคดีรายการหนึ่งจำไม่ได้ว่าชื่อรายการอะไรเข้าไปทำสารคดีในป่าแถวชายแดนไทย-พม่าจังหวัดกาญจนบุรี ไปพบชาวบ้านเลี้ยงไก่อยู่เต็มไปหมด ทุกบ้านเลี้ยงไก่แบบเดียวกัน อาจฟังดูไม่แปลกถ้าไม่บอกว่าไก่ที่ชาวบ้านเลี้ยงเป็นไก่ฟ้าที่เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย ชาวบ้านบอกว่าเข้าเพาะเลี้ยงได้มานานแล้วโดยไม่รู้ว่ามันห้ามมีไว้ครอบครอง นี่คือตัวอย่าง ผมว่าคนไทยเก่งนะ ถ้าไม่โดนปิดกั้นรับรองการขยายพันธ์เสือตอคงไม่ใช่เรื่องยากอะไร
| โดย: หัวหน้าใหญ่ [15 ธ.ค. 47 12:10] ( IP A:61.91.79.200 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 38 อีกซักรูปนะครับ
| โดย: หัวหน้าใหญ่ [15 ธ.ค. 47 12:13] ( IP A:61.91.79.200 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 39 ขอบคุณสำหรับทุกๆความเห็นมากๆเลยครับ ขอตอบสักนิดนะครับ สำหรับคห คุณ คลม ผมคิดว่า การที่ปลาจะสูญพันธ์นั้น มันมีรายละเอียดปลีกย่อยกว่านี้ครับ ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่เฉพาะเจาะจง ในปลาแต่ละชนิด ซึ่งต้องการไม่เหมือนกัน ในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงแหล่งที่อยู่ ซึ่งบางที เราอาจมองไม่เห็นตรงจุดนั้นก็ได้ครับ เช่น การตื้นเขินของบึงบรเพ็ด อาจทำให้ปลาเสือตอไม่เจริญพันธุ์เพราะปลาชอบน้ำลึกมากๆ การสร้างเขื่อน อาจไปกระทบต่ออะไรสักอย่าง ในวงจรชีวิตของปลาที่สูญพันธุ์ไปอย่างที่เราคาดไม่ถึง มันอาจจะกินอยุ่ยากกว่าปลาอื่นจริงๆก็เป็นได้ครับ ทั้งสี่ชนิดนั่นแหละ ถ้าผมมองว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพดังกล่าวทำให้ประชากรปลาอ่อนแอลงและถูกซ้ำเติมด้วยการจับ เลยทำให้สูญพันธุ์ อย่างนี้ก็คงเป็นไปได้ใช่ป่าวครับ ทุกอย่างสุดแต่ความคาดเดา ทั้งนี้และทั้งนั้น ขึ้นอยุ่กับประสบการณ์แต่ละคนครับ ว่าได้พบเจอ ได้ศึกษามาอย่างไหน
สำหรับเรื่องจะนำปลาเขมรมาแทนปลาไทย ผมก็ไม่ได้ต่อต้านเลยครับ ถ้าศึกษามาแล้วอย่างดี แต่ที่ไม่เห็นด้วย ก็คือ การมาบอกว่า เป็นปลาไทย นี่สิครับ อย่างนี้ถือว่าไม่มีบรรทัดฐาน ที่จริงเราควรยอมรับ และให้ข้อมูลแก่ประชาชนไปตรงๆว่า ปลาไทยไม่มีแล้ว ต้องเอาปลาเขมรมาเพาะ และปล่อยลงไป ถูกไหมครับ ไม่อย่างนั้นมันก็มั่วไปหมดสิครับ จับต้นชนปลายอะไรก็ไม่ได้ อย่างนี้คุณชอบหรือครับ ได้ข้อมูลมั่วๆ ผิดๆ แล้วถ้าเกิดสักวันนึง เราต้องการข้อมูลที่แท้จริง เพื่อมาศึกษาอะไรสักอย่าง แต่กลับถูกปกปิด หรือบิดเบือนไปซะหมดสิ้น อะไรจะเกิดขึ้นครับ จะมีสักกี่คนกันครับ ที่รู้มากเหมือนคุณคลม ปลาต่างแหล่งน้ำ ต่างประชากร มันก็มีความแตกต่างกันอยู่แล้วล่ะครับ ยิ่งการศึกษาเดี๋ยวนี้ เจาะลึกลงไปถึง ความแตกต่างระหว่างประชากรในชนิดเดียวกัน หรือบางทีเจาะลงไปถึงรับดับ individual ด้วยซ้ำไป ถ้าเราไม่มีบรรทัดฐาน ในเรื่องการจำแนกประชากรแล้ว การศึกษาในอนาคต รับรองว่า มั่ว แน่นอนครับ อย่างในกรณีหมูอารีย์กับหมูน่าน กรมประมงก็ทำให้สับสนมาแล้ว จำได้มั้ยครับ เบื่อมั้ยครับ คุณคลม? ส่วนวิธีการอนุรักษ์โดยการห้ามนั้น ได้ผลแค่ไหนก็ลองดูกันเอาเองครับ
ตอบคุณ ชีต้า ที่เราได้ยินมานั้นว่าปลาเสือตอไทยสวนนักสวยหนา เป็นเพราะการสร้างกระแส เพื่อให้ปลาที่ตนเองมีอยู่ได้ราคามากขึ้นครับ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเสือตอเขมร ลายสวยๆ สีสวยๆ ทรงดีๆ แล้วก็มาหลอกว่าเป็นปลาไทย มีลักษณะอย่างโน้น อย่างนี้ ฟังจนเอือมแล้วครับ มีมาเป็นสิบปีแล้ว ในตลาดปลาบ้านเรา และผมก็ไม่ได้เถียงเลยครับ ว่าปลาไทยกับเขมรเป็นคนละชนิดกัน มันเป็นชนิดเดียวกันแน่นอนครับ แต่คนละประชากรกัน ผมอธิบายไปแล้วนะครับ อย่าพึ่งมองลึกไปในระดับ ฟีโนไทป์ เลยครับ เรายังไม่มีข้อมูลในระดับยีนที่ก่อให้เกิด ฟีโนไทป์ต่างๆเลยสำหรับปลาชนิดนี้ ไม่เหมือนปลากัดครับ ที่ ยีนคู่นี้ ให้สีแดง สี น้ำเงิน สีเขียว ฯลฯ แต่ให้มองในแง่ประชากร มากกว่าครับ ประชากรที่ถูกแยกออกมาต่างหาก ในบึงบอระเพ็ด และทะเลสาบเขมร มาเป็นระยะเวลานานๆ ย่อมสะสมความแตกต่างมากขึ้นเรื่อยๆตามระยะเวลาอยู่แล้วครับ เป็นหลักเกณฑ์ง่ายๆ ของ speciation เราไม่ควรไปรบกวนมันถ้าไม่จำเป็น แต่ถ้าจำเป็น ก็อนุโลมได้ ไม่มีปัญหาครับ ขอเพียงแต่ อย่าปกปิดข้อมูล มั่วนิ่ม อย่างที่เป็นๆมาเท่านั้นก็พอ อย่าให้มั่วมากไปกว่านี้เลยครับ ด้วยความหวังดี
ขอบคุณทุกท่านอีกครั้งนะครับ | โดย: RoF [16 ธ.ค. 47 1:52] ( IP A:158.108.86.124 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 40 ผมไม่ได้จบทางนี้แต่ชอบเลี้ยงปลาเลยไม่มีความเห็นใดๆ แต่จะบอกว่าช่วงนี้ย่างเข้าหน้าแล้งน้ำในแม่น้ำเหือดแห้ง เป็นช่วงทองของประมงอวนไทยชาวบ้าน และผมก็จะไปดูเขาลากขึ้นมาทุกครั้งที่มีโอกาศอย่างล่าสุดเท่าที่จำได้มีพวกปลาเนื้ออ่อน ค้าว(เขียนถูกเปล่า) ชะโอน หนู ฉลาด บึก แก้มช้ำ อีกเยอะแยะไม่สามารถบอกได้หมด และในนั้นมีเสือตอรวมอยู่ด้วยลายเล็กคล้ายในรูปที่ตัวเล็ก แต่ทุกครั้งที่ผมพยายามจับขังตุ่มอัดอ๊อกไม่ทันข้ามคืนซักที ผมรู้สึกว่าเมืองไทยเราอู่ข้าวอู่น้ำจริงๆลากอวนทีมีปลาหลากหลายนานาพันธุ์มากกกกก นี่เนื้ออ่อนตากแห้งเพิ่งกระทะสุดท้ายเมื่อคืน(เบื่อปลาทอดไปอีกนาน) | โดย: ST [16 ธ.ค. 47 7:16] ( IP A:203.144.252.236 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 41 ผมว่ามันเป็นไปตามกฎธรรมชาติเมื่อความเจริญมาธรรมชาติก็ต้องถูกทำลาย อย่างเช่นเราต้องการไฟฟ้าเราต้องสร้างเขื่อนในเมื่อสร้างเขื่อนก็ตัองทำลายป่าไม้ ถ้าเราหลีกเลี่ยงได้มันก็ดีมาก ก็ดูอย่าง กทม. ตรงเซ็นทรัลลาดพร้าวสมัยก่อนเป็นสระน้ำเดี่ยวนี้เป็นไง | โดย: JJ [16 ธ.ค. 47 13:51] ( IP A:203.107.195.14 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 42 ok คับพี่ rof | โดย: Cheetah [19 ธ.ค. 47 22:22] ( IP A:61.90.114.169 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 43 OMG Gee tah...ei ei
มาอ่านอีก มันส์ดี แต่ผมเห็นด้วยกะคุณ RoF คับ
| โดย: xxx ซาแล๊นนนนน [30 เม.ย. 48 23:51] ( IP A:61.90.66.122 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 46 อากระทู้นี้ทำให้ผมรู้จักเสือตอมากขึ้นครับ แต่ผมก็ไม่ได้สนใจจะเลี้ยงหรอกครับตัวมันใหญ่ไปหน่อย และผมก็ยังเรียนอยู่เลี้ยงปลาซิวไปก่อน งิงิ | โดย: Revenge [5 พ.ค. 49 20:12] ( IP A:124.121.139.177 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 47 อ่านแล้วใด้ความรู้ดีครับ ผมก็มีลายใหญ่กับเค้าดว้ายน่ะ 2 ตัว | โดย: spiderman [20 มิ.ย. 49 15:33] ( IP A:203.172.100.109 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 48 ต้องขอโทษด้วยน่ะคับ ผมอาจจะมีความคิดขัดแย้งกะพี่หน่อยอ่ะคับ คือในเมื่อมันเพาะกันยังไม่ประสบความสำเร็จ ถึ่งจะจับมาจากนอกประเทศการจับมาเลี้ยงแบบนี้ผมว่าอีกหน่อยก็คงไม่เหลือและยังเป็นการปิดโอกาสในการสืบพันธุ์ของปลาในแหล่งธรรมชาติอ่ะคับ ผมเองก็ไม่ใช้ผู้เชียวชาญปลาแต่คิดว่าปลาในตู้เพื่อนๆดูสมบูรณ์ดี ถ้าอย่ในธรรมชาติ คงจะออกลูกออกไข่ได้เยอะแยะคับ ซึ่งก็คงจะดีกว่าอยู่ในตู้แล้วก็รอให้ถึ่งเวลาของมันน่ะครับ ถ้าสถาการณ์ยังเป็นแบบนี้กันต่อไปแล้วเมื่อไหร่คนจนๆอย่างผมจะมีโอกาสเชยชมปลาพันธุ์นี้ได้แบบถูกๆมั่งหล่ะคับ อิๆ | โดย: จุ๊น [27 ก.ค. 49 20:32] ( IP A:124.120.160.85 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 49 สุดท้ายแล้วตัวเองก็อยากเลี้ยง อยากครอบครองเหมือนคนอื่นเค้านั่นแหละครับ... | โดย: RoF (เจ้าบ้าน ) [26 ต.ค. 49 1:54] ( IP A:58.9.152.163 X: ) |  |
|