Gene-Pool-Aquarium.pantown.com
แนะนำปลาจ๊าบบบบบ <<
กลับไปหน้าแรก
- - ปลากระเบน (Ray) - -
เป็นปลากระดูกอ่อนกลุ่มหนึ่งที่ทางด้านท้องมีช่องเปิดของเหงือกเห็นได้ชัดโดยทั่วไปจะมีอยู่ 5 คู่ ไม่มีแผ่นปิดเหงือก (Operculum) ตรงโคนหางจะมีหนาม ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "เงี่ยง" เงี่ยงนี้มีความแหลม ด้านข้างมีลักษณะเป็นหยักแบนคล้ายฟันเลื่อย และมักจะมีต่อมพิษที่โคนเงี่ยง คนที่แพ้ต่อพิษ เมื่อถูกเงี่ยงของปลากระเบนแทงหรือตำเข้าไปจะเกิดอาการอักเสบมีไข้สูงและบาดแผลอาจลุกลามไปได้ โดยปกติชาวประมงจะหักเงี่ยงปลากระเบนทิ้ง เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุ
โดย: วี [8 ต.ค. 49 14:55] ( IP A:58.8.50.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 1
กระเบนทอง
โดย: วี [8 ต.ค. 49 14:57] ( IP A:58.8.50.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
ชื่ออังกฤษ : Blue-Spotted Fantail Ray
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Taeniura lymma (Forskal)
วงศ์ : TRYGONIDAE
ไฟลั่ม : CHORDATA
--------------------------------------------------------------------------------
ลำตัวแบนค่อนข้างกลม ตาโปนโต มีช่องจมูกทางด้านข้างของตาขนาดใหญ่ ด้านล่างมีปากเว้าโค้ง ลำตัวกว้างประมาณ 25 เซนติเมตร มีหางยาวเท่า ๆ กับความยาวลำตัว มีเงี่ยงที่โคนหาง 2 อัน ลักษณะแหลมยาว ตามลำตัวเป็นเมือกลื่นสีเหลืองทอง และมีจุดสีฟ้าแต้มอยู่ทั่วทางด้านบน ส่วนทางด้านล่างมีสีขาว
ปลากระเบนทองอาศัยอยู่ตามพื้นทรายในบริเวณแนวปะการังทั่วไป ขณะว่ายน้ำจะใช้ครีบอกแผ่แบนออกทางด้านข้างโบกพริ้วเป็นระลอก
โดย: วี [8 ต.ค. 49 14:57] ( IP A:58.8.50.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
หากไปเหยียบเงี่ยงที่โคนหางจะมีอาการเจ็บปวดมาก วิธีแก้ไขคือใช้น้ำร้อนจัดพอทนไหวแล้วจุ่มส่วนที่เป็นบาดแผลลงไปหรือใช้ชุบน้ำร้อนพันรอบบริเวณที่ปวดอย่างน้อย 20 นาที
โดย: วี [8 ต.ค. 49 14:59] ( IP A:58.8.50.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
ข่าวการเสียชีวิตของ สตีฟ เออร์วิน วัย 44 ปี เจ้าของสมญานาม "ครอกโครไดล์ ฮันเตอร์" ด้วยอุบัติเหตุใต้น้ำ โดยถูกเงี่ยงปลากระเบนแทงทะลุหัวใจ ขณะถ่ายทำสารคดีใต้น้ำที่หมู่เกาะโลว์ใกล้กับเมืองพอร์ต ดักลาส ประเทศออสเตรเลีย เป็นข่าวดังไปทั่วโลก
เหนืออื่นใดคือ ความตระหนกต่อสัตว์ใต้น้ำนอกสายตาอย่างปลากระเบน เพราะที่ผ่านมาเรามักคุ้นเคยกับหน้าตาของปลากระเบนที่ว่ายโฉบไปมาเหมือนจานบิน อยู่ในสถานที่จัดแสดงสัตว์น้ำ อย่างตามอันเดอร์ วอเตอร์เวิล์ด ที่สยามพารากอน
แต่แล้วมันกลับสามารถปลิดชีวิตของคนๆ หนึ่งได้ชั่วพริบตา
นั่นเป็นเหตุให้เราต้องมาทำความรู้จักปลากระเบนอย่างละเอียดกันสักนิด เพราะนักท่องเที่ยวอย่างเราๆ ก็มีโอกาสจะได้เผชิญหน้ากับมันอยู่เหมือนกัน
เนื่องจากบริเวณท้องทะเลไทยทางชายฝั่งภาคตะวันออก ตั้งแต่อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เรื่อยไปทางชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราดนั้นเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลนานาชนิด นอกจากแมงกะพรุนไฟแล้ว ที่ควรระวังให้มากไม่แพ้กัน ได้แก่ ปลากระเบน เม่นทะเล ปลาไหลเมอเรย์ บุ้งทะเล
โดยเฉพาะปลากระเบน จัดเป็นกลุ่มหนึ่งของปลาทะเลที่มีพิษ เมื่อโตเต็มที่จะมีน้ำหนักตัวถึง 600 กิโลกรัม แผ่นลำตัวกว้างถึง 200 เซนติเมตร เลยทีเดียว
ลักษณะทั่วไปของปลากระเบน ลำตัวแบน ทรวงทรงมีลักษณะคล้ายจานหรือว่าว ครีบหูเชื่อมเป็นแผ่นเดียวกับลำตัว ส่วนยาวของลำตัวยาวกว่าส่วนกว้าง ปากของปลากระเบนอยู่ทางด้านล่าง ส่วนของจะงอยปากยื่นออกมาเป็นปลายแหลม อาหารของปลากระเบนส่วนใหญ่เป็นสัตว์หน้าดินต่างๆ
ครีบหางแหลมเรียวยาวมีลักษณะคล้ายแซ่ โคนหางมีเงี่ยงแหลมคม 2 อัน มีต่อมพิษอยู่ใกล้ๆ กับโคนหาง ซึ่งจะปล่อยพิษออกมาทางเงี่ยงได้
ความที่มันชอบนอนหมกตัวอยู่กับพื้นทรายบริเวณชายฝั่งทะเล หากคนลงเล่นน้ำเดินเหยียบไปบนตัวมัน และถูกเงี่ยงตำจะเกิดอาการเจ็บปวดทรมานอย่างมาก บางครั้งอาจทำให้เกิดอาการช็อคหมดสติและเสียชีวิตได้
นอกจากนี้ตามแนวปะการังของไทยก็จะมีปลากระเบนหลายชนิด อาทิ ปลากระเบนทอง ปลากระเบนไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลากระเบนไฟฟ้า นับเป็นสัตว์ทะเลที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์อย่างมาก
ปลากระเบนไฟฟ้ามีลักษณะลำตัวที่ค่อนข้างกลม มีอวัยวะผลิตกระแสไฟฟ้า ประกอบไปด้วยเซลล์รูปหกเหลี่ยมเรียงซ้อนกันเป็นกลุ่ม ตั้งอยู่ทางด้านข้างของตาถัดไปถึงครีบอก ภายในมีสารเป็นเมือกคล้ายวุ้น ทำหน้าที่ในการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยธรรมชาติแล้วปลากระเบนไฟฟ้ามักจะหมกตัวอาศัยอยู่ที่พื้นด้านล่าง หากคนไปเดินเหยียบก็จะถูกปลากระเบนไฟฟ้าปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมา จะทำให้เกิดอาการชาจนจมน้ำถึงแก่ชีวิตได้
ส่วนการปฐมพยาบาลขั้นต้นคือ ห้ามเลือดที่แผล และแช่บาดแผลในน้ำร้อนประมาณ 30-60 นาที จะค่อยๆ ทุเลาอาการปวด หากมีอาการแพ้มากควรรีบนำส่งแพทย์
ดร.ธรณ์ ธำรงค์นาวาสวัสดิ์ หัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์มติชนว่า ปลากระเบนตัวที่เป็นเหตุให้นายเออร์วินเสียชีวิตไม่ใช่กระเบนแมนต้า เรย์ หรือกระเบนราหู อย่างที่หลายคนเข้าใจ เพราะกระเบนชนิดนี้เป็นกระเบนชนิดเดียวที่ไม่มีเงี่ยง และไม่มีพิษ
ส่วนกระเบนชนิดอื่นๆ นั้น บริเวณหางจะมีเงี่ยงคมและมีพิษทุกตัว เป็นพิษชนิดโปรตีน ผู้ที่ได้รับพิษจะมีอาการปวดมาก แต่ยังไม่มีเซรุ่มไว้รักษา แต่หากได้รับพิษไม่มาก อาการปวดจะหายไปเองภายใน 24 ชั่วโมง
โดย: วี [8 ต.ค. 49 15:01] ( IP A:58.8.50.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
โดย: วี [8 ต.ค. 49 15:01] ( IP A:58.8.50.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
"คนที่ถูกปลากระเบนสะบัดหางจนโดนเงี่ยงแทงตาย โดยเฉพาะในทะเลนั้นถือว่าโชคร้ายอย่างมาก เพราะปลากระเบนจะเป็นปลาที่รักสงบ หากินเวลากลางคืน กลางวันจะนอนใต้พื้นทราย หากถูกรบกวนจากสัตว์อื่นหรือนักดำน้ำดำไปใกล้ๆ มันจะว่ายน้ำหนี
ทั้งนี้ นักดำน้ำทั่วไปมักจะถูกเตือนจากครูผู้สอนดำน้ำเป็นปกติอยู่แล้วว่า ไม่ควรดำติดทรายมากเกินไป เพราะนอกจากจะทำลายสิ่งแวดล้อมแล้ว อาจจะได้รับอันตรายจากสัตว์น้ำบางชนิดอีกด้วย คิดว่ากรณีนี้ปลากระเบนอาจจะตกใจจนสะบัดหางใส่นายสตีฟจนได้รับอุบัติเหตุดังกล่าว" ดร.ธรณ์กล่าว
ดร.ธรณ์กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2506 ถึงปัจจุบัน มีนักดำน้ำทั่วโลกถูกพิษของเงี่ยงปลากระเบนเสียชีวิตไปเพียง 3 คนเท่านั้น สำหรับประเทศไทยทราบมาว่า เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา เคยมีชาวประมง จ.ตรัง ได้รับอุบัติเหตุแบบนี้เช่นกันคือ จับปลากระเบนขนาดใหญ่ขึ้นมาไว้บนเรือแล้ว แต่ปลากระเบนเป็นสัตว์ที่ตายยาก จะดิ้นหรือดีดตัวตลอดเวลา รายนั้นไม่ทันระวังตัวโดนเงี่ยงพิษของปลากระเบนตายเหมือนกัน การจับปลากระเบนของชาวประมงนั้นส่วนใหญ่เมื่อจับได้แล้วจะสับหางออกไปก่อน เพื่อป้องกันการโดนแทง
ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับอุบัติเหตุจากปลากระเบนมีด้วยกัน 3 กลุ่ม คือ 1.นักดำน้ำที่ไม่ระวังตัว และชอบดำน้ำติดพื้นทรายมากเกินไป 2.ชาวประมงที่จับปลากระเบนได้แล้วมักเผอเรอ เพราะปลาพวกนี้เป็นสัตว์ที่ดีดและดิ้นมากหากอยู่บนบก อาจจะดีดใส่คนที่ไม่ระวังตัวได้ 3.นักท่องเที่ยวหรือผู้ที่ชอบเดินริมทะเลที่ไม่ระมัดระวัง
ดร.ธรณ์กล่าวอีกว่า ชายหาดสงบๆที่ไม่มีนักท่องเที่ยวมากนักในประเทศไทย ที่พบว่ามีปลากระเบนอยู่มากเช่น ที่หาดบ้านกรูด หรือ บ่อนอก จ.ประจวบคีรีขันธ์ หรือชายหาดที่มีความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลค่อนข้างสมบูรณ์อื่นๆ
หากโชคร้ายถูกพิษจากเงี่ยงปลากระเบนจริงๆ แก้พิษเบื้องต้นโดยใช้ความร้อนเข้าช่วย เพราะพิษจากโปรตีนจะสลายด้วยความร้อนเช่น แช่อวัยวะส่วนนั้นลงไปในน้ำร้อนอุณหภูมิ 43-45 องศาเซลเซียส หรือใช้ไดรเป่าผมเป่าบริเวณบาดแผล
ชาวประมงที่ถูกพิษปลากระเบนนั้นจะเผาใบพลับพลึงให้ร้อนจัดแล้วนำไปอังบริเวณบาดแผล หรือนำอวัยวะนั้นไปอังไฟให้ร้อนที่สุดเท่าที่ร่างกายจะทนได้ พิษจะสลายไปเองภายใน 24 ชั่วโมง
นอกจากกระเบนแล้ว ในทะเลยังมีอันตรายจากสัตว์อื่นๆ อีกมาก หากไม่ระวังตัวเช่น ปลาวัวมงกุฎหรือปลาวัวอำมหิต (Titan trigger fish) ว่ายน้ำพุ่งชนจนหัวแตกเย็บ 5-6 เข็ม ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นค่อนข้างบ่อย โดยเฉพาะที่เกาะเต่า จ.ชุมพร
แม้ว่าการจบชีวิตเพราะสัตว์ใต้ท้องทะเลจะไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ก็ได้แต่หวังว่า สตีฟ เออร์วิน จะสร้างความตระหนักต่อการรู้จักระวังภัยรอบข้าง เหนืออื่นใดคือ การรู้เคารพต่อธรรมชาติแวดล้อมในทุกๆ แห่งไม่เพียงใต้ท้องทะเล
โดย: วี [8 ต.ค. 49 15:02] ( IP A:58.8.50.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
มาเข้าเรื่องตอดีกว่าครับ
ทั่วไป ก็เลี้ยงในตู้ หรือบ่อกว้างๆหน่อย ชอบน้ำคุณภาพดี กรองดีๆ พื้นอาจปูทราย หรือไม่ปูอะไรก้ได้ ชอบตู้โล่งๆ
อาหารก็พวกปลา กุ้ง นี่แหละครับ
วิธีการจับก็ใช้กระชอน ต้อนใส่กาละมังครับ
โดย: วี [8 ต.ค. 49 15:06] ( IP A:58.8.50.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
กระเบนบิน
โดย: วี [8 ต.ค. 49 15:08] ( IP A:58.8.50.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
ปลากระเบนไฟฟ้า
มีลักษณะลำตัวที่ค่อนข้างกลม มีอวัยวะผลิตกระแสไฟฟ้า ประกอบไปด้วยเซลล์รูปหกเหลี่ยมเรียงซ้อนกันเป็นกลุ่ม ตั้งอยู่ทางด้านข้างของตาถัดไปถึงครีบอก ภายในมีสารเป็นเมือกคล้ายวุ้น ทำหน้าที่ในการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยธรรมชาติแล้ว ปลากระเบนไฟฟ้ามักจะทำการหมกตัวอาศัยอยู่ที่พื้นด้านล่าง หากคนไปเดินเหยียบก็จะถูกปลากระเบนไฟฟ้าทำการปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมา จะทำให้เกิดอาการชาจนจมน้ำถึงแก่ชีวิตได้
โดย: วี [8 ต.ค. 49 15:10] ( IP A:58.8.50.248 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
กระเบนบินสวยมากครับ
โดย: เจฟ [8 ต.ค. 49 20:29] ( IP A:124.121.111.195 X: )
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน