เกี่ยวกับยา ROF ครับ
   ถ้าจะใช้กับปลาเหยื่อนี่ ต้องใช้จำนวนเท่าไหร่ครับ พอดีอ่านบทความแล้ว
ไม่ค่อยกระจ่างเท่าไหร่ครับ
ใช้แค่ล้างหรือว่าแช่ข้ามคืนครับ
โดย: ตี๋ มารีน (ตี๋ มารีน ) [19 พ.ค. 54 17:03] ( IP A:125.24.244.83 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   ผมแช่ไว้คืนนึงแล้วเปลี่ยนน้ำครับ แจ่มมาก
โดย: เด็กอนุบาล [19 พ.ค. 54 20:33] ( IP A:125.24.93.42 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   ผมคิดว่าคงเป็นเหยื่อเป็นนะครับ ที่แช่นี่คงเป็นการป้องกันเหยื่อนำภัย อ่านข้างขวด การป้องกันใช้ 1 หยด/2ลิตรครับ
โดย: oohLogin [19 พ.ค. 54 20:40] ( IP A:180.180.169.173 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ผมตัดตอนมาบางส่วนนะครับ ดูที่ตัวแดงนะครับ




หลักการรักษาโรคยังคงเดิม คือ
1. ใช้ยาเพื่อกำจัดจุดอ่อนของอิ๊คในน้ำ ไม่ใช่ตัวแก่บนตัวปลาซึ่งมีความทนทานสูงต่อสารเคมีทุกชนิด
2. ใช้ฮีตเตอร์ เพื่อเร่งวงจรชีวิตของเชื้อให้สั้นลง ตลอดจนทำให้เชื้ออ่อนแอ และทำให้อุณหภูมิน้ำในตู้คงที่ไม่เปลี่ยนแปลงขึ้นลงมากตามสภาพแวดล้อมภายนอก อันส่งผลให้ปลาสุขภาพดีขึ้น
3. เปลี่ยนถ่ายน้ำและยาบ่อยๆ ดีที่สุดคือ การเปลี่ยนน้ำและยา วันละ 10-15 เปอร์เซ็นต์ เพื่อรักษาคุณภาพน้ำ ตลอดจนลดปริมาณตัวอ่อนของอิ๊คในน้ำ
4. ซักใยแก้ว หรือ ฟองน้ำ ทุกวัน เพื่อกำจัดตัวอ่อนที่ผ่านมากับน้ำและติดอยู่บนวัสดุกรอง
5. งดอาหารสดหรืออาหารมีชีวิตทุกชนิดเพื่อคุณภาพน้ำ และลดพาหะของโรค
เมื่อทุกข้อลงตัวสมบูรณ์ การรักษาโรคจุดขาวและเชื้อรา จะได้ผลสูงสุดครับ
สำหรับการใช้ในการแช่อาหารสดมีชีวิต เช่นพวกปลาเหยื่อชนิดต่างๆ ตลอดจน ไส้เดือนน้ำ หนอนแดง ลูกน้ำ กุ้งฝอย ฯลฯ ซึ่งมักจะเป็นพาหะของโรคปลามากมาย จะแช่ด้วยความเข้มข้น สูง ในระยะเวลาสั้นๆครับ คือ 1 ซีซี ต่อน้ำ 10 ลิตร เป็นเวลา 30 นาที แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น ผู้ใช้ สามารถปรับความเข้มข้น ให้สวนทางกับเวลาแช่ได้ครับแล้วแต่ความสะดวกและเหมาะสมที่ผู้ใช้จะตัดสินเอง
ข้อจำกัดและข้อควรระวังในการใช้ยารอฟ
ก่อนอื่น อยากให้วางใจในเรื่องของความปลอดภัยของยา เมื่อใช้
โดย: [0 3> ( IP )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 15
ตามอัตราส่วนที่ถูกต้องนะครับ จะเป็นสีเขียวอย่างไร ก็อย่าตกใจถ้าคุณคำนวณถูกต้องแล้ว เพราะมันไม่ใช่เรื่องที่ควรต้องตกใจครับ ยาอันตรายมากมายยังใช้กันได้เลยครับแต่ก่อน ไม่เห็นกลัวกัน พอปลาตายก็ไมเห็นจะโทษคนผลิตสักที เค้าก็เลยผลิตออกมาฆ่าปลาเรื่อยๆจนถึงบัดนี้ ยารอฟนั้น ไม่ใช่ยาวิเศษ หรือยาครอบจักรวาลครับ ประมาณว่า ไม่ว่าปลาจะป่วยรุนแรงแค่ไหน อ่อนแอแค่ไหน ใกล้ตายแค่ไหน สภาพแวดล้อมแย่แค่ไหน ใส่ยารอฟไปแล้วมันต้องหาย หรือฟื้นคืนชีพ ถ้าไม่หาย ก็โทษยาอย่างเดียว อันนี้ไม่ใช่นะครับ ขอยอมแพ้ครับ อย่าซื้อไปใช้เลยถ้ามีความเชื่อแบบนี้ เสียตังเปล่าๆครับ ขอให้ใช้ยา เป็นทางเลือกสุดท้ายปลายเหตุ และใช้อย่างผู้มีความรู้ครับ จึงจะเกิดผลการรักษาที่ดีที่สุด การที่เราจะมีความรู้ได้นั้น คงไม่ต้องบอกนะครับว่า ความรู้ เกิดจากการศึกษา การอ่าน การค้นคว้า และเกิดจากประสบการณ์เป็นสำคัญ
นอกจากนั้น ยารอฟ ยังถูกลดประสิทธิภาพได้โดย ระบบกรอง และสับสเตรทบางชนิด เช่น ถ่านคาร์บอน ซีโอไลต์ หรือจะเป็น แสงยูวี สารอินทรีย์ในน้ำ ตลอดจนระบบกรองที่มีสับสเตรทแน่นๆ พวก หินพัมมีส และปะการัง ก็จะสามารถดูดซับยาบางส่วนได้ครับ การสังเกตสีของยาในตู้รักษา เป็นสิ่งที่ง่ายที่สุดในการที่จะประมาณการสูญหายของยาไปกับสาเหตุเหล่านี้
โดย: RoF (เจ้าบ้าน ) [20 พ.ค. 54 1:12] ( IP A:101.108.169.38 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   ขอบคุณมากๆครับ
โดย: ตี๋ มารีน [20 พ.ค. 54 9:20] ( IP A:125.24.242.98 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน