อามาทัสหางดำไซส์เล็ก ดูยังไง
   ช่วงนี้ไม่รู้ทำไมครับ มีคนถามเรื่องวิธีการดู อามาทัสหางดำไซส์เล็กๆกันบ่อยมาก เลยทำกระทู้ให้ดูกันดีกว่า ง่ายต่อการส่งให้ชม
ทุกอย่างเป็นข้อสังเกตุและประสบการณ์ของผมคนเดียวครับ อาจผิดพลาดไม่ถูกต้อง ก็ขออภัยด้วยนะครับ

ข้อสังเกตุข้อแรก

อามาทัสหางดำตัวจริง ทุกล๊อตที่ผ่านมา จะปนเข้ามากับปลาสคอมบริรอยด์ ไซส์จิ่วๆ ตลอดครับ ส่วนปลาที่ถูกสั่งเข้ามาเป็นอามาทัส และมาเป็นอามาทัสล้วนๆ ทุกไซส์เท่าที่ผมทราบและได้สัมผัส ล้วนเป็นอามาทัสหางแดงทั้งหมด

เวปนอก ก็ด้วยครับ ที่เจอเหตุการณ์แบบนี้

https://www.amiidae.com/fish/index.php?option=com_content&view=article&catid=1:latest-news&id=108:hydrolycus-armatus-&Itemid=18

โดย: RoF (เจ้าบ้าน ) [29 พ.ค. 53] ( IP A:61.90.72.182 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   หลักการที่ใช้ในการดูปลาใหญ่หลายข้อ ยังใช้ไมได้ในปลาเล็กนะครับ เช่น หลักการดูสีครีบหางกับครีบไขมันที่คอนทราสกัน จะเป็นหางดำ เหมือนกันจะเป็นหางแดง หรือ แถบแต้มดำ หลังโอเปอร์คูลั่ม หรือสีหาง เป็นต้น

ส่วนหลักการที่ใช้ได้ แต่ดูยากหน่อยข้อที่สองก็คือ ใบหน้า ซึ่งใช้ดูได้ตลอดทุกอายุ หลักการยังคงเดิมคือ หน้าต้องไม่เชิดขึ้นบนมากนัก ปาก จมูก ต้องชี้ยาวตรงไปด้านหน้ามากกว่า

ไอ้คำว่า มากนัก และมากกว่า นี่แหละครับ คือตัวปัญหาในการตัดสินความแน่นอน ต้องอาศัยประสบการณ์และการดูเปรียบเทียบพอสมควรครับ

หลักการอีกอย่างที่พอจำแนกไซส์เล็กได้ก็คือ ดวงตา
หางดำ จะมีดวงตาที่เทียบกับสัดส่วนหัวแล้ว เล็กกว่า หางแดง ซึ่งมีดวงตากลมโตกว่าครับ

โดย: RoF (เจ้าบ้าน ) [29 พ.ค. 53] ( IP A:61.90.72.182 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   หลักการที่น่าจะดูง่ายกว่า และเป็นจุดสำคัญ ก็คือ

อามาทัสหางดำ จะมีท้องที่ตัตตรง มากกว่า ไม่โย้ และโค้งเป็นสัน โดยเฉพาะบริเวณใต้ฐานครีบอกครับ อันนี้เป็นหลักการดูที่ง่ายและชัดเจนที่สุดแล้ว สำหรับปลาเล็ก ลองมองดูดีๆนะครับว่า คางโย้ กับ ไม่โย้ ต่างกันอย่างไร การการที่มันคางไม่โย้ จึงทำให้มันชอบว่ายน้ำ ขนานในแนวตรง ผิดกับ หางแดง ซึ่งมักจะว่ายหางชี้หัวทิ่ม เอาคางรับกันพื้นเสียเป็นส่วนใหญ่ครับ การว่ายนี้ จะสัมพันธุ์กับรูปร่าง ซึ่งต้องดูนานๆหน่อย

ตัวนี้หางดำ โตขึ้นมานิดนึง

โดย: RoF (เจ้าบ้าน ) [29 พ.ค. 53] ( IP A:61.90.72.182 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ใบหางของอามาทัสหางดำ นี่ก็น่าสนใจนะครับ มันเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงอายุ

ช่วงแรก ตอนจิ๋วๆ ดังรูปนี้และในคห.1 หางมันจะแผ่กว้าง มากๆ เป็นพูบนล่าง ขัดเจนสองพู ปลายมน ขนาดใหญ่ เว้าลึก

ช่วงที่สอง เริ่มโตขึ้นมานิด ความเว้าของพูหางบนล่าง เริ่มน้อยลง หางเริ่มพัฒนาไปเป็นแบบตัดตรงมากขึ้น

ช่วงที่สาม หางเป็นแบบตัดตรง ปลายบนล่างจะแหลม เริ่มมีเปียยาว เกิดขึ้นตรงกลางขอบหางด้านหลัง

ช่วงที่สี่ หางเป็นแบบตัดตรงสมบูรณ์ เปียปลายหางยาวชัดเจน

โดย: RoF (เจ้าบ้าน ) [29 พ.ค. 53] ( IP A:61.90.72.182 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   เมื่อท้องอามาทัสหางดำ ตัดตรง ส่วนหัวเรียวแหลม จึงทำให้ ลำตัวด้านหน้า ดูแคบ ไม่กว้างเหมือนอามาทัสหางแดง มองดูแล้ว สมส่วนกว่า โดยรวม ในขณะที่อามาทัสหางแดง มองดูแล้ว หัวโตๆ ส่วนหางเรียวลีบกว่า

โดย: RoF (เจ้าบ้าน ) [29 พ.ค. 53 1:04] ( IP A:61.90.72.182 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   เท่าที่ผมเคยเห็น ทั้งอามาทัสหางดำและหางแดงในวัยอ่อนมากๆนั้น จะมีจุดดำเป็นประกระจายอยู่ทั่วใบหน้าและลำตัว คล้ายๆกัน พอโตขึ้นก็จะหายไปหมดครับ

โดย: RoF (เจ้าบ้าน ) [29 พ.ค. 53 1:18] ( IP A:61.90.72.182 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   เรามาค่อยๆดูพัฒนาการกันดีกว่าครับ

จากตัวจิ๋วๆ ผอมบาง

มันก็ยังแสดงลักษณะ อามาทัสหางดำ ที่กล่าวไว้ข้างต้นอยู่ดี

โดย: RoF (เจ้าบ้าน ) [29 พ.ค. 53 1:22] ( IP A:61.90.72.182 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   ดูหลายๆรูป เพื่อความชำนาญ

โดย: RoF (เจ้าบ้าน ) [29 พ.ค. 53 1:23] ( IP A:61.90.72.182 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   มันดูออก ตั้งแต่ไซส์นี้เลยทีเดียวครับ ถ้าเราเข้าใจหลักการการดู

โดย: RoF (เจ้าบ้าน ) [29 พ.ค. 53 1:23] ( IP A:61.90.72.182 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   หน้ายื่นไปข้างหน้า ปากไม่เชิดขึ้น ท้องและคางตัดตรง ไม่โย้

จำหลักการนี้ไว้ครับ

โดย: RoF (เจ้าบ้าน ) [29 พ.ค. 53 1:28] ( IP A:61.90.72.182 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   อามาทัสวัยอ่อน กินเก่ง และโตเร็วมากๆครับ

เห็นรูปนี้ มันว่ายหางเชิด ก็อย่าตัดสินง่ายเลยว่า มันเป็นหางแดงนะครับ ใช้หลักการอื่นประกอบด้วยเสมอ และเข้าใจธรรมชาติง่ายๆของปลาว่า บางที มันก็อยากว่าย หางชี้ ในบางเวลาเหมือนกัน

โดย: RoF (เจ้าบ้าน ) [29 พ.ค. 53 1:30] ( IP A:61.90.72.182 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   ใช้รูป เป็นตัวเสริมประสบการณ์ล้วนๆครับ กระทู้นี้

โดย: RoF (เจ้าบ้าน ) [29 พ.ค. 53 1:37] ( IP A:61.90.72.182 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
   ผมพยายามหารูป อามาทัสหางดำตัวเล็กๆ มาโพสให้เยอะที่สุด

โดย: RoF (เจ้าบ้าน ) [29 พ.ค. 53 1:37] ( IP A:61.90.72.182 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
   โตขึ้นมาอีกหน่อยแล้ว

ไซส์นี้ สีจะเริ่มทอง หางจะเริ่มแดงมากขึ้น เป็นไซส์ที่เริ่มทำให้เราสับสนว่า มันคือหางแดงหรือหางดำกันแน่ เพราะสีสันแทบไม่ต่างกัน

ให้ดูท้อง และหน้าเหมือนเดิม

โดย: RoF (เจ้าบ้าน ) [29 พ.ค. 53 1:38] ( IP A:61.90.72.182 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
   หลายๆรูป เรื่อยๆ

โดย: RoF (เจ้าบ้าน ) [29 พ.ค. 53 1:40] ( IP A:61.90.72.182 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
   เมื่ออามาทัส โตขึ้นมาขนาด 6-7 นิ้วนั้น จะมีสีสันเป็นสีทอง หางสีส้มแดง ซึ่งเป็นช่วงอายุที่มีสีสันใกล้เคียง อามาทัสหางแดงมากที่สุดครับ

หลักการคงเดิม

โดย: RoF (เจ้าบ้าน ) [29 พ.ค. 53 2:07] ( IP A:61.90.72.182 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
   ปากชี้ไปข้างหน้า คางต้องไม่โย้

โดย: RoF (เจ้าบ้าน ) [29 พ.ค. 53 2:08] ( IP A:61.90.72.182 X: )
ความคิดเห็นที่ 17
   กินจนท้องโย้

ไม่ได้หมายความว่า คางโย้ลงด้านล่าง

โดย: RoF (เจ้าบ้าน ) [29 พ.ค. 53 2:10] ( IP A:61.90.72.182 X: )
ความคิดเห็นที่ 18
   โปรดดู อีกครั้งหนึ่ง

โดย: RoF (เจ้าบ้าน ) [29 พ.ค. 53 2:10] ( IP A:61.90.72.182 X: )
ความคิดเห็นที่ 19
   ไม่กิน ก็ไม่โย้

โดย: RoF (เจ้าบ้าน ) [29 พ.ค. 53 2:12] ( IP A:61.90.72.182 X: )
ความคิดเห็นที่ 20
   รูปนี้คือ รูปเปิดตำนาน อามาทัสหางดำ ที่เกิดขึ้นครั้งแรกในเวปแห่งนี้ จนรู้จักกันไปทั่ว

เป็นอามาทัสหางดำสองตัวแรก ซึ่งผมถ่ายรูปเอาไว้ และซื้อมาเป็นเจ้าของ และนำมาโพสในเวปนี้ เป็นวัย ซึ่งมีสีสันคล้ายอามาทัสหางแดงมาก แต่โตแล้ว เป็นหางดำที่สวยงาม

ในรูปปลากินอิ่มและค่อนข้างอ้วนมาก ยิ่งดูคล้ายหางแดงเข้าไปอีกครับ

โดย: RoF (เจ้าบ้าน ) [29 พ.ค. 53 2:15] ( IP A:61.90.72.182 X: )
ความคิดเห็นที่ 21
   ถีงแม้ว่าจะ ถูกนำเสนอมานานแล้ว และพูดคุยถึงพวกมันในเวปแห่งนี้มาเยอะมากๆแล้ว แต่ก็ยัง มีทั้งมือเก่าและมือใหม่ให้ความสนใจ และก็ยังไม่สามารถแยกความแตกต่างได้อย่างแม่นยำ น่าแปลกที่ว่า บางคน กล้าบอกว่า ตัวนี้เป็นหางดำแน่นอน ร้อยเปอร์เซนต์ แต่กลับอธิบายไม่ได้แม้แต่น้อยว่า เหตุใด จึงตัดสินว่ามันเป็นหางดำ หรือ มีความแตกต่างจากหางแดงไซส์เล็กอย่างใด
กระทู้นี้เลยเกิดขึ้น และคิดว่า คงถูกนำไปอ้างอิง เพื่อประโยชน์ต่างๆนาๆมากมาย

ดังนั้น ขอ ออกตัวไว้ตรงนี้ว่า นี่เป็นความรู้และความเห็นส่วนตัว ผิดพลาดประการใด ผมขออภัยไว้ด้วยครับ และไม่ขอยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งใดๆ ผมเปลืองตัวมามากพอแล้ว แต่ก็ยังไม่มีใครเห็นค่าในสิ่งที่พยายามทำและให้ความรู้เท่าใดนัก ลองใช้วิจารณญาน และยินดีรับคำชี้แนะเพิ่มเติม

บนหางแดง
ล่างหางดำ

เทียบกันชัดๆดู

โดย: RoF (เจ้าบ้าน ) [29 พ.ค. 53 2:24] ( IP A:61.90.72.182 X: )
ความคิดเห็นที่ 22
   บน หางแดง
ล่าง หางดำ

โดย: RoF (เจ้าบ้าน ) [29 พ.ค. 53 2:25] ( IP A:61.90.72.182 X: )
ความคิดเห็นที่ 23
   ความรู้และประสบการณ์ของผมก็มีแค่นี้ นอกเหนือจากนั้น ก็ขอให้ทุกคนโชคดีครับ

https://www.youtube.com/watch?v=sUV9_ax8FqI&feature=player_embedded

โดย: RoF (เจ้าบ้าน ) [29 พ.ค. 53 2:30] ( IP A:61.90.72.182 X: )
ความคิดเห็นที่ 24
   ขอบคุณมากๆๆ ครับ
โดย: ไผ่จีโม๊ะ (truffle_drum ) [29 พ.ค. 53 12:05] ( IP A:58.9.73.182 X: )
ความคิดเห็นที่ 25
   เพิ่มเติมอีกนิดครับ
ที่ว่ากันว่า อามาทัสหางแดง ชอบว่ายหัวทิ่มหางชี้นั้น เป็นคอมเมนต์ของเซียนๆต่างประเทศเค้าครับ โดยส่วนตัวอย่างที่บอกไปแล้ว ผมอยากให้ดูลักษณะหลักที่ชัดเจนควบคู่กันไปด้วย
เพราะ การว่ายหัวทิ่ม มันแทบจะวัดเป็นองศากันเลยทีเดียว โดยหางแดง จะมีองศามากกว่า ซึ่งบางครั้งดูด้วยตาบ่งบอกอะไรไม่ได้เลย โดยเฉพาะกระแสน้ำ ก็มีผลต่อการทรงตัวของปลาทั้งสองชนิดด้วยครับ

โดย: RoF (เจ้าบ้าน ) [29 พ.ค. 53 15:30] ( IP A:61.90.72.182 X: )
ความคิดเห็นที่ 26
   ขอบคุณครับสำหรับความรู้

น่าเลี้ยงดีน่ะครับ เห็นแล้วอยากเลี้ยงจัง
โดย: Raywind [29 พ.ค. 53 16:11] ( IP A:114.128.190.242 X: )
ความคิดเห็นที่ 27
   สุโค่ยยย...
โดย: น้องเล้ง (tainlang ) [29 พ.ค. 53 22:31] ( IP A:115.67.75.170 X: )
ความคิดเห็นที่ 28
   ขอบคุณมากมากเลยครับ

อ่านแล้วเก็ทขึ้นมากเลยทีเดียว
โดย: ฟ่อน [30 พ.ค. 53 14:50] ( IP A:117.47.0.219 X: )
ความคิดเห็นที่ 29
   ในคลิป ยูทูป มีปลาผมด้วย ดูที่ชื่อล็อกอินอ่ะ ตัวนั้น แม่มโหดมาก ซัดปลาทอง เล่นเอาเจ้าของจน เลยครับ
โดย: The P@lmmint [7 มิ.ย. 53 11:16] ( IP A:58.137.22.162 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน