ออแรนติ มาคูลาต้า ปลาช่อนเจ็ดสียักษ์ (ประกวด)
|
ความคิดเห็นที่ 1 ปลาช่อนเจ็ดสียักษ์ชนิดนี้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแม่น้ำรามบุตรา (Brahmaputra) ในตอนเหนือของแคว้นอัสสัม (Assam) ประเทศอินเดีย สำหรับแหล่งที่อยู่ในธรรมชาตินั้น ปลาช่อนชนิดนี้จะอาศัยอยู่ในลำน้ำในบริเวณป่าไม้ที่อยู่ไม่ไกลจากแม่น้ารามบุตรา หรือในบึงในละแวกนั้น ซึ่งเป็นเขตป่าฝนกึ่งเขตร้อน อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 22-28 C / 72-82 F; pH 6-7.5
| โดย: เจ [8 ต.ค. 49 14:49] ( IP A:61.19.59.214 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 ลักษณะ : ลักษณะหัวแบนยาว ปากกว้าง จำนวนครีบหลัง 45-47 ก้าน ; ครีบก้น 28-30 ก้าน ; จำนวนเกล็ดนับที่บริเวณเส้นข้างลำตัว 51-54 เกล็ด; เกล็ดที่แก้ม 8-12; กระดูกสันหลัง (vertebrae) 50-52 ข้อ ; มีเกล็ดใหญ่ 2 เกล็ดบริเวณใต้ขากรรไกรล่าง และมีลักษณะฟันแบบปลาล่าเหยื่อ (Canine teeth) ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่าลักษณะของปลาตัวนี้ อาจารย์ ปรัชญา มุสิกสินธร (Dr. Prachya Musikasinthorn) อาจารย์ประจำคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้บรรยายไว้ครับ
| โดย: เจ [8 ต.ค. 49 14:50] ( IP A:61.19.59.214 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 การเลี้ยงในที่เลี้ยง : ปลาช่อนชนิดนี้โตได้ถึง 40 เซนติเมตร หรือ16 นิ้ว ที่เลี้ยงจึงควรมีขนาดใหญ่พอสมควร สำหรับการเลี้ยงตัวเดียว ตู้ควรมีขนาดไม่ต่ำกว่า 30 นิ้ว มีที่หลบซ่อนให้พอสมควร สามารถมีต้นไม้น้ำในตู้ได้ แต่ถ้าหากจะเลี้ยงรวมกัน จำนวนการเลี้ยงไม่ควรต่ำกว่า 5-6 ตัวขึ้นไป และตู้เลี้ยงควรมีขนาด 48-60 นิ้วขึ้นไป เพราะปลาช่อนชนิดนี้ค่อนข้างก้าวร้าว หากเลี้ยงน้อยตัวอาจมีการกัดกันรุนแรงได้ การจัดตู้เลี้ยง ควรมีมุมให้ปลาสามารถหลบเข้าไปพักอาศัยเป็นมุมสงบได้มากพอสมควร
| โดย: เจ [8 ต.ค. 49 14:51] ( IP A:61.19.59.214 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 การเตรียมน้ำสำหรับเลี้ยงปลาชนิดนี้ ควรใช้น้ำเก่าที่สะอาด มีขอนไม้แช่ในน้ำพอประมาณ เพื่อให้ได้สารแทนนินที่ละลายออกมาจากขอนไม้ ทำให้น้ำเป็นกรดอ่อนๆ น้ำจะออกสีเหลืองอ่อนๆ ซึ่งจากการที่ผู้เขียนเลี้ยงปลาชนิดนี้ในน้ำที่มีคุณสมบัติดังกล่าว พบว่าปลามีสุขภาพสมบูรณ์ กินอาหารได้ดี มีอัตราการเจริญเติบโตที่ดี สันนิษฐานว่าบริเวณถิ่นที่อยู่ในธรรมชาติ จะมีขอนไม้และใบไม้ร่วงหล่นลงในน้ำ จึงทำให้น้ำมีลักษณะเดียวกับน้ำหมักขอนไม้เช่นกัน
| โดย: เจ [8 ต.ค. 49 14:51] ( IP A:61.19.59.214 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 5 อุณหภูมิในที่เลี้ยง : พบว่าปลาช่อนชนิดนี้ยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ในอุณหภูมิน้ำประมาณ 28-30 C ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย อาหาร : อาหารสำหรับปลาชนิดนี้ไม่ใช่เรื่องที่ยากลำบากนัก ปลาสามารถกินได้ตั้งแต่หนอนนก แมลง กุ้งฝอยทั้งเป็นและตาย ปลาเหยื่อ เนื้อปลาหั่น ทำให้มันเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย โตไว จากการเลี้ยงในที่เลี้ยงที่บ้าน พบว่าปลาจากขนาด 5 นิ้ว โตขึ้นเป็น 8-9 นิ้วในเวลาประมาณ 2 เดือน
| โดย: เจ [8 ต.ค. 49 14:52] ( IP A:61.19.59.214 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 6 ข้อควรระวัง : ปลาชนิดนี้ก็เหมือนปลาตะกูลปลาช่อนทั่วไป คือกระโดดเก่ง ที่เลี้ยงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีฝาปิดมิดชิด ควรหาวัสดุปิดช่องกรองให้เรียร้อย เพื่อป้องกันการกระโดดเข้าไปแห้งตายด้วย นอกจากนี้ การเปลี่ยนน้ำไม่ควรทำในปริมาณมากๆ ควรเปลี่ยนครั้งละไม่เกิน 20% ต่อสัปดาห์ ด้วยน้ำสะอาดที่ไม่มีคลอรีนเจือปน
โรคที่พบบ่อยๆในปลาชนิดนี้ คือโรคเปื่อย ซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย การป้องกันทำได้โดยการเลี้ยงในน้ำที่มีคุณสมบัติดังที่กล่าวมา และกรณีที่เกิดอาการเปื่อยขึ้น ให้แช่ปลาด้วยเตทตร้าซัยคลิน 30 มก ต่อลิตร ร่วมกับ แบคทริม 5 มกต่อลิตร แช่จนกว่าอาการจะหายไป
| โดย: เจ [8 ต.ค. 49 14:54] ( IP A:61.19.59.214 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 7 การเลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่น ปลาตระกูลปลาช่อนที่เลี้ยงรวมกับปลาชนิดนี้ได้ดีก็คือปลาช่อนจุดอินโดนิเชีย Channa pleurophthalmus (Bleeker, 1851) ปลาตระกูลปลาหมอสายพันธ์แท้ เช่นเวียจาต่างๆ เซวาลุ่ม ชอคโกแลต รวมทั้งพวกไบเคอร์ต่างๆ ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างดี แต่ควรรอบคอบเรื่องการกระทบกระทั่งกับปลาอื่นบ้าง
ในภาพนี้เป็นปลาช่อนจุดอินโดนีเชียครับ
| โดย: เจ [8 ต.ค. 49 14:55] ( IP A:61.19.59.214 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 9 ้อ้อ รูปแรกสุด กะตรงนี้ ---อาจารย์ ปรัชญา มุสิกสินธร (Dr. Prachya Musikasinthorn) อาจารย์ประจำคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้บรรยายไว้ครับ
เอามาจากเจ้าของเวปแหละคร้าบ | โดย: เจ [9 ต.ค. 49] ( IP A:61.19.59.191 X: ) |  |
|