Gene-Pool-Aquarium.pantown.com
แนะนำปลาจ๊าบบบบบ <<
กลับไปหน้าแรก
[ Champsochromis caeruleus ] ตอปิโดสีน้ำเงินแห่งมาลาวี
Hap เป็นคำเรียกย่อๆ สำหรับเรียกปลาหมอกลุ่มหนึ่งจากทะเลสาบมาลาวี ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีนั้นใช้เรียกปลาหมอกลุ่มใหญ่ ซึ่งอาศัยอยู่อย่างมากมายในทะเลสาบแห่งนี้(แต่ยังน้อยชนิดกว่ากลุ่ม มบูนา) หากจะเรียกกันเต็มๆนั้นจะเรียกว่า Haplochromis ซึ่งปลากลุ่มนี้สามารถแยกได้สองจำพวกจากลักษณะการกินอาหาร คือ Piscivorous และ Foragers
โดย: ป_ปลาระเบิด(เกร็ดกระจาย)
[2 ม.ค. 51 15:53] ( IP A:124.121.188.238 X: )
ความคิดเห็นที่ 1
กลุ่ม Piscivorous นั้นจะเป็นกลุ่มที่อาศัยอยู่ตามหาดทรายห่างจากกองหินในทะเลสาบซึ่งเป็นบริเวณเปิดโล่ง มักว่ายตะเวนหาปลาเล็กปลาน้อยเป็นอาหาร บางชนิดจะใช้รูปร่างของตนให้เป็นประโยชน์ โดยการพุ่งตัวด้วยความเร็วสูง ด้วยรูปทรงกลม ยาว ข้อหางใหญ่ ทำให้สามารถพุ่งตัวไปสังหารเหยื่อได้เพียงชั่วพริบตา บางชนิดจะซุ่มซ่อนอยู่ตามพงหญ้า ดงสาหร่าย รอจังหวะเจ้าปลาเคราะห์ร้ายว่ายผ่านมาอย่างใจเย็น เมือปลาชะตาขาดตัวใดว่ายผ่านก็จะพุ่งเข้าไปงับบริเวณดวงตา กลางลำตัว บางชนิดร้ายยิ่งกว่า แสร้งทำเป็นนอนตายอยู่กลางหาดทรายขาดสะอาด รอปลาน้อยผู้หลงผิดคิดว่าเป็นอาหาร หวังมาแทะโลมซากศพนักล่าให้สนุกปาก แต่เพียงชั่วอึดใจ ปลาตายตัวนั้นกลับพื้นคืนชีวิต หันกลับมางับเจ้าปลาน้อยจนทรายฟุ้งกระจุย แล้วว่ายจากไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น........
โดย: ป_ปลาระเบิด(เกร็ดกระจาย)
[2 ม.ค. 51 15:54] ( IP A:124.121.188.238 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
กลุ่ม Foragers จะมีลักษณะการกินที่ผิดแผกแปลกไปจากกลุ่มแรก คือ มักจะท่องไปตามผืนทรายใกล้ๆกองหิน หากินเอาสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่ลอยมาตามน้ำหรือแอบซุ่มซ่อนอยู่ใต้ผืนทราย
มักใช้ปากอมกรวดทรายขึ้นมาแล้วกรองเอาอาหารเข้าลำคอ ส่วนฝุ่นทรายนั้นก็บ้วนทิ้ง ไม่ก็ปล่อยออกมาทางเหงือกแทน บ้างก็เจ้าเล่ห์ แสร้งว่ายตามปลาอื่นเขา
พอได้จังหวะก็ว่ายโฉบแย่งอาหารไปต่อหน้าต่อตา
โดย: ป_ปลาระเบิด(เกร็ดกระจาย)
[2 ม.ค. 51 15:54] ( IP A:124.121.188.238 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
ในปี ค.ศ. 1989 ปลาในสกุลนี้ถูกจับแยกย้ายสกุลออกมาได้ถึง 38 สกุล โดยนักมีนวิทยาชื่อก้องโลก 2 คน คือ Eccles และ Trewavas สกุลที่ถูกแยกออกมาได้แก่.....
Aristochromis
Buccochromis
Champsochromis
Chilotilapia
Copadichromis
Cyrtocara
Dimidiochromis
Eclectochromis
Exochochromis
Fossorochromis
Hemitilapia
Lethrinops
Lichnochromis
Mylochromis
Nimbochromis
Otopharynx
Placidochromis
Protomelas
Protomelas
Rhampsochromis
Sciaenochromis
Tyrannochromis
โดย: ป_ปลาระเบิด(เกร็ดกระจาย)
[2 ม.ค. 51 15:55] ( IP A:124.121.188.238 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
ที่บอกเล่ามานี้เป็นเพียงแค่โหมโรงเท่านั้นนะครับ ปลาที่จะนำมาแนะนำในฉบับนี้เป็นปลาสกุล Haplochromis ในอดีต
ปัจจุบันได้ย้ายมาอยู่ในสกุล Champsochromis เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ปลาตัวนั้นคือ Champsochromis caeruleus
หรือที่บ้านเราเรียกว่า ปลาหมอ โธล่า เมืองนอกเมืองนาเขาตั้งชื่อให้ว่า Malawi Trout ชาวแอฟริกาเรียกปลาชนิดนี้ว่า Nchyochyo
(ในเมืองนอกชื่อในใบสั่งนำเข้าปลาชนิดนี้จะเขียนว่า Haplochromis Thola อีกด้วยครับ)
โดย: ป_ปลาระเบิด(เกร็ดกระจาย)
[2 ม.ค. 51 15:56] ( IP A:124.121.188.238 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
Champsochromis นั้นมาจากภาษากรีก คำว่า Chamso แปลว่า จระเข้ chromis มาจากภาษาลาติน แปลว่าปลาหมอ ส่วนคำว่า caeruleus ในภาษาลาตินแปลว่า สีน้ำเงิน รวมๆแล้วแปลออกมาได้ว่า ปลาหมอจระเข้สีน้ำเงิน
(ผิดถูกประการใดขอโทษด้วยนะครับ ลูกชาวสวนครับไม่ใช่เด็กนอก)
จะสังเกตได้ว่า คำว่า caeruleus นั้นเป็นชื่อของปลาหมอกล้วยหอม (Labidochromis caeruleus) ด้วยนะครับ
โธลล่านั้นถูกค้นพบครั้งแรกในปี 1908 โดย Boulenger ใช้ชื่อว่า Paratilapia caerulea ต่อมาในปี 1989 ได้ถูกย้ายสกุลใหม่โดย Eccles และ Trewavas ดังที่กล่าวมาในตอนต้นครับ
โดย: ป_ปลาระเบิด(เกร็ดกระจาย)
[2 ม.ค. 51 15:57] ( IP A:124.121.188.238 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
ลักษณะของปลาหมอโธล่านั้นเป็นตัวช่วยให้ปลาประสบความสำเร็จในการล่าเหยื่อ ด้วยรูปทรงที่ยาว ลำตัวกลม(เหมือนตอปิโด)
ดวงตาจะอยู่สูงค่อนไปทางบนของศรีษะ ปากกว้าง มีกรามที่แข็งแรง ภายในปากมีฟันเรียงราย ฟันมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมคล้ายเขี้ยวเล็กๆงอเข้าด้านใน
เพื่อช่วยในการจับล็อคเหยื่อ ครีบกระโดงยาวใหญ่ เป็นรูปสามเหลี่ยม โดยส่วนปลายของครีบนั้นจะยาวกว่าส่วนต้นคล้ายปีกของเครื่องบิน มีคลิบสีขาวอยู่ปลายครีบเกือบตลอดทั้งแนว ครีบทวารก็เช่นกัน แต่เล็กกว่า มีสีเหลืองไปจนถึงส้ม
มีจุดสีขาวกระจายตามครีบ ส่วนข้อหางนั้นใหญ่ แข็งแรงเพื่อช่วยในการว่ายน้ำ การพุ่งชาร์ตเหยื่อ ครีบหางมีขนาดใหญ่ แข็งแรง มีจุดสีเหลืองกระจายตามใบหาง(ในบางตัวจะมีจุดสีส้ม ไปจนถึงแดง)
นับว่าเป็นปลาที่มีรูปร่างดีเลิศเหมาะแก่การล่าเหยื่อเป็นที่สุดเลยนะครับ
โดย: ป_ปลาระเบิด(เกร็ดกระจาย)
[2 ม.ค. 51 15:58] ( IP A:124.121.188.238 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
ในปลาขนาดเล็กนั้นจะมีสีเงินและมีริ้วสีดำพาดผ่านโดยเริ่มตั้งแต่หลังส่วนหัว พาดเฉียงยาวไปจนถึงข้อหาง
เนื่องจากในวัยเด็กลูกปลาโธล่าเองก็จำเป็นต้องหลบนักล่าชนิดอื่นๆด้วยเช่นกัน หากเปรี้ยวมีสีสันตั้งแต่เล็กอจาโดนนักล่าที่ใหญ่กว่าซัดตัวขาดได้นั่นเอง
ในปลาตัวผู้เมื่อมีอายุมากขึ้นลำตัวจะมีสีน้ำเงินเงางามขึ้นมา ส่วนครึ่งลำตัวด้านท้ายจะเกิดจุดสีแดง ขึ้นมาไปจนถึงโคนหางและครีบหางเลยทีเดียว ครีบทุกส่วนยกเว้นครีบว่ายจะเริ่มมีสีสันสวยงาม แต่สำหรับตัวเมียนั้น จะยังคงไร้สีสันเหมือนเดิม
ในที่เลี้ยง ตัวผู้จะมีขนาดราว 35 ซม. ส่วนตัวเมียนั้นจะอยู่ที่ 30 ซม. แต่ในธรรมชาติปลาตัวผู้อาจใหญ่ได้ถึง 40 ซม.
นับว่าเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่มากสำหรับปลาหมอในทะเลสาบนี้เลยทีเดียว โธล่ากระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลสาบมาลาวี
แต่ที่พบเห็นมากที่สุดจะอยู่ในส่วนตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลสาบ ส่วนใหญ่จะอยู่ในบริเวณแหล่งน้ำเปิด แต่ก็มีบ้างที่พบใกล้แนวโขดหินในบริเวณชายฝั่ง และพื้นที่กลางทะเลสาบอีกด้วย
จากที่หาข้อมูลมา พบโธล่าอาศัยในระดับความลึกถึง 55 เมตร จะเห็นได้ว่าโธล่ากระจายพันธุ์ค่อยข้างกว้างพอสมควร ดังนั้นตัวปลาเองก็มีสีสันที่แตกต่างกันนิดๆหน่อยตามแหล่งอาศัยด้วยนะครับ
ในธรรมชาตินั้นปลาหมอโธล่าชื่นชอบปลายูซิปา (Usipa) มีชื่อวิทย์ว่า Engraulicypris sardella ซึ่งเป็นปลาสีเงิน ว่ายรวมกันเป็นฝูงคล้ายปลาซาร์ดีนในทะเลสาบมาลาวี
โธล่าจะออกติดตามฝูงปลาชนิดนี้ โดยจะออกล่าเป็นฝูงเล็กๆ ตั้งแต่ 2-5 ตัว การไล่ล่าจะเป็นในรูปแบบการต้อนโดยจะต้อนฝั่งซ้ายตัว ขวาตัว เมื่อสบโอกาสที่เจ้าปลายูซิปาว่ายแตกฝูงหรือว่ายช้าจะถูกโธล่าระเบิดพลังโดยการสบัดหางเพื่อเร่งสปีดพุ่งตัวเข้าชาร์ต
โดยปลาจะมีการสลับตำแหน่งเรื่อยไป เมื่ออิ่มหนำสำราญแล้วฝูงนักล่าก็จะว่ายจากไป แต่ก็ใช่ว่าล่าจะกินเฉพาะยูซิปานะครับ
(ในรูปคือเจ้าปลา ยูซิปา นะครับ)
โดย: ป_ปลาระเบิด(เกร็ดกระจาย)
[2 ม.ค. 51 16:05] ( IP A:124.121.188.238 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
จริงๆแล้วกินหมดแหละครับ ไม่ว่าจะลูกปลามบูนา ปลามบูนาแก่ๆ ก็กิน ผมได้ความรู้ใหม่จากพี่ Goodguy (เป็นพี่ในอินเตอร์เน็ต) ว่าโธล่ามักจะโจมตีปลาที่มีตัวสีเงินๆ อยู่เป็นนิจ คงเพราะสัญชาตญาณสั่งสอนไว้นั่นเองครับ
สำหรับในที่เลี้ยงแล้วโธล่ากินไม่เลือกครับ ทั้งอาหารเม็ด อาหารสดพวกไรทะเล เนื้อกุ้ง อาหารแช่แข็งต่างๆ ไม่อยากให้ใช้ปลาเหยื่อนะครับ เพราะอาจจะนำพาโรคภัยสู่เจ้าโธล่าได้ แต่หากอยากให้ ชอบดูเวลาเขากินปลา ก็ขอแนะนำให้เป็นลูกปลากัด ปลาสอด ปลามอลลี่ต่างๆ น่าจะเหมาะสมกว่าลูกปลานิลครับ เพราะปลานิลมีครีบกระโดงที่แหลมคมอาจไปตำปากของเจ้าปากกว้างได้ และก่อนให้ควรกักโรคปลาเหยื่อก่อนด้วยนะครับ สำหรับอาหารเม็ดนั้นก็ขอให้เป็นอาหารที่มีคุณค่าสาอาหารมากๆหน่อยนะครับ แช่น้ำให้นิ่มแล้วจึงค่อยให้ปลากินจะดีมาก เพราะเป็นการลดอาหารอาหารไม่ย่อย ท้องบวมได้พอสมควรเลยครับ การให้อาหารก็ไม่ควรให้บ่อยและเยอะจนเกินไปนะครับ ให้แค่พออิ่ม ปลาไม่ได้ทำอะไรวันๆกินๆนอนๆ จะพาลอ้วนเอา และยังเป็นสาเหตุที่ทำให้ปลามีภูมิต้านทานต่อโรคต่ำด้วย
โดย: ป_ปลาระเบิด(เกร็ดกระจาย)
[2 ม.ค. 51 16:07] ( IP A:124.121.188.238 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
โธล่าเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ ฉะนั้นขนาดตู้เองก็ต้องใหญ่ตามด้วย
โธล่าเป็นปลาที่ว่ายอยู่บริเวณกลางน้ำและผิวน้ำ ในธรรมชาติอาศัยในแหล่งน้ำเปิด จึงไม่จำเป็นต้องใส่หินไปมากมายนัก
ควรจะเปิดด้านกลางถึงบนของตู้ให้โล่ง ใส่หินก้อนใหญ่ไว้ด้านหลัง ด้านหน้าปูกรวดบางๆ ก็เพียงพอแล้วครับ
ระบบกรองต่างๆจำเป็นต้องมี และควรคำนึงถึงเรื่องนี้ให้ดีๆ เพราะโธล่านั้นไม่ค่อยทนต่อค่าของเสียต่างๆมากนัก
บางครั้งจะลอยตัวอยู่บริเวณผิวน้ำนิ่งๆ หอบ และตายในที่สุด ดังนั้นระบบกรองที่ดี และการเปลี่ยนถ่ายน้ำให้บ่อย ในปริมาณที่พอเหมาะเป็นสิ่งจำเป็นมากๆสำหรับการเลี้ยงปลาหมอชนิดนี้
โดย: ป_ปลาระเบิด(เกร็ดกระจาย)
[2 ม.ค. 51 16:11] ( IP A:124.121.188.238 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
ขนาดตู้ที่เหมาะสมนั้นควรเป็นตู้ 36 นิ้ว สำหรับโธล่า 1 ตัว ตู้ขนาด 48 นิ้วสำหรับเลี้ยงโธล่าในวัยเล็กถึงช่วงวัยรุ่นฝูงเล็กๆ
และตู้ 60-72 นิ้วขึ้นไป สำหรับเลี้ยงปลาหมอโธล่ารวมกับปลาชนิดอื่น อุณหภูมิที่เหมาะสม 23-27องศา ค่า ph 7.2-8.0
โดย: ป_ปลาระเบิด(เกร็ดกระจาย)
[2 ม.ค. 51 16:12] ( IP A:124.121.188.238 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
โธล่านั้นมีคู่แฝดอยู่ชนิดหนึ่งนั่นคือเจ้า 4 ตา หรือ Champsochromis spilorhynchus
จะแตกต่างกันบ้างด้วยโธล่านั้นจะยาวกว่า ส่วน C.spilorhynchus จะมีจุดสีดำใต้ลูกตา
จะเห็นเด่นชัดมากในปลาตัวเมียและลูกปลา แต่พอโตขึ้นจุดนั้นจะจางลงแต่ก็สามารถสังเกตเห็นได้ไม่ยากและหากเลี้ยงเจ้า C.spilorhynchus รวมกับโธล่าแล้ว
ขอให้ระวังปลาจะผสมข้ามสายพันธุ์กันด้วยนะครับ เพราะปลาสองชนิดนี้มันค่อนข้างคล้ายกัน โอกาศที่จะเกิดลูกผสมในตู้ปลานั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลย
(ในรูปคือ Champsochromis spilorhynchus ตัวเมียครับ )
โดย: ป_ปลาระเบิด(เกร็ดกระจาย)
[2 ม.ค. 51 16:14] ( IP A:124.121.188.238 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
นี่ตอนตัวผู้โตแล้ว เหมือนกันยังกะแพะกับแกะเลยทีเดียวเชียว
โดย: ป_ปลาระเบิด(เกร็ดกระจาย)
[2 ม.ค. 51 16:15] ( IP A:124.121.188.238 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
จากที่หาข้อมูลมานั้น
โธล่าไม่ใช่ปลาดุอะไรมากมายนักถ้าเทียบกับมบูนา ซึ่งจะดุกว่ามาก โธล่าจะโจมตีปลาอื่นนั้นส่วนใหญ่เพื่อกินซะมากกว่า
แต่พอผมไปถามเพื่อนๆที่เลี้ยงเจ้าตัวนี้อยู่ บางท่านก็บอกว่าดุแต่ไม่มาก บางท่านก็บอกว่าเฉยๆ ผมเลยขอสรุปว่าปลาชนิดนี้ไม่ดุมาก
ออกแนวเหมือนปลาหมอปากยาว ปลาหมอบลูดอลฟิน ซะมากกว่า
แต่เมื่อปลาจับคู่ผสมพันธุ์เจ้าโธล่าจะเริ่มหวงถิ่น ดุร้ายและก้าวร้าวมากขึ้น
ปลาหมอโธล่าตัวเมียจะฟักไข่ไว้ในปาก และเลี้ยงลูกไปจนระยะหนึ่งครับ
เพื่อนร่วมตู้ที่สามารถอยู่ร่วมกันได้นั้นมีมากมายครับ ขอยกตัวอย่างเช่น
ปลาหมอบลูดอลฟิน Cyrtocara moorii)
ปลาหมออิเล็คทริค บลู (Sciaenochromis fryeri)
ฟัสโคทีเนียตัส (Nimbochromis fuscotaeniatus)
ปลาหมอฟีโนซีรัส (Placidochromis phenochilus)
ปลาหมอปากยาว (Dimidiochromis compressiceps)
ปลาหมอรอสตราตัส (Fossorochromis rostratus)
อาจรวมกับปลาพื้นตู้เช่นปลาซัคเกอร์กินเนื้อบางชนิดที่มีขนาดใหญ่ซักหน่อยก็ได้ด้วยนะครับ
โดยรวมแล้วการเลือกเพื่อนร่วมตู้ควรเช็คขนาด การเจริญเติบโต ลักษณะการกินอาหาร ด้วยนะครับ
โดย: ป_ปลาระเบิด(เกร็ดกระจาย)
[2 ม.ค. 51 16:17] ( IP A:124.121.188.238 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
หวังว่าเมื่อได้รับทราบข้อมูลของโธล่ากันแล้วคงจะพอทราบถึงขั้นตอนวิธีการเลี้ยง การเตรียมตัวกันนะครับ
สุดท้ายนี้อยากฝากถึงผู้เลี้ยงปลาสวยงามทุกๆท่าน ไม่ว่าจะเป็นปลาอะไรก็ตาม ก่อนที่จะนำพวกเขาเหล่านั้นมาเลี้ยงกรุณาเตรียมความพร้อมด้านต่างๆก่อนที่จะนำปลาเข้าบ้านนะครับ
ผมเห็นหลายต่อหลายครั้งที่ผู้เลี้ยงซื้อทั้งปลาและตู้พร้อมกัน ซึ่งแน่นอนการทำแบบนั้นเข้าข่ายเสี่ยงมากๆครับ ถ้าโชคดีปลาปรับตัวได้ ก็รอดไป แต่หากปรับตัวไม่ได้ก็ตาย เสียทั้งเงิน เสียทั้งกำลังใจ และเสียทั้งชีวิตน้อยๆ ที่ฝากชีวิตทั้งชีวิตไว้ที่เราท่านผู้เลี้ยง ขอฝากไว้ซักนิดนะครับ หากใครมีเพื่อนหรือคนรู้จักยังทำแบบนั้นอยู่ก็ขอให้ฝากบอกถึงวิธีที่ถูกต้องเสียหน่อย
นึกซะว่าสงเคราะห์ชีวิตน้อยๆที่อยู่ในกำมือของทุกๆท่านด้วยนะครับ
สวัสดีปีใหม่ครับ
โดย: ป_ปลาระเบิด(เกร็ดกระจาย)
[2 ม.ค. 51 16:19] ( IP A:124.121.188.238 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
ปล. บทความนี้ได้ลงในหนังสือ The Fish Guideline แล้วนะจ๊ะ
ปล. 2 ขอบคุณ คุณรุต คุณโอ เฮียGoodguy ที่มอบความรู้อย่างเสมอมา รักนะ จุ๊บๆ
ปล. 3 ขอบคุณพี่ต้นที่ให้พื้นที่ แหล่มๆ แบบนี้ไว้ระบาย แก้เสี้ยน ขอบคุณครับ
ปล. 4 ขอบคุณทุกคลิ๊ก ที่จิ้มเข้ามาอ่านนะครับ รักคนอ่านครับผม
ปล. สุดท้าย รูปจากในเน็ตนะจ๊ะ
โดย: ป_ปลาระเบิด(เกร็ดกระจาย)
[2 ม.ค. 51 16:22] ( IP A:124.121.188.238 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
อยากให้พี่ต้นเอามาขายบ้างจัง ^^"
โดย: MrDomes
[2 ม.ค. 51 16:34] ( IP A:58.9.121.141 X: )
ความคิดเห็นที่ 17
จิ้มเข้ามาแล้วแต่ยังไม่ได้อ่านเลย ต้องไปเรียนก่อง ว่างๆจามาอ่านแน่นอนคับ กระทู้นี้ สนใจๆ
โดย: popdeub (pop_deub@hotmail.com
) [3 ม.ค. 51 18:21] ( IP A:210.86.128.50 X: )
ความคิดเห็นที่ 18
เมื่อวานพึ่งอ่านอยู่
เฮียป เขียนหรอเนี่ยไม่ได้อ่านชื่อคนแต่งเลย
แต่เขียนได้แจ่มดีครับ
ผมชอบปลาตัวยาวๆหน้าแปลกๆอยู่
ว่าแต่เฮีบป รู้จักรุตด้วยหรอ
วงการนี้แคบจริงๆ
โดย: goodguy
[3 ม.ค. 51 18:31] ( IP A:58.9.84.208 X: )
ความคิดเห็นที่ 19
สุดยอดดดดดด เลยครับ ครั้งนี้ท่าจะเอาจริง ข้อมูลเพียบเลย ไม่มีขำ
แต่จริงๆแล้วผมชอบวิธีนำเสนอแบบ เดิมนะครับ
โดย: mofish_6 (mofish_6
) [4 ม.ค. 51 1:28] ( IP A:125.24.133.107 X: )
ความคิดเห็นที่ 20
ตอบ คุณ MrDomes
ลองโทรไปซิครับ น่าจะมีนะครับ
ตอบ คุณป๊อป
ต๊าย.........ยังเรียนอยู่อีกหรอจ๊ะ สมัยนี้ใครเขาเรียนกัน เชยชมัด! เด็กแนวเดี๋ยวนี้เขาฮิต หน้าตาดี ปัญญาด้อย ถ้อยคำหยาบ กราบแบรนเนม กันแล้วนะจ๊ะ
ล้อเล่นๆ ไปเรียนๆ นะครับ อิอิ
ตอบเฮีย goodguy
รุตนี่ผมรู้จักมาซักพักแล้วครับ แต่ยังไม่เคยเจอกันเลย ได้แต่คุยใน M หนังสือนี่ผมยังไม่เห็นเลยครับ สงสัยไปรษณีย์ยังเที่ยวปีใหม่อยู่
ปลาตัวนี้เห็นแล้วแค้นใจไอ้พี่ผมนัก ผมซื้อมาแล้วฝากให้มันเลี้ยง อุตสาห์ ขุนจนกินได้ปกติแล้ว (ใช้เวลานานพอสมควรเลยทีเดียว)
กำลังจะไปถ่ายรูป ปลามันโดดออกมาแห้งตายซะงั้น เวรกำ จริงๆ ไอ้คนเลี้ยงมันก็ไม่ปิดตู้ให้ดี น่าโมโหจริงๆ
ขอบคุณที่เข้ามาอ่านครับผม
ตอบ น้องเขย (mofish_6 ) อิอิ
จริงๆแล้วไอ้ขำๆนี่ผมก็อยากจะพิมพ์นะครับ แต่กลัวมันจะน่าเกลียดน่ะซิ หรืออาจเพราะว่าผมยังเกร็งๆอยู่ก็เป็นได้ครับ
แล้วจะลองเขียนแบบเดิมบ้างนะครับ ขอบคุณที่อุตสาห์อ่านจนจบครับผม
โดย: ป_ปลาระเบิด(เกร็ดกระจาย)
[4 ม.ค. 51 8:56] ( IP A:124.121.189.229 X: )
ความคิดเห็นที่ 21
ได้อ่านและพี่ วิธีกินเหยื่อมานเจ๋งดี ชอบๆ
แต่ที่พี่เขียนอ่ะไม่ตรงกะที่ฮิตเท่าไหร่น่ะผมอ่ะ หน้าตาก็ไม่ดี ปัญญาด้อย ถ้อยคำก็หยาบ แต่ไม่กรอบแบนเนม(ไม่มีตัง)^_^
โดย: popdeub (pop_deub@hotmail.com
) [4 ม.ค. 51 17:46] ( IP A:58.9.70.247 X: )
ความคิดเห็นที่ 22
ผมอ่านกระทู้ของพี่ในการนำเสนอปลาทุกอันเลย ผมอยากให้พี่เขียนในแนวเดิมๆอะครับ อ่านแล้วสนุก คลายเครียด แถมได้ความรู้อีก ได้โปรดนะพี่ เอายาวๆเลย
โดย: icezade
[4 ม.ค. 51 20:08] ( IP A:125.24.103.10 X: )
ความคิดเห็นที่ 23
เขียนได้หล่อมากครับ
โดย: SynkOnize
[5 ม.ค. 51 2:47] ( IP A:58.8.103.198 X: )
ความคิดเห็นที่ 24
เขียนได้ดีมากเลยครับ คุณบอย แต่ผมชอบเจ้ายูซิปา จริงๆเหมือนปลาซาร์ดีนเลยครับ แต่บ้านเราท่าจะไม่มีขายนะครับ
โดย: เรารัก JJ (เรารัก JJ
) [5 ม.ค. 51 13:14] ( IP A:210.86.128.52 X: )
ความคิดเห็นที่ 25
ตอบ คุณป๊อป
ขอบคุณครับที่เข้ามาอ่าน
ตอบ คุณicezade
เขียนแนวเดิมมันจะไม่ค่อยเหมาะนะครับ เพราะลงหนังสือด้วย ไว้ยังไงจะค่อยปรับปรุงไปเรื่อยๆครับ
ตอบ คุณSynkOnize
คนเขียนหล่อกว่าครับ อิอิ
ตอบ คุณฟ่าง
เห็นด้วยครับ แต่ถ้าทางถ้ามีมาเลี้ยง สงสัยคงต้องลงตู้ใหญ่ๆเป็นแน่ครับ เพราะมันอยู่กันทีเป็นพันๆตัวเลยทีเดี่ยว
ขอบคุณที่เข้ามาอ่านนะครับผม
โดย: ป_ปลาระเบิด(เกร็ดกระจาย)
[7 ม.ค. 51 8:14] ( IP A:124.121.189.208 X: )
ความคิดเห็นที่ 26
หุหุหุหุหุ ครับ มันเป็นปลาจำพวกอะไรเหรอครับเจ้ายูซิปานี่ แต่ผมเพิ่งนึกได้ว่ามันคล้ายปลาไข่ที่เอามาชุบแป้งกรอบๆมากเลยครับ อิอิอิ
โดย: เรารัก JJ (เรารัก JJ
) [7 ม.ค. 51 8:42] ( IP A:210.86.128.50 X: )
ความคิดเห็นที่ 27
เออ เนอะ คุณฟ่าง
ผมเองก็เพิ่งนึกออกนะครับ เหมือนปลาขาไก่บ้านเราด้วยครับ 55 55
โดย: ป_ปลาระเบิด(เกร็ดกระจาย)
[7 ม.ค. 51 11:03] ( IP A:124.121.189.208 X: )
ความคิดเห็นที่ 28
เหอๆๆๆ ครับผม สงสัยงานนี้ถ้าเลี้ยงไว้แล้วหิวๆเสร็จผมแหงๆ จับชุบแป้งซะ อิอิอิ
โดย: เรารัก JJ (เรารัก JJ
) [7 ม.ค. 51 22:31] ( IP A:203.130.159.4 X: )
ความคิดเห็นที่ 29
โอ้ว รูปสุดท้ายมีปลาในดวงใจของผมติดมาด้วยแฮะ
โดย: อีกาตัวดำๆ
[8 ม.ค. 51 9:48] ( IP A:118.175.64.88 X: )
ความคิดเห็นที่ 30
บลูดอลฟินป่าวพี่ หุหุ
โดย: ป_ปลาระเบิด(เกร็ดกระจาย)
[9 ม.ค. 51 9:17] ( IP A:124.121.189.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 31
เขียนได้ดี น่าอ่านมากครับ
ถ้าปลาเคัาชอบปลาสีเงินๆ ก็ลองใส่พวกปลาแปบสาละวินลงไปดูสิ ว่าเป็นไง อิอิ หรือพวกน้ำหมึกก็ดีนะ
โดย: เด็กอนุบาล
[7 ก.พ. 51 9:51] ( IP A:58.9.139.114 X: )
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน