"กระแมะ"(Chaca bakanensis)ปลานักต้มตุ๋นแห่งพรุโต๊ะแดง(ประกวด)
   ลึกลงไปทางภาคใต้ของไทย จ.นราธิวาส มีป่าที่คนไทยทั้งชาติต้องปกป้องอยู่นั่นก็คือ ป่าพรุโต๊ะแดง พรุโต๊ะแดง เป็นป่าที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นลักษณะคล้ายๆแอ่งกระทะ มีน้ำขังไว้ตลอดปี จึงเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่ใหญ่มาก(ที่สุด?)ของประเทศไทย โดยส่วนใหญ่พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าพรุนั้นจะมีลักษณะพิเศษเฉพาะ โดยมากจะมีรากเป็นพูพอนออกมาตามโคนต้น...เข้าเรื่องกันดีกว่านะครับแหะๆเผลอไปหน่อย สำหรับปลาเฉพาะถิ่นจากป่าพรุโต๊ะแดงนั้นมีอยู่ด้วยกันถึง 80กว่าชนิด โดยหนึ่งในนี้มีปลาชนิดนึงที่มีลักษณะแปลกมากๆ เป็นปลาที่มีนิสัยเฉื่อยๆ เฉยๆ แต่ถึงเวลกินล่ะก้อจะน่าดูมากๆเลยละครับ..เราจะมาฝังคำบอกเล่าของปลาตัวหนึ่งที่รอกออกมาจากปากมรณะมาได้ละกัน..เอาละครับเชิญคุณปลาซิวเพชรน้อยได้เลยครับ

โดย: Mr.prutodang [12 ต.ค. 49 12:30] ( IP A:203.113.34.13 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   ซิวเพชรน้อย: ผมพูดแล้วจะรอดเหรอครับ ?
ใครก็ไม่รู้: ไม่เป็นไรหรอกครับ รายการเราเซนเซอร์หน้าตาไว้แล้ว
ซิวเพชรน้อย: ขอบคุณครับ งั้นผมขอบอกประสบการณ์เลยนะครับ..มันน่ากลัวมาก ผมจะไม่ผ่านไปใต้กองใบไม้อีกแล้ว..
ใครก็ไม่รู้: เชิญคุณเล่ามาเลยครับ
ซิวเพชรน้อย: ครับ..ตอนนั้นเป็นเวลาเย็นแล้วฝูงของพวกผมกำลังว่ายหากินกันอยู่ในบริเวณกลางๆน้ำเรื่อยไปจนถึงริมตลิ่ง ตรงนั้นมันมีกองใบไม้ร่วงอยู่เยอะน่ะครับค่อนข้างมืดทีเดียวที่จริงในเวลานั้นผมกลัวอยู่อย่างเดียวคือ ไอ้ช่อนก้างแล้วก็ ไอ้ปลาเสือดำที่มักจะซุ่มอยู่ตามรากไม้แต่วันนี้กลับเงียบไม่มีอะไร พวกผมหากินกันเรื่อยๆจนมีตัวนึงเห็นอะไรผิดสังเกตจนได้ จึงร้องออกมาอย่างดัง..!!!
ใครก็ไม่รู้: ว่าอะไรครับ?? เชิญต่อเลยนะครับ อย่าเพิ่งเปลี่ยนช่องนะครับ จะถึงไคลแมกซ์แล้ว
ซิวเพชรน้อย: มีหนอนสีขาวอยู่ตรงนั้น!!! (ผูดำเนินรายการสะดุ้ง)หลังจากนั้นพวกเราก็เข้าไปมุงๆไอ้หนอนที่ว่านั่น..แต่มันไม่รู้เลยว่าติดกับดักเข้าไปแล้ว!?? จากนั้นก็มีอะไรสักอย่าง แต่มันใหญ่มากๆดูดพวกเรากว่าครึ่งเข้าไป ผมจำได้ว่ามันมีลักษณะเหมือนเครื่องดูดขนาดยักษ์เลยทีเดียว ผมได้เห็นกับมันจะๆ เจ้ากระแมะไม่นึกว่ามันจะอยู่แถวนี้...
ใครก็ไม่รู้: เอาละครับ ขอบคุณนะครับที่กล้าออกมาพูดให้เราคนรักปลาได้รู้กัน ตอนนี้เรามาดูข้อมูลคร่าวๆของปลาฆาตกรตัวนี้กันดีกว่าครับ..

โดย: Mr.prutodang [12 ต.ค. 49 12:31] ( IP A:203.113.34.13 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   ชื่อกระแมะสำหรับบางคนแล้วอาจจะฟังไม่ค้นหูแต่ถ้าเป็นคนที่คลุกคลีอยู่กะปลาแม่น้ำไทยมานานจะต้องรู้จักมันแน่ๆ จริงๆแล้วกระแมะ(Chaca bakanensis)เป็นปลาในกลุ่มแคทฟิชที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก ไม่ใหญ่เทอะทะอย่างพวกญาติห่างไกลอย่างปลาบึกและปลาสวาย โดยที่โตเต็มที่มีขนาดแค่ 15-20 ซม.เท่านั้น กระแมะจัดเป็นปลานักล่าที่คอยควบคุมจำนวนปลาเล็กอย่างพวกปลาซิวที่อาศัยอยู่ในพรุได้อยู่อยู่หมัด โดยมีปากขนาดใหญ่และหนวดที่ขาดไม่ได้เลยเพราะเป็นเครื่องมือที่มีไว้เพื่อการหลอกลวงชั้นเยี่ยม หนวดที่ว่านี้มีอยู่ด้วยกัน 2คู่โดยมี 1คู่หลักที่มุมปากและอีกคู่ที่ด้านใต้คาง มีลักษณะเรียวแต่สั้นๆมีสีขาวซีด และบางครั้งผมสักเกตว่ามันกระดิกได้เหมือนหนอนจริงๆด้วยอีกทั้งรูปร่างของปลากระแมะนั้นน่าเกลียดเกินที่จะออกมาว่ายอยู่กลางน้ำเหมือนปลาทั่วไป มันจึงพัฒนาหัวของมันให้แบนราบลงไปทางด้านหน้าซึ่งถ้ามองลงมาจากด้านบนจะเห็นว่าหัวมันเป็นรูปสี่เหลี่ยม โดยที่มีหัวแบบนี้ก็เพื่อไว้ซอนตัวใต้ไบใม้ที่ค่อนข้างรกในป่าพรุ ตามตัวมีตุ่มสากๆทั่วและด้านท้องก็ยังมีตุ่มขรุขระอีก ครีบอกมีขนาดเล็กมากใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้เลย แต่กลับมีครีบท้องขนาดใหญ่ไว้ว่ายน้ำแทน ซึ่งส่วนมากก็ไม่ค่อยจะว่ายอยู่แล้วนั่นเอง ลืมบอกไปเลยว่าเจ้ากระแมะยังมีฝาแฝดของมันอีก 2 ชนิดเรามาดูปลาในวงศ์ Chacidae กันดีกว่าครับ..

โดย: Mr.prutodang [12 ต.ค. 49 12:33] ( IP A:203.113.34.13 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ปลาในวงศ์ Chacidae

1. กระแมะ (Chaca bakanensis)
พบในไทยทางภาคใต้ที่ป่าพรุโต๊ะแดงแห่งเดียวเท่านั้น ไล่ไปจนถึงมาเลเซียและบอร์เนียว

2. กระแมะพม่า (Chaca bermensis)
พบในประเทศพม่า เป็นปลาหายาก

3. กระแมะอินเดียหรือชาก้า ชาก้า (Chaca chaca)
พบในอินเดีย เลี้ยงง่ายที่สุดใน3ชนิด

โดย: Mr.prutodang [12 ต.ค. 49 12:37] ( IP A:203.113.34.13 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   สำหรับวิธีเลี้ยงปลาชนิดนี้เป็นปลาที่เลี้ยงยากอยู่พอสมควร หากเราได้ปลาจากทางร้านมาในสภาพดี ก็ไม่ใช่เรื่องยาก จากที่เคยสัมผัสมาพบว่าปลาจากร้านเดียวกัน ล็อทเดียวกัน แต่มียอมกินอาหารเพียง 2-3ตัวเท่านั้นจากประมาณ10กว่าตัว เพราะปลาพวกนี้ยังเพาะไม่ได้ ยังต้องรวบรวมมาจากธรรมชาติ เพื่อนำมาป้อนสู่ตลาดปลาสวยงามทุกๆปี และส่วนใหญ่เมื่อจากน้ำมาก็จะเครียดไม่กินาหารมีแผล ติดเชื้อและตายในที่สุด มีอยู่เพียงบางตัวเท่านั้นที่แข็งแรงยอมกินอาหารตั้งแต่วันแรกที่มาเลยก็มี วิธีที่ดีที่สุดก็คือ เลือกปลาที่มอบอยู่กับพื้นที่ร้านอย่าเอาตัวที่ว่ายไปว่ายมาอยู่ข้างบนเพราะปลาชนิดนี้ไม่ชอบว่ายน้ำนะครับ ถ้ามันว่ายตลอดแสดงว่าผิดปกติแล้ว เลือกตัวที่ไม่มีแผลเลยจะดีที่สุด เพราะผมมั่นใจว่าตัวที่ไม่มีแผลต้องกินแน่ๆ หลีกเลี่ยงปลาที่มีแผลตรงก้านครีบอก และตามตัว อย่าคิดว่าเอามาเลี้ยงๆก็หายเอง กระแมะนะครับไม่ใช่หางนกยูง ปลาพวกนี้ไม่กินแล้วไม่กินตลอดนะครับ พูดตรงๆว่ามันไม่มีทางหายได้เลยถ้ามีแผลตรงไหนก็ตาม ถ้ามีแผลแล้วการตายภายใน 1 อาทิตย์เป็นเรื่องที่ตามมาง่ายๆ เรื่องของน้ำก็สำคัญยิ่งหากวันไหนที่คุณไปสวนจตุจักรแล้วไปเจอเจ้ากระแมะล่ะก็อย่าเพิ่งใจร้อนให้ไปเลือกตัวดีๆไว้ก่อนแล้วฝากไว้กะทางร้านเพื่อกลับบ้านไปทำน้ำป่าพรุเพื่อนำมาใช้เลี้ยงมันอย่างง่ายกันดีกว่าครับ

โดย: Mr.prutodang [12 ต.ค. 49 12:40] ( IP A:203.113.34.13 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   วิธีทำ
ไปหาใบหูกวางแห้งๆที่มีขายตามร้านขายปลากัดมาหรือจะหาเก็บเองก็ได้ นำมาล้างให้สะอาดที่หาถังน้ำที่ไม่ใช้มา1ถังเพื่อใช้หมัก จากนั้นนำใบหูกวางทั้งหมดเทลงไปในถังแล้วใส่น้ำตามให้พอดีกับเศษใบหูกวาง หมักเอาไว้สัก 1อาทิตย์ให้น้ำมันกลายเป็นสีแดงๆดำๆเป็นใช้ได้ จากน้นก็นำไปเทลงตู้ที่มีน้ำสะอาดๆอยู่แล้ว พักไว้อีกวันนึงแล้วเราก็นำปลามาใส่ได้เลย
เรื่องการจัดตู้นั้นแนะเลยว่าให้จัดโล่งๆไปเลยเพราะมันมีที่หลบเป็นเศษใบไม้อยู่แล้ว ถ้าเราต้องการจะดูว่ามันกินอาหารหรือเปล่าให้ลองนับจำนวนปลาเหยื่อที่ใส่ไปดู หรือจะทำแบบบุปเฟ่ก็ได้ปล่อยลงไปทีเดียวหมดถุง เวลาดูมันกินแล้วมีความสุขอย่างบอกไม่ถูกอาหารที่เหมาะกับปลาชนิดนี้คือ พวกปลาเหยื่อเล็กๆแต่ไม่แนะนำพวกปลานิลและปลากัดเพราะพวกนี้มันชอบหัวสูงไล่กัดหนวดกระแมะเฉยเลย ที่ผมให้เป็นลูกปลาสอดและปลาช่อนเสียส่วนใหญ่ ผมใช้ปล่อยลงไปหมดเลยดูว่ามันจะเป็นยังไงมั่ง ตอนแรกๆเจ้าลูกปลาช่อนก็รวมฝูงกันดีแต่พอหลังๆมันก็แยกย้ายกันหากินเอง อีตอนนี้แหละที่จะเสร็จกระแมะแล้วผมก็เห็นว่ามีลูกปลาตัวนึงไปเจอกับหนวดกระแมะพอดีเลยครับ เข้าแผนพอดี เจ้ากระแมะเห็นปลาน้อยด้อยปัญญาอยู่ตรงหน้าแล้ว จึงไม่รอช้ารีบวางเล่ห์กลทันทีโดยการส่ายหนวดของมันอย่างช้าๆเจ้าปลาปัญญาอ่อนจึงพุ่งชาร์ทเข้ามาใกล้ๆเรื่อยๆจนมาใกล้มากๆแล้วก็"ฮุบ"ฝูงปลากลับมารวมกันอีกครั้งน้ำขุ่นนิดหน่อยอันเนื่องจากการขยับตัวของฆาตกรปลาน้อยอยู่ในท้องเรียบร้อย ...
ปลาชนิดนี้จัดเป็นปลาที่ใกล้สูญพันธุ์อีกชนิดหนึ่งของประเทศไทยเนื่องจากมีปริมาณค่อนข้างน้อยอยู่แล้วในธรรมชาติแล้วยังถุกจับมาขายตลาดปลาสวยงามอยู่ทุกๆปี ประกอบกับสภาพที่อยู่อาศัยที่ถูกคนบุกรุกทำสวนปล่อยปลาต่างถิ่นเข้าไปอย่างเอเลี่ยนสปีชี่พวกปลานิลปลาหมอครอสบรีด และการเผาป่าพรุโต๊ะแดงอันเป็นที่อยู่ที่เดียวในประเทศไทยที่พบปัจจุบันปลาชนิดนี้จึงอยู่ในสภาวะร่อแร่ ฉะนั้นเราๆจึงควรอนุรักษ์มันไว้ให้ลูกหลานได้อยู่ดูต่อไปด้วยเถิดครับ

โดย: Mr.prutodang [12 ต.ค. 49 12:42] ( IP A:203.113.34.13 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   Special Thank
เวบที่ให้ยืมรูปภาพประกอบบทความนี้นะครับ
https://www.ikanpemburu.com
https://www.scotcat.com
https://www.jjphoto.com
เวบอนุรักษ์ปลาไทย https://www.siamensis.org
หนังสือคู่มือปลาน้ำจืดของดร.ชวลิต วิทยานนท์
รูปปลากะแมะจากคุณนณณ์ 2รูปและรูปการเปรียบเทียบปลาของอ.ปลาตีน(อ. ชัยวุฒิ กรุดพันธ์)ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
และทุกท่านที่อ่านกันครับ ขอบคุณนะครับ
โดย: Mr.prutodang [12 ต.ค. 49 12:55] ( IP A:203.113.34.13 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   โทดนะครับเวบhttps://www.jjphoto.comใช้ไม่ได้แล้วคับ
โทดคับ
โดย: Mr.prutodang [12 ต.ค. 49 13:03] ( IP A:203.113.34.13 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   นี่ก็สุดยอด
โดย: conti [14 ต.ค. 49 17:15] ( IP A:203.113.45.4 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   เป็นผู้แข่งขันที่น่ากลัวทีเดียว
โดย: spinosass [14 ต.ค. 49 17:18] ( IP A:125.25.23.243 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน