ความคิดเห็นที่ 1 บ่อกักโรค หรือตู้ปลา ควรกักปลาใหม่เพื่อดูอาการอย่างน้อยสองสัปดาห์ ไม่ควรทำการใส่ยาลงในบ่อเลี้ยงเนื่องจากจุลินทรีย์ในบ่ออาจเป็นผลให้ ประสิทธิภาพของยาที่ใช้ในการรักษาลดลง ถ้าเป็นไปได้อาจกักโรคในตู้ปลาเพื่อที่เราจะได้สังเกตุอาการ หรือความผิดปกติได้ง่าย ขนาดของตู้ที่จะใช้คำนวณดังแสดง
ขนาดของตู้ หน่วยเป็น นิ้ว / 30 = ขนาดของปลาในหน่วยเป็นนิ้ว
การ เติมเกลือนอกจากช่วยรักษาพวกปรสิตบางชนิดแล้วยังช่วย ลดความเครียดของปลาด้วย โดยขนาดที่ใช้ 0.1 – 0.3% หรือใช้เกลือ 1-3 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1 ตัน ฤทธิ์ ในการรักษาปรสิต, S.V.C และ K.H.V จะได้ผลดีที่อุณหภูมิ 86° F หรือ 30 °C โดยอาจจะค่อยๆเพิ่มอุณหภูมิของน้ำไม่ให้เกิน 1° F ต่อ ชั่วโมง แต่ไม่ควรเติมเกลือ 0.3% ในบ่อเลี้ยงบ่อยๆเนื่องจากจะมีผลต่อแบคทีเรียที่ดีที่อยู่ในภายในบ่อ และทำให้เกิดโรคตามมา ในบ่อเลี้ยงควรใช้ที่ความเข้มข้น 0.1% อุปกรณ์ที่ใช้กับปลาป่วยควรทำการฆ่าเชื้อหลังใช้ และควรแยกกับอุปกรณ์ที่ใช้กับบ่อปลา การ ใช้ยาปฎิชีวนะ ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า10 วัน เพื่อไม่ก่อให้เกิดเชื้อที่ดื้อต่อยา และทำให้ยาที่เคยใช้ได้ผลมีประสิทธิภาพต่ำลงหรือไม่สามารถใช้รักษาโรคได้ดี เหมือนเคย ถ้าอุณหภูมิของน้ำต่ำกว่า 20 °C แนะนำให้ผสมยาลงในอาหารให้ปลากินจะดีกว่า ปลามีแผลเปิด มีสาเหตุมาจากเชื้อ 2กลุ่ม Aeromonas Bacteria หรืออาจเกิดจาก Pseudomonas Bacteria ซึ่งต้องใช้ยารักษาที่ต่างกัน โดยเริมใช้ Oxytetracyclineเป็นเวลา 7 วัน ถ้าไม่ได้ผลให้เปลี่ยนเป็น Neomycin หรือ Neomycin ร่วมกับ Kanamycin เพื่อใช้ในการรักษา Pseudomonas Bacteria ถ้าปลาในบ่อเป็นแผลเปิดบ่อยๆ ให้นึกถึง S.V.C หรือ K.H.V จะต้องทำการแยกปลาแล้วทำให้อุณหภูมิอยู่ในช่วง 30 °C เป็นเวลา 7 วัน ค่อยๆลดอุณหภูมิของน้ำ แล้วค่อยให้การรักษา เชื้อโรคฉวยโอกาส (Secondary Infections)
ข้อมูลจาก Fishyfarmacy.com https://www.siamcarp.com |