Gene-Pool-Aquarium.pantown.com
โรงพยาบาลสัตว์ประหลาด <<
กลับไปหน้าแรก
กระทู้แนะนำ ตอนที่ 21 เต่าอลิเกเตอร์ ครับ
สวัสดีครับทุกท่านวันนี้ผม
ขอเสนอ เรื่อง เต่าอลิเกเตอร์ ครับ
เต่าอลิเกเตอร์ Macrochelys temminckii
Kingdom Animalia อาณาจักรสัตว์
Phylum Chordata สัตว์มีกระดูกสันหลัง
Class Reptilia สัตว์เลื้อยคลาน
ถูกจัดอันดับเป็นตัวน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในทวีปอเมริกาเหนือ
โดย: เเบงค์ น.ศ.สัตวเเพทย์ (bank
) [31 ม.ค. 51 1:03] ( IP A:124.120.66.115 X: )
ความคิดเห็นที่ 1
ขนาด
ความยาว 65 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 80 กิโลกรัม
ลักษณะทางกายวิภาค
เป็นเต่าน้ำจืดที่มีลักษณะคล้ายสัตว์ในยุคดึกดำบรรพ์ ส่วนหัวค่อนข้างใหญ่เเละเเข็งเเรง ขากรรไกรคม บริเวณกระดองเหมือนมีหนามงอกออกมาจากกระดอง จัดเป็นตัวที่มีความเเข็งเเรงเเละอดทนสูงเมื่อดูจากลักษณะภายนอก
นิสัย
เป็นเต่าที่มีนิสัยอดทนไม่ชอบล่าเหยื่อ เเต่จะใช่อวัยวะที่อยู่ในปาก กระดิกล่อ พวกสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่เข้ามา ใกล้อวัยวะนั้น จากนั้น เต่าก็จะทำการปิดปากอย่างรวดเร็วเพื่อให้เหยื่อหนีออกไปไม่ได้
อาหาร
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มันสามารถจับกินได้ สามารถฝึกให้กินเนื้อปลาเนื้อกุ้งได้
โดย: เเบงค์ น.ศ.สัตวเเพทย์ (bank
) [31 ม.ค. 51 1:21] ( IP A:124.120.66.115 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
การเลี้ยงดู
ควรคำนึงถึงความสะอาดเป็นอันดับเเรก เพื่อการเลี้ยงดูที่ถูกสุขลักษณะ เปลี่ยนน้ำเเละอาหารทุกวัน
ควรเลี้ยงในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ให้รับเเสงเเดดในตอนเช้า
เปลี่ยนชนิดของอาหารโดยคำนึงถึงโภชนะที่สัตว์ควรได้รับในเเต่ละวัน
ข้อพึงระวังในการเลี้ยง
ควรมั่นใจว่าทำการฝึกให้เชื่องเเล้ว *คงเชื่องยากอะนะ* จัดเป็นเต่าที่มีความอันตรายสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ตาม
โดย: เเบงค์ น.ศ.สัตวเเพทย์ (bank
) [31 ม.ค. 51 1:23] ( IP A:124.120.66.115 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
*ถึง คุณ sriayuth เเละ ทุกท่านที่สนใจ*
ผมได้ทำกระทู้เรื่อง
*การตรวจโรค ตอนที่3 โรคที่พบในเต่า การป้องกัน เเละ การรักษา*
กระทู้อันดับที่62
ไว้เป็นที่เรียบร้อยเเล้ว
เชิญชมนะครับ
https://www.pantown.com/board.php?id=2888&area=4&name=board15&topic=62&action=view
ข้อความที่ได้กล่าวมานี้
ได้มาจากประสบการ์ณการเลี้ยงสัตว์ชนิดนี้เเละจากข้อมูลที่ผมได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมด้วยตัวผมเองหากมีสิ่งใดผิดไปก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ ด้วย
หวังว่าข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อคุณ sriayuth เเละทุกท่านที่สนใจนะครับ
สวัสดีครับ
โดย: เเบงค์ น.ศ.สัตวเเพทย์ (bank
) [31 ม.ค. 51 1:31] ( IP A:124.120.66.115 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
มีวิธี เพาะพันธุ์ด้วยป่าวครับ
โดย: NOp76
[4 ก.พ. 51 14:37] ( IP A:202.57.129.150 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
ขออภัยครับ คุณ NOp76 ด้วยนะครับ หาข้อมูลพบเลย
เลยเอานี้มาให้เเทนครับ คงพอนำมาประยุกต์ใช้ได้
สถานีอนุรักษ์พันธุ์เต่ากระอาน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า บ่อเต่า (สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสตูลในปัจจุบัน) ได้รวบรวมพ่อแม่พันธุ์เต่ากระอานและเต่าลายตีนเป็ด เมื่อปี 2526 มาเลี้ยงในบ่อจำลองธรรมชาติ ศึกษาชีววิทยา การอยู่อาศัยและการเพาะพันธุ์ จนประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์ ในทุก ๆ ปี ช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม แม่พันธุ์เต่ากระอาน และแม่พันธุ์เต่าลายตีนเป็ดที่เลี้ยงในบ่อจำลองแบบธรรมชาติของสถานีฯ เริ่มเข้าสู่ฤดูวางไข่ ซึ่งก่อนหน้านี้ระหว่างเดือนกรกฏาคมถึงกันยายนเป็นช่วงฤดูผสมพันธุ์ จะพบเห็นพฤติกรรมการเกี้ยวพาราสีของเต่าเพศผู้ การแย่งตัวเมียเพื่อแสดงความป็นเจ้าของหรือการจับคู่ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงรูปร่างภายนอก ที่แสดงให้เห็นความพร้อมในการผสมพันธุ์ เช่น เต่ากระอานเพศผู้จะเห็นขอบตามีสีขาวชัดเจนขึ้น และแสดงพฤติกรรมเกี้ยวพาราสีเพศเมียโดยการพ่นน้ำและคลอเคลียตัวเมียอย่างใกล้ชิด ในเต่าลายตีนเป็ดเพศผู้ จะมีสีแดงเข้มที่บริเวณส่วนหัวชัดเจนมากขึ้น เต่ากระอานและเต่าลายตีนเป็ดผสมพันธุ์ในน้ำ แต่จะขึ้นวางไข่บนพื้นทรายละเอียด แม่เต่ามักจะสำรวจพื้นที่วางไข่ก่อนเสมอ อาจเริ่มตั้งแต่หัวค่ำ และวางไข่ตอนกลางคืนจนถึงใกล้รุ่ง ในปีนี้ แม่เต่ากระอานเริ่มวางไข่ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2550 รวบรวมไข่ได้ทั้งสิ้น 291 ฟองจากแม่เต่ากระอานที่ขึ้นวางไข่ 15 แม่ จำนวนไข่โดยเฉลี่ย 19 ฟอง/หลุม ส่วนแม่เต่าลายตีนเป็ด เริ่มวางไข่ วันที่ 26 พฤศจิกายน 2550 รวบรวมไข่ได้ทั้งสิ้น 108 ฟองจากแม่เต่าลายตีนเป็ดที่ขึ้นวางไข่ 11 แม่ จำนวนไข่โดยเฉลี่ย 9 ฟอง/หลุม โดยในช่วงฤดูวางไข่จะมีเจ้าหน้าที่คอยเฝ้าดูแลตลอด เพื่อรวบรวมไข่เต่าไปฟักในกล่องโฟมที่บรรจุทรายละเอียด หรืออาจจะปล่อยให้ฟักในหลุมเดิม รวมทั้งบันทึกรายละเอียดข้อมูลต่างๆ ซึ่งลูกเต่าจะเริ่มฟักออกเป็นตัว ประมาณต้นเดือนมีนาคม 2551 ปัจจุบันสถานีฯ สามารถเพาะพันธุ์ลูกเต่าปีละหลายร้อยตัว ลูกเต่าที่ได้จากการเพาะพันธุ์ บางส่วนปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ ซึ่งคลองละงู อ.ละงู จังหวัดสตูล อาจจะเป็นแหล่งสุดท้ายที่ยังคงมีเต่ากระอานและเต่าลายตีนเป็ดหลงเหลืออยู่
โดย: เเบงค์ น.ศ.สัตวเเพทย์ (bank
) [4 ก.พ. 51 18:37] ( IP A:124.120.62.40 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
ขอบคุณครับ
โดย: NOp76
[5 ก.พ. 51 12:30] ( IP A:202.57.129.150 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
ขออภัย คุณ NOp76 ด้วยนะครับ หาข้อมูลไม่พบเลย
พิมพ์เร็วเกินไป ตัวอักษรเลยขาดๆหายๆ
โดย: เเบงค์ น.ศ.สัตวเเพทย์ (bank
) [5 ก.พ. 51 19:56] ( IP A:124.120.65.209 X: )
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน