Gene-Pool-Aquarium.pantown.com
ปลาป่วยรักษาที่นี่ครับ <<
กลับไปหน้าแรก
ปลาเป็นแผล ตกเลือด
ได้ซื้อปลาคาร์ฟมาเพิ่มเนื่องจากตายไปบ้างในช่วงเปลี่ยนน้ำ (ลืมพักน้ำไว้ค่ะ) เป็นความผิดของตัวเอง เมื่อซื้อปลามาเพิ่มแล้ว วันรุ่งขึ้นปลาที่อยู่ก่อน (เก่า)มีบาดแผลเกือบปลายหาง แล้วมีอาการตกเลือดตั้งแต่ปลายหางไปจนถึงโคนหางเลย
..ตอนนี้แยกลงกะละมัง..ใส่เกลือ+ยารักษาอาการตกเลือดชื่อ Bleed R อาการทรงตัวอยู่ ไม่ทราบว่าต้องทำอย่างไรบ้าง
โดย: ปลาเล็ก-ปลาน้อย [16 ม.ค. 49 17:10] ( IP A:61.91.197.163 X: )
ความคิดเห็นที่ 1
ผมไม่รู้จักยาตัวนี้ครับ มีส่วนผสมบอกไว้บ้างหรือเปล่าครับ
แต่คิดว่าคงใช้ยาตัวนี้ได้ครับ
ใช้ตามฉลาก ส่วนเกลือ ใส่ประมาณ 1-2 กรัม ต่อน้ำหนึ่งลิตร
สิ่งที่ต้องทำคือ ให้อากาศแรงๆ ปิดฝาไว้กันปลากระโดด และเปลี่ยนน้ำ และยาทุกๆ 2 วันครับ
โดย: RoF (เจ้าบ้าน
) [17 ม.ค. 49 1:46] ( IP A:58.8.66.206 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
สอบถามอีกข้อค่ะ
คุณ RoFค่ะ ช่วยแนะนำเกี่ยวกับยา รักษาอาการ ตกเลือดหรือเป็นแผลหน่อยค่ะ...ตอนนี้ก็ลองเอายาเหลือง+น้ำผสมเกลือสมุทร แช่ไปก่อนค่ะ ไม่ทราบว่าจะพยุงได้อีกนานแค่ไหน..ช่วยหน่อยนะคะ
โดย: ปลาเล็ก-ปลาน้อย [17 ม.ค. 49 15:53] ( IP A:61.91.197.143 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
โรคจากแบคทีเรีย (Bacterial Diseases)
และแล้วก็มาถึงเชื้อโรคกลุ่มสุดท้าย นั่นก็คือ แบคทีเรียนั่นเอง แบคทีเรียเป็นจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่สุดในบรรดาโรคที่กล่าวมาข้างต้น มีมากมายหลายชนิด หลายสายพันธุ์ แบคทีเรียนั้น มีทั้งพวกที่ให้ประโยชน์ เช่น ย่อยสลายของเสียในตู้ หรือในทางเดินอาหารของปลา ช่วยกำจัดยับยั้งเชื้อรา หรือแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค และพวกที่ให้โทษต่อปลา คือก่อให้เกิดโรคต่างๆมากมายนัก ถือว่าเป็นหัวหน้าผู้ร้ายของขบวนการเลยทีเดียวครับ แบคทีเรียมีอยู่ทุกที่ ทุกแห่ง เปลี่ยนน้ำอย่างไร ใส่ยา ล้างตู้ ขัดโน่นขัดนี่ อย่างไรก็กำจัดไม่หมด ดังนั้นสิ่งที่เราจะต้องเรียนรู้ก็คือ ทำอย่างไรให้ปลาเราแข็งแรงและต้านทานแบคทีเรียเหล่านี้ได้ ทำอย่างไรให้แบคทีเรียที่ก่อโรคมีน้อยที่สุดหรืออยู่ในสภาพที่อ่อนแอและไม่ก่อให้เกิดโรคได้ เป็นต้น เนื่องจากโรคจากแบคทีเรียนั้นมีมากมายหลายชนิด ผมจึงขอแบ่งคร่าวๆตามอาการป่วยของปลาจะกะทัดรัดกว่าครับสำหรับในเล่มนี้
การติดเชื้อแบคทีเรียภายนอกร่างกาย
หมายความว่า แบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคนั้น แสดงอาการบนอวัยวะภายนอกต่างๆของปลา เช่น ผิวหนัง ครีบ ผิวดวงตา เหงือก เป็นต้น อย่างที่เราเข้าใจกันดีแล้ว ถ้าปลาแข็งแรง เชื้อโรคอ่อนแอ สภาพแวดล้อมดีต่อปลา ปลาของเราก็จะไม่เป็นโรค แต่เมื่อไรก็ตามที่ปลาเราอ่อนแอลง สาเหตุหลักๆก็คงไม่พ้น เรื่องของสภาพการเลี้ยงที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก ถ้าส่วนนี้ผ่าน เราจึงค่อยมามองที่ตัวปลา ว่าปลาของเราอ่อนแอลงจากอะไร เช่น การบาดเจ็บทางกายภาพ จากการโดนกัด ชนตู้ กระโดดออกนอกตู้ฯลฯ หรือมิฉะนั้น ก็อาจมองไปถึงเรื่องภูมิคุ้มกันของปลาแต่ละตัวเลยทีเดียว เช่นว่า ตัวนี้ อ่อนแอกว่าปกติ ฯลฯ แต่เชื่อเถอะครับว่า มันควรจะเป็นสาเหตุสุดท้ายที่เราจะสรุปออกมา เพราะส่วนใหญ่ มักไม่ผ่านตั้งแต่เรื่องสภาพการเลี้ยงแล้วล่ะครับ
เรามาดูสาเหตุในเรื่องการบาดเจ็บทางกายภาพกันนะครับ
การบาดเจ็บเนื่องจากการกัดกัน เป็นสาเหตุอันดับต้นๆเลย สำหรับผู้เลี้ยงปลาเทกซัสแดง ทั้งในตู้รวม ซึ่งปกติก็อยู่กันได้ดีๆหลายๆตัว วันดีคืนดี ปลาจ่าฝูงเกิดคึกขึ้นมา เช่น แย่งอาหารกัน แย่งที่อยู่ แย่งตัวเมีย หรือแย่งที่ทำรังกัน ปลาผู้น้อย ก็ย่อมโดนรังแกเป็นธรรมดา หรือ กั้นช่อง แล้วดันโดดมากัดกันหรือพังแผงกั้นซะดื้อๆ เนื่องจากเขม่นกันมานานแล้ว หลังจากพะบู้กันสักพัก สิ่งที่ตามมาก็คือ เกล็ดหลุดบ้างล่ะ แผลถลอกตามร่างกายหรือบางทีก็เกิดแผลลึกก็มี ครีบขาด แหว่ง ตาถลอก หรือไม่ก็หลุดหายไปอยู่ในท้องของคู่ต่อสู้ ฯลฯ บาดแผลจากการกระโดดชนตู้ หัวแตกบ้างล่ะ ปากแตก ฉีก หรือกระโดดออกมาแห้งอยู่นอกตู้ หรืออาจเป็นบาดแผลซึ่งเกิดจาก ปรสิต และเชื้อราบาดแผลที่เกิดขึ้นดังกล่าวนั้น จะง่ายต่อการติดเชื้อแบคทีเรียเป็นอย่างยิ่งครับ เนื่องจากไม่มีเมือกปลาคอยหุ้มอยู่ ประกอบกับปลากำลังอ่อนแอลงด้วย
อาการของการติดเชื้อแบคทีเรียนั้น จะแสดงออกได้หลายแบบครับ คือ อาการช้ำบวมอักเสบ เป็นหนอง อาการเปื่อย อาการตกเลือด เป็นต้น ซึ่งจะเกิดขึ้นบริเวณแผลเริ่มต้น หรือเกิดขึ้นมาเองก็ได้ ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของปลา และความรุนแรงของเชื้อโรค
การรักษา เบื้องต้นเลย ในกรณีที่ปลาบาดเจ็บทางกายภาพที่ค่อนข้างรุนแรง ควรย้ายปลาออกมาใส่ตู้พยาบาลให้เร็วที่สุด โดยใช้น้ำเก่าตู้เดิม 80 เปอร์เซ็นต์ ผสมกับน้ำใหม่ 20 เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับเกลือแกง 0.1 เปอร์เซ็นต์ การทำเช่นนี้เพื่อป้องกันปลาช๊อคน้ำใหม่ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นได้ง่ายมากยามปลาบาดเจ็บ ให้อากาศเต็มที่ แล้วแช่ด้วย อคริฟลาวิน แค่ประมาณ 20 ppm เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ในขั้นตอนนี้ เราเรียกว่า การดูอาการปลา ครับ ปลาในระยะพึ่งบาดเจ็บมานี่ จะอ่อนแอมากในทุกๆด้าน รวมทั้งความทนทานต่อสารเคมี และยาต่างๆ ก็จะต่ำมากๆด้วย โอกาสช๊อคเพราะยาจึงมีสูงมากๆ เราจึงไม่ควรใส่ยาปฏิชีวนะลงไปก่อนเต็มโดสครับ ควรใส่แต่เพียงเล็กน้อย เช่น 10 ppm หรือใช้อคริฟลาวินตามอัตราส่วนที่บอกไว้ข้างต้นก็ได้ สิ่งสำคัญในตอนนี้ ไม่ใช่การใส่ยาเพื่อฆ่าแบคทีเรีย เพราะปลายังไม่ติดเชื้อ แต่สิ่งสำคัญที่เราควรตระหนักคือ ทำอย่างไรที่จะช่วยประคองปลาให้แข็งแรงขึ้น และรอดพ้นจากความตายจากการบาดเจ็บโดยตรงที่รออยู่ตรงหน้า มากกว่าการตายจากการติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งจะตามมาทีหลัง เมื่อปลาทรงตัวได้แล้ว มีการตอบสนองดีขึ้น ว่ายน้ำดีขึ้นจึงค่อยทำการรักษาด้วยยาในขั้นต่อไปครับ
การติดเชื้อจากสภาพการเลี้ยงไม่เหมาะสม
บอกมาหลายครั้งแล้ว เลยขอสรุปสั้นๆว่า ถึงแม่ปลาเราจะไม่บาดเจ็บหรือมีแผลใดๆก็ตามนะครับ ถ้าน้ำเสีย สกปรก ปลาอ่อนแอ เชื้อโรคมาก ปลาก็จะแสดงอาการติดเชื้อแบคทีเรียออกมาให้เราเห็น อาจแสดงอาการเปื่อยทั้งตัว ตาขุ่นบวม ครีบและเกล็ดตกเลือด มีแผลเป็นหนองเกิดขึ้น ฯลฯ ในขั้นต้นนั้น สิ่งที่ควรทำอันดับแรกคือ การค่อยๆเปลี่ยนถ่ายน้ำ และทำความสะอาดระบบกรอง เช่น การเปลี่ยนใยแก้ว ทำความสะอาดหินปูพื้น หรือเอาออกไปก่อนก็ยิ่งดี หรือ ไม่ก็ย้ายลงในตู้พยาบาลเลยก็ดีครับ แล้วจึงค่อยทำการรักษาด้วยยาต่อไป
การใช้ยาและสารเคมี
- อคริฟลาวิน Acriflavine (3,6-Diamino-10-methylacridinium chloride)
ยังเป็นสิ่งจำเป็นอยู่เช่นเคยครับ แต่ส่วนใหญ่จะได้ผลในการป้องกันมากกว่าการรักษา เราจะใช้แช่ด้วยความเข้มข้น 60 ppm แช่ตลอด
-ยาปฏิชีวนะต่างๆ
ยาปฏิชีวนะ คือยาที่สกัดมาจากสิ่งมีชีวิต หรือการสังเคราะห์ของมนุษย์ และสามารถยับยังการเจริญเติบโต หรือทำลายจุลินทรีย์ต่างๆได้ มีโครงสร้างทางเคมีที่ซับซ้อน ปัจจุบัน มียาปฏิชีวนะมากมายหลายร้อยชนิด และเกิดขึ้นใหม่เรื่อยๆ แต่ในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียในปลานั้น เราจะใช้ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ในวงกว้าง (Broad Spectrum Antibiotic) ก็คือสามารถออกฤทธิ์ได้กับแบคทีเรียหลายๆชนิดทั้งแกรม + และแกรม ครับ ยาที่นิยมใช้ก็เช่น ออกซีเตทตร้าซัยคลินไฮโดรคลอไรด์ ซึ่งมีฤทธิ์ยับยังการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย แอมม๊อกซี่ซิลิน ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าแบคทีเรียได้ และอื่นๆอีกมากมาย เช่น อิริโธมัยซิน กานามัยซิน ฟูราโซลิโดล คลอแรมเฟนิคอล หรือ เตทตร้าซัยคลิน เป็นต้น การใช้ยาปฏิชีวนะพวกนี้นั้น เราจะแช่ด้วยความเข้มข้นประมาณ 20-30 มิลลิกรัมต่อน้ำหนึ่งลิตร และควรเปลี่ยนน้ำและยา 50 เปอรเซ็นต์ทุกๆ 3 วัน เพื่อเป็นการถ่ายเทของเสีย และยาที่หมดอายุออก จะทำให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้นครับ อีกวิธีการหนึ่งก็คือการทาแผลติดเชื้อโดยตรง เราจะใช้วิธีนี้กับปลาขนาดใหญ่ และเราแน่ใจว่าเราสามารถจะจับมันมาทาได้โดยปลาได้รับความบอบช้ำน้อยที่สุดครับ วิธีการก็คือ การซับแผลดังกล่าวให้หมาดๆด้วยกระดาษซับ เพื่อให้เมือกปลาน้อยลง และยาสามารถเกาะติดได้ง่ายขึ้น ทำการป้ายผงยาปฏิชีวนะบริเวณแผลดังกล่าวให้ทั่ว แล้วปล่อยปลาคืนตู้ ทำแบบนี้ร่วมกับการแช่ ก็จะยิ่งได้ผลเร็วขึ้นครับ ยาที่ใช้ทาได้ผลดีอีกแบบหนึ่งคือ ยาปฏิชีวนะในรูปขี้ผึ้งต่างๆ หาซื้อได้ตามร้านขายยยาคนทั่วไปนี่แหละครับ เช่น คลอแรมครีม (อันนี้ได้ผลดีมาก) ป้ายแผลด้วยวิธีการเดียวกันครับ การจะเลือกใช้วิธีใดนั้น ขึ้นอยู่กับวิจารณญานในการตัดสินใจของเรานะครับ ว่าเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เราประสบอยู่หรือไม่ครับ
การติดเชื้อแบคทีเรียภายในร่างกาย
หมายถึงการติดเชื้อที่อวัยวะภายในตัวปลา ที่เกิดบ่อยๆก็เช่น ในระบบทางเดินอาหาร ในรังไข่ หรือในระบบขับถ่ายเช่น ไต เป็นต้น สาเหตุของการติดเชื้อแบคทีเรียภายใน นอกจากสภาพการเลี้ยงที่ไม่เหมาะสมแล้ว สาเหตุสำคัญก็คือ เกิดการติดเชื้อจากอาหารครับ โดยเฉพาะอาหารสดต่างๆ เป็นตัวนำพาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายปลาเป็นอย่างดีทีเดียว เช่น ปลาเหยื่อ นี่ก็พาเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ปลาของเราโดยตรง ไส้เดือนน้ำ หนอนแดง ซึ่งโดยธรรมชาติจะอาศัยอยู่ในตะกอนสกปรก กุ้งฝอยซึ่งมักเน่าเสียได้ง่าย ไรทะเลหรือ อาร์ทีเมีย ถึงแม้จะไม่ได้นำแบคทีเรียมาสู่ปลาโดยตรง แต่ปริมาณเกลือที่สะสมอยู่ในตัวอาร์ทีเมียนั้น เมื่อปลาเทกซัสแดงเล็กๆ กินเข้าไป ก็จะสะสมในร่างกายมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ไตทำงานหนักและเกิดภาวะไตวายในที่สุดและเกิดอาการบวมน้ำตามมา แม้กระทั่ง หนอนแดงแช่แข็ง ก็ยังมีแบคทีเรียอยู่มากพอสมควรครับ ดังนั้น การหลีกเลี่ยงอาหารสด น่าจะเป็นวิธีที่ดี สำหรับผู้ที่ไม่แน่ใจในเรื่องโรค เลี่ยงไปใช้อาหารเม็ดยี่ห้อต่างๆมากมายในท้องตลาดก็ได้ครับ แต่ถ้าต้องการให้อาหารสด สิ่งสำคัญก็คือการรักษาความสะอาดในตู้ หลีกเลี่ยงอาหารเน่าเสีย ตกค้าง และหมักหมมในตู้ ก็จะช่วยควบคุมไม่ให้ปลาเกิดโรคได้เป็นอย่างดี
อาการของปลาที่ติดเชื้อแบคทีเรียภายในนั้น ก็จะแสดงออกได้มากมาย เช่น อาการบวม ยื่นของปาก เพดานปาก ตาบวม ปูด ท้องบวม เกล็ดตั้ง มีหนองหรือฝีบวมขนาดใหญ่เกิดขึ้นตามร่างกาย อาการเกล็ดตั้ง อาการขี้ขาว อาการเสียการทรงตัว ปลาที่ติดเชื้อภายใน สีจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง ปลาเซื่องซึม ไม่กินอาหาร ฯลฯ ซึ่งเป็นอาหารผิดปกติของปลาป่วยทั่วไปครับ
การใช้ยาและสารเคมี
การรักษาอาการติดเชื้อภายในร่างกายนั้น เราจะไม่นิยมใช้สารเคมีต่างๆ เท่าใดนัก เช่นพวก อคริฟลาวิน ด่างทับทิม โพวิโดนไอโอดีน ฯลฯ แต่เราจะใช้ยาปฏีชีวนะ เพราะมีขบวนการออกฤทธิ์ที่ซับซ้อนกว่าในร่างกายของปลาครับ มีวิธีการให้ยาดังนี้คือ
- วิธีการแช่ วิธีการแช่นั้น เหมาะสำหรับ ปลาเล็ก หรือ ปลาจำนวนมากที่ติดเชื้อพร้อมๆกัน ซึ่งผู้เลี้ยงไม่สะดวกในการป้อนยาให้ปลา หรือปลาไม่กินอาหารแล้ว ปลาที่แช่ยาปฏิชีวนะ จะได้รับตัวยาโดยการดูดซึมเข้าทางเหงือก หรือการกินเข้าไปโดยตรงผ่านน้ำ ซึ่งบางครั้งอาจไม่ได้ผลดีเท่าวิธีการกินยาโดยตรงเท่าใดนัก การแช่ยาปฏิชีวนะ เราจะใช้ความเข้มข้นที่ประมาณ 30-40 มิลลิกรัมต่อน้ำหนึ่งลิตร ครับ ยาที่นิยมใช้ ได้แก่ ออกซิเตทตร้าซัยคลิน คลอแรมเฟนิคอล แอมม๊อกซี่ซิลิน และ อิริโธมัยซิน ครับ
- วิธีการให้ปลากินยาโดยตรง
โดย การผสมอาหารให้ปลากิน โดยใช้ยาปฏิชีวนะ 50-70 มิลิกรัมต่ออาหารปลา 1 กิโลกรัม การผสมอาหารนั้น เราจะนิยมผสมในอาหารเม็ดครับ วิธีการคือ คลุกอาหารเม็ดให้เข้ากับผงยาจนทั่ว แล้ว พรมน้ำหมาดๆ แล้วผสมให้เข้ากันอีกครั้ง ทิ้งผึ่งลมไว้ให้แห้งสัก 40 นาที ก็นำไปให้ปลากินได้ การเตรียมอาหาร ควรกะปริมาณให้ใช้ได้หมด ภายใน 3 วันนะครับ ถ้าเหลือก็สามารถแช่ตู้เย็นไว้ได้ครับ เราจะให้ปลากินอาหารดังกล่าวจนกว่าปลาจะหายดีเลยครับ ต่อไปเป็นวิธีการป้อนโดยตรง ป้อนให้ปลากินด้วยกระบอกฉีดยาในอัตราส่วน 30-50 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม วิธีนี้ เหมาะสำหรับปลาตัวใหญ่ๆครับ ถ้าปลาไม่กินอาหารแล้ว เราก็ต้องจำเป็นต้องเลือกใช้วิธีนี้แล้วล่ะครับ การป้อน เราจะใช้กระบอกฉีดยาขนาดเล็กในการป้อน โดยฉีดสารละลายเข้าไปในปากปลาให้ลึกเลยช่องเปิดเหงือกเล็กน้อยครับ สำหรับการผสมสารละลายยา เราก็คำนวณจากน้ำหนักปลาครับ เช่น ปลาเราหนัก 1 กิโลกรัม เราก็จะใช้ยา 30 มิลลิกรัม ละลายในน้ำสะอาด 1 มิลลิลิตร(ปกติแล้วน้ำสะอาดที่ใช้เราจะใช้โดยกะประมาณจากน้ำหนักปลาโดย ปลาหนัก 1 กิโลกรัม เราก็จะใช้น้ำ 1 มิลลิลิตร) แล้วดูดใส่กระบอกฉีดยาป้อนให้ปลากิน ทำทุกวัน จนกว่าปลาจะหายดีเช่นกันครับ
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ จบแล้ว หวังว่าทุกท่านคงจะนำวิธีการต่างๆที่สรุปไว้ในที่นี้ไปใช้ได้จริงๆ และได้ผลนะครับ อยากจะบอกอีกครั้งว่า การเลี้ยงปลาให้แข็งแรง ต่อต้านโรคภัยไข้เจ็บได้ จึงเป็นประเด็นสำคัญที่เราควรใส่ใจ มากกว่าที่จะมานั่งคิดว่า จะกำจัดให้เชื้อโรคหมดไปอย่างไร บางคน ปลาแข็งแรงอยู่ดีๆ แต่ก็วิตก กลัวโน่น กลัวนี่ อุตสาห์ไปหาซื้อยาสารพัดมาใส่ เพียงเพราะคิดว่า มันจะช่วยฆ่าเชื้อโรคต่างๆในน้ำได้หมด ปลาจะได้ไม่เป็นโรค ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดเอามากๆ ไม่เพียงแต่ไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคได้หมดแล้ว ยังจะทำให้ปลาอ่อนแอลงจากการต่อต้านกับยาและสารเคมีที่ท่านใส่ลงไปด้วย ผลก็คือ ปลาอ่อนแอและเป็นโรคอีกนั่นแหละ จำเอาไว้ว่า การเลี้ยงปลาแบบปลอดเชื้อนั้นแทบเป็นไปไม่ได้ มีแต่ปลากระป๋องเท่านั้นแหละครับ ที่ต้องผ่านขบวนการ สเตอริไลส์ (Sterilization) และปิดผนึกเป็นอย่างดี จึงจะอยู่ในสภาพปลอดเชื้อ หรือมีเชื้อน้อยที่สุด แต่ปลากระป๋องนั้น ตายแล้วครับ
โดย: RoF [17 ม.ค. 49 16:07] ( IP A:58.8.95.181 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
ส่งภาพมาให้ดูค่ะว่า อาการเป็นอย่างไรบ้าง แต่ตอนนี้ เริ่มกินอาการบ้าง ว่ายคล่องตัวอยู่..แถมยังมใกล้ๆเวลาเรามาดูอาการเค้าบ่อยๆค่ะ เป็นปลาคาร์ฟค่ะ
โดย: ปลาเล็ก-ปลาน้อย [17 ม.ค. 49 16:57] ( IP A:61.91.197.143 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
แผลค่อนข้างใหญ่ครับ ป้ายแผลดังกล่าว ด้วยขี้ผึ้งผสมยาปฏิชีวนะ เช่น คลอแรมครีม หาซื้อได้ตามร้านขายยาคนทั่วไปนะครับ
ทำวันเว้นวัน ไม่นานจะดีขึ้นครับ
ถ้าไม่สะดวกในการจับปลา ให้แช่ด้วยยาแอมม๊อกซี่ซิลิน หาซื้อได้จากร้านขายยาคนเช่นกัน ในอัตราส่วน 30 มก ต่อน้ำหนึ่งลิตร ร่วมกับเกลืองแกง 1 กรัม ต่อน้ำหนึ่งลิตร เปลียนน้ำและยา 50 เปอร์เซนต์ทุกๆ สองวันครับ
โดย: RoF [17 ม.ค. 49 22:40] ( IP A:58.8.90.58 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
เรียนคุณ RoF ค่ะ
ถ้าหนูไม่สะดวกในการป้ายแผลเลยเพาะไม่กล้าค่ะ แล้วหนูให้เค้าแช่ยาแอมม๊อกซี่วิลิน ในอัตราส่วนดังกล่าวได้มั้ยค่ะ ส่วนเกลือแกง คือเกลือสมุทร ที่เป็นเม็ดๆ ใช่มั้ยค่ะ แล้วอีกนานมั้ยค่ะ กว่าจะหาย ตอนนี้หนูให้เค้าแช่อยู่ในยาเหลืองที่หาซื้อตามร้านขายปลา+เกลือสมุทรค่ะ
โดย: ปลาเล็ก-ปลาน้อย [18 ม.ค. 49 8:20] ( IP A:61.91.197.202 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
เกลือแกง ก็คือเกลือทำกับข้าวนั่นแหละครับ
ไม่เกิน 1 อาทิตย์ อาการน่าจะดีขึ้น อยากให้ใช้ แอมม๊อกซี่ฯมากกว่าครับ
โดย: RoF [18 ม.ค. 49 13:35] ( IP A:58.8.69.232 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
เรียนคุณ RoF อีกรอบค่ะ
หนูไปหาซื้อยาตามร้านขายยาทั้วไปแล้ว เภสัชกรที่นั่นเค้าบอกว่า มีแต่ 500 มก. เป็นแคปซูลค่ะ...ทีแรกหนูก็คิดว่าคงใช่ตัวนี้แน่ๆ...แต่พอได้คุยกับเภสัชกรที่ขายยาเรื่องปลาเพราะเห็เค้าเลี้ยงปลาทอง ตู้ใหญ่มากเลย เค้าบอกว่าเค้าก็มีอาการตกเลือกเหมือนกันใช้ยาตัวนี้สิ...ชื่อ ไบโอน๊อก 3 ประมาณ 1-2 วันก็หาย เนี่ยของเค้าอาการดีขึ้นเยอะเลย เค้าก็เลยแนะนำให้หนูมาลองใช้ดู เค้าแบ่งให้ฟรีค่ะ..ไม่เสียตังค์..หนูก็เลยเอามาใส่ในกะละมัง ทำไมสีมันเหมือนยาเหลืองที่หนูเคยใช้เลยล่ะค่ะ...แล้วมันจะดีมั้ยเนี่ย..ถ้าไม่ดีหนูจะได้ไปซื้ออีกร้าน
โดย: ปลาเล็ก-ปลาน้อย [18 ม.ค. 49 14:32] ( IP A:61.91.197.202 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
ไบโอน๊อก กับปลาทองใช้ได้ดีมากครับ
น่าจะมีส่วนผสมของ อคริฟลาวิน มาลาไคท์กรีน และ ฟอร์มาลีน แบบว่า ขวดเดียวครอบจักรวาลเลย
แต่ไม่แนะนำให้ใช้กับปลาชนิดอื่นครับ บางครั้งอาจมีการแพ้ยา
โดย: RoF (เจ้าบ้าน
) [18 ม.ค. 49 15:02] ( IP A:58.8.69.232 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
ว้าวนี่แหละที่ผมต้องการ
อาการปลาของคุณผู้หญิงหนักกว่าของผมยังหายได้เลย
แล้วทำไมของผมจะหายไม่ได้
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ ครับ
ทั้งเจ้าของกระทู้และ คุณต้นครับ
โดย: chitrasit
[24 ก.พ. 52 13:13] ( IP A:203.153.163.34 X: )
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน