Ex File 000 : ปลาปอด Lepidosiren paradoxa หนึ่งเดียวแห่งป่าอเมซอน
|
ความคิดเห็นที่ 16 พฤติกรรม ปลาปอดอเมริกาใต้ และ ปลาปอดแอฟริกา จะมีลักษณะเฉื่อยชา, โดยการว่ายน้ำจะเป็นลักษณะเคลื่อนตัวเป็นคลื่นคล้ายการเคลื่อนที่ของงู หรือโดยการคลานด้วยครีบอก และครีบเชิงกราน, โดยเฉพาะการเคลื่อนตัวไปกินซากสัตว์ที่พื้นน้ำ. ปลาปอดทั้งสองสกุลนี้ต้องหายใจด้วยอากาศ,ไม่เหมือน ในสกุลปลาปอดออสเตรเลีย (Neoceratodus) ที่จะสามารถหายใจผ่านเหงือกแบบดั้งเดิมได้. ปลาปอดอเมริกาใต้ (Lepidosiren) และ ปลาปอดแอฟริกา (Protopterus) ที่จะสามารถจมน้ำตายได้หากถูกบังคับให้อยู่ใต้น้ำตลอดเวลา, เนื่องจากเหงือที่ผิวนอกของพวกมันไม่ขนาดไม่ใหญ่เพียงพอต่อการต้องการรับอ๊อกซิเจนของมันได้. โดยที่ทั้ง 2 สกุลจะมีความสามารถในการจำศีล, โดยจะอาศัยอยู่ในโพรงที่ขุดไว้ตลอดช่วงฤดูแล้ง, และพวกมันจะตื่นขึ้นมาอีกครั้งเมื่อเข้าสู่ฤดูฝน (ภาวะจำศีล (estivation) ยืนยันได้จากปลาปอดในยุคเปอร์เมียน (Permian), ที่พบในหลุมที่กลายเป็นฟอสซิล. has been documented for Permian lungfishes, in the form of fossilized burrows). อุณภูมิที่ทำให้เริ่มการจำศีลนั้นไม่แน่นอนแล้วแต่ชนิด, แต่ที่สามารถยืนยันได้ชัดเจนนั่นคือ P. annectens. พวกมันจะขุดโดยการใช้การกัดดิน และดันโคลนผ่านเหงือกที่เปิด. จากปลาปอดจะกลับตัวโดยหันหัวไปทางปากหลุมที่เปิดอยู่, เพื่อรับอ๊อกซิเจน. ทำให้พวกมันมีชีวิตอยู่รอดได้ ระบบการเผาผลาญพลังงานปรับลดลง สร้างเมือกเคลือบผิวเพื่อลดการสูญเสียความชุ่มชื้น. อย่างชนิด P. aethiopicus สามารถอยู่ในรังดักแด้นี้ได้ถึง 4 ปี ในที่เลี้ยง. ปลาปอดจะไม่กินอาหารเมื่ออยู่ในภาวะจำศีล. โดยการใช้ไขมันที่สะสมไว้ที่ส่วนหาง
| โดย: อีกาตัวดำๆ [10 มี.ค. 52 18:42] ( IP A:118.175.64.88 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 17 ปลาปอดส่วนใหญ่เป็นปลากินเนื้อ, อาหารส่วนใหญ่เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (แมลง,ตัวอ่อนของแมลง, หอย, และพวกกุ้ง) แต่ก็สามารถกินปลา และ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำได้เช่นกัน. ในทั้ง 2 สกุลนี้ บางครั้งจะกินพืชน้ำด้วย. ปลาปอดนั้นมีศักยภาพในการล่าเหยื่อ โดยการซุ่มรอ หรือ การตามเหยื่อ แล้วจึงจับเหยื่ออย่างรวดเร็วด้วยปากที่มีแรงดูดมากพอที่จะดูดเหยื่อเข้าไป. แต่ผู้ล่าปลาปอดเป็นเหยื่อในธรรมชาตินั้น เราทราบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น, แต่พอจะสมมติฐานได้ว่า น่าจะเป็นปลากินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ หรือสัตว์นักล่าที่มีกระดูกสันหลังชนิดอื่นๆที่จะเป็นผู้ล่าปลาปอด, โดยเฉพาะปลาปอดที่ยังอยู่ในวัยเด็ก
ช่วงฤดูวางไข่ของทุกปี, พวกมันจะเลือกช่วงฤดูฝนไข่จะถูกผสมภายนอก. ในปลาปอดทั้ง 2 ตระกูล ตัวผู้จะเป็นผู้ดูแลไข่ และคอยเพิ่มอากาศเข้าไปในรัง. ตัวเมียของปลาปอดแอฟริกา จะวางไข่ในหลุม ที่ขุดโดยตัวผู้ ไข่มีขนาดเล็ก (4-7 มิลลิเมตร), ใช้เวลาในการฟัก 1-2 สัปดาห์, ซึ่งช่วงนี้พวกลูกปลาปอดจะดูคล้ายลูกอ๊อเพรียวๆ, มีเหงือกภายนอกคล้ายขนนก, หลังจากผ่านช่วงระยะนี้ไป 1 เดือน - 55 วัน ตัวอ่อนของปลาปอดจะเริ่มหายใจด้วยอากาศ. ในระยะนี้พวกมันจะมีความยาวประมาณ 1 นิ้ว - 1.6 นิ้ว และยังมีเหงือกภายนอกอยู่. พวกตัวอ่อนเหล่านี้จะยังไม่ค่อยเคลื่อนไหว. และยังอาศัยอยู่ในรังไม่ไปไหน จนกว่าถุงไข่แดงที่ติดอยู่จะหมดไป และพวกมันจะเริ่มออกหาอาหาร จำพวกตัวอ่อนของแมลง,พวกกุ้ง ปู และจะหายใจจากอากาศได้
ความสำคัญสำหรับมุนษย์ ปลาปอดทั้ง 2 สกุลนี้จะพบได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำ, ถึงแม้ว่าพวกมันจะถูกนำมาเป็นอาหารในบางพื้นที่ของแอฟริกา, แต่พวกมันก็ไม่ใช่ปลาที่นิยมนำมาเป็นอาหาร. พวกมันเป็นปลาที่ไม่มีอันตราย, แต่ถ้าหากไปรบกวนอาจจะทำให้คนที่ไปรบกวนเจ็บตัวจากการกัดได้ เนื่องจากพวกมันมีขากรรไกรที่แข็งแรงและฟันที่คมมาก
จบแล้วครับ ขอบคุณที่ติดตามอ่าน หวังว่าคงจะมีประโยชน์แก่ทุกท่านไม่มากก็น้อยนะครับ สวัสดีครับ
| โดย: อีกาตัวดำๆ [10 มี.ค. 52 18:43] ( IP A:118.175.64.88 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 19 ดีมากๆ เลยครับพี่ ละเอียดยิบ ขอบคุณครับ | โดย: NOp76 [11 มี.ค. 52 19:39] ( IP A:58.9.224.183 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 21 เยี่ยมมากครับพี่อีกา
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ | โดย: ป_ปลาระเบิด(เกร็ดกระจาย) [12 มี.ค. 52 13:35] ( IP A:124.121.185.119 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 22 อ่านเเล้วเก็ทเลยครับ ขอบคึณสำหรับความรู้มากครับ เเต่ว่าอ่านยากจังครับต้องเขยื่อนจอตลอดเลยอ่ะ | โดย: ฟ่อน [12 มี.ค. 52 14:01] ( IP A:117.47.6.150 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 23 ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ | โดย: tam_27 [12 มี.ค. 52 23:17] ( IP A:125.27.228.134 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 24 เป็นบทความ ที่กระจ่างเลยครับ มิน่า ปลาของผม มีอยู่ช่วงหนึ่ง พู่ที่เหงือก ก็ฟู่ ออกมามากกว่าปกติ แล้วมันก็หดกลับไป เพิ่งรู้ว่ามันเป็นตัวผู้นี่เอง
แต่ตอนนี้ Lepidosiren paradoxa
หายไปจากตลาดเลยนะครับ ไม่เห็นตัวเล็กๆ เลย | โดย: genus [13 มี.ค. 52 11:56] ( IP A:203.151.40.13 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 25 ท่าน RoF สุโค่ย มาก ๆ คับผม ชอบมาก ๆ และจะิติดตามเรื่องเกี่ยวกับปลาปอดอีก ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ ปล.ตรงบทความ ส่วนที่ว่า อวัยวะช่วยในการหายใจของปลาปอด Paradoxa คือปอด 2 ข้าง โดยข้างหนึ่งจะเชื่อมต่อกับปาก ปอดข้างนี้ผนังเป็นร่อง ทำหน้าที่ให้อ๊อกซิเจนแก่เลือด | โดย: chitrasit [13 มี.ค. 52 13:05] ( IP A:203.153.163.34 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 26 กรรม กดผิด ตรง ส่วนนี้อะครับ ที่ว่า ปอดข้างหนึ่งจะเชื่อมต่อกับปาก ปอดข้างนี้ผนังเป็นร่อง แสดงว่า ปลาชนิดนี้ใช้ปอดสมบูรณ์ทั้ง 2 ข้างปะครับ ( คือยังเหลืออีกข้างอะครับ ที่ยังไม่มีการอธิบายในบทความ ) ผมจะระเอียดเกินไปหรือป่าวหว่า ชี้แนะด้วยเน้อ จะกลับมาอ่านครับ ขอบคุณครับ | โดย: chitrasit [13 มี.ค. 52 13:08] ( IP A:203.153.163.34 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 27 มีรูปของเราด้วย น่าชื่นใจครับ | โดย: jay [23 มี.ค. 52 9:35] ( IP A:203.146.227.254 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 28 ยอดเยี่ยมมากครับ ทำให้ครบทุกสายพันธุ์ปลาปอดเลยได้ไหมครับ
จะติดตามชมเสมอนะครับ ^ ^ | โดย: FISHEYE [31 มี.ค. 52 16:58] ( IP A:61.19.66.91 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 29 น่าเลี้ยง | โดย: แป้ง (Gu-Jaang ) [24 เม.ย. 52 15:24] ( IP A:58.9.75.141 X: ) |  |
|