Peacock Bass : Cichla
   ฉันนอนไม่หลับทั้งคืน จะฝืนตัวเองเท่าไร เอ๊ย...ไม่ใช่ละ

ที่จริงก็ไม่มีอะไรหรอกครับ คือคนมันนอนไม่หลับกเลยมานั่งเขียนบทความนี้ขึ้น...หวังว่ามันจะเป็นประโยชน์แก่เพื่อนชาวGenepool ไม่มากก็น้อย..

โดย: amonize35 (amonize35 ) [7 ธ.ค. 51 5:10] ( IP A:117.47.8.64 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   Peacock Bass : Cichla

ปลาในสกุล Cichla เป็นปลาหมอที่มีความใหญ่โตที่สุดในอเมริกาใต้ เนื่องจากแม่น้ำอเมซอนมีหลายหลายสาขาแบ่งย่อยออกไปทำให้ปลาในสกุลนี้มีความหลากหลายตามไปด้วย ด้วยปากที่มีขนาดใหญ่ สายตาที่ดีเยี่ยม ลำตัวที่แข็งแกร่ง พละกำลังอันมหาศาล ทำให้พวกมันอยู่ในห่วงโซ่อาหารลำดับต้นๆของแม่น้ำนี้เลยก็ว่าได้

โดย: amonize35 (amonize35 ) [7 ธ.ค. 51 5:10] ( IP A:117.47.8.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   ทำไมต้อง Peacock Bass?
เนื่องจากลายที่หาง มีลักษณะและความสวยงามคล้ายลายบนขนของนกยูง (Peacock)

โดย: amonize35 (amonize35 ) [7 ธ.ค. 51 5:16] ( IP A:117.47.8.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ซึ่ง ปลาสกุลนี้แบ่งออกเป็น 5 สายพันธุ์ ใช้โครงสร้าง และลวดลายในการแบ่งสายพันธุ์

Cichla temensis
Cichla orinocensis
Cichla monoculus
Cichla ocellaris
Cichla intermedia

โดย: amonize35 (amonize35 ) [7 ธ.ค. 51 5:17] ( IP A:117.47.8.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   เรามาเริ่มทำความรู้จักกับปลาสกุลนี้เลยครับ
เริ่มที่ตัวแรก Cichla temensis – Tucunare (ชื่อเรียกพื้นเมือง)
ตัวนี้เหมือนเป็นเครื่องหมายการค้าของปลาสกุลนี้เลยก็ว่าได้เพราะว่ามีขนาดใหญ่ที่สุด แพร่กระจายอยู่ตามสาขาต่างๆทั่วทั้งอเมริกาใต้ สามมารถโตได้ 30 นิ้วขึ้นไป

โดย: amonize35 (amonize35 ) [7 ธ.ค. 51 5:22] ( IP A:117.47.8.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   ปลาในวัยเด็กจะ มีแถบดำขนานกับลำตัวของปลาตั้งแต่แก้มไปจนถึงหาง เมือโต ลายดังกล่าวจะหายไป

โดย: amonize35 (amonize35 ) [7 ธ.ค. 51 5:22] ( IP A:117.47.8.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   ปลาชนิดนี้ที่เห็นรูปกันบ่อยจะมี2 แบบน่ะครับ
Paca

โดย: amonize35 (amonize35 ) [7 ธ.ค. 51 5:23] ( IP A:117.47.8.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   และ Assu

โดย: amonize35 (amonize35 ) [7 ธ.ค. 51 5:26] ( IP A:117.47.8.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   ต่อกันด้วย
Cichla orinocensis (Taua or Borboleta )
ชนิดนี้จะพบทางตอนบนของแม่น้ำ Rio Negro และพบมากใน Rio Jau และ RioBranco ทางตอนเหนือของประเทศบราซิล ตลอดจนปากแม่น้ำ Rio Orinoco โตเต็มที่ประมาณ 30 นิ้ว

โดย: amonize35 (amonize35 ) [7 ธ.ค. 51 5:28] ( IP A:117.47.8.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   มีจุดมาร์ค หรือ ocelli 3 จุด ไม่มีลายแถบดำระหว่างลำตัว ไม่มีจุดมาร์คที่แก้ม

โดย: amonize35 (amonize35 ) [7 ธ.ค. 51 5:29] ( IP A:117.47.8.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   Cichla monoculus (Popoca หรือ Botao)
กระจายอยู่ทั่วทั้งอเมริกาใต้ โตได้ถึง 20 นิ้ว มีแถบที่หลังเพียงสั้นๆไม่พาดยาวเหมือนเทมเมนซิส มีแถบดำยาวใกล้ๆกับครีบอก ไม่มีจุดมาร์ค หรือ ocelli ตามลำตัวและแก้ม

โดย: amonize35 (amonize35 ) [7 ธ.ค. 51 5:30] ( IP A:117.47.8.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   สวยๆอีกซักรูปครับ สำหรับ monoculus
โดย: amonize35 (amonize35 ) [7 ธ.ค. 51 5:31] ( IP A:117.47.8.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
   

โดย: amonize35 (amonize35 ) [7 ธ.ค. 51 5:31] ( IP A:117.47.8.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
   Cichla ocellaris (Tacutu)

ตัวนี้รู้จักกันดีในนาม butterfly peacock bass อยู่ทางตอนบนของRio Branco ประเทศบลาซิล ตลอดจนได้รับรายงานว่าพบที่ Florida, Hawaii, และ Puerto Rico

โดย: amonize35 (amonize35 ) [7 ธ.ค. 51 5:32] ( IP A:117.47.8.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
   ไม่มีมาร์คที่แก้ม มีแถบดำพาดกลางลำตัว โตเต็มที่ประมาณ 25 นิ้ว

โดย: amonize35 (amonize35 ) [7 ธ.ค. 51 5:34] ( IP A:117.47.8.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
   Cichla intermedia
เจ้าตัวนี้พบเฉพาะ ทางออกแม่น้ำOrinoco เท่านั้น มีขนาดเล็กที่สุดในสกุลเพียง 18 นิ้ว
เอกลักษณ์ มีแถบดำ 8 แถบ

โดย: amonize35 (amonize35 ) [7 ธ.ค. 51 5:35] ( IP A:117.47.8.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
   ทั้งนี้ทั้งนั้น การจำแนกชนิดของปลาก็ยังสาขาจำแนกออกไปตามสถานที่พบได้อีก จะพบได้ว่าปลามีลวดลายที่หลากหลาย ทำให้เกิดการสับสน

ปลาที่เข้ามาส่วนมากจะเป็น เทมเมนซิส ออสซิราซิส และ โมโนคิวเรส สามารถเพาะได้ในประเทศไทยแล้วนะครับ ส่วนเจ้า ออริโน นี้ก็ราคาแพงมากครับ ไม่มีใครนำเข้า
โดย: amonize35 (amonize35 ) [7 ธ.ค. 51 5:36] ( IP A:117.47.8.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 17
   การเลี้ยง : ปลาสกุลนี้เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ และมีกำลังมาก ตู้ที่ใช้เลี้ยงจึงควรมีขนาดใหณ่ตามขนาดของปลาและจำนวนปลาด้วย อาจจะเป็นตู้โล่งหรือประดับด้วยไม้น้ำ เพื่อ ลดความเครียดของปลา

โดย: amonize35 (amonize35 ) [7 ธ.ค. 51 5:38] ( IP A:117.47.8.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 18
   อุณหภูมิ : เหมาะสมกับการเลี้ยงปลาเขตร้อนที่สุดก็ 28c ครับ เมื่อถึงฤดูหนาว ก็ควรใส่ฮีตเตอร์ ให้ปลาด้วย เพื่อสุขภาพที่ดีของปลา

อาหาร : ปลาสกุลนี้เป็นปลากินเนื้อครับ ลูกปลา กุ้งฝอย หนอนนก บางตัวอาจยอมรับอาหารเม็ด ของตาย สามารถให้ได้ครับ การให้อาหารควรให้แค่พออิ่ม เพราะเป็นปลาที่ตะกละมาก อาจส่งผลต่อสุขภาพของปลาได้ครับ

แท็งเมท : ควรเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่กว่าหน่อย อาจจะเป็นแคชฟิช จากแม่น้ำเดียวกัน และไม่กัดทำร้ายมันด้วยนะครับ
โดย: amonize35 (amonize35 ) [7 ธ.ค. 51 5:38] ( IP A:117.47.8.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 19
   “ก่อนที่เราจะเลี้ยงปลาไม่ว่าชนิดไหนก็ตาม เราจะต้องรับผิดชอบมันตลอดจนกว่ามันจะตาย”นะครับ ไม่ใช่เอาไปปล่อยลงแม่น้ำลำคลอง อย่าให้ปลาไทยต้องสูญพันธุ์ไปมากกว่านี้เลยครับ

โดย: amonize35 (amonize35 ) [7 ธ.ค. 51 5:39] ( IP A:117.47.8.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 20
   link ปัญหาการแพร่ระบาดของปลาcichla ในประเทศเวียดนามครับ

https://images.google.co.th/imgres?imgurl=https://img237.imageshack.us/img237/497/80999053eu9.jpg&imgrefurl=https://www.siamensis.org/webboard/webboarddetail.php%3Fboard_id%3D8205&usg=__PA48csaZ1f1NXSlnBmDa6LN7Pto=&h=333&w=550&sz=88&hl=th&start=20&um=1&tbnid=YJTGSY8hKiQC2M:&tbnh=81&tbnw=133&prev=/images%3Fq%3DCichla%26start%3D18%26ndsp%3D18%26um%3D1%26hl%3Dth%26sa%3DN

*ปัจจุบันปลาชนิดนี้ได้ถูกมาปรับปรุง
สายพันธุ์ให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม จึงเกิดการข้ามสาย ดูยากยิ่งกว่าเดิมอีกครับ

หมดแล้วครับ สุดท้ายใครมีปลาสกุลนี้ก็ลองพิจารณาดุน่ะครับว่ามันคือชนิดไหน? อาจจะยากไปนิดนะ 555+





สำหรับบทความนี้มีข้อผิดพลาดประการใดก็ขอโทษมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

โดย: amonize35 (amonize35 ) [7 ธ.ค. 51 5:46] ( IP A:117.47.8.64 X: )
ความคิดเห็นที่ 21
   ขอบคุณที่นำมาให้ชมครับ
เป็นบทความที่สวยงาม
เนื้อหารายละเอียดดีครับ
ได้ข่าวว่าตอนนี้ออสซิลลาริส
ก็ได้แพร่กระจายไปในหลายพื้นที่
โดยเฉพาะที่เขื่อน เป็นที่น่าเศร้าใจครับ

ปลาชนิดนี้เลี้ยงง่าย ออกลูกง่ายเหมือนปลานิลเลยครับ
โดย: kapomguy [7 ธ.ค. 51 19:40] ( IP A:124.122.135.97 X: )
ความคิดเห็นที่ 22
   อนาคตไกลครับ แบบนี้ ^^~
โดย: RoF (เจ้าบ้าน ) [7 ธ.ค. 51 22:24] ( IP A:58.9.142.58 X: )
ความคิดเห็นที่ 23
   ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

ปลาชนิดนี้ ยิ่งโตยิ่งสวยเนอะ

ถ้ามีบ่อติดกระจก น่าลงปลาชนิดนี้มากๆ
โดย: ป_ปลาระเบิด(เกร็ดกระจาย) [8 ธ.ค. 51 13:04] ( IP A:124.121.189.182 X: )
ความคิดเห็นที่ 24
   ดาวรุ่งจริงๆครับ
ขอบคุณสำหรับข้อมูล
โดย: mofish_6 (mofish_6 ) [8 ธ.ค. 51 23:26] ( IP A:125.25.185.130 X: )
ความคิดเห็นที่ 25
   เจ๋งจริงๆสำหรับข้อมูล อนาคตไกลอย่างพี่ๆเค้าว่าไว้แน่นอนเลยน้องเอ๋ย โอย ชอบบบบบบบบบบบ อย่างกลับไปเลี้ยงอีกกกกกกกก !!!!

โดย: golff1983 [12 ธ.ค. 51 20:27] ( IP A:124.120.28.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 26
   ขอบคุณครับ
โดย: dear_dear [20 ธ.ค. 51 1:36] ( IP A:124.120.237.242 X: )
ความคิดเห็นที่ 27
   อัพเดทครับ ปลาชนิดนี้ได้มีการจัดสายพันธุ์ออกเป็นทั้งหมด15สายนะครับ ไว้อีก10สายจะกลับมาต่อนะครับ...

ปล.กลับมาเลี้ยงอีกเลยพี่กอล์ฟ ลำบากหน่อยแต่ใจรักเว้ย 555+
โดย: amonize35 (amonize35 ) [22 ธ.ค. 51 3:08] ( IP A:117.47.132.117 X: )
ความคิดเห็นที่ 28
   อยากทราบว่า ออสซีลาลีสที่ขายใน เจเจนั้น เพาะพันธุ์ในไทยมั้ย แล้วเพาะอย่างไร เหมือนปลานิลที่ปล่อยลงบ่อแล้วผสมเอง หรือผสมเทียมครับ ขอรบกวนด้วยครับ
โดย: thiravut_keng [20 ม.ค. 52 11:08] ( IP A:58.137.129.220 X: )
ความคิดเห็นที่ 29
   ไม่ต้องตื่นเต้นครับ ปลาเพาะทั้งนั้น เพาะง่ายๆ เหมือนปลาหมอสีวางไข่ทั่วไปนั่นแหละครับ ตู้ใหญ่ๆหรือ บ่อปูนเตี้ยๆ แล้วขอความกรุณา อย่าโพสมั่วครับ โพสครั้งเดียวก็พอครับ ขอบพระคุณครับ
โดย: RoF (เจ้าบ้าน ) [20 ม.ค. 52 12:47] ( IP A:58.9.136.199 X: )
ความคิดเห็นที่ 30
   ขอเพิ่มอีกตัวครับ ^^

โดย: 2042 [20 ม.ค. 52 21:32] ( IP A:58.10.84.170 X: )
ความคิดเห็นที่ 31
    ชอบ คห.8 มากๆครับ

เนื่อหาสุดยอดครับผม
โดย: เม(รักกัน) [24 ม.ค. 52 14:22] ( IP A:58.8.45.150 X: )
ความคิดเห็นที่ 32
   เยี่ยมครับ

เออ... กอฟ กลับมาเลี้ยงดิ อิอิ
โดย: NOp76 [26 ม.ค. 52 21:23] ( IP A:58.9.184.217 X: )
ความคิดเห็นที่ 33
   สวัสดีครับ ได้เวลากลับมาต่อเรื่องของปลาชนิดนี้แล้ว!


ตื่นเต้นกันไหมเอ่ย? หลังจากที่ห่างหายไปเลี้ยงอโรมานาน ไม่ได้เปิดเวปซักเท่าไหร่


เรามาเริ่มที่ตัวแรกเลยครับ

Cichla nigromaculata

อยู่ทางตอนบนของแม่น้ำ Orinoco และ Casiquiare และ ตอนกลางของ Rio Negro

โดย: amonize35 (amonize35 ) [18 ก.พ. 52 21:56] ( IP A:125.25.75.38 X: )
ความคิดเห็นที่ 34
   ตัวต่อไปเลยละกันครับ Chicla Kelberi

เจ้าตัวนี้เป็นฝาแฝดกับ Cichla monoculus ต่างกันที่Chicla Kelberi จะมีแถบข้างลำตัวที่ยาวกว่าเท่านั้นเองครับ


พบแพร่กระจายอยู่ ทางตอนใต้ของRio Tocantins และ Rio Araguaia

โดย: amonize35 (amonize35 ) [18 ก.พ. 52 22:04] ( IP A:125.25.75.38 X: )
ความคิดเห็นที่ 35
   Chicla Kelberi อีกซักรูป

โดย: amonize35 (amonize35 ) [18 ก.พ. 52 22:05] ( IP A:125.25.75.38 X: )
ความคิดเห็นที่ 36
   Cichla pleiozona

pleio ในภาษากรีกแปลว่า มาก ส่วน zona แปลว่า ขอบเพชร

แพร่กระจายอยู่ Rio Madre de Dios, Beni, Mamor ทั่วทั้ง Bolivia และ Brazil

โดย: amonize35 (amonize35 ) [18 ก.พ. 52 22:13] ( IP A:125.25.75.38 X: )
ความคิดเห็นที่ 37
   มองเผินๆก็คล้ายกับเจ้า C. monoculus,และ C. kelber แต่นักมีนวิทยาได้อธิบายถึงความแตกต่าง ว่า แถบข้างลำตัวแถบที่4ขะดูจางๆไม่เหมือนกับC. monoculus,และ C. kelberi

โดย: amonize35 (amonize35 ) [18 ก.พ. 52 22:22] ( IP A:125.25.75.38 X: )
ความคิดเห็นที่ 38
   Cichla mirianae

โดย: amonize35 (amonize35 ) [18 ก.พ. 52 22:36] ( IP A:125.25.75.38 X: )
ความคิดเห็นที่ 39
   Cichla melaniae
Cichla thyrorus
Cichla jariina
Cichla pinima
Cichla vazzoleri
Cichla piquiti

พวกชนิดหลังๆนี้ ข้อมูลและรูปหายากมาครับ ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ น้อมรับทุกความคิดเก็นนะครับ ส่วนเรื่องข้อมูล ถ้ามีการอัพเดทยังไงจะมาเพิ่มเติมให้ทีหลังนะครับ



ทิ้งท้ายด้วยรูปสวยครับ

โดย: amonize35 (amonize35 ) [18 ก.พ. 52 22:53] ( IP A:125.25.75.38 X: )
ความคิดเห็นที่ 40
   อ๋อ เห็นมีคนโพสถามเรื่องการผสมพันธุ์ เลยหาข้อมูลมาฝากครับ


ในช่วงจับคู่ปลาตัวผู้จะพัฒนาร่างกายของตนเองให้มีโหนกขึ้น เร่งสี เพื่อดึงดูดความสนใจต่อต้วเมีย

โดย: amonize35 (amonize35 ) [18 ก.พ. 52 22:57] ( IP A:125.25.75.38 X: )
ความคิดเห็นที่ 41
   โดยที่ตัวเมียนั้นไม่มี หลังจากที่จับคู่กันเสร็จแล้วก็จะทำการสร้างรังโดยการขุดเป็นหลุม

โดย: amonize35 (amonize35 ) [18 ก.พ. 52 22:58] ( IP A:125.25.75.38 X: )
ความคิดเห็นที่ 42
   ปลาชนิดนี้ได้รับการยืนยันแล้วว่าสามารถขยายพันธุ์ในตู้ได้ครับ


โดยจะทำรังตามซอกหินหรือขอนไม้

โดย: amonize35 (amonize35 ) [18 ก.พ. 52 23:00] ( IP A:125.25.75.38 X: )
ความคิดเห็นที่ 43
   ภาพการผสมพันธุ์ครับ

โดย: amonize35 (amonize35 ) [18 ก.พ. 52 23:01] ( IP A:125.25.75.38 X: )
ความคิดเห็นที่ 44
   หลังจากนั้นก็จะได้เจ้าตัวน้อย Peacock Bass ขึ้นมาครับ

โดย: amonize35 (amonize35 ) [18 ก.พ. 52 23:02] ( IP A:125.25.75.38 X: )
ความคิดเห็นที่ 45
   อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.siamfishing.com ครับ


หมดแล้วครับ ขอบคุณที่เข้ามาชมนะครับ


อาจจะพอทำให้ปลาพื้นๆตัวนี้ดูน่าสนใจขึ้นมาบ้างนะครับ


เจอกันกระทู้หน้าครับ

โดย: amonize35 (amonize35 ) [18 ก.พ. 52 23:06] ( IP A:125.25.75.38 X: )
ความคิดเห็นที่ 46
   ตัวนี้ Cichla piquiti

เจ้าตัวนี้จะมีลาบแถบ 5 แถบครับ อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของ Rio Tocantins ขนาดพอๆกับ ocellaris ครับ

โดย: amonize35 (amonize35 ) [19 ก.พ. 52 10:00] ( IP A:125.27.46.85 X: )
ความคิดเห็นที่ 47
   Cichla piquiti ครับ

ครีบสีฟ้าด้วยครับ

โดย: amonize35 (amonize35 ) [19 ก.พ. 52 10:02] ( IP A:125.27.46.85 X: )
ความคิดเห็นที่ 48
   Cichla pinima
พบทางตอนใต้ของ Rio Xingu, Rio Tocantins, และ Rio Capim

โดย: amonize35 (amonize35 ) [19 ก.พ. 52 10:06] ( IP A:125.27.46.85 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน