ความคิดเห็นที่ 7 โรคที่พบบ่อย
<< โรคที่แพร่ระบาดได้ >> โรคหนอนสมอ ลักษณะ : หนอนสมอมีรูปร่างลักษณะคล้ายรูปสมอเรือ มีขนาดความยาวราว 0.6-1.2 ซม. โดยหนอนสมอจะใช้ส่วนหัวและอกฝังเข้าไปในเนื้อเยื่อของปลา และยื่นส่วนหางออกมาทำให้เรามอง เห็นเหมือนมีเส้นด้านเกาะติดอยู่ที่ตัวปลา สำหรับลำตัวของหนอนสมอจะมีสีขาวอมเขียวมองเห็นได้ชัดเจน
อาการ : ปลาจะมีอาการเซื่องซึมผิดปกติ และตามตัว ครีบ และ หางจะมีรอยแดงช้ำเป็นจ้ำ ปลามักจะว่ายถูกตัวกับขอบตู้หรือขอบอ่างเพื่อให้หนอนสมอหลุดออกไป ในกรณีที่ปลามีหนอนสมอเกาะอยู่มากปลาจะค่อย ๆ ผอมแห้งลงเนื่องจากถูกหนอนสมอแย่งอาหารไปและถ้าเป็นนานเข้าปลาอาจตายได้เนื่องจากเป็นโรคขาดอาหาร
การป้องกัน : ใส่ยามาลาไคท์กรีน 0.1 ppm. หรืออาจใช้ฟอร์มมาลิน 15-40 ppm. ลงในตู้ปลาอย่างน้อยเดือนละครั้ง
การรักษา : นำปลาไปแช่ในน้ำที่ผสมด้วยฟอร์มาลิน 125-250 pm. เป็นเวลา 1 ชม. หรือมาลาไคท์กรีน 5 ppm. นาน 15 นาที หรืออาจใช้ ดิพเทอเร็กซ์ 0.25-0.5 ppm. แช่ตลอดไป
โรคเห็บ ลักษณะ : เห็บจะกลมแบนคล้ายรูปจาน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราว 3-5 มม. ลำตัวมีสีน้ำตาลหรือเขียวแต่ค่อนข้างใสคล้ายวุ้นชอบเกาะติดอยู่ตามครีบและหางของปลาเพื่อดูดเลือดและของเหลวภายในเนื้อเยื่อของปลาเป็นอาหาร
อาการ : ปลามักว่ายถูตัวกับขอบตู้หรือขอบอ่างอยู่เสมอ ๆ และมักว่ายสั่นกระตุกคล้ายปลามีอาการระคายเคือง บริเวณที่เห็บเกาะติดจะมีรอยแดงเป็นจ้ำ ๆ
การป้องกัน : ใส่ยาดิพเทอร์เร็กซ์ 0.25-0.5 ppm. หรือฟอร์มาลิน 15-40 ppm. ลงในตู้ปลาเป็นเวลา 24 ชม.
การรักษา : นำปลาไปแช่ในน้ำที่ผสมด้วยดิพเทอเร็กซ์ 0.5-0.75 ppm. หรือฟอร์มาลิน 125-250 ppm. เป็นเวลา 1 ชม. โดยจับปลามาแช่ยาสัปดาห์ละครั้งจนกว่าปลาจะหายเป็นปกติ
โรคจุดขาว หรือ อิ๊ค ลักษณะ : ของโรคนี้ตามลำตัวและครีบของปลาจะมีจุดสีขาวขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราว 0.5-1 มม. เกาะติดอยู่ถ้าหากเป็นปลาทองที่มีสีดำจะมองเห็นได้ชัดมาก ซึ่งโรคนี้เกิดจากเชื้อโปรโตซัวหรือที่รู้จักกันในนาม อิ๊ค โรคนี้ปลามักเป็นกันมากในช่วงหน้าหนาวหรือในช่วงที่อุณหภูมิน้ำต่ำกว่าปกติ หรือในกาณีที่อุณหภูมิน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน
อาการ : ปลาจะมีอาการเซื่องซึมไม่คอ่ยยอมกินอาหารและมักหลบอยู่ตามมุมตู้ บางครั้งปลาจะว่ายถูตัวกับขอบตู้หรือขอบอ่าง
การป้องกัน : ใส่ฟอร์มาลินลงในภาชนะที่เลี้ยงปลา 15-40 ppm. หรือมาลาไคท์กรีน 0.1 ppm. เมื่อพลว่าอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลงกระทันหัน
การรักษา : นำปลาไปแช่ในน้ำที่ผสมด้วยตัวยาฟอร์มาลิน 125-250 ppm. เป็นเวลานาน ชม. หรือแช่ในน้ำที่ผสมมาลาไคท์กรีน 5 ppm. เป็นเวลา 15 นาที โดยแช่ติดต่อกันสัปดาห์ละครั้งจนกว่าปลาจะหาย
โรคเชื้อรา ลักษณะ : อาหารของปลาที่ได้รับการติดเชื้อจะมีปุยสีขาวคล้ายบำสีเกาะติดอยู่ โดยมากโรคนี้มักเกิดกับปลาที่ได้รับความบอบช้ำและมีบาดแผลตามตัวมาก่อน ซึ่งเชื้อราจะแทรกซึมเข้าทางบาดแผลทำให้ปลาป่วยเป็นโรค
อาการ : ปลาจะเซื่องซึมและไม่ค่อยกินอาหาร ปลาจะว่ายน้ำเชื่องช้าลงและมักลอยคอนิ่ง ๆ หรือกบดานตัวอยู่ตามพื้น ปลาที่ได้รับการติดเชื้อมากอาจตายได้ภายในระยะเวลาอันสั้น
การป้องกัน และ การรักษา : ใส่ยามาลาไคท์กรีน 0.1-0.25 ppm. และฟอร์มาลิน 25 ppm. แช่ติดต่อกันเป็นเวลา 3-5 วัน แต่ถ้าหากต้องการให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้นอาจใช้ลำสีชุบน้ำซึ่งละลายด้วยเกลือ 2% เช็ดที่แผลของปลาจะช่วยให้บาดแผลหายเร็วยิ่งขึ้น
โรคครีบและหางเปื่อย ลักษณะ : ครีบและหางของปลาจะขาดแหว่งคล้ายถูกกัด บริเวณปลายครีบและหางจะมีสีขาวขุ่นหรือแดง และจะค่อย ๆ ลุกลามกินลึกเข้าไปเรื่อย ๆ จนครีบและหางของปลาจะขาดหายไป ซึ่งจะทำให้ปลาตายในที่สุดโรคนี้เกิดจากการที่ปลาได้รับเชื้อจำพวกแบคทีเรีย
อาการ : ปลามีอาการเซื่องซึมไม่ค่อยยอมกินอาหาร และมักว่ายสั่นกระตุกเป็นพัก ๆ ในช่วงนี้ปลาจะว่ายน้ำช้ากว่าปกติ การป้องกัน : ใส่ยาเหลือง 10-20 ppm. ลงในน้ำที่เลี้ยงปลา หรืออาจใช้ตัวยาปฏิชีวนะ เช่น คลอเตตร้าซัยคลิน อ๊อกซี่เตตร้าซัยคลิน หรือ คลอแรมเฟนิคอล ในอัตราส่วน 10-20 ppm.
การรักษา : นำปลาไปแช่ไว้ในน้ำที่ละลายด้วยยาเหลืองในอัตราส่วน 500 ppm. แช่เป็นเวลานาน 20 นาที หรืออาจผสมยาปฎิชีวินะลงในอาการสำเร็จรูปเพื่อให้ปลากินในอัตราส่วน 55 มิลลิกรัม / น้ำหนักตัวปลา 1 กก. หรือถ้าต้องการสะดวกอาจใส่ยาปฏิชีวนะลงในน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาในอัตราส่วน 10-20 ppm.
โรคเหงือกอักเสบ หรือ เหงือกเน่า ลักษณะ : ปลาจะมีเหงือกบวมแดง เมื่ออาการทรุดหนักเข้าเหงือกจะเกิดการเน่าและแหว่งหายไปจนมองเห็นเหงือกภายใน สาเหตุของการเกิดโรคเนื่องจากปลาได้รับเชื้อปรสิต
อาการ : ปลาจะหายใจถี่ผิดปกติและขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำเสมอ ๆ หือไม่ก็จะว่ายไปอออยู่ที่หัวทราย บริเวณเหงือกจะมีลักษณะบวมแดง
การป้องกัน : ใส่ฟอร์มาลินลงในที่เลี้ยง 30-50 ppm. หรือดิพเทอเร็กซ์ 0.25-0.5 ppm.
การรักษา : นำปลาไปแช่ไว้ในน้ำที่ผสมด้วยฟอร์มาลิน 125-250 ppm. เป็นเวลา 1 ชม. จากนั้นนำปลาไปเลี้ยงไว้ในน้ำที่ผสมด้วยฟอร์มาลิน 30 ppm. จนกว่าอาการของปลาจะทุเลา ขณะเดียวกันควรใส่ยาประเภทปฏิชีวนะเพื่อช่วยให้แผลของปลาหายเร็วยิ่งขึ้น โดยใส่ในอัตราส่วน 10-20 ppm.
โรคสนิม ลักษณะ : โรคชนิดนี้เกิดจากเชื้อโปรโตซัว โดยตามตัวและเหงือกของปลาจะมีสีน้ำตาลปนเหลืองเกาะเป็นกล่ม ๆ หย่อม ๆ และดูคล้ายกำมะหยี่
อาการ : ปลาจะมีอาการเซื่องซึมลงและไม่ค่อยยอมกินอาหาร
การป้องกัน : ใส่เกลือลงในน้ำในอัตราส่วน 1-3% ของปริมาตรน้ำที่ใช้เลี้ยงบ้างเป็นครั้งคราว
การรักษา : นำปลามาแช่ไว้ในน้ำที่ละลายด้วยเกลือ 1% เป็นเวลานาน 24 ชม. โดยทำติดต่อกันทุก 2 วัน ครั้งจนกว่าปลาจะหาย
โรคตกเลือด ลักษณะ : โรคชนิดนี้เกิดจากแบคทีเรีย โดยปลาที่ได้รับการติดเชื้อจะมีเลือดไหลออกมาทางเหงือกหืรอตามตัว ซึ่งโดยมากมักจะพบโรคนี้ในช่วยที่อากาศเย็น เช่น หน้าหนาว
อาการ : ปลาจะมีอาการเซื่องซึมลงและไม่ค่อยยอมกินอาหาร
การป้องกัน : ใส่เกลือลงในน้ำที่เลี้ยงปลาบ้างเป็นครั้งคราว หรืออาจใส่ยาปฏิชีวนะลงในน้ำในอัตราส่วน 10-20 ppm. หมั่นเปลี่ยนถ่ายน้ำเลี้ยงปลาอย่างสม่ำเสมอ
การรักษา : ใส่ยาปฏิชีวนะ 10-20 ppm. ลงในน้ำที่เลี้ยงปลา หรืออาจใช้ยาเหลือง 500 ppm. แช่ปลานาน 20 นาที โดยแช่ติดต่อกันทุกวันจนกว่าปลาจะมีอาการทุเลาขึ้น
<< โรคที่ไม่แพร่ระบาด >> โรคเนื้องอก หรือ โรคมะเร็ง ลักษณะ : สาเหตุของการเกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ลักษณะของโรคจะสังเกตได้จากลักษณะภายนอก โดยเนื้อของปลาจะเจริญขึ้นมามากผิดปกติ เช่น เป็นก้อนเนื้อห้อยติดอยู่ตามตัว หรือถ้าเป็นเนื้องอกที่เกิดขึ้นภายในก็จะทำให้ปลาดูอ้วนผิดปกติ
อาการ : ปลาจะว่ายน้ำเป็นปกติ แต่ถ้าปลามีอาการทรุดหนักอาจถ่ายออกมาเป็นมูกเลือด และปลาจะไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
การป้องกัน และ การรักษา : สาเหตุของโรคยังไม่ทราบแน่ชัด จึงไม่อาจหาทางในการป้องกันและรักษาได้ แต่สันนิษฐานกันว่าน่าจะเกิดจากอาการเป็นพิษ ดังนั้น จึงควรระวังและควบคุมเรื่องอาหารให้มาก
โรคสันหลังหัก ลักษณะ : ปลามีลำตัวคดงอและว่ายน้ำผิดปกติ สาเหตุอาจเป็นเพราะปลาพิการมาแต่กำเนิด หรือปลาได้รับการกระทบกระแทกจนกระดูกสันหลังหัก
อาการ : ลักษณะการว่ายน้ำของปลาจะไม่เป็นปกติ
การป้องกัน และ การรักษา : วิธีการรักษายังไม่มี แต่อาจป้องกันได้โดยหลีกเลี่ยงอย่าให้ปลาได้รับการกระทบกระแทก
โรคเกล็ดตั้ง ลักษณะ : เกล็ดของปลาจะตั้งชันขึ้นจนมองเห็นคล้ายรูปขั้นบันได สาเหตุเกิดจากปลาได้รับอาหารประเภทโปรตีนมากเกินไป หรือไม่ก็น้ำในที่เลี้ยงปลาสกปรกมากจึงเป็นเหตุให้เส้นเลือดใต้เกล็ดเกิดการบวมพอง ทำให้เกิดถุงน้ำที่ใต้เกล็ด ซึ่งถุงน้ำนี้จะคอยดันเกล็ดปลาให้ตั้งชันขึ้น
อาการ : ปลาจะควบคุมตัวเองไม่ค่อยได้ โดยปลาจะพยายามพุ่งตัวขึ้นสู่ผิวน้ำอยู่เสมอ ๆ ซึ่งช่วงนี้ปลาไม่ค่อยยอมกินอาหารและจะมีอาการเซื่องซึม
การป้องกัน : ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอและควรใส่เกลือลงในน้ำที่เลี้ยงปลาบ้าง
การรักษา : นำปลาแช่ไว้ในน้ำที่ผสมด้วยเกลือ 5-10% และยาปฏิชีวนะ 10-20 ppm. โดยแช่วันละ 1 ขม. เป็นเวลาติดต่อกัน 4-5 วัน ซึ่งถ้าอาการไม่หนักปลาก็จะหายได้ในไม่ช้า แต่ถ้าอาการทรุดหนักก็ไม่มีทางรักษาให้หายได้ ขณะเดียวกันในการรักษาอาการป่วยของปลาควรเพิ่มอุณหภูมิของน้ำให้สูงขึ้นด้วย
แผลขีดข่วน, เกล็ดหลุด, ครีบและหางขาด ลักษณะ : ปลาจะมีบาดแผลตามตัวหรือเกล็ดหลุดหายไปหรือครีบและหางฉีกขาด ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากการที่ปลาว่ายไปชนถูกของมีคมภายในที่เลี้ยงหรืออาจถูกปลาอื่นทำร้าย
อาการ : หากบาดแผลไม่รุนแรงมากปลาก็จะเป็นปกติ แต่ถ้าเป็นบาดแผลที่ค่อนข้างรุนแรงปลาจะมีอาการเซื่องซึมไม่ค่อยยอมกินอาการและมักว่ายสั่นกระตุกเป็นพัก ๆ
การป้องกัน : หลีกเลี้ยงการจัดตกแต่งภายในที่เลี้ยงด้วยของมีคมทุกชนิด เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาว่ายไปชนจนได้รับบาดเจ็บ ขณะเดียวกันไม่ควรทำให้ปลาตกใจเพราะปลาจะว่ายหนีด้วยความเร็วจนอาจทำให้พุ่งไปชนถูกของแข็งหรือของมีคมภายในที่เลี้ยงได้
การรักษา : ใส่ยาจำพวกปฏิชีวนะ เช่น เตตร้าซัยคลิน หรือคลอแรมเฟนิคอล หรือแอมปิซิลิน 10-20 ppm. ลงในน้ำที่ใช้เลี้ยงปลา ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำและใส่ยาติดต่อกันทุกวันจนกว่าแผลบนตัวจะหายเป็นปกติ ในกรณีที่ต้องการให้บาดแผลของปลาหายเร็วยิ่งขึ้น อาจใส่ยาจำพวกยาปฏิชีวนะลงบนบาดแผลของปลาโดยตรง โดยทำติดต่อกันทุกวันจนกว่าบาดแผลจะหายเช่นกัน |