เสน่ห์แมงกะพรุนน้ำจืด
   คาบเวลาของเดือนพฤษภาคมของงทุกๆปี แมงกะพรุนน้ำจืดจะโพล่ให้เห็นใน แม่น้ำเจ้าพระยา และลำน้ำเข็กซึ่งถือว่าเป็นของแปลกเพราะส่วนใหญ่เราจะพบแมงกะพรุนในน้ำเค็มและในทะเลเท่านั้น

โดย: sangsom49 (sangsom49 ) [12 พ.ค. 50 19:42] ( IP A:203.113.60.73 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   แมงกะพรุนน้ำจืดมีลักษณะคล้ายแมงกะพรุนน้ำเค็ม แต่มีเนื้อเยื่อขยายจากขอบเข้ามาในตัวเป็นลักษณะคล้ายวงแหวนที่เรียกว่า Velum
มีขนาดเล็กกว่าแมงกะพรุนน้ำเค็ม และมีหนวดรอบขอบตัวประมาณ 50 - 500 เส้น ตัวใหญ่ที่สุดมีขนาดเท่าเหรียญกษาปณ์

โดย: sangsom49 (sangsom49 ) [12 พ.ค. 50 19:48] ( IP A:203.113.60.73 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   แมงกะพรุนน้ำจืดน่าจะเป็นสัตว์ประจำถิ่นของไทยมานานแล้ว โดยชาวบ้านบริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงเรียกสัตว์ชนิดนี้ว่า แมงยุ้มวะ
มีรายงานว่าพบแมงกะพรุนน้ำจืดจากอีกหลายแห่ง เช่นในน้ำโขงตั้งแต่จังหวัดเลยจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี ในลำน้ำเข็กทั้งในเขตจังหวัดเพรชบูรณ์และพิษณุโลก ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ และอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี
โดย: sangsom49 (sangsom49 ) [12 พ.ค. 50 19:54] ( IP A:203.113.60.73 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ลักษณะที่สำคัญของ “ซีแลนเตอราตา” คือ ร่างกายจะประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น คือเนื้อเยื่อชั้นนอกเรียกว่า เอนโดเดิร์ม ระหว่างเนื้อเยื่อทั้งสองชั้นจะมีลักษณะคล้ายวุ้นเรียกว่า มีโซเกลีย (Mesoglea) ซึ่งลำตัวของสัตว์ที่ว่าจะมีลักษณะคล้ายถุงมีช่องเปิดเพียงช่องเดียว ภายในช่องกลวงกลางลำตัวเรียกว่า ช่องแกสโทรวาสคิวลาร์ ใช้เป็นทางเดินอาหาร และทำหน้าที่ย่อยอาหารและขับถ่ายของเสีย มีหนวดจับ (Tentacle) อยู่รอบปากสำหรับจับอาหาร บนหนวดจับเข็มพิษเป็นจำนวนมาก เพื่อใช้ต่อสู้และล่าเหยื่อ
นักวิจัยบางส่วนเชื่อว่า แมงกะพรุนน้ำจืดมีเพียง 2 ชนิดคือ C.sowerbyi และ C.sinensis เท่านั้น ส่วน C.iseana เป็นตัวเดียวกันกับ C.simensis แต่บางกลุ่มก็ยังมีความเชื่ออีกว่ามีเพียงชนิดเดียวคือ C.sowerbyl และมีต้นกำเนิดชีวิตในประเทศจีนและจึงแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆของโลกที่มีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน

โดย: sangsom49 (sangsom49 ) [12 พ.ค. 50 20:04] ( IP A:203.113.60.73 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   สำหรับการสืบพันธ์ก็จะมีทั้งแบบไม่อาศัยเพศ และอาศัยเพศ แบบไม่อาศัยเพศนั้นใช้การแตกหน่อ ส่วนแบบอาศัยเพศโดยปกติจะแยกเพศเป็นตัวผู้ตัวเมีย แต่บางชนิดอาจมีสองเพศอยู่ในตัวเดียวกัน เมื่อไข่และอสุจิ ถูกผสมกันนอกร่างกายได้โดย “ไซโกต” เมื่อผสมพันธุ์เสร็จสิ้น ไข่จะเจริญเป็นตัวอ่อน และตัวเต็มวัยต่อไป
“แมงกะพรุนจะมีอายุตั้งแต่วางไข่จนเป็นตัวใช้เวลา 45 วัน แต่ต้องฉพาะภายใต้สภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์ โดยเฉพาะคุณภาพของน้ำ และสิ่งที่น่าห่วงในขณะนี้คือ สถานการณ์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมบริเวณทุ่งแสลงหวงเริ่มเปลี่ยน โดยเฉพาะเรื่องของแหล่งน้ำ “ ข้อค้นพบของอาจารย์ชนะศักดิ์ ที่นำมาสูข้อกังวลอีกประการของทีมวิจัย
แมงกะพรุนจะอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มหรือโคโลนี อาศัยอยู่ตามรากของพืชน้ำ ก้อนหิน หรือตอไม้ใต้ผิวน้ำ หากินและสืบพันธุ์ในช่วงฤดูใบไม้ผลิถึงฤดูร้อน อาหารของพวกมัน คือ แพลงค์ตอนสัตว์ ที่พบอยู่ทั่วไปในน้ำ เวลาหากินแมงกะพรุนจะลอยอยู่ในน้ำหรือว่ายน้ำอยู่ใต้บริเวณใต้ผิวน้ำ ซึ่งจะทำให้เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยเฉพาะในตอนกลางวันหรือตอนบ่าย ซึ่งมีแสงแดด จะทำให้เราเห็นได้ดีเป็นพิเศษ

โดย: sangsom49 (sangsom49 ) [12 พ.ค. 50 20:06] ( IP A:203.113.60.73 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   กรมประมงได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพิษณุโลกเลี้ยงแมงกะพรุนน้ำจืดในระยะผสมพันธุ์ด้วยไรแดง มนตู้กระจกที่อุณหภูมิน้ำ 21 องศาเซลเซียส ด้วยการเปลี่ยนอุณหภูมิน้ำให้สูงขึ้นเพื่อเลียนแบบธรรมชาติ
หากการค้นคว้าวิจัยนี้สามารถพัฒนาสู่ความสำเร็จทำให้แมงกะพรุนน้ำจืดกลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ที่สร้างมูลค่าแก่วงการ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสวยงามของประเทศไทยได้อีกตัวหนึ่ง

โดย: sangsom49 (sangsom49 ) [12 พ.ค. 50 20:13] ( IP A:203.113.60.73 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   อ้างอิงจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ขอบคุณที่อ่านครับ

โดย: sangsom49 (sangsom49 ) [12 พ.ค. 50 20:16] ( IP A:203.113.60.73 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   เยี่ยมเลยครับ
แต่ตอนนี้รู้สึกว่าจะเปลี่ยนชื่อไฟลั่มเป็น ไนดาเรีย นะครับ
โดย: ...man [12 พ.ค. 50 22:50] ( IP A:58.9.164.49 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   ถ้าสามารถเพาะพันธุ์ได้ 55 ผมคนนึงแหละที่อยากจะมีไว้ที่บ้านอยู่กับตู้ไม้น้ำซักฝูงนึงน่าจะสวยไม่น้อยเรย
โดย: NOp76 [13 พ.ค. 50 5:34] ( IP A:58.9.199.87 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   แค่แนะนำเฉย ๆ หรือมีขายด้วยคะ แล้วถ้ามีขายราคาเท่าไร แล้วมันกินอะไรคะ
โดย: Ujin [17 พ.ค. 50 15:43] ( IP A:222.123.117.165 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน