Gene-Pool-Aquarium.pantown.com
โรงพยาบาลสัตว์ประหลาด <<
กลับไปหน้าแรก
การตรวจโรค ตอนที่3 โรคที่พบในเต่า การป้องกัน เเละ การรักษา
สวัสดี ทุกท่านครับ วันนี้ผมขอเสนอ
เรื่องโรคที่พบในเต่า การป้องกัน เเละ การรักษา นะครับ
การป้องกันโรค เเละ การควบคุมโรค
1 ก่อนจะซื้อเต่ามาเลี้ยงนั้นต้องเเน่ใจว่า เต่านั้นเเข็งเเรงหรือซื้อกับบุคคลที่เชื่อถือได้
2 ควรทำความสะอาดสถานที่เลี้ยงเตรียมไว้ก่อนที่จะนำเต่ามาเลี้ยง
3 ทำการกักบริเวณเต่าที่มาใหม่ก่อนนำเข้าฝูง
4 ทำการเเยกเต่าที่มีอาการผิดปกติทันทีเมื่อพบ
5 ไม่ควรเลี้ยงเต่าไว้อย่างเเออัดจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความเคียด กัดกัน เสี่ยงต่อการเกิดการ เเพร่กระจายของโรค
6 ให้อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมต่อเต่าโดยคำนึงถือสารอาหารที่เต่าควรจะได้รับในเเต่ละวัน
7 จัดสถานที่เลี้ยงให้เหมาะสมโดยยึดหลักความต้องการของตัวเต่าเอง
8. อาหารเเละน้ำต้องทำการเปลี่ยนถ่ายทุกวัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อทางระบบทางเดินอาหาร
9 มั่นตรวจเช็คอุปกรณ์เเละสถานที่เลี้ยงภายในว่ามีอะไรสามารถเป็นอันตรายต่อตัวเต่าได้หรือไม่ หากมีควรรีบนำออกหรือทำการซ่อมเเซ่มทันที
อาการที่จะเกิดขึ้นเมื่อเต่าป่วย
1 น้ำหนักลดลงกว่าปกติ
2 เกิดอาการบวมตามผิวหนังเเละตาบวม
3 มีบาดเเผลภายนอกตามส่วนต่างๆของร่างกาย
4 ไม่กินอาหาร
5 กระดองนิ่ม
โรคที่พบในเต่า
1. โรคจากการขาดสารอาหาร
สาเหตุ เกิดจากการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือมีคุณค่าอาหารน้อย เต่าเป็นสัตว์กินเนื้อ บางชนิดกินได้ทั้งพืชและสัตว์ เช่น เต่าญี่ปุ่น (Red eared slider) ในธรรมชาติเต่าจะกินแมลง ปลา ลูกอ๊อด และสัตว์ที่ตายแล้ว โดยกินเข้าไปทั้งตัว จึงทำให้เกิดความสมดุลของแร่ธาตุ แต่ผู้เลี้ยงมักเข้าใจผิดคิดว่า จะเป็นการดีถ้าให้เต่าได้รับอาหารที่เป็นเนื้อล้วนๆ ซึ่งเป็นอันตรายต่อเต่ามาก เพราะอาหารเช่นนี้ มีแคลเซียมต่ำและฟอสฟอรัสสูง (อัตราส่วน 1:44) เต่าที่มีอายุน้อยจะไม่โตเต็มที่และกระดองจะนิ่มเนื่องจากการขากแคลเซียม การขาดวิตามินเอเป็นเวลานานๆ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติของเนื้อเยื่อต่อมที่ตา หนังตา และกระจกตา ทำให้เกิดโรคของตาและการบวม ส่วนการขาดวิตามินอีเป็นเวลานานๆ ทำให้เนื้อเยื่อไขมันอักเสบ เกิดตุ่มเหลืองๆไปทั่วทั้งชั้นเนื้อเยื่อไขมัน
การรักษา จะทำการรักษาตามอาการเช่น การขาดแคลเซียมและวิตามิน ก็จะทำการฉีดแคลเซียมและวิตามิน ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ หลังจากรักษาจากการฉีดแคลเซียมและวิตามิน และควรมีการปรับอาหารให้ถูกต้อง หลังการรักษาเต่าอาจจะมีรูปร่างที่บิดเบี้ยวและแคระแกร็น
2. โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ
สาเหตุ เกิดจากเชื้อต่างๆ เช่น แบคทีเรีย รา ควันพิษ การขาดสารอาหาร เช่น วิตามินเอ สาเหตุโน้มนำอื่นๆได้แก่ ความเครียดจากแสงสว่างที่มากเกินไป เป็นโรคที่พบบ่อยในเต่าเช่นกัน
อาการ มีน้ำมูก หายใจลำบากและมีเสียงดัง ซึม เบื่ออาหาร น้ำหนักลด มีการปล่อยเมือกออกมาทางปากเป็นจำนวนมาก ลมหายใจและปากเหม็น เสียการทรงตัวและไม่สามารถลอยตัวได้ มักชอบขึ้นมาอยู่บนบก
การรักษา ให้ยาปฏิชีวนะ ฉีดอาการวิตามินเอ 10 IU/ น้ำหนัก 1 กิโลกรัม ปรับปรุงสภาพแวดล้อม อาหารและทำลายเชื้อ
การป้องกัน ให้อาหารที่วิตามินเอสูงๆ เช่น หญ้าตระกูลถั่ว ผักสีเขียงจัด ไม่ควรให้เต่ากินแต่ผักกาดหอมเนื่องจากในผักกาดหอมมีวิตามินเอ พลังงาน โปรตีนและแคลเซียมน้อยมาก ควรกำจัดสาเหตุของความเครียดของเต่า เช่นสภาพแวดล้อมควรจัดให้เหมาะสมกับเต่า
3. พยาธิภายนอก
สาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากเห็บ มักพบตามคอ มุมปากหรือมุมตาและโคนหาง หนอนแมลงวันเจาะไชแผล มักเกิดเมื่ออยู่บนบก
การรักษา คีบเอาเห็บหรือหนอนออก จากนั้นทาด้วยยาปฏิชีวนะ
4. พยาธิภายใน
สาเหตุ เกิดจากโปรโตซัวที่ทำให้เกิดโรคบิด พยาธิตัวกลม เช่น Strongylus รวมถึงพยาธิชนิดอื่นๆ เช่นกัน
อาการ อาจพบอาการท้องเสีย ขาดน้ำ ซึม เบื่ออาหาร ติดเชื้อทางกระแสโลหิตและตายได้
การรักษา ใช้ยากำจัดโปรโตซัว เช่น Metronidazole 50 มิลลิกรัม / 1 กิโลกรัม ทุกวันติดต่อกัน 1 สัปดาห์ ยากำจัดพยาธิ เช่น Thiabendazole 50 มิลลิกรัม/1 กิโลกรัม ทุกสัปดาห์ ติดต่อกันอย่างน้อย 3 ครั้ง
5. โรคผิวหนัง
สาเหตุ จากบาดแผล การปนเปื้อนของเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียในน้ำ ขาดวิตามิน
อาการ เกิดแผลหลุมที่ผิวหนัง ไม่กินอาหาร อ่อนเพลีย เป็นอัมพาต ซึ่งจะลุกลามไปจนถึงมีเนื้อตายที่อวัยวะภายในเช่น ตับ
การรักษา เชื้อแบคทีเรียให้ยาปฏิชีวนะร่วมกับการทาด้วยเบต้าดีน เชื้อราใช้ยาฆ่าเชื้อราชนิดเป็นผง หรืออาจใช้เกลือ 1 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำ 1 แกลอนแล้วเอาเต่าแช่ไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง หรือใช้น้ำส้มสายชูทาบริเวณที่เกิดเชื้อราก็ได้ แล้วจึงนำไปไว้ที่ถังเลี้ยงอย่างเดิม
การต่อสู้กัน
เกิดจาก การเลี้ยงอย่างเเออัด เลี้ยงปนกันหลายขนาด อาหารไม่เพียงพอ พื้นที่ว่างไข่ไม่เพียงพอ
อาการ เเผลตามร่างกาย อวัยวะขาด เช่น ขาขาด นิ้วขาด หัวขาด
การรักษา เเยกตัวบาดเจ็บมารักษาโดยการทายาเเละผสมยาปฎิชีวนะในอาหาร
ผมหวังว่าข้อมูลที่ผมได้หามานี้จะเป็นประโยชน์ต่อ ทุกท่านที่เลี้ยงเต่าเเละ ทุกท่านที่สนใจ ด้วยนะครับ
ข้อความที่ได้กล่าวมานี้ ได้มาจากข้อมูลที่ผมได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมด้วยตัวผมเองหากมีสิ่งใดผิดไปก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ ด้วย ขอบคุณมากครับ
โดย: เเบงค์ น.ศ.สัตวเเพทย์ (bank
) [26 ธ.ค. 50 13:13] ( IP A:124.120.62.35 X: )
ความคิดเห็นที่ 1
ผักกาดหอม ไม่ค่อยมีประโยชน์ แต่ก็ไม่มีอันตรายใช่ปะครับ
ผมให้ปนๆไปอะ แต่หลักๆมี ผักกาดหอม กวางตุ้ง
ส่วนอื่นๆก็มี ผักบุ้ง ใบชบา ดอกชบา ผักกาดแก้ว แตงกวา
คะน้าก็ให้แต่เห็นอ่าน link ส่วนมากบอกไม่ดีซะส่วนใหญ่ ก็เลยเลิกไปแล้ว ที่เหลือก็แล้วแต่แม่ซื้อ ผักไรมาก็เอามาให้เต่ากินบางครั้ง
ที่เลือกให้ผักกาดหอมกับกวางตุ้งเพราะ มันกินกันเยอะสุดอะจากที่ให้ๆหลายๆอย่างดูก็เลยให้เป็น หลักไปเลย
ผมมีอีกอาการ ตัวลอก เต่าผมตรงระหว่าง ซอกคออะ หนังมันลอกอะครับ และเนื้อที่ก้นมัน มีเหมือนปานแดง 1 จุด ถ่ายปกติแต่มีก้อนสีขาวออกมาด้วย(ผมก็แยกไม่ออกเหมือนกันระหว่างยูริคกับแคลเซียมที่ใช้ไม่หมด) กิน เดิน ปกติ จากการสังเกต
หายใจเหมือนหายใจแรง ไม่มีน้ำมูก
ตอบสนองปกติ หัวยังสามารถหลบได้เข้าไปในกระดอง (เห็นคนที่มีอาการเอามือไปโดนหัวแล้วนิ่ง แปลว่าอันตรายแล้ว)
โดย: 2042 [26 ธ.ค. 50 14:09] ( IP A:58.10.84.244 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
ลืมครับ จากรูป ตัวที่เป็นคือตัวสีขาว ส่วนสีเหลืองปกติดี
โดย: 2042 [26 ธ.ค. 50 14:12] ( IP A:58.10.84.244 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
Metronidazole..ควรระวังในการใช้นะคับ...จะให้ดีควรใช้โดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น...เพราะพบตัวอย่างการสะสมของยาในสัตว์...ส่งผล..ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตครับ
คอลอกเป็นเป็นๆ....คล้ายๆการลอกคราบของงูนั้นหละคับ...มีเกิดขึ้นเป็นเรื่องธรรมดา
ส่วนกรณีที่ซู...ถ่ายออกมาโดยมีก้อนขาวๆบนออกมาด้วยเป็นเรื่องปกติครับ.....เพราะถ้าร่างกายเขารับไปเกิน....เค้าก้อจะขับออกมาเองคับ
แนะนำเรื่องแช่น้ำหน่อยนะคับ....ควรแช่อย่างน้อยซักอาทิตย์ละ2ครั้ง..ครั้งนึงไม่นานนะคับ.5-10นาที....เพราะช่วยเรื่องลดการสะสมของยูริกคับ.....อย่าแช่นานกว่านี้คับ...เด๋ยวจะเป็นหวัดเสียป่าวๆๆ
ยังไงลองโพสรูป
เนื้อที่ก้นมัน มีเหมือนปานแดง 1 จุด ถ่ายปกติแต่มีก้อนสีขาวออกมาด้วย(ผมก็แยกไม่ออกเหมือนกันระหว่างยูริคกับแคลเซียมที่ใช้ไม่หมด) กิน เดิน ปกติ จากการสังเกต
ให้ดูหน่อยสิครับ....จะได้ช่วยๆกัน
โดย: switch01 [28 ธ.ค. 50 23:48] ( IP A:125.24.241.70 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
..อืม....อย่าลืมเรื่องแดดนะคับ......
โดย: switch01 [28 ธ.ค. 50 23:49] ( IP A:125.24.241.70 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
ตอนนี้ถ่ายปกติ ผมแช่น้ำทุกวัน ในน้ำอุ่น เช้าเย็น ครั้งละประมาณ 15 นาที ส่วนมากพอแช่ รอมันถ่าย ก็รออีก 10 นาที ดูว่าออกอีกก้อนอะเปล่า ไม่ออกก็เอาขึ้น เช็ดตัวเอาไปวางไว้ในตู้ มันก็เดินไปหาตรงหลอดยูวีเลย ไม่ก็เดินไปกิน ส่วนจุดแดงๆ ผมว่าคงเป็นแผล เพราะเปิดดูรูปเต่าที่ขายๆกัน ก็มีบางตัว ที่เป็นเช่นเดียวกัน
โดย: 2042 [29 ธ.ค. 50 12:09] ( IP A:58.10.84.108 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
จุดแดงครับ ที่วงๆไว้ ตอนแรกนึกว่าไรกัด
โดย: 2042 [29 ธ.ค. 50 12:11] ( IP A:58.10.84.108 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
รอยลอก ที่เนื้อมันขาวๆ นั่นคือลอกแล้ว
โดย: 2042 [29 ธ.ค. 50 12:13] ( IP A:58.10.84.108 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
อีกรูป ตรงซอกคอ
โดย: 2042 [29 ธ.ค. 50 12:14] ( IP A:58.10.84.108 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
ส่วนอุจจาระเคยเหมือนอีกตัวของผม แต่อีกตัวไม่ค่อยปนออกมาและ แต่ตัวนี้ยังปนมาบ่อยอยู่
https://www.pantown.com/board.php?id=2888&area=4&name=board15&topic=52&action=view
อยากรู้ว่าจะแยกยังไงระหว่างยูริค กับ แคลเซียม
โดย: 2042 [29 ธ.ค. 50 12:17] ( IP A:58.10.84.108 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
เรื่องหวัดค่อนข้างชัว ผมเปิดฮีทเตอร์ บวกยูวีทั้งวัน สลับกัน
มีมุมแสงกับไม่มีแสง กำลังหาตู้ใหญ่กว่านี้ให้มันอยู่
กำลังจัดที่ในบ้านอยู่ไม่อยากตั้งตู้บอกบ้าน กลัวแมวกับนก ความชื้นด้วย
ปลาที่บ้านโดนแมวกับนกกระยาง กินหมดเลย ในบ่ออะ ในตู้ เคยเห็นแมวมันปีนทีนึง ดีนะมีฝาปิด
บ้านผมด้านซ้ายติดสวน ด้านขวาบ้านข้างๆเลี้ยงแมว ออกลูกออกหลาน เต็มบ้าน
ตอนนี้เลยเลิกเลี้ยงปลาในบ่อ เลี้ยงในตู้ทั้งหมด T-T
ตอนนนี้กำลังมี plan เลี้ยงปลาดุ เอาแบบ กินนก กินแมวได้ มีมะ ^^
โดย: 2042 [29 ธ.ค. 50 12:32] ( IP A:58.10.84.108 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
เต่าบกที่ได้รับอาหารที่มีวิตามินเอเป็นจำนวนมากและยาวนานเกินไป จนเกิดภาวะวิตามินเอเป็นพิษ
จะพบว่าแผ่นผิวหนังบริเวณคอจะหนาตัวขึ้นมีสีแดง และหลุดลอกออกเป็นแผ่น ๆ จนเกิดแผลหลุมได้ นะครับ
โดย: เเบงค์ น.ศ.สัตวเเพทย์ (bank
) [28 ม.ค. 51 19:58] ( IP A:124.120.60.228 X: )
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน